รู้สึกจะเป็นเมื่อเดือนที่แล้ว ที่มีกระแสเกี่ยวกับงาน Programmer ในเมืองไทย ว่ามันกำลังเข้าสู่ขั้นวิกฤต ไม่ใช่งานที่สบายและได้รับผลตอบแทนน้อย ทำให้ทุกวันนี้มีคนที่อยากเป็น Programmer ลดลงทุกวันๆ …. อันนี้คือกระแสในไทยนะครับ
แต่ผมก็เห็นอีกกระแสนึงในต่างประเทศเหมือนกัน ที่มีเจ้าพ่อวงการ IT ดังๆ หลายๆ คนเช่น Mark Zuckerberg หรือ Bill Gate มาคอยสนับสนุนให้เด็กรุ่นใหม่หันมาสนใจเขียนโปรแกรมกันมากขึ้น มีคนหนึ่งในคลิปบอกว่า The Programmers of tomorrow are the WIZARDS of the future และหลายๆ คนในคลิปนี้ก็รู้สึกถึงความยิ่งใหญ่ของ Programmer ซึ่งไม่ใช่อาชีพที่หลายๆ คนมองว่าเป็นกรรมกรไอที
ใครยังไม่ได้ดูคลิปนี้ ก็เชิญดูด้านล่างนี้ได้เลยครับ แล้วจะเห็นว่าหลายๆ คนเห็นความสำคัญของ Programmer มากแค่ไหน
ทำไม Programmer ในไทยถึงเข้าขั้นวิกฤต?ผมคิดว่าเป็นเพราะวงการ IT ของไทยยังไม่เป็นที่นิยมมากครับ จริงอยู่ว่าคนในสังคมไทยใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ กันอย่างแพร่หลาย แต่คำถามคือ เรามีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เป็นของเราและออกสู่สายตาชาวโลกกันรึยัง? เรามี Smart Phone ที่สามารถไปแข่งกับต่างชาติได้รึยัง? เอาแค่ประเทศใกล้ตัวอย่างเกาหลี เค้าผลักดัน Samsung ไปสู่สายตาชาวโลกได้ขนาดไหน เราทำได้ซักครึ่งหนึ่งของเค้าบ้างแล้วรึยัง? … คำตอบก็คือยัง หรือถ้ามีก็ยังไม่เป็นที่รู้จักกันซักเท่าไร
เท่าที่ผมได้ลองสัมผัสตลาดแรงงานในไทยมาประมาณครึ่งเดือน ผมรู้สึกได้ว่าประเทศเราเน้นการขายสินค้าให้คนอื่น มากกว่าสร้างสินค้าขึ้นมาเองครับ ลองดูแค่อาชีพที่เปิดรับสมัครดูก็ได้ ตำแหน่งเกี่ยวกับนักขายหรือให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสินค้าหรือธุรกิจ จะมีมากกว่านักสร้างอย่างเห็นได้ชัดเลย นักบัญชี, Consultant, นักการตลาด, System Analyst ฯลฯ อาชีพพวกนี้เงินเดือนมากกว่า Programmer หลายเท่านัก ทั้งๆ ถ้าดูเฉพาะในวงการ IT หลายๆ สิ่งที่ปรากฏสู่สายตาชาวโลก มาจากการสร้างของ Programmer แทบทั้งนั้น เพราะเหตุนี้อาชีพเหล่านี้จึงเป็นที่ต้องการมากในเมืองไทย พูดเก่งๆ นำเสนอเก่งๆ เป็นทักษะที่ตลาดไทยต้องการครับ
“Programmer อาจจะเป็นส่วนล่างสุดของ Operation ทั้งหมด แต่ขาด Operation นี้ไป สินค้าก็ไม่เกิด เราจับ Programmer ไปช่วยขายของได้ แต่เราจับพวกนักบัญชีหรือนักขายมาเขียนโปรแกรมได้มั้ย? … ถ้าไม่ได้ ก็ไม่มีสินค้า”
ผมเพิ่งมีโอกาสได้ดูคลิปวิกฤตการณ์โปรแกรมเมอร์ไทยจากรายการแบไต๋ไฮเทค มีบางส่วนบอกว่างานโปรแกรมเมอร์เป็นงานที่หนัก ทำให้หลายๆ คนที่ทำงานนี้ ลาออกและไปทำอาชีพอื่น … ใช่ครับ อาชีพนี้ทำงานหนักจริง แต่ในประเทศไทยผมว่ามันอาจจะหนักเกินความเป็นจริงไปหน่อย เพราะจริงๆ แล้ว Process การสร้าง Software ขึ้นมาซักตัวหนึ่ง ไม่ได้มีแค่โปรแกรมเมอร์ทำเพียงคนเดียวครับ ทั้งโปรเจคท์จะมี Project Manager, Business Analyst, System Analyst, Software Engineer, Programmer, ฯลฯ น่าจะมีอีกหลายๆ ตำแหน่งที่ผมไม่รู้จัก ที่มาคอยแบ่งเบาภาระโปรแกรมเมอร์ได้ครับ
แบ่งเบายังไง? จริงๆ แล้วหน้าที่หลักของโปรแกรมเมอร์คือการ Coding ครับ ตาม Order ที่ได้รับมา จะมีฝ่ายอื่นๆ คอยช่วยออกแบบการทำงานต่างๆ ของโปรแกรม และฐานข้อมูลให้อย่างละเอียด ทุกๆ อย่างจะถูกกลั่นกรองมาค่อนข้างละเอียดแล้ว ก่อนจะส่งถึงมือโปรแกรมเมอร์ครับ (ตามที่ผมอ่านมาในหนังสือนะ) การวิเคราะห์ Requirement จากลูกค้า และออกแบบการทำงานต่างๆ อย่างละเอียด จะช่วยลดภาระโปรแกรมเมอร์ได้ค่อนข้างมากเลยทีเดียวครับ และงานที่ออกมาก็จะออกมาค่อนข้างดี และไม่ต้องแก้ไขมากด้วย
แต่บริษัทในประเทศไทยระบบงานมันไม่ได้เป็นแบบนั้น … ในประเทศไทยผมเห็นหลายๆ บริษัทไม่มีตัวกลางระหว่างลูกค้าและโปรแกรมเมอร์ครับ … จริงๆ ก็มีแหละ พวก Business Analyst, System Analyst ที่ไปรับ Requirement จากลูกค้า และส่งต่อให้โปรแกรมเมอร์ แต่ปัญหาคือตำแหน่งนี้ในไทยยังแยกไม่ชัดเจนครับ บางบริษัท ถ้าเกิดว่า System Analyst ออกแบบโปรแกรมหรือฐานข้อมูลไม่เป็น ก็จะทำให้ภาระทั้งหมดตกอยู่ที่โปรแกรมเมอร์ครับ ซึ่งไม่ต่างอะไรกับการ Deal งานกับลูกค้าตรงๆ เลย แล้วแบบนี้งานมันจะไม่หนักได้ยังไงกันล่ะครับ?
และที่น่าสลดใจคือเงินเดือนของอาชีพนี้ในประเทศไทยเริ่มต้นแค่ 15-30k เท่านั้น ถ้าเทียบกับตำแหน่งอื่นๆ แล้ว น้อยกว่าเยอะมากๆ แล้วแบบนี้จะให้ใครหันไปเรียนเขียนโปรแกรมล่ะครับ เรียนก็ยาก ออกมาทำงานก็ยาก ต้องพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ เพราะ Technology มันไปไว ภาษา Programming ต่างๆ เปลี่ยนแปลงแทบทุกวัน แต่ได้เงินเดือนแค่นี้?
นั่นเป็นปัญหาของ Programmer ที่ต้องรอให้สังคมไทยแก้ไขครับ พวกเราตัวเล็กๆ จะทำอะไรได้
สิ่งที่ทำได้คือ … ออกนอกประเทศหรือสร้างธุรกิจของตัวเองขึ้นมาเชิญอ่านต่อได้ที่ iFourth Blog ครับ
วิกฤตการณ์โปรแกรมเมอร์ไทย? …. ไม่เห็นจะวิกฤตตรงไหนเลย