ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

ThaiSEOBoard.comความรู้ทั่วไปGeneral (ถามคุยวิชาการ IM) (เกาะติดเล่นเน็ตทุกคลิ๊กเสียงเสียตังค์) THAI รอดแล้ว ไม่ลงมติเรื่องนี้แล้ว!! และเป็นเรื่องดี
หน้า: [1]   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: (เกาะติดเล่นเน็ตทุกคลิ๊กเสียงเสียตังค์) THAI รอดแล้ว ไม่ลงมติเรื่องนี้แล้ว!! และเป็นเรื่องดี  (อ่าน 1629 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
chababaan
ก๊วนเสียว
*

พลังน้ำใจ: 47
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 372



ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 18 ธันวาคม 2012, 11:14:22 »

   
 (เกาะติดเล่นเน็ตทุกคลิ๊กเสียงเสียตังค์) THAI รอดแล้ว ไม่ลงมติเรื่องนี้แล้ว!! และเป็นเรื่องดีที่มีมติเรื่อง สิทธิมนุษยชน      
ประเด็นหลัก

“ที่ประชุมยังไม่มีการบรรจุเรื่องนี้ไว้ในข้อความตกลงใดๆ ด้วยเหตุนี้ประเด็นเรื่อง ICT และ Internet จึงสามารถยุติลงได้โดยนำประเด็นเรื่องนี้ใส่ไว้ใน Resolution ซึ่งถือเป็นความสำเร็จของกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ( ITU) รวมทั้งไทย ที่แสดงท่าทีชัดเจนมาโดยตลอดว่า ไม่ประสงค์จะขยายคำจำกัดความของโทรคมนาคม ให้รวมถึงประเด็นเรื่อง ICT และ Internet จึงถือเป็นความสำเร็จของคณะผู้แทนไทยที่มีส่วนร่วมในการผลักดันในเรื่องนี้ ทำให้สามารถที่จะคุ้มครองประโยชน์ของผู้บริโภคในประเทศไทยได้เป็นผลสำเร็จ”



สำหรับประเด็นนี้ ดร.สุทธิพล มีความเห็นว่า ปัจจุบันโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อประชาชน ดังนั้น กฎ กติกา และการกำกับดูแล จึงจำเป็นต้องมีความชัดเจน และประชาชนในทุกประเทศ รวมทั้งประเทศไทยจะต้องมีสิทธิเสรีภาพในการใช้บริการโทรคมนาคม ควบคู่ไปกับการได้รับการปกป้องในสิทธิพื้นฐานของตน โดยประเทศไทยได้เคารพกติกาสากลขององค์การสหประชาชาติเรื่องสิทธิมนุษยชนมาโดยตลอด จึงควรสนับสนุนการบรรจุเรื่องสิทธิมนุษยชนไว้ในอารัมภบท

โดยในการถกเถียงประเด็นนี้ที่ประชุมใหญ่ไม่สามารถตกลงกันได้โดยฉันทามติ ทางตัวแทนประเทศอิหร่าน จึงเสนอให้มีการตัดสินด้วยการลงมติในประเด็นนี้ โดยที่ประชุมได้ลงคะแนนลับโดยผลปรากฏว่า เสียงข้างมากจำนวน 77 เสียงเห็นชอบให้บรรจุเรื่องสิทธิมนุษยชนไว้ในอารัมภบท ของ ITRs นับเป็นความสำเร็จอีกครั้งหนึ่งของประเทศไทยในการประชุมครั้งนี้ ที่มีส่วนทำให้หลักเกณฑ์โทรคมนาคมระหว่างประเทศต้องคำนึงถึงหลักการพื้นฐาน ในเรื่องสิทธิมนุษยชน


___________________________________

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ ฐานะผู้แทนไทยบนเวทีWCIT-12 คัดค้านรวม‘ไอซีที-อินเตอร์เนต’


"การรวมเอา ICT และ internet เข้าไว้ในคำจำกัดความของ Telecommunicationsจะขัดต่อหลักเสรีภาพในการสื่อสาร และการเข้าถึงข้อมูลบนอินเตอร์เนต"

การประชุม World Conference on International Telecommunications 2012 (WCIT-12) ณ เมืองดูไบ ที่เพิ่งปิดฉากลง สดๆ ร้อนๆ ดูเหมือนว่า กลุ่มประเทศพัฒนาปะทะกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ช่วงชิงความได้เปรียบในการกำหนดกติกาโทรคมนาคมฉบับใหม่



โดย จีน รัสเซีย และกลุ่มประเทศในแถบตะวันออกกลาง ฯลฯ เสนอรวมเอาไอซีที (ICT) และอินเตอร์เนต (internet) เข้าไว้ใน

คำจำกัดความของโทรคมนาคม?(Telecommunications) ขณะที่ผู้แทนระดับสูงของกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงความมั่นคงของสหรัฐ รวมทั้งไทยคัดค้าน

“ไทยได้แสดงท่าทีชัดเจนมาโดยตลอดว่าไม่ประสงค์จะขยายคำจำกัดความของโทรคมนาคมการรวมเอา ICT และ internet เข้าไว้ในคำจำกัดความของ Telecommunications จะเป็นการขัดต่อหลักของประชาธิปไตยหลักเสรีภาพในการสื่อสาร และการ

เข้าถึงข้อมูลรวมทั้งจะทำให้เกิดปัญหาต่อเนื่องกับรัฐบาล และ องค์กรกำกับดูแลด้านโทรคมนาคม ของแต่ละประเทศในการออกกฎกติกาตามพันธกรณี” รายงานข่าวจากที่ประชุมระบุ

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)ในฐานะที่ปรึกษาหัวหน้าคณะผู้แทนไทยกล่าวว่า ในการประชุมครั้งนี้ มีการอภิปรายกันอย่างดุเดือด และมีการแบ่งกลุ่มย่อยล็อบบี้ ทำให้เกิดการประนีประนอม โดยเสนอทางออก โดยให้นำเอาประเด็นเรื่อง ICT และ Internet?บรรจุไว้ใน Resolution (เป็นเรื่องของข้อเสนอแนะและไม่มีผลผูกพันประเทศภาคี) เพื่อให้มีการศึกษาต่อไป

“ที่ประชุมยังไม่มีการบรรจุเรื่องนี้ไว้ในข้อความตกลงใดๆ ด้วยเหตุนี้ประเด็นเรื่อง ICT และ Internet จึงสามารถยุติลงได้โดยนำประเด็นเรื่องนี้ใส่ไว้ใน Resolution ซึ่งถือเป็นความสำเร็จของกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ( ITU) รวมทั้งไทย ที่แสดงท่าทีชัดเจนมาโดยตลอดว่า ไม่ประสงค์จะขยายคำจำกัดความของโทรคมนาคม ให้รวมถึงประเด็นเรื่อง ICT และ Internet จึงถือเป็นความสำเร็จของคณะผู้แทนไทยที่มีส่วนร่วมในการผลักดันในเรื่องนี้ ทำให้สามารถที่จะคุ้มครองประโยชน์ของผู้บริโภคในประเทศไทยได้เป็นผลสำเร็จ”

นอกจากในเรื่องดังกล่าวแล้ว ยังมีประเด็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวางเป็นเวลานาน กล่าวคือ การเพิ่มประเด็นการเคารพในหลักการเรื่องสิทธิมนุษยชนเข้าไปในอารัมภบท (Preamble Clause) ของร่าง?International Telecommunications Regulations (ITRs) โดยที่ประชุมแบ่งเป็นสองฝ่าย ขณะที่ฝ่ายหนึ่งต้องการให้บรรจุเรื่องสิทธิมนุษยชนไว้ในอารัมภบท อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าไม่ควรใส่ไว้ หรือหากจะใส่ไว้ก็ควรใช้ถ้อยคำที่ยืดหยุ่น และไม่ผูกพันประเทศภาคี

สำหรับประเด็นนี้ ดร.สุทธิพล มีความเห็นว่า ปัจจุบันโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อประชาชน ดังนั้น กฎ กติกา และการกำกับดูแล จึงจำเป็นต้องมีความชัดเจน และประชาชนในทุกประเทศ รวมทั้งประเทศไทยจะต้องมีสิทธิเสรีภาพในการใช้บริการโทรคมนาคม ควบคู่ไปกับการได้รับการปกป้องในสิทธิพื้นฐานของตน โดยประเทศไทยได้เคารพกติกาสากลขององค์การสหประชาชาติเรื่องสิทธิมนุษยชนมาโดยตลอด จึงควรสนับสนุนการบรรจุเรื่องสิทธิมนุษยชนไว้ในอารัมภบท

โดยในการถกเถียงประเด็นนี้ที่ประชุมใหญ่ไม่สามารถตกลงกันได้โดยฉันทามติ ทางตัวแทนประเทศอิหร่าน จึงเสนอให้มีการตัดสินด้วยการลงมติในประเด็นนี้ โดยที่ประชุมได้ลงคะแนนลับโดยผลปรากฏว่า เสียงข้างมากจำนวน 77 เสียงเห็นชอบให้บรรจุเรื่องสิทธิมนุษยชนไว้ในอารัมภบท ของ ITRs นับเป็นความสำเร็จอีกครั้งหนึ่งของประเทศไทยในการประชุมครั้งนี้ ที่มีส่วนทำให้หลักเกณฑ์โทรคมนาคมระหว่างประเทศต้องคำนึงถึงหลักการพื้นฐาน ในเรื่องสิทธิมนุษยชน

ในอารัมภบทนี้ ยังได้มีการเพิ่มข้อความในวรรคสาม ให้หลักเกณฑ์ดังกล่าวยอมรับสิทธิในการเข้าถึงบริการโทรคมนาคมระหว่างประเทศของประเทศภาคีซึ่งทำให้ประเทศสหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศยุโรปไม่พอใจ เนื่องจากไม่ต้องการให้มีข้อความดังกล่าวปรากฏอยู่ด้วยเหตุนี้แม้ที่ประชุมส่วนใหญ่จะสามารถตกลงกันในร่าง ITRs ได้เป็นผลสำเร็จ แต่ทำให้ประเทศสหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศยุโรป ไม่พอใจ และกล่าวว่า จะไม่ลงนามรับรองร่างความตกลงใหม่นี้

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีหลายประเด็นที่ละเอียดอ่อนจำเป็นต้องนำไปศึกษาถึงผลกระทบและความสอดคล้องกับกฎหมายภายในที่เกี่ยวข้อง หลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทยได้ตั้งข้อสงวน โดยประเทศไทยได้ตั้งข้อสงวนที่จะไม่ผูกพันตามร่าง ITRs นี้ หากมีประเด็นที่ขัดต่อกฎหมายภายในของประเทศไทย และสงวนสิทธิที่จะตั้งข้อสงวนเพิ่มเติมก่อนที่จะให้สัตยาบัน รวมทั้งสงวนสิทธิที่จะดำเนินการใดๆ หากประเทศภาคีอื่นไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติที่เป็นผลจากการเจรจานี้ หรือมีการตีความที่ไม่เหมาะสม

“เป็นที่น่าสังเกตว่าจากการที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และหลายประเทศในกลุ่มยุโรปแสดงท่าทีที่จะไม่ลงนามรับรอง ขณะที่หลายประเทศตั้งข้อสงวนไว้หลายประการ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการปรับปรุง ITRs แม้จะเสร็จสิ้นลงไปแล้ว แต่ก็อาจมองว่ายังไม่ประสบความสำเร็จหรือไม่ เนื่องจากขาดสภาพบังคับ”

ดร.สุทธิพลกล่าวในตอนท้ายว่า หากร่าง ITRs มีผลใช้บังคับแล้ว แต่ไม่ปฏิบัติตาม จะมีกลไกในการเยียวยาอย่างไร และจะมีหน่วยงานใดเป็นผู้ตีความบทบัญญัตินี้ เรื่องนี้คงต้องติดตามกันต่อไป และน่าจะเป็นสงครามรักษาผลประโยชน์ทางโทรคมนาคม ระหว่างกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วกับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา แต่ในส่วนของประเทศไทย การเข้าร่วมเจรจาครั้งนี้มองจากแง่มุมผลประโยชน์ของประเทศไทย ถือว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง

แนวหน้า
http://www.ryt9.com/s/nnd/1550944



ข้อมูล Pantip.com
บันทึกการเข้า
PTizzi
ก๊วนเสียว
*

พลังน้ำใจ: 132
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 409



ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2012, 11:32:58 »

เห็นหัวข้อก็ชื่นใจแล้ว  wanwan004 wanwan004
บันทึกการเข้า


" หมั่นคอยดูแลสิ่งที่หวัง แล้วจะสมหวังดั่งตั้งใจ "
nimms
ก๊วนเสียว
*

พลังน้ำใจ: 14
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 307



ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2012, 11:33:14 »

สรุปว่ารอดแล้วสินะ ถือเป็นข่าวดีก่อน 21/12/12 wanwan029
บันทึกการเข้า
bonkbonk
หัวหน้าแก๊งเสียว
*

พลังน้ำใจ: 103
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,784



ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2012, 11:45:30 »

เป็นเรื่องน่ายินดี  Cry Cry
บันทึกการเข้า

china-thaishop
คนรักเสียว
*

พลังน้ำใจ: 10
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 161



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 18 ธันวาคม 2012, 12:07:59 »

ลุ้นข้อสรุปอยู่ ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
พิมพ์