ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

ThaiSEOBoard.comความรู้ทั่วไปE-commerce##ขายของออนไลน์ ต้องขึ้นทะเบียนกับสคบ. ฝ่าฝืนมีโทษปรับ100,000 บาท
หน้า: [1] 2 3 ... 9   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ##ขายของออนไลน์ ต้องขึ้นทะเบียนกับสคบ. ฝ่าฝืนมีโทษปรับ100,000 บาท  (อ่าน 54544 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
น้องดราก้อน
สมุนแก๊งเสียว
*

พลังน้ำใจ: 90
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 970



ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 15 กันยายน 2013, 14:34:48 »

ต่อจากกระทู้นี้
http://www.thaiseoboard.com/in....msg4587026/topicseen.html#new
เห็นว่าสำคัญ
จึงแจ้งข่าวเพิ่มเติมเฉยๆครับ
ขายของออนไลน์ ต้องขึ้นทะเบียนกับสคบ. ฝ่าฝืนมีโทษปรับ100,000 บาท  และปรับวันละ10,000บาทจนกว่า คุณจะปิดเว็บไซต์หรือปิดกิจการ
wanwan022





------------------------------------------------------------------------

การขายสินค้าทางอินเตอร์เน็ตเป็นธุรกิจตลาดแบบตรงที่ต้องจดทะเบียนต่อ สคบ.
นายสุวิทย์ วิจิตรโสภา*

๑. ความเป็นมาและสภาพปัญหา
          ในยุคแห่งโลกาภิวัฒน์ การซื้อขายสินค้าทางอินเตอร์เน็ต หรือที่นิยมเรียกว่า e-commerce
นั้น นับว่าเป็นธุรกรรมที่นิยมแพร่หลายเป็นอย่างมาก เนื่องจากอินเตอร์เน็ตได้กลายเป็นส่วนหนึ่งใน
ชีวิตประจำวันของคนจำนวนมากในโลกใบนี้ไปแล้ว ปัจจุบันอินเตอรเ์น็ตได้ขยายวงกว้างมากขึ้นทุกวัน
ประกอบกับการซื้อขายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตนั้นเป็นวิธีการทำตลาดที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เป็น
จำนวนมาก ในเวลาอันรวดเร็ว และใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำอีกด้วย

          ปัญหาที่ตามมาจากการซื้อขายสินค้าทางอินเตอร์เน็ตที่มีผู้บริโภคร้องเรียนต่อสำนักงาน
คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เป็นจำนวนมาก ก็คือ สั่งซื้อสินค้าโดยโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร
หรือผ่านบัตรเครดิตแล้วแต่ไม่ได้รับสินค้า ได้รับสินค้าชำรุดบกพร่อง สินค้าไม่ได้มาตรฐาน สินค้าไม่
เป็นไปตามที่โฆษณา ติดต่อผู้ขายไม่ได้ เหล่านี้สภาพปัญหาที่เกิดขึ้น บางกรณีสั่งซื้อสินค้าประเภทยาลด
ความอ้วนโดยหลงเชื่อคำโฆษณาที่มักโอ้อวด เป็นเท็จ เกินจริง แล้วไปใช้ผิดวิธี ไม่ได้ใช้ตามคำแนะนำของ
แพทย์ จนให้เสียชีวิตไปดังที่ปรากฏเป็นข่าวก็มี ดังนั้น ปัญหาที่เกิดจากการซอื้ สินค้าทางอินเตอร์เน็ต
นอกจากที่กล่าวมาแล้ว จึงควบคู่มากับการโฆษณาโอ้อวดเกินจริงเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบธุรกิจที่
ไม่สุจริต หวังแต่เพียงกำไรโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค ดังนั้น ผู้บริโภคที่สั่งซื้อสินค้าผ่าน
อินเตอร์เน็ตต้องระมัดระวังและตระหนักในปัญหาเหล่านี้ให้จงหนัก

๒. ธุรกิจซื้อขายสินค้าทางอินเตอร์เน็ตที่ต้องจดทะเบียน
           ผู้ประกอบธุรกิจที่ทำการค้าขายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลมี
หน้าที่ต้องไปจดทะเบียนต่อ สคบ. ตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.๒๕๔๕ ก่อน จึงจะ
ทำการค้าได้ เหตุที่กฎหมายต้องบังคับให้ต้องจดทะเบียนก็เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐสามารถตรวจสอบหรือ
ติดตามผู้ประกอบธุรกิจหรือบุคคลผู้ค้าขายได้ หากผู้บริโภคถูกละเมิดสิทธิ์จากการซื้อสินค้าหรือบริการ ขอ
ย้ำว่า ผู้ทำการค้าขายสินค้าผ่านสื่อหรืออินเตอร์เน็ตที่ว่านี้ต้องได้รับอนุญาตก่อนจึงจะทำการค้าขายได้ มิใช่
ค้าขายไปก่อนแล้วไปจดทะเบียนภายหลัง (จดก่อนขายมิใช่ขายก่อนจด) โดยแยกบุคคลที่มีหน้าที่ต้องจด
ทะเบียนเพื่อทำการค้าขายผ่านอินเตอร์เน็ตดังนี้

*
ผู้อำนวยการส่วนขายตรงและตลาดแบบตรง สคบ., นบ., นม.(ด้านกฎหมายมหาชน), เนติบัณฑิตไทย,
ประกาศนียบัตรนักกฎหมายมหาชนภาครัฐ รุ่นที่ ๑, ประกาศนียบัตรนักกฎหมายภาครัฐ ระดับกลาง,
ประกาศนียบัตรหลักกระบวนการยุติธรรม รุ่นที่ ๑๑

- ๒ -
          ๑. กรณีเจ้าของเว็บไซต์ที่จดทะเบียนเว็บไซต์ไว้เพื่อขายสินค้าของตนเองก็ดี หรือเป็นคนกลางใน
การนำสินค้าของบุคคลอื่นมาขายผ่านหน้าเว็บไซต์ก็ดี มีหน้าที่โดยตรงในการต้องไปจดทะเบียนต่อ สคบ.
ตัวอย่างเช่น บริษัท เอ จำกัด จดทะเบียนเว็บไซต์ ชื่อ www.I Love Shopping.com
โดยทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการนำสินค้าของบุคคล จำนวน ๑๐๐ รายการ มาขายให้แก่บุคคลทั่วไป กรณี
เช่นนี้ บริษัท เอ จำกัด มีหน้าที่ต้องไปจดทะเบียนต่อ สคบ.ก่อนจึงจะทำการค้าขายได้ ส่วนบุคคลที่เป็น
เจ้าของผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิต หรือผู้นำเข้า ที่เป็นเจ้าของสินค้าจำนวน ๑๐๐ รายการ นั้น หากเจ้าของ
เวบไซต์ดังกล่าว ได้จดทะเบียนธุรกิจตลาดแบบตรงต่อ สคบ.แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องไปจดทะเบียนต่อ สคบ.
อีก ทั้งนี้ เจ้าของเว็บไซต์จะต้องแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดหรือประเภทของสินค้า ชื่อที่อยู่ของเจ้าของ
ผลิตภัณฑ์ วิธีการซื้อขาย เงื่อนไขต่างๆ ให้นายทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงทราบด้วย หากมี
ปัญหาการผิดสัญญาก็ดี สินค้าไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ปลอดภัยก็ดี สคบ.ย่อมสามารถตรวจสอบและติดตาม
ผู้ต้องรับผิดได้

          ๒. กรณีบริษัท ห้างร้าน หรือบุคคลธรรมดา ที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิต ผู้นำเข้า
หรือผู้แทนจำหน่าย หรือผู้ขาย หากจดทะเบียนเว็บไซต์เพื่อค้าขายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นของตนเอง
โดยไม่ผ่านเว็บไซต์ที่เป็นสื่อกลางดังที่กล่าวมาในข้อ ๑. เป็นผู้มีหน้าที่ต้องไปจดทะเบียนการประกอบธุรกิจ
ตลาดแบบตรงต่อ สคบ.โดยตรง
          ตัวอย่างเช่น บริษัท เอ จำกัด เป็นผู้ผลิตสินค้าเครื่องสำอางเพื่อจำหน่าย โดยมีการจำหน่ายผ่านสื่อ
ต่างๆ เช่น สื่ออินเตอร์เน็ต เป็นต้น บริษัท เอ จำกัด ต้องยื่นจดทะเบียนธุรกิจตลาดแบบตรง (ขายสินค้าผ่าน
สื่อ) ก่อน จึงจะทำการจำหน่ายสินค้าผ่านสื่อดังกล่าวได้

          ๓. ธุรกิจตลาดแบบตรง ที่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนต่อ สคบ. ตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาด
แบบตรง พ.ศ.๒๕๔๕ นั้น หมายรวมถึง บุคคลทที่ ำการค้าขายสินค้าผ่านสื่ออื่นๆ ด้วย เช่น สื่อโทรศัพท์
โทรสาร หรือเครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบอื่นๆ
          ตัวอย่างเช่น (๑) บริษัท บี จำกัด เปิดสายด่วนหมายเลข 9999 เพื่อเป็นสื่อกลางหรือเป็นหน้าตัวแทน
นายหน้าในการซื้อขายสินค้าไม่ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ของตนเองหรือผลิตภัณฑ์ของบุคคลอื่นให้แก่ผู้บริโภค
กรณีเช่นนี้บริษัท บี จำกัด มีหน้าที่ต้องไปจดทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงต่อ สคบ.ด้วยเช่นกัน
(๒) นางสาวสวย รูปงาม เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง รวมทั้งผลิตภัณฑ์เสริม
อาหารหลายรายการ จัดให้มีการโฆษณาสินค้าดังกล่าวผ่านโทรทัศน์ดาวเทียม โดยจัดให้มีการโทรศัพท์

- ๓ -
สั่งซื้อสินค้าผ่านรายการด้วย กรณีเช่นนี้ นางสาวสวยฯ มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนธุรกิจตลาดแบบตรงก่อนจึง
จะทำการค้าขายสินค้าผ่านสื่อโทรศัพท์ได้

๓. บทกำหนดโทษสำหรับผู้กระทำการฝ่าฝืน
          ผู้ใดประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง (ค้าขายสินค้าผ่านสื่อ) โดยไม่จดทะเบียนธุรกิจตลาดแบบตรง ต้อง
ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับรายวันอีกวันละไม่
เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ (มาตรา ๔๗ แห่ง พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง
พ.ศ.๒๕๔๕)

๔. ธุรกิจที่ไม่อยู่ในข่ายต้องจดทะเบียน
          บริษัท ห้างร้าน หรือบุคคลธรรมดา ที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิต ผู้นำเข้าหรือผู้แทน
จำหน่าย หรือผู้ขาย ที่ทำการโฆษณาสินค้าผ่านสื่อต่างๆ รวมทั้งสื่ออินเตอร์เน็ตด้วย นั้น หากประสงค์เพียง
โฆษณาสินค้าหรือบริการผ่านสื่อเพียงอย่างเดียว โดยมิได้ประสงค์หรือมุ่งที่จะทำการซื้อขายสินค้าหรือ
บริการผ่านสื่อด้วย แล้ว ไม่มีหน้าที่ต้องไปจดทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงต่อ สคบ.แต่อย่างใด
ธุรกิจประเภทนี้มุ่งที่จะทำการตลาดในลักษณะค้าปลีกหรือค้าส่งเท่านนั้ แต่การโฆษณาสินค้าหรือบริการก็
เพื่อให้บริโภครู้จักมักคุ้นกับชื่อทางการค้าหรือเครื่องหมายการค้า หรือตัวสินค้าเท่านั้น และหากผู้บริโภค
ต้องการจะซื้อสินค้าก็สามารถไปเลือกซื้อได้ที่ร้านจำหน่ายทั่วไป โดยผู้บริโภคสามารถเห็นตัวสินค้า เห็น
ฉลากสินค้า เห็นรายละเอียดต่างๆ ที่ตัวผลิตภัณฑ์นั้นโดยตรง ซึ่งต่างจากการสั่งซื้อสินค้าผ่านสื่อที่ผู้บริโภค
ไม่มีโอกาสได้เห็นตัวสินค้าก่อนที่จะทำการซื้อขาย


ข้อสังเกต
          (๑) ผู้ประกอบธุรกิจที่ทำการค้าขายสินค้าผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งสื่ออินเตอร์เน็ต นั้น
นอกจากมีหน้าที่ต้องจะทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงต่อ สคบ.ตาม พระราชบัญญัติขายตรงและ
ตลาดแบบตรง พ.ศ.๒๕๔๕ แล้ว ยังมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ตามพระราชบัญญัติว่า
ด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.๒๕๔๔ ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าด้วย เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถ
ตรวจสอบการมีตัวตนของผู้ประกอบการได้ มีตัวตนจริงหรือไม่ อยู่ที่ไหน ทำธุรกิจอะไรบ้าง (ต้องจด
ทะเบียนทั้งต่อ สคบ. และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า)

          (๒) กรณีมีข้อสงสัย หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สคบ. หมายเลขโทรศัพท์
๐-๒๑๔๓ - ๐๓๖๔- ๗ หรือสายด่วน ๑๑๖๖
------------------------------------------------------------------------
โค๊ด:
http://www.ocpb.go.th/download/pdf/a8.pdf







*************************************
แนะนำเปิดขายของออนไลน์

สร้างความมั่นใจแก่ลูกค้าต้องจด1ทะเบียนกับทาง สคบ. ก่อน


          เป็นคดีกระช่อนทางโลกออนไลน์อีกแล้วสำหรับกรณีซื้อสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตแต่ไม่ได้ของ กับคนดังในเว็บไซต์ Pantipที่หลอกขายของซึ่งเป็นสินค้าแบรนด์เนมสุดหรู ไม่ว่าจะเป็น กระเป๋า นาฬิกา และเครื่องสำอางราคาตั้งแต่หลักพัน ไปถึงหลักแสน โดยกลโกงจะเริ่มจากให้ลูกค้าสั่งสินค้าผ่านทางเฟซบุ๊ก และทางไลน์ โดยระบุว่าสั่งของพรีออร์เดอร์รอสินค้าประมาณ 2-3 อาทิตย์ แต่เอาเข้าจริงผ่านมา 4-5 เดือนก็ยังไม่ได้ของ พอลูกค้าทวงถาม ผู้ขายก็กลับบ่ายเบี่ยง ซึ่งสาเหตุก็มาจากการที่ผู้ขายนำเงินที่ลูกค้าโอนไปใช้จ่ายก่อน แล้วก็ใช้วิธีให้ลูกค้าอีกคนหนึ่งโอน เพื่อนำเงินไปใช้คืนให้กับลูกค้าก่อนหน้า จนลูกค้าออกมาตั้งกระทู้ผ่านเว็บไซต์pantip และได้รวมรวบผู้เสียหายกว่า 10 คนเข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยรวมยอดเงินของผู้เสียหายนับสิบล้านเลยทีเดียว

          นี่นับเป็นกรณีตัวอย่างที่ผู้บริโภคพึงระวังเมื่อจะสั่งซื้อของผ่านทางอินเตอร์ เพราะจะใช้เพียง
ความไว้วางใจคงไม่ได้ เพราะหากถูกหลอกลวงก็จะต้องมานั่งเสียเวลาขึ้นโรงขึ้นศาลเพื่อเรียกร้องความเสียหายที่เกิดขึ้น รวมถึงในส่วนของผู้ประกอบธุรกิจที่คิดจะขายสินค้าผ่านเว็บไซต์ก็จะต้องสร้างความไว้วางใจ และน่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภคด้วยเนื่องจากการซื้อขายสินค้าทางอินเทอร์เน็ตเข้าข่าย1การประกอบธุรกิจ “ตลาดแบบตรง"1หมายความว่าการทำตลาดสินค้าหรือบริการในลักษณะของการสื่อสารข้อมูลเพื่อเสนอขายสินค้าหรือบริการโดยตรงต่อผู้บริโภคซึ่งอยู่ห่างโดยระยะทางและมุ่งหวังให้ผู้บริโภคแต่ละรายตอบกลับเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ ตลาดแบบตรงนั้น ซึ่งกฎหมายกำหนดให้1ผู้ประกอบการต้องทำการจดทะเบียนกับทาง สคบ. ก่อนที่จะเริ่มประกอบการ1 ตาม1พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง1 ทั้งนี้เพื่อจะได้มีตรวจสอบและติดตามผู้ประกอบการหรือผู้ขายได้ หากมีการร้องเรียนเกิดขึ้นเมื่อผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรมไม่ว่าจะเป็นในกรณีการไม่ได้รับสินค้าหรือสินค้าไม่ได้มาตรฐานหรือมีการโฆษณาสรรพคุณเกินจริงหรือสินค้าชำรุดเสียหาย หรือติดต่อผู้ขายไม่ได้ เป็นต้น

          สำหรับขบวนการและขั้นตอนการจดทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง ให้ยื่นเอกสารสำหรับการยื่นคำขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงได้ที่ สคบ. ซึ่งประกอบด้วย สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน /สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนและวัตถุประสงค์นิติบุคคล /สำเนาหนังสือบริคณหสนธิและสำเนาบัญชีผู้ถือหุ้น / สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคล (กรณีผู้ยื่นคำขอเป็นนิติบุคคล) /สำเนาสัญญาเช่าหรือการขอใช้พื้นที่ แผนที่ตั้ง ภาพถ่ายสถานที่ติดต่อของสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขา (ถ้ามี) / หนังสือมอบอำนาจระบุอำนาจหน้าที่ของผู้รับมอบอำนาจอย่างชัดเจน (กรณีให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอ) /สินค้าหรือบริการที่ต้องการนำเสนอขายรวมถึงเอกสารหลักฐานแสดงที่มาของสินค้าหรือบริการ /เอกสารหลักฐานการได้รับอนุญาตจากเจ้าของหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือตามที่กฎหมายกำหนดในสินค้าหรือบริการ (ถ้ามี)

          ในส่วนของคำอธิบายวิธีการขายสินค้าหรือบริการซึ่งรวมถึงตัวอย่างขอความที่ใช้ในการสื่อสาร
เพื่อเสนอขายสินค้าหรือบริการนั้น ทั้งนี้ข้อความดังกล่าวจะต้องมีการระบุถึงข้อความต่อไปนี้ปรากฏอยู่ด้วยได้แก่ / วิธีการสั่งจองหรือสั่งซื้อสินค้าหรือบริการ /วิธีการชำระเงินของผู้บริโภค /วิธีการสั่งสินค้า/ ตัวอย่างเอกสารการซื้อขาย (ใบเสร็จรับเงิน)
กรณีสงสัย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 021413420-23, 021430364-47
*************************************
โค๊ด:
http://www.ocpb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=3627&filename=all_multimedia






Update...
K. nanjaow
 
- ส่วนขายตรงและตลาดแบบตรง       
โทร 0-2143-0365-67
โทรไปถามเจ้าหน้าที่ ที่เบอร์นี้เค้าบอกมาว่ากรณีที่ ผู้ขาย มีสินค้า(เป็นคนขายสินค้านั้นโดยตรง) มีเว็บ ลงรูปลงราคาหรืออะไรก็แล้วแต่ที่จะส่งผลให้ผู้ซื้ออ่านแล้วตัดสินใจซื้อ ตรงนี้ จัดเป็นการตลาดแบบตรง คุณต้อง ขึ้นทะเบียนที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และไปจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิค แล้วยื่นคำร้องเพิ่มว่าธุรกิจของเราเป็นการตลาดแบบตรง เสร็จแล้วค่อยมาขึ้นทะเบียนที่  สคบ.
เอกสารที่ใช้ในการยื่นมีดังนี้
http://www.ocpb.go.th/ewt_news.php?nid=779
ต้องไปยื่นจดที่ สคบ แจ้งวัฒนะ ที่เดียวเท่านั้น

และธุรกิจ ecommerce จะมีรายละเอียดปลีกย่อยเรื่อง การใช้งานฉลากผลิตภัณฑ์ เพิ่มเข้ามาอีก อันไหนใช้ได้ หรือห้ามใช้ซึ่งต้องติดต่อกับกองฉลาก ที่มีสำนักงานที่ตั้ง ที่เดียวกันกับ สคบ

เราเลยพูดต่อไปอีกว่า การตลาดส่วนใหญ่มันก็แบบตรงทั้งนั้น ตั้งแต่ข้าวแกงตลาดสดยัน ป้ายโฆษณาชวนเชื่อ สื่อทีวีหนังสือพิมพ์ แล้วแบบนี้มาแห่กันจดทั้งหมดมันจะไม่มากไปหน่อยเหรอ สคบ.
เขาก็อ้างกฏหมาย จบ!





K. Babybinge
มีหลักฐานล่าสุดที่พบว่า ทาง สคบ. ตีความว่า การตลาดแบบตรง เป็นอีคอมเมิร์ซ ก็จะมีเอกสารนี้
สถิติการจดทะเบียนธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง
ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๕ ถึงปัจจุบัน

(๑) การจดทะเบียนการประกอบธุรกิจ
๑.จำนวนผู้ประกอบธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรงที่ได้รับการจดทะเบียน
ขายตรง
(๒) การจดทะเบียนการประกอบธุรกิจ จำนวน ๖๑๓ ราย
ตลาดแบบตรง
จำนวน ๒๑๖ ราย

๒.การยื่นคำขอ/รับจดทะเบียนการประกอบธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง
(ตั้งแต่ มกราคม ๒๕๕๒-กันยายน ๒๕๕๓)
...
๓. ปัญหาข้อร้องเรียนเกี่ยวกับธุรกิจตลาดแบบตรง (สั่งซื้อสินค้าทางอินเตอร์เน็ต)
          (๑) โอนเงินชำระค่าสินค้าแล้ว แต่ไม่ได้รับสินค้า
          (๒) โอนเงินชำระค่าสินค้าแล้ว แต่ได้รับสินค้าชำรุดบกพร่อง เสื่อมคุณภาพหรือไม่ได้มาตรฐาน หรือได้รับสินค้าไม่เป็นไปตามที่โฆษณาหรือประกาศ
          (๓) มีการหลอกลวงให้ซื้อสินค้า แต่ไม่มีสินค้าอยู่จริง เป็นเหตุให้ผู้ซื้อต้องสูญเสียเงินเพื่อชำระค่าซื้อสินค้า (ซื้อสินค้า ไม่ได้สินค้า)
          (๔) ไม่สามารถติดต่อกับผู้ขายตามหมายเลขโทรศัพท์ที่แจ้งได้
โค๊ด:
http://www.ocpb.go.th/download/pdf/a11.pdf

เป็นเอกสาร สถิติการจดทะเบียนธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง ตั้งแต่ พ.ศ. 2545 (ปีที่เริ่มประกาศใช้พรบ.) จนถึงปัจจุบัน

ซึ่งคำว่า ปัจจุบันในเอกสารนี้ น่าจะเป็น เดือนกันยายน 2553


ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่า สคบ. เริ่มตีความให้ ธุรกิจอีคอมเมิร์ซเป็นการตลาดแบบตรง มาตั้งแต่ 3ปีที่แล้ว

แล้วเวลาที่ผ่านมา ก่อนหน้านั้น คือ ตั้งแต่ 2545 จนถึง 2552 เหตุใดจึงไม่มีการตีความเช่นนี้

และหลังจาก กันยายนปี 2553  สคบ. ทำอะไรอยู่ เหตุใดจึงไม่ประกาศออกสื่อว่า ขณะนี้มีการตีความใหม่แล้ว ให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซเป็นการตลาดแบบตรง

ให้ผู้ประกอบธุรกิจอีคอมเมิร์ซทุกคนต้องมาขึ้นทะเบียนกับทาง สคบ. ไม่เช่นนั้นจะมีความผิดตาม พรบ.ขายตรงและการตลาดแบบตรง

เป็นที่น่าสงสัยยิ่งนัก

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 กันยายน 2013, 20:05:54 โดย น้องดราก้อน » บันทึกการเข้า
address
สมุนแก๊งเสียว
*

พลังน้ำใจ: 33
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 936



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 15 กันยายน 2013, 15:57:53 »

แบบนี้ต้องปิดถนน  wanwan004
บันทึกการเข้า

Dew2524
สมุนแก๊งเสียว
*

พลังน้ำใจ: 55
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 891



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 15 กันยายน 2013, 17:59:37 »

โหดจัง Tongue
บันทึกการเข้า

Babybinge
Verified Seller
หัวหน้าแก๊งเสียว
*

พลังน้ำใจ: 139
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,120



ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 15 กันยายน 2013, 18:17:26 »

ในที่สุดก็ได้ข้อสรุปแล้วนะครับ

ต้องจดทุกคน นอกจากจะเป็นแค่เว็บ information ให้ข้อมูลอย่างเดียว ไม่ใช่เว็บขายสินค้า

ถ้ามี shopping cart ถือว่าเข้าข่ายทั้งหมดนะครับ
บันทึกการเข้า
cotton
สมุนแก๊งเสียว
*

พลังน้ำใจ: 39
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 912



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 15 กันยายน 2013, 18:17:43 »

จะค้าจะขายเรื่องแบบนี้ต้องสืบเอาเองเนอะ
อยู่ดีๆนึกอยากจะปรังพวกเมิงก็ออกกฏหมายมาปรับกันหน้าตาเฉย เข้าใจนะว่ามันมีกระบวนการออกกฏหมายว่าไม่ได้ออกกับลับๆ
แต่คนเค้าเปิดเว็ปค้าขายกันทั่วบ้านทั่วเมือง มีคนรู้กี่คน
แล้วจะไม่ออกมาบอกกล่าวกันหน่อยเหรอ
 เดี๋ยวอีกหน่อยใครขายไม้เทนนิส จะต้องไปจดทะเบียนแจ้งกระทรวงกีฬาและการท่องเที่ยวอีกเรอะ  wanwan005


แล้วไอ้สคบ.เนี่ยมันมีสาขามากมายเหมือน 7-11 ว่างั้นเหอะ คนอยู่เชียงราย เชียงใหม่ ยะลา ประจวบ เวียงจันทร์ มาดริด ลอนดอน
ต้องระเห็ดมาจดที่ สคบ.เหรอ Tongue
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 กันยายน 2013, 18:21:34 โดย cotton » บันทึกการเข้า

pizzgivme
ก๊วนเสียว
*

พลังน้ำใจ: 98
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 439



ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 15 กันยายน 2013, 18:20:47 »

http://www.ocpb.go.th/ewt_dl_l...27&filename=all_multimedia
บันทึกการเข้า
Babybinge
Verified Seller
หัวหน้าแก๊งเสียว
*

พลังน้ำใจ: 139
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,120



ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 15 กันยายน 2013, 18:43:12 »

มีข้อสงสัยนิดนึงครับ เอกสารอ้างอิงที่ทาง สคบ. จัดทำขึ้นมานี้

ได้จัดทำขึ้นมาเมื่อไหร่ครับ เพราะพรบ.นี้ เป็นพรบ.ปี 2545 ประกาศใช้ มา 11 ปีแล้ว

ถ้าเอกสารดังกล่าวเพิ่งจัดทำขึ้น อยากทราบว่าจัดทำเมื่อไหร่ครับ

แล้วจะเท่ากับว่าเป็นบทบัญญัติเพิ่มเติมของกฎหมายหรือไม่ และต้องผ่านสภาก่อนประกาศในราชกิจานุเบกษาหรือไม่ครับ

หรือให้มีผลทันทีเมื่อวันที่เท่าไหร่ ปีไหน

เพราะโดยปกติหากมีการแก้ไข หรือเพิ่มเติม หรือตีความเพิ่มเติม ต้องมีการประกาศในราชกิจานุเบกษา ต้องไปผ่านกระบวนการทางสภาก่อน

จึงอยากทราบว่าทาง สคบ. ได้จัดทำเอกสารดังกล่าวเมื่อไหร่ แล้วจะให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อไหร่ รวมถึงให้เวลาเจ้าของร้านค้าออนไลน์ที่ไม่ทราบเรื่องได้มาจดทะเบียนถึงเมื่อไหร่

ผมค่อนข้างมั่นใจว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ที่ยังไม่มีใครรู้

ซึ่งถ้าเป็นการประกาศใหม่ กฎหมายโดยปกติจะไม่ให้โทษย้อนหลัง  

ดังนั้นจึงอยากสอบถามว่า มีการประกาศบังคับใช้อย่างเป็นทางการเมื่อไหร่ครับ  เพราะเท่าที่อ่านจากเอกสารนี้

โค๊ด:
http://www.ocpb.go.th/download/pdf/a8.pdf

เหมือนว่าเพิ่งจะเขียนมาไม่นาน


เอาข้อสงสัยข้อแรกก่อนนะครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 กันยายน 2013, 19:18:22 โดย Babybinge » บันทึกการเข้า
izeed
ก๊วนเสียว
*

พลังน้ำใจ: 16
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 370



ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 15 กันยายน 2013, 18:45:56 »

ซื้อของผ่านเว็บไซต์ ต้องระวังอะไรบ้าง??? คำเตือนจาก สคบ.

ป้องกันการโดนหลอกจากการซื้อสินค้าผ่านสื่อออนไลน์ ทำอย่างไร?

ผู้บริโภคควรให้เวลากับการศึกษาข้อมูลของสินค้า ความน่าเชื่อถือของผู้ขายและสินค้าที่ขายก่อนการตัดสินใจซื้อ โดยมีวิธีการง่าย ๆ คือ

1. ตรวจสอบเว็บไซต์ของร้านค้าว่ามีการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือไม่

การตรวจสอบนี้จะทำให้ผู้บริโภคสบายใจได้ในระดับหนึ่ง เพราะการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ผู้จดต้องเป็นเจ้าของร้านค้าออนไลน์ ต้องมีการระบุข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ เพื่อขอขึ้นจดทะเบียน ซึ่งถ้าหากเป็นมิจฉาชีพคงจะไม่อยากแสดงตัวตนให้ผู้อื่นรู้ สังเกตได้จากหน้า Contact Us ในการจดทะเบียนผู้ขายจะได้รับเลขรหัสทะเบียน และจะมีการแสดงสัญลักษณ์ทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

2. เลือกร้านค้าที่มีเสียงตอบรับในทางที่ดี

วิธีสังเกตง่าย ๆ คือร้านค้าที่มีเสียงตอบรับที่ดี ให้ดูจากหน้ากระทู้ (Webboard) หรือจำนวนการส่งสินค้า การรีวิว (Review) จากลูกค้าที่สั่งซื้อสินค้าจากทางร้านว่าเป็นอย่างไร

3. เลือกซื้อสินค้าในเว็บไซต์ที่มีอายุการขายอย่างน้อย 1 ปี

โดยผู้บริโภคสามารถตรวจสอบได้ง่าย ๆ ผ่านทาง http://www.seologs.com/dns/domain-check.html โดยการใส่ชื่อเว็บไซต์นั้น ๆ ลงไป

4. ตรวจสอบการตอบคำถามของผู้ขาย

สามารถตรวจสอบได้จากการตอบคำถามในกระทู้ ว่าผู้ขายหมั่นตอบคำถามของลูกค้าหรือไม่ มีการตอบคำถามอย่างไร และเอาใจใส่ลูกค้าหรือไม่ หากในกระทู้มีลูกค้าเข้ามาคุยเป็นจำนวนมาก แล้วผู้ขายมีการให้ความใส่ใจในการตอบคำถามของลูกค้าที่ดี ผู้บริโภคก็สามารถมั่นใจได้ในระดับหนึ่งว่าปลอดภัย

5. ดูเงื่อนไขการรับประกันสินค้าหรือบริการหลังการขาย

เนื่องจากการซื้อสินค้าผ่านทางเว็บไซต์ หากสินค้ามีปัญหาไม่ว่าจะเป็นการส่งที่ผิดพลาดหรือสินค้าไม่ได้มาตรฐาน ทางร้านจะมีการรับประกันหรือสามารถเปลี่ยนหรือคืนสินค้าได้หรือไม่ ระยะเวลาในการรับประกันมีมากน้อยเพียงใด หากทางผู้ขายไม่ได้ระบุไว้ ผู้บริโภคก็ควรถามให้เข้าใจ และชัดเจนก่อนการตัดสินใจซื้อ ซึ่งในทางที่ดีควรสอบถามผ่านทางเว็บบอร์ด หรืออีเมล เพื่อจะได้มีหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และไม่ควรตกลงซื้อขายกันทางโทรศัพท์

6. สินค้าที่สนใจจะซื้อไม่ควรเป็นสินค้าที่ผิดกฎหมาย

เช่น ซีดีเถื่อน สินค้าปลอม สินค้าผิดกฎหมาย หรือสินค้าที่มีราคาสูงมาก ๆ ถ้าไม่ใช่สินค้าพวกนี้ก็ไม่ต้องกังวลใจมากมาย เพราะปัญหาส่วนใหญ่จะเกิดกับสินค้าประเภทพวกนี้

ทั้ง 6 วิธีข้างต้นนี้เป็นเพียงบางส่วนที่จะช่วยป้องกันการโดนหลอกจากมิจฉาชีพ แต่วิธีที่ดีที่สุดคือการให้เวลากับการตรวจสอบร้านค้าหรือสินค้า เพราะการเสียเวลานิดหน่อยก็จะช่วยเพิ่มความมั่นใจในการซื้อสินค้าออนไลน์ให้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคหากมีความสงสัยเกี่ยวกับระบบการสั่งซื้อสินค้าบนธุรกิจออนไลน์และจำเป็นต้องชำระเงินโดยผ่านบัตรเครดิตหรือโอนเงินเพื่อชำระค่าสินค้านั้น ก็ให้สังเกตสัญลักษณ์ DBD ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าด้วย

หากผู้บริโภคท่านใดถูกหลอกลวงจากการซื้อสินค้า และบริการแบบออนไลน์ผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต หรือพบเบาะแสเกี่ยวกับเรื่องนี้ ขอให้แจ้งมายัง สคบ.ได้เลย โดยสามารถร้องเรียนผ่านช่องทางต่าง ๆ ทั้งทางระบบร้องเรียนออนไลน์ที่ www.ocpb.go.th หรือที่คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัดในจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ เทศบาล อบต. รวมถึงศูนย์ กศน. ตำบล หรือสายด่วน สคบ. 1166” เลขาธิการ สคบ.กล่าวทิ้งท้าย.

แหล่งข้อมุล

เตือนปชช.!ซื้อของผ่านเว็บไซต์ต้องระวังตรวจกันสักนิดไม่งั้นเสียทั้งเงินและความรู้สึก,วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม 2556 ,http://www.dailynews.co.th/thailand/223833

ที่มา
http://www.oknation.net/blog/DIVING/2013/08/05/entry-2

ถ้าข่าวนี้ สคบ เป็นคนออกมาจริง ทำไม ไม่แจ้งว่าต้องจดกับ สคบ ด้วย
แต่เน้นให้สังเกตสัญลักษณ์ DBD ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

 wanwan044 wanwan044

แล้วทำไม ฐานข้อมูลใน ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ถังเบ้อเร้อ ทำไม สคบไม่ดึงมาใช้ หรือทำงานร่วมกัน
เหล่าร้านค้าออนไลน์ที่จดอยู่แล้วก็ไม่ต้องทำอะไรเลย
ร้านค้าที่ไม่ได้จดก็ไปดำเนินการจดกับ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่เดียว
แล้วจะบังคับกฏหมายปรับแสนปรับล้านก็ว่าไป

 wanwan044 wanwan044
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 กันยายน 2013, 18:47:42 โดย izeed » บันทึกการเข้า

Free EA Forex Free VPS ง่ายๆ สนใจทัก
thaimakemoney
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
*

พลังน้ำใจ: 240
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,145



ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 15 กันยายน 2013, 18:47:47 »

เกาะติดก่อน
บันทึกการเข้า

amill
คนรักเสียว
*

พลังน้ำใจ: 11
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 133



ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 15 กันยายน 2013, 18:48:48 »

สรุปแล้ว คือ ต้องไปจด 2 ที่ คือทะเบียนพาณิชย์กับ สคบ.ใช่ไหมค่ะ
บันทึกการเข้า
Babybinge
Verified Seller
หัวหน้าแก๊งเสียว
*

พลังน้ำใจ: 139
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,120



ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 15 กันยายน 2013, 18:56:19 »

ลองค้นหา ชื่อ นายสุวิทย์ วิจิตรโสภา

มีตำแหน่งเป็น นิติกรชำนาญการพิเศษ หัวหน้าฝ่ายรับเรื่องราวร้องทุกข์ กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา

ไม่ใช่อธิบดีสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค

ดังนั้นจึงอยากสอบถามว่า บทความที่ท่าน นิติกรชำนาญการพิเศษ หัวหน้าฝ่ายรับเรื่องราวร้องทุกข์ กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา

เขียนขึ้น จะมีผลบังคับใช้ทางกฎหมายประการใดครับ


ที่ต้องถามเพราะว่า ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซไม่มีความรู้และไม่ทราบมาก่อนว่า การตลาดแบบตรง หมายรวมถึง การค้าขายผ่านระบบอีคอมเมิร์ซด้วย

เพราะด้วยความเข้าใจว่า มีพรบ.พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คุ้มครองในการทำธุรกรรมต่างๆอยู่แล้ว

ซึ่งในทางกฎหมาย หากกฎหมายไม่ได้ระบุไว้ ในปี พ.ศ.2545 ว่าการตลาดแบบตรงหมายรวมถึงการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยแล้วนั้น

อยู่มาวันนึงในปี พ.ศ.2556 เมื่อมีเรื่องร้องเรียนมากขึ้น จึงนำเรื่องการตลาดแบบตรงมาผูกรวม โดยอาศัยการตีความใหม่ แล้วให้มีผลบังคับใช้ โดยไม่ได้ประกาศใช้หรือแจ้งให้ประชาชนทราบผ่านสื่อต่างๆ

ซึ่งเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่จะต้องปฏิบัติตาม พรบ.ข้อมูลข่าวสาร


ข้อที่ 2 ที่อยากจะถามคือ บทบัญญัติเพิ่มเติม ที่มีการตีความเพิ่มนี้ มีการแก้ไข เพิ่มเติมลงใน พรบ.ฉบับนี้แล้วหรือยัง

ถ้ายังแล้ว การประกาศใช้โดยอาศัยเอกสารจาก ท่านนิติกรชำนาญการพิเศษ หัวหน้าฝ่ายรับเรื่องราวร้องทุกข์ กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา

จะมีผลบังคับใช้ตามกฎหมายหรือไม่อย่างไร ขัดต่อข้อกฎหมายข้อไหนหรือไม่ครับ



เพราะตามหลักของกฎหมายให้ยึดตามตัวหนังสือที่บัญญัติไว้เท่านั้น หากมีช่องว่างที่ต้องมีการตีความไปได้หลายๆแบบ

ตรงนี้จะเรียกว่าช่องโหว่ของกฎหมาย ซึ่งส่วนใหญ่จะยกประโยชน์ให้จำเลยนะครับ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 กันยายน 2013, 19:18:38 โดย Babybinge » บันทึกการเข้า
mahatang
หัวหน้าแก๊งเสียว
*

พลังน้ำใจ: 47
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,117



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 15 กันยายน 2013, 18:58:28 »

ขอบคุณมากครับ
บันทึกการเข้า

Babybinge
Verified Seller
หัวหน้าแก๊งเสียว
*

พลังน้ำใจ: 139
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,120



ดูรายละเอียด
« ตอบ #12 เมื่อ: 15 กันยายน 2013, 19:23:45 »

ลองค้นหาเพิ่มเติมในเว็บไซต์ของ สคบ. แล้วนะครับ

http://www.ocpb.go.th/ewt_news.php?nid=3193

ในแท็ปเมนู กฎหมาย ตั้งแต่เมนู

พระราชบัญญัติ
พระราชกฤษฎีกา
กฎกระทรวง
คำสั่ง
ประกาศ
ระเบียบ

ไม่มีบทบัญญัติใด ที่แก้ไข หรือเพิ่มเติม ว่า ให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ หรือ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการตลาดแบบตรงเลยนะครับ

จึงต้องขอสอบถามว่า อาศัยอำนาจตามข้อกฎหมายใด จึงตีความ และ ประกาศ ให้มีผลบังคับใช้ครับ

และ ประกาศ โดยใคร และให้มีผลบังคับใช้เมื่อไหร่ครับ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 กันยายน 2013, 19:26:19 โดย Babybinge » บันทึกการเข้า
ninjaball
สมุนแก๊งเสียว
*

พลังน้ำใจ: 5
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 602



ดูรายละเอียด
« ตอบ #13 เมื่อ: 15 กันยายน 2013, 19:28:53 »

.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 มิถุนายน 2019, 12:37:19 โดย ninjaball » บันทึกการเข้า

monkeyz
ก๊วนเสียว
*

พลังน้ำใจ: 22
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 466



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 15 กันยายน 2013, 19:35:13 »

เข้ามาติดตามครับ
บันทึกการเข้า

"คน" ต่อให้สูงแค่ไหนก้อยังเป็น "คน"
บริการสูบส้วม
botnick
สมุนแก๊งเสียว
*

พลังน้ำใจ: 60
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 686



ดูรายละเอียด
« ตอบ #15 เมื่อ: 15 กันยายน 2013, 19:37:06 »

 wanwan015 แล้วตาม fb  เพื่อนผม เด็ก ชลหญิง ม.1 - ม.6 ขายกันทั่งนั่น  wanwan004 wanwan004 wanwan004
บันทึกการเข้า
deebedding
หัวหน้าแก๊งเสียว
*

พลังน้ำใจ: 199
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,784



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: 15 กันยายน 2013, 19:42:49 »

เข้ามาดูข้อมูลด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า

kobesilk
สมุนแก๊งเสียว
*

พลังน้ำใจ: 84
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 676



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #17 เมื่อ: 15 กันยายน 2013, 19:54:41 »

 wanwan023 

สงสัยว่างจัด  เห็นด้วยกับท่านที่บอกว่า กรมการค้าพานิช เค้าก็จดอยู่แล้ว ทำไมไม่เอาข้อมูลตรงนี้มาใช้เล่าาาาาาาา

ถอยหลังเข้าคลองตามเดิม  wanwan014
บันทึกการเข้า

เปิดแล้ว ModifyWordPressCourse.com - สอนการสร้างธีม และแก้ไขธีม WordPress อย่างถูกวิธี  เรียนจบทำเว็บได้เลย   

เรียนแล้วจะปรับแก้ธีมได้ทุกอย่างแบบถูกต้อง พร้อมวิธีลัด และเทคนิคที่ใช้ทำเว็บให้ลูกค้า   และสอนการเป็น Freelance พร้อมเครื่องมือที่จะทำให้ชีวิตคุณง่ายขึ้นมาก สอน wordpress theme แก้ธีมได้ดั่งใจ



ไปดูตัวอย่าง ธีม เทพ ๆ ได้ที่นี่ (ดีไซน์ง่าย ๆ แต่ขายได้)
kisdsjams
ก๊วนเสียว
*

พลังน้ำใจ: 27
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 491



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #18 เมื่อ: 15 กันยายน 2013, 20:02:33 »

ลองค้นหาเพิ่มเติมในเว็บไซต์ของ สคบ. แล้วนะครับ

http://www.ocpb.go.th/ewt_news.php?nid=3193

ในแท็ปเมนู กฎหมาย ตั้งแต่เมนู

พระราชบัญญัติ
พระราชกฤษฎีกา
กฎกระทรวง
คำสั่ง
ประกาศ
ระเบียบ

ไม่มีบทบัญญัติใด ที่แก้ไข หรือเพิ่มเติม ว่า ให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ หรือ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการตลาดแบบตรงเลยนะครับ

จึงต้องขอสอบถามว่า อาศัยอำนาจตามข้อกฎหมายใด จึงตีความ และ ประกาศ ให้มีผลบังคับใช้ครับ

และ ประกาศ โดยใคร และให้มีผลบังคับใช้เมื่อไหร่ครับ




ขอบคุณครับ
ผมเข้าไปอ่านมา เท่าที่จับใจความได้กฏหมายฉบับนี้คล้าย ๆ ถูกออกแบบมาเพื่อคุ้มครอง ผู้บริโภค ที่อาจถูกหลอกโดยการขายสินค้า ที่ไม่มีสินค้าหรือสินค้าที่โฆษณาชวนเชื่อเกินความเป็นจริง การแชร์ลูกโซ่ เครือข่าย หลอกเก็บค่าสมัครอะไรมากกว่า ไม่เห็นกล่าวถึงการค้าปลีก-ส่ง ทั่วไปเลย
ซึ่งถ้ากล่าวถึงการค้าปลีก-ส่ง หรือ e-commerce ถ้าจะให้จดทะเบียนคงต้องออกกฏหมายฉบับใหม่มากกว่า ถ้ามีกฏหมายออกมาจริง ผมเชื่อว่าผู้ค้าที่ค้าขายอย่างขาวสะอาด ไม่มีใครไม่ยินดีต้อนรับ

ไม่รู้ว่าหมอที่ร่างหนังสือขึ้นมาใหม่เขาคิดยังไง ต้องรอดูหมอต่อไป

เป็นการง่ายยิ้มได้ไม่ต้องฝืน เมื่อชีพย์ชื่นเหมือนบรรเลงเพลงสวรรค์
แต่คนที่ควรชมนิยมกัน     ต้องใจมั่นยิ้มได้เมื่อภัยมา
 :'( อิ อิ
บันทึกการเข้า


ขายหมึกแท้และหมึกเทียบเท่า ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ ราคายุติธรรม
fullwave
คนรักเสียว
*

พลังน้ำใจ: 22
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 192



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #19 เมื่อ: 15 กันยายน 2013, 20:05:07 »

โหดร้ายมาก
บันทึกการเข้า

ร้านเสื้อผ้าชายหญิงแนวเกาหลีอินเทรนด์
ส่งลงทะเบียนฟรีทุกชิ้น
มีทั้งพร้อมส่งและพรีออเดอร์ สะดวกสบาย รอรับถึงบ้าน
หน้า: [1] 2 3 ... 9   ขึ้นบน
พิมพ์