ปี 2013 เป็นปีที่ผมจับคีย์บอร์ดเขียนอีบุ๊ค Nonfiction แนว How-to อย่างเป็นทางการ ผมจะมาเล่าประสบการณ์และความรู้สำหรับผู้สนใจอยากเป็นนักเขียนอย่างเป็นทางการในความหมาย คือ เขียนขาย... หลังจากที่ก่อนหน้านั้นจะเขียนเป็นโบนัสหรือรวมเล่มบทความจากบล็อกเก่าแจกฟรีแฟนบล็อก (บล็อกเก่าคือบล็อกที่ปิดไปแล้ว) ซึ่งการเขียนขายช่วงแรกๆ ก็ทุลักทุเล งงๆ
แล้วก็ failed ไร้ผลตอบรับอย่างแรง เรียกว่ากะเลิกกันไปทีเดียวเพราะคิดว่าแนวนี้คงไม่ใช่ แต่พอลองใหม่ ศึกษาตลาด จับทิศจับทางจากประสบการณ์, และเริ่มต้นอีกครั้งก็ได้ผลตอบรับดีและมีรายได้ถึง 6 หลักในที่สุด

ภาพนี้เปิดเผยโดย Jeff Bezos CEO ของ Amazon.com ในงาน Amazon Kindle Event จัดที่ Los Angeles เมื่อปี 2012 เป็นการแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการทำตลาดของอีบุ๊คว่าเติบโตอย่างก้าวกระโดดและรุนแรง
ภายในเวลาเพียง 2 ปีสามารถสร้างปริมาณการขายเกินกว่าปริมาณขายของหนังสือเล่มบน Amazon ที่มาก่อนเป็นทศวรรษการเติบโตนี้อาจเป็นการกระโดดพุ่งขึ้นในระยะสั้นๆ ซึ่งแน่นอนว่าปริมาณจะมีการปรับฐานและมีความค่อยเป็นค่อยไปมากขึ้นในอีก 2-3 ปีข้างหน้า เพียงแต่ว่า ณ วันนี้ตลาดต้อนรับการมาของอีบุ๊คอย่างเห็นได้ชัด Trend นี้เป็นของในฝั่งอเมริกา สำหรับบ้านเรานั้นผมรู้สึกว่าตลาดยังไม่พัฒนามากนัก แต่เชื่อว่าอีกไม่กี่ปีจากนี้ไปคนน่าจะคุ้นเคยกับการบริโภคอีบุ๊คมากขึ้นโดยเฉพาะแนว How-to ที่ตอบสนองความต้องการข้อมูลทางเทคนิคที่รวดเร็วสำหรับเอาไปใช้แข่งขันในการพัฒนาชีวิตและธุรกิจส่วนตัว
จากประสบการณ์การอ่านส่วนตัวผม ปี 2013 ผมมีการซื้ออีบุ๊คประมาณไม่ต่ำกว่า 20 ไฟล์ครับ ส่วนหนังสือเล่มผมซื้อไปเพียงไม่เกิน 5 เล่ม ผมซื้ออีบุ๊คมากกว่าหนังสือเล่ม 4 เท่า เป็น Nonfiction แนว How-to ทั้งหมด
ส่วนนักอ่านฝรั่งมีการซื้ออีบุ๊คสูงถึงเฉลี่ย 30-40 ไฟล์ และซื้อหนังสือเล่มเฉลี่ย 5-10 เล่ม ส่วนหนึ่งที่ซื้อหนังสือเล่มบอกว่าซื้อเพราะใช้เป็นของขวัญญาติผู้ใหญ่, หัวหน้างาน และผองเพื่อน
สันนิษฐานว่าพฤติกรรมการอ่านของคนน่าจะเปลี่ยนไปมากจากนี้ไป และตรงนี้คือโอกาสของคนที่มีความรู้และ Content อยู่ในตัวจะสามารถผลิตผลงานเขียนของตัวเองได้เร็วขึ้น
ข้อดีข้อเสียของสำนักพิมพ์ เทียบ กับการทำอีบุ๊ค Self-publishข้อดีของสำนักพิมพ์ คือ มีทีมงานมืออาชีพที่เข้ามาสนับสนุนตั้งแต่การตรวจทานงาน พิสูจน์อักษร ให้คำแนะนำการแก้ไขเนื้อหา ฯลฯ ต่อมาคือช่องทางการขายและการตลาดที่ครบวงจรกว่า
แต่ข้อเสียของสำนักพิมพ์คือนักเขียนใหม่ๆ ไร้ชื่อไร้เสียง จะฝ่าด่านพิจารณายาก คนที่มาแชร์ประสบการณ์ให้ฟังบอกว่าใช้เวลาเป็นปีกว่าหนังสือเล่มแรกจะได้รับอนุมัติ และบางคนต้องออกทุนเอง
เนื่องจากสำนักพิมพ์เป็นระบบธุรกิจ มีต้นทุนและค่าใช้จ่าย fixed-cost ดังนั้นจึงเข้าใจได้ว่าสำนักพิมพ์ต้องพิจารณาโครงการที่มีความเสี่ยงน้อยและมีโอกาสขายสูง จนบางครั้งเนื้อหา Niche ที่เป็นความรู้เนื้อๆ กลับถูกปฏิเสธในขณะที่หนังสือคำคมอารมณ์ขันกลับได้รับการตีพิมพ์
แต่สำหรับอีบุ๊คแล้ว จะเหมาะกับเนื้อหาที่ Niche เพราะการขายอีบุ๊คทำผ่านอินเตอร์เน็ต ผ่านเว็บไซต์ ผ่านโซเชียลมีเดีย ที่ซึ่งคนรวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่มเป็น Community อยู่แล้วทำให้ผลิตงานเขียนแล้วตรงเข้าหากลุ่มได้เร็วกว่า ใช้เวลาอาจจะ 3-6 เดือนในการทำงาน, สร้างเว็บไซต์, สร้าง relationship ต่างๆ ฯลฯ อีกทั้งต้นทุน Fixed-cost ต่างๆนั้นต่ำกว่ามากในขณะที่ Profit margin สูงเพราะไม่ต้องแบ่งกับสำนักพิมพ์ กล่าวคือ นักเขียนผ่านสำนักพิมพ์รับประมาณ 15-20% จากราคาปก นักเขียนอีบุ๊ค Self-publish รับประมาณ 80-85% จากราคาปก
นักเขียนอีบุ๊ค Self-publish จึงไม่จำเป็นต้องกดดันยอดขายให้ได้เป็นหมื่นๆชุด หากสามารถขายหลัก 500-1000 ชุดก็สามารถสร้างรายได้ 6 หลักได้สำคัญที่การสร้าง Audienceผมมองว่าทุกๆอาชีพต้องมีความเป็นนักการตลาดในตัวเองรวมไปถึงนักเขียน
นักเขียนที่ประสบความสำเร็จหลายคนเป็นนักสร้างแบรนด์ อาทิ
คุณสมคิด ลวางกูร, คุณภาววิทย์ กลิ่นประทุม, ไบรอัน เทรซี่, ทิม เฟอร์ริส ฯลฯ บุคคลเหล่านี้เป็นนักการตลาดชั้นยอดที่สามารถ Crystalize หรือ สร้างผลึกทางความคิดแล้วสื่อออกไปให้รู้สึกจับต้องได้และมีพลัง ผลคือกลายเป็น Thought leader ในสาขาของตัวเอง พูดอะไรคนเฮตามไปหมด พอออกผลงาน หรือ จัดสัมมนา ทีขายดี ของหมด คนเต็ม ไม่มีใครบอกว่าของแพง
หลักการเดียวกันนี้สามารถนำมาใช้กับอีบุ๊คได้สมัยที่ผมออกอีบุ๊คเล่มแรกในชีวิต ราคาขายถูกสุดๆ 79 บาทยังไม่มีคนซื้อ แจกฟรียังไม่มีใครเอา แต่หลังจากพัฒนา Authority ของตนเองถึงจุดหนึ่ง ผมออกอีบุ๊คขายในราคา 200 บาท แพงกว่าเดิม 2.5 เท่า และแพงกว่าหนังสือเล่มหลายๆเล่มในร้านหนังสือ แต่สามารถขายได้ถึง 50,000 บาทภายใน 2 เดือน
ผมจึงเห็นว่า Mindset ของความเป็นนักธุรกิจและนักการตลาดมีความสำคัญต่อการนำมาประยุกต์ใช้ในการขาย Content ของคุณ การสร้าง Authority (ความเป็นเจ้าของเนื้อหา) และ Brand (ความเป็นเอกลักษณ์สินค้า) และ คุณภาพ (Quality) จะเป็นองค์ประกอบที่สร้างมูลค่าเพิ่มไม่ว่าสินค้าจะอยู่ในรูปแบบของ Physical หรือ Digital
ก็นำมาบอกเล่ากัน ณ โอกาสนี้ครับ แล้วค่อยว่ากันใหม่ ใครอยากเป็นนักเขียน กำลังซุ่มทำงานเขียน อยากถามอะไร คอมเมนต์อะไร ก็มาคุยกันได้ในกระทู้นี้ครับ
ผมเพิ่งเปิดเพจใหม่เกี่ยวกับด้านนี้โดยเฉพาะ ไป Join กันได้แล้วตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปครับที่
https://www.facebook.com/epicwriterr