ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

ThaiSEOBoard.comความรู้ทั่วไปSearch Engine Optimizationเทคนิค On-Page ที่กู๋ก็ว่าใช่ ผู้อ่านก็ชอบ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: เทคนิค On-Page ที่กู๋ก็ว่าใช่ ผู้อ่านก็ชอบ  (อ่าน 16316 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
eyejan
หัวหน้าแก๊งเสียว
*

พลังน้ำใจ: 131
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,015



ดูรายละเอียด
« ตอบ #100 เมื่อ: 24 ตุลาคม 2016, 07:11:44 »

18. On-Page Ranking Factor 2016

มาดู ปัจจัยในการจัดอันดับที่สำคัญกันครับ

ทุก 2 ปี Moz เค้าจะส่งแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยในการจัดอันดับให้นัก SEO ประมาณ 150 คนตอบ แล้วก็มาข้อมูลมาวิเคราะห์และเผยแพร่

ปีล่าสุดที่ทำคือปี 2015

สำหรับปี 2016 มีการทำปัจจัยการจัดอันดับโดย SearchMetric

โค๊ด:
http://www.bruceclay.com/blog/seo-ranking-factors-smx/

โดยวิธ๊ที่เค้าใช้ คือ วิเคราะห์โดยตรงจากผลการค้นหาเลย โดยดูว่า เวปหน้าหนึ่งมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

ซึ่งมีปัจจัยที่สำคัญ (ที่เค้าให้ดู) ดังนี้

- 87% ของเวปหน้าหนึ่ง มีการใช้ H1 Tag

- 38% ของเวปหน้าหนึ่ง มีการใช้ keyword ใน H1 Tag

- เวปหน้าหนึ่งส่วนใหญ่ มีความยาวประมาณ 1,633 คำ

- เวปหน้าหนึ่งส่วนใหญ่ มี Internal Link ประมาณ 126 Link

ลองทดสอบดูนะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 ตุลาคม 2016, 11:51:49 โดย eyejan » บันทึกการเข้า
Tutorcuu
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #101 เมื่อ: 24 ตุลาคม 2016, 17:36:44 »

ขอบคุณครับ เดี่ยวกลับมาอ่าน
บันทึกการเข้า
eyejan
หัวหน้าแก๊งเสียว
*

พลังน้ำใจ: 131
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,015



ดูรายละเอียด
« ตอบ #102 เมื่อ: 25 ตุลาคม 2016, 08:22:54 »

19. Title Tag Optimization

มาดูเทคนิคที่ทำแล้วเห็นผลได้รวดเร็วที่สุด (ในสายตาของผมนะ)

ได้เคยบอกไว้ว่า Title Tag ควรมีความยาวไม่เกิน 55 ตัวอักษร และ ควรพยายามทำประมาณ 2-3 แบบ เพื่อเปรียบเทียบดูว่าแบบไหน คนน่าจะคลิ๊กมากที่สุด

แต่ก็มีอีกแนวคิดนึง บอกว่า Title Tag ที่ดี ควรจะเริ่มต้นด้วย Keyword ที่ต้องการ เช่น keyword = กระเทียมโทน

แบบที่ 1 = กระเทียมโทน: 10 ประโยชน์ที่ท่านไม่เคยรู้มาก่อน

แบบที่ 2 = 10 ประโยชน์ของกระเทียมโทนที่ท่านไม่เคยรู้มาก่อน

ถ้าแบบที่ 1 ก็ถือว่า optimize ที่สุด แต่ไม่น่าคลิ๊ก

ถ้าแบบที่ 2 ก็อ่านแล้วดูเป็นธรรมชาติมากกว่า แต่ไม่ optimize

แล้วเอาแบบไหนดีหละ

โค๊ด:
https://www.distilled.net/resources/testing-titles-and-h1s-seo-impact/

การทดลองอันนี้ ฝรั่งเค้าเปรียบเทียบ traffic จาก title tag 2 แบบคือ

แบบที่ 1 = <<Location>> Hotel, NY

แบบที่ 2 = Hotels near <<Location>>

<<Location>> ก็เป็นที่ตั้งอะไรก็เปลี่ยนไปตามที่เราต้องการ

ที่เค้าต้องทดสอบ เพราะว่า จริงๆแล้ว Title Tag แบบทีเริ่มต้นด้วย Keyword อาจจะไม่ได้ผลดีที่สุด หรือ ทำอันดับได้ดีที่สุด

ท่านต้องลองทดสอบดูครับ โดยการ

- เลือกบทความที่อยู่ประมาณ หน้า 5 มาทดสอบ (เอาบทความหน้า 10 มาทดสอบก็ได้ แต่ถ้ามันอันดับมันขึ้นมาอยู่หน้า 5 คนก็ยังไม่เข้าอยู่ดี)

- แก้ Title Tag แล้วก็เรียก bot มาเก็บ

- แล้วก็รอครับ อย่างเร็วเห็นผลภายใน 24 ชั่วโมง อย่างช้า 1-2 เดือน

- ถ้าแก้แล้วอันดับมันกระเด็นหายไปเลย ไม่กลับมา ไม่ต้องตกใจ กู๋อาจมองว่าท่าน over-optimize (ด้วยองค์ประกอบ on-page อื่นๆ ที่มีอยู่ในหน้านั้นด้วย)

แก้กลับเป็นอันเดิม แล้วเรียก bot มาเก็บ

- บันทึกไว้ด้วยครับ ว่า ทำบทความไหน อันดับก่อนทำอยู่หน้าไหน bot มาเก็บวันไหน เวอร์ชั่นทั้งเก่าและใหม่คืออะไร


จะเห็นว่า เทคนิคที่เขียนทั้งหมด ผมพยายามเขียนโดยให้เป็นวิทยาศาสตร์ที่สุด แล้วก็มีแหล่งอ้างอิงมาให้เพิ่มเติมด้วย

ดังนั้น กระทู้นี้จะไม่มีประโยชน์โดยสิ้นเชิง ถ้าท่านอ่านแล้ว ไม่เอาไปทดสอบ

ลองทดสอบดูครับ หวังว่าคงจะมีประโยชน์นครับ

ขอบคุณที่ติดตามอ่านมาถึง 7,000 pageviews


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 ตุลาคม 2016, 11:52:18 โดย eyejan » บันทึกการเข้า
eyejan
หัวหน้าแก๊งเสียว
*

พลังน้ำใจ: 131
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,015



ดูรายละเอียด
« ตอบ #103 เมื่อ: 26 ตุลาคม 2016, 07:31:12 »

20.  มารู้จักอัลกอด้านคุณภาพ Phantom Update กัน

เวลาเวปไซด์อันดับตก ปฏิกิริยาของคนส่วนใหญ่คือ "เดี่ยวมันก็กลับมา" แต่จริงๆแล้ว กู๋มีการปรับเกี่ยวกับอัลกอคุณภาพ แล้วก็ไม่ค่อยยืนยันด้วยนะ

ว่ามีการปรับ แต่จะรู้ได้ก็ต่อเมื่อมีคนที่มีเวปขนาดใหญ่อยู่ในมือจำนวกมาก เอาสถิติเวปออกมาโชว์พร้อมกับบทวิเคราะห์

วันนี้ขอแนะนำอัลกอที่ชื่อว่า Phantom

โค๊ด:
http://blog.searchmetrics.com/us/2015/06/10/return-of-the-phantom/

Phantom เป็นอัลกอที่ถูกค้นพบโดยนัก SEO ชื่อ Glenn Gabe (ใครสนใจเรื่องอัลกอคุณภาพต้องตามอ่านบทความของคนนี้)

แต่บทความที่อ้างอิง SearchMetrics เค้าวิเคราะห์ผลการค้นหาจริง เพื่อยันยันสมมุติฐานของ Glenn Gabe อีกที

Phantom มีกลไกการทำงานต่างกับ Panda โดยมันจะกดอันดับเวปที่มีคุณลักษณะดังนี้

- มี pop-up กวนใจผู้อ่าน หรือ มี ads ที่รกรุงรัง

- เนื้อหาไม่มีคุณภาพ (สังเกตุได้จาก bounce rate คือ คนเข้าเวปปุ๊ปออกปั๊ป)

- การออกแบบเวปไซด์ที่อ่านยาก

- มี broken link เยอะ (แสดงว่าเวปขาดการดูแล)

- มี blog comment เยอะเกินเมื่อเทียบกับเนื้อหา

SearchMetrics เค้ามีตัวอย่างของเวปที่ อันดับขึ้น และ อันดับตก หลังจากการปรับอัลกอมายืนยันด้วย

ซึ่งเรื่องพวกนี้เป็นเรื่องที่เราสามารถแก้ไขได้เองทั้งสิ้น ดังนั้น อย่ารอ

phantom มันปรับอันดับบ่อยเหมือนกันนะครับ อาจมีปัจจัยอื่นๆด้วย แต่บทสรุปก็คือ ถ้าท่านคิดถึงผู้อ่าน/ลูกค้าเยอะๆ มีแต่ได้ ไม่มีเสีย

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 ตุลาคม 2016, 11:53:03 โดย eyejan » บันทึกการเข้า
tvdigitalthai
ก๊วนเสียว
*

พลังน้ำใจ: 7
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 252



ดูรายละเอียด
« ตอบ #104 เมื่อ: 26 ตุลาคม 2016, 08:10:15 »

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
thaicoffin
หัวหน้าแก๊งเสียว
*

พลังน้ำใจ: 41
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,128



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #105 เมื่อ: 26 ตุลาคม 2016, 09:04:18 »

 wanwan009 algo
บันทึกการเข้า

hatyaiwebdesign
หัวหน้าแก๊งเสียว
*

พลังน้ำใจ: 60
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,108



ดูรายละเอียด
« ตอบ #106 เมื่อ: 26 ตุลาคม 2016, 09:30:21 »

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า

dkgibson
คนรักเสียว
*

พลังน้ำใจ: 2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 110



ดูรายละเอียด
« ตอบ #107 เมื่อ: 27 ตุลาคม 2016, 10:02:43 »

ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ +1
บันทึกการเข้า

seemee
ก๊วนเสียว
*

พลังน้ำใจ: 7
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 286



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #108 เมื่อ: 27 ตุลาคม 2016, 10:03:36 »

ขอบคุณมากครับ เป็นแนวทางที่ดีครับ
บันทึกการเข้า

eyejan
หัวหน้าแก๊งเสียว
*

พลังน้ำใจ: 131
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,015



ดูรายละเอียด
« ตอบ #109 เมื่อ: 27 ตุลาคม 2016, 10:08:05 »

21. เมื่อ Backlink อาจมีน้ำหนักลดลงไป

อันนี้ยาวมากๆ

อ้างถึง Quality Rater Guideline ดังนี้

โค๊ด:
https://static.googleusercontent.com/media/www.google.com/en//insidesearch/howsearchworks/assets/searchqualityevaluatorguidelines.pdf

เวอร์ชั่นปัจจุบันเป็นเวอร์ชั่นปี 2016 แต่ผมไปไล่ดู เวอร์ชั่นเก่าๆ แล้ว พบว่า มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง คือ

เวอร์ชั่นปี 2016 พูดถึง การประเมินคุณภาพของเวป แต่ เวอร์ชึ่นปี 2015 และที่เก่ากว่านั้น พูดถึงการดูว่าเวปนั้น spam หรือเปล่า ทั้ง on-page และ off-page

แต่ทำไมมันถึงแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง?

เวลาที่ Google ประกาศอะไรออกมาให้ webmaster รับทราบ จะมีการตีความอย่างต่ำ 3 แบบ คือ

- เชื่อทุกคำที่กู๋บอก

- ไม่เชื่อทุกคำที่กู๋บอก

- พยายามอ่านเจตนาว่ากู๋ต้องการจะสื่ออะไรกันแน่

การที่กู๋ปล่อย quality rater guideline มาให้อ่าน ผมตีความว่า

- backlink จะมีน้ำหนักลงเรื่อยๆ สังเกตุดูได้จากตอนนี้ คีย์ภาษาอังกฤษ ซึ่ง wikipedia เคยครองหน้า 1 อันดับ 1 ตอนนี้หลายคีย์ตกลงมาแล้ว

- Page Rank ก็ไม่ปล่อยมาให้ดูแล้ว เค้าเริ่มบีบเราเรื่อยๆ

- กู๋ได้เริ่มใช้ คุณภาพของเวปเป็นปัจจัยในการจัดอันดับแล้ว แบบว่า จะใช้แล้ว เลยปล่อยมาให้อ่าน

ช่วงวันหยุดที่ผ่านมา ผมไปนั่งอ่าน quality rater guideline แบบตั้งใจเลย แล้วก็พบประเดินสำคัญคือ หลักการ E-A-T

ย่อมากจาก Expertise-Authoritativeness-Trustworthiness

แปลทีละตัว

Expertise = ทักษะ ของคนทำเวปนั้น
Authoritativeness = คุณภาพและความถูกต้องของเนื้อหา
Trustworthiness = ความน่าเชื่อถือของเวปนั้น


เวปที่มีคุณภาพสูง จะมีระดับ E-A-T สูง เวปที่มีคุณภาพต่ำ จะมีระดับ E-A-T ต่ำ

แล้วจริงๆกู๋มีวิธ๊วัดแต่ละปัจจัยอย่างไร

Expertise = ทักษะ ของคนทำเวปนั้น

วัดจากรายละเอียดใน "About Us" หรือ "About" คือ มันจะหาดูว่า

- มีการใส่ชื่อคนทำเวปนั้นหรือไม่

- คนๆนั้นเรียนมาด้านไหน

- คนนั้นมีประสบการณ์การทำงานอย่างไร

- คนๆนั้นเคยได้รับรางวับที่เกี่ยวข้องกับเวปหรือไม่

สรุปคือ About Us ท่านต้องเขียนเหมือนเขียนบทความเลย เขียนยาวๆ มีอะไรจะอวดก็ใส่ไปให้หมด


Authoritativeness = คุณภาพและความถูกต้องของเนื้อหา

- วัดจากความยาวของเนื้อหา

- กลุ่มของเนื้อหา เช่น เวปเกี่ยวกับ การท่องเที่ยว เวลาเขียนเกี่ยวกับสุขภาพ ย่อมมีความถูกต้องน้อยกว่า เวปเกี่ยวกับสุขภาพเขียนเนื้อหาเอง

- ความพึงพอใจของผู้อ่าน เช่น low bounce rate

Trustworthiness = ความน่าเชื่อถือของเวปนั้น

- มีชื่อผู้เขียนบทความ (ที่มีตัวตนจริงๆ) อยู่ที่ทุกหน้าของบทความ

- มี รายละเอียดการติดต่อชัดเจน อย่างต่ำต้องเป็น e-mail address เห็นได้จากทุกหน้าของเวป

- ถ้าเป็นเวป e-commerce หรือ เวปที่เกี่ยวกับความเป็นความตายของคน เช่น เวปเกี่ยวกับสุขภาพ ต้องมี ที่อยู่ เบอร์โทร

แล้วหลักการ E-A-T ใช้ประเมินคุณภาพของเวปจริงๆ ได้อย่างไร

สมมุติมีเวปขายของ Amazon เวปนึงนะ

- posted by admin หรือ posted by John หรือ posted by Mary

- "About Us" ยาวแค่ 1 ย่อหน้า ไม่มีรายละเอียดอะไรมากมายเกี่ยวกับคนที่ทำเวป หรือมีรายละเอียดแต่ไม่มีตัวตนจริงๆ

- ไม่มีลิงค์ให้เข้าถึงหน้า "About Us" ได้

- ใช้แบบฟอร์มให้คนติดต่อ (ไม่มี อีเมล์ ไม่มีเบอร์โทร ไม่มีที่อยู่)

- ไม่มีลิงค์ให้เข้าถึงหน้า "Contact Us" ได้

- ไม่มีบทความไหนที่ไม่ขายของ amazon (มี affiliate link ทุกหน้า)

ไม่ได้บอกว่า ถ้าไม่มีองค์ประกอบเหล่านี้แล้วอันดับจะตกนะครับ ลิงค์ยังมีผล แต่ ตอบไม่ได้เลยว่ากู๋จะเอาจริงเมื่อไหร่

แล้วถ้าท่านทำแบบที่กู๋ต้องการ ท่านคิดว่ามันจะดีกับเวปท่านหรือไม่ ลองถามใจตัวเองดูนะครับ




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 ตุลาคม 2016, 17:15:45 โดย eyejan » บันทึกการเข้า
Mal2s
คนรักเสียว
*

พลังน้ำใจ: 3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 149



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #110 เมื่อ: 27 ตุลาคม 2016, 10:24:53 »

ติดตามต่อไปครับ มีประโยชน์มากครับ
บันทึกการเข้า
hnonmai
คนรักเสียว
*

พลังน้ำใจ: 9
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 189



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #111 เมื่อ: 27 ตุลาคม 2016, 13:58:41 »

ติดตามครับ
บันทึกการเข้า

eyejan
หัวหน้าแก๊งเสียว
*

พลังน้ำใจ: 131
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,015



ดูรายละเอียด
« ตอบ #112 เมื่อ: 28 ตุลาคม 2016, 07:37:47 »

22. Content Ideas in Boring Niche

ผมค่อนข้างงงๆกับเวป e-com จำนวนมาก ว่าทำไมไม่เขียนบทความ เพราะว่าการเขียนบทความ

- นำมาซึ่ง Long Tail Traffic

- ทำให้คนคุณเคยกับเวปเราก่อนที่จะซื้อของๆเราจริงๆ

- เป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ในการทำ Internal Link

ก็จะมีคนบอกว่า ของที่ฉันขายไม่รู้จะเขียนบทความอะไร ไม่มีหรอก เพราะมันเป็น Niche ที่น่าเบื่อ

เรามาดูกันว่า วิธีการหาไอเดียในการเขียนบทความสำหรับ Niche ที่มันน่าเบื่อควรทำอย่างไร

Keyword: วัสดุปูพื้น (บ้าน, คอนโด, สำนักงาน) - น่าเบื่อปะ?

- ใช้การค้นดังนี้ "Keyword" + Blog เช่น "Flooring" Blog (ค้นเป็นภาษาอังกฤษ)

- คุณก็จะเจอ blog ต่างๆของฝรั่งที่มีบทความเกี่ยวกับ วัสดุปูพื้น

- ก๊อปชื่อบทความมา แล้วลองแปรเป็นไทยดู ถ้าไม่ถนัด ก็ใช้  google translate แปล

- ดูว่าบทความแบบไหนที่ประยุกต์ได้กับเมืองไทย

- คุณก็จะได้ไอเดียในการเขียนบทความนับร้อยนับพัน แล้วแต่ความขยันในการค้นของคุณ

- แล้วก็ขึ้นอยู่กับตัวคุณแล้ว ว่าจะลงมือเขียนจริงๆหรือเปล่า

วัสดุปูพื้นยังไม่น่าเบื่อพอ? เอาแบบน่าเบื่อกว่านี้อีก?

Keyword: ขายโลงศพ ค้นด้วย "Funeral Home" Blog

ถ้าคุณมีความพยายาม ก็ไม่มีอะไรรั้งคุณไว้ได้แล้ว จริงๆนะ

หมายเหตุ: ที่เขียนมาตั้งแต่ต้นเนี่ย ผมหวังว่าท่านสมาชิกที่กำลังเริ่มทำ e-com ส่วนใหญ่จะได้อ่านนะครับ

ผมเข้าใจดีว่า คนที่หันมาทำ e-com หลายๆคน อยู่ในช่วงที่ชีวิตกำลังจะเปลี่ยนผ่าน จากการเป็นพนักงาน กลายมาเป็นเจ้าของกะเขาบ้าง เลยอยากสนับสนุน
บันทึกการเข้า
kingseo
ก๊วนเสียว
*

พลังน้ำใจ: 10
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 230



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #113 เมื่อ: 28 ตุลาคม 2016, 09:46:26 »

ข้อมูลเยอะดีครับ +
บันทึกการเข้า

sys2528
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
*

พลังน้ำใจ: 301
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,601



ดูรายละเอียด
« ตอบ #114 เมื่อ: 28 ตุลาคม 2016, 09:59:13 »

ขอบคุณมากครับ    wanwan017
บันทึกการเข้า

Tutorcuu
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #115 เมื่อ: 28 ตุลาคม 2016, 12:26:25 »

+1 ครับ
บันทึกการเข้า
dekdoo
สมุนแก๊งเสียว
*

พลังน้ำใจ: 58
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 891



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #116 เมื่อ: 28 ตุลาคม 2016, 22:39:47 »

ขอบคุณมากครับ เป็นเทคนิคที่น่าสนใจ มีประโยชน์ต่อคนรุ่นใหม่มาก ๆ
บันทึกการเข้า

eyejan
หัวหน้าแก๊งเสียว
*

พลังน้ำใจ: 131
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,015



ดูรายละเอียด
« ตอบ #117 เมื่อ: 29 ตุลาคม 2016, 19:09:31 »

23. มาดูกันว่ากู๋ชอบเวปแบบไหน

อ้างอิง Google Quality Rater Guideline อีกทีครับ

จริงๆแล้ว มันมีการแบ่งเวปไซด์ออกเป็น 5 ระดับคือ ดีที่สุด/ดีมาก/ปานกลาง/แย่/แย่ที่สุด

แล้วแต่ละระดับก็จะมีตัวอย่างของเวปแต่ละแบบด้วย เช่น เวปบทความ, เวปบอร์ด, อีคอม ฯลฯ โดยมี link อ้างอิงไปที่เวปนั้นๆ

พร้อมกับบอกเหตุผลว่า ทำไมเวปนั้นๆได้คะแนนเท่านั้น

แต่... ลิงค์พวกนั้นคนนอกดูไม่ได้ครับ

จะดีกว่าไหม ถ้าเราเห็นด้วยตาตัวเองว่ากู๋ชอบเวปแบบไหน

เคยจำได้ว่า Quality Rater Guideline ของ 1-2 ปีที่แล้ว มันมีตัวอย่างเวปแบบแคปหน้าจอในคู่มือด้วย

งั้นมาดูกันว่า มันคือเวปอะไร

โค๊ด:
http://inchoo.net/online-marketing/ecommerce-seo-different-seo-types-websites/

หมายเหตุ: เวปอ้างอิงอันนี้เค้าแคปหน้าจอเอาไว้ได้

เวปที่กู๋ให้คะแนนระดับ "สูงสุด" เป็นเวปอีคอมชื่อ LL Bean

พอดูตัวอย่างหน้าจอแล้วก็มาวิเคราะห์กันเลย

- เปิดมาปุ๊ปเจอแถบเขียวบนสุด มีจุดขายบอกไว้เลยคือ "Shipped for Free, Guarantee to Last" หรือ จัดส่งฟรี ของเราดีเลยไม่ค่อยพัง

- บนแถบเขียวขวาสุดเจอ ทั้งวิธีการติดต่อ และ เบอร์โทร โชว์ความโปร่งใส

- ถัดมาเจอโลโก้ LL Bean อันนิดเดียว

- ถัดมาอีกเจอ โปรโมชั่น

เอาแค่นี้ก่อนเลย ถ้าเป็นอีคอมไทย เปิดมาเจออะไรครับ = header การ์ตูน หรือ รูปภาพอื่นๆ สุดแต่จินตนาการของคนออกแบบ

- ถัดลงมาคือ Drop Down Menu Bar (แหล่งทำ internal link ระดับ 5 ดาว?)

- รูปภาพสินค้า คุณภาพสูง ชัดเจน

- ปุ่ม "Call to Action" (ภาษาไทยเรียกว่าอะไรนะ?) "Add to Bag" ชัดเจน เป็นสีส้ม (ทำไมเค้านิยมโทนสีส้มกันนะ?)

หยุดแค่นี้ก่อน จะบอกว่า เค้าไม่มีสิ่งที่เวปอีคอมไทยชอบมีคือ "Distractions" หรือ สิ่งที่รบกวนสมาธิของผู้ใช้ใดๆเลย เช่น

Content Slider, Animation, ตัววิ่ง, ตัวกระพริบ, รูปที่ไม่ใช่สินค้า, Fixed Header (เจ้าเมนูที่เวลาเราเลื่อนเมาส์แล้วเมนูมันล็อคอยู่ด้านบน)

ตอนนี้เวป LL Bean ก็มีโครงสร้างเวปคล้ายแบบนี้เลย แต่ดูสะอาดตากว่านี้เยอะมาก

การบ้าน (ถ้าท่านอยากทำ)

- เปิดเวป LL Bean, Lazada.co.th, Zalora.co.th, เทพช็อป, ตลาด, วีเลิฟ พร้อมกัน

- เปรียบเทียบรายองค์ประกอบเลย ว่า แต่ละองค์ประกอบของแต่ละเวป มีความแตกต่างกันอย่างไร

- อะไรเป็นองค์ประกอบที่ควรมี

- อะไรเป็นองค์ประกอบที่ไม่ควรมี

ลองดูครับ


บันทึกการเข้า
eyejan
หัวหน้าแก๊งเสียว
*

พลังน้ำใจ: 131
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,015



ดูรายละเอียด
« ตอบ #118 เมื่อ: 31 ตุลาคม 2016, 12:53:35 »

24. ตำแหน่งที่ดีทีสุดในการทำ Internal Links

วันนี้ผมขออ้างอิงแหล่งข้อมูลอีกแหล่งหนึ่ง ที่คนไทยอาจไม่เคยรู้

เกริ่นนำก่อนเลยว่า Google จริงๆแล้ว เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นจากรากฐานงานวิจัยที่ มหาลัย Stanford

(Top Computer Science ที่เมกามี 3 ที่คือ Stanford, MIT, CMU)

Larry Page เข้าเรียนปริญญาเอกที่ Stanford โดยมี Sergey Bin เป็นรุ่นพี่ที่เรียนอยู่แล้ว

Page พบว่า Search Engine สมัยก่อน เช่น Infoseek, Lycos, Hotbot มีผลการค้นหาที่ไม่ดี เนื่องจากมีการจัดอันดับโดยการใช้

ปัจจัยด้าน on-page อย่างเดียว Page เลยตั้งสมมุติฐานว่า ถ้าจัดอันดับเวปโดยใช้หลักการเดียวกับการอ้างอิงบทความทางวิทยาศาสตร์ก็จะดี

เช่น นักวิจัยคนหนึ่ง ตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการ เวลามหาวิทยาลัยจะขึ้นวิทยาฐานะ และ เงินเดือนก็ต้องดูว่า ผลงานวิจัยนั้น ถูกนำไปอ้างอิง

มากน้อยขนาดไหน ถูกอ้างอิงโดยวารสารทางวิชาการที่มีคุณภาพหรือไม่ (หลักการนี้เรียกว่า Citation Analysis)

Page ก็เอา Citation Analysis นี่แหละ มาประยุกต์ใช้ในการจัดอันดับเวป โดยนับ link เสมือนหนึ่งการที่ผลงานวิจัยถูกอ้างอิง

Surgey คอยช่วย Page ในการสร้าง bot เพื่อเก็บข้อมูลจากเวปไซด์ เพื่อให้เพจนำมาคำนวณสิ่งที่เรียกว่า PageRank

พอทำวิจัยจบ Page จบปริญญาเอก (แต่ Surgey เรียนไม่จบ) งานวิจัยของ Page ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ Stanford

Page ต้องจ่ายเงินให้ Stanford เพื่อขอนำงานวิจัยที่ตัวเองเป็นคนทำกะมือ เอาออกมาใช้งานเชิงพาณิชย์ แล้วทั้งคู่ก็ออกมาตั้งบริษัท

โดยไปชวน Susan Wojcicki ซึ่งเชี่ยวชาญด้านการโฆษณา ออกมาตั้ง search engine โดยตั้งบริษัทในโรงรถหลังบ้านของ Susan

เข้าเนื้อเรื่อง

จะเห็นได้ว่า Google มีรากฐานของการทำวิจัยและเป็นนักวิทยาศาสตร์สูงมาก หลังจากนั้น อัลกอทั้งหลายที่กู๋คิดขึ้นมา ก็จะต้องไปขึ้นทะเบียน

สิทธิ์บัตรก่อน จะได้ไม่โดนใครฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ซึ่งใช้เวลาในการขึ้นทะเบียนสิทธิบัตรอัลกอประมาณ 2-3 ปี แล้วหลังจากนั้น ปีสองปีถึงจะกลาย

มาเป็นอัลกอที่ใช้งานได้

(ไม่เหมือน Samsung กับ Apple ที่ต้องทำสินค้าออกมาให้เร็วโดยยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนสิทธิบัตร แล้วก็ต้องมีคดีความฟ้องร้องกัน)

ก็จะมีนัก SEO จำนวนหนึ่ง ที่ไปเอาสิทธิบัตรของ Google ที่ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว มาวิเคราะห์ หนึ่งในสิทธิบัตรนั้นคือ สิทธิบัตรเกี่ยวกับ

อัลกอที่ประเมินตำแหน่งของ Link (Link Analysis)

โค๊ด:
http://patft.uspto.gov/netacgi/nph-Parser?Sect1=PTO2&Sect2=HITOFF&u=%2Fnetahtml%2FPTO%2Fsearch-adv.htm&r=1&p=1&f=G&l=50&d=PTXT&S1=7,716,225.PN.&OS=pn/7,716,225&RS=PN/7,716,225

อัลกอตัวนี้บอกว่า ตำแหน่งของ Link ที่มีน้ำหนักที่สุด จะอยู่ที่ด้านบนสุดของ HTML Code เพราะว่ามันมีแนวโน้มจะถูกคลิ๊กจากคนอ่านมากที่สุด

ถ้าวัดตามตำแหน่งของ HTML Code เราจะสามารถจัดลำดับความสำคัญของตำแหน่งของ Link ได้จากมากไปน้อยดังนี้

Header---Content Area---Side Bar---Footer

แปลเป็นไทยง่ายๆ

- ถ้าจะทำ internal link ทำเป็น drop down menu ที่ใกล้ header มากที่สุด

- ลองลงมาคือ ทำ internal link ในตัวบทความ

- หรือไม่ก็ทำ internal link ที่ side bar

- footer เอาไว้ใส่ internal link พวก about us, copyright, privacy

(ถ้าท่านซื้อ backlink ลองตรองดูว่า ควรซื้อ backlink แถว footer หรือเปล่า)

ข้อคิดจากเรื่องนี้

มันมีสิทธิบัตรหลายตัว ที่กู๋สามารถเอาไว้ใช้จัดอันดับเวปแทนที่ backlink ได้รับการอนุมัติออกมาแล้วครับท่าน

ถ้าท่านไม่เริ่มทำเวปคุณภาพ อีกไม่นาน มีหนาว  wanwan009
บันทึกการเข้า
weerayut888
คนรักเสียว
*

พลังน้ำใจ: 3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 165



ดูรายละเอียด
« ตอบ #119 เมื่อ: 31 ตุลาคม 2016, 15:03:04 »

ขอจำไปใช้นะครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8   ขึ้นบน
พิมพ์