เท่าที่อ่านกระทู้มาทั้งหมด ดูเหมือนจะไม่ค่อยเข้าใจเรื่องภาษีเท่าไร พอดีเราทำงานด้านการวางแผนภาษี ก็เลยอยากจะเข้ามาอธิบายซักหน่อย
ก่อนอื่นต้องเข้าในก่อนว่า ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีหลักในการเก็บภาษี ที่เรียกว่าหลักแหล่งเงินได้โดยแหล่งเงินได้ในประเทศไทยมีมาจาก 3 เหตุ คือ 1 กิจการที่ทำในประเทศไทย 2 กิจการของนายจ้างในประเทศ คือรายได้ที่เกิจจากนายจ้างในประเทศไทย 3. หลักแหล่งทรัพย์สิน คือรายได้ที่เกิดจากทรัพย์สินในประเทศไทย หลักแหล่งเงินได้ต่างประเทศ คือ เงินได้ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ
ถ้าเกิดเป็นรายได้ที่เกิด จากหลักแหล่ง เิงินได้ในประเทศไทยจะต้องนำมาคำนวนและเสียภาษี โดยวิธีการคำนวนก็จะมีรูปแบบที่ต่างกันออกไปตามประเภทเงินได้ ซึ่งจะอธิบายถัดจากหัวข้อนี้
แต่ถ้าเป็นหลักแหล่งเงินได้จากต่างประเทศนี้จะมีหลักเกณฑ์ในการนำมารวมคำนวนหรือไม่ขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัย จะต้องครบทั้ง 2 ปัจจัย ถึงจะนำมารวมคำนวน
คือ 1. ผู้มีเงินได้อยู่ในประเภศไทยเกิน 180 วัน 2. นำเงินได้ที่เกิดในปีภาษีนั้นและนำเข้ามาในประเทศ
และการคำนวนเพือเสียภาษี จะขึ้นอยู่กับประเภทของเงินได้ จะใช้มาตรา 40 แห่งประมวลรัษฏากร ซึ่งการทำWeb จะเป็นเิงินได้ประเภท 40(

โดยการหักค่าใช้จ่าย ของเงินได้ประเภทนี้ จะเป็นอัตราเหมา โดยอัตราเหมาจะสามารถตรวจสอบได้จาก พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 11มาตรา 8 ซึ่งการทำ Web ไม่มีอยู่ในพระราชกฤษฏีกานี้ จึ่งไม่สามารถใช้อัตราเหมาได้ หรือ การหักค่าใช้จ่ายตามจริง(การหักค่าใช้จ่ายตามจริง จะต้องมีเอกสารหลักฐานมาแสดงต่อสรรพากรได้ ในการถูกตรวจ และจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สรรพากรกำหนด)
มาถึงค่าลดหย่อน ขึ้นอยู่กับแต่บุคคลว่าสามารถหักได้เท่าไร
1 ลดหย่อนผู้มีเงินได้ หรือ หักลดหย่อนตัวเิอง 30000 บาท
2 ลดหย่อนภรรยา คือ จดทะเบียนสมรถ และ ภรรยาต้องไม่มีเงินได้ จึงสามารถนำมารวมคำนวนได้ หักลดหย่อนได้ 30000 บาท
3 ลดหย่อนบุตร หักได้ สูงสุด 3 คน คนละ 15000 บาท (ภรรยาถ้าหากแยกคำนวน ใช้สิทธ สามี และ ภรรยา แบ่งกัน คือ หารสอง)
4 ลดหย่อนการศึกษา หากบุตรศึกษาในประเทศไทยจะได้ลดหย่อนคนละ 2000 บาท (ภรรยาถ้าหากแยกคำนวน ใช้สิทธ สามี และ ภรรยา แบ่งกัน คือ หารสอง)
5 ลดหย่อนประกันชีวิต(อายุกรมทัณฑ์ ต้องมากกว่า 10 ปี และทำกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย) ของตนเอง หักได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 100000 บาท
ุ6 ลดหย่อนประกันชีวิต ภรรยา หักได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10000 บาท
7 ลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพ บิดามารดา เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 15000 บาท(รวมทั้งบิดาและมารดา)
8 ลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อการมีที่อยู่อาศัย เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100000 บาท
9 ลดหย่อน RMF หักได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 300000 บาท และ LTF หักได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ และไม่เกิน300000 บาท
10 ลดหย่อนเงินบริจาก เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน ร้อยละ 10 ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอืน ๆ แล้ว
ส่วนลดหย่อนอืน ๆ จะไม่คอยเกียวข้องกับเงินได้ประเภท 40(

(รายได้จากการทำ Web) จึงไม่ขอกล่าว
วิธีการคำนวน จะขอกล่าว คร่าว ๆ ดังนี้ สมมุติว่า นาย ก ทำ Web ได้รายได้ทั้งปี 500000 บาท แต่งงานแล้ว และภรรยาไม่มีเงินได้ มีบุตร 2 คน ศึกษาอยู่ในประเทศไทย โดยทำประกันชีวิตอายุกรมทัณฑ์ 15 ปี ไว้กับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย 100000 บาท และมีดอกเบี้ยเงินกู้บ้าน ทั้งปี 100000 บาท จะสามารถ คำนวนได้ดังนี้
เงินได้ 500000 บาท หักค่าใช้จ่ายอัตราเหม่าไม่ได้ และไม่ได้เก็บหลักฐานค่าใช้จ่ายไว้ จึงไม่สามารถหักได้
หัก ลดหย่อน นาย ก 30000
ลดหย่อน ภรรยา 30000
ลดหย่อน บุตร 2 คน 34000
ลดหย่อนประกันชีวิต 100000
ลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้บ้าน 100000
อัตราภาษี คือ เงินได้สุทธิตังแต่ 0-150000 บาท ยกเว้นภาษีเงินได้ 150000-500000 เสียภาษีร้อยละ 10 เงินได้ 500001-1000000 เสียภาษีร้อยละ 20 เงินได้ 1000001-4000000 เสียภาษีร้อยละ 30 และ เงินได้สุทธิ ตั้งแต่ 4000001 ขึ้นไป เสียภาษีร้อยละ 37
นาย ก สุทธิ คือ 206000 จะเสียเท่ากับ 5600 บาท โดยยืนแบบ ภงด 90 ภายในวันที่ 31 มีนาคม
ขอคิดเห็นของเรา ถ้าหากมีท่านใดที่มีรายได้จากการทำ Web มาก ๆ ขอแนะนำให้ทำ การวางแผนภาษี(ทำถูกต้องแต่ประหยัดภาษีที่สุด) ต่างจากการหลีกเลียงภาษี เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาในอนาคต

หากมีปัญหาส่งสัย เขียนมาถามไ้ด้ ถ้ามีเวลาจะเข้ามาตอบไห้