ท่าน tanawat30
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่ท่านเห็น รู้ หรือสัมผัส เป็นเรื่องจริง
คือ ผมมีญาติคนนึงเป็นจิตเภท ตอนนี้ได้รับการรักษาจนดีขึ้นแล้ว ตอนที่เป็นเขาบอกผมว่า เขาได้ยินคนอื่นด่าเขา บางทีนั่งๆอยู่ด้วยกันเขาก้บอกว่า ผมกำลังด่าเขาอยู่ ทั้งๆที่ผมไม่ได้คิดเรื่องเขาเลย ตรงนี้ทำให้ผมทราบว่า ที่เขาได้ยินไม่จริงแน่นอน
เขาเชื่อไปถึงขั้นว่า เขามีหูทิพย์ ผมลองให้พิสูจน์อ่านใจว่าผมคิดอะไร แล้วผมก็ลองคิดในใจท่องคำว่าดอกไม้ นึกถึงดอกไม้ เขาพยายามแล้วก็บอกมาว่า อ่านใจไม่ออก
ท่าน tanawat30 จะเชื่อได้อย่างไรว่าสิ่งที่ท่านรับรู้ สัมผัส ได้ยิน เป็นเรื่องจริง
เคยมีการทดสอบ ผู้ถอดจิต ปรากฏว่าเป็นแค่สภาวะหนึ่ง คล้ายๆกับการรู้สึกตัวในฝันเท่านั้น (ประมาณในหนัง inception )
แม้กระทั่งคนที่เห็นผี อย่างเช่นผมเองก็เคยเห็น ผมยังคิดเลยว่า เป็นไปได้หรือไม่ว่านั่นเป็นแค่การทำงานผิดปกติของสมอง คล้ายๆกับคนบ้าที่เห็นคนอื่นแล้วพูดคุยกับคนที่เขาเห็น
สิ่งที่มีอาจไม่เห็น แต่สิ่งที่เห็นก้อาจไม่มี
ประการแรกต้องพิจารณาถึงคำสอนในหลักพุทธศาสนาเสียก่อน คำสอนมีอยู่ว่าสิ่งที่รู้เห็นมาทั้งหมดถ้ายังไม่เกิดขึ้นจริงก็อย่าเพิ่งเชื่อ จาก rep แรกที่ผมตอบผมรู้ล่วงหน้าว่า
อนาคตผมจะมีเงินไปเล่นหุ้น ผมรู้ตอนปี 2542 เพราะฝันเห็น ตั้งแต่ปี 2542 จนถึงปี 2549 ผมไม่เคยเชื่อเลยว่าผมจะได้เล่นหุ้น จนกระทั่งปี 2550 ตอนตปลายปี
เกิดมีเงินขึ้นมา ผมก็มีเงินไปเล่นหุ้น จากนั้นผมก็เชื่อด้วยตนเองว่าสิ่งที่ผมรู้เห็นนั้นเป็นเรื่องจริง ยังมีอีกอย่างหนึ่งคือการทำสมาธิทำให้รู้ข้อธรรมด้วย แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า
ข้อะรรมนั้นถูกต้องหรือไม่ ปกติการปฏิบัติะรรมจะต้องทำให้ตนพ้ททุกข์ใช่หรือไม่ ตอนที่ผมยังไม่ปฏิบัติธรรมหรือปฏิบัติธรรมผิดวิธี ผมก็ยังมีอาการเป็นโรคหัวใจอยุ่สัมผัสได้
เลย ต่อมาเมื่อผมลงมือปฏิบัติธรรมอย่างถูกวิธีร่างกายผมดีขึ้น โรคหัวใจที่เคยเป็นก็ค่อย ๆ หายไป
การรู้ซึ้งในข้อธรรมรวมถึงการมีประสบการณ์จากการปฏิบัติธรรมนั้นอย่างแท้จริงคือหัวใจที่สำคัญ หากเปรียบเทียบการปฏิบัติธรรมกับการกิน การปฏิบัติธรรมไม่ง่ายเหมือนการตัก
ผัดซีอิ๊วเข้าปาก แต่หลายคนอยากให้เป็นแบบงั้นเพราะมันง่ายเห็นแล้วเอาช้อนตักกินได้เลย แต่การปฏิบัติธรรมจริง ๆ จะเริ่มต้นจากการซื้อหมุอย่างไรไม่ให้เน่า ซื้อเส้นอย่างไรไม่ให้
ได้เส้นเก่า ซื้อผักคะน้าอย่างไรไม่ให้มีสารพิษ บรรดาหมู คะน้า เส้น ล้วนต้องนำมาผ่านกระบวนการปรุงเสียก่อนจึงจะกินได้ นั่นหมายความว่าการรู้หลักธรมเดี่ยว-ๆ เช่นมีเส้น
อย่างเดียวก็เรียกว่าผัดซีอิ๊วไม่ได้ ฉะนั้นเมื่อผมจะตอบคุณได้ผมต้องรู้ว่าจะนำหลักธรรมใด ๆ มารวมกันบ้างเพื่อนำมาตอบหรือนำไปปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย นี่เป็นอีกเหตุที่ทำให้
คำตอบของผมบางทีรถึงดูแล้วยาว เพราะต้องเอาหลักธรรมหลาย ๆ อย่างมาสังเคราะห์เข้าด้วยกันก่อนจะนำออกไปเป็นวิธีการปฏิบัติหรือแก้ไขปัญหานั้น
ท้ายสุดเรื่องของอุปทาน อุปทานนั้นทำให้เกิดความงมงายขึ้นมา เพราะความงมงายนั้นคือการเชื่ออะไรง่าย ๆ โดยไม่พิสูจน์ ทางออกที่ถูกต้องคือไม่ว่ารู้อะไรมาก็ให้เฉย ๆ ไว้ก่อน
อย่าเดิ่งปักใจเชื่อหรือไม่เชื่อในสิ่งที่รู้มาในทันทีหากยังไม่ได้คำตอบประจักษ์ชัดในใจตนก่อน เพราะคนที่เชื่อหรือไม่เชื่อไว้ก่อนจะก่อให้เกิดทุกข์ขึ้นในใจตน ถ้าไม่เชื่อหรือเชื่อไว้
แต่ต้นแล้ว หากผลพิสุจน์ออกมาตรงกันข้ามก็จะเกิดความขัดแย้งแล้วนำทุกข์มาสุ่ตน หรือไม่ต้องถึงกับพิสุจน์หรอก แค่รู้อะไรมาตรงกันข้ามหรือต่างไปจากความรู้เดิมที่ตนรู้มาทั้ง
ชีวิตก็เป็นทุกข์ได้เลย ความทุกข์ที่เกิดขึ้นเบื้องต้นคือการตั้งเงื่อนไขเพื่อปฏิเสธสิ่งที่รุ้เข้ามาใหม่เพื่อหาทางปฏิเสธในสิ่งที่รู้มาใหม่ ๆ ด้วยเหตุผลต่าง ๆ นา ๆ ท้ายสุดจนแล้วจน
รอดก็ไม่ได้พิสูจน์ผลประจักษ์ในตนเสียที
ผมใช้คำว่าผลประจักษ์ในตน ฉะนั้นต่างคนต่างพิสุจน์ด้วยตนเอง ผมก็พิสูจน์ของผมคุณพิสุจน์ของคุณ ผมกินข้าวร้าน ก. ผมบอกว่าข้าวร้าน ก. อร่อย คุณยังไม่ได้กินข้าวร้าน ก.
จะรู้ได้อย่างไรว่าอร่อยหรือไม่ แต่ถ้าคุณได้กินแล้วก็ต้องมาดุด้วยว่ากินถูกวิธีหรือไม่ เช่นยผมบอกว่าสังขยาอร่อยมาก ปรากฎว่าคุณเอาพริกไปใส่แล้วก็บอกว่าสังขยาทำไมเผ็ด ก็
ต้องมาปรับให้วิะีการกินเหมือนกันเสียก่อนแล้วค่อยวัดผล การปฏิบัติธรมก็เช่นกัน ถ้าหากยังไม่ปฏิัติมาถึงขั้นนี้ก็ยังหาข้อสรุปไม่ได้เสียทีไงครับ