ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

ThaiSEOBoard.comความรู้ทั่วไปE-commerceถามผู้เคยยื่นแบบภาษีบุคคลธรรมดา ผ่านอินเทอร์เน็ต (จดทะเบียนร้านค้า)
หน้า: [1]   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ถามผู้เคยยื่นแบบภาษีบุคคลธรรมดา ผ่านอินเทอร์เน็ต (จดทะเบียนร้านค้า)  (อ่าน 20243 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Artijip
คนรักเสียว
*

พลังน้ำใจ: 11
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 197



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 20 กรกฎาคม 2012, 11:00:43 »

ผมทราบมาว่าผู้ที่จดทะเบียนร้านค้าบุคคลธรรมดา (ที่ไปยื่นจดที่อบจ.50 บาทอ่ะครับ) จะต้องยื่นแบบเสียภาษี ภ.ง.ด. 94 ในครึ่งปีแรก และ ภ.ง.ด. 90 อีกในครึ่งปีหลัง
ผมเองไปจดทะเบีนพาณิชย์ มาเมื่อปี มกราคมปี 2553 แต่ก็ยังไม่ได้มีรายได้จากการขายสินค้า (ไปจดเพราะต้องการ เลขพาณิชย์อิเลคทรอนิค) แต่ตั้งแต่ต้นปี 2555 เริ่มมีรายได้เข้ามาแต่ก็ยังไม่มากมายอะไร และก็เคยเห็นเพื่อนๆในบอร์ดเคยบอกว่า สรรพากรอาจเรียกเราไปตรวจสมุดบัญชีหากเราไม่ยื่นเสียภาษี และมันจะต้องอธิบายกันยาวเรื่องเิงินเข้าออกในบัญชี ซึ่งผมว่ามันคงไม่สนุกแน่หากเรามีเงินเข้าออกเยอะซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับงานขายสินค้าของเรา ผมก็เลยคิดว่าอยากยื่นเสียภาษีให้มันถูกต้องจะได้สบายใจ จึงอยากยื่นแบบเสียภาษีทางอินเตอร์เน็ตเพราะคิดว่าคงจะสะดวกดีไม่ต้องไปที่สรรพากร แต่ก็ติดอยู่ที่ว่า ผมไม่เคยยื่นแบบมาก่อนเลยในชีวิต เพราะทำงานประจำมาก็ไม่เคยยื่นเอง เพราะทางบริษัทเขาจัดการให้ จึงอยากถามว่าต้องเริ่มต้นยังไง มีคำถามในใจคือ

1 เลขที่ประจำตัวผู้เสียภาษีใช้เลขที่บัตรประชาชนเลยได้ไหม
2 ต้องยื่นรายได้และเอกสารอย่างไร ผมขายของ ออนไลน์ โดยใช้ prestashop (เอายอดจากการขายเฉพาะเดือน มกกราคม-เดือน มิถุนายน ปี 2555 ใ่ช่ไหม)
3 ต้องยื่นเอกสารรายจ่ายเพื่อลดหย่อนด้วยไหม เช่น เบี้ยประกัน ค่าผ่อนบ้าน ค่าประกันสังคม และอื่นๆ
4 หากยื่นแล้วต้องเสียภาษี จะต้องไปชำระเงินที่ไหน

รบกวนผู้รู้ช่วยแนะนำด้วยนะครับ จะได้เป็นกรณีศึกษาให้ท่านอื่นด้วย
บันทึกการเข้า
xvlnw.com
Verified Seller
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
*

พลังน้ำใจ: 493
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,905



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 20 กรกฎาคม 2012, 11:02:40 »

ติดตามด้วยครับ อยากรู้เหมือนกัน
 wanwan003
บันทึกการเข้า

Legolas
Global Moderator
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
*****

พลังน้ำใจ: 889
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 10,115



ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 20 กรกฎาคม 2012, 11:05:33 »

มารอฟังด้วยคนครับไม่รู้เรื่องเหมือนกัน  Tongue
บันทึกการเข้า




ตอนนี้มีโปร $29.99 Creative Fabrica ถูกที่สุดสำหรับทำ POD,KDP
ขาย License wp theme 5 ธีมจา่ก Themeforest Newspaper, KALLYAS, Puzzle, Valenti, Jarida ราคาถูกมาก pm มาได้เลยครับ
รับทำ vdo avartar สำหรับนำเสนอ aff ต่างประเท
montherstss
หัวหน้าแก๊งเสียว
*

พลังน้ำใจ: 114
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,753



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 20 กรกฎาคม 2012, 11:08:12 »

ปูเสี่ือรอฟัง
บันทึกการเข้า

Kalin
หัวหน้าแก๊งเสียว
*

พลังน้ำใจ: 96
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,786



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 20 กรกฎาคม 2012, 11:25:27 »

รอฟังด้วยคนครับ
บันทึกการเข้า

xvlnw.com
Verified Seller
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
*

พลังน้ำใจ: 493
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,905



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 20 กรกฎาคม 2012, 13:49:34 »

ดัน
 wanwan003
บันทึกการเข้า

chaiyanan
ก๊วนเสียว
*

พลังน้ำใจ: 19
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 386



ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 20 กรกฎาคม 2012, 14:15:54 »

ถ้ามีเวลาแนะนำว่าไปที่สรรพากร จังหวัด อำเภอ หรือเขต จะสะดวกกว่าครับ เจ้าหน้าที่เค้าแนะนำดีอยู่ครับ ไม่ขี้รำคาญเหมือน เจ้าหน้าที่ ที่ดิน

สำหรับครั้งแรกน่ะครับ ครั้งต่อไปทำผ่านออนไลน์ได้เลย

บันทึกการเข้า

"Some dream of worthy accomplishments, while others stay awake and do them."
- - Anonymous - -
บางคนฝันที่จะประสบความสำเร็จอย่างสวยหรู ในขณะที่บางคนกำลังลงมือกระทำ
forlife
คนรักเสียว
*

พลังน้ำใจ: 27
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 105



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 20 กรกฎาคม 2012, 14:46:23 »

ถ้าจดทะเบียนพาณิชย์ ข้อมูลเข้าสรรพากรแน่นอนครับ ถ้าเป็น กทม. เจ้าหน้าที่อาจมาหาช้าหน่อย
แต่ต่างจังหวัดจะมีเจ้าหน้าที่ออกมาสำรวจให้คำแนะนำถึงตัวแน่ๆ ขอตอบเป็นข้อๆ ตามที่ถามมานะครับ
1. ปัจจุบันใช้เลขประชาชน 13 หลักได้เลย ไม่ต้องไปขอมีเลขฯ ที่สำนักงานสรรพากรแล้ว
2. บุคคลธรรมดายื่นแสดงรายได้ (ใช้วิธีประเมินรายได้ของตนเอง) ยื่นแบบฯ ปีล่ะ 2 ครั้ง คือช่วงครึ่งปี ใช้แบบ ภงด.94 ยื่นได้ 1 ก.ค.-30 ก.ย.ทุกปี และแบบ ภงด.90 ยื่นแสดงรายได้ทั้งปี ตั้งแต่ 1 ม.ค.-31 มี.ค. สำหรับเอกสารหลักฐานก็พวกหนังสือหัก ณ ที่จ่าย หนังสือรับรองประกันชีวิต เป็นต้น
3. ต้องยื่นแสดงหลักฐานลดหย่อน ได้แก่ ประกันชีวิตต้องแบบ 10 ปีขึ้นไป ลดหย่อนบิดามารดาที่อายุ 65 ปี (ต้องไม่มีเงินได้ถึง 30,000) ฯลฯ
4. ชำระเงินได้ได้ช่องทางเลย สะดวกสุดก็ที่สำนักงานสรรพากรนั้นล่ะครับ

คำแนะนำของผมนะ
1. ทำงานออนไลน์ ก็ยื่นแบบฯ ออนไลน์ คือ ยื่นทางเน็ตไปเลยซิครับ ไม่ต้องไปติดต่อเจ้าหน้าที่ฯ
2. ประเมินรายได้ตนเอง กรอกตามแบบฟอร์มในเน็ต ไม่ยากครับสำหรับคนทำงานออนไลน์อยู่แล้ว
3. ปัจจุบันนี้ ถ้าเป็นร้านค้าขายของทั่วไปอย่างเดียว เงินได้ทั้งปีไม่ถึงล้าน ไม่มีภาษีต้องชำระ แต่ต้องยื่นแบบฯ (ทางเน็ตนั้นล่ะ)
   ถ้าเงินได้เกิน 1ล้าน สรรพากรคิดภาษี 2 วิธี ส่วนใหญ่จะเสียอัตราเหมา .005 พูดง่ายๆ คือ รายได้ 1000 เสียภาษี 5 บาท  รายได้ 1,000,001 เสียภาษี 5,000 บาท

     
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 กรกฎาคม 2012, 14:52:24 โดย forlife » บันทึกการเข้า

++ ประกาศ "ซื้อขายที่ดิน" ฟรี ที่ www.Taladteedin.com อ่านว่า ตลาดที่ดินดอทคอม
xvlnw.com
Verified Seller
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
*

พลังน้ำใจ: 493
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,905



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 20 กรกฎาคม 2012, 14:53:28 »

^
ขอบคุณครับ
 wanwan017
บันทึกการเข้า

forlife
คนรักเสียว
*

พลังน้ำใจ: 27
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 105



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 20 กรกฎาคม 2012, 15:04:00 »

^
ขอบคุณครับ
 wanwan017

 Embarrassed..แนะนำตามที่รู้มาจากเจ้าหน้าที่น่ะครับ เรื่องภาษี คนทำงานออนไลน์ต้องพอรู้กันบ้าง เป็นหน้าที่ของทุกคน เราจะอ้างเจ้าหน้าที่ว่าเราไม่รู้ไม่ได้เลย  Tongue Tongue
บันทึกการเข้า

++ ประกาศ "ซื้อขายที่ดิน" ฟรี ที่ www.Taladteedin.com อ่านว่า ตลาดที่ดินดอทคอม
imagineverend
สมุนแก๊งเสียว
*

พลังน้ำใจ: 178
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 912



ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 20 กรกฎาคม 2012, 15:31:52 »

มาเก็บความรู้  wanwan017
บันทึกการเข้า
Artijip
คนรักเสียว
*

พลังน้ำใจ: 11
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 197



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 20 กรกฎาคม 2012, 15:53:19 »

ถ้าจดทะเบียนพาณิชย์ ข้อมูลเข้าสรรพากรแน่นอนครับ ถ้าเป็น กทม. เจ้าหน้าที่อาจมาหาช้าหน่อย
แต่ต่างจังหวัดจะมีเจ้าหน้าที่ออกมาสำรวจให้คำแนะนำถึงตัวแน่ๆ ขอตอบเป็นข้อๆ ตามที่ถามมานะครับ
1. ปัจจุบันใช้เลขประชาชน 13 หลักได้เลย ไม่ต้องไปขอมีเลขฯ ที่สำนักงานสรรพากรแล้ว
2. บุคคลธรรมดายื่นแสดงรายได้ (ใช้วิธีประเมินรายได้ของตนเอง) ยื่นแบบฯ ปีล่ะ 2 ครั้ง คือช่วงครึ่งปี ใช้แบบ ภงด.94 ยื่นได้ 1 ก.ค.-30 ก.ย.ทุกปี และแบบ ภงด.90 ยื่นแสดงรายได้ทั้งปี ตั้งแต่ 1 ม.ค.-31 มี.ค. สำหรับเอกสารหลักฐานก็พวกหนังสือหัก ณ ที่จ่าย หนังสือรับรองประกันชีวิต เป็นต้น
3. ต้องยื่นแสดงหลักฐานลดหย่อน ได้แก่ ประกันชีวิตต้องแบบ 10 ปีขึ้นไป ลดหย่อนบิดามารดาที่อายุ 65 ปี (ต้องไม่มีเงินได้ถึง 30,000) ฯลฯ
4. ชำระเงินได้ได้ช่องทางเลย สะดวกสุดก็ที่สำนักงานสรรพากรนั้นล่ะครับ

คำแนะนำของผมนะ
1. ทำงานออนไลน์ ก็ยื่นแบบฯ ออนไลน์ คือ ยื่นทางเน็ตไปเลยซิครับ ไม่ต้องไปติดต่อเจ้าหน้าที่ฯ
2. ประเมินรายได้ตนเอง กรอกตามแบบฟอร์มในเน็ต ไม่ยากครับสำหรับคนทำงานออนไลน์อยู่แล้ว
3. ปัจจุบันนี้ ถ้าเป็นร้านค้าขายของทั่วไปอย่างเดียว เงินได้ทั้งปีไม่ถึงล้าน ไม่มีภาษีต้องชำระ แต่ต้องยื่นแบบฯ (ทางเน็ตนั้นล่ะ)
   ถ้าเงินได้เกิน 1ล้าน สรรพากรคิดภาษี 2 วิธี ส่วนใหญ่จะเสียอัตราเหมา .005 พูดง่ายๆ คือ รายได้ 1000 เสียภาษี 5 บาท  รายได้ 1,000,001 เสียภาษี 5,000 บาท

     
 

ขอบคุณครับ

รายได้นี่เอายอดขายตั้งแต่ 1 ม.ค. - 30 มิ.ย. ใช่ไหมครับ

เดี่ยวสัปดาห์หน้าผมจะลองทำดู หากไม่ได้ยังไงเดี๋ยวค่อยไปหาสรรพากร
บันทึกการเข้า
Artijip
คนรักเสียว
*

พลังน้ำใจ: 11
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 197



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 20 กรกฎาคม 2012, 16:20:02 »

สงสัยอีกนิดหนึ่งครับ
เขาจะทราบได้ยังไงว่าผมกรอกรายได้ เป็นข้อมูลจริง เพราะเท่าที่เข้าใจว่า ไม่ได้ยื่นเอกสารอะไรไปเลยแค่ให้กรอกตัวเลข รายได้พึ่งประเมิน
แล้วก็กรอก ค่าลดหย่อน
บันทึกการเข้า
Giffariner
สมุนแก๊งเสียว
*

พลังน้ำใจ: 35
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 872



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 20 กรกฎาคม 2012, 16:24:47 »

วันนี้ สรรพากรเพิ่งมาเยี่ยมบ้าน Tongue
บันทึกการเข้า

บริการอาหารปิ่นโต
บริการอาหารปิ่นโต อาหารกล่อง โทร. 0908121314
กิฟฟารีนเดลิเวอร์รี่
Artijip
คนรักเสียว
*

พลังน้ำใจ: 11
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 197



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 20 กรกฎาคม 2012, 16:44:23 »

ลองอ่านดูครับ หามาจากเว็บไซต์ http://www.pattanakit.net

ภ.ง.ด.94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี

 

   วันจันทร์ที่ 31 ส.ค. 2552 นี้ เป็นวันสุดท้ายของกำหนดเวลายื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีแรก (ภ.ง.ด.51) ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ สำหรับบริษัท ฯลฯ ที่มีรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2552 หากลืมยื่นแบบล่ะก็ งานเข้าแน่ๆ นอกจากจะเสียค่าปรับและเงินเพิ่มแล้ว ยังเสียเวลาอีกด้วย

และในช่วงนี้ยังเป็นกำหนดเวลาของการยื่นแบบภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาครึ่งปีภาษี (ภ.ง.ด.94) สำหรับผู้มีเงินได้พึงประเมิน บางประเภท กำหนดเวลายื่นแบบเริ่มตั้งแต่เดือน ก.ค.ถึงเดือน ก.ย. 2552 พูดง่ายๆ ว่า กำหนดเวลายื่นแบบเริ่มต้นพร้อมกับบริษัท ฯลฯ แต่กำหนดเวลาสิ้นสุดของการยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีภาษีจะสิ้นสุดในเดือน ก.ย.ในปีนี้ วันสุดท้ายของการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 จะตรงกับวันพุธที่ 30 ก.ย. 2552

การยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีภาษี (ภ.ง.ด.94) นั้น มีใครบ้างที่มีหน้าที่ยื่นแบบเสียภาษี ต้องมีเงินได้ประเภทใด การหัก ค่าใช้จ่ายของเงินที่หามาได้หักได้มากน้อยเท่าใด ค่าลดหย่อนที่นำ มาใช้ต้องเป็นอย่างไร การคำนวณภาษีมีวิธีใดบ้าง การยกเว้นภาษีมีกรณีใด จะต้องยื่นแบบเสียภาษีที่ใด แบ่งชำระภาษีได้หรือไม่ หาก ไม่ยื่นแบบภายในกำหนดเวลามีโทษใดบ้าง และประเด็นที่มักผิดพลาดในการยื่นแบบเสียภาษีมีอะไรบ้าง จึงขอสรุปโดยย่อ ดังนี้

   ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประมวลรัษฎากรได้แบ่งผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาออกเป็น 4 หน่วยภาษี ได้แก่ บุคคลทั่วไป ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ มิใช่นิติบุคคล ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี และกองมรดกที่ยัง มิได้แบ่ง ปกติจะเกี่ยวข้องกับบุคคลทั่วไปซึ่งเป็นเราๆ ท่านๆ ที่มี ลมหายใจอยู่นี่แหละ ไม่ว่าจะอายุเท่าใด สัญชาติใดก็ตาม หากมีเงินได้พึงประเมินตามประเภทและถึงเกณฑ์ตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องยื่นแบบเสียภาษีไม่ว่าจะมีภาษีต้องชำระหรือไม่ก็ตาม ที่เยอะขึ้นมาหน่อยก็เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่ นิติบุคคล ซึ่งถือเป็นหน่วยภาษีอีกรูปแบบหนึ่ง สำหรับผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษีและกองมรดกที่ยังมิได้แบ่งนั้นมีจำนวนไม่มากนัก

   ประเภทเงินได้พึงประเมิน ประมวลรัษฎากรได้แบ่งเงินได้ออกเป็น 8 ประเภท ตามมาตรา 40 (1)-(Cool แต่กฎหมายกำหนด ให้ผู้ที่มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5)–(Cool ต้องนำเงินได้ พึงประเมินมายื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกให้นำเงินได้พึงประเมินที่เกิดขึ้นในช่วงเดือน ม.ค.ถึงเดือน มิ.ย. มายื่นเสียภาษีด้วยแบบ ภ.ง.ด.94 ภายในเดือนก.ย.ของปีนั้น และ เมื่อสิ้นปีก็ให้นำเงินได้พึงประเมินที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือน ม.ค.ถึงเดือน ธ.ค. มายื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษีด้วยแบบ ภ.ง.ด.90 ภายในเดือน มี.ค.ปีถัดไปอีกครั้งหนึ่ง

ประเภทเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5) แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่ เงินได้จากค่าเช่าทรัพย์สินไม่ว่าจะเป็นสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์, เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) เป็นเงินได้จากวิชาชีพกฎหมาย บัญชี วิศวกรรม แพทย์ สถาปัตยกรรม และประณีตศิลปกรรม, เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (7) เป็นเงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาจัดหาสัมภาระ และเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (Cool เป็นเงินได้จากการขายสินค้า การพาณิชยกรรม การขนส่ง การเกษตรกรรม และอื่นๆ หรือเป็นเงินได้พึงประเมินที่ ไม่เข้าลักษณะตามมาตรา 40 (1)-(7) แห่งประมวลรัษฎากร

ท่านคงทราบแล้วว่าใครบ้างที่กฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5)-(Cool แห่งประมวลรัษฎากรมีอะไรบ้าง ต่อไปค่อยมาว่ากัน เกี่ยวกับการคิดคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีภาษีว่า คิดอย่างไร การหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนเป็นเช่นไร

  เรามาดูเรื่อง ภ.ง.ด.94 ต่อ ครับ  ครั้งก่อนได้กล่าวถึงผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาว่ามีใครบ้าง และประเภทเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5)(Cool แห่งประมวลรัษฎากรมีอะไรบ้าง วันนี้มาต่อกันในเรื่องของวิธีการคิดคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) ว่ามีวิธีการคิดอย่างไร

 

วิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีมีวิธีการคิดคำนวณ 2 วิธี ดังนี้

วิธีที่ 1 คำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ ตามมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้เสียภาษีนำเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่เดือน ม.ค. ถึงเดือน มิ.ย. หักออกด้วยค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนเหลือเท่าใดเป็นเงินได้สุทธิ แล้วให้นำเงินได้สุทธิไปคำนวณภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะได้จำนวนภาษีต้องชำระ

ทั้งนี้ เงินได้สุทธิ 1.5 แสนบาทแรก จะได้รับยกเว้นภาษี การคำนวณภาษีวิธีนี้จะมีภาษีต้องชำระก็ต่อเมื่อมีเงินได้สุทธิเกินกว่า 1.5 แสนบาทขึ้นไป

การเสียภาษีจะเริ่มในอัตราภาษี 10% สำหรับเงินได้สุทธิที่ เกินกว่า 1.5 แสนบาท แต่ไม่เกิน 5 แสนบาท เสีย 20% สำหรับเงินได้สุทธิที่เกินกว่า 5 แสนบาท แต่ไม่เกิน 1 ล้านบาท เสียในอัตรา 30% สำหรับเงินได้สุทธิที่เกินกว่า 1 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 4 ล้านบาท และเสียภาษีในอัตรา 37% สำหรับเงินได้สุทธิที่เกินกว่า 4 ล้านบาทขึ้นไป

วิธีที่ 2 คำนวณภาษีจากเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 48(2) แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้เสียภาษีที่มีเงินได้พึงประเมินเกินกว่า 1 ล้านบาทขึ้นไป นำเงินได้พึงประเมินไปคำนวณภาษีในอัตรา 0.50% จะได้จำนวนภาษีที่ต้องชำระตามวิธีนี้ หากมีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 1 ล้านบาท ก็ไม่ต้องคำนวณวิธีนี้ แต่ยังคงต้องคำนวณภาษีวิธีที่ 1 ซึ่งอาจจะมีภาษีต้องชำระหรือไม่ก็ได้

กฎหมายกำหนดให้ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2)-(Cool แห่งประมวลรัษฎากร หรือมีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และยังมีเงินได้ตามมาตรา 40(2)-(Cool อีก ต้องคำนวณภาษีเงินได้ทั้งวิธีที่ 1 และ 2 หากมีเงินได้พึงประเมินประเภทเงินเดือนค่าจ้างตามมาตรา 40(1) อย่างเดียว ให้คำนวณภาษีวิธีที่ 1 วิธีเดียวเท่านั้น กรณีเงินได้พึงประเมินที่ต้องคำนวณภาษีตามวิธีที่ 1 และวิธีที่ 2 ผู้เสียภาษี จะต้องเปรียบเทียบจำนวนภาษีที่ต้องชำระดูก่อน วิธีใดมีจำนวนภาษีต้องชำระมากกว่าก็ให้เสียภาษีตามวิธีนั้น

การหักค่าใช้จ่าย เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5)-(Cool แห่งประมวลรัษฎากร กฎหมายให้สิทธิผู้เสียภาษีเลือกหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละที่กฎหมายกำหนด หรือเลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริงโดยนำการหักรายจ่ายตามมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี ที่บังคับใช้กับบริษัทมาอนุโลมใช้ สำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(Cool บางรายการที่กฎหมายไม่ได้ระบุให้เลือกหักค่าใช้จ่ายเหมาได้ จะต้องหักค่าใช้จ่ายตามจริงเท่านั้น

การหักค่าใช้จ่ายเหมาของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5)-(Cool แห่งประมวลรัษฎากร กฎหมายได้กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรฉบับที่ 11 ซึ่งได้กำหนดอัตราหักเป็นการเหมาไว้แตกต่างกันหลายอัตราสำหรับเงินได้แต่ละประเภท ในการยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี ผู้เสียภาษีจะเลือกหักค่าใช้จ่ายเหมา หรือเลือกหักค่าใช้จ่ายจริงแตกต่างกันในแต่ละปีภาษีได้ ไม่มีกฎหมายบังคับว่าใช้อย่างไรแล้วต้องใช้อย่างนั้นตลอดไป ขึ้นอยู่กับผู้เสียภาษีจะเลือกใช้วิธีใด เช่น ประกอบกิจการ ซื้อมาขายไป ปีที่ผ่านมาเคยหักค่าใช้จ่ายเหมา 80% ของเงินได้ พึงประเมิน แต่ปีภาษีนี้มีหลักฐานค่าใช้จ่ายในกิจการสูงถึง 90% ก็สามารถเลือกที่จะหักค่าใช้จ่ายจริงได้

         เรื่องเกี่ยวกับค่าลดหย่อนในการคิดคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี

ประมวลรัษฎากรได้แบ่งค่าลดหย่อนออกเป็นหลายประเภท จำนวนเงินที่ให้หักก็มากน้อยแตกต่างกัน การนำค่าลดหย่อนมาคิดคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี กฎหมายกำหนดให้นำมา หักลดหย่อนได้เพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้น สรุปได้ดังนี้

ค่าลดหย่อนส่วนบุคคล ผู้มีเงินได้หักได้ 1.5 หมื่นบาท คู่สมรส ที่ไม่มีเงินได้หักได้ 1.5 หมื่นบาท บุตรหักได้คนละ 7,500 บาท แต่จะหักบุตรได้ไม่เกิน 3 คน

กรณีที่ผู้เสียภาษีเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่ นิติบุคคล จะหักลดหย่อนได้เพียง 3 หมื่นบาท กองมรดกที่ยังมิได้แบ่งจะหักลดหย่อนได้ 1.5 หมื่นบาท สำหรับผู้ที่ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษีให้หักลดหย่อนได้เสมือนผู้ตายยังมีชีวิตอยู่

ค่าเบี้ยประกันชีวิต ที่ได้จ่ายไปจริงในช่วงเดือน ม.ค.ถึงเดือนมิ.ย. ผู้มีเงินได้และคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้จะหักลดหย่อนได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ ไม่เกินคนละ 5,000 บาท ส่วนค่าเบี้ยประกันชีวิตที่เกินกว่า 1 หมื่นบาท แต่ไม่เกิน 9 หมื่นบาท เป็นเรื่องของการยกเว้นภาษีของผู้มีเงินได้เท่านั้น ไม่รวมถึงคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ สรุปได้ว่า เฉพาะตัวของ ผู้มีเงินได้สามารถหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีจากค่าเบี้ยประกันชีวิตได้ไม่เกิน 9.5 หมื่นบาท ในการยื่นแบบเสียภาษีเงินได้ครึ่งปี

ค่าลดหย่อนเพื่อการศึกษาบุตร การยื่นแบบเสียภาษีเงินได้ครึ่งปี ผู้มีเงินได้ที่มีคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ จะหักลดหย่อนเพื่อการศึกษาบุตร ได้คนละ 1,000 บาท และนำบุตรมาหักได้ 3 คน กรณีต่างฝ่ายต่างมีเงินได้จะหักลดหย่อนเพื่อการศึกษาบุตรได้เพียงคนละ 500 บาท ต่อบุตร 1 คนเท่านั้น

ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ที่ผู้มีเงินได้จ่ายให้แก่ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์หรือนายจ้างสำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย โดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้าง เป็นประกันการกู้ยืม หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงในช่วงเดือน ม.ค.ถึงเดือนมิ.ย. แต่ไม่เกิน 5,000 บาท ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมส่วนที่เกินกว่า 1 หมื่นบาท แต่ไม่เกิน 9 หมื่นบาท เป็นเรื่องของการยกเว้นภาษีของผู้มีเงินได้ สรุปได้ว่า ผู้มีเงินได้จะหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีจากดอกเบี้ยเงินกู้ยืมรวมแล้วไม่เกิน 9.5 หมื่นบาท ในการยื่นแบบเสียภาษีเงินได้ครึ่งปี

เงินสมทบกองทุนประกันสังคม ผู้มีเงินได้ที่จ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมหรือคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้แต่ได้จ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคม สามารถหักลดหย่อนได้เท่าที่จ่ายจริงในช่วงเดือน ม.ค. ถึงเดือน มิ.ย.โดยแต่ละคนจะหักได้ไม่เกินคนละ 4,500 บาท

ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา หักลดหย่อนได้ทั้งบิดามารดาของผู้มีเงินได้และบิดามารดาของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ โดยสามารถหักลดหย่อนได้คนละ 1.5 หมื่นบาท รวมแล้วหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 6 หมื่นบาท ในการยื่นแบบเสียภาษีเงินได้ครึ่งปี ทั้งนี้ บิดามารดาต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป บิดาหรือมารดาต้องไม่มีเงินได้พึงประเมินเกินกว่า 3 หมื่นบาทขึ้นไปในปีภาษีนั้น และต้องมีหลักฐานการอุปการะเลี้ยงดูจาก บิดามารดา

เงินบริจาค ผู้มีเงินได้สามารถนำมาหักลดหย่อนได้เพียงครึ่งหนึ่งของเงินที่บริจาคจริงในช่วงครึ่งปีแรก และต้องไม่เกิน 10% ของ เงินได้สุทธิ ซึ่งคำนวณจากเงินได้พึงประเมินที่ได้หักค่าใช้จ่ายและ ค่าลดหย่อนอื่นๆ ออกแล้ว

นั่นเป็นค่าลดหย่อนที่สามารถนำมาหักในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี แต่หากท่านดูรายการในแบบ ภ.ง.ด. 94 แล้ว จะพบรายการที่ยกเว้นภาษีอีกหลายรายการ มีอะไรบ้าง เงื่อนไขการใช้คำนวณภาษีเป็นอย่างไร สัปดาห์หน้าค่อยมาว่ากันต่อ สวัสดีครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
พิมพ์