ล่าสุดผมได้มีโอกาส ไปพูดคุยกับนายทะเบียนพาณิชย์ จังหวัด และบุคลากรกรมสรรพากร ได้ครับความรู้ และความกระจ่าง
เกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครับ กล่าวคือ หากเรามีรายได้ ปีหนึ่งไม่เกิน 1.8 ล้านบาท เราไม่ต้องเสียภาษีครับ นั่นหมายความว่า
หากท่านเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ใช้ทะเบียนพาณิชย์ ประเภทใดๆ ก็ตาม ซึ่งหากรายได้ของท่าน ไม่เกิน 1 แสน 5 หมื่นบาท/เดือน
ท่านไม่ต้องยื่นจำนงขอเสียภาษีแต่อย่างใด เว้นแต่ท่านจะมีรายได้มากกว่า 1 แสน 5 หมื่นบาท/เดือน ซึ่งหมายความว่า หากท่านมีรายได้
ไม่เกินจำนวนดังกล่าว ก็ไม่ต้องวิตกกังวลเกี่ยวกับกรมสรรพากรแต่อย่างใด อีกทั้งกรมสรรพากรเก็บภาษีตามกำลังและความสามารถของท่าน
ซึ่งมั่นใจได้ว่าภาษีที่ได้จะไม่กระทบต่อการดำรงชีวิต และอีกทั้งเงินที่เราเสียภาษี รัฐก็นำเอาไปพัฒนาประเทศ แต่หากถามว่า บางคนมีบัญชี
ธนาคารหลายบัญชี บัญชีแต่ละบัญชีเกิน 1 แสน 5 หมื่นบาท/เดือน อย่างไรก็ตาม หากรวมยอดบัญชีของบุคคลชื่อนั้นๆ หรือในนามพาณิชย์
ต่างมากกว่าที่กำหนด ก็ต้องเสียภาษี ซึ่ง ภาษีที่ต้องจ่ายนั้น ขึ้นอยู่กับรูปแบบ ดังต่อไปนี้
1. บุคคลธรรมดา เสียภาษี น้อยสุด กว่าคือ เสียเพียง ประมาณ 1,500 บาท/ปี (จากที่ผมสอบถามเจ้าหน้าที่)
2. ทะเบียนพาณิชย์ บุคคลธรรมดา คล้ายกับข้อ 1
3. ห้างหุ้นส่วนสามัญ มีการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ ในการประกอบการ ซึ่งเสียไม่มากเหมือน หจก.
4. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องเสียภาษาตามเกณฑ์ที่รัฐกำหนด ซึ่งในรูปแบบห้างหุ้นส่วนนั้น มีการเก็บภาษีย้อนหลัง และตรวจสอบละเอียด
5. บริษัท ในรูปแบบบริษัท ต้องมีทุนจดทะเบียน ประมาณ 1 ล้านบาท และทุนที่ใช้จด อาจเป็นทุนจากหลายๆ ส่วน อาจหมายถึง
ทุนสถานที่ประกอบการ ทุนค้าจ้างพนักงาน ทุนดำเนินงานต่างๆ ซึ่งรวมแล้วควรมีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาทขึ้นไป และหักภาษี 10%
ของผลประกอบการ และการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับบริษัทค่อนข้างทำได้ยาก เพราะมีหลายขั้นตอน มีเจ้าหน้าที่รัฐตรวจสอบ
บัญชีและผลประกอบการอย่างละเอียด
