หลายท่านคงจะจำกันได้ Lukplaz ตอนนี้เครดิตไม่ค่อยดีนัก วันนี้จึงมาแบ่งปันความรู้กันหน่อยนะคะ อย่าดราม่านะ

อยากสร้างแบรนด์เอง หรือ อยากสร้างแบรนด์เป็นของตัวเอง อยากสร้างแบรนด์เอง หรืออยากสร้างแบรนด์เป็นของตัวเอง แตกต่างกันตรงที่ อยากสร้างแบรนด์เอง คือปั้นแบรนด์นั้นด้วยตัวเอง และ อยากสร้างแบรนด์เป้นของตัวเองคือาจจะให้คนอื่นทำให้ หรือช่วยทำ แต่ป็นแบรนด์ของเรา ซึ่งเราจะมากล่าวเรื่องนี้กันในบทความหน้า บทความนี้แนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับการสร้างแบรนด์ก่อนนะคะ อยาสร้างแบรนด์ให้สินค้าหรือบริการของตัวเอง แต่สินค้าหรือบริการที่เราอยากจะสร้างแบรนด์เป็นของตัวเองนั้น มีการแข่งขันสูง มีการก่อตั้งแบรนด์ขึ้นมาก่อนหน้านี้แล้ว เช่น แบรนด์ครีม เราอยากจะสร้างแบรนด์ให้ครีมของเราเป้นที่รู้จัก ซึ่งในตลาดครีมนั้นก็มีแบรนด์ดังๆอยู่แล้วมากมาย จะสู้ได้หรือ? จะให้แบรนด์ของเราเกิดได้อย่างไรในตลาดแบบนี้? วันนี้ลูกปลามีทิปเล็กๆน้อยๆ มาแนะนำสำหรับผู้ที่อยากสร้างแบรนด์ใหม่เป้นของตัวเองค่ะ
ก่อนที่จะไปสู้หรือแข่งกับใคร ให้มองตัวเองก่อนเป็นหลัก 
แม้ว่าเราจะมีทุนในการทำโฆษณา หรือโปรโมทสินค้าไม่เท่าบริษัทใหญ่ๆ แต่เราก็ยังสามารถก่อตั้งแบรนด์ขึ้นได้ ซึ่งแต่ละคน แต่ละสินค้าและบริการจะมีวิธีแตกต่างกันไป เช่น เปิด Facebook Fanpag โปรโมทสินค้า มีสินค้าทดลองใช้ฟรี เมื่อลูกค้าใช้แล้วจึงบอกต่อ ยกตัวอย่าง ครีมมะหาด ซึ่งเป็นครีมที่บูมขึ้นมาในช่วงหนึ่ง มีการบอกต่อกันอย่างแพร่หลาย แต่น่าเสียดายที่ผู้ริเริ่มขายครีมมะหาดนั้น มองข้ามแบรนด์ของตัวเองไป กลับไปโปรโมทชื่อของครีม ทำให้มีเจ้าอื่นๆสามารถสร้างแบรนด์ขึ้นมาแข่งขันในสินค้าตัวเดียวกันได้
แข่งขันด้วยเอกลักษณ์ที่ดีกว่า 
ในกรณีนี้ การที่เราจะสร้างแบรนด์สินค้าที่มันมีแบรนด์อื่นๆขายอยู่แล้ว เช่น เป็ปซี่ ซึ่งมีการก่อตั้งสร้างแบรนด์หรือหลังโค้ก แต่กลับแซงหน้าได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว เพราะอะไร? เหตุการณ์มีอยู่ว่า โค้กนั้นเป็นน้ำอัดลมที่คนทั่วโลกรู้จักกันดีอยู่แล้วในนาม น้ำอัดลม แต่เป็ปซี่ก็ได้ทำการก่อตั้งแบรนด์ใหม่ขึ้น ซึ่งเป็นสินค้าชนิดเดียวกัน แต่อยู่ในนาม น้ำอัดลมที่อร่อยกว่า เป็ปซี่ได้ทำการจ้างคนมาปรับปรุงรสของน้ำอัดลมใหม่ แล้วโฆษณาว่าอร่อยยิ่งนัก แล้วให้อาสาสมัครมาลองชิมเปรียบเทียบกับน้ำอัดลมแบรนด์อื่นๆ อาสาสมัครส่วนมากเห็นว่าเปปซี่อร่อยกว่าแบรนด์อื่นๆจริง ทำให้เป็ปซี่นั้นเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว แซงหน้าโค้กไปได้อย่างไม่น่าเชื่อ (รสชาติอาจจะเกิดขึ้นจากอุปทานหมู่ คือ คนนึงเห็นว่าอร่อย อีกคนก็จะคิดว่ามันอร่อยไปด้วย ซึ่งรสชาติจริงๆของเป็ปซี่อาจจะอร่อยมากกว่าหรือน้อยกว่าแบรนด์อื่นๆก็ได้)
จากตัวอย่างที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า การทำให้ลูกค้ามีความประทับใจในแบรนด์นั้น ส่งผลต่อสินค้าเป็นอย่างมาก ร้านส้มตำ 2 ร้านติดกัน รสชาติอร่อยเท่ากัน แต่ร้าน A พูดจาดี บริการดี ส่วนร้าน B พูดจาไม่ไพเราะ ไม่บริการลูกค้า คุณคิดว่าคุณจะซื้อร้านไหนล่ะ? ร้าน A อยู่แล้วใช่หรือไม่ แล้วถ้าร้าน A ตำส้มตำอร่อยกกว่าร้าน B แต่ร้าน B พูดจาดีกว่า อันนี้กอาจทำให้เกิดความประทับใจในแบรนด์หรือร้าน แม้จะอร่ยน้อยกว่าคนก็อยากจะซื้อที่ร้าน B อยู่ดี เหตุผลก็คือประทับใจ
หาเอกลักษณ์เพื่อชักจูง 
การก่อตั้งแบรนด์ใหม่ ในสินค้าที่คนทั่วไปรู้จักกันดี เราก็ต้องหาจุดเด่นของสินค้าเราให้ได้ เช่น ครีม A โฆษณาว่าทาแล้วหน้าใส ส่วนครีม B โฆษณาบอกว่าทาแล้วหน้าใสเช่นกัน แต่บอกว่าใสด้วยสารกลูต้า ที่มีประโยชน์ต่างๆมากมาย อะไรก็ว่าไป แม้ 2 ครีมนั้นอาจจะทาแล้วขาวเท่ากัน แต่ครีม B ก้น่าซื้อกว่าเพราะความมีเอกลักษณ์
หรือสินค้าที่น้อยคนจะรู้จัก อันนี้จะเป็นที่น่าสนใจเป้นพิเศษในระยะแรกๆ คือคนจะสนใจว่ามันคืออะไร? ทำอะไรได้บ้าง? อันนี้ถือเป็นโอกาสถ้าสินค้าเราดีจริง เพราะแค่เปิดตัวก็น่าสนใจแล้ว อยู่ที่เราจะจัดการกับแบรนด์ของเราอย่างไร
อ่านต่อ :
เริ่มสร้างแบรนด์เองท่ามกลางการแข่งขันสูง
