พอดีเมื่อวาน เจอปัญหาการสมัคร Google Adsense แล้วสมัครไม่ผ่าน (กระทู้
http://www.thaiseoboard.com/index.php/topic,397726.0.html ) แล้วค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม เจอ Guru มาตอบคำถามเกี่ยวกับสิทธิ์ที่จะได้รับการอนุมัติจาก Google Adsense
จะต้องไม่เป็นเว็บไซต์หรือบล็อกเกี่ยวกับหมวดหมู่ต่อไปนี้ 1. ภาพหรือเนื้อหาที่เกี่ยวกั Hollywood, Bollywood, Nollywood หรือ Follywood (Hollywood, Bollywood, Nollywood or Follywood)
2. ภาพหรือเนื้อหาที่เกี่ยวกับดาราและการนินทา (Celebrity pics and gossip)
3. การเขียนบล็อกหรือเคล็ดลับเกี่ยวกับ SEO (Blogging and SEO tips)
4. สุขภาพและการรับประทานอาหารเพื่อลดความอ้วน (Health and diet tips)
5. เคล็ดลับทางการเงิน (Finance tips)
6. ข่าวเกี่ยวกีฬาทุกชนิด (Sports of any kind)
7. ข่าวที่คัดลอกมา (Scraped news)
8. บล็อกที่เป็นแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ (Fashion and lifestyle blogs)
9. ความคิดเห็นเกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือและแกดเจ็คต่าง ๆ (Mobile phone and gadget reviews)
10. การหาเงินออนไลน์ประเภทต่าง ๆ (Online money making blogs)
11. โฆษณาย่อยต่าง ๆ (Classified ads)
12. เว็บไซต์เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ (Real estate sites)
13. ภาพตลกและวีดีโอ (Funny pics and videos)
14. ไอเดีย SMS ต่าง ๆ (SMS ideas)
15. การตั้งชื่อทารก (Baby names)
16. เว็บไซต์ดูดวง (Horoscope sites)
17. เคล็ดลับประกันภัย (Insurance tips)
18. ข่าวยานยนต์และภาพ (Automotive news and pics)
19. มหาวิทยาลัยและเว็บไซต์ของผู้เรียน (University and student sites)
20. เคล็ดลับและเทคนิคการสอบต่าง ๆ (Exam tips and results)
21. การเปิดงานต่าง ๆ (Job openings)
22. เรื่องที่ไม่มีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ Forex (Forex nonsense)
23. ข้อมูลเกี่ยวกับบิทคอยน์ต่างๆ (Bitcoin stuff)
24. วิธีการทำและเคล็ดลับเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ (How to and DIY tips)
25. รายการยอดนิยม (Top whatever lists)
26. บล็อกเกี่ยวกับอาหารและสูตร (Food and recipe blogs)
27. บล็อกเกี่ยวกับการสร้างเงินออนไลน์ (Online money making mom blogs)
28. บล็อกเกี่ยวกับการออกแบบและตกแต่งภายใน (Interior design blogs)
29. บล็อกเกี่ยวกับการ์ตูนหรือเรื่องขำขันที่คัดลอกมา (Copied comics and jokes blogs)
30. ร้านค้าออนไลน์ปลอม (Fake online shops)
31. ความคิดเห็นเกี่ยวกับโพสต์บนสื่อสังคมออนไลน์ (Social media posting ideas)
32. เว็บไซต์สื่อสังคมออนไลน์คล้ายๆ กับเฟซบุ๊ค (Facebook style social sites)
33. ไซต์สำหรับการเป็นเจ้าสาว (Buy a bride sites)
34. การรับออกแบบเว็บไซต์และบริการเกี่ยวกับ SEO (Webdesign and SEO service sites)
35. เว็บไซต์คูปองต่าง ๆ (Coupon sites)
36. บล็อกของผู้มีชื่อเสียงที่มีประเด็นเกี่ยวกับ เพศ และความรุนแรงทางเพศ (Naija style celebrity, sex and violence blogs)
37. ไดเรกทอรี่และรายการเชื่อมโยง (Directories and link lists)
38. เนื้อเพลงที่คัดลอกมา บทกลอน กวี และงานอดิเรกประเภทต่าง ๆ (Scraped lyrics and hobby poetry)
39. เคล็ดลับเกี่ยวกับความสัมพันธ์และการออกเดท (Relationship and dating tips)
อ่านเจอจากลิงก์นี้นะครับ
ที่มา: https://productforums.google.c...sense/Eligibility1-25-false%5D
ทั้งนี้ ประเด็นที่ผมต้องการสื่อสารคือ ทั้ง 39 ข้อห้ามนี้ มันสอดคล้องกับ 13 ข้อห้ามหลักจากกูเกิ้ลครับ เดี๋ยวผมแจกแจงเป็นรายข้อ ตามความคิดเห็นของผม ดังนี้ครับ
1. เนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่ ได้แก่ ข้อ 36
2. เนื้อหาที่เป็นอันตรายหรือที่มีการวิจารณ์ไปในทางเสื่อมเสีย ได้แก่ ข้อ 1, 2, 25 และ 36
3. ยาปลุกประสาทและเนื้อหาเกี่ยวกับยา ได้แก่ ข้อ 4, 36
4. เนื้อหาเกี่ยวกับแอลกอฮอล์ ได้แก่ ข้อ 36
5. เนื้อหาเกี่ยวกับยาสูบ ได้แก่ ข้อ 36
6. เนื้อหาเกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพ ได้แก่ ข้อ 26, 36
7. เนื้อหาเกี่ยวกับการแฮ็กและการแคร็กระบบ ได้แก่ ข้อ [3], [34], 36 และ 37
ทั้งนี้ ข้อ 3 มีแนวโน้มว่าจะไม่ใช่แนวทางที่เป็น White hat ครับ เพราะส่วนใหญ่จะเป็นสาย Black hat หรือ Grey hat ครับ ดังนั้น จึงไม่สอดคล้องกับนโยบายของกูเกิ้ล เพราะกูเกิ้ลคงไม่ยินดีสักเท่าไหร่ที่มีการเผยแพร่เพื่อสร้างความนิยมในทิศทางที่ไม่ใช่ White hat
ส่วนข้อ 34 แน่นอนว่าส่วนใหญ่จะเป็นแนวโน้มการใช้เทคนิควิธีที่ผิดกฎหมาย สอดคล้องกับนโยบายข้อห้ามหลักข้อนี้เช่นกันครับ เพราะโดยส่วนใหญ่แล้ว ต้องยอมรับว่าการรับทำ SEO ส่วนใหญ่จะใช้เทคนิคที่ไม่ใช่ White hat 100% ครับ
8. หน้าเว็บที่เสนอโปรแกรมค่าตอบแทน ได้แก่ ข้อ [8], [9], [11], [12], [18], [21], [28], 35 และ 36
ข้อ 8 9 11 12 18 21 และ 28 ส่วนใหญ่จะเป็นการได้รับค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนจากบริษัทเจ้าของสินค้าหรือบริการครับ โดยเข้าข่ายเป็นโฆษณาแฝง ซึ่งถ้าให้ผมวิเคราะห์ คิดว่าเป็นเพราะกูเกิ้ลมองว่า การนำเสนอสิ่งเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะไม่ใช่เจ้าของสินค้าหรือบริการมานำเสนอเองจริง ๆ จะเป็นการโฆษณาแฝง คนนำมานำเสนอได้รับค่าตอบแทน และการอาจจะมีการนำเสนอส่วนลดพิเศษต่าง ๆ เป็นต้น
9. เนื้อหาที่สื่อให้เข้าใจผิด ได้แก่ ข้อ 5, 10, 15, 16, 17, 20, 22, 23, 24, 27, 31, 32 และ 36
10. เนื้อหาที่มีความรุนแรง ได้แก่ ข้อ 36
11. เนื้อหาเกี่ยวกับอาวุธ ได้แก่ ข้อ 36
12. เนื้อหาที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่ซื่อสัตย์ ได้แก่ ข้อ [19], 33, 36 และ 39
สำหรับข้อ 19 คาดว่าจะเป็นการป้องกันปัญหาการรับทำผลงานวิชาการหรือรับจ้างทำ Eassay ต่าง ๆ ครับ เพราะปัจจุบันในต่างประเทศมีเว็บไซต์แนวนี้เกิดขึ้นเยอะมาก และมีแนวโน้มว่าจะเป็นของศิษย์ที่จบจากสถาบันนั้น ๆ ออกมารับทำงานพวกนี้ สอดคล้องกับเนื้อหาข้อนี้พอดี
13. เนื้อหาผิดกฎหมาย ได้แก่ ข้อ 6, 7, 13, 14, 29, 30, 36 และ 38
ท่านใดมีความคิดเห็นอย่างไร แสดงความคิดเห็นกันได้ครับ ยินดีแลกเปลี่ยนมุมมองครับผม
[/font]