กระทู้นี้จะดราม่าอีกหรือเปล่าเนี่ย..

เอาสรุปง่ายๆ นะครับ โดย
ยึดจากตัว core file (ตัวติดตั้งมาตราฐานเดิมๆ จากผู้พัฒนา ไม่รวม plugin และอีกสารพัด script จาก 3rd party) ข้อดีและข้อเสียคือ
ข้อดีของ Joomla
1. แบ่งพื้นที่ในหน้าเว็บออกเป็น 2 แบบ คือ module (ลักษณะเหมือนกล่องข้อความ) และ component โดยหากอธิบายง่ายๆ ก็คือ หากเราต้องการแทรกโค้ดโฆษณา อะไรสักอย่าง เช่น adsense ลงไปในหน้าเว็บ เราสามารถแทรกลงในตำแหน่ง module ที่เรากำหนดได้ใน template เลย ซึ่งหากเป็น wordpress คุณต้องเข้าไปแก้ในไฟล์ template หรือทำเป็น widget เท่านั้น แต่ joomla แค่สร้างโมดูลใหม่ก็ได้แล้ว
2. เนื่องจากระบบ เปิดโอกาสให้เราแทรกโมดูลต่างๆ ได้เอง ตัว layout หน้าเว็บจึงมีความยืดหยุ่นสูง มากไปกว่า layout แบบ ซ้าย กลาง ขวา เพราะเราสามารถยัดโมดูลอื่นๆ แทรกระหว่าง ซ้าย กลาง ขวา ลงไปได้อีกสารพัดจุด
3. มีระบบสมัครสมาชิก และสมาชิกก็มีหลายระดับ สมาชิกสามารถเขียนบทความเองได้ตามสิทธิในแต่ละระดับของสมาชิก
4. มีระบบป้ายโฆษณาแถมมาให้ในตัว
5. มีระบบฟอร์มเมล (contact us form) มาให้แล้ว หมดปัญหากับคนที่ไม่มีความรู้ด้านการเขียน script form mail (แบบผม

)
6. มีระบบ web directory (หน้าตาอาจจะไม่เท่ห์ แต่ถ้าออกแบบเป็น ก็ทำให้ดูดีได้)
7. มีระบบ search ในตัว ไม่ต้องเขียน script ให้วุ่นวาย
8. มีระบบ Rss Feed
9. ระบบ template เว็บ ใช้เพียงไฟล์ไม่กี่ไฟล์ (index.php, template.css, templateDetails.xml แค่ 3 ไฟล์ก็เสียว.. เอ้ย สวยได้ แต่หากอยากเทพมากๆ ก็ยัดสารพัดสคริปให้เว็บเทพได้อีก)
ข้อเสีย
1. ใช้ database เยอะ เมื่อเทียบกับ wp นะครับ (จำนวน table ที่ใช้ เมื่อลงใหม่ๆ จะใช้ table มากกว่า wp) ยิ่งลง component, module และอีกสารพัด plugin เข้าไป db คุณก็ใหญ่ต้วมเตียม เหมือนจอมมารบูตัวแรกเลยทีเดียว

2. ระบบจะแสดงบทความต่างๆ ผ่าน คำสั่ง html พวก table, th, td ดังนั้น ต่อให้เราเขียน template แบบ tableless คือไม่ใช้ table แต่ core file joomla 1.5 มันก็ยังแสดงผลเป็น table อยู่ดี ซึ่งถ้าเป็น 1.6 ปัญหานี้น่าจะถูกแก้ไขแล้ว (ไม่แน่ใจเหมือนกัน เพราะตอนนี้ยังเป็น beta เวอร์ชั่นอยู่

)
3. url ที่ได้ไม่ค่อยเสียว.. เอ้ย ดูเป็น seo มากเท่าไร ต่อให้ปรับใน htaacess แล้ว (ยกเว้นใช้ plugin ช่วย อันนี้..ก็อีกเรื่อง)
4. ไม่มีระบบ ping (แม้จะลง plugin ได้ แต่การทำงานสู้ wp ซึ่งฝั่งใน core file เลยไม่ได้ครับ)
5. เวลาจะ update version แต่ละที สุดแสนจะยุ่งยาก ต้องอัพโหลดไฟล์ไปทับ และต้องไปสืบเสาะติดตามข่าวว่า ตอนนี้ core file มันไป version ไหนแล้ว
6. ไม่มีระบบ tag (ต้องลง plug in เพิ่ม)
7. ไม่มีระบบ comment ของบทความ (ต้องลง plugin เสริม)
มาดูข้อดีของ WP กันบ้างนะครับ (ย้ำนะครับว่าเอาเฉพาะ core file นะครับ ไม่พูดถึง plugin)
1. มีระบบ auto ping มีบทความใหม่ๆ มาปุ๊บ เรียก bot ให้มาดูได้ทันที .. ประมาณว่า ขึ้น (บทความใหม่) ก็เสียวแล้ว..

2. มีระบบ auto update ทั้ง core file, plugin ต่างๆ ในหน้า admin เลย เข้ามาปุ๊บ เกิด wp คุณเป็นเวอร์ชั่นล้าหลัง ระบบจะแจ้งเลยว่า สูเจ้าควรไปโหลดเวอร์ชั่นใหม่โลด เพื่อให้ทันสมัยอินเทรนด์กะเขา

ที่สำคัญคือ กด update ปุ๊บ มันจัดการโหลด + แตกไฟล์ + update ไฟล์ให้เสร็จ ขอเพียงคุณนั่งรอ และเนตคุณไม่ถูกตัดไปในช่วงนี้ก็พอแล้ว
3. ระบบ permalink หรือการกำหนดชื่อ link url ในแต่ละบทความที่เราสร้างขึ้นแบบตามใจฉัน url ที่ได้เลยเสียวได้ตั่งใจ ยิ่งผสมกับ plugin all in on seo pack จะยิ่งเพิ่มความเสียวมากขึ้นเป็นทวีคูณ

4. ระบบ install แบบครอบจักรวาล หากคุณต้องการหา theme (wp จะเรียก template ว่า theme) หรืออยากได้ plugin เทพๆ สักอัน ก็แค่ login เข้าระบบ admin แล้ว search หา จากนั้นเลือก plugin หรือ theme ที่อยากได้ แล้วกด install มันจัดการให้เสร็จ (ทั้งโหลด ทั้งแตกไฟล์ ทั้งติดตั้ง) แถม.. ถ้า plugin นั้นมัน update ตัวเอง ก็ยังสามารถ auto update ได้อีก แหม.. ทันสมัยจริงๆ

5. จำนวน table ใน db ที่ใช้ น้อยมาก (ถ้าจำไม่ผิดจะ 21 table เอง)
6. ไฟล์ติดตั้ง (core file) ขนาดเล็ก (ประมาณ 3m แบบ zip) เมื่อเทียบกับ joomla (5m+ แบบ zip ระเบิดออกมาก็เป็น 10m+)
7. มีระบบย่อรูปในบทความอัตโนมัติ เช่น เรามีรูปประกอบบทความขนาดกว้าง 500 px เวลาจะใส่ในบทความอยากจะย่อให้มันเล็กลงเหลือ 150 ก็ไม่ต้องไปย่อให้เสียเวลา wp จัดการใ้ห้ แถมเป็นคุณสมบัติพื้นฐานที่ติดมากับ core file (joomla ทำได้ แต่ต้องใช้ plugin เสริม)
8. ระบบ tag ที่จะเพิ่มหน้าเว็บของคุณ จากเดิมบทความเดียว ก็มีหลาย url ได้ด้วย tag
9. มีระบบ comment ติดมาใน core file ให้เลย
ข้อเสีย
1. ไฟล์ theme ของ wp จะแบ่งออกเป็นจุดๆ เช่น header.php, archive.php ฯลณ ภาษา php เป็นพรืด ใครหัวอ่อนด้าน php (แบบผม

) งงเป็นไก่ตาแหก.. เอ้ย ตาแตก ว่ามันเรียกไฟล์อะไรบ้าง ปวดตับไปหลายวัน
2. ระบบโฆษณา เช่น ป้ายโฆษณาแบบสุ่ม, ทำป้าย adsense ถ้านับเฉพาะ core file นะครับ ทำได้ยาก และไม่หลากหลาย (ยกเว้นใช้ plugin เข้าช่วย ก็พอไหว แต่ไม่อิสระเท่า joomla)
สรุปคือ... ใช้ตามวัตถุประสงค์ของงานครับ เช่น ถ้าคุณเป็นคนที่ไม่เก่งด้านภาษา PHP และต้องการทำเว็บเพื่อขายโฆษณาแบบ banner, text link, adsense ผมแนะนำว่าไป joomla จะดีกว่า แต่ถ้าต้องการทำเว็บเพื่อดึงสินค้าจาก amazon, ติด adsense แต่ไม่ติดป้ายโฆษณาแบบบ้าระห่ำ และอยากได้ url สวยๆ โดยไม่หนัก server WP น่าจะเป็นคำตอบครับ