ผมขอตอบในมุมมองของเจ้าของกิจการ
สายตรงด้าน software developer นะครับ
เด็กสมัยนี้ (เค้าเรียกกันว่า gen y ใช่ไหม ฮ่าาา)
1. ไม่มีความอดทน
2. ไม่มีความสามารถ
3. เรียกเงินเดือนสูง
ความเห็นส่วนตัวนะครับ
ส่วนใหญ่จะเป็นแบบนี้ ผมกล้าพูดได้ว่า 10 คน จะเป็นแบบนี้ 9 คน
โดยเฉพาะเด็กที่จบจากมหาวิทยาลัยในกรุงเทพ
สิ่งที่ผมทำคือ ผมซักถามนิดหน่อยพอเป็นพิธีตอนรับสมัคร
แล้วผมก็จะให้ทำข้อสอบ IQ (ส่วนใหญ่ตกซะเยอะ) ชุดที่ 1 ซึ่งใช้เวลาทำประมาณ 2 ชั่วโมงได้
ตรงนี้เกิน 50% จะทำเสร็จภายใน 30 นาที (คงเดาได้นะว่าเพราะอะไร)
หลังจากนั้นถ้าใครทำเสร็จชุดแรก (ส่วนใหญ่จะใช้เวลาเกือบๆ 2 ชั่วโมง ถ้าทำจริง)
ผมจะถามว่า สะดวกมาทำอีกชุดไหม ในวันถัดไป
ตรงนี้อีก 30-40% จะไม่มา (ทดสอบความอดทน ซึ่งไม่ค่อยมีกันใน ข้อ 1)
ถ้าใครมาแล้วทำชุดที่ 2 เสร็จ คุณจะมี 2 ทางเลือก
1. เอาเฉพาะคนที่ผ่าน (นั่นแสดงว่าใช่จริงๆ)
2. เอาคนที่ทำเสร็จ คะแนนไม่แย่มาก (เพราะอย่างน้อยยังมีความอดทน)
ทำไปซัก 100 คน ถ้าได้มาซัก 2 คน ก็หรูแล้วครับ

ไม่ต้องโทษเด็กนะครับ ผมว่าการศึกษาและสภาพแวดล้อมมันสร้างให้เค้าออกมาเป็นแบบนี้ น่ากลุ้มใจครับ

ผมไม่แน่ใจว่าท่านผ่านเจออะไรมานะครับ แต่การเจอแต่เด็กแบบนั้น มันก็สะท้อนภาพของบริษัทและ ประสิทธิภาพของ HR ในการกรองคนครับ ....
เด็ก GEN Y มีแนวคิด แตกต่างออกไป มีความเป็นตัวของตัวเองสูง เป็นเรื่องปกติของเด็กสมัยใหม่ครับ ด้วยพื้นฐานที่ไม่จำเป็นต้องปากกัดตีนถีบเหมือนเด็กในยุค BabyBoom (สบายกว่าเยอะ)จากพื้นฐานนี้พ่อแม่มีพื้นฐานดีขึ้นจึงส่งผลให้ เด็ก GEN นี้ มีทางเลือกมากกว่า เด็กในยุค BabyBoom เยอะ มีโอกาสทั้งในและต่างประเทศ เด็กสมัยใหม่ที่เก่งๆ เค้าเห็นโอกาสเยอะครับ
การที่คุณเจอแต่เด็กไม่เก่ง มันสะท้อน ภาพลักณ์ของบริษัทอยู่นะครับ
1. ไม่มีความอดทน : ต้องตอบเค้าได้ว่า ทนเพื่ออะไร

ถ้ามันไม่คุ้ม ไม่เหมาะสม ทำไมต้องทน

ทำไปไร้อนาคต เสียสุขภาพ ได้ไม่คุ้มเสีย ทนทำไม ??
2. ไม่มีความสามารถ : เด็กมีความสามารถเยอะครับ แต่เค้าไปไหนกัน

ลองดูรอบๆตัว บริษัทชั้นนำ ที่ตอบสนองพวกเค้าว่า "ทนแล้วได้อะไร" ก็จะมีเด็กกลุ่มนี้เยอะไปหมดอยู่ดีครับ
3. เรียกเงินเดือนสูง : เห็นส่วนใหญ่ ให้เงินเดือนโปรแกรมเมอร์กัน เริ่มต้น 15k ทั้งนั้นทำงานกัน วันละ 8ชั่วโมง 5วัน ต้องเข้างาน 9โมงเลิก 6โมง ทุกวัน ทำงานดึก ไร้ OT ... หรือบางที่ก็มี OT นะ (Official Time ^^) จะกดอยู่เท่านี้ ใครจะอยากเป็น

ใครจะอยากทำ

ภาคธุรกิจยังประเมินโปรแกรมเมอร์ต่ำแบบนี้ อย่าไปโทษแต่ตัวเด็ก หรือสถาบันการศึกษาเลยครับ ทุกฝ่ายต้องร่วมกันรับผิดชอบกันทั้งนั้นกับโครงสร้างระบบแบบนี้
ปัญหานี้ขาดโปรแกรมเมอร์ ไม่ใช่แค่ในไทย ทั่วโลกก็เป็นทั้งนั้น แต่ในไทยไร้ปัจจัยสนับสนุน ด้านนี้โดยสิ้นเชิง ... ทุกฝ่ายล้วนเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาทั้งนั้น ทั้งจาก ภาคการศึกษา, และภาคเอกชนเอง ล้วนมีปัญหาเชิงโครงสร้างทั้งนั้น
การมาชี้หน้าเด็กแล้วโทษการศึกษาแล้วไม่ประเมินใน บริบทของบริษัทเลย อันนี้ น่าเกลียดไปครับ....