ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

หน้า: [1]   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: อ้วน นอนกรน และโรคหัวใจ  (อ่าน 324 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
jaowaan
ก๊วนเสียว
*

พลังน้ำใจ: 40
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 261



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 28 ธันวาคม 2010, 23:44:59 »



คำถามที่มีคนถามมาว่า อ้วน นอนกรนและโรคหัวใจเกี่ยวข้องกันอย่างไร Huh?

     โรคนอนกรน (Sleep apnea) จะ หมายถึง การพบมีภาวะอ๊อกซิเจนในเลือดต่ำ คาร์บอนไดอ๊อกไซด์คั่งในเลือด ตอนที่หยุดหายใจเป็นพัก ๆ ระหว่างนอนหลับเท่านั้น และการที่นอนกรนก็ไม่จำเป็นต้องเกิดภาวะผิดปกตินี้ นอกจากนี้การเกิดภาวะหยุดหายใจระหว่างนอนหลับ ก็ไม่จำเป็นต้องพบในคนที่อ้วนเท่านั้นในคนที่ผอมก็อาจเกิดความผิดปกตินี้ได้ จึงจำเป็นต้องได้รับการพิสูจน์ชัดเจน โดยใช้เครื่องมือพิเศษตรวจ (Sleep Study)

      ความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจจึงพบได้ เนื่องจากการหยุดหายใจระหว่างหลับและเนื่องจากโรคอ้วนเอง (ทั้งๆ ที่ไม่มีภาวะนอนกรนร่วมด้วย)

      โรคนอนกรน หรือ Sleep apnea นี้จะพบว่าระหว่างที่นอนหลับแล้วมีการหยุดหายใจอ๊อกซิเจนในเลือดจะต่ำลง คาร์บอนไดอ๊อกไซด์สูงขึ้น ความดันของทั้งหลอดเลือดแดงในปอดและร่างกายจะสูงขึ้น หัวใจจะบีบตัวส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกายลดลง ในระยะแรกจะพบเฉพาะกลางคืนช่วงที่หยุดหายใจถ้าเป็นไปนาน ๆ ความผิดปกตินี้จะพบในเวลากลางวันด้วย คนไข้จะนอนหลับไม่สนิทตอนกลางคืน ทำให้ง่วงนอนและหลับมากในเวลากลางวัน ความ ผิดปกติจะพบว่าหัวใจเต้นช้าลงมาก บางครั้งหัวใจจะหยุดเต้นอาจนานถึง 2-13 วินาที ซึ่งอาจทำให้อาการเป็นลมหมดสติได้ อาจพบภาวะ heart block ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Prematureatrial contraction, Premature ventricular contraction. Atrial fibrillation,Ventricular Tachycardia) ซึ่งบางครั้งอาจมีอันตราย ถึงแก่ชีวิตได้

     ส่วนความผิดปกติในหัวใจที่เกี่ยวข้องกับอ้วนนั้น ประกอบด้วย

     1. กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ การบีบตัวลดลง การทำงานของหัวใจล้มเหลว

     2. ความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจหนา การบีบตัวผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะและเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

     3. โรคอ้วนทำให้ไขมันในเลือดสูง น้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

     4. ทำให้การหายใจลดลง (Hypoventilation) โดยไม่มีภาวะการหยุดหายใจร่วมด้วย เกิดภาวะอ๊อกซิเจนในเลือดต่ำ คาร์บอนไดอ๊อกไซด์คั่ง ภาวะเป็นกรดในเลือด ถ้าสามารถลดน้ำหนักได้ ภาวะนี้จะดีขึ้นหรือหายไปได้




ที่มา รพ.พระราม9
บันทึกการเข้า

http://beautyindy.blogspot.com
รีวิวความงาม เครื่องสำอางค์ อาหารเสริม
หน้า: [1]   ขึ้นบน
พิมพ์