ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

ThaiSEOBoard.comอื่นๆCafeนายจ้างมีสิทธิขอลดเงินเดือนลูกจ้าง หรือไม่
หน้า: [1]   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: นายจ้างมีสิทธิขอลดเงินเดือนลูกจ้าง หรือไม่  (อ่าน 445 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
icolawfrim
Newbie
*

พลังน้ำใจ: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 11



ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 09 สิงหาคม 2020, 18:27:48 »

นายจ้างจะลดค่าจ้างของลูกจ้างไม่ได้ถ้าหากลูกจ้างไม่ยินยอม เพราะถือเป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่ลูกจ้าง แต่ถ้าลูกจ้างคนไหนยินยอมโดยสมัครใจก็สามารถที่จะทำได้ โดยจะต้องมีใบสัญญาระบุชัดเจนที่ว่าลูกจ้างยินดีลดค่าจ้างของตัวเองลงเท่าไหร่ กี่บาท กี่เปอร์เซ็นต์ แล้วจะต้องให้ลูกจ้างเซ็นชื่อยินยอมเท่านั้น ใครเซ็นสัญญานี้ก็จะมีผลใช้บังคับกับคนที่เซ็น แต่ถ้าใครไม่ยินยอมเซ็นก็ไม่มีผลกับคนนั้น
หากลูกจ้างคนไหนทำการเซ็นชื่อยินยอมลดเงินเดือนค่าจ้าง ลูกจ้างจะต้องได้รับค่าจ้างไม่ต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ
ส่วนลูกจ้างคนไหนไม่ยอมเซ็นลดเงินเดือน บริษัทจะต้องทำอย่างไร อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับทางบริษัทว่าจะมีมาตรการอย่างไร หนักสุดบริษัทก็อาจจะแจ้งเลิกจ้างลูกจ้างที่ไม่เซ็นชื่อยินยอมลดเงินเดือน และทางบริษัทก็จ่ายค่าชดเชย+ค่าบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมายที่กำหนด
ส่วนลูกจ้างที่เซ็นยินยอมลดเงินเดือน จะมีผลลดไปถึงเมื่อไหร่ มีกำหนดระยะเวลาหรือไม่ อันนี้อยู่ที่ทางบริษัท ว่าจะกำหนดให้การลดเงินเดือนเพื่อให้บริษัทอยู่รอดมีผลไปถึงเมื่อไร กี่เดือนหรือกี่ปี นับจากนี้เพราะที่ผ่านมาในช่วงวิกฤตเมื่อปี 2540-2542 เมื่อเศรษฐกิจเริ่มพลิกฟื้นกลับมา ก็มีบางบริษัทเหมือนกันที่ปรับเงินเดือนขึ้นเพื่อชดเชยให้กับพนักงานที่ร่วมมือร่วมใจฝ่าฟันปัญหากันมา แต่อันนี้ก็แล้วแต่นโยบายของฝ่ายบริหารแต่ละบริษัท
ถ้าเราเซ็นชื่อยินยอมลดเงินเดือนลงแล้ว ต่อมาอีก 3 เดือน 6 เดือนทางบริษัทแจ้งเลิกจ้างล่ะ เราจะได้รับค่าชดเชยหรือไม่และได้รับเงินเรทเท่าไร กรณีนี้ตามกฎหมายแรงงานก็ให้ใช้ “ค่าจ้างอัตราสุดท้าย” เป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชย และบริษัทต้องบอกกล่าวล่วงหน้า เช่น ถ้าเรารับเงินเดือน 20,000 บาท แล้วเราเซ็นยินยอมลดเงินเดือนเหลือ 18,000 บาท ต่อมาอีก 3 เดือนบริษัทแจ้งเลิกจ้างเรา บริษัทก็ต้องจ่ายค่าชดเชยโดยใช้ฐานค่าจ้างอัตราสุดท้าย คือ 18,000 บาทในการคำนวณค่าชดเชยจ่ายตามมาตรา 118
ส่วนกลุ่มที่ไม่เซ็นยินยอมลดเงินเดือน โดยสมมุติว่าเพื่อนเราเงินเดือนปัจจุบัน 20,000 บาท (เหมือนกับเรา) และไม่ยอมเซ็นยินยอมลดเงินเดือนลง ถ้าบริษัทเลิกจ้างเพื่อนเราก็จะใช้ฐานค่าจ้างอัตราสุดท้าย คือ 20,000 บาท ในการคำนวณการจ่ายค่าชดเชย
จากตัวอย่างในข้อ 5 และข้อ 6 ท่านจึงจำเป็นต้องพิจารณาหรือดูพฤติกรรมของฝ่ายบริหาร โดยดูจากอดีตที่ผ่านมาว่าเขาจะมีความน่าเชื่อถือ และมีแนวโน้มเลิกจ้างท่านในภายหลังจากเราเซ็นยินยอมลดเงินเดือนหรือไม่ ท่านอาจจะลองดูที่แนวโน้มทางธุรกิจที่ท่านทำว่าในอนาคตจะฟื้นตัวเร็วหรือไม่ นอกจากนี้ท่านอาจจะต้องลองวัดใจเขาว่าบริษัทที่ท่านทำงานในเวลานี้มีความจริงใจและมีเจตนาที่จะให้ช่วยกันเพื่อให้บริษัทอยู่รอดจริงหรือไม่ เพราะผู้เขียนก็เคยเจอบางบริษัทที่ผู้บริหารใช้เทคนิคขอความร่วมมือให้พนักงานลดเงินเดือนลงเพื่อลดงบประมาณการจ่ายค่าชดเชย พอพนักงานเซ็นยินยอมลดเงินเดือนลง อีกไม่กี่เดือนก็ layoff พนักงานออกทันทีก็มีไม่น้อย วิธีนี้คือว่าเป็นทริกสำหรับนายจ้างหัวหมอ ดังนั้น ก่อนจะเซ็นยินยอมลดเงินเดือนตัวเอง ท่านจำเป็นมากๆที่จะต้องประเมินความจริงใจของฝ่ายบริหารและคิดให้ดี ๆ ว่าคุ้มค่ากับการเซ็นชื่อยินยอมลดเงินเดือนหรือไม่
กรณีถูกเลิกจ้างแล้วลูกจ้างเห็นว่าการเลิกจ้างนั้นไม่เป็นธรรม ท่านยังสามารถมีสิทธิไปฟ้องศาลแรงงานเพื่อให้ศาลท่านวินิจฉัยว่าการเลิกจ้างนั้นเป็นธรรมหรือไม่ เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายได้อีกหนึ่งช่อง
 

สุดท้ายนี้ นายจ้างมีสิทธิขอลดเงินเดือนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับตัวลูกจ้างเป็นหลักเพราะการดำเนินการในเรื่องนี้ต้องมีการพูดจากันแบบความจริงใจ โปร่งใส ตรงไปตรงมาตามหลัก ใจเขา-ใจเรา จะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือของบริษัทเพราะให้ในอนาคตบริษัทนี้ยังเกิดความไว้วางใจเพื่อให้เป็นการจากกันด้วยดีในกรณีที่บริษัทต้องปิดกิจการและไม่ต้องเสียเวลาขึ้นโรงขึ้นศาลให้วุ่นวายในวันข้างหน้า

http://www.xn--72cf2bi6bdb7ewc6a5isb5d.com/

http://xn--b3ca1bicj2cj1jqaf.c...bd-1563-45cd-9df8-154a05470a11

http://xn--12cce9ebk7db0a1kd8e...a6-bfe1-498e-b155-ab20d1f0aff7

https://www.facebook.com/lampang11

https://www.facebook.com/lumpoon11
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
พิมพ์