ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

ThaiSEOBoard.comพัฒนาเว็บไซต์Link-Like Exchangeขั้นตอนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่ทำให้การประนอมสำเร็จในประเทศไทย
หน้า: [1]   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ขั้นตอนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่ทำให้การประนอมสำเร็จในประเทศไทย  (อ่าน 1010 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
diedhardman
Newbie
*

พลังน้ำใจ: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 27



ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 24 พฤศจิกายน 2022, 10:44:45 »



ในการระงับข้อพิพาทนอกศาล ผู้ไกล่เกลี่ย สามารถเป็นได้ทั้งบุคคลหรือคณะ ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นทนายความหรือผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายโดยเฉพาะ แต่จำเป็นที่จะต้องมีความรู้หรือเชี่ยวชาญเกี่ยวกับข้อพิพาทนั้นๆ รวมถึงจะต้องมีความเป็นกลาง ไม่มีผลประโยชน์ขัดแย้ง การรักษาความลับ จริยธรรมที่เกี่ยวกับการดำรงตนและครอบครัว และประพฤติตนให้ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ในกรณีที่ระงับข้อพิพาทในชั้นศาลจะมีการแต่งตั้งบุคคลกลางขึ้นมาโดยจะเรียกว่าผู้ประนีประนอมแทน


1. การกล่าวเปิดของผู้ประนอมข้อพิพาท (Opening Statement by Mediator)
ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างมากเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการประนอมให้คู่พิพาทต่อกระบวนการ ต่อตัวผู้ประนอม และสร้างความเข้าใจทั้งด้านความรู้และขั้นตอนในการประนอมร่วมกันระหว่างคู่พิพาท


2. การกล่าวเปิดของคู่พิพาทและการสรุปคำกล่าว (Opening Statement by Disputed Parties)
เป็นขั้นตอนที่จะให้คู่พิพาทแต่ละฝ่ายสรุปข้อเท็จจริงหรือความคาดหวังที่ต้องการต่อภาพรวมเหตุการณ์หรือความต้องการต่างๆ โดยจะเป็นการเปิดโอกาสให้คู่พิพาทลดความเข้าใจผิดหรือการคาดเดาความต้องการเบื้องหลังของแต่ละฝ่ายไปในทิศทางตรงกันข้าม


3. การกำหนดประเด็นการเจรจา (Agenda Setting)
ขั้นตอนนี้เป็นการกำหนดประเด็นการเจรจาและการลำดับความสำคัญ โดยจะมีการตรวจสอบประเด็นต่างๆ ว่าครอบคลุมด้านใดบ้าง เพื่อช่วยให้คู่พิพาทเข้าใจและยอมรับเนื้อหาร่วมกัน และพร้อมจะค้นหาวิธีในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทจริงๆ


4. การสำรวจประเด็นปัญหา (Analysis Problems)
ขั้นตอนที่จะให้คู่พิพาททราบถึงปัญหาและข้อกังวลใจของแต่ละฝ่ายต่อประเด็นเจรจา (Agenda) โดยมุ่งเน้นไปที่การสำรวจความต้องการที่แท้จริงหรือผลประโยชน์ร่วมกันเมื่อการไกล่เกลี่ย สำเร็จ


5. การสร้างและสำรวจข้อเสนอร่วมกัน (Build Rapport)
หลังจากแต่ละฝ่ายได้สื่อสารความคิด ความคาดหวัง และสถานการณ์ของฝ่ายตน รวมถึงรับฟังข้อมูลของอีกฝ่ายต่อประเด็นปัญหาไปแล้ว ในขั้นนี้ผู้ประนอมฯ ต้องโน้มน้าวและสร้างบรรยากาศอันเป็นมิตรเพื่อให้คู่เจรจามีความมุ่งมั่นในการค้นหาข้อตกลงร่วมกัน จุดประสงค์ของขั้นตอนนี้ เพื่อสร้างทางเลือกหรือข้อเสนอที่หลากหลายซึ่งสอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของแต่ละฝ่าย รวมถึงการสร้างความมุ่งมั่นในการบรรลุทางเลือกที่พึงพอใจร่วมกัน


6. การประเมินข้อเสนอและต่อรอง (Assessment of Offers and Concessions)
ขั้นตอนที่เปิดให้คู่พิพาทพิจารณาว่าข้อเสนอและข้อต่อรองต่างๆ จากขั้นตอนก่อนหน้านั้นสามารถดำเนินการได้จริงหรือไม่ รวมถึงการร่วมกันพิจารณาอุปสรรคและหาทางแก้ไขเพื่อปรับปรุงข้อเสนอและข้อต่อรองนั้นๆ


7. การสรุปข้อตกลงและปิดการประนอมฯ (Closing Statement by Mediator)
ขั้นตอนสุดท้ายในกระบวนการประนอมข้อพิพาท คือ การสรุปข้อตกลงและปิดการประนอมซึ่งการสรุปข้อตกลงและปิดการประนอม แต่ไม่ได้หมายความว่าคู่กรณีจะตกลงกันได้ทุกกรณี ขั้นตอนนี้มีเพื่อยืนยันผลลัพธ์จากการประนอมฯ ให้ทุกฝ่ายมีความเข้าใจตรงกัน และการนำข้อสรุปที่ได้จากการไกล่เกลี่ย มาจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษรและให้คู่พิพาทลงนามรับรองเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติตามข้อตกลงต่อไป


ขอบคุณข้อมูลจาก : https://thac.or.th/
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
พิมพ์