เส้นทางชีวิตของผู้เริ่มต้นจาก O > McDonald

(1/3) > >>

kitdee:

 โดย : ก้องเกียรติ


 

วัยเด็ก
เรย์  คร็อก
เกิดปี 1902  ที่ โอ๊ค  ปาร์ค  เมืองชิคาโก

บิดาชื่อ  หลุยส์  คร็อก  อาชีพ  พนักงานของบริษัทเวสต์เทิร์น  ยูเนียน

มารดาชื่อ  โรส  คร็อก  อาชีพ  ครูสอนเปียโน

เรย์มีน้อง 2 คนคือ บ๊อบ  ซึ่งเกิดหลังจากเขา 5 ปี และน้องสาวชื่อลอร์เรน  ซึ่งเกิดหลังบ๊อบ 3 ปี  ทั้ง
2 คนมีหัวทางเรียนหนังสือมากกว่าเรย์  สุดท้ายบ๊อบได้เป็นถึงศาสตราจารย์  นักวิจัยทางการแพทย์

ความช่างคิด ช่างฝัน

ตอนเรย์เป็นเด็กไม่ค่อยชอบอ่านหนังสือ  มันทำให้เบื่อ และเรย์ชอบเล่นมากกว่า  แต่เรย์ชอบใช้เวลานานกับการคิดอะไรเรื่อยเปื่อย  มักจะจินตนาการว่าตัวตกอยู่ในสถานการณ์ต่างๆ และคิดว่าจะแก้ปัญหาอย่างไรบ้าง  จนหลายๆ คนชอบเรียกเขาว่า “แดนนี่ นักฝัน”

ความสนใจทางด้านดนตรี

เรย์มีหัวทางเล่นเปียโน  นิ้วที่เคลื่อนไหวบนคีย์บอร์ดอย่างคล่องแคล่ว  ทำให้แม่พอใจและเคี่ยวเข็ญให้เรย์ฝึกซ้อมเปียโน  จนทำให้เขาเก่งพอที่จะมีชื่อเสียงอยู่ในหมู่เพื่อนบ้าน และผู้นำวง
นักร้องประสานเสียงของ โบสถ์ ฮาวาร์ด คอนเกรเกชันนัล

ความสนใจทางด้านดนตรีของเรย์เป็นการค้ามากขึ้น  เมื่อเขาเห็นนักดนตรี 2 คนที่เล่น และร้องเพลง  เพื่อเรียกลูกค้าเข้าแผนกเครื่องดนตรี  ในห้างสรรพสินค้า  และเรย์เคยฝันที่จะเป็น
นักเปียโนแบบนี้เหมือนกัน  และโอกาสนั้นก็มาถึงเมื่อเขาเริ่มเรียนชั้นเตรียม

โดยเรย์ได้เก็บสะสมเงินทุกเพนนีที่ได้จากการทำงานขายน้ำหวานที่ร้านขายยาของลุงเอิร์ล เอ็ดมันด์  และที่นี่เองที่ทำให้เขาได้เรียนรู้ว่า  “เราสามารถชักชวนลูกค้าด้วยรอยยิ้ม  และท่าทีกระตือรือร้น  ให้เขาซื้อไอศกรีมได้  ทั้งที่ตอนแรกเขาตั้งใจมาซื้อเพียงกาแฟถ้วยเดียวเท่านั้น”

เพื่อลงทุนเปิดธุรกิจขายเครื่องดนตรีเล็กๆ กับเพื่อนอีกสองคน  ลงทุนกันคนละ 100 ดอลลาร์  และเช่าร้านเป็นซอกเล็กๆ ในรารายี่สิบห้าดอลลาร์ต่อเดือน  เรย์เป็นคนเล่นเปียโน และร้องเพลง แต่ขายของไม่ค่อยได้  จนในที่สุดก็ต้องเลิกกิจการไป

 

การโต้วาที
สิ่งเดียวที่เรย์ชอบที่โรงเรียนคือ การโต้วาที  มันเป็นกิจกรรมที่เขาได้มีโอกาสลับฝีปาก  ใช้ศิลปะในการอุปมาอุปไมย  เขาไม่รั้งรอที่จะตีโต้คู่ต่อสู้  หากจะทำให้เขาเป็นฝ่ายนำได้  เขาชอบทำตัวเป็นจุดสนใจ  และชี้นำให้คนฟังคล้อยตาม

เรย์กล่าวว่า “การใช้ศิลปะในการชักจูงคนฟังที่ดีนั้น  ต้องรักษาไว้ซึ่งความเป็นจริงด้วย”

 

สงครามโลกครั้งที่ 1
· เป็นช่วงโรงเรียนปิดภาคฤดูใบไม้ผลิ  เรย์ได้งานขายเมล็ดกาแฟ  และสินค้าใหม่ๆ ตามบ้าน  และเรย์มีความมั่นใจที่จะโผออกสู่โลกภายนอก  และไม่เห็นว่ามีเหตุผลใดที่จะต้องกลับไปเรียนหนังสืออีก จากนั้นเขาได้เข้าร่วมเป็นคนขับรถพยาบาลของกาชาด 
· หลังจากสงครามสงบเรย์ถูกส่งกลับมาที่ชิคาโก  และเขาก็ยังไม่รู้จะทำอะไรต่อไปดี  แต่ทางด้านพ่อและแม่ให้กลับไปเรียนต่อ  แต่เรย์ไม่สนใจ
· เรย์อยากออกไปขายของ และเล่นเปียโนหาเงิน  โดยเขาได้หาช่องทางขายริบบิ้น  และไปได้คล่องราวกับเป็ดได้ลงน้ำ  โรงแรมทุกแห่งที่เรย์ไปพัก  จะเช่าห้องไว้โชว์สินค้าเสมอ  โดยเรย์  จะศึกษารสนิยมของลูกค้าแต่ละคน  เพื่อประโยชน์ในการขาย  เพราะลูกค้าแต่ละคนย่อมมีพฤติกรรมการซื้อที่แตกต่างกัน 

 

ก่อนการก่อตั้งธุรกิจ
ปี 1919   
· เรย์มีอายุ 17 ปี

· เรย์สามารถทำงานขายริบบิ้น และเล่นดนตรี จนมีรายได้มากกว่าของพ่อเสียอีก  แต่งานขายริบบิ้นก็เริ่มถึงจุดตัน  เขาจึงเลิกงานขายเมื่อฤดูร้อนปี 1919

· เรย์ได้งานใหม่เป็นการเล่นดนตรีที่ทะเลสาบเพา-เพา  ในมิชิแกน  ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากในสมัยนั้น   เรย์เล่นดนตรีในสถานเต้นรำที่เรียกกันว่า “ริมน้ำ”  เขาดึงลูกค้าได้จากโรงแรมหลายแห่งแถวๆนั้น  ตอนบ่ายแก่ๆ เขาจะขึ้นไปโชว์ตัวบนดาดฟ้าเรือหมดทั้งวง  และเรือจะแล่นเรียบฝั่งไปเรื่อยๆ

· และที่นี่เองที่ทำให้เขาพบรักกับเอทเธิล  ซึ่งเป็นลูกสาวของเจ้าของกิจการโรงแรมฝั่งตรงข้าม

· ต่อมาเรย์ได้งานเป็นคนจดราคาที่ตลาดค้าหุ้น นิวยอร์ค  เคิร์บ  ในชิคาโก  ซึ่งเดี๋ยวนี้กลายเป็นตลาดค้าหุ้นอเมริกัน  บริษัทที่จ้างเรย์มีชื่อว่าวูสเตอร์ – โธมัส  งานของเขาคืออ่านเทปโทรเลข และแปลรหัสในนั้นออกมาเป็นตัวเลข และนำไปเขียนบนกระดานดำ  ให้คนที่ติดต่อกับบริษัทของเราเป็นประจำตรวจสอบพิจารณา

 

ปี 1920
· พ่อของเรย์ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้จัดการในเอดีที  อันเป็นสาขาของเวสต์เทิร์น  ยูเนียน  และถูกย้ายไปอยู่นิวยอร์ค  แต่เรย์ไม่อยากย้ายตามครอบครัวไปอยู่นิวยอร์ค เนื่องจากไม่อยากจาก
เอทเธิลไป  แต่พอดีที่เขาก็ได้งานที่วูสเตอร์ – โธมัส สาขานิวยอร์คในแผนกแคชเชียร์

· แต่แล้ววันหนึ่ง เรย์ไปทำงานตามปกติ  แต่ปรากฎว่าสำนักงานถูกปิด  และมีประกาศของ
นายอำเภอว่าบริษัทนี้ล้มละลาย  ดังนั้นเรย์จึงตัดสินใจจากครอบครัวไป และบอกแม่ว่าจะไม่กลับมาอีก  หลังจากที่เรย์จากไปพ่อได้ทำงานต่อไปจนได้เลื่อนตำแหน่ง และกลับไปอยู่ที่ชิคาโกตามเดิม

 

ปี 1922
· เรย์เป็นเซลส์แมนขายถ้วยกระดาษ  ยี่ห้อ ลิลี่  เพราะเขาคิดว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ และกำลังตีตลาด

· เรย์และเอทเธิลได้แต่งงานกัน

· ถ้วยกระดาษไม่ใช่สินค้าที่ขายกันได้ง่ายๆ เมื่อเอาตัวอย่างไปตีตลาดตามท้องถนน  เจ้าของ
ร้านอาหารมักจะปฏิเสธ และบอกว่าใช้แก้วคิดแล้วถูกกว่า

· ดังนั้นเรย์จึงมุ่งไปที่ร้านขายน้ำหวานโซดา  ซึ่งต้องการความรวดเร็ว และความสะอาด  และจุดนี้เองเป็นจุดขายที่สำคัญของเรย์  สิ่งที่ยากคือเขาต้องสามารถเอาชนะความล้าสมัยของลูกค้าให้ได้

· เรย์ทำงานขายถ้วยกระดาษ ไปพร้อมๆ กับการเล่นเปียโนตอน 6 โมงเย็น  ที่สถานีวิทยุดับบลิว จี อี เอส  ในโอ๊คแลนด์  สตูดิโอ  อยู่ที่โรงแรมโอ๊ค  ปาร์ค  อาร์มส  ห่างจากแฟลตที่เขาพักไม่กี่ช่วงตึก  เรย์ต้องเล่นตั้งแต่ 6 โมงเย็นถึง 2 ทุ่ม  และพักจากนั้นเริ่มเล่นอีกครั้งตอน 4 ทุ่มถึงตีสอง  เรย์มีเวลาพักผ่อนไม่เท่าไร  พอ 7 โมงเช้าก็ต้องออกไปเร่ขายสินค้า

· งานขายถ้วยของเรย์เติบโตขึ้นเรื่อยๆ  เพราะเขาได้เรียนรู้วิธีวางแผนการทำงาน  และการทำตามแผนการนั้น  เรย์พบว่าลูกค้าจะพอใจให้เราเข้าหาเขาโดยตรงถึงตัว  พวกเขาจะซื้อ  หากจี้ตรงจุด และทำให้เขาสั่งสินค้า  โดยไม่ต้องเสียเวลาหว่านล้อมอีก

· หลักการของเรย์ คือ ต้องช่วยเหลือลูกค้า และถ้าการขายของเรย์ไม่ได้ช่วยให้กิจการของเขากระเตื้องขึ้นมาได้  เรย์จะรู้สึกว่ายังไม่ได้ทำหน้าที่ของตัวเอง

 

ปี 1925
· อาชีพเซลส์แมนของเรย์เริ่มฟูเฟื่องขึ้นเรื่อยๆ  จานมีเงินเดือนสูงขึ้น  และรวมกับค่าจ้างจากเล่นเปียโน

· เรย์ทราบจากหนังสือพิมพ์ว่าธุรกิจที่ฟลอริดากำลังรุ่ง  เขาจึงตัดสินใจลางาน 5 เดือนเพื่อเดินทางไปที่นั่นพร้อมกับเอทเธิลและน้องสาวของเธอ

· ที่ฟลอริดาเรย์ได้งานเป็นนายหน้าขายที่ดินในฟอร์ด  เลาเดอร์เดล  ติดถนนลาส  โอลาส 
บูเลอวาด  งานของเรย์คือหาลูกค้า  แล้วพาไปดูที่ดิน  พอไปถึงที่นั่นจะมีคนพาไปชมที่ซึ่งกำลังพัฒนาอยู่  เรย์หาลูกค้าจากรายชื่อนักท่องเที่ยวที่มาชิคาโก  ที่หอการค้าไมอามี

· แต่ธุรกิจนี้ก็รุ่งเรืองได้ไม่นาน เนื่องจากหนังสือพิมพ์ได้แต่แผ่ความจริงว่าเป็นการหลอกขายที่ดินที่อยู่ในน้ำ  ดังนั้นไม่มีลูกค้ามาอีก และธุรกิจที่ดินล้มละลายในที่สุด

· จากนั้นเขาได้งานเล่นเปียโนที่ไนท์คลับหรูหราชื่อเดอะไซเลนท์ ไนท์ ที่ปาล์มไอแลนด์  ที่นี่เขามีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 110 ดอลลาร์ต่อสัปดาห์  เจ้าของสถานที่ที่นี่เป็นนักค้าเหล้าเถื่อน  และคืนหนึ่งเจ้าหน้าที่สรรพากรก็เข้าจับกุมรวมทั้งเรย์ด้วย 

· หลังจากเหตุการณ์นั้นเอทเธิลจึงไม่สบายใจ  และปรึกษากันว่าจะกลับชิคาโก  โดยให้เอทเธิล
กลับรถไฟไปก่อน  และเรย์จะตามไปจนกว่าวงจะหาคนใหม่มาเล่นแทนได้

 

ปี 1927
· เรย์ กลับมาเป็นเซลส์ขายถ้วยกระดาษ  กับบริษัทแซนิแทรี คัพ  แอนด์ เซอร์วิส คอปอเรชั่น
อีกครั้ง

 

ปี 1930
· ตลาดหุ้นล้มละลาย  ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ 

· พ่อของเรย์ เสียชีวิตด้วยอาการโลหิตคั่งในสมอง

· เรย์ ดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขาย

· เรย์ มักจะมองหาช่องทางการขายใหม่ๆ  เพื่อสร้างยอดขายให้กับตัวเองเสมอ  เช่นเรย์เคยเข้าไปเสนอขายถ้วยกระดาษให้กับร้านวอลกรีน  ซึ่งเป็นร้านที่ขายดีเป็นเทน้ำเทท่าใน
ตอนกลางวัน  ทำให้เรย์คิดว่าถ้าร้านนี้ใช้ถ้วยกระดาษจะสามารถทำให้ทางร้านขายเบียร์ และ
น้ำหวานชนิดที่ลูกค้าสามารถซื้อกลับบ้านได้  โดยที่ไม่ต้องมาออกันจนล้นร้านอย่างนี้  ในที่สุดเขาก็ขายได้  และสามารถสร้างยอดขายให้ร้านได้มากขึ้นอีกด้วย  นอกจากนี้เรย์ยังมองหากลุ่มลูกค้าที่เป็นโรงงานใหญ่ๆ ที่ทำเป็นกึ่งอุตสาหกรรมอาหารด้วย

· เรย์ยึดหลักการในการปกป้องผลประโยชน์ของลูกค้า  ซึ่งทำให้ลูกค้าเชื่อใจเขา

· เรย์ จะแนะนำสิ่งดีดี และความคิดใหม่ๆ ที่ได้พบเห็นจากที่ต่างๆ  ให้กับลูกค้าเสมอ

· เรย์ จะแนะนำเซลส์ของเขาว่า
-  สิ่งแรกที่คุณจะขาย คือ ตัวคุณเอง  ถ้าคุณทำได้  คุณก็จะขายถ้วยกระดาษได้ไม่ยาก
-  ควรใช้เงินอย่างฉลาด  และสะสมไว้สำหรับยามจำเป็น

· เรย์  นำเครื่องมัลติมิกเซอร์มาเสนอที่บริษัท  ทำให้บริษัทได้เป็นตัวแทนจำหน่างเครื่องมัลติมิก-เซอร์แต่เพียงผู้เดียว  แต่ทางสำนักงานใหญ่ไม่ได้ให้ความสนใจ  ดังนั้นเรย์จึงสนใจที่จะขอมาทำเอง และลาออกจากการเป็นเซลส์ขายถ้วยกระดาษ

· เรย์จึงเข้าไปเจรจาที่บริษัทอีกครั้ง  ผลก็คือทางบริษัทแซนิแทรี่ คัพ  ยอมให้เรย์เป็นคนทำสัญญากับมัลติมิกเซอร์  แต่ทางบริษัทจะต้องได้ 60% จากบริษัทใหม่ของเรย์  ซึ่งทางบริษัทจะออกทุน 6,000 ดอลลาร์ ในจำนวนเงินทั้งหมด 100,000 ดอลลาร์

 

ปี 1938
· บริษัทใหม่ของเรย์ชื่อ ปริ้นส์  คาสเซิล  เซลส์  มีสำนักงานเล็กๆ ที่อาคารลาซาล–เวคเกอร์ 
ในชิคาโก

· การที่บริษัทแซนิแทรี่มีหุ้นอยู่ 60% ทำให้เขาสามารถจำกัดเงินเดือนของเรย์ได้ และทำให้เขาอยู่แค่ระดับเท่าตอนที่ลาออก  ดังนั้นเรย์จึงคิดต้องการหุ้นคืน จึงเข้าไปเจรจา ทางบริษัทบอกตัวเลขมาว่า 60,000 ดอลลาร์ และต้องการเป็นเงินสด

· เรย์จ่ายก่อน 12,000 ดอลลาร์เป็นเงินสด และต้องจ่ายให้ครบภายใน 5 ปีบวกดอกเบี้ย  จากนั้นเรย์จึงบ้านไปจำนองในราคา 100,000 ดอลลาร์

· เคล็ดลับของเรย์คือ พักผ่อนอย่างเต็มที่ทุกนาทีที่อำนวย  คือนอนอย่างเต็มที่  เท่าๆ กับที่ทำงานอย่างที่เช่นกัน

 

 

 

สงครามโลกครั้งที่ 2
· 7 ธันวาคม 1941 ประเทศเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2

· ธุรกิจมัลติมิกเซอร์หยุดชะงัก  เนื่องจากในช่วงสงครามไม่มีทองแดงที่จะมาทำตัวมอเตอร์มัลติมิกเซอร์

· เรย์ จึงทำสัญญากับแฮรี่ บี. เบิร์ท ขายสินค้าประเภทนมผงไขมันต่ำ และถ้วยกระดาษขนาดสิบหกออนซ์  สำหรับใส่เครื่องดื่มที่เรียกว่า มอลท์-อะ-เพลนตี้

· หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ธุรกิจขายเครื่องมัลติมิกเซอร์  กลับดียิ่งกว่าเดิม

· เรย์ยังคงเดินทางวนเวียนเร่ขาย และสาธิตเครื่องไปในภัตตาคาร และร้านเครื่องดื่ม  เฉลี่ยต่อปีเขาขายได้ประมาณ 5,000 เครื่อง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 1978-1949 เขาสามารถขายได้มากถึง 8,000 เครื่องต่อปี

 

ปี 1950
· บริษัทผู้ผลิตลดการผลิตลง

· เรย์ จึงต้องหาสินค้าใหม่มาขายคือ โต๊ะ และม้านั่งพับได้  เขาเรียกมันว่า โฟล-อะ-นุค  แต่ธุรกิจนี้ก็ไปไม่รอด

· หลังจากนั้นไม่นาน  เรย์จึงคิดถึงเรื่องราวของพี่น้องแมคโดนัลด์ และกิจการของพวกเขา  ที่ต้องใช้เครื่องมัลติมิกเซอร์ถึงแปดเครื่อง  ขายมิลค์เชคกันอย่างมโหฬารที่แซน เบอร์นาร์ดิโน  ซึ่งเป็นเมืองเงียบๆ ในเวลานั้น  และยังอยู่ในแถบทะเลทราย  เรื่องนี้จึงทำให้เรย์แปลกใจมาก

 

การก่อตั้งธุรกิจ
ปี 1954
· เรย์เดินทางไปแซน เบอร์นาร์ดิโน  เขาผ่านร้านแมคโดนัลด์ตอนเวลาประมาณ 10 โมง  ซึ่งก็ยังไม่รู้สึกติดใจอะไร  มันเป็นอาคารทรงแปดเหลี่ยมเล็กๆ ที่ไม่มีอะไรน่าสะดุดตา  และตั้งอยู่หัวมุมถนนบนพื้นที่ประมาณ  200  ตารางฟุตเท่านั้น การออกแบบเป็นร้านไดร์ฟ-อิน  สำหรับให้รถจอดเทียบได้ธรรมดาๆ  แต่พอเวลา 11 โมงก็ได้เวลาร้านเปิด  เรย์ยังคงจอดรถ และเฝ้าดูพนักงานปรากฎตัวออกมา  ทั้งหมดเป็นผู้ชายใส่เสื้อเชิ้ตและกางเกงสีขาวเรียบร้อย  สวมหมวกกระดาษสีขาวเช่นกัน  ซึ่งเป็นแบบที่ถูกใจเรย์มาก  พวกเขาเริ่มลำเลียงของออกมาจากที่เก็บ  โดยใส่รถเข็นออกจากหลังร้านมีทั้งถุงมันฝรั่ง  ขวดนม  น้ำหวาน  และกล่องขนมปังก้อน  มุ่งตรงไปในตึกแปดเหลี่ยมนั่น  เรย์บอกกับตัวเองว่าอะไรบางอย่างกำลังเกิดขึ้นที่นี่แน่ๆ  จังหวะการทำงานของพวกเขาดูอลหม่านไปหมดราวกับฝูงมดกำลังปิคนิคกันเชียว  แล้วรถก็เริ่มทะยอยเข้ามาจอดเป็นแถวยาว  ไม่ช้า  ลานจอดรถก็เต็มไปด้วยคนเดินเข้าเดินออก  ระหว่างช่องกระจกของร้านกับรถของพวกเขา  ในมือของแต่ละคนถือถุงแฮมเบอร์เกอร์เต็มถุง  เครื่องมัลติมิกเซอร์แปดเครื่องกำลังปั่นพร้อมกันอย่างเต็มสปีด  แต่ก็ยังดูเหมือนว่าจะไม่ทันใจคนที่มายืนรอเป็นแถวที่ค่อยๆ เคลื่อนไปทีละน้อย
· มันทำให้เรย์งงมาก  และทำให้เกิดความอยากรู้อยากเห็นต่อไป  ดังนั้นเรย์จึงไปสอบถามจากชายผิวดำคนหนึ่ง  เขาอบว่า  “คุณจะได้ทานแฮมเบอร์เกอร์ที่อร่อยที่สุด  เท่าที่เคยทานมาในราคา 15 เซนต์  และคุณไม่ต้องรอนานหรือวุ่นวายกับการจ่ายทิปให้บ๋อย

· ภาพที่เรย์เห็นทุกคนกำลังเอร็ดอร่อยกับการทานแฮมเบอร์เกอร์  สถาน ที่ของร้านที่สะอาดมาก  ถึงแม้จะเป็นวันที่อากาศร้อนอ้าวแต่เรย์ก็ไม่พบแมลงวันแถวนั้นสักตัว  พนักงานเก็บทุกอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย  และสะอาด  ซึ่งทำให้เรย์ทึ่งและแปลกใจมาก

· เรย์จึงรอพบกับ 2 พี่น้องแมค และดิ๊ก  แมคโดนัลด์และนัดทานอาหารเย็นกัน  เพื่อที่ได้รับฟัง
การบริหารงานของเขา 2 พี่น้อง  ระบบของเขาเป็นระบบที่เรียบง่ายและมีประสิทธิภาพ  รายการอาหารของเขามีให้เลือกอย่างจำกัด  เท่าที่จำเป็น  และสะดวกต่อการปรุงอย่างรวดเร็ว  เขาขายแค่แฮมเบอร์เกอร์  และชีสเบอร์เกอร์เท่านั้น  เนื้อ (แพ็ตตี้) ที่สอดไส้  หนักก้อนละหนึ่งส่วนสิบปอนด์ทุกชิ้น  จะทอดแบบเดียวกันหมด  สนนราคาสิบห้าเซนต์  ถ้าใส่ชีส (เนยแข็ง) ด้วยหนึ่งแผ่น  ก็เพิ่มอีกสี่เซนต์  น้ำหวานถ้วยละสิบเซนต์  มิสค์เชคขนาดสิบหกออนซ์ราคายี่สิบเซนต์  กาแฟถ้วยละหนึ่งนิกเกิ้ล (ห้าเซนต์)
· เมื่อเรย์กลับมาถึงที่โรงแรม  เรย์คิดอย่างหนักถึงสิ่งที่ได้เห็นมาตลอดวันนั้น ภาพของร้านแมคโด-นัลด์ที่เรียงรายอยู่ตามทางแยกทั่วประเทศล่องลอยเข้ามาในจินตนาการของเรย์อย่างไม่ขาดระยะ  และในแต่ละร้านก็จะต้องมีเครื่องมัลติมิกเซอร์แปดเครื่องปั่นไม่หยุด  และเงินก็จะไหลมาเข้ากระเป๋าของเรย์อย่างไม่ขาดสาย

· วันรุ่งขึ้นเรย์ได้ไปพบกับ 2 พี่น้องอีกครั้งและเสนอว่า 
เรย์ :      “ทำไมคุณไม่เปิดสาขาอย่างนี้ที่อื่นบ้างละครับ? … มันจะเป็นขุมทอง
   สำหรับคุณ และผมเลยทีเดียว  เพราะทุกคนต้องอุดหนุนเครื่องมัลติมิก-
   เซอร์อของผมแน่ๆ คุณคิดว่าอย่างไรครับ” 
2  พี่น้อง :    “ …เราไม่ต้องการสร้างภาระปัญหาเพิ่มขึ้นมาอีก  ตอนนี้เรายืนอยู่บนจุดที่พอใจ
   กับชีวิตของเราแล้ว  และนั่นก็เป็นสิ่งที่เราต้องการ”

เรย์ : “ทำไมคุณไม่กินเค้กของคุณต่อไป  แต่โดยเปิดโอกาศให้คนอื่นได้กินด้วย  ซึ่งคุณก็
  ไม่เสียผลประโยชน์อะไรเลย  ผมเองก็พลอยขายเครื่องมัลติมิกเซอร์ได้ด้วย” 
ดิ๊ก : “มันยุ่งยากมากทีเดียว  และใครจะเป็นคนเปิดสาขาให้เราล่ะ?”
เรย์ : เกิดความรู้สึกมั่นใจบางอย่างขึ้นมา  แล้วชะโงกตัวไปบอกว่า  “แล้วผมนี่ล่ะ  เป็นไง”

· เรย์  เสนอตัวเองเข้าไปเปิดสาขาให้แมคโดนัลด์และตกลงทำสัญญากันในที่สุด

· แต่ก่อนหน้านี้ 2 พี่น้องนี้ได้เซ็นสัญญาอนุญาติให้คนอื่นทำร้านแบบไดร้ฟ-อินนี้อีก 10 แห่ง  แต่เรย์ได้สิทธิ์ในการเปิดกิจการแบบเดียวกันนี้ทั่วประเทศ

· ตามสัญญาเรย์จะต้อง
-  สร้างตามแบบแปลนที่ออกใหม่  ซึ่งมีโค้งสีทองอยู่บนหลังคา
-  ทุกร้านจะใช้ชื่อแมคโดนัลด์
-  เรย์จะต้องทำตามแผนของ 2 พี่น้องทุกประการ รวมทั้งสัญลักษณ์และเมนู  เว้นแต่มีการตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร  ซึ่งลงนามโดย 2 พี่น้องโดยส่งให้เรย์ทางไปรษณีย์
-  เรย์จะได้ 1.9% ของกำไร ทั้งหมดจากผู้เช่าแฟรนไชนส์  2% และเรย์จะได้ค่าแฟรนไชนส์สำหรับลิขสิทธิ์แต่ละครั้ง 950 ดอลลาร์
-  สองพี่น้องจะได้ .5% จาก 1.9% ที่เรย์ได้
-  เรย์ทำสัญญา 10 ปี และต่อมาภายหลังแก้เป็น 99 ปี

· เหตุที่เรย์ไม่คิดทำร้านขึ้นมาเองใหม่ โดยไม่เสียค่าแฟรนไชนส์เนื่องจาก
-  เครื่องมือบางอย่างไม่สามารถลอกเลียนแบบได้
-  เรย์คิดว่าชื่อ “แมคโดนัลด์” เป็นชื่อที่เหมาะที่สุด

· เรย์เริ่มหาทำเลในการเปิดร้านแรกของเขาที่เดส เพลนส์  โดยเข้าหุ้นกับอาร์ต  เจคอบส์

· ปัญหาก่อนการเปิดดำเนินการ  ได้แก่
-  แบบแปลนแบบเดิมนั้น  เหมาะกับทำเลที่อยู่ในแถบกึ่งทะเลทราย  คือพื้นเป็นคอนกรีต  ไม่มีห้องใต้ดิน  และมีเครื่องทำความเย็นอยู่บนหลังคา  แต่ในชิคาโกเรย์ต้องการทำห้องใต้ดิน  เรย์จึงต้องขอความเห็นชอบจากสองพี่น้องเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน แต่ทางสองพี่น้องกลับให้เพียงคำพูดปากเปล่าเท่านั้น  ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ทางเรย์ต้องรับผิดชอบเพียงฝ่ายเดียว
-  การประยุกต์ระบบระบายอากาศ  ที่ออกแบบมาให้ใช้กับถิ่นแคลิฟอร์เนีย  แล้วต้องเปลี่ยนมาใช้กับอากาศทางแถบตะวันตก  เรย์พยายามที่จะแก้ปัญหาดูดอากาศเสียออกและทำให้อากาศข้างในเย็นหรืออบอุ่นได้
-  การทำมันฝรั่งทอดให้มีรสชาติดี  และมีมาตรฐาน  แรกเริ่มเรย์คิดว่ารู้วิธีการทำของสองพี่น้องแล้วแต่จริงๆแล้วไม่ เมื่อทดลองทำมันฝรั่งจึงเละไม่อร่อย  จึงโทรกลับไปสอบถามแต่สองพี่น้องไม่ยอมบอก  ดังนั้นเรย์จึงปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญในสมาคมมันฝรั่ง และหัวหอม ต่อมาก็ประสบความสำเร็จรสชาติมันฝรั่งทอดของเรย์เป็นที่ชื่นชอบ และติดอกติดใจคนทั้งเมือง



19 เมษายน  1955
· ร้านแมคโดนัลด์  สาขาแรกของเรย์  เริ่มเปิดดำเนินการ  โดยมีผู้จัดการร้านชื่อเอ็ด  แมคลักกี้นี่

· เรย์มีความตั้งใจที่จะให้ร้านแรกเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ร้านสาขาต่อๆ มา

· เรย์มุ่งที่การคงมาตรฐาน  รสชาติ และคุณภาพของร้านแมคโดนัลด์ให้ได้เหมือนกันทุกสาขา

· สัญญาระหว่างเรย์และสองพี่น้องสิ้นสุดลงเมื่อ 
-  สองพี่น้องได้อนุญาตให้ร้านอีก 10 ร้านใช้ชื่อแมคโดนัลด์ได้
-  มีสัญญาอีกฉบับ  ที่สองพี่น้องทำโดยไม่ได้บอกเรย์ คือที่ คุ๊ก  เคาน์ตี้  รัฐอิลลินอยส์  ถิ่นเดียวกับบ้าน  ที่ทำงานและร้านแห่งแรกของเรย์  พวกเขาขายคุ๊ก เคาน์ตี้ ให้บริษัทฟรีจแลค ไอศกรีมได้กำไร 5,000 เหรียญ  ดังนั้นเรย์ต้องไปซื้อคืนมาในราคาสูงถึง 25,000 ดอลลาร์

· ในช่วงนี้เรย์ใช้เงินที่ได้จากบริษัทปริ้นส์  คาสเซิล  เซลส์  เป็นเงินสนับสนุนร้านแมคโดนัลด์  ในการจ่ายเงินเดือน และค่าเช่า

· ช่วงนี้เรย์ต้องทำงาน 2 ที่คือ
-  ตอนเช้า  เรย์ต้องขับรถไปที่เดส เพลนส์ เพื่อเตรียมเปิดร้าน  ทำทุกอย่างตั้งแต่ทำความสะอาด จนถึงการเตรียมเรื่องการสั่งของและการเตรียมอาหาร
-  และรีบขึ้นรถไฟไปชิคาโกเวลา 7.57 เพื่อที่จะไปทำงานที่ปริ้นส์  คาสเซิลก่อน 9 โมงเช้า
-  และรีบกลับมาที่ร้านอีกครั้งในตอนเย็น

 

เดือนพฤษภาคม ปี 1955
· เรย์ได้แฮร์รี่  ซันบอร์น  มาร่วมงานในฐานะผู้ดูแลทางการเงิน

· เรย์จึงเริ่มการขายแฟรนไชนส์ให้รายอื่นโดย
-  ปล่อยให้ผู้ประกอบกิจการแต่ละร้าน  หาวัสดุในการก่อสร้างเองได้ในราคาต่ำสุด  ทำให้หมดปัญหาเรื่องไม่ไว้ใจกัน
-  ต้องไม่มีโทรศัพท์สาธารณะ  ตู้เพลง  ตู้ขายของอัตโนมัติทุกชนิดภายในร้าน  เพราะของพวกนั้นจะทำให้เกิดความสับสน  วุ่นวาย  ภายในร้าน  ทำให้ลูกค้าเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์
ภาพพจน์ที่ต้องการสร้างในการบริการของแมคโดนัลด์ก็จะเสียไป

 
ปลายเดือนสิงหาคม ปี 1956 
· มีร้านแมคโดนัลด์ทั้งหมด 8 ร้าน

· เป้าหมายของร้านคือ  รับประกันชื่อเสียงบนพื้นฐาน ของระบบธุรกิจของเรามากกว่าจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของแต่ละร้าน หรือผู้บริหารแต่ละคน

· “กุญแจที่จะไขสู่การทำเป็นระบบแบบแผน ขึ้นอยู่กับความสามารถในการใช้เทคนิคการจัดเตรียมอาหารในขั้นเยี่ยมยอด  ขนาดที่ผู้ประกอบร้านจะต้องยอมรับ  แต่การวิจัย  ปรับปรุง  และจัดเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำ  และบริการแก่บรรดาผู้ประกอบร้านอย่างมีประสิทธิภาพนั้นต้องใช้เงินมาก”

· เรย์ และแฮร์รี่แก้ปัญหาโดยการ  ตั้งบริษัทแฟรนไชส์  เรียลตี้ขึ้น  ด้วยเงินทุนที่ชำระแล้ว
1,000 ดอลลาร์

· เรย์กล่าวว่า “หากคุณจ้างคนมาทำงานให้แล้ว  คุณก็ควรจะหลีกทางให้เขาทำของเขาไป  ถ้าคุณระแวงในความสามารถของเขา  คุณก็ไม่ควรจ้างเขาแต่ทีแรกแล้ว” ดังนั้นเรย์จึงปล่อยให้แฮร์รี่ดำเนินการอย่างอิสระ

· บริษัทแฟรนไชส์  เรียลตี้  ซึ่งแฮร์รี่วางข้อกำหนดให้ผู้ประกอบการร้าน  จะต้องจ่ายเงินประจำเดือนจากเปอร์เซนต์ที่แบ่งจากรายได้ทั้งหมด  และเงินนั้นบริษัทจะนำไปจ่ายค่าดอกเบี้ย   และค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมทั้งกำไร  ซึ่งทำให้บริษัทมีรายได้เป็นเนื้อเป็นหนังมากขึ้นจากเงื่อนไขรายเดือนนี้

· จากนั้นแฮร์รี่คิดว่าควรจะมีสถาบันเงินทุนใหญ่หนุนหลังด้วย จึงติดต่อกับออล-อเมริกัน ไลฟ 
อินชัวรันช์  คอมปานี ในชิคาโก  และรายที่สองคือ เซ็นทรัล  สแตนดาร์ดไลฟ  ในชิคาโก

· ต่อมาเรย์ก็ต้องประสบกับปัญหาการฝึกพนักงาน และจัดระบบแมคโดนัลด์ให้กับร้านสาขาที่ซื้อแฟรนไชนส์  เพราะเนื่องจากว่าเขาไม่สามารถเรียกตัวเอ็ด หรืออาร์ต  เบนเดอร์ซึ่งเป็นผู้จัดการร้านมือหนึ่งให้ไปฝึกทุกครั้งได้  ดังนั้นเรย์จึงลดราคาค่าลิขสิทธิ์ลง 100 ดอลลาร์

 
เดือนมกราคม  ปี 1957
· เรย์ ได้เฟร็ด  เทอร์เนอร์  มาร่วมงานในฐานะผู้จัดการบริษัท

· เฟร็ด  ต้องทำงานร่วมกับจิม ชินด์เลอร์  ผู้ชำนาญอุปกรณ์สแตนเลสสตีล  เขาทั้ง 2 จะต้องเข้าไปจัดการร้านสาขาให้ทุกแห่ง  เพื่อให้ทุกร้านมีมาตรฐาน และคุณภาพแบบเดียวกัน

 

· เรย์กล่าวว่า “ผมดำเนินตามสัญชาติญาณอันแรงกล้าของความเป็นเซลส์แมน  และการประเมินคนด้วยการคิดเอาเอง ผมถูกขอให้อธิบายหลักการในการเลือกตัวผู้บริการอยู่บ่อยๆ เพราะความสำเร็จส่วนใหญ่ในการบริหารงาน  เนื่องมาจากบุคคลที่ผมจัดวางตำแหน่งให้พวกเขาทำ  มันไม่ต่างอะไรนักกับกฎเกณฑ์ที่นักศึกษาวิชาบริหารธุรกิจจะหาได้จากหนังสือเรียน  มันยากที่จะให้คำตอบที่แท้จริง  เพราะน้ำหนักในการตัดสิน  ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์  แต่อยู่ในการประยุกต์นำมาปฏิบัติต่างหาก”  ด้วยเหตุนี้เรย์จึงดูเหมือนคนทำอะไรตามใจตัวเอง

· เฟร็ด เป็นผู้ที่จัดการให้ร้านแมคโดนัลด์ทุกแห่งต้องสั่งของตามอย่างที่เขาคิด หมายถึงเราเป็นผู้ตั้งมาตรฐาน  คุณภาพและเจาะจงรูปแบบในการบรรจุหีบห่อ แล้วผู้ประกอบร้านจะเป็นสั่งซื้อ
สินค้านั้นเอง  นอกจากนี้เรายังแนะนำให้ผู้จัดส่งสินค้าถึงวิธีการลดต้นทุนด้วย  เช่นการบรรจุหีบห่อทีละมากๆ  การส่งของให้มากอย่างในคราวหนึ่งๆ  เมื่อเป็นเช่นนี้เวลาที่เฟร็ดมีความคิดใหม่ๆ ผู้จัดส่งมักจะยินดีให้ความร่วมมือ  รวมถึงกรรมวิธีการผลิตจะต้องเป็นมาตรฐานเดียวกันด้วย เช่นเนื้อหนักก้อนละหนึ่งปอนด์ จะต้องทำเนื้อได้ 10 ชิ้น

· เรย์กล่าวว่า “ผมไม่ได้คิดในแง่ของการวางแผนงานใหญ่โต  ผมจะทำจากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่ทั้งหมด  และจะไม่ทำการใหญ่จนกว่าจะทำรายละเอียดย่อยๆ ให้สมบูรณ์เสียก่อน  สำหรับผมมันเป็นวิธีการที่สามารถยืดหยุ่นได้”   “ฉะนั้น หากคุณจะหวังให้ความคิดของคุณเป็นจริงได้  คุณต้องวางรากฐานธุรกิจของคุณทุกขั้นตอนให้สมบูรณ์พร้อมพรั่งเสียก่อน”

 

ปี 1959
· เรย์แต่งตั้งแฮร์รี่ ซันบอร์น  เป็นประธาน และผู้จัดการบริหาร

· ต่อมาแมคโดนัลด์ถูกยื่นคำร้องยึดทรัพย์สินจากเจ้าของที่ดิน  เพราะเนื่องจากว่าเคลม บอร์ที่รับอาสาเป็นผู้จัดหาทำเลและสร้างสถานที่กลับไม่เคยชำระเงินให้เจ้าของที่ดิน  ดังนั้นเจ้าของจึงฟ้องแมคโดนัลด์เป็นเงินประมาณ 400,000 ดอลลาร์   ทำให้เรย์ต้องตกอยู่ในภาวะทางการเงินที่ล่อแหลม  แต่เขาก็คิดว่าเขาจะได้ร้านทำเลดีๆ เพิ่มอีก 8 แห่ง

· กำไรที่เรย์ทำได้จากกิจการของเขาในปีนี้  มีมูลค่าราว 90,000 เหรียญ  มันจึงเป็นการยากที่จะกู้เงินเป็นจำนวนที่เรย์และแฮร์รี่กะไว้  เรย์เคยไปขอกู้จากเดวิด  เคนเนดี้  ประธานกรรมการคอนติ-เนนตัล  อิลินอยส์  เนชั่นแนล  แบงค์  ออฟ  ชิคาโก  แต่เขาปฏิเสธ  ต่อมามีเซลส์แมนชื่อมิลตัน  โกลด์สแตนท์มาหาแฮร์รี่  และบอกว่าเขาสามารถติดต่อเรื่องงานได้  แต่เขาเรียกค่านายหน้าเป็นจำนวนมาก และบวกกับหุ้นของบริษัท  แต่ในที่สุดเขาก็ไม่สามารถเจรจาได้สำเร็จ

· ในที่สุดแฮร์รี่ได้พบกับฟิเดลิ และกอสเนล  เขาทั้ง 2  ได้เจรจาขอกู้เงินจากบริษัทประกัน 3 แห่งได้สำเร็จ  โดยมีข้อแลกเปลี่ยนคือ  บริษัทประกันให้เงินกู้ 1.5 ล้านเหรียญแลกกับหุ้นจำนวน 22.5%

· ในช่วงที่แฮร์รี่และเรย์พยายามหาเงินกู้อยู่นั้น  ทั้งสองคิดว่าน่าจะสร้างและเปิดร้านสัก 4 สาขาหรือประมาณนั้นในรูปของบริษัท ซึ่งมันจะเป็นรายได้หลักที่มั่นคง  เผื่อในกรณีที่สองพี่น้อง
แมคโดนัลด์ผิดสัญญา  เพราะเรย์ยังไม่เคยได้รับเอกสารยินยอมให้สร้างอาคารที่มีห้องใต้ดินและเครื่องทำความร้อนเลย  ถ้าเกิดสถานการณ์เลวร้ายขึ้นจริงๆ จะได้ลดกิจการเหลือแค่บริษัทประกอบร้านที่ว่า  โดยใช้ชื่ออื่น

· จึงเกิดเป็นร้านแมคออปโคขึ้น  (McOpCo  แมคโดนัลด์’ส  ออปเปอร์เรติ้ง คอมปานี) ขึ้นใน
ปี 1960

· ต่อมาความคิดของแฮร์รี่ และเรย์ไม่ตรงกัน  โดยแฮร์รี่คิดว่าเมื่อหมดสัญญาเช่าที่ดินแล้วก็ให้บริษัทถอนตัวจากร้านแมคโดนัลด์ร้านนั้น  บริษัทจะได้ไม่ต้องรับภาระ  แต่เรย์ไม่คิดเช่นนั้นเพราะคำขวัญของบริษัทคือ “ทำธุรกิจเพื่อตัวคุณเอง  แต่ไม่ใช่ด้วยตัวเอง”

· เรย์ ให้ความสำคัญกับการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์  เพราะคิดว่ามันจะย้อนกลับมาเป็นประโยชน์กับเขาเอง  ในรูปแบบต่างๆ ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเงินสดเสมอไป  รายได้อาจปรากฎในรูปแบบต่างๆ ที่ดีที่สุดคือ ได้เห็นรอยยิ้มอันพึงพอใจบนใบหน้าของลูกค้า  นั่นเป็นสิ่งที่มีค่ามาก  เพราะมันหมายความว่า  เขาต้องกลับมาอุดหนุนอีก  และอาจพาเพื่อนมาด้วยก็ได้

· เรย์ จะไม่มีทรรศนะต่อคู่แข่งในแง่ร้าย และจะไม่ทำลายชื่อเสียงของคู่แข่งด้วย  แต่เขายึดหลักคือ  ทำตัวเองให้แข็งแกร่ง  เน้นคุณภาพ  บริการ  ความสะอาด และคุณค่า (QSCV)

· มีกรณีน่าศึกษา  คือร้านแมคโดนัลด์ของลิตเติล  โค้ชแรน ถูกร้านคู่แข่งใกล้ตัดราคา  แต่เขาคิดจะตอบโต้โดยการฟ้องร้องต่อรัฐบาล  แต่เรย์ได้บอกกับเขาว่า “ลิตตันคุณกำลังปล่อยให้ตัวเองยอมแพ้นะ  และวิธีนี้มันก็ไม่ถูกต้อง  เราสามารถทำตามนั้นได้  แต่ผมอยากจะบอกอะไรบางอย่างที่ผมรู้สึกอย่างรุนแรง  สิ่งที่ทำให้ประเทศนี้ยิ่งใหญ่ขึ้นมาได้  คือระบบเสรีทุนนิยม  ถ้าเราต้องพึ่งรัฐบาลเพื่อตอบโต้คู่ต่อสู้ก็สมควรแล้วที่เราจะเจ๊ง  ถ้าเราไม่สามารถดำเนินกิจการด้วยการเสนอขายแฮมเบอร์เกอร์อันละสิบห้าเซนต์ที่อร่อยกว่า  การตลาดที่ดีกว่า  บริการรวดเร็วกว่า  และสถานที่สะอาดแล้วละก็  ผมก็คงเตรียมตัวล้มได้พรุ่งนี้  แล้วเลิกกิจการไปเริ่มอย่างอื่นใหม่หมดดีกว่า” จากคำพูดของเรย์  ลิตเติลกลับไปต่อสู้กับคู่แข่งจนเขาสามารถเป็นเจ้าของร้านแมคโดนัลด์ถึง 10 ร้าน

· ต่อมาเรย์ได้หย่ากับเอทเธิล  และต้องขายบริษัทปริ้น คาส

oosora:
มารออ่านต่อจนจบค่า  :)

kitdee:



·       ต่อมาเรย์ได้หย่ากับเอทเธิล  และต้องขายบริษัทปริ้น คาสเซิลเซลส์ เพื่อนำเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายในการหย่าร้าง

·       สองพี่น้องได้เข้ามาเล่นเกมส์ทางธุรกิจกับเรย์  โดยการสั่งซื้อภาชนะกระดาษจาก supplier รายเดียวกัน และหาข้ออ้างเข้ามาดูกิจการภายในร้านแมคโดนัลด์หลายแห่ง  และเนื่องจากสองพี่น้องไม่ยอมทำสัญญาตกลงให้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ซึ่งจะทำให้เราพัฒนายิ่งขึ้น  ดังนั้นเรย์จึงคิดที่จะตัดความสัมพันธ์กับเขาทั้งสอง  และต้องการเป็นอิสระ  โดยเรย์โทรไปเจรจากกับดิ๊ก  แมคโดนัลด์ เพื่อให้เขาเสนอราคา

·       ดิ๊ก  แมคโดนัลด์เรียกมากถึง 2.7 ล้านดอลลาร์  ทำให้เรย์ต้องวิ่งหมุนเงินกันหัวปั่นอีกครั้ง  โดยเรย์ให้แฮร์รี่ติดต่อกลับไปยังบริษัททั้ง 3  แห่งเดิมที่เคยให้เงินกู้ 1.5 ล้านเหรียญ  แต่ทั้ง 3 แห่งปฏิเสธ ซึ่งทำให้เรย์รู้สึกแย่มาก  และในที่สุดแฮร์รี่ก็ได้พบกับจอห์น  บริสทอล  ซึ่งเป็นที่ปรึกษาทางด้านการเงินให้กับหลายๆ มหาวิทยาลัย   และกลุ่มบริสทอลในนิวยอร์คนี้เองที่ตกลงให้เงินกู้กับแฮร์รี่  ซึ่งมีข้อตกลงดังนี้เรย์จะต้องจ่ายคืนด้วยเงิน 0.5% ของยอดขายทั้งหมดที่ได้เป็น
3 ระยะ
-  ระยะแรก  จ่าย .4% ทันทีและคิดดอกเบี้ยจากเงิน 6%ของเงินต้น 2.7 ล้านดอลลาร์  อีก 0.1% จะจ่ายแยกจนถึงระยะที่สาม  ส่วนที่เหลือดอกเบี้ยจะคิดจากเงินต้นที่เหลือ  ระยะแรกจะจบสิ้นเมื่อจ่ายเงินต้นหมดแล้ว
-  ระยะที่สอง  จะนานเท่าระยะแรก และจะจ่ายด้วยเงิน 0.5% ของกำไรรวมยอดที่เราได้
-  ระยะที่สาม  จะเป็นการผ่อนใช้ในส่วนของ 0.1% ที่เหลือจากระยะแรก

·       ซึ่งคาดว่าในปี 1991 บริษัทจ่ายหมด  แต่จริงๆ แล้วบริษัทสามารถจ่ายหมดภายในปี 1972  รวมทั้งสิ้นบริษัทใช้เงินในการซื้อลิขสิทธิ์ไปถึง 14 ล้านดอลลาร์ 

·       ถึงอย่างไรสองพี่น้องก็ยังคงขอเก็บร้านที่แซน  บอร์นาร์ดิโนไว้แต่ให้คนอื่นดำเนินกิจการแทน  และใช้ชื่อใหม่ว่า บิ๊กเอ็ม ดังนั้นเรย์จึงเปิดร้านแมคโดนัลด์ในฝั่งตรงข้าม  ในที่สุดบิ๊กเอ็มก็ต้องปิดกิจการไปในที่สุด

·       ริเริ่มให้มีการรวบรวมตำราฝึกอบรมผู้ประกอบการร้าน  และจัดให้มีการฝึกอบรมแบบชั้นเรียนในห้องใต้ดิน (ต่อมาพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยแฮมเบอร์เกอร์) หลังจากเรียนในห้องเรียนแล้ว  จะให้ผู้ประกอบการร้านได้ปฏิบัติจริงบนชั้นบน ซึ่งเป็นร้านแมคโดนัลด์  และเรื่องนี้ก็ทำให้แมคโนนัลด์มีชื่อเสียงลงหนังสือพิมพ์ไปทั่วประเทศ

·       ร้านใหม่ของแมคโดนัลด์ที่แคลิฟอร์เนีย  มีปัญหาเรื่องของการจัดซื้อคือ supplier โก่งราคาสินค้าเป็นอย่างมาก  และมีระบบเงินใต้โต๊ะ แต่เรย์ก็สามารถผ่านปัญหานี้ไปได้  โดยการทำให้ suppplier เชื่อว่าหากพวกเขาส่งของให้แมคโดนัลด์อย่างที่ต้องการในราคาที่ทำให้แมคโดนัลด์สามารถขายแฮมเบอร์เกอร์อันละ 15 เซนต์ต่อไปได้  แล้วความเติบโตของแมคฯ ก็จะพาให้พวกเขาสบายไปด้วย  แล้วก็เป็นเช่นนั้นจริงมีsupplier หลายรายที่เติบโตมาพร้อมๆ กับแมคโดนัลด์

 

ปี 1962
·       มหาวิทยาลัยแฮมเบอร์เกอร์  เริ่มเข้ามามีบทบาทเต็มที่ในระบบของแมคโดนัลด์  โดยยึดคัมภีร์แห่งคุณภาพ  บริการ  ความสะอาด และคุณค่า  นอกจากฝึกอบรมผู้ประกอบร้านแล้วยังมีแผนกค้นคว้าวิจัยและปรับปรุง  ซึ่งพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ให้เป็นระบบไฟฟ้าอันทันสมัยมากยิ่งขึ้น เช่นการควบคุมเวลาการฟอกมันฝรั่งด้วยระบบคอมพิวเตอร์   การทำเครื่องฉีดซอสมะเขือเทศ และมัสตาร์ดบนก้อนเนื้อในจำนวนที่กำหนดไว้ และการทำสอบชิ้นเนื้อว่าได้มาตรฐานที่กำหนดหรือไม่

 

ปี 1963
·       รายงานในปี 1963  บริษัทสร้างร้าน 110 แห่งทั่วประเทศในปีต่อมา  โดยมีกำไรสุทธิ 2.1 ล้านเหรียญจากยอดขาย 129.6 ล้านเหรียญ

·       รวมแล้วตอนนี้บริษัทจึงมีร้านทั้งหมด 637 ร้าน

·       เรย์มองว่าเป็นการไม่สะดวกที่สั่งการจากสำนักงานใหญ่ในชิคาโกเพียงแห่งเดียว  เรย์เชื่อว่าอำนาจควรจะวางไว้ในระดับต่ำสุดเท่าที่จะเป็นไปได้  เขาต้องการให้คนที่ใกล้ชิดกับร้านมากที่สุด  เพื่อที่จะได้ทำการตัดสินใจโดยไม่ต้องรอคำสั่งจากสำนักงานใหญ่

·       เรย์ยืนยันว่า “อำนาจควรจะไปควบคู่กับงาน  การตัดสินใจผิดอาจส่งผลกระทบได้ แต่นั่นเป็นหนทางเดียวที่คุณจะสามารถกระตุ้นให้คนที่ทำงานแข็งได้เติบโตต่อไป  หากเรานั่งทับเขาอยู่  เขาจะอึดอัดทำอะไรไม่ได้ และจะเสียคนดีๆ ไป”

·       ดังนั้นเรย์จึงเริ่มจาก  แบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตรับผิดชอบ 5 เขต  เริ่มจากแถบฝั่งตะวันตกก่อน
มี 14 รัฐ เพราะเป็นพื้นที่ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว และยากแก่การบริหารจากชิคาโกมากที่สุด

·       ในช่วงนี้มีอาหารที่กำลังบูมคือ แซนวิช ฟิเลต์-โอ-ฟิช  และในเขตซินซินนาติ เป็นเมืองที่คนส่วนใหญ่เป็นคาธอลิก และจะห้ามกินเนื้อในวันศุกร์  ดังนั้นแมคฯ จึงไม่ใช่ทางเลือกของพวกเขา

·       ต่อมามีคนมาเสนอให้เรย์นำเนื้อปลาเข้ามาขายในร้าน  แต่เรย์ไม่ยอม ถึงอย่างไรก็ไม่ยอม  แต่เขาก็หันไปเกลี้ยกล่อมเฟร็ด แทน  และเมื่อเขานำมาทดลองใส่ชีส 1 แผ่นปรากฎว่าอร่อย และเรย์ก็เห็นด้วย ดังนั้นจึงเริ่มด้วยการขายเฉพาะวันศุกร์  ในบางท้องถิ่นเท่านั้น  แต่ต่อมาได้รับ
การเรียกร้องมามากในปี 1965 แมคฯจึงมีรายการนี้ขายที่ร้านทุกวัน

 

ปี 1964
·       แมคโดนัลด์ เป็นบริษัทมหาชน  ด้วยการขายหุ้นครั้งแรกราคาหุ้นละ 22.5 เหรียญ และยังไม่ทันข้ามวันก็ขึ้นเป็น 30 เหรียญ  ก่อนจะสิ้นเดือนแรกก็ขึ้นไปอีกเป็น 50 เหรียญ

 

ปี 1966
·       บริษัทสามารถขายทะลุเป้าอีก 200 ล้านเหรียญ 

·       ถ้านำมาเรียงต่อกัน แฮมเบอร์เกอร์ 2 พันล้านอัน จะยาวรอบโลกถึง 5.4 รอบ

·       ร้านแมคโดนัลด์เริ่มมีที่นั่งทางภายในร้าน

 

ปี 1967
·       เศรษฐกิจตกต่ำ 

·       แฮร์รี่ประกาศระงับการเปิดร้านใหม่  แต่เรย์คิดว่าบริษัทน่าจะขยายร้านออกไปอีก จึงทำให้ทั้งสองขัดแย้งกันถึงขั้นรุนแรง ในที่สุดแฮร์รี่ลาออกจากแมคโดนัลด์

·       เรย์ รั้งตำแหน่งผู้อำนวยการ และประธานกรรมการไปพร้อมกัน  เขาเร่งผลักดันงานลงทุนเปิดร้านใหม่ที่ถูกระงับไป  ถึงแม้จะมีคนบอกว่าควรจะรอให้เศรษฐกิจดีขึ้นก่อน  แต่เรย์กลับคิดว่า “เวลาที่เศรษฐกิจแย่นั่นแหละ  คือเวลาที่คุณควรจะสร้าง  จะรอให้ของมันขึ้นราคาไปด้วยหรือไง  ถ้าทำเลมันดีพอก็สมควรจะซื้อ  ก็ลงมือสร้างไปเลย  เราต้องไปถึงก่อนคู่แข่ง  แล้วอะไรๆ ในเมืองนั้นมันจะคึกคักขึ้นมาเอง   คนที่นั่นก็จะนึกถึงเรา”

·       เรย์  แนะนำให้ผู้ประกอบร้านขึ้นราคาอาหารในเดือนมกราคม เป็น 18 เซนต์  ซึ่งคาดว่ายอดขายจะลดลง แต่ปรากฎว่ายอดขายกลับเพิ่มขึ้น

·       แมคโดนัลด์  มีการโฆษณาระดับประเทศ  ที่เงินเพียง 1% ของยอดขาย  ซึ่งผู้ประกอบร้านยินดีที่จะสะสมเงินนั้นเพื่อใช้ในการโฆษณา  เพราะมันให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า

·       ตัวโรนัลด์  ถือกำเนิดในปีนี้

 

ปี 1968
·       เรย์ มอบอำนาจให้เฟร็ด  เทอร์เนอร์ เป็นผู้อำนวยการ  และปล่อยให้เขาบริหารงานอย่างเต็มที่

 

ปี 1969
·       เรย์แต่งงานกับโจนี่  ซึ่งเป็นคนเดียวที่เขารัก และโหยหาตลอดเวลา  วันนี้เองที่ทำให้เขารู้สึกเป็นคนที่สมบูรณ์พรั่งพร้อม  และเขาจะไม่กระโดดเข้าไปฟาดฟันอย่างเดิม  แต่เขาจะเป็นผู้ที่นั่งอยู่ฉากหลัง คอยฟัง และเล่นบทบาทของพ่อใหญ่คอยให้คำปรึกษา  แต่เขาก็ยังคงเป็นผู้นำเวลาออกสินค้าใหม่ และในเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน  ที่เรย์ชำนาญเป็นอย่างมาก

 

ปี 1977
·       เฟร็ด  เทอร์เนอร์ เป็นประธานกรรมการบริษัท  ส่วนเรย์เป็นประธานอาวุโส

·       แมคโดนัลด์ ได้ขยายตัวแบบทุกซอกทุกมุมทั่วทั้งประเทศ 

·       ค่าแฟรนไชนส์จากเดิม 980 ดอลลาร์ในปี 1955  แต่ปัจจุบันประมาณ 200,000 ดอลลาร์

 

“การบรรลุถึงความสำเร็จ  จะต้องต่อสู้มาด้วยความล้มเหลง  การเสี่ยงต่อความพ่ายแพ้  หนทางแห่งความสำเร็จไม่ได้ง่ายเหมือนเดินบนเส้นลวดที่วางทาบกับพื้น  ที่ใดที่ไม่มีการเสี่ยง  ที่นั่นย่อมไม่อาจมีความภาคภูมิในความสำเร็จ  และผลที่ตามมาคือไม่มีความสุข  หนทางเดียวที่จะทำให้เราก้าวหน้ายิ่งขึ้นคือ  เดินต่อไปข้างหน้าไม่ว่าจะตัวคนเดียว หรือเป็นหมู่คณะ  ด้วยวิญญาณของนักบุกเบิก  ในระบบการค้าเสรีของเรานี้  เราจำเป็นต้องเสี่ยง  นี่เป็นวิถีทางเดียวในโลก  ที่คุณจะมีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ  ไม่มีหนทางอื่นใดอีกแล้ว”

RaulGonzales:
ขอบคุณครับ แจ่มจิงๆ ติดตามอ่านตลอด ชอบๆๆ  :-*

anyway:
และควรจะเสี่ยงอย่างมีเหตุผลนะครับ

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป