ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

  แสดงกระทู้
หน้า: [1]
1  ความรู้ทั่วไป / E-commerce / ผมขออนุญาตแนะนำ blog ครับผม :D ลองแวะมาดูกันนะครับ แนะนำติชมกันได้คร้าบผม เมื่อ: 29 มีนาคม 2015, 03:02:02
ยินดีรับฟังข้อเสนอแนะครับ


http://xsci.blogspot.com/
2  พัฒนาเว็บไซต์ / วิจารณ์เว็บไซต์ / Re: เอา blogspot มาให้ติชมครับ บล็อกแนะนำแอพแต่งรูป เมื่อ: 08 พฤษภาคม 2014, 09:51:47
มาปล่อยของอันตรายหรือเปล่าคับ เหอๆ
3  ความรู้ทั่วไป / Search Engine Optimization / Re: ฝากวิจารณ์บล็อก แนวนี้หน่อยคับ เมื่อ: 08 พฤษภาคม 2014, 09:29:17
ความสวยงามอยู่ตรงไหน
4  อื่นๆ / Cafe / เฟซบุ๊คเกาะพะลวย เกาะพลังงานสะอาด 1 ใน 4 ของโลก เมื่อ: 03 มิถุนายน 2012, 22:21:53
เฟซบุ๊คเกาะพะลวย เกาะพลังงานสะอาด 1 ใน 4 ของโลก

http://goo.gl/nx6gI

5  < กดยุบ (ห้องยกเลิกการใช้งาน) / สาระคำถามทั่วไป (ย้ายไป cafe) / Re: อยากรู้จังว่าแฟนเรา คุย face อะไรกับใครบ้าง เมื่อ: 02 พฤษภาคม 2012, 04:11:44
ฝังโปรดักคีย์บอร์ด จับพาสเวิดเฟซ
6  พัฒนาเว็บไซต์ / วิจารณ์เว็บไซต์ / Re: ฝากวิจารณ์เว็บเขียนเองหน่อยครับ นั่งเขียนมานานมากๆ 10 กว่าวันแหนะ +1 ให้นะ เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2012, 17:04:45
กราฟิกดูขัด ๆ  ทั้งแถบด้านซ้ายและหัวเว็บ...สีขัดตา
ดูชุดสี..สำหรับงานดีไซน์ได้ที่นี่  http://www.colorotate.org/
7  อื่นๆ / Cafe / พะลวย-กรีนไอส์แลนด์ พลังงานสะอาดไทยอันดับ 4 โลก เมื่อ: 04 ธันวาคม 2011, 15:57:19
บ้านเกาะพะลวย อยู่ในหมู่ที่ 6 ของตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเกาะขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สองรองจากเกาะวัวตาหลับซึ่งบางส่วนของเกาะอยู่ใน เขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง ประมาณครึ่งเกาะ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 กรมอุทยาน ได้ประกาศหมู่เกาะอ่างทองเป็นอุทยานแห่งชาติ เป็นแห่งที่ 21 ของประเทศ ส่วนเหลือเป็นที่อยู่ในความดูแลของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง


อ่านรายละเอียดเยี่ยมชมรูปถ่ายได้ที่ facebook fanpage
http://goo.gl/Ild7r
8  อื่นๆ / ประกาศหาลูกจ้าง-อยากซื้อ / Re: ประกวดออกแบบโลโก้ร้านครับ เมื่อ: 18 กรกฎาคม 2011, 12:27:22


http://anut.smfnew.com
9  < กดยุบ (ห้องยกเลิกการใช้งาน) / สาระคำถามทั่วไป (ย้ายไป cafe) / พิพิธภันณ์มิซายแห่งรัสเซีย, The rocket Museum เมื่อ: 03 กรกฎาคม 2011, 00:13:15
Credit: พิพิธภันณ์มิซายแห่งรัสเซีย, The rocket Museum

100 กิโลเมตร จากมอสโควบนเส้นทางหลวงเคี๊ยฟ ก็จะพบกับพิพิธพันธ์มิซายแห่งยุทศาสตร์สุดยอดเยี่ยม ในศูนย์ฝึกกองกำลัง RSF



ในโรงเก็บอาวุธขนาดยักษ์ ได้จัดแสดงมิซายขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นผลิตภันฑ์อาวุธของโซเวียตที่พร้อมจัดส่งให้กับลูกค้า เป็นแหล่งบันทึกหน้าประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตามพิพิธภันฑ์ดังกล่าวตั้ืงอยู่ในหน่วยรบที่ไม่อนุญาตให้บุคคลทั่วไปเข้าเยี่ยมชม



รถจรวดมิซายของหน่วย RSF จอดเรียงรายกลางแจ้งกันหลากหลายชนิด แต่ปราศจาก Topol ขีปนาวุธรุ่นใหม่ของรัสเซีย หากเปรียบเทียบกันก็จะดูง่ายที่ Topol มีชุดล้อทั้งหมด 8 ล้อ ซึ่งมากกว่าแบบเดิมที่มี 7 ล้อ และใช้เครื่องยนต์  MAZ-7917-15U168 chassis



ใช้นำมันเชื้อเพลิง 100 กิโลเมตร ต่อ 200 ลิตร ซึ่งถังน้ำมันมีความจุ 800 ลิตร แต่นั่นก็ไม่เพียงพอหากต้องวิ่งระยะทางไกล 400 กิโลเมตรซึ่งจำเป็นต้องเติมน้ำมัน แต่ในกรณีฉุกเฉินสามารถนำเชื้อเพลงน้ำมันโซล่าจากระบบจุดจรวดมาใช้งานได้



ที่นั่งของคนขับจะมีพื้นที่น้อย (เพื่อให้ให้เกิดความน่ากลัวในสงครามนิวเคลีย)



ทุกอย่างทำขึ้นอย่างง่าย ๆ รวมถึงกล่องเกียร์อัตโนมัติ





คันเบรคคอนโทรลด้วยเท้าขวา





ที่นั่งผู้บัญชาการ แยกนั่งทางซุ้มซึกขวาของตัวรถ ในฤดูหนาวต้องใส่เสื้อโค้ทขนสัตว์ซึ่งจะมีปัญหาด้านควาคล่องตัวเนื่องจากพื้นที่แคบ นั่นเป็นข้อด้อยที่ถูกแก้ไขใน Topal รถมิซายตัวใหม่



ป้ายทะเบียนระบุรหัสรถทางราชการ



ฆ้อนทุบกระจกกรณีเกิดอุบัติเหตุ




http://www.youtube.com/v/5J7u9V5qHxo?version=3&amp;hl=en_US

(gyrocompass ) ลูกข่างเข็มทิศ สิ่งประดิษฐ์ที่ลึบลับที่สุด ถูกติดตั้งทางด้านขวาของตัวรถและถูกปกคลุมไว้อย่างดี




มีเครื่องผลิตไฟฟ้าดีเซลสองเครื่องยนต์ พลังผลิต 30 กิโลวัตต์ซึ่งนำไฟฟ้าไปใช้ในการส่งจรวดและยังมีเจ้าหน้าที่ทำหน้าที่ 10 คนต่อ 1 คัน




1 ห้องนอน นอนได้ 4 คน แบ่งเป็นสองซีก



บรรยากาศสบาย ๆ ภาจในเครื่องจักรสังหาร



ห้องดินเนอร์



ห้องครัวที่แยกออกจากห้องดินเนอร์ จะไม่มีการประกอบอาหารแต่จะนำอาหารที่แช่เย็นมาอุ่น เตาวางไว้ทางขวามือ ตู้เย็นวางไว้ทางซ้ายมือ



อาหารทุกอย่างถูกแช่เย็นไว้ทั้งหมด



อาหารแช่เย็นถูกจัดเก็บอย่างมีระเบียบแบบแผน





น้ำร้อนและน้ำเย็น...สภาพการใช้งานยาวนาน ทำให้มีสภาพเก่า



แผงควบคุมการทำงาน



เครื่องเป่าแห้ง และแผงแขวนรองเท้ากับเสื้อโค้ท






ศูยน์บัญชาการยิงมิซาย เจ้าหน้าที่นั่งรอสั่งยิงจนง่วงเต็มแก่น่าจะเล่น facebook รอนะครับ ^^







มิซายตั้งเรียงรายลดหลั่นขนาด ให้เราเห็นถึงพัฒนาการในระดับต่าง ๆ กัน ซึ่งใช้ในยุทศาสตร์แบบต่าง ๆ เป็นภาดที่สวยงามมาก





ขนาดที่แท้จริง ของอาคารก่อสร้างมิซายซึ่งเป็นทั้งศูนย์บัญชาการและก่อสร้าง

อ่านต่อ>>พิพิธภันณ์มิซายแห่งรัสเซีย, The rocket Museum
10  < กดยุบ (ห้องยกเลิกการใช้งาน) / สาระคำถามทั่วไป (ย้ายไป cafe) / ซากกระสวยอวกาศ Buran เมื่อ: 02 กรกฎาคม 2011, 23:52:27
ซากกระสวยอวกาศ Buran

คนรัสเซียนั้นคิดถึงเรื่องยานอวกาศแบบมีปีกมาตั้งแต่เริ่มต้นยุคอวกาศกันแล้ว ในยุคสงครามเย็น สหรัฐและโซเวียตต่างก็แข่งขันกันในทุกๆด้าน รวมทั้งเรื่องอวกาศด้วย แต่แนวทางของทั้งสองดูจะแตกต่างกันออกไป เพราะขณะที่โซเวียตเน้นไปที่การสร้างสถานีอวกาศ สหรัฐกลับมุ่งไปที่กระสวยอวกาศ หรือที่บางคนเรียกว่า ยานขนส่งอวกาศ ซึ่ง 2 โครงการนี้ ก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป

หลังจากโครงการสถานีอวกาศของโซเวียตไปได้สวย พวกเขาส่งสถานีอวกาศรุ่นที่ 1 ขึ้นไปหลายครั้ง จนมาถึงสถานีอวกาศรุ่น 2 ซึ่งเป็นสถานีอวกาศถาวร อย่างสถานีอวกาศ " มีร์ " ด้วยระบบสาธารณูปโภคที่รองรับการทำงานของระบบสถานีอวกาศ ทำให้โซเวียตไม่จำเป็นต้องมีกระสวยอวกาศอย่างของสหรัฐ

แต่หลังสหรัฐมีโครงการกระสวยอวกาศในยุค 70 โซเวียตก็มองว่า สหรัฐหวังจะเอามันไว้ใช้บรรทุกขีปนาวุธนิวเคลียร์ จึงอยากจะมีกระสวยอวกาศบ้าง เพื่อต้องการตอบโต้สหรัฐ ทำนองว่า " เอ็งทำได้ ข้าก็ทำได้โว้ย " และนั่นก็คือที่มาของ บูราน ซึ่งสุดท้ายแล้ว ก็เหมือนกับเอาเงินไปทิ้งเสียเปล่า ๆ โซเวียตเริ่มโครงการนี้ในปี 1976 ทั้งๆที่ยังไม่มั่นใจในศักยภาพของตนเอง

บูราน เป็นภาษารัสเซีย แปลว่าพายุหิมะ หากดูรูปร่างภายนอกแล้ว มันอาจจะดูคล้ายกับกระสวยอวกาศของสหรัฐ จนบางคนอาจจะบอกว่า มันเป็นผลงานการจารกรรมข้อมูลของ เคจีบี แต่ในความเป็นจริงแล้ว 2 ระบบนั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ขณะที่ของสหรัฐให้ความสำ คัญกับตัวยาน แต่ของโซเวียตกลับให้ความสำคัญกับระบบจรวดส่งมากกว่า จนบางคนบอกว่าบูราน มีฐานะประหนึ่งแค่สัมภาระของจรวดส่ง " เอเนรเกีย " เท่านั้น โดยจรวดส่งสามารถทำการบินได้ด้วยตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยบูราน และในสายตาของผู้เชี่ยวชาญแล้ว ต่างก็ยกย่องว่า บูราน มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีมากกว่า กระสวยอวกาศของสหรัฐ



หลังจากที่ซากกระสวยอวกาศบูราน(Buran )  ถูกทิ้งไว้กลางแจ้งบริเวนท่าเรือตูชิโน(Tushino) กำลังจะได้รับการบูรณะอีกครั้งเพื่อใช้แสดงในงาน the air show MAKS-2013. เพื่อแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมอวกาศของสหภาพโซเวียต

ตลอดชีวิต บูรานออกบินแค่ครั้งเดียว เมื่อ 15 พฤศจิกายน 1988 โดยเป็นการบินแบบอัตโน มัติ ไม่มีมนุษย์ขึ้นไปกับมันด้วย แต่มันก็สามารถกลับลงมาที่รันเวย์สนามบิน ที่ไบคานูร์ ในคาซัคสถาน ซึ่งเป็นที่ที่ปล่อยยานได้อย่างแม่นยำ โดยมันลงห่างจากเป้าหมายที่กำหนดไว้ไม่เกิน 10 เมตร ในสภาพลมแรง 17 เมตรต่อวินาที รวมเวลาการบิน 206 นาที และมันโคจรรอบโลกได้ 2 รอบ

ตอนแรก หลายฝ่ายไม่เชื่อว่าโซเวียตประสบความสำเร็จในการปล่อยกระสวยอวกาศ เนื่องจากมีการถ่ายทอดสดการปล่อยยานแค่บางส่วนเท่านั้น สำหรับการลงจอดนั้น บางคนก็ว่ามันร่อนลงมาจากหลังเครื่องบิน ไม่ใช่ลงมาจากวงโคจร แต่ภายหลังเมื่อมีการนำเทปมาให้ดูกัน เรื่องนี้จึงไม่มีการกังขาใดๆอีกต่อไป

บูราน มีแผนจะขึ้นบินอีกครั้งในปี 1993 คราวนี้จะบินนานราว 15 - 20 วัน แต่โครงการพัฒนากระสวยอวกาศของโซเวียตยุติลงในปี 1993 หลังงบประมาณการพัฒนาร่อยหรอลงอย่างมาก ประกอบวัตถุประสงค์ในการใช้งานของบูรานที่ไม่ค่อยมี ทำให้การบินครั้งนี้ต้องเป็นหมันไป งานก่อสร้างกระสวยอวกาศอีก 3 - 4 ลำ ก็เลิกไปด้วย โดยบางลำ สร้างไปแล้วเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ และเคยมีความพยายามที่จะพัฒนาบูราน รุ่นที่เล็กลงมา แต่ก็หาผู้เข้าร่วมลงทุนไม่ได้

ปัจจุบัน บูรานลำเดียวกับที่ออกบินในปี 1988 ได้ถูกทำลายไปแล้ว จากการถล่มลงมา มาของหลังคาโรงเก็บเมื่อ 12 พฤษภาคม 2002 เพราะปัญหาการบำรุงรักษาที่ไม่ดี งานนี้มีคนงานตายไป 8 คน



กระสวยอวกาศที่มีเพียงลำตัว ส่วนอื่น ๆ ถูกถอดแยกออก และบรรทุกอยู่ในเรือ




การเตรียมการขนย้ายประมาณ 3 เดือน รวมระยะเตรียมการขนย้าย




แบบแผนโครงสร้างของกระสวยอวกาศบูราน(Buran) นั้นถูกแขวนอยู่บนเงินกองทุน Energy-Buran กระสวยอวกาศที่ไม่สำเร็จไปตามเป้าหมาย ซึ่งได้สร้างไปแล้วกว่า 30-50% ในเดือนตุลาคม ปี 2004 Buran ได้ถูกขนจากโรงงานสู่ท่าเรือ โดยไม่มีหลังคาป้องกันแดดฝน...















เนื้อหาส่วนหนึ่ง oknation.net/blog/print.php?id=109701

อ่านต่อ>>
11  พัฒนาเว็บไซต์ / Programming / Re: แจกโปรแกรม ทำแบนเนอร์ครับ เอาไว้ทำแบนเนอรฺ์ สวยๆๆ เมื่อ: 07 พฤษภาคม 2008, 01:31:58
ขอบคุณคับ ผมหาหลอดอยู่ จาได้ดูด อิอิ+ ว่าจารินใส่แก้วก็กระไรอยู่ หรือกะดกดี
หน้า: [1]