ถึงออฟฟิศละ มาต่อให้
เรื่องการนำเข้า.. ความยากอยู่ที่การขอเอกสารจากผู้ผลิตต่างประเทศ หรือซัพพลายเออร์มากกว่าการเดินเรื่องกับ อย. หรือเพราะผมทำเยอะแล้วเลยรู้แกวมั้ง
ในส่วนของการจด อย่างที่เกริ่นในตอนต้น คุณจะต้องมีใบอนุญาตนำเข้าอาหารก่อน ตามมาตรา15 ของ พรบ.อาหาร 2522 การขออนุญาตค่อนข้างจุกจิกนิดนึง เอกสารต้องครบ เตรียมเยอะ ใช้เวลาส่งเรื่องและแก้ไขประมาณ 2-4สัปดาห์ ซึ่งก็แล้วแต่เราตามเรื่องเองด้วย
ในส่วนของผลิตภัณฑ์ หลักๆคือ
1) ต้องมีใบรับรองสถานที่ผลิตของผู้ผลิตต่างประเทศ อย. ต้องการตัวจริง หรือสำเนาที่รับรองโดยหน่วยงานของรัฐหรือบุคคลที่รัฐรับรอง เช่น สถานทูต, notary public หรือรับรองด้วยหน่วยงานที่ออกใบรับรองนั้นๆ
2) เอกสารสูตร ต้องชี้แจงรายละเอียดว่า ส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มีอะไรบ้างชี้แจงเป็นร้อยละโดยละเอียด บางครั้ง อย. จะสอบถามถึงสเปกของส่วนผสมด้วย เช่น เลซิตินสกัดด้วยตัวทำละลายอะไร หรือสารสกัดจากขิง สกัดด้วยวิธีอะไร ต้องเป็นตัวจริงที่มีหัวกระดาษของบริษัทผู้ผลิต... จริงๆแล้วเวลาผมทำงานตรงนี้ ผมจะเขียนร่างให้ผู้ผลิตต่างประเทศเขียนตามที่ผมร่างไว้ เพราะจะได้ตรงตามที่ อย. สอบถาม
3) Health Claim เป็นส่วนที่ต้องระวังที่สุด คำบรรยายสรรพคุณเกินจริง จะทำให้เสียเวลาขออนุญาต เช่น กินแล้วแข็งแรง โรคภัยไม่มีเบียดเบียน
ในส่วนของการขออนุญาตฉลาก ใช้เวลา2-6สัปดาห์ แล้วแต่ความกระตือรือร้นของเรา ข้อความโฆษณาต่างๆ จะต้องพิจารณาให้ดีว่าเหมาะสม หรือเกินจริงหรือเปล่า แล้วถ้าสังเกตดีๆ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ได้รับอนุญาตถูกต้องจะต้องมีข้อความ “ควรกินอาหารหลากหลาย ครบ 5 หมู่ ในสัดส่วน ที่เหมาะสมเป็นประจำ” และ ข้อความด้วยตัวอักษรหนาทึบ สีของตัวอักษรตัดกับสีของพื้นกรอบ ว่า “ไม่มีผลในการป้องกัน หรือรักษาโรค”
ขอไม่ยาก แต่เราต้องละเอียดครับ

ส่วนค่าภาษีพิกัดศูลกากร ถาม อย. เขาไม่รู้เรื่องหรอก ต้องเช็คที่หน้าเว็บนี้เป็นข้อมูลเบื้องต้น
http://igtf.customs.go.th/igtf/viewerCont.do?param=main 
แต่ถ้าจะเอาแบบเข้ามาง่ายๆ ส่วนใหญ่ จะเอาเข้ามาในเป็นวัตถุดิบเช่น อินูลีน, คลอโรฟิลล์สกัดมาเป็นกระสอบๆ (แต่ก็ต้องใช้ใบรับรองสถานที่ผลิตอยู่ดี) แล้วมาผสม-อัดเม็ดเอง ซึ่งก็ต้องขอใบอนุญาตผลิตอาหารอีกใบนึง