ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

ThaiSEOBoard.comพัฒนาเว็บไซต์Brand & AuthorityShare B&Aสร้าง community นักเขียน เพื่อผลลัพธ์ที่ยั่งยืน
หน้า: [1]   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: สร้าง community นักเขียน เพื่อผลลัพธ์ที่ยั่งยืน  (อ่าน 8468 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
rukrean
สมุนแก๊งเสียว
*

พลังน้ำใจ: 54
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 745



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 07 ตุลาคม 2012, 06:20:20 »

ขอประเดิมหน่อยแล้วกันสำหรับห้องนี้นะครับ สำหรับประสบการณ์ที่จะนำมาแชร์กันในวันนี้ก็คือ เรื่องของการสร้าง community นักเขียน เพื่อผลลัพธ์ที่ยั่งยืน

จากประสบการณ์ในการท่องเว็บและการทำเว็บไซต์ และ จากการเฝ้าสังเกตุมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ตัวกระผมได้สั่งเกตเห็นว่า มันน่าจะพอมีแนวทางในการทำเว็บไซต์ของเราให้สามารถเป็นได้อย่างเว็บไซต์ใหญ่ๆ ของเมืองไทย อย่างเช่น teenee, dek-d และอื่นๆ

นั้นก็คือ การสร้าง community นักเขียน ให้เกิดขึ้นในเว็บไซต์ ทำไมผมถึงคิดแบบนั้น ให้ทุกคนลองนึกตามที่ผมจะเล่าให้ฟังดังต่อไปนี้แล้วกัน

ทุกวันนี้เราสามารถเห็นเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างมากมาย เว็บดีๆ ทั้งนั้น แต่ท่านลองสังเกตดูให้ดีๆ นะครับ เว็บไซต์อย่างที่ผมได้บอกไปนั้น มักมีผู้เขียนหรือคนเขียนอยู่เพียงไม่กี่คน หรืออาจจะคนเดียวเพียงเท่านั้น ทำให้เว็บไซต์เหล่านี้ไม่สามารถโตไปมากกว่านั้นถ้าหากไม่มีเงินทุนมาจ้างนักเขียนเพื่อเพิ่มเนื้อหาและหลากหลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยมีเงิน เว็บก็จะไม่สามารถโตไปได้มากกว่าที่เป็นอยู่

แล้วทำอย่างไรดีละครับ ที่จะสามารถสร้างเว็บไซต์ให้ใหญ่โตได้โดยไม่ต้องหาเงินลงทุนที่มากมาย นั้นก็คือ การสร้าง community นักเขียนขึ้นมาไงครับ (ความคิดส่วนตัวล้วนๆ)

ผมถามทุกท่านนะครับว่า ท่านเคยเข้าไปดูเว็บไซต์ที่ท่านมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ แล้วท่านอยากจะเขียนบทความแชร์ประสบการณ์บ้าง แต่เว็บไซต์ดังกล่าวไม่เปิดโอกาสให้ท่านสามารถเขียนเนื้อหาเพื่อลงในเว็บไซต์ดังกล่าวได้ ผมคิดว่าทุกคนเคยเจอแน่ครับ

ในความคิดเห็นส่วนตัวแล้ว การเปิดโอกาสหรือการเชิญชวนให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ของท่านมาร่วมกันแชร์เนื้อหานั้นย่อมมีผลดีต่อเว็บไซต์ของท่าน มากกว่าการปิดกั้นไม่ให้ผู้เข้าชมเว็บได้ทำการใดๆ บางคนอาจจะบอกว่าก็เปิดให้ comments แล้วไง ไม่พออีกเหรอ ถ้าหากท่านอยากทำให้เกิด community ในเว็บไซต์ของท่านอย่างแท้จริง แค่นั้นมันไม่พอหรอกครับ มันต้องมากกว่านั้น แล้วต้องทำอย่างไรละ

ดังนั้น ต่อไปนี้จะเป็นแนวทางซึ่งตัวผมได้คิดและสรุปเป็นแนวทางของตัวเองและกำลังจะนำไปใช้ทำกับเว็บไซต์หนึ่งในเร็วๆ นี้

- สร้างเว็บที่มีเนื้อหาเฉพาะเจาะจง หรือ สร้างเว็บที่เจาะจงเฉพาะคนบางกลุ่ม ทำไมต้องเจาะจง เพราะการเจาะจงมันจะทำให้เกิด community อย่างแท้จริงภายในเว็บไซต์

- เปิดโอกาสให้มีการสมัครสมาชิกและสามารถร่วมทำกิจกรรมต่างๆ ภายในเว็บไซต์ได้เกือบทุกกิจกรรม อาทิ การเขียนบทความ การแสดงความคิดเห็น การโวต การให้คะแนน (ถ้านึกภาพไม่ออกก็ thaiseo นี่แหละ ตัวอย่างชั้นดี) และอื่นๆ

- จัดกิจกรรมที่มีลักษณะสร้างสรรค์สำหรับกลุ่ม เช่น สัมมนา แข่งขัน ขายเสื้อกลุ่ม และอื่นๆ ที่ทำให้กลุ่มรู้สึกมี Power ในสังคม และมีความภูมิใจในการเป็นสมาชิกของกลุ่ม

- administrator ทำงานของการเป็น admin อย่างแท้จริง คือ ดูแล ไม่ใช่เขียนเนื้อหา เช่น จัดกิจกรรม ตรวจสอบ ประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

- สร้างกฎเกณฑ์ในการเขียนเนื้อหาที่มีลักษณะยืดหยุ่นไม่รัดกุมมาก อย่างเช่น ห้ามเขียนเนื้อหาผิดกฎหมาย ห้ามด่าชาวบ้าน ห้ามโพสต์รูปโป๊ เขียนเนื้อหาผิดบ้างก็ได้ นิดหน่อยไม่เป็นไร

- ออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีลักษณะ community ของนักเขียนอย่างแท้จริง ต้องทำให้ผู้เขียนรู้สึกถึงความสำคัญของการเป็นนักเขียนของเว็บหรือทำให้เค้ารู้สึกว่าเค้าเป็นคนสำคัญของเว็บให้ได้ เช่น การโชว์รูปภาพและชื่อนักเขียน (เวลาเขียนบทความเสร็จปุ๊บ บทความของเค้าจะโชว์ในหน้าแรกของเว็บไซต์พร้อมรูปภาพและชื่อของนักเขียน) หน้า profile นักเขียน (ซึ่งรวมทุกๆ อย่างไว้ในหน้านั้น อาทิ จำนวนบทความ จำนวนการแสดงความคิดเห็น คะแนนการโวต ชื่อ นามสกุล และข้อมูลอื่นๆ)

- ออกแบบเว็บไซต์ให้เหมาะสมกับผู้ใช้ ให้ผู้ใช้รู้สึกว่าใช้งานง่าย เข้าถึงได้ง่าย ไม่ซับซ้อน

- มีการเปิดให้โหวตนักเขียนดีเด่น และ แจกรางวัลสำหรับนักเขียนดีเด่น ประจำเว็บไซต์ เพื่อเป็นการสร้างกำลังใจให้กับนักเขียนในการสร้างสรรค์เนื้อหาต่อไป

ทั้งหมดในข้างต้น เป็นเพียงแนวทางเบื้องต้นและเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นนะครับ ยังไงซะ หลังจากผมได้ลองนำไปทำแล้ว ได้ผลลัพธ์อย่างไร จะนำมาแชร์ประสบการณ์กันในโอกาสหน้านะครับ และ หลายๆ ท่านที่ได้อ่านบทความนี้อาจจะมีข้อโต้แย้ง ซึ่งไม่ว่ากันครับ พูดคุยและแสดงความคิดเห็นกันได้ แต่อย่าหยาบคายเท่านั้น เพราะนี้เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวเพียงเท่านั้น แต่จะขอยกตัวอย่างเว็บที่ลักษณะใกล้เคียงมากที่สุดดังที่ผมได้บอกไปในข้างต้นนะครับ สำหรับเมืองไทยของเราที่ผมพอจะนึกออก ก็คือ blognone.com pantip.com และ thaiseoboard.com ที่มีความเป็น community ที่แข็งแกร่งเป็นอย่างมาก

ปล. เมื่อท่านสามารถทำให้ชุมชนของท่านแข็งแกร่ง คนในชุมชนของท่านนั้นแหละจะกลายเป็นผู้สร้างรายได้ให้กับท่านและเป็นรายได้ที่ค่อนข้างแน่นอน และนี้คือ การสร้าง community นักเขียน เพื่อผลลัพธ์ที่ยั่งยืน

สำหรับบทความนี้แค่นี้ก่อนนะครับ เขียนตอนตี 4 เสร็จ 6 โมง ไปนอนก่อนแล้วกันครับ ไม่ไหวแล้ว
บันทึกการเข้า

top18753
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
*

พลังน้ำใจ: 260
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,682



ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2012, 06:29:42 »

 :wanwan003:แม่นเลย
บันทึกการเข้า


  
ปิดรับบริการ ชั่วคราว อย่างไม่มีกำหนดนะครับ
Gain
หัวหน้าแก๊งเสียว
*

พลังน้ำใจ: 91
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,399



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2012, 07:10:50 »

เป็นแนวทางที่ตรงกับสิ่งที่ผมทำเลยครับ เพราะเว็บผมมีทุกอย่างที่ท่านว่ามาเลย พึ่งทำมาได้ 2 เดือน ลองเข้าไปดูได้ตาม Banner ข้างล่างครับผม... wanwan017
บันทึกการเข้า

kaokame
หัวหน้าแก๊งเสียว
*

พลังน้ำใจ: 201
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,396



ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2012, 08:49:39 »

ความคิดดีค่ะ เด็กดีเป็นเคสสตัดดี้ที่ดีเลยล่ะ ทีมนักเขียนเค้าแน่นจริง ๆ
บันทึกการเข้า

factorythai
สมุนแก๊งเสียว
*

พลังน้ำใจ: 24
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 591



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2012, 09:16:45 »

อยากทำได้เหมือนกันครับ เว็บปมมีแต่สแปม หรือไม่ก็มาลงแต่โฆษณาๆ นานๆจะมีคนมาแชร์ความรู้จริงๆที่นึง  Cry
บันทึกการเข้า

bubbleball
Administrator
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
*

พลังน้ำใจ: 444
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,731



ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2012, 10:55:12 »

ร่วมแชร์นะครับ

ช่วงแรกๆที่เริ่มต้น ถ้าเราไม่มีทีม ผมว่าก็คงต้องทำควบสารพัดตำแหน่งไปก่อน  เขียนบทความ บวกดูแล

ทั้งนี้ เรื่องระบบก็สำคัญไม่แพ้กัน ว่าจะไปทางไหน blog, forum, ระบบพัฒนาสร้างขึ้นมาใหม่

ลักษณะของ blog กับ forum ยังมีพฤติกรรมในการติดตามที่ต่างกันออกไป เรื่องของข้อมูลที่ผ่านไปเรื่อยๆ กับ ข้อมูลที่ถูกย้อนกลับมาใช้ใหม่เป็นครั้งเป็นคราว

ทีนี้ถ้าจะทำ blog อาจจะต้องแยกแยกให้มากขึ้นว่า พฤติกรรมในการสร้างเนื้อหาของเว็บจะไปทางไหน

เช่น blognone กับ dek-d จะมีรูปแบบที่ต่างกัน

ถ้า blognone จะเป็นแนว เขียนเนื้อหาร่วมกัน ภายใต้คอนเซปต์เนื้อหาที่เจาะจงตามที่เว็บไซต์กำหนด โดยกรณีนี้เป็นการแบ่งจ่ายหน้าที่ความรับผิดชอบหรือเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมกับทางเว็บ
คราวก่อนเห็น blognone พานักเขียนไปเลี้ยงข้าวด้วยเหมือนกัน การตรวจสอบเนื้อหาของเว็บค่อนข้างจะมีความรัดกุมค่อนข้างมาก
ส่วน dek-d จะเป็นลักษณะใครใคร่เขียน เขียน จะออกไปในเชิงคล้าย free blog แบบ exteen ซะมากกว่า

ฉะนั้นทั้งสองรูปแบบมีการกำหนดแนวทางให้กับสมาชิกที่แตกต่างกัน ซึ่งถ้าเราแยกแยะตรงนี้ออก เราก็จะได้รู้ว่าเราจะเริ่มต้นในช่วงแรกอย่างไรเพื่อให้สมาชิกเข้ามามีส่วนร่วม

ลักษณะของ forum จะเป็นไปในเชิงอิสระมากกว่า สิ่งสำคัญคือการหมวดหมู่และดูแลคอนเทนต์ให้ตรงประเภทห้อง แต่แรกๆเราอาจไม่แยกประเภทมาก ฉะนั้นเราซึ่งเป็นผู้ดูแลต้องคอยพยายามอ่านเนื้อหาหลายๆกระทู้แล้วค่อยจัดหมวดหมู่ แบ่งประเภทให้ครอบคลุมน่าจะดีกว่า การกระจายตัวของห้องจะทำให้เนื้อหาแต่ละเงียบเหงาเกินไป

แรกๆ ผมคิดว่า ถ้าเราทำเว็บเชิง Authority เขียนเนื้อหาเป็นเรื่องๆ ยังพึ่งพาตัวเราเองคนเดียวได้ แต่เมื่อเราต้องการเพิ่มเนื้อหาให้แข็งแรงขึ้น เราอาจจะต้องเลือกว่า เราจะสร้างทีมสำหรับป้อนเนื้อหาเอง เพื่อควบคุมเนื้อหาอย่างละเอียด หรือ เปิดโอกาสให้คนอื่นเข้ามามีส่วนร่วมด้วย เพราะสองรูปแบบนี้ต่างกันที่ค่าใช้จ่ายในการลงทุน และการควบคุมดูแล

อย่างตอนผมไปสัมนาของ Content is king  ของเขาจะเป็นกลุ่มแรก คือสร้างทีมนักเขียนของเว็บเอง แต่ของผมจะออกไปในแนวอย่างหลัง คือเปิดให้มีส่วนร่วม เพื่อผมจะได้ไปดูแลในส่วนอื่นแทน ก็มีข้อดีต่างกันไปครับ

ทำเว็บเชิงเนื้อหาอย่าลืมใส่ใจเรื่องการจัดหมวดหมู่เนื้อหาเพื่อการเข้าถึงได้ง่าย และการรวมรวมเนื้อหาหรือการดูย้อนหลังเอาไว้ด้วย เพราะคนเขียนลงมือเขียนบทความแล้ว ย่อมต้องการเก็บตรงนี้ไว้เป็นผลงาน
ของ dek-d จะมีลิสต์รายการบทความของแต่ละคนอยู่ แต่ของ blog none ไม่แน่ใจว่ามีหรือเปล่า เพราะปกติอ่านข่าวอัพเดทอย่างเดียวแล้วก็ปล่อยผ่านไป
ซึ่ง เนื้อหาประเภท "อมตะนิรันดร์กาล"  กับ "ผ่านมาผ่านไป สดใหม่แค่ชั่วคราว"  จะมีพฤติกรรมการเสพย์ข่าวที่ต่างกัน

ถ้าประเภท อมตะนิรันดร์กาล อาจจะเป็นพวก หนัง ละคร หรือคอนเทนต์ประเภท เนื้อหา สื่อบันเทิง
แต่ถ้าประเภท ผ่านมาผ่านไป สดใหม่แค่ชั่วคราว มักจะเป็นข่าวเช่น ข่าวเกมส์ ข่าวไอที เป็นต้น

แน่นอนว่าการเลือกทำเนื้อหาที่ต่างกันนี้จะได้กลุ่มเป้าหมายไม่เท่ากัน แต่รูปแบบการเก็บไว้ก็จะต่างกันเช่นกัน บางบทความเขียนไว้นานแล้วแต่ก็ยังมีคนตามอ่านอยู่ แต่บางบทความเขียนแล้วก็ทิ้งไปๆ ต้องคอยเติมอยู่ตลอด
ฉะนั้นบางทีให้แยกประเภทเนื้อหาให้ออกว่าเป็นประเภทไหน จะได้จัดการได้ถูก

wikipedia ก็เป็นเว็บเนื้อหาขนาดใหญ่ที่ติดแบรนด์ เพียงแต่ไม่หากำไรก็เท่านั้นเอง

จริงๆถ้าเราเจอนักเขียนดาวรุ่งเก่งๆ เราอาจจะดึงตัวมาเป็นกรณีพิเศษเพื่อมาเป็นนักเขียนแบบเป็นทางการก็ย่อมได้ เห็น blognone ก็ทำแบบนี้อยู่
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 ตุลาคม 2012, 10:57:06 โดย bubbleball » บันทึกการเข้า

bubbleball
Administrator
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
*

พลังน้ำใจ: 444
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,731



ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2012, 11:03:14 »

หลายๆคน ผมว่าตอนเปิดเว็บใหม่ๆคงเริ่มต้นด้วยการ พยายามชักชวนคนมาช่วยกันเชียนกันแชร์นะ

แต่เราต้องนึกเอาไว้ด้วยว่า คำถามที่เขาจะตั้งอยู่ในใจก็คือ  "ทำไมฉันต้องมาเขียนลงที่นี่ ด้วยหล่ะ ถ้าเขียนไปก็ไม่มีคนอ่าน" แต่ถ้าเป็น blog ของเขาเองเขาจะคิดอีกแบบ เขาทำเพื่อ blog ของเขาเองจะไม่ค่อยได้สนใจส่วนเว็บหลัก
ฉะนั้นอย่างที่บอก blog กับ forum จะต่างกัน

ถ้าเป็นเพื่อนกันดึงมาช่วยกันผมว่าไม่ค่อยมีปัญหาแต่ถ้าไม่สนิท ก็ยาก ฉะนั้นเราต้องปั้นเว็บให้แข็งแรงก่อนในช่วงเริ่มต้น

บางคนอาจจะข้ามขั้นตอนนี้ไป โดยหันไปทำเว็บประเภทให้เอาเนื้อหามาลงแล้วลิงค์ไปยังเว็บตัวเองแทน แต่นั่นก็ทำให้ขาดความเป็นเอกลักษณ์ของเว็บตัวเองได้เหมือนกัน เพราะไม่มีเนื้อหาที่อยู่ในเว็บตัวเองจริงๆ
แนวโน้มไม่ใช่การมาแบ่งปัน แต่เป็นการมาฝากไว้ เพื่อขอแบ่งคนไปแทน การทำเว็บแนวนี้จะค่อนข้างเกร่อ เหมือนสมัยทำ pligg ซึ่งอาจจะอยู่ไม่ยืดยาวหรือปั้นลำบาก (เหมือนรายใหญ่อย่าง digg ที่ยังตายได้ง่ายๆ)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 ตุลาคม 2012, 11:05:50 โดย bubbleball » บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
พิมพ์