ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

ThaiSEOBoard.comอื่นๆCafeบทความเกี่ยวกับสุขภาพ เรื่อง หัวใจวาย หัวใจล้มเหลว มาแนะำ ดูแลสุขภาพกันด้วยนะครั
หน้า: [1]   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: บทความเกี่ยวกับสุขภาพ เรื่อง หัวใจวาย หัวใจล้มเหลว มาแนะำ ดูแลสุขภาพกันด้วยนะครั  (อ่าน 324 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
supachaisun
Newbie
*

พลังน้ำใจ: 1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 51



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 18 มกราคม 2021, 14:53:20 »

หัวใจวาย หัวใจล้มเหลว
ภาวะหัวใจวายหรือหัวใจล้มเหลว (Heart Failure) เป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกายได้ตามปกติ โดยมีทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง ภาวะนี้เกิดได้กับคนทุกวัย แต่พบบ่อยในเพศชายที่สูงอายุ เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงเยอะกว่าเพศหญิงและคนวัยวัยหนุ่มสาว โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาด โดยถือเป็นภาวะรุนแรง หากรักษาไม่ทัน อาจทำให้เสียชีวิตได้ หรือในรายที่เป็นนาน ๆ อาจทำให้อวัยวะในระบบอื่น ๆ เสียหายได้

ภาวะหัวใจวายอาจเกิดอาการได้ทั้งแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรังโดยมีอาการค่อยเป็นค่อยไป ขึ้นกับสาเหตุที่พบ นอกจากนี้ยังมีแบบที่ภาวะหัวใจบีบตัวผิดปกติ (Systolic Heart Failure) เป็นอาการหัวใจวายที่ทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายได้ดีเท่าที่ควร และแบบที่ภาวะหัวใจคลายตัวผิดปกติ (Diastolic Heart Failure) เป็นอาการหัวใจวายที่ทำให้หัวใจไม่คลายตัว เป็นเหตุให้เลือดไหลเวียนเข้าสู่หัวใจได้น้อย

อาการ
ปัญหาการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ ส่งผลให้ระบบไหลเวียนโลหิตผิดปกติ เลือดไม่สามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอ

ในระยะแรก จะมีอาการหอบเหนื่อยเวลาออกแรงหรือทำงานหนัก และอาจมีอาการหายใจลำบาก หายใจสั้น ไอ บางรายมีจุกแน่นลิ้นปี่ ปวดชายโครง ขาและข้อเท้าบวม ต่อมาเมื่ออาการหนักขึ้น นอกเหนือจากอาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก จะมีอาการอ่อนเพลีย แม้ว่าอยู่ในขณะพัก นอนราบไม่ได้ ปัสสาวะออกน้อย เท้าบวม ท้องบวม กรณีเป็นรุนแรง อาจมีเสมหะสีชมพู ตัวเขียว ริมฝีปากเขียว กระสับกระส่าย ใจสั่น หากไม่ได้รับการรักษาอาจเสียชีวิต

 
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะหัวใจวาย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม จะส่งผลเสียต่ออวัยวะต่าง ๆ จากการที่เลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงไม่พอ ตัวอย่างเช่น ไตเสื่อม, โรคลิ้นหัวใจ, หัวใจเต้นผิดจังหวะ, ตับทำงานผิดปกติ เป็นต้น

 
เมื่อไหร่จึงควรไปพบแพทย์
เมื่อรู้สึกหอบเหนื่อยผิดปกติ เวลาออกแรง หายใจลำบาก หายใจสั้น เหมือนหายใจไม่สุด หรือมีอาการบวมที่ขาและข้อเท้า หรือจุกแน่นลิ้นปี่ ปวดชายโครง ควรมาพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุแต่เนิ่น

 
สาเหตุ
ภาวะหัวใจวายสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด การทานยาบางชนิด การติดเชื้อบางสายพันธ์ พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ ทั้งนี้อาจเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุร่วมกันได้ ดังนี้

โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ ความผิดปกติ เช่น ภาวะไขมันในเลือดสูงทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ นำไปสู่ภาวะหัวใจขาดเลือด, โรคความดันโลหิตสูง ทำให้หัวใจโดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจต้องทำงานหนัก ภายใต้แรงดันเลือดที่สูง หากปล่อยทิ้งไว้กล้ามเนื้อหัวใจจะไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ, โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ การเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ เร็วไป ช้าไปหรือไม่สม่ำเสมอ สามารถทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย เป็นลมหรือชักได้, โรคเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ เช่น ลิ้นหัวใจรั่วทำให้เลือดมีการไหลย้อนกลับ กล้ามเนื้อหัวใจต้องทำงานอย่างหนักเพื่อสูบฉีดเลือดให้เพียงพอ, โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ, โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ทั้งนี้โรคทั้งหมดที่กล่าวมา สามารถนำไปสู่ภาวะหัวใจวายได้
โรคและภาวะอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคปอดเรื้อรัง ไตวายเรื้อรัง คอพอกเป็นพิษ ภาวะโลหิตจางรุนแรง โรคเหน็บชาบางชนิด ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคเหล่านี้กรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุม สามารถนำไปสู่ภาวะหัวใจวายได้
การใช้ยาบางชนิด อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจวายได้ ดังนั้นในการใช้ยาควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ในสาขาที่เกี่ยวข้อง
การดื่มแอลกอฮอล์จัด สูบบุหรี่จัด อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจวายได้
 
การวินิจฉัย
แพทย์จะทำการซักประวัติสุขภาพ อาการที่เกิดขึ้น ตรวจร่างกายเบื้องต้น โดยหากสงสัยว่ามีภาวะหัวใจวาย แพทย์จะพิจารณาตรวจพิเศษบางอย่าง เพื่อความแม่นยำในการวินิจฉัย ตัวอย่างการตรวจพิเศษที่สำคัญ ๆ การตรวจเลือด ดูการทำงานของอวัยวะในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย และอาจมีการตรวจระดับสาร NT-proBNP ในเลือด  ซึ่งจะช่วยในการวินิจฉัยภาวะหัวใจวายได้รวดเร็วและแม่นยำ, การตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) เป็นการใช้อุปกรณ์ปล่อยคลื่นเสียงความถี่สูง ดูประสิทธิภาพในการสูบฉีดเลือด และความผิดปกติอื่น, การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram, ECG) ดูการทำงานของกระแสไฟฟ้าภายในหัวใจ, การเอกซเรย์ทรวงอก และอาจมีการสวนหลอดเลือดหัวใจ (Cardiac Catheterization) ดูหลอดเลือดที่ตีบ เป็นต้น

 
การรักษา
หัวใจวายเป็นภาวะที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาด แต่สามารถควบคุมอาการให้ส่งผลกระทบน้อยที่สุดได้ ทั้งนี้ในการรักษาภาวะหัวใจวาย จำเป็นต้องพิจารณาจากหลาย ๆ ปัจจัย เช่น สาเหตุหลัก ชนิดและความรุนแรงของภาวะหัวใจวาย เพศและอายุของผู้ป่วย โรคที่พบร่วม  เป็นต้น หลังจากนั้นแพทย์จะเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อควบคุมอาการให้ส่งผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงการทำงานของหัวใจเองน้อยที่สุด ควบคู่ไปกับการรักษาโรคที่เป็นสาเหตุหลัก ทั้งการใช้ยา การติดอุปกรณ์ช่วยการทำงานหัวใจ การผ่าตัดและการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต ตัวอย่างเช่น

การรักษาด้วยยา ซึ่งในบางครั้งอาจต้องใช้หลาย ๆ ตัวร่วมกัน เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาขับปัสสาวะ ยาเพิ่มการบีบตัวของหัวใจ ยาขยายหลอดเลือด ยาต้านเกล็ดเลือด ยาต้านภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น ทั้งนี้ยาทุกชนิดมีผลข้างเคียง การใช้ยาต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์
การรักษาโดยการติดอุปกรณ์ช่วยการทำงานหัวใจ บางกรณีแพทย์อาจพิจารณาติดอุปกรณ์ช่วยการทำงานของหัวใจ เช่น เครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemakers) ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอัตราการเต้นของหัวใจที่ช้ากว่าปกติ, เครื่องกระตุ้นหัวใจถาวร (Cardiac Resynchronization Therapy) ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะหัวใจวายจากการที่หัวใจห้องล่างซ้ายไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้แล้ว, เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ (Implantable Cardioverter Defibrillators) ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหรือมีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ อุปกรณ์นี้จะช่วยให้หัวใจเต้นได้ตามจังหวะปกติ เป็นต้น
การรักษาโดยการผ่าตัด ในบางกรณีแพทย์อาจพิจารณาเลือกการผ่าตัด ตัวอย่างเช่น การผ่าตัดซ่อมแซมหรือผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ กรณีที่ภาวะหัวใจวายเกิดจากความผิดปกติที่ลิ้นหัวใจ, การผ่าตัดทำบอลลูน (Coronary Angioplasty) ขยายหลอดเลือดหัวใจ เพื่อเพิ่มการหมุนเวียนของเลือดที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ, การผ่าตัดบายพาสหัวใจ (Coronary Artery Bypass Graft: CABG) เป็นการนำหลอดเลือดจากส่วนอื่นของร่างกายมาทำทางเบี่ยงให้เลือดสามารถหมุนเวียนเลี้ยงหัวใจได้ปกติ, การผ่าตัดติดตั้งเครื่องช่วยสูบฉีดเลือด (Left Ventricular Assist Devices) ในกรณีหัวใจห้องล่างซ้ายไม่สามารถทำงานได้ และการผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจ (Heart Transplant) ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหัวใจวายรุนแรง และการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ไม่ได้ผล แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจ
การปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต ที่สำคัญ ได้แก่ การงดเหล้า บุหรี่ ออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ โดยควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ ห้ามทำงานที่ต้องออกแรงสูง เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสชาติเค็มจัด
 

ข้อแนะนำและการป้องกัน

ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ทั้งผู้ที่มีภาวะหัวใจวาย และผู้ที่ยังไม่มีภาวะหัวใจวาย แต่มีโรคประจำตัว หรือโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดภาวะหัวใจวาย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน ภาวะหัวใจหยุดเต้นขณะหลับ ทั้งนี้เพื่อควบคุมอาการในผู้ที่มีภาวะหัวใจวาย และลดความเสี่ยงในการนำไปสู่ภาวะหัวใจวาย ในผู้ที่มีโรคปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ
ปรับพฤติกรรมในด้านการกินอาหาร โดยเลือกกินอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ หลีกเลี่ยงอาหารที่เสี่ยงทำให้เกิดโรค เช่น อาหารเค็ม, อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน ไข่แดง เครื่องในสัตว์ กุ้ง หอย ปลาหมึก, อาหารที่มีไขมันชนิดอิ่มตัวสูง เช่น ไอศกรีม ขนมที่ทำจากแป้ง ขาหมู ไส้กรอก เนยแข็ง, อาหารที่ทำโดยการผัดหรือทอด เป็นต้น โดยหันมาเน้นการกิน เนื้อปลา เนื้อไก่ โดยทำแบบแกง ต้ม ยำ นึ่ง อบหรือย่าง ผักสด ธัญพืชที่ไม่ขัดสี ถั่วเหลือง ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ อาหารที่มีไฟเบอร์สูง เช่น เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง ข้าวโพดต้ม แก้วมังกร กล้วย มันเทศ กะหล่ำปลี
การออกกำลังกายและควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม การออกกำลังกาย  รวมถึงการควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งนี้ผู้ป่วยควรเข้ารับคำแนะนำในการวางแผนการออกกำลังกาย และการกินอาหารอย่างเหมาะสมจากแพทย์ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ดูบทความเกี่ยวกับสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่
https://www.health4senior.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 มกราคม 2021, 14:55:31 โดย supachaisun » บันทึกการเข้า

รับทำเว็บไซต์ : https://bizgrowtech.com/
Gadgets : https://9techguide.com/
ขายปลีกขายส่งสินค้าออนไลน์ : https://www.20plusmall.com/
tamuraki
หัวหน้าแก๊งเสียว
*

พลังน้ำใจ: 28
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,247



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 18 มกราคม 2021, 23:29:43 »

 wanwan017 ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
พิมพ์