ออกตัว: ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้าน twg นะครับ เพียงแค่พอรู้บ้าง เริ่มใช้งานได้คล่องขึ้น และอยากช่วยเหลือเพื่อนๆ ที่มีปัญหาเหมือนกับผมในตอนแรก
ผมกะตั้งใจว่าจะเริ่มเขียนวิธีการใช้งานแบบ step by step จริงๆ จังๆ ซะทีอ่ะครับ แต่อาจจะทยอยมาเรื่อยๆ นะครับ แล้วแต่ความรู้ และเวลาจะอำนวย วันนี้ก็เอาไปเท่านี้ก่อนแล้วกันนะครับ สำหรับมือใหม่ ที่กำลังจะเข้าวงการ
ผมอาาจะยังไม่เข้าเนื้อหาการใช้งานแบบจริงๆจังๆ นะครับ เอาเป็นน้ำย่อยก่อน เอาใจมือใหม่ เพราะผมมองเห็นว่าผู้เข้าร่วมโปรเจคยังมีน้อย อยากให้เข้ามาทำกันเยอะๆ มือเก่าก็แนะนำติชมได้นะครับ
ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับ twgTwg คืออะไรTwg คือโปรแกรมที่ประมวลผลบนฝั่งของ server โดยมีความคิดริเริ่มมาจากท่านโซวบักท้ง และมีท่าน พิซซ่า และท่านยุทธ เป็นทีมพัฒนา
คำว่า ประมวลผลบนฝั่งของ server หมายถึงทุกท่านไม่สามารถนำโปรแกรมนี้มาติดตั้งได้เหมือนกับ ซอฟท์แวร์ทั่วไป แต่ท่านจะต้องมี แอคเค้าท์ ซึ่งก็อาจจะได้มาโดยการที่สมัคร และเข้าคิวรอ หรือเข้าร่วมสัมมนาเท่านั้น (ไม่มีขาย) และคำว่า ประมวลผลบนฝั่งของ server นี่เอง ทางทีมงานพัฒนาจึงต้องมีการลงทุนจัดหา server และย่อมต้องมีค่าใช้จ่าย และจำเป็นต้องจำกัด user ดังนั้นจึงไม่ใช่ทุกคนที่ได้ใช้ twg
Twg คือโปรแกรม ที่ใช้สร้างเวบเพจได้อย่างรวดเร็ว โดยการเตรียมข้อมูลวัตถุดิบ เพื่อป้อนเข้าโปรแกรมเพียงแค่ไม่กี่รายการ และคลิกๆๆๆ ก็สามารถสร้างเวบไซท์ออกมาได้ โดยที่ทางทีมพัฒนามีคอนเซ็ปที่ว่า การที่จำนวนเวบไซท์ที่มากๆๆๆๆ นั้น จะมีโอกาสทำให้เราได้เงินจาก adsense ได้มากขึ้น มากกว่าการมีเพียงแค่ 1-2 เวบ Twg จึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าว
สรุปลักษณะเด่นของ twg ที่ไม่เหมือนกับโปรแกรมสร้างเวบเพจที่มีขายตามท้องตลาด
1.ฟรี อันนี้แน่นอนครับ แต่ สิ่งที่ทีมงานพัฒนาต้องการจากเราเป็นการตอบแทน กลับเป็น
1.1 ลิ้งกลับไปหาเว็บไซท์ของคุณโซว และทีมงาน (รายละเอียดหาได้ในบอร์ด)
1.2 เงินทำบุญ 10 เปอร์เซ็นต์
1.3 ความตั้งใจจริงในการทำ ลงทุนจริง
1.4 ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ท่านต่อไป
2. twg สร้างเวบคุณภาพ ไม่ใช่เวบขยะ อันนี้ก็แน่นอนอีกเช่นเดียวกันครับ เวบที่เจนออกจาก twg เป็นเวบที่ให้ความรู้กับผู้ที่เข้ามาอ่านได้อย่างแท้จริง มีไดเร็คทอรี่ มีบทความ และสามารภนำเวบที่เจนได้ ไปขอแลกลิ้ง ซับมิท ไดเร็คทอรี่ ซับมิท article และทำการตลาดหรือ โฆษณาขายของได้ตามปกติ เหมือนกับเวบไซท์ทั่วๆไป
3. twg มีความยืดหยุ่นสูง อันนี้ผมหมายถึง ฟังก์ชั่นการทำงานที่ twg สามารถทำงานได้กับเทมเพลททุกชนิดบนโลกใบนี้ (ผมว่าถ้าขายนี่คุณโซวรวยเละ และเลิดทำ adsense ไปเลยล่ะ) ซึ่งแปลว่า ผู้ใช้งาน สามารถสร้างสรรค์งานคุณภาพออกมาได้ตามสไตล์ตัวเอง โดยที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน โดยมีฟัก์ชั่นต่างๆ ที่เป็น custom ไว้ให้แก้ไขเองอีกด้วย ไม่เหมือนกับที่ฝรั่งมันขายกันแพงๆ แต่มีเทมเพลทอยู่แค่ไม่กี่บล็อค และเมื่อมันเป็นโปรแกรมที่มีความยืดหยุ่นสูง ดังนั้นผู้ใช้งานที่ต้องการความไม่เหมือนใคร จึงจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับ การทำเวบไซท์มาพอสมควร ผมขอฟันธงไปเลยครับ ว่า ต้องมีความรู้อยู่ในระดับ กลาง-สูง เท่านั้น จึงจะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับผู้ที่ระดับต้นจนถึงไม่รู้เลยนี่ผมแนะนำว่าควรศึกษาเรื่องพวกนี้ก่อนที่จะมาเริ่มใช้งาน twg.
บทต่อไปผมจะกล่าวถึงว่า
อยากใช้ twg ต้องรู้อะไรบ้างผมขอแนะนำว่า ขอให้ท่านทำการบ้านเพื่อตอบคำถามเหล่านี้ให้ครบทุกข้อ เพื่อทดสอบว่าท่านพร้อมหรือยัง ที่จะเริ่มใช้งาน twg โดยไม่ติดขัด
1.ใจ และ ทุน ผมขอเอาอันนี้ไว้ข้อแรกเลย เพราะมันคือความพร้อม ที่ต้องมีที่สำคัญกว่าข้ออื่นใดๆ ทั้งหมด ท่านต้องมี ใจ และความอดทน อย่างมาก หากท่านคิดว่า ท่านสามารถอดทนกับคำบ่นของ เมียแก่ๆที่บ้านได้มาเป็น 10-20 ปี ผมขอบอกเลยว่า twg project ต้องใช้ความอดทนมากกว่านั้นครับ และต้องใช้และเงิน ที่จะมาลงทุนครับ (ทั้งโปรเจคผมคิดว่าไม่น่าจะต่ำกว่า 30000 บาท ทั้งโปรเจค) ท่านคิดผิดอย่างมาก หากท่านจะคิดว่า ท่านจะจับเสือมือเปล่า และรวยในระยะเวลาอันสั้น (น้อยกว่า 6 เดือน) อันนี้เป็นความคิดที่ผิดครับ หากท่านต้องการจะลงทุนน้อยๆ และรวยเร็ว ผมขอแนะนำให้ท่านไปขายยาบ้าครับ
2. html, php, seo, dns, ip, dreamweaver, sitemap, google adsense, template, domain, registrar, subdomain, hosting คืออะไร หาความรู้เกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ทั้งบอร์ดไทย บอร์ดฝรั่ง คำแนะนำอีกเรื่องคือ อย่าพยายาม pm หรือเมลไปถามคนอื่นๆ เกี่ยวกับเรื่องพวกนี้เด็ดขาด เพราะท่านอาจจะไม่ได้รับคำตอบ (ยกเว้นว่าจะเจอคนใจดีจริงๆ ที่ยอมเสียเวลามานั่นตอบให้ท่าน)
3. เรียนทำเวบ อันนี้สำคัญมากครับ ใครที่ยังไม่ค่อยมีความรู้ รีบศึกษาด่วนเลยครับ จะไปลงคอร์สที่ไหนก็รีบๆ เลยครับ หรือใครจะไปซื้อหนังสือมาอ่าน มานั่งทำตามก็สุดแท้แต่ความถนัด ท่านจะไม่สามารถใช้ twg ได้อย่างมีประสิทธิถาพแม้แต่น้อย ถ้าท่านทำเวบไม่เป็น เมื่อเวลาเนิ่นนานดังนั้น รีบศึกษาด่วนครับ
4.ควาคิดสร้างสรรค์ อันนี้มากน้อย แล้วแต่ครับ ไม่เป็นไร แต่ควรจะต้องมีบ้าง เพื่อให้เกิดความเป็นเอกลักษณ์ในผลงานของตัวเอง
ทำความรู้จักกับ token Token คำนี้เป็นปัญหาสำหรับผมมากครับ ในช่วงแรกๆที่เริ่มทำ จนทำให้ผมคิดว่าต้องเอามาพูดก่อนเรื่องอื่นๆ ก่อนที่จะเริ่มเจนกันอย่างจริงจัง
เท่าที่ผมเข้าใจคือToken เป็นชุดตัวแทนคำสั่ง code ต่างๆ ที่จะไปปรากฏอยู่ใน template ของเรา
รูปแบบขอบ token ยกตัวอย่างเช่นผมมีโค้ดของ adsense
<script type="text/javascript"><!--
google_ad_client = "pub-";
google_ad_width = 728;
google_ad_height = 90;
google_ad_format = "728x90_as";
google_ad_type = "text_image";
google_ad_channel ="";
google_color_border = "FFFFFF";
google_color_bg = "FFFFFF";
google_color_link = "0066CC";
google_color_text = "000000";
google_color_url = "78B749";
//--></script>
<script type="text/javascript"
src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js">
</script>
ถ้าสมมุติว่าเราต้องการเอาโค้ดอันนี้ไปแปะในเทมเพลท ในหลายๆ จุด เหมือนๆ กัน มันก็จะทำให้เราเสียเวลามาก แล้วยิ่งถ้ามี adsense code ads หลายแบบ มันก็จะทำให้เรา งง มากขึ้น
ดังนั้น โปรแกรมเมอร์จึงจับมันรวบทำเป็น token ซะ กลายเป็น <#ADSENSE#>
ดังนั้น เมื่อไหร่ที่ ไอ้ <#ADSENSE#> ตัวนี้ ไปปรากฏอยู่บน code ในเทมเพลทไหนก็แล้วแต่ นั่นหมายถึง ไอ้ตัวโค้ด ยุ่บยั่บข้างบนจะถูกนำมาวาง โดยอัตฺโนมัติครับ
โดยที่ token ที่โปรแกรมเมอร์ จัดมาให้ก็จะมีหลายรูปแบบ ทั้ง <#ADSENSE#> <#HOME-ULR#> <#MAIN-KEYWORD#> <#SITE-TITLE#> และอีกต่างๆ นาๆ ซึ่ง ภายใน token เหล่านี้ก็จะมีรายละเอียด ยุ่บยั่บๆ อยู่ข้างใน เพียงแต่เราไม่ต้องเอามาพิมพ์ใหม่เท่านั้นเเอง สะดวกไหมล่ะครับ
นอกจากนี้ ทางทีมงาน ยังทำให้เราสามารถกำหนด token ได้เอง สมมุติว่า ผมอยากเอาชื่อเมีย มาไว้ในทุกหน้า ของเทมเพลท หลายๆ จุดพร้อมกัน ผมก็จะสร้าง token ขึ้นมาใหม่ 1 อัน ผมก็จัดการสร้างขึ้นมาใหม่ สมมุติใช้ชื่อ <#WIFE-NAME#> และให้ราละเอียดข้างในเป็น Ms. Panida Boonrod-You are so old เสร็จแล้ว ผมก็เอา token <#WIFE-NAME#> ไปวางไว้ตรงจุดที่ผมต้องการให้มันแสดงคำว่า Ms. Panida Boonrod-You are so old เท่านี้เองครับ ง่ายไหมล่ะครับ
คิดว่าคงพอช่วยได้บ้างนะครับ ก่อนเริ่มลงมือเจนกันจริงๆ ผมว่ามีคำศัพท์หลักๆ อีกสองสามคำที่ควรรู้จักและทำความเข้าใจก่อนลงมือเจ็น
เตรียมกาย เตรียมใจ เตรียมเครื่องมือให้พร้อม ก่อนเจนขอย้ำอีกครั้งนะครับ
ว่าการเจนน่ะง่ายมาก หากคุณทอดไข่ดาวเป็น คุณก็คือคนที่มีความสามารถที่จะใช้ twg ได้แล้วล่ะครับ
แต่ก่อนที่จะลงมือนั้น มันจะต้องมีการวางแผน หาคีย์เวิด จดโดเมน เช่าโฮส ซึ่งผมจะขอข้ามไปไม่พูดถึง ต้องขออภัยมือใหม่หลายท่าน เพราะถ้าผมกล่าวถึงเรื่องพวกนี้ ก็อาจจะทำให้บทความยาวเกินไป และหลุดออกนอกประเด็นที่ผมตั้งใจไว้ คือการสอนใช้ twg อย่างแท้จริง
ดังนั้น ผมขอสรุปสิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมก่อนการเจนนะครับ อันไหนที่ผมดอกจันไว้ ถือว่าจะเป็นต้องมี ส่วนอันไหนที่ไม่ได้ดอกจันไว้ก็คืออาจจะยังไม่ต้องมีตอนนี้ก็ได้
***หมายเหตุ*** ที่ผมจะพูดต่อไปนี้อาจจะมีศัพท์แปลก ที่มือใหม่อาจจะไม่คุ้น ยังไงก็ลองศึกษากันดูเอาเองนะครับ เพราะผมคงไม่อธิบาย
1.เทมเพลทอันนี้แน่นอนครับ เราต้องมีเทมเพลทของตัวเอง อย่างน้อย 1 หน้า เพื่อที่จะเอามายำเล่น ในการเจนครั้งนี้ ซึ่งแหล่งที่ท่านจะหาเทมเพลทสวยๆ ได้แบบฟรีๆ ก็คือที่
www.oswd.org 
ครับ พันกว่าแบบ ไปเลือกเอาก็แล้วกัน หรือถ้าใครเคยเข้าอบรมรุ่นแรกแล้วก็ใช้เทมเพลทที่แถมมากับ ดีวีดี ก็ได้ครับ อันนั้นยิ่งดีใหญ่เลย เพราะมีการวาง token ไว้อย่างสวยงามเรียบร้อย หรือถ้าใครอัตคัดขัดสนจริงๆ อยากเอาแค่ลองใช้งาน ลองเจนดูก่อนว่าหน้าตามันเป็นไง ก็ยังไม่ต้องมีเทมเพลทก็ได้ครับ ใช้ตัว default ของ twg ไปก่อนก็ได้ ให้พอเข้าใจในหลักการทำงานก่อน
2.คีย์เวิด*ทั้งคีย์เวิย่อย และคีย์เวิดรองครับ เตรียมให้พร้อม ในแต่ละ market การหาคีย์เวิดก็อาจจะเข้าเวบของ overture หรือใช้โปรแกรมอย่างพวก keyword elite มาช่วยก็ได้ครับ เคยเห็นมีคนใจดีเอามาโพสแจกไว้ในบอร็ดเหมือนกัน
3.
API* อันนี้ก็ไปขอไว้เลยครับ ซัก สามสี่อันก็ได้ แต่คร่าวๆให้ตรงนี้ว่ามันคือ หมายเลขที่แจกให้สำหรับ คนที่ต้องการค้นหาข้อมูลแบบพิเศษของกูเกิ้ลน่ะครับ ซึ่งผมก็จำไม่ได้แล้วว่าลิ้งที่ใช้ขอ คือที่ไหน ยังไงลองๆ หาดูครับ ไม่น่ายาก
4.Adsense account*อันนี้ต้องไปสมัครกันเองนะครับ ผมคงไม่ต้องอธิบายกันมาก ถึงวิธีที่จะสมัคร และการใด้มา ลองหาๆในบอร์ดเอา แนะนำในเบื้องต้นว่าควรไปเปิดพวก blog แล้วเอา blog นั้น มาสมัครครับ แต่ถ้าใครยังไม่ได้ก็ไม่เป็นไรครับ ลองเจนดูก่อน ให้คุ้นเคยแล้วค่อยเอามาติดก็ได้
5.Domain+host*อันนี้ก้สำคัญครับ ไปจดมาให้เรียบร้อย ส่วนโอสนี่จะเป็นที่ไหนก็ได้ ฟรีหรือจ่ายเงินก็ได้ setup มาให้เรียบร้อย เปิด โปรแกรม ftp แล้ว connect รอไว้เลยครับ
6.โปรแกรมสำหรับทำเวบเพจ เช่นพวก front page, dreamweaver อะไรพวกนี้อันนี้ก็แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคนนะครับ
7.ท้ายสุดแต่ไม่สุดท้ายครับ นั่นคือ twg account*อันนี้ก็ต้องไขว่ขว้ากันเอาเองล่ะครับ เพราะผมก็ไม่รู้จะช่วยยังไงเหมือนกัน คงต้องแล้วแต่ทีมงาน
น่าจะหมดแล้วนะครับ เดี๋ยวนึกอะไรออกจะมาเพิ่มเติมให้
บทต่อไปคงได้เริ่มลงมือเจนกันเสียที ซึ่งผมคงต้องขอบอกไว้ก่อนว่า ไอ้ step by step น่ะ คงพอเขียนได้ครับ แต่อาจจะไม่มี screen shot ให้ดูนะครับ เนื่องจากเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของทางทีมงาน คิดว่าคงพอเข้าใจกันนะครับ แต่เอาเป็นว่าผมจะพยายามเขียนให้เห็นภาพมากที่สุดแล้วกันนะครับ
ก่อนที่ผมจะพิมพ์ต่อไปนี่ ก็ยังหวั่นๆ ครับ เพราะกำลังจะเข้าเนื้อหาแล้ว ซึ่งมันก็คือ รายละเอียดใน twg นั่นเอง แต่ไม่รู้ว่าทางทีมพัฒนาจะว่าไง เพราะอาจจะต้องมีการบรรยายถึงคุณลักษณะกันมากพอควร ตามความเข้าใจของผม กลัวว่าจะเป็นการเปิดเผยฟังก์ชั่นการทำงาน ต่อสาธารณชนมากไปหรือเปล่าแต่เอาล่ะ มาถึงตรงนี้แล้ว ก็ต้องว่ากันต่อไปล่ะครับ ตัวผมเองได้ส่ง pm ไปยังทีมพัฒนาเพื่อให้เข้ามาดูกระทู้นี้และช่วยตรวจสอบด้วย ว่าเนื้อหาของผมนั้น มันเข้าข่ายเปิดเผยลักษณะฟังกชั่นการทำงาน ของ twg มากเกินไปหรือไม่ ถ้ามากเกินไป ก็คงต้องแก้ไขกันต่อไปอย่าเพิ่งเบื่อครับ ผมยังไม่สอนเจน ตอนนี้หรอกเพราะอะไรน่ะหรือครับ
ก็เพราะว่าผมอยากจะให้ทุกท่าน ล็อคอินเข้าไปใน twg และ สำรวจดู หน้าตาและองค์ประกอบของมันอย่างครบถ้วน รวมถึงทำความเข้าใจ กับส่วนประกอบเหล่านั้นอย่างถ่องแท้ ว่าไอ้นี่คืออะไร ไอ้นั่นคืออะไร และเอาไว้ใช้ทำอะไร
และผมก็จะยังไม่เข้าไปเจนหรอกนะครับ
เพียงแต่ผมเห็นว่ายังมีส่วนอื่นๆที่สำคัญ และต้องทำความรู้จักก่อนการเจนเสียอีก
ให้ตายเถอะครับ อย่างที่ผมบอกไป การเจน และการกรอกรายละเอียดลงในหน้าโปรเจคของ twg นั้น มันง่ายแสนง่ายง่าย และง่ายจนผมต้องขอเอาไว้ท้ายๆ เลยล่ะครับ
ส่วนแรกที่ผมจะกล่าวถึงคือ หน้า custom ต่าง
ทั้ง custom template, custom token ต่างๆ นาๆ เหล่าบรรดาอัศวินพวกนี้ ทำเอาผมมึนอยู่หลายอาทิตย์ กว่าจะรู้ว่ามันทำงานยังไง ก็เลยอยากจะสรุปให้ฟังซักหน่อยครับ
ว่ากันด้วยเรื่อง template
ผมขอแบ่ง เทมเพลทตามลักษณะการใช้งานของ twg ก่อนนะครับ
1. default template คือเทมเพลทเดิมๆ ตั้งแต่สมัย twg เปิดตัวใหม่ๆ เทมเพลทชุดนี้จะมากับตัวโปรแกรมเลยครับ หน้าตามันจะห่วยๆ ไม่ค่อยสวย มีแต่ตัวหนังสือยัวะเยี้ยะไปหมด หากใครต้องการเห็นหน้าค่าตามันก็ลองเจนได้เลยครับ ไม่ต้องกำหนด custom template ให้ยุ่งยาก
จริงๆ แล้ว เทมเพลท ตัวนี้ก็ใช้ได้นะครับ ถ้าเรามีความคิดสร้างสรรค์ ก็สามารถที่จะนำไปตกแต่งได้ จนออกมาสวยงามน่าพอใจ
2. เทมเพลทที่มากะ dvd ในงานสัมมนา อันนี้ผมชอบมาครับ ไอ้ตัวห้าอันนั้นน่ะ เพราะเริ่มกะมันมาตั้งแต่ต้น ข้อดีของมันก็คือ คุณพิซซ่าเขาได้จะวางโทเคนไว้อย่างดีแล้ว สวยงาม แต่ถ้าเราต้องการรจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขก็ทำได้ไม่ยากเช่นกัน หน้าตาก็สวยงามพอใช้ได้ครับ ไม่ถึงกะสวยมาก เหมือนนาตาลี เกลโบว่า แต่ก็อยู่ในระดับเซ็กซี่ แบบน้อง maria ozawa ทีเดียว เทมเพลทชุดนี้ไม่ต้องไปตามหา หรือโพสขอให้วุ่นวายนะครับ ไม่มีแจก มีแจกแต่สำหรับคนที่ไปสัมมนาเท่านั้น
3. เทมเพลท twg ที่ทำขึ้นมาใหม่ และจัดจำหน่ายโดยท่านยุทธ
อันนี้อาจมีหลายคนเคยซื้อไปใช้แล้วนะครับ เป็นชุดเทมเพลทที่มีหน้าตาสวยงามมาก มีรูป มีสีสัน ทำให้เวบเราดูน่าสนใจ และดูมีคุณภาพ และแน่นอน การใช้งานก็ยิ่งง่ายเข้าไปอีก เพราะถูกออกแบบมาสำหรับ twg โดยเฉพาะ การนำไปใช้ ก็เพียงแค่เปลี่ยน logo บนหัวเท่านั้น หรือถ้าจะเอาไปยำ เป็นอย่างอื่นก็สุดแท้ ตัวผมเองไม่ได้ซื้อหรอกครับ แต่ก็คิดว่าน่าจะดีมากทีเดียวล่ะครับ
4. เทมเพลทแบบอื่นๆอันนี้ก็คืออื่นๆ จริงๆครับ พวกเทมเพลททั้งหลายแหล่ ปีศาจ ไม่ปีศาจ สุดแล้วแต่ว่าใครจะไปเอามาจากไหน ซึ่งอันนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีทักษะทางการด้านการทำเวบ และคุ้นเคยกับการใช้งาน twg ในระดับกลาง-สูง และก็แน่นอนครับว่า เทมเพลทเหล่านี้จะมีความเป็นเอกลักณ์ษ์เฉพาะตัว และสวยงามไม่เหมือนใคร ซึ่งอันนี้ก็ไม่ต้องรีบร้อนไปหามาทำนะครับ สำหรับมือใหม่ เดี๋ยวเอาแบบเบสิคให้เข้าใจก่อนละกัน
เท่าที่กล่าวมาทั้งหมดนี่ 4 แบบ โดยที่มีเพียงแบบที่ 1 แบบเดียวเท่านั้น ที่เราไม่ต้องไปยุ่งกับ หน้า custom template ใน twg นอกนั้น เรา ต้องเข้าไปกำหนดเองทั้งสิ้น เห็นไหมล่ะครับ แล้วจะว่า มันไม่สำคัญได้อย่างไร เพราะฉะนั้น เราต้องไปทำความรู้จักกับหน้า custom template กันหน่อยแล้ว
ทำความรู้จักกับ custom template ก่อนอื่น ผมขอสันนิษฐานว่าทุกท่านมีความรู้เรื่องการทำเวบไซท์อยู่พอประมาณแล้วนะครับ และการยกตัวอย่าง ก็จะใช้ โปรแกรม dream weaver เป็นหลัก หากท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้ ยัง งง งง หรือยังทำเวบไม่เป็น ยังไม่รู้จัก dream weaver อันนี้แนะนำให้ขอตัวช่วยด่วนเลยครับ
แต่ก็ยังชอบเอาใจมือใหม่อยู่ครับ ดังนั้น ขออธิบายคร่าวๆ เกี่ยวกับลักษณะการทำงานของ custom template กันสักนิด ว่ามันทำงานร่วมกับ หน้า project ที่ใช้เจนอย่างไร
หลักการของมันก็ไม่มีอะไรซับซ้อนครับ นั่นคือเมื่อเราต้องการจะใช้เทมเพลทที่เราสร้างขึ้นมาเอง เพื่อเอามาเจ็นเวบ เราก็เพียงแต่โหลดมันขึ้นมา และสั่งให้ twg เอาโค้ดของเทมเพลทที่เราสร้างไว้ มาใช้แทนที่ default template แค่นี้เองครับ ง่ายไหมล่ะครับ
แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น มีข้อที่ต้องควรจำหลักๆ หากว่าเราต้องการจะใช้ custom template
1.custom template จะต้องถูกสร้าง และบันทึกไว้ก่อนเสมอ ก่อนทำการเจ็น...อ้าว ไม่อย่างนั้น twg จะรู้ได้ไงครับ ว่าเราต้องการใช้เทมเพลทไหน จริงไม๊ครับ2.custom template หลังจากเจนออกมาแล้ว สามารถแก้ไขได้เสมอ และตลอดไป ดังนั้น หากท่านเจนออกมาแล้ว เวบไซท์ บูดๆ เบี้ยวๆ อุบาทว์ๆ ก็อย่างเพิ่งตกใจครับ เราสามารถเข้าไปแก้ไข custom template ได้เอาล่ะครับ ทีนี้เราจะได้มาเริ่มทำความรู้จักกับ หน้า custom template ใน twg กัน เมื่อเรา log in เข้ามาแล้ว ในหน้าหลัก มันจะมีหัวข้อที่เขียนว่า Custom Templates ให้เราคลิกที่ New Custom Template ได้เลยครับ
ทีนี้ มันจะปรากฏ กล่องต่างๆ ขึ้นมามากมาย ให้เราใส่ข้อมูล ผมขอเริ่มอธิบายเป็นกล่องๆ เลยแล้วกันนะครับ
ข้อควรจำ1. กล่องทุกกล่อง จะยอมรับ และเข้าใจ แต่โค้ดที่เป็น html เท่านั้นนะครับ ถ้าเอา text ประเภทอื่นๆ มาใส่มัน จะงง และไม่เข้าใจ ซึ่งโดยปกติแล้ว มันก็คือ code ที่ ก็อบมาจาก โปรแกรม web editor ทั้งหลายแหล่นั่นเอง ยกเว้นกล่องที่ให้ระบุ Name: อันนี้ใส่ชื่อธรรมดาได้ครับ.
2.code ที่จะนำมาใส่ในกล่อง จะต้องได้รับการแก้ไข ใน โปรแกรม web editor มาเรียบร้อยแล้ว พร้อมที่จะนำไปอัพโหลดได้ทันที การที่จะเข้าไปแก้ไขที่โค้ด ในกล่อง แบบตรงๆ ก็สามารถทำได้ครับ แต่ก็อาจจจะเหมาะสำหรับผู้ที่มีความรู้ทางด้าน html อยู่พอสมควรเท่านั้น
3. กล่องทุกกล่องจะใช้หลักการเดียวกันหมด ในการใช้งาน คือนำ html code ที่ได้จาก web editor มาแปะลงไป
4. แต่ละกล่อง จะมีชื่อของมันเอง เช่น Home page, Keyword page, Article listing page ฯลฯ ซึ่งชื่อเหล่านี้ก็คือชื่อของหน้าเวบเพจของเรานั่นเอง ซึ่งหน้า custom template นี้ จะมีอยู่ทั้งหมด 11 กล่อง ซึ่งนั่นก็หมายความว่า หากเราใช้บริการของ twg แบบเต็มสูบ โปรแกรมตัวนี้จะสามารถทำให้เรามีเวบไซท์ ที่มีจำนวนหน้าทั้งหมด 11 หน้าด้วยกัน
5. ใต้กล่องทุกกล่อง นอกจากปุ่ม save และ ปุ่ม update แล้ว จะมีเมนูไว้ให้สำหรับเรา เพิ่ม token ที่ต้องการลงในโค้ด ที่อยู่ในกล่องด้านบน ซึ่งเราสามารถเอาเคอเซอร์ไปวางตรงจุดที่ต้องการเพิ่ม token และ คลิกปุ่ม add แล้ว token ที่เราเลือกไว้ จะไปปรากฏอยู่ที่ในโค้ดด้านบนทันที โฮ่ ง่ายซะไม่มี
เอาล่ะครับ ต่อไปเราก็มาดูความหมายของแต่ละกล่อง ในหน้า custom template กัน ว่าหน้าเวบเพจที่เจนได้จากกล่องต่างๆ เหล่านั้น มันทำหน้าที่อะไรกันบ้าง
Name : อันนี้คือชื่อของเทมเพลทแต่ละอันครับ ซึ่งเราสามารถตั้งว่าอะไรก็ได้ตามใจชอบ แต่ผมแนะนำว่าควรจะให้สื่อความหมายครับ เพราะถ้าเราเริ่มมีเทมเพลทหลายแบบมากๆเข้า ถ้าตั้งชื่อไม่สื่อความหมายอาจจะงงได้
Home Page : อันนี้คือหน้าที่เราต้องการให้เป็นหน้าแรกของเวบไซท์ สำหรับท่านที่ใช้เทมเพลทที่มาจากซีดีในงานสัมมนา ก็จะยิ่งง่ายครับ เพราะในแต่ละไฟล์ของเทมเพลท จะมีชื่อที่ตรงกับ ชื่อกล่องพวกนี้เป๊ะๆ ทำให้เราสามารถเอามาวางได้อย่างถูกต้อง ที่นี้ถามว่าถ้าคนที่ใช้เทมเพลทอื่นล่ะ ก็ไม่มีปัญหาเช่นเดียวกันครับ เราต้องการจะให้หน้าไหนเป็นหน้าแรก เราก็เอาโค้ดมาวางได้เลยครับ ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด แล้วแต่ความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคนครับ
Keyword Page : ในหน้านี้ สิง่ที่ได้หลังจากาารเจน จะเป็นหน้าเวบเพจ ที่มีรายการ List ของเวบไซท์ อื่นๆ หรือ directory นั่นเองครับ โดยที่จะมี เวบไซท์ต่างๆ ที่อยู่ในหน้านี้เกี่ยวข้องกับ คีย์เวิดหลัก และคีย์เวิดรอง ที่เราใส่ลงไปในหน้า project ของ twg ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเลือกคลิกเพื่อเข้าชมเวบไซท์ต่างๆ ตามคีย์เวิดที่ตัวเองสนใจได้ครับ
Article listing : อันนี้แปลตรงตัวแป๊ะๆ ครับ รายละเอียดในหน้านี้จะแสดงรายการ ของ บทความที่ twg จะดึงมาจากฐานข้อมูลของมัน โดยเนื้อหาจะตรงตามคีย์เวิดที่เราใส่ลงไปในหน้า project
Article page : หน้านี้จะแสดงเนื้อหาของบทความ เมื่อมีคนคลิกบทความใดๆ ในหน้า article listing ครับ
Add link : หน้านี้มีไว้สำหรับ คนอื่นๆ ที่มีเวบไซท์ประเภทเดียวกับเรา และต้องการ submit เวบของเขา เข้ามาในไดเรคทอรี่ของเราครับ เป็นช่องทางการเพิ่ม link pop ของเราอีกทางหนึ่ง
Add Category: หน้านี้ก็เช่นเดียวกันครับ สำหรับคนอื่นที่เขามีเวบไซท์ที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกับเรา และเขาอยาก submit เวบของเขา เข้ามาใน directory ของเรา แต่บังเอิญว่าเราอาจจะไม่มี category ที่ตรงตามลักษณะของเขา เขาก็อาจจะแนะนำได้ผ่านทางหน้านี้
ยกตัวอย่างเช่น ผมมีเวบไซท์เกี่ยวกับ มวยไทย ซึ่งจัดเป็นศิลปะป้องกันตัว (martial arts) และผมก็บังเอิญมาเจอเวบของท่านที่ทำโดย twg ซึ่งอาจจะอยู่ในหมวด กีฬา และผมต้องการจะ submit เวบไซท์ของผมเข้าไปในเวบไซท์ท่าน แต่บังเอิญว่า category ที่ท่านมีอยู่ มันไม่มีหมวด martial arts ซึ่งผมก็จะทำการแนะนำผ่านทางหน้านี้ว่า เฮ้ย ฉันสนใจอยากซับมิท เวบของฉันในไดเรคทอรี่ของยูนะ แต่เวบของยูไม่มีหมวด martial arts อ่ะ ช่วยเพิ่มให้หน่อยได้ไหม
อะไรประมาณนี้แหละครับ
Advertise: บอกตามตรงอ่ะครับ ว่าส่วนตัวแล้ว ผมชอบหน้านี้มากที่สุด เพราะมันอาจจะเป็นแหล่งรายได้ที่ยั่งยืน และยาวนานที่สุด นอกเหนือไปจาก adsense ครับ โดยเฉพาะถ้าราโปรโมทจนทำให้เวบเราดัง และมี pr สูงๆ
หน้านี้คือหน้าที่แจ้างรายละเอียดเกี่ยวกับคนที่สนใจอยากจะลงโฆษณาในเวบเราครับ ซึ่งถ้าใครสนใจ เราก็มีทั้งบริการ pay per click (คนที่มาลงโฆษณาในเวบเราจะจ่ายเราต่อคลิก) และ pay per month (เหมาจ่ายให้เราเป็นเดือนไปเลย) ซึ่งรายละเอียด ผมขอยกไปกล่าวในส่วนของการ เจน ในหน้า project เลยแล้วกัน
Sponsor: อันนี้ก็เป็นอีกหนึ่งในบริการที่เรามีให้กับลูกค้าที่อยากจะมาโปรโมทเวบไซท์ในเวบของเราเราครับ ซึ่งในรายละเอียดผมยังไม่ค่อยรู้มากนัก เพราะยังไม่เคยเจนหน้านี้ออกมาเลยครับ แหะๆ เมื่อไหร่ที่ได้ลองเจน เห็นหน้าเห็นตาแล้วจะมาอัพเดทให้อ่านกันอีกทีครับ
Adsense: กล่องก็มีความสำคัญมากเช่นเดียวกันครับ เพราะเราต้องเอาโค้ด adsense ของเรามาวางไว้ที่นี่ เพื่อให้ฆษณา adsense ของเราปรากฏในหน้าเวบ
Message Board Index: หน้านี้ก็เป็นอีกหน้าหนึ่งที่ผมชอบครับ เพราะมันเป็นหน้าที่เวบไซท์ที่มีคุณภาพทั่วไปควรพึงมี นั่นคือเป็น webboard community เพื่อให้คนที่เข้ามาเวบไซท์เรา ได้โพสคำถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการเพิ่ม traffic เป็นอย่างมาก
Message Board Post: ถ้าเรากำหนดให้เวบที่เจนออกจาก twg นั้นให้มี webboard ด้วย หน้านี้จะเอาไว้สำหรับให้คนไว้โพสคำถามครับ
ข้อควรจำในระยะเริ่มแรก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความงง จนเกินไป เราอาจจะไม่จะเป็นต้องเจนหน้า ดังต่อไปนี้
Add link
Add Category
Advertise
Sponsor
Message Board Index
Message Board Post
เพราะในความเห็นส่วนตัวของผมคือเราอาจจะยังไม่มีความจะเป็นต้องใช้หน้าพวกนี้ในตอนนี้ เจนออกมาก็ งง กันเสียเปล่าๆ แต่ถ้าเมื่อเวบเราดัง มี pr สูง แล้ว หน้าพวกนี้นี่ขาดไม่ได้เชียวนะครับ
แค่นี้แหละครับ เห็นไหม ไม่ยากเลยใช่ไหมครับ พบกันใหม่ครับ
ต้องขออภัยด้วยครับ ที่หายไปหลายวัน เพราะไม่ค่อยสบายน่ะครับ เป็นหวัดฟุตฟิตๆ อยู่ตลอด แถมมีไข่ อยู่เนืองๆ เลยหาเวลานั่งเขียนยาวๆ ไม่ได้
เอาล่ะครับ เรามาว่ากันต่อ ถึงการเจนกันเลย เพราะเขียนเนื้อหาอ้อมโลกมาซะนาน
เรามาเริ่มทำความรู้จักกับหน้า project กันเลยครับ
เมื่อเราคลิกเข้ามาในหน้า ADD NEW PROJECT แล้ว สิ่งที่เราเห็นคือกล่องต่างๆ มากมายที่เอาไว้ให้เราใส่ข้อมูล เพื่อที่จะทำการเจนออกมา เรามาลองดูก่อนว่าแต่ละกล่องมันเอาไว้ใช้ทำอะไรกันบ้าง
ข้อควรจำ
สิ่งที่เราไม่ควรมองข้าม : ในแต่ละกล่องท่านจะเห็นว่ามีเครื่องหมายคำถามสีแดงเล็กๆกำกับอยู่ อันนี้ถือว่ามีประโยชน์อย่างมากครับ เพราะมันคืออำอธิบายว่ากล่องต่างๆนั้น มีไว้ทำอะไร ซึ่งภาษาอังกฤษที่ใช้ก็ไม่ได้ยากต่อความเข้าใจซักเท่าไหร่ ยังไงก็ลองคลิกๆ อ่านๆ กันดูบ้างก็ได้ครับ เผื่อจะช่วยอะไรได้บ้่าง
Project name : อันนี้ใส่ชื่อของโปรเจคลงไปครับ เอาให้สื่อความหมายและทำให้เรางงน้อยที่สุด ใช้หลักการเดียวกับการตั้งชื่อ custom template ซึ่งอาจจะเป็น url ของเวบเลยก็ได้ หรือถ้าจะให้ดีก็ใส่เลข ip มันลงไปด้วยเลย
ตัวอย่าง: การระบุ Project name
ipodnano.com : 125.456.21.36
goodhealth.com : 125.456.21.37
Site Title: กล่องนี้ถือว่ามีความสำคัญพอประมาณครับ เพราะข้อความที่เราจะพิมพ์ลงไปในกล่องนี้ มันจะไปปรากฏอยู่ใน title bar ของ browser ซึ่งนั่นก็คือ title tag นั่นเอง ซึ่งก็นับว่าสำคัญในทาง seo อยู่พอประมาณ ดังนั้นเราก็ควรจะให้มันมี keyword อยู่ในนั้นด้วยนะครับ
ตัวอย่าง: การระบุ Site title
The biggest ipod nano community in the world
For everyone who want to have good health
Homepage URL: อันนี้ไม่มีอะไรซับซ้อนครับ ใส่ชื่อของเวบไซท์ที่เราไปจดโดเมนมาได้เลย หรือถ้าใครยังไม่จดก็ใส่ลงไปก่อนก็ได้ ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด
ตัวอย่าง: การระบุ Homepage URL
http://www.ipodnano.com
http://goodhealth.com
Main Category: อันนี้ยิ่งง่ายใหญ่เลยครับ มีไว้สำหรับให้เราเลือกว่าเราจะใช้ฐานข้อมูลในหมวดไหนเพื่อมาทำการเจนเวบของเรา ก็คลิกเลือกเอาตามสะดวกครับ
Logo/Header URL: อันนี้มีไว้สำหรับเพื่อให้เรากำหนดว่า เราจะใช้รูปไหนให้เป็นรูปแบบของโลโก้ของแต่ละเวบ ซึ่งจะมีประโยชน์มากถ้าเราใช้เทมเพลทเดียวกัน แต่ใช้กับหลายสิบเวบ แต่ต้องการเปลี่ยนแค่โลโก้ที่หัว เราก็เพียงแต่เปลี่ยน รายละเอียดในนี้เพื่อให้ twg ไปดึงรูปเอามาจากที่อยู่ที่เราต้องการ
ตัวอย่าง: Logo/Header URL
สมมุติว่าผมต้องการจะใช้เทมเพลทเบอร์ 1 สำหรับเวบทั้งสองเวบ คือ
http://www.ipodnano.com
http://goodhealth.com 
แต่ต้องการเปลี่ยนแค่โลโก้
ดังนั้น เมื่อผมกำลังจะเริ่มเจนเวบ
http://www.ipodnano.com 
ผมก็จะต้องใส่ข้อมูลดังนี้
http://www.ipodnano.com/images/header.gif 
เมื่อผมเจนเวบนี้เสร็จเรียบร้อย และต้องการจะเจนเวบต่อไปคือ
http://goodhealth.com 
แต่ใช้เทมเพลทเดิม ผมก็แค่เข้าไปเปลี่ยนรายละเอียดเป็น
http://goodhealth.com/images/header.gif
Main KeywordRelated Keywords (one per line)อันนี้ผมขอกล่าวถึงเฉพาะการใช้งานใน twg อย่างเดียวนะครับ จะไม่ขอพูดถึงหลักกการเลือกคีย์เวิด หรือวิธีการหาคีย์เวิดอะไรต่างๆ เพราะมันออกจะหลุดออกนอกประเด็นไปไกล และมีรายละเอียดมากเหลือเกิน
อันนี้ผมขอเอามาพูดรวบไว้เลยนะครับทั้งสองกล่อง กล่องแรกนี้เอาไว้ให้เรากรอกคีย์เวิดหลักครับ อย่างที่บอกไป ว่าการใช้งาน twg เราต้องมีทั้งคีย์เวิหลัก และคีย์เวิดรอง ซึ่งตัวคีย์เวิดหลักนั้นกฌสุดแท้แต่ว่าเพื่อนๆอยากจะทำตลาดกลุ่มไหน ยกตัวอย่างเช่น ผมอยากทำ อืม.. อ่ะ สมมุติ camping ซึ่งนี่ก็คือคีย์เวิหลักของผมแล้วล่ะครับ
ตัววอย่างการกรอกข้อมูลในกล่อง Main Keywordcamping
ส่วนกล่องที่สองนี่คือรายชื่อของคีย์เวิดรองครับ ซึ่งคีย์เวิดรองพวกนี้เมือเจนออกมาแล้ว มันจะกลายเป็นรายชื่อของเวบไดเรกทอรี่ของเรานั่นเอง ซึ่งในโปรแกรม twg นี้ อนุญาตให้เราใส่เข้าไปได้ถึง 80 คีเวิดรองเลยทีเดียว
แต่ก็อีกนั่นแหละครับ ผมเองก็มีความคิดเห็นส่วนตัวอีกนิดหน่อย ว่าคีย์เวิดรองที่เราใส่ลงไปนี่ ยังไง้ยังไงก็ไม่น่าจะเกิน 10-20 เป็นอย่างมากครับ และวิธีการกรอกคีย์เวิดลงในกล่องนี้ เราต้องใช้แค่ 1 บรรทัดต่อ 1 คีย์เวิดเท่านั้นนะครับ
ตัววอย่างการกรอกข้อมูลในกล่อง Related Keywordsea camping
mountain camping
home camping
บลา บลา บลา
สังเกตุดูอีกนิดหน่อย ตรงท้ายกล่อง Related Keywords มันจะมีคำว่า capitalize อยูู่่ด้วย ซึ่งนั่นก็หมายถึงว่าหากเราต้องการเปลี่ยนตัวหนังสือตัวแรกให้เป็นตัวใหญ่ เราก็กดอันี้ทีเดียวเลยครับ
ยกตัวอย่าง
sea camping
mountain camping
home camping
พอกด capitalize เปรี้ยงเข้าไป มันก็จะกลายเป็น
Sea Camping
Mountain Camping
Home Camping
Number of Navigation Links Per Keyword Pageกล่ิองนี้มีไว้ให้เรากำหนดจำนวนของ ลิ้งที่จะไปปรากฏอยู่บนหน้า keyword page ครับ ซึ่งในการกำหนดกล่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการควบคุมไม่ให้เวบของเราในแต่ละหน้ามีจำนวนลิ้งมากเกินไป ซึ่งอาจจะส่งผลเสียต่อ seo ได้ครับ
โดยมันจะให้เรากำหนดเป็น minimum และ maximum
ตัวอย่างการกรอกข้อมูลminimum เป็น 10 และ maximum 15
minimum เป็น 20 และ maximum 30
minimum เป็น 30 และ maximum 45
Don't sort my keywords, keep them in the order I enter them.อันนี้จะเป็น check box เล็กๆ น่ารักๆ อยู่ถัดลงมา ซึ่งถ้าเราติ๊กที่กล่องนี้ มันจะไม่ทำการเรียง คีย์เวิดย่อยที่เราใส่งลงไปครับ ใส่ลงไปยังไง เวลาเจนออกมาก็ออกมาตามตำแหน่งนั้นเลย ยกตัวอย่างเ่ช่น ถ้าคีย์เวิดที่ผมมีคือ
Sea Camping
Mountain Camping
Home Camping
แล้วติ๊กที่ช่องนี้
เวลาเจนออกมา ตัว listing มันก็จะ ออกมาเป๊ะๆตามนั้นเลย คือ
Sea Camping
Mountain Camping
Home Camping
แต่ถ้าเราไม่ติ๊กที่ช่องนี้ เวลาเราเจนออกมาแล้ว มันจะเรียงลำดับให้ตามตัวอักษร ซึ่งก็จะกลายเป็น
Home Camping
Mountain Camping
Sea Camping
อันนี้ก็เลือกกันเอาเองนะครับ ว่าจะติ๊กหรือไม่ติ๊ก แต่โดยส่วนตัวผมแล้ว ผมจะติ๊กบ้างไม่ติ๊กบ้างคละๆ กันไปอ่ะครับ เพราะต้องการทดสอบสมมุติฐานบางอย่างอยู่ ว่าอันไหน มันจะดีกว่ากัน เพราะถ้าเราติ๊ก ตัวคีย์เวิดมันจะสะเปะสะปะ ไม่เรียงกัน อาจจะทำให้ผู้ใช้งาน ที่ต้องการหาข้อมูล งง งง ได้ ยิ่งถ้าเรามี จำนวนของ listing มาก ก็จะงงไปกันใหญ่ หายาก
แต่ถ้าเราไม่ติ๊ก มันจะเรียงให้ ทีนี้ พอมันเรียงกัน มันก็ทำให้หน้าตาดูสะสวยกว่าปกติ ซึ่งอาจจะทำให้ดูเหมือนว่ามาจากระบบที่เป็น automate มากเกินไป เวลาไปซับมิทที่ directory ต่างๆ อาจจะทำให้น่าสง