ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

หน้า: [1]   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: โรคเสพติดอินเทอร์เน็ต (Webaholic)  (อ่าน 4658 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
kitdee
หัวหน้าแก๊งเสียว
*

พลังน้ำใจ: 305
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,162



ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 16 พฤศจิกายน 2008, 13:44:33 »

 
               ปัจจุบันหลายท่านคงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าระบบอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทกับชีวิตของเราท่านมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสืบค้นข้อมูล การส่งและรับข้อมูลต่าง ๆ การค้นหาและอ่านข่าวสารต่างๆ การดาวน์โหลดข้อมูลและโปรแกรม การฝากข้อความ ไปจนถึงการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

            ประเทศจีนเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีอัตราการเติบโตหลายร้อย % ทีเดียวจนการปรับและตั้งรับของกฎหมายตลอดจนระเบียบทางสังคมตามไม่ทัน ในประเทศไทยเองก็เช่นกันมีการส่งเสริมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตกันมาก โดยมีหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่โดยเฉพาะคือกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นอกจากก็นี้ยังมีหน่วยงาน NECTEC ที่เป็นฝ่ายปฏิบัติการระดับประเทศด้านนี้

            ผมได้มีโอกาสอ่านบทความวิชาการของอาจารย์ที่เคารพนับถือมาตลอดท่านหนึ่งและยังเคารพตลอดไป ผมได้มีโอกาสเรียนรู้อะไรๆ จากท่านมากมาย ท่านได้เขียนบทความไว้ในวารสารเทคโนโลยีการศึกษา เรื่อง หลุมดำในอินเทอร์เน็ต (Black Hole on Internet) ซึ่งได้เสนอถึงเรื่องคุณและโทษของอินเทอร์เน็ต ตลอดจนแนวทางป้องกันและแก้ไขไว้อย่างน่าสนใจยิ่งสามารถนำไปคิดและปฏิบัติได้อย่างดี อยากให้ท่านผู้อ่านบทความผมนี้ได้ลองหาอ่านเรื่องดังกล่าวกันครับ

             ในบทความที่แล้วผมได้นำเสนอถึงเรื่องวัคซีนใจ ( Heart Vaccine) เมื่อคนเราเจอโรคทางกายก็ทานยากันไปเพื่อรักษา เมื่อเจอโรคทางใจก็ต้องใช้วัคซีนใจช่วยแก้ แต่ในคราวนี้ผมขอนำเสนอเรื่องโรคทางอินเทอร์เน็ต ที่เด็กๆ เริ่มเป็นกันมากขึ้น ซึ่งก็มีคุณหมอออกมาเตือนกันพอสมควรในเรื่องราวที่เด็กๆ เล่นคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตกันมากว่าผู้ปกครองควรเข้าไปดูแลควบคุมต่างๆ เราอาจเรียกโรคติดอินเทอร์เน็ตว่า โรคความหายนะของการเสพติดอินเทอร์เนต IAD (Internet Addiction Disaster) หรือโรค Webaholic ทั้งสองคือโรคเสพติดอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้เสพติดมีความต้องการในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตสูง มีอาการอยากใช้อินเทอร์เน็ตคล้ายคนติดเหล้าที่อยากกินเหล้า ( โรคพิษสุราเรื้อรัง) หรือคนติดยาเสพติดที่มีอาการอยากเสพยา มีความโหยหา ต้องการบ่อยๆ เมื่อว่างจะต้องหาโอกาสเข้าใช้อินเทอร์เน็ต เช่นต้องการเข้าไปแชท ต้องการสืบค้น แต่บางครั้งไม่รู้จะสืบค้นอะไร แชทหรือสืบค้นแบบไม่มีเป้าหมายชัดเจนในการค้นหาข้อมูล ขอเพียงให้ได้เข้าไปเล่นก็ผ่อนคลายอาการติดไปได้ระยะหนึ่ง

             ในช่วงก่อนท่านอาจเคยได้ยินโรคติดห้างสรรพสินค้าหรือไม่ครับ นักจิตวิทยาออกมาบอกว่า เกิดจากคนเหล่านั้นกระทำจนเคยชิน ทำบ่อยๆซ้ำๆ เมื่อไม่รู้จะทำอะไรหรือไปไหน ก็คิดว่าไปเดินห้างดีกว่า เย็นสบายดีมีแอร์เย็นๆ ซึ่งก็มีคุณหมอและนักจิตวิทยาออกมาเตือนถึงการติดห้าง ว่าอาจเป็นการใช้เวลาว่างไม่ก่อประโยชน์ ไม่มีการผ่อนคลายแบบอื่นๆ เช่นจากธรรมชาติ หรือไม่การออกกำลังกาย ท่านที่ไปเดินจะได้รับการกระตุ้นการเสพสินค้ามากเกินควร และอาจได้รับและสะสมเชื้อโรคที่อยู่ในระบบอากาศภายในห้างสรรพสินค้านั้นๆ ติดกลับไปด้วย เช่น ภูมิแพ้ เพราะระบบปรับอากาศไม่สะอาดเพียงพอ เป็นต้น การทำอะไรขอให้เดินสายกลางไว้ ไม่หนักและเบาเกินไป แต่ไม่ใช่เหยี่ยบเรือสองแคมนะครับคนละเรื่องกัน ในเรื่องนี้ก็หมายถึงว่าเมื่อเราพบทั้งขอดีข้อเสียของอินเทอร์เน็ตแล้ว แต่เราจำเป็นจะต้องใช้มันไม่สามารถจะเลิกใช้ได้ก็ด้วยคุณประโยชน์นั่นเอง เราควรจะมีมาตรการในการป้องกันระวังต่าง ๆ ควบคู่ประกอบกันไปด้วย ส่วนการติดอินเทอร์เน็ตนั้นเมื่อรู้แล้ว ควรที่จะ "ลด-ละ-แต่ไม่เลิก" เพราะจำเป็นต้องใช้ประโยชน์ต่อไปแต่ควรใช้ประโยชน์อย่างรู้เท่าทัน ไม่ต้องถึงขนาดใช้วิธีหักดิบหรอกครับแบบเลิกเด็ดขาดไม่สนใจไม่ใช้เลย ก็จะทำให้ท่านเสียประโยชน์ที่จะได้รับไป ก็เหมือนกับเหล้าแหละครับ " ทานน้อยเป็นยา ทานมากเป็นพิษ"

              คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต เมื่อคนเราเข้าไปใช้งานมากๆ เข้าก็อาจก่อผลเสียได้เช่นกัน ที่เรียกว่าโรคIAD หรือ Webaholic เมื่อเป็นแล้วย่อมก่อให้เกิดผลเสียตามมาหลายประการ ได้แก่ ๑.เรื่องสุขภาพกายของผู้ติด เช่นเรื่องสายตาที่อ่อนล้า หรืออาจเกิดอาการสายตาสั้นชั่วคราว ถึงถาวรได้ เกิดจากการใช้สายตาในระยะใกล้ๆเป็นเวลานาน โดยไม่ได้พัก ๒.กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง เพราะนั่งในท่าเดิมเป็นระยะเวลานาน ( ขยับเพียงเล็กน้อย) ๓.กระดูกสันหลังเมื่อล้า ร่างกายเสียสมดุลย์ ๔.เสียความสมดุลทางอารมณ์ เช่น อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ๕.การปรับตัวเข้าสังคมคนจริงๆ เริ่มถดถอยและอาจหายไปสู่สังคมไซเบอร์ ซึ่งไม่มีตัวตนที่แท้จริง นำสู่การล่อลวงและการถูกล่อลวง ๖.ศักยภาพการสื่อสารทางสัมผัสทั้ง ๕ ลดลง คือทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ๗.ประสิทธิภาพการเรียนและการทำงานลดต่ำลง เพราะจิตใจจดจ่อแต่การสืบค้น การแชทการสนทนา ไม่มีจิตใจมุ่งการเรียนและการทำงาน ๘.ความเสี่ยงต่อการถูกล่อลวงและละเมิดทางเพศทั้งชายและหญิง ๙.ความเสี่ยงต่อการสูญเสียทรัพย์สิน และอื่น ๆ โรคเสพติดอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่จะเป็นกับเด็กวัยรุ่น นักเรียน นิสิต นักศึกษาทั่วโลก แต่ปัจจุบันกำลังแพร่กระจายเข้าสู่คนวัยทำงาน และคนสูงอายุ เนื่องจากมีเวลาว่างมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่นิยมชมชอบการท่องเว็บ ดาวน์โหลดข้อมูลและโปรแกรมรูปภาพ หรือพูดคุยสนทนากับผู้อื่น โดยคนที่เป็นโรคฯ จะกระทำทุกครั้งที่มีโอกาส และหาโอกาส ไม่ว่าจะค่ำคืนดึกดื่นเพียงใด บางคนนั่งข้ามวันข้ามคืนก็มี ซึ่งคนที่เป็น Webaholic แล้วหากไม่ได้เล่นจะทำให้เกิดอาการหงุดหงิด คล้ายกับคนที่ติดยาเสพติดแล้วไม่ได้เสพ ดังที่กล่าวไปแล้ว

             ดังนั้นอยากให้ทุกท่านที่ใช้งานอยู่เป็นประจำได้ลองตรวจสอบตนเองว่ามีอาการดังกล่าวหรือไม่ ตลอดจนสังเกตบุตรหลานของเราด้วยว่ามีอาการดังกล่าวหรือไม่ ถ้ามีก็สันนิษฐานว่าอาจเริ่มเป็นโรค IAD or Webaholic เข้าแล้ว ซึ่งการแก้ไขนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ปกครองควรใส่ใจ โดยหมั่นสอดส่อง ตรวจสอบ ควบคุมดูแล เช่นอนุญาตหลังจากทำการบ้านเสร็จ โดยใช้ได้ไม่เกิน ๑-๒ ชั่วโมง หรือตามความเหมาะสมกับช่วงอายุ เป็นต้น หรือ หากเล่นคอมพิวเตอร์ดึกๆ ก็ควรสังเกตการใช้งาน เพราะมีข่าวคราวการถูกล่อลวงหลายต่อหลายครั้งทางหน้าหนังสือพิมพ์ ซึ่งที่ร้ายแรงไปกว่านั้นก็คือเริ่มมีการขายบริการฯ บนอินเทอร์เน็ตแพร่หลายมากขึ้น ผู้ปกครองต้องรู้เท่าทันและสามารถเป็นที่ปรึกษาให้กับลูกๆบุตรหลานได้ สถาบันครอบครัวต้องหันมาใส่ใจกันให้มากยิ่งขึ้น หมั่นพูดคุยกับลูก หากิจกรรมอื่นๆ ให้ลูกทำ เช่นเล่นกีฬา ดนตรี งานอดิเรกต่างๆ อย่าเพียงคิดว่าอยู่บ้านเล่นคอมฯ ดีกว่าไปเที่ยวนอกบ้าน หรือเพราะเราไม่มีเวลาให้ลูก ลูกอยากได้อะไรก็ซื้อให้โดยไม่ขัด ไม่ดูแล อันนี้ก็ไม่ควร เช่นกันเพราะวัตถุเหล่านั้นไม่มีจิตใจ เป็นเพียงของภายนอกเท่านั้น ไม่สามารถจะทดแทนสิ่งที่ลูกต้องการอย่างแท้จริงได้ นั่นคือความอบอุ่นจากพ่อแม่ ลูกอาจจะตื่นเต้นกับสิ่งของที่ได้ อาจให้ความสนใจเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น สถานศึกษา ก็ต้องเข้ามามีส่วนสำคัญในการสอดส่องดูแล กำกับ แต่เปิดโอกาสในการใช้งานอย่างถูกต้องเหมาะสมด้วยเช่นกัน วางมาตรการในการใช้งานให้เกิดประโยชน์ สมเป็นสังคมฐานความรู้ที่อยากจะเป็นกันอย่างเหมาะสมต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมการเรียนแบบ Anytime Anywhere Anyone หรือจะเรียนจาก E-learning หรือสืบค้นข้อมูลแบบ E-library ก็ตามที หรือถึงขั้นเรียนแบบ Virtual classroom สิ่งเหล่านี้เป็นการพัฒนารูปแบบของกระบวนการหาข้อมูล องค์ความรู้ หรือกระบวนการเรียนการสอน

             ถึงแม้เทคโนโลยีสารสนเทศจะมีประโยชน์มากมาย แต่สิ่งที่ควรจะพัฒนาไปพร้อมๆกัน คือความสามารถในการคัดกรองสารสนเทศที่มากับระบบไอทีของเยาวชนไทย เพราะหากพัฒนาไม่ทันโอกาสที่จะถูกหลอกหรือหลงทางไปได้ ซึ่งก็จะทำให้การใช้ไอทีไม่เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง เพราะเป็นการใช้เครื่องมือไปในทางไม่เหมาะสม ตลอดจนถูกหลอกลวงด้วยคนที่ไม่ปรารถนาดีต่างๆ มากมาย ภารกิจนี้เป็นภารกิจที่ใหญ่คงไม่อาจยกให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการโทรคมนาคมแห่งชาติ ( กทช)หรือกระทรวง ICT หรือกระทรวงศึกษาธิการหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเท่านั้น ต้องควรเป็นความร่วมมือกันตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน บริษัทเอกชน จนถึงรัฐบาลเลยทีเดียว แต่ผมมักจะมุ่งเน้นเรื่องสถาบันครอบครัว เพราะเป็นจุดเริ่มและใกล้ชิดกับปัญหาที่สุด ที่ผู้ปกครองทุกคนสามารถพึงกระทำได้ด้วยตัวของเราเอง อย่างเข้าใจ และรู้ทัน...
 
 
ที่มา : http://www.edtechno.com/
บันทึกการเข้า

"ชีวิตนี้สั้นนัก, อย่ายึดติดกับกฎเกณฑ์, อภัยให้ไว, รักอย่างแท้จริง, หัวเราะให้เต็มที่ และยิ้มอยู่เสมอ "
หน้า: [1]   ขึ้นบน
พิมพ์