darkknightza
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
พลังน้ำใจ: 167
ออฟไลน์
กระทู้: 4,245
|
 |
« ตอบ #120 เมื่อ: 30 ตุลาคม 2010, 08:26:21 » |
|
@ อย่าเพิ่งคิด ไกลโพ้น หรือโน่นนี่ ตรองให้ดี ถี่ถ้วน กระบวนท่า บริหารจิต มากมาย ในตำรา แต่ยกมา เพื่อให้ เด็กได้รู้
@ สติตั้ง กำหนดกาย ให้แม่นมั่น จิตรู้ทัน รู้เห็น กายเป็นอยู่ การเคลื่อนไหว แห่งกาย ให้ตามดู กำหนดรู้ ทุกขณะ อย่าละวาง
@ สติตาม เวทนา อาการอีก อย่าหลบหลีก ลี้ไกล ปล่อยใจห่าง มันปวดข้อ ปวดขา เปลี่ยนท่าทาง รู้เห็นอย่าง เข้าใจ ไม่เที่ยงแท้
@ สติตาม ดูจิต ที่คิดอีก สติหลีก หนีไกล ไม่ได้แน่ จิตคิดได้ ตาดู รู้เห็นแล คิดเป็นแต่ จิตอาจ คิดพลาดพลั้ง
@ สติตั้ง รู้ธรรม แล้วกำหนด สิ่งปรากฏ ต่อหน้า อะไรมั่ง บุญหรือบาป รู้ไว้ ให้ระวัง สติตั้ง คิดให้ถูก ปลูกศรัทธา
@ ศรัทธาธรรม นำทาง สร้างความสุข ไม่ตกยุค จิตสะอาด ปรารถนา การงานรุ่ง การเรียนนั้น ผลทันตา มีปัญญา ยอดเยี่ยม ไร้เทียมทาน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
darkknightza
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
พลังน้ำใจ: 167
ออฟไลน์
กระทู้: 4,245
|
 |
« ตอบ #121 เมื่อ: 30 ตุลาคม 2010, 13:03:53 » |
|
มนุษย์เรานี้ เมื่อมีความสุขก็จะลืมความทุกข์ไปเสียสิ้น และเมื่อได้รับความทุกข์ ก็จะมองไม่เห็นความสุข คนส่วนมากเมื่อทุกข์ก็จะคิดว่าตัวต้องทุกข์ไปตลอด หรือเมื่อสุขก็คิดว่า ความสุขนั้นจะเป็นนิรันดร์ หารู้ไม่ว่าทั้งสุขทั้งทุกข์นั้นมิใช่ของจริง เหมือนดั่งเห็นเงาจันทร์ในขันน้ำ เงานั้นมิใช่ดวงจันทร์ที่แท้จริงดอก สุขและทุกข์เป็นของไม่เที่ยง เมื่อเห็นดังนี้แล้ว ผู้ที่มีสติก็ย่อมเบื่อหน่ายทั้งสุขและทุกข์ ย่อมหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่น ไม่วิวาททุ่มเถียงกับผู้ใด แม้คำพูดนั้นจะระคายหู ก็ให้มีสติรู้ว่าเป็น แค่คำพูดเท่านั้นเอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
darkknightza
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
พลังน้ำใจ: 167
ออฟไลน์
กระทู้: 4,245
|
 |
« ตอบ #122 เมื่อ: 30 ตุลาคม 2010, 18:44:37 » |
|
บรรดากิเลสทั้ง 3 คือ ราคะ (โลภะ) โทสะ โมหะ ท่านว่ามีโทษหนักเบาไม่เท่ากัน ราคะนั้นดูเหมือนว่ามีโทษเบา แต่ละได้ยาก โทสะมีโทษหนักแต่ละได้ง่าย ส่วนโมหะมีโทษหนักและละได้ยาก เฉพาะโทสะ(ความโกรธ ความขุ่นเคือง) นั้น เวลามันเกิดขึ้นจะเอะอะตึงตัง มึงมาพาโวย เรียกว่าเห็นช้างเท่าหมู ไม่กลัวใคร แต่ก็มักสงบง่าย เพราะฉะนั้นท่านจึงว่าความโกรธมีโทษมาก
ท่านบอกวิธีเอาชนะความโกรธ 9 วิธี สำหรับผู้มักขี้ยัวะ ลองฝึกปฏิบัติดูนะครับ ถ้าได้ผลอย่างไร ช่วยบอกผมด้วย จะได้ทำตามเพราะผมก็ใช่ย่อยเหมือนกัน ลูกศิษย์บางคนว่า อะไรๆ ก็ดี แต่ดุชะมัดญาติว่าอย่างนั้น
1.ให้นึกถึงผลเสียของคนมักโกรธ
พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า คนที่โกรธคนอื่นนับว่าเป็นคนเลวอยู่แล้ว แต่ใครโกรธตอบเขากลับเป็นคนเลวกว่า พระองค์ทรงสรรเสริญเมตตา ความรักและความปรารถนาดีต่อกัน ถ้าเรามัวเป็นคนมักโกรธ ไม่รู้จักเมตตารักใคร่คนอื่นบ้างเลย จะนับว่าเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าได้อย่างไร
เวลาเขาโกรธเรามา เราไม่โกรธตอบ นับว่าเป็นผู้เอาชนะใจคนได้ เอาชนะสงครามที่ชนะได้แสนยากและยิ่งรู้ว่าเขาโกรธและ ขุ่นเคืองเรา เราไม่แสดงอาการโกรธและขุ่นเคืองออกมา นับว่าได้ทำประโยชน์ทั้งสองฝ่ายคือ ทั้งแก่ตนเองและแก่คนที่โกรธเรา(การทะเลาะเบาะแว้ง หรือลงไม้ลงมือประหัตประหารกันก็จะไม่เกิดเพราะเราตั ดไฟแต่ต้นลม)
2.ให้พิจารณาโทษของความโกรธ
คนเราเวลาไม่โกรธก็ดูดี ใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แต่พอโกรธขึ้นมาก็กลายเป็นคนละคน หน้าตาจะบูดเบี้ยวแดงก่ำ บางคนมือไม้สั่นยังกับเจ้าเข้า เต้นแรงเต้นกา ปากก็กล่าวคำหยาบ ไม่รู้ไปสรรค์หาคำด่ามาจากไหน ไม่มีความสง่า สวยงามเหลือแม้แต่นิดเดียว เรียกว่าเป็นนางฟ้าอยู่หยกๆ กลายเป็นนังยักษ์ขมูขีทันที
หรือถ้าจะให้ชัดเวลาที่เราโกรธ ลองส่องกระจกดูก็แล้วกัน หน้าที่ที่สวยงามยิ้มแย้มแจ่มใส มีเสน่ห์น่ารักนั้น ไม่รู้มันหายไปไหนกลายเป็นหน้ายักษ์หน้ามาร น่าเกลียดน่าชัง เมื่อพิจารณาเห็นความน่าเกลียดน่ากลัวของตนเองอย่างน ี้แล้ว ความโกรธที่มีมาก็อาจหายไปได้
3.นึกถึงความดีของคนที่เราโกรธ
เวลาเราโกรธใครส่วนมากก็ขุดเอาแต่เรื้องที่ไม่ดีมาด่ าว่า ทีนี้ลองพยายามคิดถึงความดีของเขาดูสิ ว่าเขามีดีอะไรบ้าง เพราะตามธรรมดานั้น คนเราย่อมมีดีและไม่ดีเหมือนๆ กันต่างแต่ว่าใครจะดีมากดีน้อยเท่านั้น ไม่มีใครดอกที่ดีร้อยเปอร์เซ็นต์หรือชั่วร้อยเปอร์เซ ็นต์ เพราะฉะนั้น ถ้าใครมาทำให้เราโกรธไม่พอใจ นั่นเป็นจุดที่ไม่ดีของเขา เราก็ไม่ควรมองแต่จุดนั้น ลองหันไปดูจุดดีของเขาบ้าง เมื่อมองหาจุดดีก็อาจประหลาดใจว่า แท้ที่จริงแล้วเขามีความดีมากมาย "เขามีความไม่ดีบ้างก็ช่างเขา..." อะไรประมาณนั้น
นึกได้อย่างนี้แล้วความโกรธที่มีอยู่อาจหายไปได้
4.ความโกรธทำให้ศัตรูสมใจ
นอกจากทำให้ตัวเองทุกข์แล้วยังสาสมใจศัตรูด้วย เวลาถูกความโกรธครอบงำ จิตใจเรามักร้อนรุ่มยังกับหอบกองไฟลุกโชนไว้ในอก หาความสุขไม่ได้ ที่สำคัญคือเรากำลังทำตนให้เป็นที่สะใจแก่ศัตรูผู้มุ ่งร้ายแก่เรา โดยที่เขามิได้ลงทุนเลย เราทำให้เขาแท้ๆ
คนที่ไม่ชอบเรา เขามักคิดภาวนาในใจ(พูดให้ชัดคือสาปแช่ง) ว่า "เจ้าประคุณ ขอให้ไอ้/อี...มันพินาศฉิบหายในเร็ววันเถิด" ถ้าเราเป็นคนมักโกรธ ก็เท่ากับเรากระทำการต่างๆ เข้าทางศัตรู โดยที่เขาไม่ต้องเสียแรงเสียเวลามาทำให้เราเลย
ให้สอนตนเสมอว่า "คนอื่นอยากให้เจ้าโกรธ จึงแกล้งทำสิ่งไม่ถูกใจให้เจ้า แล้วไฉนเจ้าจึงช่วยให้เขาสมปรารถนา ด้วยการปล่อยให้ความโกรธเกิดขึ้นเล่า"
" เวลาเจ้าโกรธขึ้นมาแล้ว เจ้าก็ไม่สามารถทำทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่เขา มิหนำซ้ำ เจ้าได้ทำร้ายตัวเองเข้าแล้ว ด้วยความทุกข์เพราะความโกรธนั้น"
5.พิจารณาความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน
ให้คิดว่าทุกคนมีกรรมเป็นของตน ต่างก็จะได้รับผลแห่งกรรมที่ตนทำ เราโกรธเขา แสดงว่าเราได้ทำอกุศลคือกรรมชั่ว กรรมชั่วที่เราทำลงไปมันก็จะมีผลร้าย ก่อความเสียหายขึ้น เราก็ต้องได้รับผลของกรรมนั้น ดุจเอามือทั้งสองกอบถ่านที่ลุกโชน มือทั้งสองของเราก็ไหม้เอง หรือดุจเอามือกอบอุจจาระไปโปะคนอื่น ตัวนั้นแหละย่อมเปรอะอุจาระก่อน
เมื่อพิจารณาเห็นว่าทุกคนต่างก็มีกรรมเป็นของตนเช่นน ี้ ก็จะเห็นในฝ่ายเขาเช่นเดียวกันว่า ถ้าเขาโกรธเขาก็ได้ทำกรรมไม่ดี และจะได้รับผลแห่งกรรมไม่ดีเช่นเดียวกัน เมื่อต่างคนต่างมีกรรมเป็นของตน เก็บเกี่ยวผลแห่งกรรมของตนอยู่แล้ว เรื่องอะไรมามัววุ่นวายโกรธกันอยู่ทำไม ตั้งหน้าตั้งตาทำแต่กรรมดีมิดีกว่าหรือ
6.พิจารณาพระจริยวัตรของพระพุทธเจ้า
พระจริยวัตรของพระพุทธเจ้า ไม่ว่าพิจารณาจากช่วงไหน ก็จะเห็นชัดเหมือนกันว่า พระองค์ทรงมีเมตตา ไม่โกรธใคร ขณะทรงบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ก็ทรงเอาความด ีชนะความชั่วตลอดมา แม้จะถูกกลั่นแกล้งโดยผู้ไม่ปรารถนาดี ก็ไม่ถือโทษ ดังเมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นภูริทัต จะถูกศัตรูทรมานอย่างไรก็ไม่โกรธไม่ทำร้ายตอบ ทั้งๆ ที่อยู่ในฐานะจะทำได้
เมื่อพระองค์เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ถูกเทวทัตจองล้างจองผลาญต่างๆ นานา ขนาดกลิ้งก้อนหินหมายประหารชีวิตพระองค์ แต่ก้อนหินปะทะง่อนผา สะเก็ดหินกระเด็นไปต้องพระบาท ได้รับทุกขเวทนาอย่างกล้า อีกครั้งหนึ่งสั่งให้ปล่อยช้างตกมันเพื่อทำร้ายพระพุ ทธองค์ถึงแก่ชีวิต ขณะเสด็จออกโปรดสัตว์ในเมือง พระองค์ก็ไม่ทรงถือสา กลับมีเมตตาต่อเทวทัตผู้มุ่งร้ายพระองค์สารพัด
บางครั้งถูกอันธพาลที่ได้รับจ้างจากผู้มุ่งร้ายพระอง ค์ตามด่า ตลอดเจ็ดวัน พระองค์ก็ทรงสงบนิ่ง แผ่เมตตาจิตให้พวกเขา ไม่ทรงโกรธตอบ จนพระอานนท์ทูลให้เสด็จไปที่อื่นที่ไม่มีคนด่า พระองค์ตรัสสอนพระอานนท์ว่า ถ้าจะแก้ปัญหาโดยการหนี ก็คงหนีไปไม่มีที่สุด เพราะคนส่วนมากทุศีล ที่ถูกคือให้อดทนต่อคำล่วงเกิน ด้วยจิตประกอบด้วยเมตตา
เมื่อพิจารณาถึงพระจริยวัตรของพระพุทธเจ้าอย่างนี้แล ้ว ได้เห็นว่าพระพุทธองค์ทรงเผชิญเรื่องที่เลวร้ายกว่าเ รา พระองค์ยังทนได้ เมื่อเราปฏิญาณว่าเป็นสาวกของพระองค์ ไฉนไยไม่ดำเนินตามรอยยุคลบาทเล่า เมื่อคิดได้เช่นนี้แล้ว ความโกรธอาจหายไปได้
7.พิจารณาความเกี่ยวพันกันในสังสารวัฏ
นี่ก็เป็นวิธีที่หนึ่งที่จะดับความโกรธได้ คือให้คิดว่าในโลกนี้ ไม่มีใครที่ไม่เคยเป็นญาติพี่น้องกันมาก่อน หากใครมาทำให้ท่านเกิดความโกรธ ก็ให้พิจารณาว่า คนๆ นี้อาจเคยเป็นบิดามารดาเรามาก่อน ในชาติใดชาติหนึ่งที่ล่วงมาแล้วก็ได้ หรืออาจเป็นแฟนเป็นกิ๊กที่เรารักสุดชีวิตมาก่อนก็เป็ นได้ แล้วเรื่องอะไรเราจะมาโกรธพ่อเรา แม่เรา หรือคนรักของเรา ถ้าพิจารณาอย่างนี้แล้วความโกรธที่มีก็อาจสงบได้
8.พิจารณาอานิสงส์ของเมตตา
ความโกรธเป็นปฏิปักษ์ของเมตตา ขณะใดความโกรธเกิดขึ้น ลองหันมาพิจารณาถึงคุณประโยชน์ของเมตตาดูสิว่า เมตตาความรักความปรารถนาดีต่อกันนั้น เป็นสิ่งที่ดีงามอย่างไร เมื่อพิจารณาถึงความดีงามของเมตตา ก็อาจระงับความโกรธได้
ความดีงามหรืออานิสงส์ของเมตตา พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่ามี 11 ประการคือ
1.คนที่มีเมตตานอนหลับก็เป็นสุข
2.ตื่นขึ้นมาก็เป็นสุข คือหน้าตาสดใสเบิกบาน
3.ไม่ฝันร้าย
4.เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย ใครเห็นใครก็รัก มีเสน่ห์
5.เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย อย่าว่าแต่มนุษย์ด้วยกัน ภูตผีเทวดาก็รัก คนมีเมตตาผีไม่หลอกหลอน แทนที่จะหลอกหลอนกลับให้อารักขา อยู่อย่างปลอดภัยเสียอีก
6.เทวดาอารักขา
7.ปลอดภัยจากอัคคีภัย ยาพิษ และศาสตราอาวุธ
8.จิตเป็นสมาธิได้เร็ว
9.สีหน้าผ่องใสเบิกบาน
10.ถึงคราวตายก็ตายอย่างมีสติ
11.ถ้ายังไม่บรรลุคุณธรรมสูงกว่า ตายไปก็เข้าถึงพรหมโลกแน่นอน
ถ้าอยากมีคุณสมบัติดังกล่าวนี้ ก็พึงพยายามเป็นคนไม่โกรธ หัดเป็นคนมีเมตตาเป็นธรรมประจำใจให้ได้
9.ให้แยกธาตุ
วิธีแยกธาตุนี้เป็นวิธีที่ได้ผลชงัดนัก เพราะตราบใดเรายังมองเป็นกลุ่มเป็นก้อน เป็นตัวเป็นคนเป็นนายนั่นนางนี่อยู่ ความโกรธก็เกิดขึ้นได้ แต่ถ้าเราแยกธาตุเสีย ทั้งธาตุเขาและธาตุเรานั้นแหละ ความโกรธก็อาจหายไป เพราะไม่รู้ว่าจะไปโกรธส่วนไหน เพราะแต่ละส่วนก็ไม่ใช่ตัวตน หากเป็นเพียงธาตุสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ แค่นั้นเอง ขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) แค่นั้นเอง
เช่น เพราะคิดว่านายแมวมันด่ากูจึงโกรธ แต่ถ้าคิดแยกธาตุเสียว่า ส่วนไหนเป็นนายแมว รูปหรือเวทนาหรือ สัญญาหรือ วิญญาณหรือ ดินหรือ น้ำหรือ ไฟหรือ ลมหรือ ก็เปล่าทั้งเพ มันเพียงแค่ธาตุสี่ ขันธ์ห้าเท่านั้นเอง นายแมวนายหมูอะไรหามีไม่ เมื่อไม่มีนายแมวนายหมู คำด่ามันจะมีได้อย่างไร เมื่อไม่มีคำด่าแล้วจะโกรธทำไม
ในทำนองเดียวกัน ที่เรียกว่า "กู" ก็เพียงประชุมแห่งธาตุสี่ขันธ์ห้าเท่านั้นเอง เมื่อแยกส่วนจนหมดแล้ว ก็ไม่มี "กู" ที่ไหน แล้วเราจะโกรธอยู่ทำไม
พูดถึงตอนนี้ นึกถึงหลวงพ่อคูณสมัยท่านยังไม่ดังเปรี้ยงปร้างอย่าง สมัยนี้ หลวงพ่อท่านเดินทางไปกับศิษย์สองสามรูป ผ่านหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ญาติโยมก็ยกมือไหว้ นั่งยองๆ แล้วถามว่า "หลวงพ่อไปไหนมาคร้าบ" หลวงพ่อคูณก็เดินเฉย ไปได้อีกหน่อย โยมคนหนึ่งก็ถามอีกว่า "หลวงพ่อไปไหนมาค่ะ" หลวงพ่อก็เฉยเช่นเดียวกันจนลูกศิษย์ถามว่า "หลวงพ่อ โยมถาม ทำไมไม่ตอบ"
หลวงพ่อพูดว่า "กูไม่มา แม่มันจะถามใครหว่า" (ถ้ากูไม่มาเสียแล้ว จะถามใครเล่า) เออจริงสินะ ถ้าไม่มีกู แล้วคำถามมันจะมีได้อย่างไร ก็ให้คิดเสียว่า กูไม่มาก็แล้วกัน คำถามจะได้ไม่มี
เวลาโกรธใครสักคน ก็ให้พิจารณาแยกธาตุดังว่ามาข้างต้นนั้น ความโกรธอาจหายไปได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
darkknightza
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
พลังน้ำใจ: 167
ออฟไลน์
กระทู้: 4,245
|
 |
« ตอบ #123 เมื่อ: 31 ตุลาคม 2010, 09:27:11 » |
|
ป ริ ศ น า ธ ร ร ม จ า ก พิ ธี ก ร ร ม ใ น ง า น ศ พ : อุบายการสอนธรรมะอันแยบคาย
ศาสนพิธี ประเพณี พิธีกรรมต่างๆ การกระทำแต่ละขั้นตอนนั้น โบราณท่านได้สอนธรรมะไว้ในพิธีกรรมเหล่านั้นไว้ด้วยอุบายอันแยบคาย เช่น ประเพณี พิธีกรรมใน งานศพ
๑. การรดกัน ที่มือของผู้ตาย
ซึ่งบางท่านเข้าใจว่าเป็นการขอ อโหสิกรรม ความจริงแล้วมุ่งเตือนสติผู้ที่มาร่วมงานว่า ผู้ที่ตายทุกคนไปแต่มือเปล่าไม่ได้อะไรติดตัวไปเลย แม้แต่น้ำที่เทลงฝ่ามือก็ไหลร่วง
๒. เอาเงินเหรียญ ใส่ปาก
ก็เพื่อจะเตือนให้รู้ว่า แม้แต่บาทเดียวก็เอาไปไม่ได้ เพราะสัปเหร่อบางคนเขายังควักออกมา
๓. มัดตราสังข์ สามเปราะ
มัดที่คอ หมายถึง บ่วงรักลูก มัดที่มือ หมายถึง บ่วงรักสามี-ภรรยา มัดตรงข้อเท้า หมายถึง บ่วงรักทรัพย์สมบัติ ติดอยู่สามบ่วงนี้ ไป นิพพาน ไม่ได้ ต้องเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏไม่มีจบสิ้น
๔. เคาะโลง รับศีล ไม่ใช่ให้ คนตาย มารับศีล
แต่เพื่อเป็นการบอกคนที่มาร่วมงานว่าเอาแต่มัวเมาประมาทขาดสติ ไม่สนใจในหลักธรรมคำสอน เมื่อตายไปหมดโอกาสทำความดี จะเคาะจนโลงแตกก็ลุกขึ้นมาไม่ได้
๕. จุดตะเกียง หรือจุดเทียน ไว้หน้าศพ
เตือนให้รู้ว่าการเกิดของคนเราต้องการแสงสว่าง ต้องมี พระธรรม เป็นดวงประทีปช่วยส่องทางเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของชีวิต
๖. สวดอภิธรรม มักสวดเป็น ภาษาบาลี
คนเป็นฟังไม่รู้เรื่อง จึงนึกว่าสวดให้คนตาย แต่จริงๆ แล้วเป็นการสวดเพื่อสอนคนที่ยังมีชีวิตอยู่ เพื่อที่จะได้นำหลักธรรมไปปฏิบัติให้เกิดผลดีในชีวิตประจำวัน
ดังนั้นแม้จะฟังไม่เข้าใจแต่เพื่อให้การฟังสวดอภิธรรมเกิดผล ควรสำรวมส่งจิตไปอยู่กับเสียงพระสวด ให้จิตสงบนิ่งอยู่กับเสียงพระสวดก็เกิดสมาธิจิตได้
๗. บวชหน้าไฟ
มักเข้าใจว่า เป็นการบวชจูงผู้ตายขึ้นสวรรค์ ความจริงนั้นไม่ใช่ เพราะการบวชหน้าไฟเป็นการ ปลงธรรมสังเวช เบื่อหน่ายต่อชีวิตในโลกีย์วิสัย ไม่ประสงค์จะอยู่ในเพศฆราวาส มุ่งปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้นเข้าสู่มรรคผลนิพพาน
๘. การนิมนต์พระจูงออกหน้าศพ
เพื่อจะสอนคนที่ยังอยู่ให้ได้สำนึกว่า ตอนที่ยังอยู่ต้องเดินตามหลังพระ หมายความว่าได้เดินตามพระธรรมคำสอนของพระนั่นเอง จึงอยู่ดีมีสุข มีความเจริญก้าวหน้า
๙. การ เวียนซ้าย ๓ รอบ
หมายถึง การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพทั้งสาม อันมี กามภพ รูปภพ อรูปภพ ด้วยอำนาจ กิเลสตัณหาอุปทาน ก็จะเป็นทุกข์ไม่จบสิ้น ฉะนั้นต้องทวนกระแสกิเลส เป็นการสอนธรรมชั้นสูง จึงได้พาศพเวียนซ้าย
๑๐. การใช้ น้ำมะพร้าว ล้างหน้าศพ
เพื่อชี้ให้เห็นว่า น้ำมะพร้าวเป็นน้ำสะอาด บริสุทธิ์ ผู้เข้าสู่มรรคผลนิพพาน ต้องชำระจิตให้สะอาดด้วยน้ำพระธรรม
๑๑. การแปรรูปหลังจากเผาแล้ว
มีการเก็บ อัฐิ และมีการเขี่ย ขี้เถ้า ผู้ตายให้เป็นรูปร่าง กลับไปกลับมาเพื่อจะบอกว่า ได้กลับชาติใหม่แล้วตามวิบากของกรรมต่อไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
darkknightza
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
พลังน้ำใจ: 167
ออฟไลน์
กระทู้: 4,245
|
 |
« ตอบ #124 เมื่อ: 31 ตุลาคม 2010, 12:30:21 » |
|
คนเราเมื่อตายไปแล้ว ทรัพย์สมบัติแม้แต่เข็มสักเล่มเดียว ก็ไม่สามารถนำติดตัวไปได้ วิธีเดียวที่จะนำทรัพย์ติดตัวไปได้ คือการนำทรัพย์นั้นไปทำทาน เป็นประโยชน์ แก่ผู้มีชรา (ความแก่) พญาธิ (ความเจ็บ) มรณะ (ความตาย) เผาผลาญอยู่ ถ้ารู้จักออกด้วยทาน ทรัพย์นั้นย่อมเป็นประโยชน์แก่เขาได้ ทรัพย์ที่บำเพ็ญทานแล้วเชื่อว่าขนออกแล้ว ดูเถอะเจ้าของเรือนที่ถูกไฟไหม้ ทรัพย์ใดที่ขนออกได้ก็เป็นประโยชน์แก่เขา ส่วนทรัพย์ใดที่ขนออกไม่ได้ก็ต้องถูกไฟไหม้อยู่ในเรือนนั่นเอง ทานที่ให้แล้วไม่ได้บุญ
1.ให้ทานสุรายาเสพติด เช่นบุรี่ เหล้า ฝิ่น กัญชา ยาบ้า ฯลฯ
2.ให้อาวุธเช่น เขากำลังทะเลาะกัน ยื่นปืนให้ ยื่นมีดให้
3.ให้มหรสพ เช่น พาไปดูหนัง ดูละคร ฟังดนตรี เพราะทำให้กามกำเริญ
4.ให้สัตว์เพศตรงข้าม เช่นหาสุนัขตัวเมียไปให้ตัวผู้หาสาวๆให้เจ้านาย
5.ให้ภาพลามก รวมถึงหนังสือลามกและสิ่งยั่วยุกามารมณ์ทั้งหลาย ชีวิตของคนเราจึงดำรงอยู่ได้ด้วยทาน เราโตมาได้ก็เพราะทาน เรามีความรู้ด้านต่างๆก็เพราะทาน โลกนี้จะมีสันติสุขได้ก็เพราะทานการให้ จึงเป็นสิ่งจำเป็น และมีคุณประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่อมนุษย์ชาติ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
darkknightza
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
พลังน้ำใจ: 167
ออฟไลน์
กระทู้: 4,245
|
 |
« ตอบ #125 เมื่อ: 31 ตุลาคม 2010, 19:24:19 » |
|
มีสามีภรรยาคู่หนึ่ง อาศัยอยู่บ้านหลังหนึ่ง ทุกๆเช้า ภรรยาจะแอบมองดูเพื่อนบ้าน จากหน้าต่างชั้นบนบ้าน และวิ่งกลับมารายงานให้สามีฟัง " เพื่อนบ้านเรานี่ ซักผ้าไม่เป็นเลย เสื้อผ้าสกปรกเหลือเกิน ไม่รู้เขาใช้ผงซักฟอกยี่ห้ออะไร หรือใช้วิธีซักอย่างไร "
สามีก็ตอบว่า "อย่าไปสนใจคนอื่นเขาเลย เราซักผ้าของเราให้สะอาดก็แล้วกัน"
แต่ภรรยาก็ยังไปแอบดูเพื่อนบ้านอยู่ทุกเช้า จากหน้าต่างข้างบนบ้าน และวิ่งกลับมารายงานสามีทุกเช้า
"เสื้อผ้าของเขาสกปรกอีกแล้ว"
ต่อมาวันหนึ่ง ภรรยาวิ่งลงมารายงานสามี ด้วยความแปลกประหลาดใจ "ไม่เข้าใจจริงๆ ว่าวันนี้เกิดอะไรขึ้น เสื้อผ้าของเขาขาวสะอาด อยากจะรู้เหลือเกินว่า เขาเปลี่ยนมาใช้ผงซักฟอกยี่ห้ออะไร หรือทำอย่างไร.." สามีหัวเราะและกล่าวว่า
"นี่..ฉันรำคาญเธอเหลือเกิน เมื่อเช้าฉันตื่นแต่เช้ามืด และไปเช็ดกระจกหน้าต่างให้ใสสะอาด.. ก่อนหน้านี้ กระจกมันสกปรก เธอมองออกไป ก็เห็นแต่ความสกปรก.."
มนุษย์เราชอบมองคนอื่น โดยผ่านจิตใจของเราออกไป เมื่อจิตใจของเราสะอาด เราก็จะเห็นแต่ความดีงามรอบๆตัว
แต่ถ้าจิตใจของเราสกปรก เราก็จะเห็นแต่ความสกปรกรอบตัว การที่เราเห็นแต่ความเลวรอบๆตัวเรา เราต้องเข้าใจว่า แท้ที่จริงแล้ว สิ่งที่เราเห็น มันเกิดขึ้นในจิตใจของเรา และเราจะต้องหาทางฝึกจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ ถ้าเราเห็นแต่สิ่งที่เลว จิตใจก็ไม่สงบ เราก็จะกลุ้มอกกลุ้มใจ มีความทุกข์
แต่ถ้าเราหัดมองในแง่ดี เราก็จะคิดแต่สิ่งที่ดี จิตใจก็จะเบิกบานและมีความสุข
คนที่ถูกนินทาด่าว่ามีอยู่ทั่วไป ถ้าจะเพิ่มเราเป็นผู้ถูกนินทา เข้าไปอีกสักคน จะเป็นไรไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
darkknightza
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
พลังน้ำใจ: 167
ออฟไลน์
กระทู้: 4,245
|
 |
« ตอบ #126 เมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2010, 08:42:49 » |
|
อย่าพูดมาก ปากกล้า เวลาโกรธ เสียประโยชน์ โทษหนัก เสียศักดิ์ศรี ต้องสะกด อดกลั้น มีขันตี พูดให้ดี มีประโยชน์ ไม่โกรธกัน
ยะโต ยะโต จะ ปาปะกัง ตะโต ตะโต มะโม นิวาระเย แปลว่า พึงห้ามจิตจากอารมณ์ที่เป็นบาปนั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
darkknightza
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
พลังน้ำใจ: 167
ออฟไลน์
กระทู้: 4,245
|
 |
« ตอบ #127 เมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2010, 17:49:48 » |
|
หลักแห่งการปฏิบัติธรรม ๕ ประการ
๑. ศีล ด้วยการทำตนให้สงบ ระวังความชั่วทางกาย - ใจ ๒. สมาธิ ต้องฝึกจิต อบรมจิตให้ระงับความวิตกฟุ้งซ่าน ๓. ปัญญา ต้องศึกษาลักษณะจิตด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง ในหลักแห่งความจริง ๔. วิมุตติ ต้องเข้าใจลักษณะแห่งจิต ที่พ้นจากเพลิงทุกข์ ว่าเป็นอย่างไร ๕. วิมุตติญาณทัสสนะ ต้องศึกษาถึงความรู้จักตน ว่าอย่างไรจึงรู้แน่ กายสุจริต วจีสุจริตต มโนสุจริต
หัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา ๓ ประการได้แก่
๑.ไม่ทำความชั่วทั้งปวง ๒.ทำความดีให้ถึงพร้อม ๓.ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้พระอริยสงฆ์จำนวน ๑๒๕๐ รูปที่ต่างมาประชุมโดยพร้อมเพรียงกันโดยมิได้นัดหมาย ในวันเพ็ญเดือน ๓ (วันมาฆบูชา) เรียกว่า "โอวาทปาติโมกข์ " อันถือเป็นข้อธรรมที่เป็นประธานของคำสอนทั้งหลาย
ฆราวาสธรรม ๔ คือธรรมสำหรับการครองเรือนในชีวิตของบุคคลทั่วไปได้แก่
๑. สัจจะ คือ พูดจริงทำจริงและซื่อตรง ๒. ทมะ คือ ฝึกหัดแก้ไขปรับปรุง ๓. ขันติ คือ อดทนตั้งใจและขยัน ๔.จาคะ คือ เสียสละ
ธรรมคุ้มครองโลกมี ๒ อย่างคือ
๑.หิริ คือ ความละอายใจในการทำบาป ๒.โอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวผลของการทำชั่ว
อิทธิบาท ๔ หรือธรรมที่ช่วยให้สำเร็จในสิ่งที่ประสงค์ได้แก่
๑. ฉันทะ คือ ความพอใจรักใคร่ ๒. วิริยะ คือ ความเพียร ๓. จิตตะ คือ เอาใจฝักใฝ่ ไม่วางธุระ ๔. วิมังสา คือ หมั่นตริตรอง พิจารณาเหตุผล
สัมมัปปาธาน ๔
๑. พยายามเพื่อจะไม่ให้เกิดอกุศลกรรม คือ บาปเกิดในตน ๒. พยายามเพื่อจะละอกุศลธรรม คือ บาปที่เคยเกิดขึ้นแล้วในตน ๓. พยายามเพื่อจะเจริญกุศลธรรม คือ บุญให้มีในตน ๔. พยายามเพื่อรักษากุศลธรรม คือ บุญที่เกิดขึ้นแล้วในตนให้มีอยู่ ข้อแรกคือ ให้ระวังทวารหก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ข้อที่เหลือ คือ ต้องขับไล่ของเก่า คืออย่าไปแยแส ไม่ต้องรำพึง เพียงแต่เจริญสติ
เมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้แล้วได้แสดงปฐมเทศนาโปรดแก่ ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ (ผู้ที่เคยอุปัฏฐากปรนนิบัติพระองค์มาได้แก่ โกณทัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ) เป็นครั้งแรก มรรคอันมีองค์ ๘ นี้เป็นข้อปฏิบัติแบบสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ที่ทรงโปรดแก่เหล่าปัญจวัคคีย์
มรรคมีองค์ ๘ ได้แก่
๑.สัมมาทิฏฐิ คือมีปัญญาอันเห็นชอบ ได้แก่การเห็นในอริยสัจ ๔ คือ - ทุกข์ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ (สมุทัย) - ความดับทุกข์ (นิโรธ) - ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ (มรรค) ๒.สัมมาสังกัปปะ คือดำริชอบ ได้แก่ - ดำริที่จะออกจากกาม (เนกขัมมะ) - ดำริในการไม่พยาบาทปองร้ายผู้อื่น - ดำริในการไม่เบียดเบียนผู้อื่น ๓.สัมมาวาจา คือเจรจาชอบ ได้แก่การเว้นจากวจีทุจริต ๔ คือไม่ประพฤติชั่วทางวาจาอันได้แก่ - ไม่พูดเท็จ (มุสาวาทา) - ไม่พูดส่อเสียด ยุยงให้เขาแตกร้าวกัน (ปิสุณาย วาจาย) - ไม่พูดคำหยาบคาย (ผรุสาย วาจาย) - ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้สาระ (สัมผัปปลาปา) ๔.สัมมากัมมันตะ คือทำการงานชอบโดยประกอบการงานที่ไม่ผิดประเพณี ไม่ผิดกฏหมาย ไม่ผิดศีลธรรม และเว้นจากการทุจริต ๓ อย่างได้แก่ - การเบียดเบียนฆ่าสัตว์ตัดชีวิต (ปาณาติบาต) - การลักขโมย และฉ้อฉลคดโกง แกล้งทำลายผู้อื่น (อทินนาทาน) - การประพฤติผิดในกาม (กาเมสุมิจฉาจาร) ๕.สัมมาอาชีวะ คือเลี้ยงชีวิตชอบได้แก่ การเว้นจากการเลี้ยงชีพในทางที่ผิด การประกอบสัมมาอาชีพคือ - เว้นจากการค้าขายเครื่องประหารมนุษย์และสัตว์ - เว้นจากการค้าขายมนุษย์ไปเป็นทาส - เว้นจากการค้าสัตว์สำหรับฆ่าเป็นอาหาร - เว้นจากการค้าขายน้ำเมา - เว้นจากการค้าขายยาพิษ ๖.สัมมาวายามะ คือมีความเพียรชอบ ๔ ประการได้แก่ - เพียรระวังมิให้บาปหรือความชั่วเกิดขึ้น - เพียรละบาปหรือความชั่วที่เกิดขึ้นแล้ว - เพียรทำกุศลหรือความดีให้เกิดขึ้น - เพียรรักษากุศลหรือความดีที่เกิดขึ้นแล้วให้คงอยู่ ๗.สัมมาสติ คือระลึกชอบได้แก่ การระลึกวิปัฏฐานได้แก่ การระลึกในกาย เวทนา จิต และธรรม ๔ ประการคือ - พิจารณากาย ระลึกได้เมื่อรู้สึกสบายหรือไม่สบาย พิจารณาลมหายใจเข้าออก - พิจารณาเวทนา ระลึกได้เมื่อรู้สึกสุข หรือทุกข์ หรือเฉยๆ มีราคะ โทสะ โมหะหรือไม่ - พิจารณาจิต ระลึกได้ว่าจิตกำลังเคร้าหมองหรือผ่องแผ้ว รู้เท่าทันความนึกคิด - พิจารณาธรรมให้เกิดปัญญา ระลึกได้ว่าอารมณ์อะไรกำลังผ่านเข้ามาในใจ ๘.สัมมาสมาธิ คือตั้งใจชอบ ทำจิตให้สงบระงับจากกิเลส เครื่องเศร้าหมอง ให้มีอารมณ์แน่วแน่เป็นอันเดียว เพื่อให้จิตจดจ่อ ไม่ฟุ้งซ่าน หาอารมณ์อันไม่มีโทษให้จิตยึด จะได้ไม่พร่าไปหลายทางได้แก่ การเจริญฌานทั้ง ๔ คือ - ปฐมฌาน หรือฌานที่ ๑ - ทุติยฌาน หรือฌานที่ ๒ - ตติยฌาน หรือฌานที่ ๓ - จตุตถฌาน หรือฌานที่ ๔
เคล็ดลับการเป็นพหูสูต ๕ อย่าง
๑.ฟังมาก หรือศึกษาเล่าเรียนมาก ๒.จำมาก คือหมั่นสังเกตจดจำสิ่งต่างๆที่เห็นมา เรียนมา ๓.ท่องจนคล่องขึ้นใจ คือจำได้โดยไม่ต้องนึกคิด ๔.เจนใจ คือการคิดจนสร้างมโนภาพในใจขึ้นได้ทันที ๕.ทะลุปรุโปร่ง คือนำข้อมูลที่ได้ศึกษามาพิจารณาเป็นข้อสรุป อธิบายต้นสายปลายเหตุได้อย่างถูกต้อง
อานิสงส์ในการฟังธรรม ๕ ประการได้แก่
๑.ย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๒.สิ่งที่ได้ฟังแล้ว ย่อมชัดเจนแจ่มแจ้งขึ้น ๓.บรรเทาความสงสัยเสียได้ ๔.ทำความเห็นให้ตรง ๕.จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส ไม่ได้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แต่เป็นโอวาทที่ท่านธนัญชัยเศรษฐีได้ให้ไว้กับนางวิสาขาก่อนออกเรือน ซึ่งถือว่าเป็นข้อพึงปฏิบัติที่ดีสำหรับสตรีทั่วไป จึงได้นำมากล่าวไว้ ณ ที่นี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
alinonlinebiz
ก๊วนเสียว
พลังน้ำใจ: 28
ออฟไลน์
กระทู้: 230
|
 |
« ตอบ #128 เมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2010, 18:26:47 » |
|
 อนุโมทนาครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
darkknightza
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
พลังน้ำใจ: 167
ออฟไลน์
กระทู้: 4,245
|
 |
« ตอบ #129 เมื่อ: 02 พฤศจิกายน 2010, 17:37:34 » |
|
การแผ่เมตตาดับปฏิฆะไปในบุคคลที่ไม่เป็นที่รัก
เช่น ในผู้ที่เป็นศัตรู ถ้าหากจิตใจยังไม่เป็นอุเบกขา คือยังดับปฏิฆะในใจไม่ได้ การแผ่เมตตาออกไปในบุคคลที่ชังกันนั้นยากมาก จิตไม่ยอมที่จะเมตตา ยิ่งไปคิดถึงบางทีกลับไปเพิ่มความพยาบาท โทสะให้มากขึ้นไปอีก
เพราะฉะนั้นต้องคิดดับปฏิฆะในใจ
ทำ ใจให้เป็นอุเบกขาให้ได้ โดยที่ปลงลงในกรรม เป็นกรรมของบุคคลที่ตนไม่ชอบนั้นเองด้วย เป็นกรรมของตนเองด้วย และไม่ว่าจะเป็นศัตรูคือบุคคลที่ตนไม่ชอบ หรือว่าเป็นตนเอง เมื่อทำอะไรออกไปทางกาย ทางวาจา ตลอดจนถึงทางใจ กรรมที่ทำนั้นถ้าเป็นอกุศลก็เป็นอกุศลกรรมของตนเองเช่นเดียวกัน
เพราะฉะนั้นพิจารณาดูว่าไม่ชอบเขาเพราะอะไร
เขา เป็นศัตรูเพราะอะไร สมมติว่าไม่ชอบเขา เห็นว่าเขาเป็นศัตรู เขาทำร้าย เขาพูดร้าย เขาแสดงอาการคิดร้ายต่อตนอย่างใดอย่างหนึ่ง คราวนี้ก็มาพิจารณาปลงลงในกรรม ก็พิจารณาว่า การทำร้าย การพูดร้าย การคิดร้ายของเขานั้นใครเป็นคนทำ เขาทำหรือว่าเราทำ ก็ต้องตอบว่าเขาทำ ก็เมื่อเขาทำก็เป็นกรรมของเขา เมื่อเขาทำร้าย เขาคิดร้าย เขาพูดร้ายจริงแม้ต่อเรา กรรมที่เขาทำนั้นก็เป็นอกุศลกรรมของเขาเอง เราไม่ได้ทำก็ไม่เป็นกรรมของเรา แม้ว่าเราจะเดือดร้อนเพราะกรรมเขาก็จริง
แต่กรรมที่เขาทำก็เป็นกรรมของเขาเอง ไม่ใช่กรรมชั่วของเรา เราอาจจะต้องเดือดร้อนเพราะกรรมชั่วของเขาก็จริง แต่ว่ากรรมชั่วนั้นเป็นของเขาไม่ใช่ของเรา แบ่งออกได้ดั่งนี้ ก็จะทำให้ปลงใจลงไปในกรรมได้ไม่มากก็น้อย หรือว่าปลงลงไปครึ่งหนึ่ง หรือว่าค่อนหนึ่ง หรือว่าทั้งหมด
ถ้าหากว่าสามารถพิจารณาให้เห็นจริงจังดั่งนั้นได้
และ ก็ดูถึงกรรมของตัวเองว่า อาจจะเป็นที่ตนกระทำกรรมอันใดอันหนึ่งที่เป็นกรรมชั่วของตน แต่ว่าไปทำให้คนอื่นเดือดร้อนในอดีตบ้าง หรือว่าในปัจจุบันบ้างก็ได้
เพราะฉะนั้นก็ให้อโหสิกรรมกันไปเสีย คิดปลงลงไปดั่งนี้แล้ว
ก็ จะทำให้ดับปฏิฆะลงไปได้ แล้วคิดแผ่เมตตาไปแม้ในคนที่เป็นศัตรูหรือคนที่ชังกัน ก็ย่อมจะทำได้ง่ายเพราะว่าดับความชังในจิตใจ โดยทำจิตใจให้เป็นอุเบกขาได้
ในข้อกรุณา ข้อมุทิตาก็เช่นเดียวกัน
และเมื่อได้ปฏิบัติอบรมเมตตา กรุณา มุทิตาในกาละ ในบุคคลที่ควรอบรม ก็สามารถที่จะอบรมมาถึงอุเบกขาได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
darkknightza
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
พลังน้ำใจ: 167
ออฟไลน์
กระทู้: 4,245
|
 |
« ตอบ #130 เมื่อ: 03 พฤศจิกายน 2010, 15:42:19 » |
|
ขอร่วมด้วย กับอชิระ ในไม่ประมาท เพื่อตัดขาด ความประมาท ที่ชอบสิง ที่ทำจิต ให้หลงทาง จากความจริง ไม่เกรงกริ่ง หมู่มาร ตามผลาญเรา
ท่านอชิระ ยก "เกสปุตตสูตร" นั้น ขอร่วมกัน ให้กระจ่าง ห่างจากเขลา ชาวกาลมะ เข้าเฝ้าพระ พุทธเจ้า ได้นำเอา ความจาก สมณะพราหมณ์
ที่ยกเอา วาทะตน ข่มผู้อื่น ธรรมดาษดื่น ที่ต่างไป อย่าเกรงขาม มีแต่ธรรม สำนักเรา ที่งดงาม จงเชื่อตาม ที่เรากล่าว โปรดเข้าใจ
อีกพวกหนึ่ง ที่มา ก็เช่นกัน วจีนั้น ข่มธรรมอื่น และผลักไส ธรรมสำนัก ของเรา จึงยิ่งใหญ่ จงรับไว้ ใส่จิต จินตนา
ชาวกาลมะ จึงทูลถาม ความเป็นจริง ว่าในสิ่ง ที่จริง คือใดหนา กาลมสูตร จึงได้ กำเนิดมา ใช่เพียงว่า สิบ ประการ แล้วจบไป
ยังมีบริบทอื่น ที่ได้ตรัส จึงชอบชัด ใช้ให้เป็น เด่นสดใส จะขอยก พระสูตรนี้ จากพระไตรฯ ให้ผู้อ่านได้แจ้งใจ ได้ปัญญา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
darkknightza
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
พลังน้ำใจ: 167
ออฟไลน์
กระทู้: 4,245
|
 |
« ตอบ #131 เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2010, 17:39:16 » |
|
26 วิธีอารมณ์ดีตลอดกาล 1. ศิลปะ หางานอดิเรกเกี่ยวกับด้านศิลปะมาทำ เช่น การถ่ายภาพ วาดภาพ ร้องเพลง เต้นรำ เป็นต้น เพื่อให้ตัวท่านเองมีาจิตใจอ่อนโยน มีหัวใจศิลปิน อารมณ์ท่านก็จะดีตามไปด้วย การอาบน้ำ 2. การอาบน้ำด้วยน้ำเย็นจะช่วยให้ท่านสดชื่น มีชีวิตชีวา เพราะฉะนั้นในแต่ละวันควรให้ความสำคัญกับการอาบน้ำ เพราะจะเป็นช่วงเวลาส่วนตัวที่ทุกคนได้ผ่อนคลายที่สุดของแต่ละวันหลังจากทำ งานมาเครียดๆ 3. มิตรสหาย ควรจะหาเพื่อนที่อารมณ์ดีมาเป็นคู่สนทนา เมื่อคุยกับเพื่อนคนนี้จะต้องมีเรื่องสนุกคุยกันจะเป็นการช่วยให้ท่านได้มี โอกาสผ่อนคลาย โดยอาจจะเป็นการโทรศัพท์ไปคุยกันก็ได้เพื่อให้มีความสนุก 4. เปิดเผย ท่านจะต้องไม่เป็นคนที่เก็บกดปัญหาต่างๆ จะต้องหาคนพูดคุย คนปรึกษา ถ้าปัญหาที่ท่านเผชิญอยู่เก็บไว้คนเดียวอารมณ์ของท่านจะหงุดหงิดอยู่ตลอด เวลา 5. รู้จักพอ ท่านจะต้องฝึกเป็นผู้มีความเพียงพอในเรื่อง ต่างๆ แล้วไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ใครจะได้จะเสียอะไร ตัวท่านจะต้องรู้จักตัวเองว่า ความพอดีของตัวท่านเองอยู่ที่ไหนแล้วอารมณ์ของท่านจะสดใส อย่าวิ่งตามกระแสสังคม 6. อาหาร ในแต่ละมื้ออาหารท่านควรจะรับประทานให้พออิ่ม อย่าให้มากหรือน้อยจนเกินไป และที่สำคัญ ควรรับประทานอาหารที่มีผักมากๆ เนื่องจากการย่อยจะง่าย ท้องไส้ไม่ปั่นป่วน ควรจะทานเนื้อให้น้อยๆ เน้นผลไม้ให้มาก ชีวิตระหว่างมื้ออาหารท่านก็จะสดใสไม่หงุดหงิด 7. การให้ ท่านจะต้องรู้จักที่จะใช้ประโยชน์จากการให้ เช่นให้รอยยิ้ม ให้คำชม ให้การช่วยเหลือ ให้อาหาร มีความปรารถนาดีกับคนรอบข้าง แล้วท่านจะได้รู้ว่าวันที่ท่านมีโอกาสให้วันนั้นจะเป็นวันที่ท่านมีความ สุขอย่างแท้จริง 8. บำบัดรักษา เมื่อเจ็บป่วยหรือรู้สึกไม่สบายใจ เช่นเป็นไข้ เป็นหวัด ก็ให้รีบรักษาเนื่องจากอาการเจ็บป่วยทางกายทำให้จิตใจไม่สดชื่นไปด้วย 9. ทำให้คนอื่นเกิดความประทับใจ เมื่อแรกพบท่านด้วยการแสดงความเป็นคนอารมณ์ดีแล้วคนอื่นจะจดจำท่านได้ดี มีคนคิดถึง 10. เรื่องขำขัน พยายามหาเรื่องที่ขำขันมาเล่าให้กันฟัง เพื่อสร้างความสดชื่นให้กับวงสนทนา แต่ต้องหลีกเลี่ยงการนำเรื่องความผิดพลาดของคนอื่นมาเล่าตลกกัน เพราะถ้าท่านโดนด้วยตัวเองคงจะอารมณ์ไม่ดี 11. ท่านต้องฝึกตัวเองเป็นฆาตกร เป็นนักฆ่า เพื่อฆ่ากิเลสตัณหาในตัวของท่าน เมื่อฆ่าความไม่ดีไมงามทั้งหลายออกจากจิตใจ ชีวิตก็จะเป็นสุขสนุกสนาน 12. หัวเราะ การหาโอกาสหัวเราะให้ได้ในแต่ละวันจะเป็นกำไร ชีวิต แถมอารมณ์ก็ดีด้วย ถ้าอยู่คนเดียวก็ลองนึกถึงเรื่องที่ท่านเคยขำ แล้วท่านจะหัวเราะ การหัวเราะแต่ละครั้งจะช่วยยืดอายุท่านได้ 12 นาที 13. ตื่นเช้า การตื่นเช้าต้อนรับวันใหม่จนเป็นนิสัยจะทำให้ท่านรู้สึกสบายใจเนื่องจากไม่ ต้องเร่งรีบจนเกินไปในการเดินทางไปทำงาน ตลอดวันทำงานรับรองอารมณ์ท่านจะดีอย่างแน่นอน 14. ทางสายกลาง ท่านจะต้องพยายามทำตัวเองให้มีความพอดี มีความสมดุล ไม่วิ่งตามโลกตามกระแสสังคมมากเกินไป เมื่อสังคมภายนอกเปลี่ยนแปลงท่านก็จะอยู่ได้อย่างไม่เจ็บปวด 15. ผู้ชมหน้าเวที กำลังจ้องมองท่านอยู่ ให้สมมุติว่าตัวท่านเป็นนักแสดงที่ยิ่งใหญ่ เป็นดาราระดับซูปเปอร์สตาร์ ทุกอย่างที่ท่านกำลังทำหรือจะทำคือการแสดง แล้วท่านจะมีอารมณ์ดีตลอดกาล 16. มองโลกในแง่บวก ความไม่ดี ความคิดเชิงลบเป็นตัวส่งเสริมความหงุดหงิดของอารมณ์ จงเลือกที่จะคิดในสิ่งที่สร้างสรรค์ มองในมุมที่สบายใจ ใช้ความเป็นธรรมในการตัดสินปัญหา 17. จดข้อความที่น่าสนใจ มีข้อคิด กลอน คำกล่าว คติเตือนใจ หลายๆอันที่น่าสนใจและเมื่อได้เห็นได้อ่านแล้วสบายใจ ก็ให้จดไว้ใกล้โต๊ะทำงาน เมื่อท่านมองดูแล้วก็จะสบายใจ เช่น ” คนอ่านน่ารัก “ 18. อ่าน หาหนังสือที่ช่วยให้อารมณ์ขันมาอ่าน เช่นการ์ตูน ขำขัน นิยายตลก และอาจรวมไปถึงไปถึงการดู วีดีโอตลก ฟังเทปตลก เป็นต้น เหล่านี้สามารถสร้างอารมณ์ที่สดชื่นได้ตลอด 19. นอน อยากมีอารมณ์ดีจะต้องนอนให้เพียงพอถ้าท่านนอนน้อย วันต่อมาไปทำงานท่านจะรู้สึกว่าเฉื่อยๆ ไม่กระฉับกระเฉง ง่วงนอน คนเราจะต้องนอนวันละประมาณ 7-8 ชั่วโมง ระวังอย่านอนมากเกิน 20. คิดถึงคนที่เรารักเรื่องที่เราประทับใจ คิดถึงอนาคตของครอบครัวที่มีความสุข พ่อ แม่ ลูก การคิดถึงเรื่องที่มีความสุขจะทำให้ท่านอารมณ์ดีเพราะ ” ความคิดเป็นตัวกำหนดชีวิตของท่าน “ 21. เข้าใจอะไรง่าย ฝึกเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ แล้วทำความเข้าใจ บางคนเป็นคนมีปัญหาชอบตั้งคำถามจนคนอื่นรำคาญใจ ตัวเองก็พลอยหงุดหงิดไปด้วย 22. วิตามิน ชนิดต่างๆ มีความสำคัญต่อนร่างกายเช่น วิตามิน อี มีผลต่อผิวหนัง วิตามินซีมีส่วนช่วยให้ฟันแข็งแรง ดังนั้น ถ้าร่างกายได้รับวิตามินชนิดต่างๆ ตามที่ร่างกายต้องการก็จะทำให้สุขภาพดี 23. ความปรารถนา ท่านจะต้องกำหนดให้เป็นพันธกิจของตัวเองเลยว่า “ข้าพเจ้าจะเป็นคนที่อารมณ์ดีตลอดกาล ไม่ว่าปัญหาใดๆ จะเข้ามาในชีวิตก็ตาม” 24. งดเว้น การดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะเป็นบ่อเกิดแห่งปัญหาอื่นๆ อีกมากมาย เช่น อุบัติเหตุ รายได้ของครอบครัว ทะเลาะวิวาท แถมบั่นทอนสุขภาพ ควรอยู่ให้ห่างของมึนเมา 25. ร้องออกมาเสียงดังๆ เมื่อท่านทำอะไรบางอย่างสำเร็จ เช่นทำงานโครงการที่ใช้เวลานาน แข่งกีฬาชนะ ขายสินค้าได้ แต่ก็ควรระวังก่อนจะร้องออกมาดูคนรอบข้างด้วย 26. การมีใจจดจ่อ ต่อเรื่องที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของท่านแต่ละอย่าง คิดอย่างรอบคอบเพื่อลดความผิดพลาด อันเป็นบ่อเกิดของอารมณ์ที่ไม่ดี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
darkknightza
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
พลังน้ำใจ: 167
ออฟไลน์
กระทู้: 4,245
|
 |
« ตอบ #132 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2010, 10:26:00 » |
|
ความหมายของธรรมะที่ถูกตรงถูกต้องตามครรลองพระสัจธรรม ของพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า หมายถึงเครื่องชำระล้าง ฟอกขัดเกลาจิตวิญญาณ
เพราะฉะนั้น คนมีธรรมะก็เหมือนมีเครื่องฟอก เครื่องชำระล้าง เครื่องดูดฝุ่นในตัว ฝุ่นมันเกิดขึ้นตรงไหนก็ดูดมันออก ตรงไหนเป็นขยะก็เก็บมันทิ้ง
ตรงไหนมีคราบแสงสีเสียงกลิ่นก็ชำระมันออก นั่นคือคนมีธรรมะ คนมีธรรมะไม่ใช่ยายแก่แร้งทึ้ง คนมีธรรมะไม่ใช่ตาเฒ่าหัวหงอก
คนมีธรรมะไม่ใช่คนที่ทำตัวล้าหลังในสังคม คนมีธรรมะไม่ใช่คนเป็นคนที่เคร่งเครียดแล้วกลายเป็น คนที่น่าเกลียดในสังคม แต่ความหมายของคนมีธรรมะ
จะเป็นคนที่ใหม่และทันสมัยเสมอ ต่อทุกสภาวะ ทุกสถานะ และทุกถิ่นทุกที่และทุกเรื่องที่ทำ คนที่มีธรรมะมีศักยภาพ และสมรรถนะ และวิถีคิด วิถีงาน วิถีจิต วิถีชีวิตที่ เป็นวิถีพุทธ
คือรู้ตื่น และเบิกบาน ตามกระบวนการของการดำรงชีวิต
ผู้มีธรรมะย่อยชาญฉลาดทุกสถาน ผู้มีธรรมะย่อมมีชัยชนะทุกถิ่นทุกที่ทุกทางที่ตนอยู่อาศัย ผู้มีธรรมะย่อมมีสันติ สงบสุข ร่มเย็น ในขณะที่คนอื่นทุกข์ร้อน เศร้าหมอง ขุ่นมัว
ผู้มีธรรมะ จะรู้จักปล่อยว่าง สลัดหลุด และไม่ปล่อยให้อะไรมาฉุดรั้ง ผู้มีธรรมะย่อมมีพระอยู่ในใจ ผู้มีธรรมะย่อมต้องรู้จักพอ หรือถ้าต้องการก็รู้จัก หยุด ธรรมะจึงเป็น สัญลักษณ์ของ คนที่
ฉลาด สะอาด สว่าง และสงบ
ธรรมะ จะดัดกายวาจาใจของเราให้กลายเป็นบุคคล ที่ซื่อตรงต่อตนเอง ซื่อตรงต่อคนอื่น ซื่อตรงต่อสังคมส่วนรวม ความซื่อตรงนี่เหละ คือคุณลักษณะของคน มีธรรมะ
และความซื่อตรง มันเกิดขึ้นได้ จากการที่ต้องเรียนรู้ธรรมะ มักจะมีคำพูดว่า พระพุทธเจ้าถ้าสอนให้เป็นคนเชื่องช้า พระองค์ก็คงไม่ใช่ศาสดาเอกของโลก เป็นแน่
เพราะคนที่ช้า ย่อมตกเป็นทาสของคนที่ว่องไว และรวดเร็ว คนที่อ่อนแอย่อมตกเป็นทาสของคนที่เข้มแข็ง คนที่โง่เขลาย่อมตกเป็นทาสของคนฉลาด และรู้มาก
เพราะฉะนั้น ธรรมะอยู่กับใคร คนนั้นจะไม่เป็น คนที่อ่อนแอ จะไม่เป็นคนที่ล่าช้า จะไม่เป็นคนที่เหลวไหล และจะไม่เป็นคนที่โง่เขลา แต่จะทำ ให้ผู้นั้น
มีความ ตระหนักสำนึก รู้จักความถูกต้อง และไม่บกพร่อง ในหน้าที่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
darkknightza
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
พลังน้ำใจ: 167
ออฟไลน์
กระทู้: 4,245
|
 |
« ตอบ #133 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2010, 10:29:19 » |
|
คนโง่ คนฉลาด คนเจ้าปัญญา
ว่าด้วยคุณค่าแห่งธุรกิจ
คนโง่ ทำงาน เอาธุรกิจเป็นสรณะ เมื่อธุรกิจรุ่งเรืองก็รุ่งเรืองกับธุรกิจ เมื่อธุรกิจร่วงก็ร่วงหล่นกับธุรกิจ เมื่อธุรกิจสลายก็ตายไปกับธุรกิจ
คนฉลาด เอาธุรกิจเป็นพาหะ เมื่อธุรกิจดีก็ขึ้นขับขี่ขับไป เมื่อธุรกิจเสียหายก็ซ่อมแซม เมื่อธุรกิจพังทลายก็เปลี่ยนธุกิจใหม่ ขับขี่ ซ่อมแซม และเปลี่ยนธุรกิจเรื่อยไป
คนเจ้าปัญญา เอาธุรกิจเป็นธารณะ จัดระบบเกื้อกูลมหาชน เมื่อเกื้อกูลแล้วก็เก็บเกี่ยวเพื่อการพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ เมื่อโลกเปลี่ยนความต้องการก็เปลี่ยนการเกื้อกูล เมื่อโลกหยุดต้องการก็หยุดเกื้อกูล แต่เนื่องจากโลกไม่เคยสิ้นสุดในความต้องการเขาจึงมีงานธุรกิจเสมอตราบที่เขาประสงค์เกื้อกูล
ว่าด้วยการบริหารธุรกิจ
คนโง่ ทำงาน ทำธุรกิจด้วยความอยากได้ ผู้คนจึงหวาดระแวงและถอยหนี
คนฉลาด ทำธุรกิจด้วยความอยากแลกเปลี่ยนผู้คนจึงพิจารณาและคบหาตราบที่ยังได้ประโยชน์
คนเจ้าปัญญา ทำธุรกิจด้วยความอยากให้ ผู้คนจึงต้อนรับด้วยความยินดีแม้จะต้องให้อะไรตอบบ้างก็ตาม
ว่าด้วยการบริหารระเบียบ
คนโง่ ทำงานเพื่อความถูกต้องตามอักขระ จึงเป็นได้แค่เสมียน
คนฉลาด ทำงานเพื่อความถูกต้องตามเจตนารมณ์จึงได้เป็นผู้บริหาร
คนเจ้าปัญญา ทำงานเพื่อความถูกต้องต่อผลสูงสุด จึงได้เป็นเจ้าของ
ว่าด้วยการทำงาน
คนโง่ ทำงานเพื่อเงิน จึงได้เงินมาอย่างยากเย็น และมักไม่ได้คุณค่าอื่น ๆ ของงาน
คนฉลาด ทำงานเพื่องาน จึงได้ผลงานที่ยิ่งใหญ่ และได้เงินตามมาโดยง่าย
คนเจ้าปัญญา ทำงานเพื่อหยิบยื่นคุณค่าแก่สังคม เขาจึงได้ผลงานที่น่าชื่นชม เงิน ชื่อเสียงและมิตรมหาศาลย่อมตามมาเสมอ
ว่าด้วยการกล่าวหา
คนโง่ มักกล่าวหาผู้อื่น จึงมีแต่ศัตรูรอบตัว นำมาซึ่งความหายนะและความตาย
คนฉลาด ชอบกล่าวหาตัวเอง จึงได้รับความสงสารไปทั่ว และนำมาซึ่งความสมเพช
คนเจ้าปัญญา ไม่กล่าวหาใคร ด้วยแท้จริงไม่มีใครอยากผิด แต่พลาดไปเพราะไม่เห็นความผิด หรือเห็นแต่ไม่มีโอกาสเลือกสิ่งที่ถูก หรือมีโอกาสแต่ไม่มีกำลังพอที่จะตัดสินใจเลือก เขาจึงให้กำลังใจทุกคนสู่ความแกล้วกล้า ทุกคนจึงเป็นหนี้บุญคุณเขา และยอมรับเขาดั่งมิตรผู้ประเสริฐ
ว่าด้วยการวิพากษ์วิจารณ์
คนโง่ มัววิพากษ์วิจารณ์นินทาคนอื่น เพราะไม่จริงใจกับใคร จึงไม่มีใครจริงใจด้วย เขาย่อมมีแต่มิตรเทียม
คนฉลาด มัววิพากษ์วิจารณ์ตนอย่างที่เป็น โดยไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงของตนที่ต้องเป็นไป คนอื่นจึงมักไม่เข้าใจเขาที่แปรเปลี่ยนไปเสมอ และไม่มีคนเข้าใจจริงเคียงข้างเขา
คนเจ้าปัญญา ย่อมไม่วิพากษ์วิจารณ์ใคร ด้วยแจ่มแจ้งว่าทุกคนก็เปลี่ยนไป เขาย่อมเลี่ยงคนที่ชอบวิจารณ์ตนและคนอื่น ทุกคนจึงสบายใจที่จะอยู่ใกล้เขา เขาย่อมมีมิตรแท้และมั่นคง
ว่าด้วยผู้พูด
คนโง่ ชอบให้อารมณ์พูด จึงผิดพลาดมาก ล้มเหลวบ่อย
คนฉลาด ชอบใช้เหตุผลพูด จึงถูกต้องมากแต่มักไร้ความรู้สึก และประสบแต่ความสำเร็จอันแห้งแล้ง
คนเจ้าปัญญา ชอบใช้ธรรมะพูด จึงบริสุทธิ์เหนือถูกเหนือผิด และเป็นหนึ่งเดียวกับความสำเร็จโดยธรรม
ว่าด้วยการพูดจา
คนโง่ ชอบเถียง เขาจึงได้การทะเลาะและความบาดหมางแทนความรู้
คนฉลาด ชอบถาม เขาจึงได้ความรู้และมิตรภาพมากกว่าความแตกแยก
คนเจ้าปัญญา ชอบเฉยสังเกตลึก เข้าใจสิ่งต่าง ๆ อย่างลึกซึ้ง แล้วจึงนำเสนออย่างเหมาะสม
ว่าด้วยความโง่และความฉลาด
คนโง่ ชอบคิดว่าตนฉลาดแล้ว จึงดักดานอยู่กับความโง่ของของตนตามที่เป็น
คนฉลาด ชอบคิดว่าตนโง่ จึงชอบแกล้งโง่ และมักโง่ได้สมปรารถนาในที่สุด
คนเจ้าปัญญา ย่อมเห็นความโง่และความฉลาดที่ซ้อนกันอยู่ และรู้วิธีที่จะยกจิตสู่ปัญญายิ่ง ๆ ขึ้นไป จึงค่อย ๆ หายโง่ และเลิกฉลาดโดยลำดับ
ว่าด้วยการบริหารกระบวนการคิด
คนโง่ ชอบไหลตามความคิด จึงมีภารกิจที่ไม่รู้ตัวอย่างไม่สิ้นสุด
คนฉลาด ชอบสร้างความคิด จึงมีจินตนาการอันสวยหรูแต่ไม่เป็นจริงอย่างไม่สิ้นสุด
คนเจ้าปัญญา ชอบบริหารความคิด สร้างสรรค์ ตกแต่ง ตัดต่อ และละวางเมื่อสมควร จึงได้ประโยชน์จากความคิดสูงสุด
ว่าด้วยความคิด
คนโง่ ทำก่อนแล้วถึงคิด จึงผิดพลาดอยู่เนือง ๆ ต้องเปลืองเวลาและความรู้สึกตามแก้ปัญหาไม่สิ้นสุด
คนฉลาด คิดมากก่อนแล้วถึงทำ จึงเพ้อเจ้ออยู่เป็นประจำ แม้ประสงค์จะทำดีมากแต่ทำได้น้อง เพราะเขม่าความคิดปิดกั้นความหาญกล้า
คนเจ้าปัญญา คิดไปทำไป จึงทำได้อย่างที่คิด และคิดพอดีที่ทำ ประหยัดพลังงานและบริหารเวลาได้เหมาะสม ลดความหลอนป้องกันความผิดพลาดขื่นขมและประสบความสำเร็จโดยไม่เหน็ดเหนื่อย
ว่าด้วยการรู้จักแจ้งตนเอง
คนโง่ อยู่กับตนก็ไม่รู้จักตน จึงกลัวตนไปต่าง ๆ นานา
คนฉลาด อยู่กับตนและรู้จักตนดี แต่ไม่รู้สิ่งที่ดีกว่าตน
คนเจ้าปัญญา ย่อมรู้จักตนดีที่สุดจนทะลุความไม่มีตน จึงบริหารตนได้เสมือนสร้างสรรค์ฟองสบู่ ใช้ประโยชน์จนสุดกู่แล้วก็สลายมลายวับไป
ว่าด้วยการบริหารเป้าหมาย
คนโง่ มักใช้ชีวิตอย่างไร้เป้าหมาย จึงว่ายไปแล้ววนกลับมาที่เดิม ต้องเริ่มต้นใหม่ร่ำไปสู่อนาคตที่ไร้ทิศทาง
คนฉลาด มักตั้งเป้าหมายชีวิตยิ่งใหญ่ จึงไม่พึงพอใจกับภาวะที่ตนเป็นสักที เพราะดูที่ไรก็ยังห่างไกลเป้าหมายเสมอ
คนเจ้าปัญญา ย่อมมีเป้าหมายสูงสุดแห่งชีวิต และมีเป้าหมายน้อยนิดสานสู่เป้าหมายใหญ่ จึงมีบันไดความสำเร็จให้บรรลุเป้าเป็นลำดับ ได้กำลังใจและหรรษาไปตลอดหนทาง
อย่ามัวโง่ งมงาย จงขวนขวายพัฒนา และอย่าฉลาดอย่างขาดปัญญา จงเป็นมนุษย์เลิศปัญญายิ่งๆขึ้นไป ที่สำคัญแท้จริง จงมีปัญญาจริงแท้ในจิตใจให้ได้ก่อนอื่น
ว่าด้วยทัศนคติ
คนโง่ ดูหมิ่นความดี มองโลกในแง่ร้ายด้านเดียว จึงได้รับแต่สิ่งชั่วร้ายมาพาชีวิตตกต่ำ กลายเป็นทาสสถานการณ์ ยามพบสิ่งดีจะไม่เข้าใจ จึงพลาดโอกาสใหญ่
คนฉลาด ชอบทำดีและคิดดี มักมองโลกในแง่ดีด้านเดียว จึงได้รับแต่สิ่งดีโดยมาก ครั้งพบสิ่งชั่วร้ายจะทนไม่ได้ ทำใจไม่เป็น ต้องถอยหนีสถานการณ์ ดวงใจแตกร้าว ชีวิตจึงมีแต่ความระคายเคืองและปฏิฆะเร้นลึก
คนเจ้าปัญญา ละชั่วเด็ดขาด และทำดีเป็นนิสัย โดยไม่ติดดี แล้วละแม้ความดีเข้าสู่ความบริสุทธิ์ จึงเห็น ที่สุดแห่งความเป็นจริงแท้แห่งโลกว่า ทุกสิ่งในโลกมีทั้งคุณ โทษ และ ความเป็นกลางอยู่ จึงบริหารสถานการณ์ได้ และทำใจได้ในทุกภาวการณ์
ว่าด้วยความยิ่งใหญ่
คนโง่ เห็นว่าตนยิ่งใหญ่ จึงจมอยู่ในตัวตนอันกระจ้อยร่อย ท่ามกลางเอกภพอันไร้ขอบเขต
คนฉลาด เห็นว่าธรรมชาติยิ่งใหญ่ หวาดกลัวและเทิดทูนธรรมชาติ ส่วนใดที่ตนเข้าไม่ถึงจึงโยนไว้ในอุ้งหัตถ์ของภูติผี และ พระเจ้า
คนเจ้าปัญญา เห็นว่าความบริสุทธิ์ยิ่งใหญ่ เพราะตน ธรรมชาติ และ วิญญาณทั้งหลาย ล้วนมีเป้าหมายสูงสุดที่ความบริสุทธิ์
ว่าด้วยการสร้างความมั่งคั่งร่ำรวย
คนโง่ ชอบรวยทางลัด จึงจนอย่างรวบรัดเช่นกัน
คนฉลาด ชอบรวยเชิงระบบ ต้องอิงอาศัยระบบจึงจะรวย เมื่อระบบล่มก็ต้องล้มไปด้วย
คนเจ้าปัญญา ชอบรวยด้วยความยินดี จึงรวยในทุกระดับที่มี ได้ดูดซับคุณค่าของสิ่งที่มีอย่างแท้จริง รวย และ เป็นสุขเสมอ
ว่าด้วยวิถีการดำเนินชีวิต
คนโง่ มักโกงเขากิน กรรมจึงกระหน่ำให้เสียทรัพย์ ยากจนอยู่ร่ำไป ช้ำมีศัตรูคอยกัดกร่อนตลอดเวลา
คนฉลาด แข่งขันแย่งกันกินอย่างถูกกฎหมาย จึงยุ่งยาก และพลาดไม่ได้ เพราะมีคู่แข่งพร้อมย่ำเหยียบเสมอ
คนเจ้าปัญญา แบ่งปันกันกินตามความพอดี จึงมีคนช่วยสร้าง ช่วยรักษา และช่วยเสพ และ มีมิตรร่วมทุกข์ร่วมสุขโดยมาก
ว่าด้วยการบริหารทรัพย์
คนโง่ บริโภคความมีทรัพย์ นั่งนับอย่างเป็นสุขกับการได้มี
คนฉลาด บริโภคอำนาจของทรัพย์ เป็นสุขกับการที่ได้จับจ่ายใช้สอย
คนเจ้าปัญญา บริโภคคุณค่าของทรัพย์ เป็นสุขกับการสร้าง รักษา สละ และ พัฒนาค่าของทรัพย์เป็นคุณสมบัติอื่นที่ยิ่งกว่า
ว่าด้วยคุณค่า
คนโง่ ยึดความชอบ หรือ ความไม่ชอบ เป็นสำคัญ เขาจึงได้รับความสุข และ ความทุกข์อันบีบคั้น เป็นของตอบแทน
คนฉลาด ยึดความถูก และ ความผิด เป็นสำคัญ เขาจึงได้รับศัตรูต่างความคิดเห็นเป็นรางวัล
คนเจ้าปัญญา ยึดประโยชน์สุขสำหรับทุกฝ่ายในทุกกาลเวลาเป็นสำคัญ เขาจึงได้รับศรัทธา และ มหามิตรเป็นกำนัล
ว่าด้วยพฤติกรรม
คนโง่ ชอบเรียกร้อง เขาจึงเป็นที่น่าเบื่อหน่าย และ น่าสมเพชสำหรับคนทั้งหลาย
คนฉลาด ชอบต่อรอง เขาจึงเป็นที่ระแวง ระวังสำหรับคนทั้งหลาย คบหากันอย่างไม่จริงใจ
คนเจ้าปัญญา อาสา สละ เขาจึงเอาชนะใจคนทั้งหลาย และได้รับความรัก ความนับถือเป็นผลตอบแทน
ว่าด้วยการอวดตน
คนโง่ ชอบอวดตัว เขาจึงได้รับความหมั่นไส้ การต่อต้าน และ ความเจ็บปวดเป็นรางวัล
คนฉลาด ชอบถ่อมตัว เขาจึงได้รับความเห็นใจ การดูหมิ่น และการช่วยเหลือเป็นรางวัล
คนเจ้าปัญญา ย่อมมั่นใจตนแต่ไม่นิยมแสดงตัว ไม่ยกตน และ ไม่ถ่อมตัว แต่บริหารสัมพันธภาพเพียงเพื่อผลวางตน และ สำแดงบทบาทตามหน้าที่ เขาจึงได้รับความเคารพ และ ความเชื่อถือเป็นรางวัล
ว่าด้วยความเก่งกาจ
คนโง่ มัวอวดเก่ง จึงไม่มีใครเติมความเก่งให้กับเขาอีก
คนฉลาด ชอบเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเก่งให้ยิ่งขึ้น และเอาความเก่งมาใช้โดยไม่อวด จึงได้ผลงานดี แต่อาจไม่ทุกเรื่อง และอาจไม่ยั่งยืน
คนเจ้าปัญญา หาความเก่งไม่เจอ แต่ทำอะไรก็ยอดเยี่ยมเสมอ เพราะมองเห็นทุกอย่างในตนและนอกตนเป็นธรรมดา ทุกคุณสมบัติจึงเป็นปกติ และ ยั่งยืนสำหรับเขา
ว่าด้วยจรรยามารยาท
คนโง่ แข็งกระด้าง จึงล้มเหลว ดั่งเปลือกไม้ร่วงหล่นลงสู่ดิน
คนฉลาด ยืดหยุ่น จึงกระจายตนไปในสถานการณ์ต่างๆ ดั่งรากไม้แผ่ซ่านไปในผืนปฐพี
คนเจ้าปัญญา อ่อนโยน จึงเจริญงอกงาม ดั่งยอดไม้ที่ทะยานขึ้นสู่ที่สูง
ว่าด้วยความรักสัมพันธ์
คนโง่ ชอบขอความรักและความเห็นใจ แต่มักได้รับความสมเพชตอบแทนเป็นประจำ
คนฉลาด ชอบให้ความรักความเข้าใจ และมักได้รับความหวังพึ่งพิงตอบเนื่องๆ
คนเจ้าปัญญา ชอบให้ปัญญา ที่จะให้ทุกคนรักและเข้าใจตนเอง จึงได้รับความนับถือและความมีบุญคุณตอบแทนเสมอ
ว่าด้วยแหล่งมิตรภาพ
คนโง่ ชอบหาเพื่อนจากวงเหล้า หรือแหล่งอบายมุข จึงได้แต่มิตรเทียม ที่นำภัยมาสู่ชีวิต และ ต้องแตกแยกกลุ่มแล้วกลุ่มเล่า
คนฉลาด ชอบหาเพื่อนจากงาน จึงได้มิตรดีร่วมอุดมการณ์ แต่เมื่องานหมดหรือล้มเหลว มิตรดีเหล่านั้นก็อันตรธานไป และ บางคนก็ผันมาเป็นศัตรูหรือคู่แข่ง
คนเจ้าปัญญา ชอบหาเพื่อนจากธรรมสภาวะ จึงได้มิตรแท้ที่มีรสนิยมเหนือเงื่อนไขทางโลก ความสัมพันธ์จึงสะอาด และ มีแนวโน้มนิรันดร
ว่าด้วยความสัมพันธ์ เชิงสร้างสรรค์
คนโง่ มองแต่ความชั่วร้ายในคนอื่น จึงหยิบยื่นแต่โทษให้แก่กัน และได้รับความทุกข์ตรมเป้นของกำนัล
คนฉลาด มองแต่ความดีในคนอื่น จงหยิบยื่นคุณค่าให้แก่กัน และได้รับความสุขระคนทุกข์อันประณีต เป็นของกำนัล
คนเจ้าปัญญา มองทั้งความดีและความชั่วในทุกตัวคน จึงควบคุมโทษแม้เล็กน้อย ที่อาจเกิดระหว่างกัน แล้วหยิบยื่นคุณค่าให้เพื่อการพัฒนาร่วมกัน ปฏิสัมพันธ์ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขทุกฝ่ายอย่างต่อเนื่องและได้รับความเจริญรุ่งเรืองยั่งยืนเป็นกำนัล
ว่าด้วยวัฒนธรรมสัมพันธ์
คนโง่ เห็นอะไรที่ทำสืบๆกันมา ก็ทำสืบๆกันไป โดยไม่ได้ตรวจสอบประเมินคุณค่าใดๆ จึงผิดๆ ถูกๆ
คนฉลาด เห็นอะไรที่ทำสืบๆ กันมาก็ยังไม่ทำสืบๆกันไป ทำการตรวจสอบประเมินคุณค่าก่อน จึงจะทำสืบๆกันต่อไป จึงได้ประโยชน์ชัดเจน
คนเจ้าปัญญา เห็นอะไรที่ทำสืบๆกันมา และ สืบๆกันไป ก็พยายามพัฒนาต่อเพื่อสิ่งที่ดีกว่า จึงได้ความเจริญโดยลำดับ
ว่าด้วยการสนองตอบผู้มีพระคุณ
คนโง่ เนรคุณผู้มีบุญคุณ จึงไม่มีใครอยากทำดีกับเขาอีก
คนฉลาด กตัญญูผู้มีบุญคุณ จึงมีคนอยากทำดีกับเขามากมาย ซึ่งต้องตามชดใช้บุญคุณกันไม่รุ้จบ
คนเจ้าปัญญา ยกระดับผู้มีบุญคุณให้สูงส่งขึ้น จึงทดแทนบุญคุณกันได้หมด และผู้มีพระคุณกลายเป็นหนี้บุญคุณ และพร้อมที่จะให้พระคุณที่ยิ่งกว่า เกิดวงจรการให้ และการรับที่พัฒนาต่อเนื่อง ทุกฝ่ายจึงได้ประโยชน์อย่างยิ่ง
ว่าด้วยการจัดการกับปัญหา
คนโง่ : พอพบกับปัญหาอะไรก็โวยวาย ก่อให้เกิดปัญหาทางอารมณ์และความสัมพันธ์อีกหลายชั้น จึงยิ่งเสียหาย
คนฉลาด : พอพบปัญหาก็วิเคราะห์ เป็นการใช้ความคิดแก้ปัญหา จึงมักติดบ่วงความคิด วนไปวนมา
คนเจ้าปัญญา : พอพบปัญหาอะไรก็วางก่อน พอเป็นอิสระมีอำนาจเหนือกว่าปัญหาแล้ว จึงจัดการกับปัญหานั้นอย่างเหนือชั้น
ว่าด้วยการบริหารและการปกครอง
คนโง่ : พยายามบริหารคน จึงวุ่นวายสับสนตามธรรมชาติของคน
คนฉลาด : พยายามบริหารประโยชน์สัมพันธ์ จึงยุ่งยากซับซ้อนตามปรารถนาอันไม่สิ้นสุด
คนเจ้าปัญญา : พยายามบริหารระบบธรรม จึงสงบลงตัว ณ จุดพอดี
ว่าด้วยความคิด!!!
คนโง่ : เห็นแต่ความชั่วร้ายของคนอื่น และโยนความผิดให้ผู้อื่นอยู่เรื่อย เป็นการทำมิตรให้กลายเป็นศัตรู ชีวิตจึงอยู่ในท่ามกลางอันตราย
คนฉลาด. : เห็นแม้ความชั่วร้ายในตนเอง จึงกล้ายอมรับความจริงและแก้ไขตัว ทำให้ตนดีขึ้น ทำให้แม้ศัตรูก็ยอมรับได้มากขึ้น ชีวิตจึงเจริญและผาสุกโดยลำดับ
คนเจ้าปัญญา : เห็นความชั่วร้ายสากล จึงเข้าใจทุกคนในทุกสถานการณ์ เห็น***ส่วนการบริหารคนที่เหมาะสม โดยไม่ทำร้ายคน แต่จะทำลายความชั่วสากลให้สิ้นไป จึงสนุกสนานในการบริหารเรื่อยไป.
ว่าด้วยการบริหารธรรม
คนโง่ : ดูหมิ่นธรรมะ ชีวิตจึงหายนะ
คนฉลาด : ศึกษาธรรมะ จึงรู้ลึก และดำเนินชีวิตด้วยดี
คนเจ้าปัญญา : ใช้ธรรมะ จึงดำเนินชีวิตอย่างเหนือชั้น!!
ว่าด้วยความเพียร
คนโง่ : มัวขยันในเรื่องไร้สาระ จึงมักพบปะแต่เรื่องไร้ประโยชน์ แล้วมักตัดพ้อว่า ทำไมทำดีแล้วไม่ได้ดี
คนฉลาด : มักขยันในเรื่องที่มีคุณมากมีโทษน้อย จึงได้ประโยชน์มากและมีโทษแทรกบ้าง แล้วมักบ่นว่าอุตส่าห์ระวังอย่างสุดแล้วยังพบเรืองร้ายๆ อีก
คนเจ้าปัญญา : ขยันทำตนให้เหนือคุณและโทษ จึงบริหารสถานการณ์อย่างอิสระ ไม่ปรากฏเสียงตัดพ้อหรือบ่นว่าอีกต่อไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
darkknightza
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
พลังน้ำใจ: 167
ออฟไลน์
กระทู้: 4,245
|
 |
« ตอบ #134 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2010, 10:30:26 » |
|
ว่าด้วยความจริงจัง
คนโง่ : เห็นปรากฏการณ์ต่างๆ ในชีวิตเป็นเรื่องจริงจัง จึงเครียดแทบบ้า
คนฉลาด : เห็นปรากฏการณ์ต่างๆ ในชีวิตเป็นเรื่องเล่นๆ จึงสนุกสนานจนไร้สาระ
คนเจ้าปัญญา : เห็นปรากฏการณ์ต่างๆ ในชีวิตเป็นตัวเร่งวิวัฒนาการ จึงรุ่งเรืองรวดเร็ว
ว่าด้วยความประสบความสำเร็จ
คนโง่ : รอให้ความสำเร็จมาหา อาจต้องรอหลายชาติกว่าจะพบซักครั้ง
คนฉลาด : เดินไปหาความสำเร็จ จึงอาจมีโอกาสพบบ้างแม้เหนื่อยยาก
คนเจ้าปัญญา : ปักหลักสร้างความสำเร็จ หากสร้างความสำเร็จแน่ๆ และเหนื่อยน้อยกว่า
ว่าด้วยความรักและคู่รัก
คนโง่ กระหายคู่ จึงอยู่คนเดียวไม่ได้ เพราะไม่เป็นสุข ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นเสมอ
คนฉลาด ปฎิเสธคู่ จึงเป็นสุขเมื่ออยู่คนเดียว และเป็น ทุกข์เมื่ออยู่กับคนอื่น และหากยังต้องพึ่งพิงก็ยิ่งระทม และขมขื่น
คนเจ้าปัญญา ไม่แสวงหา แต่ก็ไม่ปฎิเสธคู่ที่พึงมี หาก มีคู่ก็ประคับประคองกันไปสู่ชีวิตที่สูงส่งยิ่งขึ้นทั้งคู่ จึงอยู่ คนเดียวก็ได้เป็นสุขดี อยู่กับคู่ก็ดีเป็นสุขได้
ว่าด้วยสัจจสัมพันธ์
คนโง่ ไม่รักษาสัจจะ จึงไม่มีใครเชื่อถือ ตนก็ไม่อาจเคารพในตนได้
คนฉลาด คลั่งไคล้สัจจะ แยกไม่ออกระหว่าง ประโยชน์และโทษของสัจจะแต่ละระดับ.....จึงมักพาตนและพาคนอื่นติดกับดักแห่งความจริงโดยไม่ตั้งใจ
คนเจ้าปัญญา. ทำสัจจะกับปัญญาให้เป็นหนึ่งเดียวกัน จึงมีสัจจะรักษา และมีอำนาจพิเศษยิ่งกว่าคนทั่วไป
ว่าด้วยความเป็นไปได้
คนโง่...ชอบคิดว่าทุกสิ่งที่หวังเป็นไปไม่ได้ จึงขังตนเองในความเกียจคร้าน ชีวิตต่ำต้อย
คนฉลาด...ชอบคิดว่า ทุกสิ่งที่หวังเป็นไปได้ จึงทะยานไปในตัณหาไม่รู้จบ ชีวิตกระเจิดกระเจิง
คนเจ้าปัญญา...ย่อมเห็นว่าในบรรดาสิ่งที่หวัง บางสิ่ง เป็นไปไม่ได้ บางสิ่งเป็นไปได้ ในบรรดาสิ่งที่เป็นไปไม่ ได้ทั้งหมดนั้น บางสิ่งเป็นไปไม่ได้ถาวร บางสิ่งเป็นไป ไม่ได้ชั่วคราว และในบรรดาสิ่งที่เป็นไปได้ถาวรนั้น บาง สิ่งก็ไม่มีประโยชน์ บางสิ่งมีประโยชน์ เขาจึงปรับความ หวังให้สอดคล้องกับความเป็นไปได้ที่มีประโยชน์ และ ปรับสิ่งเป็นไปไม่ได้ชั่วคราวให้เป็นไปได้มากขึ้น ชีวิตจึง อยู่กับความสมหวังและการพัฒนาโดยลำดับ
ว่าด้วยพันธสัญญา
คนโง่ ไม่กล้ารับปากใครแม้กับตนเอง จึงไม่ได้รับความเชื่อถือแม้ต่อตนเอง
คนฉลาด รับปากเรื่อยไปในทุกเรื่อง ต้องเพียรพยายามทำตามสัญญาด้วยความเหนื่อยยาก และทำได้บ้างไม่ได้บ้าง ได้รับความเชื่อถือบ้าง ไม่เชื่อถือบ้าง
คนเจ้าปัญญา ชวนทุกคนที่เกี่ยวข้องร่วมพันธสัญญาจึงได้พลังร่วมของส่วนรวมที่จะขับเคลื่อน ภารกิจไปสู่ความสำเร็จ
ว่าด้วยผู้พูด
คนโง่ ชอบให้อารมณ์พูด จึงผิดพลาดมากล้มเหลวบ่อย
คนฉลาด ชอบใช้เหตุผล จึงถูกต้องมากแต่ มักไร้ความรู้สึก และประสบแต่ความสำเร็จอันแห้งแล้ง
คนเจ้าปัญญา ชอบใช้ธรรมะพูด จึงบริสุทธิ์ เหนือถูกผิด และเป็นหนึ่งเดียวกับความสำเร็จโดยธรรม
ว่าด้วยความเป็นธรรม
คนโง่....ชอบเรียกหาความเป็นธรรม จนบ่อยครั้งใช้ กระบวนการที่ไม่เป็นธรรมในการเรียกหา....จึงพาให้ยิ่ง ห่างไกลความเป็นธรรม
คนฉลาด ชอบสร้างความเป็นธรรม ปั้นแล้วปั้นอีก ปั้นอย่างไรก็ไม่เป็นธรรมแท้ แม้พยายามถึงที่สุด เพราะ ความเป็นธรรมไม่ได้ขึ้นอยู่กับปรารถนา ของใคร จึงเป็น ความหวังดีที่ล้มเหลวเรื่อยไป
คนเจ้าปัญญา ชอบประพฤติธรรม ดำรงอยู่และดำเนินไปโดยธรรม จึงได้สิทธิพิเศษโดยธรรม
ว่าด้วยการบริหารอารมณ์
คนโง่ มักจมอยู่ในอารมณ์ ด้วยคิดว่าอารมณ์ คือเขาเขาคืออารมณ์ เขาจึงเป็นทาสของอารมณ์เสมอ
คนฉลาด ชอบปฎิเสธอารมณ์ เพราะคิดว่าอารมณ์คือสิ่งรบกวน ทำตัวเป็นคนสงบที่ไร้อารมณ์ เขาจึงเป็นเพื่อนกับผีดิบ
คนเจ้าปัญญา ย่อมบริหารอารมณ์ สร้างอารมณ์ที่ควรสร้าง เสพอารมณ์ที่ควรเสพ ควบคุมอารมณ์ที่ควรควบคุม รักษาอารมณ์ที่ควรรักษา สลายอารมณ์ที่ควรสลาย เขาจึงเป็นนายของอารมณ์โดยสมบูรณ์
ว่าด้วยการอยู่กับความทุกข์
คนโง่ มัวอดทนกับทุกข์ เมื่อทุกข์ใจก็ไม่กล้าตัดสินใจ จากสิ่งที่ทำให้ทุกข์ จึงต้องทนเจ็บใจตลอดไป สะบักสะ บอม
คนฉลาด มักหนีทุกข์ เมื่อทุกข์ใจก็กล้าตัดใจจาก สิ่งที่ทำให้ทุกข์ จึงโล่งใจไปเรื่อย ๆ ตราบที่ตัดได้และ ต้องเปลี่ยนแปลงร่ำไป
คนเจ้าปัญญา ทำลายเงื่อนไขของทุกข์ ทำใจให้ ไม่เจ็บในทุกข์ จึงไม่ต้องตัดต่อใจอีกต่อไป ใจจึงเป็น ปกติเย็นอยู่ อยู่กับทุกข์ได้โดยไม่ทุกข์
ว่าด้วยความยิ่งใหญ่
คนโง่ เห็นว่าตนยิ่งใหญ่ จึงจมอยู่ในตัวตนอันกระจ้อยร่อย ท่ามกลางเอกภพอันไร้ขอบเขต
คนฉลาด เห็นว่าธรรมชาติยิ่งใหญ่ หวาดกลัว และ เทิดทูนธรรมชาติ ส่วนใดที่ตนเข้าไม่ถึงจึงโยนไว้ในอุ้ง หัตถ์ของภูติผีและพระเจ้า
คนเจ้าปัญญา เห็นว่าความบริสุทธิ์ยิ่งใหญ่ เพราะทั้ง ตน ธรรมชาติ และวิญญาณทั้งหลาย ล้วนมีเป้าหมาย สูงสุดที่ความบริสุทธิ์
ว่าด้วยปฎิสัมพันธ์
คนโง่ ชอบเอาเปรียบคนอื่น จึงได้ประโยชน์ตนสั้น ๆ แต่เสียคนรัก และความศรัทธา
คนฉลาด ชอบยอมเสียเปรียบคนอื่น จึงได้คนรักและความศรัทธา แต่ขมขื่นในใจตน
คนเจ้าปัญญา ชอบบริหารประโยชน์สุขทุกฝ่าย จึง เป็นสุขใจ ได้คนรัก ความศรัทธา และสถาปนาระบบ ประโยชน์อันยั่งยืน
ว่าด้วยความผิด
คนโง่ เห็นแต่ความชั่วร้ายของคนอื่น และโยนความ ผิดให้ผู้อื่นอยู่เรื่อย เป็นการทำมิตรให้กลายเป็นศัตรู ชีวิตจึงอยู่ในท่ามกลางอันตราย
คนฉลาด เห็นแม้ความชั่วร้ายในตนเอง จึงกล้ายอม รับความจริง และแก้ไขตัว ทำให้ตนดีขึ้น ทำให้แม้ ศัตรูก็ยอมรับได้มากขึ้น ชีวิตจึงเจริญและผาสุกโดยลำดับ
คนเจ้าปัญญา เห็นความชั่วร้ายสากล จึงเข้าใจ ทุกคนในทุกสถานการณ์ เห็นสัดส่วนการบริหารคนที่ เหมาะสม โดยไม่ทำร้ายคน แต่จะทำลายความชั่ว สากล ให้สิ้นไป จึงสนุกสนานในการบริหารเรื่อยไป
ว่าด้วยการปกครอง
คนโง่ คิดปกครองคนอื่น ขณะที่ตนก็คือคน ๆ หนึ่ง จึงไม่อาจปกครองใครได้แท้จริง การทรยศจึงเกิดขึ้นเนือง ๆ
คนฉลาด คิดประสานกิเลสและคุณธรรมของคน จึงลงตัว ตราบที่กิเลสไม่กำเริบและคุณธรรมไม่เสื่อม เมื่อกิเลสกำเริบหรือคุณธรรมเสื่อมก็แตกร้าวเนือง ๆ
คนเจ้าปัญญา คิดยกระดับปัญญาและความบริสุทธิ์ ของคน เมื่อปัญญามากและความบริสุทธิ์ถึงที่สุด ทุกคน จะจัดตนเข้าฐานะหน้าที่อันเหมาะสมเอง จึงไม่ต้อง พยายามปกครองกันอีก
ว่าด้วยการบริหารสถานการณ์
คนโง่ ชอบเข้าสู่สถานการณ์ที่ควบคุมไม่ได้ เป็น ความเสี่ยงอย่างยิ่งของชีวิต ความสำเร็จจึงแขวนอยู่บน ความประมาท
คนฉลาด ชอบเข้าสู่เฉพาะสถานการณ์ที่ควบคุมได้ จึงมีสถานการณ์เพียงน้อยนิดที่เหมาะสม ชีวิตมีความ เสี่ยงต่ำ แต่สำเร็จเพียงเล็กน้อย
คนเจ้าปัญญา บริหารความเสี่ยง ควบคุม ปรับ จุดหมุน กระจาย สลายทุกความเสี่ยง เมื่อเข้าสู่ สถานการณ์ใด ก็เหนี่ยงนำแล้วปล่อยวาง บริโภคคุณค่า แล้วคายกากภัยทิ้งจึงสำเร็จได้ง่ายแม้ในความยากอย่าง ยิ่ง
ว่าด้วยความรักสัมพันธ์
คนโง่ ชอบขอความรักและความเห็นใจ แต่มักได้รับความสมเพชตอบแทนเป็นประจำ
คนฉลาด ชอบให้ความรักความเข้าใจ และมักได้รับความหวังพึ่งพิงตอบเนือง ๆ
คนเจ้าปัญญา ชอบให้ปัญญาที่จะให้ทุกคนรัก และเข้าใจตนเอง จึงได้รับความนับถือ และความมีบุญคุณตอบแทนเสมอ
ว่าด้วยคนดีและคนชั่ว
คนโง่ เห็นคนดีว่าชั่ว เห็นคนชั่วว่าดี ชีวิต จึงประสบภัยใหญ่หลวง
คนฉลาด เห็นคนดีว่าดี เห็นคนชั่วว่าชั่ว ชีวิตจึงต้องระมัดระวัง หลบหลีกเลือกเฟ้นเป็นพัลวัน
คนเจ้าปัญญา เห็นคนดีว่าไม่ดีจริง เห็น คนชั่วว่าไม่ชั่วจริง จึงไม่ยกย่องผู้ใดและไม่เหยียบ ย่ำใคร แต่บริหารทุกคนไปสู่สภาวะที่ประเสริฐ กว่าที่เขาเป็นได้เสมอ
ว่าด้วยความทุกข์และความสุข
คนโง่ เห็นทุกข์เป็นสุข จึงรักษาทุกข์ไว้ ด้วยสำคัญว่าเป็นสุข หรือน่าจะนำสุขมาให้ ยิ่ง รักษาก็ยิ่งทุกข์ จึงระทมร่ำไป
คนฉลาด เห็นทุกข์เป็นทุกข์ แล้วต่อสู้อยู่ ในท่ามกลางความทุกข์ ยิ่งพยายามก็ยิ่งพบความ ไม่น่าพอใจจึงท้อแท้เรื่อยไป
คนเจ้าปัญญา เห็นทุกข์โดยความเป็น ของไร้สาระ จึงโยนทิ้งไปเสีย จนเป็นอิสระ โปร่ง เบาสบายยิ่งนัก
ว่าด้วยการปรนเปรอ
คนโง่ เอาแต่ใจตนเอง จึงได้รับความ สะใจเป็นผล และความรังเกียจเป็นรางวัล
คนฉลาด เอาใจคนอื่น จึงได้รับ ความลำบากเป็นผล และความรักเป็นรางวัล
คนเจ้าปัญญา ไม่เอาทั้งสองอย่าง แต่เอา สัจจะที่ก่อให้เกิดประโยชน์สุขทุกฝ่ายเป็นที่ตั้ง จึงได้รับคุณค่าเป็นผล และได้รับศรัทธาเป็นรางวัล
ว่าด้วยความบ้า
คนโง่ เมาคำพูด จึงประคองสติไม่อยู่ พลั้งพูดพล่อยบ่อยๆ สร้างกรรมและศัตรูมากมาย
คนฉลาด บ้าความคิด เขม่าเต็มขมอง จึง เต็มไปด้วยจิตหลอน สร้างมายาหลอกตนและ คนอื่นมากมาย
คนเจ้าปัญญา บ้าความสงบ จึงพบสติ เต็มตื่น รู้อยู่เป็นหลักให้ตนและคนอื่นได้
ว่าด้วยการบริหารสิ่งเร้า
คนโง่ มักไหลตามสิ่งเร้าที่เข้ามายั่วเย้า จึงแปรปรวนไปไม่รู้จบ
คนฉลาด มักปฏิเสธสิ่งเร้าที่เข้ามายั่วเย้า จึงเป็นตัวของตัวเองอย่างมาก แต่คับแคบอย่างยิ่ง
คนเจ้าปัญญา นิยมบริหารสิ่งเร้าที่เข้ามา ยั่วเย้า จึงสามารถกลั่นหาประโยชน์สูงสุดจากทุกสิ่งในทุกสถานการณ์
ว่าด้วยความจริงจัง
คนโง่ เห็นปรากฏการณ์ต่างๆ ในชีวิต เป็นเรื่องจริงจังจึงเครียดแทบบ้า
คนฉลาด เห็นปรากฏการณ์ต่างๆ ในชีวิต เป็นเรื่องเล่นๆ จึงสนุกสนานไร้สาระ
คนเจ้าปัญญา เห็นปรากฏการณ์ต่างๆ ในชีวิตเป็นตัวเร่งวิวัฒนาการ จึงรุ่งเรืองรวดเร็ว
ว่าด้วยการขจัดความชั่วร้าย
คนโง่ ยอมทำชั่วหนึ่งเพื่อแก้ปัญหาหนึ่ง จึงได้รับแต่โทษทุกข์ฑัณท์ ทับถมทวีคูณ
คนฉลาด ย่อมทำดีแม้หลายอย่าง เพื่อ แก้ปัญหาหนึ่ง จึงได้รับความสุขสันต์ หลังเหน็ดเหนื่อยหนักหนา
คนเจ้าปัญญา ย่อมทำบริสุทธิ์เพื่อหลุด จากสารพันปัญหา จึงได้รับความเบิกบานนิรันดร์
ว่าด้วยสำนึกในส่วนรวม
คนโง่ คิดแต่เรื่องส่วนตัว ทำอะไรก็เพื่อตนเอง แม้อาจทำให้คนอื่นเสียหาย จึงเป็นที่รังเกียจ สังคมไม่ต้องการ
คนฉลาด คิดแต่เรื่องส่วนรวม ทำอะไรก็ เพื่อส่วนรวม แม้อาจทำให้ตนเสียหาย สังคมต่าง ต้องการแต่ตน ไม่อาจตั้งอยู่ได้
คนเจ้าปัญญา คิดแต่เรื่องคุณธรรม ทำอะไร ก็เพื่อประโยชน์สุขทุกฝ่ายในทุกกาลเวลา จึงเป็นที่ ต้องการของทุกฝ่าย ในขณะที่เขาอาจจะไม่ต้องการ ใครเลย
ว่าด้วยความจริงจัง
คนโง่ ประเมินค่าคนจากปริญญา จึงรู้จัก แค่ตรายี่ห้อปะติดชีวิต
คนฉลาด ประเมินค่าคนจากความสามารถ จึงรู้จักคุณภาพของชีวิต
คนเจ้าปัญญา ประเมินค่าของคนจากความ เอื้อประโยชน์ จึงรู้จักประโยชน์แท้แห่งชีวิตจริง
ว่าด้วยค่าของคน
คนโง่ ประเมินค่าคนจากปริญญา จึงรู้จัก แค่ตรายี่ห้อปะติดชีวิต
คนฉลาด ประเมินค่าคนจากความสามารถ จึงรู้จักคุณภาพของชีวิต
คนเจ้าปัญญา ประเมินค่าของคนจากความ เอื้อประโยชน์ จึงรู้จักประโยชน์แท้แห่งชีวิตจริง
ว่าด้วยการแสวงหา
คนโง่ งุ่มง่ามแสวงหาคุณค่าภายนอกตน ยิ่งพบมากก็ยิ่งเห็นว่าตนต้อยต่ำ จึงยอมตนเป็นทาส
คนฉลาด งุ่นง่านแสวงหาคุณค่าในตน ยิ่ง พบมาก ก็ยิ่งเห็นว่าตนล้ำค่า จึงหลงตัวเอง
คนเจ้าปัญญา ย่อมแสวงหาคุณค่าสากล ยิ่งพบมากก็ยิ่งเห็นความธรรมดาในทุกสิ่งจึงมี เป็น และบริโภคทุกสิ่งเหมือนไม่มี ไม่เป็น
ว่าด้วยการบริหารศรัทธา
คนโง่ รู้อะไรก็เชื่อไว้ก่อนว่าจริง หรือ ไม่จริง จึงงมงามอย่างยิ่ง
คนฉลาด รู้อะไรก็ไม่เชื่อไว้ก่อนว่าจริง หรือไม่จริง แต่เอามาทดลอง จนเห็นชัด จึงเชื่อ จึงมีเหตุผลอย่างยิ่ง
คนเจ้าปัญญา รู้อะไรก็ไม่สนใจว่าจริง หรือไม่จริง สนใจเพียงว่ามีประโยชน์และมีโทษเพียงใด แล้วสกัดโทษทิ้ง บริโภคเฉพาะประโยชน์ จึงได้คุณค่าแห่งการรู้ในทุกสิ่ง
ว่าด้วยระบบธรรม
คนโง่ ปรับธรรมะเข้าหาคน จึงได้คน จำนวนมากเดินตามธรรมะเทียม
คนฉลาด ปรับคนเข้าหาธรรมะ จึงได้คน จำนวนน้อยอยู่รักษาธรรมะแท้
คนเจ้าปัญญา ปรับธรรมะและคนเข้าหากัน ณ จุดแห่งประโยชน์สูงสุดที่เหมาะสมและเป็นไปได้ จึงได้คนจำนวนพอดีอยู่รักษาธรรมะที่ดีพอ
ว่าด้วยความเป็นธรรม
คนโง่ ชอบเรียกหาความเป็นธรรม จนบ่อย ครั้งใช้กระบวนการที่ไม่เป็นธรรมในการเรียกหา จึงพาให้ยิ่งห่างไกลความเป็นธรรม
คนฉลาด ชอบสร้างความเป็นธรรม ปั้นแล้ว ปั้นอีก ปั้นอย่างไรก็ไม่เป็นธรรมแท้ แม้พยายามถึงที่สุด เพราะความเป็นธรรมไม่ได้ขึ้นอยู่กับ ปรารถนาของใคร จึงเป็นความหวังดีที่ล้มเหลวเสมอไป
คนเจ้าปัญญา ชอบประพฤติธรรม ดำรงอยู่ และดำเนินไปโดยธรรม จึงได้สิทธิพิเศษโดยธรรม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
darkknightza
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
พลังน้ำใจ: 167
ออฟไลน์
กระทู้: 4,245
|
 |
« ตอบ #135 เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2010, 14:41:05 » |
|
ความจริงจะไม่เปลี่ยน มีแต่ความเห็นของคนเท่านั้นที่เปลี่ยน
อกหักนั้น ไม่ทุกข์ถึงตาย แต่ทำให้เราเติบใหญ่ขึ้นมาอย่างสมบูรณ์แบบ
การเจริญสติที่แท้จริงคือการดำเนินชีวิตที่เป็นไปโดยธรรมชาติ อย่าไปตีความการปฏิบัติให้แคบลง ให้เหลืออยู่แต่ในคอร์สวิปัสสนาหรือการเจริญสติในวัด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
darkknightza
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
พลังน้ำใจ: 167
ออฟไลน์
กระทู้: 4,245
|
 |
« ตอบ #136 เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2010, 13:52:17 » |
|
. . . . . ธรรมมะ คือ ความดี. . . . . . . . . . ความดี คือ ความพอดี. . . . . . . . . ความพอดี คือความพอดี ที่เป็นจริง เหมาะ ควร คนส่วนใหญ่เห็นชอบด้วย
. พุทธะ คือผู้รู้ . พระธรรม คือความรู้ที่พระพุทธเจ้า ทรงสละความสุขทางโลกทุกสิ่ง ทั้งพระราชอำนาจ พระราชทรัพย์ ทรงทุ่มเทแรงใจ แรงกาย นำความรู้ที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบ อันเป็นสัจจะธรรม ( ความดีที่เป็นจริง ) นั้น ให้มนุษย์ทุกคนในโลก ได้เรียนรู้ นำมาปฏิบัติ มีทั้งชนิดใช้กับชาวบ้าน ( แบบสุขทางโลก โลกียะสุข สุขจากรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ที่พอดี เหมาะควร ) และชาววัด ( โลกุตะระสุข เหนือกว่าโลกีย์ พ้นจากโลกีย์ ) ด้วยขั้นตอนง่าย ๆ เพียงทำให้จิตว่าง อย่า . ยึดติดกับตนเอง ทรัพย์สิน สิ่งของ เรียนรู้เพื่อให้เกิด . ปัญญา แยก ถูก ผิด ชั่ว ดี ถี่ ห่าง ต่าง เหมือน ฯลฯ คิด เลือกได้ รู้ปัญหา รู้วิธี ป้องกัน แก้ไข . ปัญหา ต่าง ๆ ที่จะเกิด กับ จิตใจ และร่างกาย จะเบาบางลง ก็จะช่วยลดทุกข์ ให้ห่างคุก ภัย โศก โรค อุบัติเหตุ อันตราย ฯลฯ ความ . ปิติสุข บุญ กุศล ที่เกิดจาก การปฏิติธรรม ก็จะมีได้ตามสมควร โดยไม่เกี่ยวกับ ชน ชั้น วรรณะ ฐานะ ยศศักดิ์ ตำแหน่ง ฯลฯ . นิพพาน คือตาย สิ้นสุด จบลง หมดสิ้นจาก กิเลสต้นเหตุตันหาที่จิต ส่วนปรินิพาน คือ ชีวิตสิ้นสุด ร่างกายตาย ดับลง การปฏิบัติธรรมต่อเนื่อง เป้าหมายคือการป้องกัน-กำจัด กิเลสใหม่ และตันหาเก่า ให้ละ ลด และเลิกได้ทั้งหมด เท่ากับตัดตอน ตัดวงจร ( เกิดขึ้น ดำเนินอยู่ จบลง ของกรรมเลวต่าง ๆ ) ทิ้งไป และไม่ทำให้กิเลสใหม่ "เกิด" ขึ้นมาใหม่อีก ( วงจรการเกิดของกรรมสิ้นสุด ไม่ใช่การเกิดของชาติชีวิต ) เมื่อหมดต้นเหตุ ความอยากต่าง ๆ หมดสิ้น ไม่เหลือแม้แต่ความอยากได้นิพพาน นั่นแหละ จึงได้นิพพาน โดยไม่ยินดี ไม่รู้สึกว่าได้แล้ว นิพพาน จึงเป็น ความสุขแบบไร้สุข ไร้ทุกข์ ไม่ต้องพึ่งพา อาศัยวัตถุ สิ่งของใด ๆ ไม่ต้องอิงโลกีย์ สุขแบบ ว่าง โล่ง โปร่ง สงบ เย็น เบา เป็น . โลกุตะระสุข ( เหนือโลก หรือพ้นจากโลกีย์) เป็นเป้าหมาย สูงสุดของ . ชาววัด ( พระสงฆ์ ผู้มีความพร้อมที่จะเสียสละ เพื่อเรียนรู้ ฝึกได้ ปฏิบัติเป็น ถ่ายทอด เป็นผู้แทนพระพุทธองค์ ทำหน้าที่เผยแพร่ พระธรรม ให้ชาวบ้าน ได้ รู้จัก . พุทธธรรมแท้ ๆ ฝึกใช้ให้เป็น ก่อประโยชน์สุข ในชีวิตประจำวันได้ ส่วนใหญ่ เข้าใจผิด ปฏิบัติธรรมเพราะ ต้องการ ( อยาก ) นิพพาน จึงไม่เคยได้ นิพพาน แม้สักรายเดียว หรือบางองค์ . ปลีกวิเวก เพลินสุข จนลืมหน้าที่ ผู้สืบทอด พระธรรม แทนพระพุทธองค์ เกือบทุกวัดก็สวนทางกับหลักธรรมพระพุทธองค์ ที่ . สละวังมาอยู่ป่า ด้วยการ . ทำลายป่า มาสร้างวัง ( วัดใหญ่เกินพอดี เบียดเบียนชาว บ้าน )
. ชาติ หรือ ชาตะ แปลว่าเกิด . ชาติของชีวิตคือ การเกิดขึ้นของชีวิต ดำรงค์อยู่ กระทั่งตาย = 1 ชาติชีวิต . ชาติของกรรม ( การกระทำ ) เรื่องราวที่เกิด ดำเนินอยู่ สิ้นสุด จบลง 1 เรื่อง = 1 ชาติกรรม คนละเรื่องกับชาติของชีวิต เมื่อมีชีวิต จึง มีการกระทำ ( กรรม ) เกิดขึ้น มีเพียง . มนุษย์ ( ประเสริฐ ( คือบุคคลที่ผ่านการฝึกฝนอย่างดีมาแล้ว ) ) เท่านั้น ที่สามารถ กำหนด เลือกทำ กรรมดี และ เลว ได้ด้วยตนเอง . กรรม (ในภาษาพุทธธรรมคือการกระทำ เป็นกริยา เป็นผู้กระทำ ส่วนในวิชาภาษาไทย กรรมคือผู้ถูกกระทำ ระวังอย่า งง) กรรม นั้นมีเพียง 2 อย่างเท่านั้น คือ . กรรมดี และ . กรรมเลว ส่วนต่างคือ มาก น้อย บ่อย ถี่ กว่า ที่สุด โดยสร้างขึ้น แสดงออก กระทำการ ที่ . ใจ ( มโนกรรม = ความคิด จากจิต ใจ ) . วาจา ( วจีกรรม = คำพูด ด้วย ปากพูด ) และ . กาย ( กายกรรม = การกระทำด้วยมือ เท้า และอวัยวะอื่น ๆ ) . กฎแห่งกรรม คือผลที่เกิดจากการกระทำใด ๆ ไปแล้ว ผลของ . กรรมดี คือ . บุญ และกุศล เทียบสุขแบบสงบ ร่มเย็นทางใจ มีสารสุข ( เอ็นโดร์ฟีล ) หลั่งทั่วทางกาย สุขภาพจึงแข็งแรง จิตใจแจ่มใส เพราะร่างกาย และจิตใจ ทำงาน สัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกันตลอดเวลา จึงมองโลกในด้านบวกเสมอ จะรู้สึก . พอใจ รู้คุณค่า สิ่งของที่มีอยู่แล้ว ( เช่น นิ้วหัวแม่มือ ลองมัดไว้กลางผ่ามือ สมมุติว่า ขาดไป หรือใช้ผ้าดำปิดตา 1 ข้าง 2 ข้าง จะเป็นอย่างไร ) ใช้ความรู้ ความสามารถในทางที่ถูกที่ควร ให้เป็นประโยขน์สุขแก่ชาวโลก โดยไม่เบียดเบียน เอารัดเอาเปรียบ ฉ้อฉล ทุจริต ฉ้อราษฎร์ บังหลวง เบียดบัง โลภมาก ฯลฯ ทั้งตนเอง ญาติ และบริวาร ฯลฯ . ส่วนผลของกรรมเลว คือ . บาป ทุกข์ทั้งกาย และใจ จะตรงข้ามกับ บุญ กุศล มีสารทุกข์ ( อะดีนารีล ) หลั่งทั่วทางกาย สุขภาพจึงทรุดโทรม หน้าดำ หมองคล้ำ คร่ำเครียด ระทมอมทุกข์ ระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย ระบบย่อย ดูดซึม ระบบเลือด ระบบหายใจ ภูมิต้านทานโรค ความรู้สึก จำ นึก คิด ทำงานผิด เพี้ยน ไม่ปกติ ฯลฯ . ผลกรรม จะดี เลว มาก น้อย ช้า เร็วบ้าง ขึ้นอย่กับชนิด ปริมาณ เวลา ของ . ชาติกรรม (วงจรของการกระทำต่าง ๆ) หลายร้อยชาติกรรมในแต่ละวัน หลายล้านชาติกรรมใน 1 ชาติชีวิตเมื่อหักลบกันแล้ว ไม่มีใครสามารถหลีกหนี . กฎแห่งกรรม (ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว) พ้น
. ธรรมชาติ = ธรรม+ชาติ ความพอดี ครบพอดี เช่นเมล็ดพืช ต้องได้ ธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ จึงเกิด และเมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะมีการปรับให้พอดี และ รักษาความ "พอดี " นั้นไว้ อย่างสอดคล้อง เหมาะสม ธรรมชาติ จึงอยู่ได้นาน เกิน 4,000 ล้านปีมาแล้ว . ยุติธรรม = หยุด ที่ความพอดี ตกลงกันที่ความพอดี เป็นกลาง ที่ดี ถูกต้อง . เป็นธรรม = ความพอดี ที่ทุกฝ่ายพอใจ . คุณธรรม = ความพอดีที่มีคุณค่า คุณประโยขน์ ทั้งผู้ให้และผู้รับ . จริยธรรม = ความพอดี ที่ผสมอยู่ในทุกการกระทำ สามารถรู้ เห็น พิสูจน์ได้ . วัฒนธรรม = พยายามรักษา ทนุบำรุง ทำความพอดี ที่มีอยู่แล้วให้คงไว้ สร้าง ปรับปรุงให้ความพอดีนั้น ดีขึ้น หรือดำรงค์ความพอดีนั้นให้ยาวนานที่สุด . ธรรมกลาย = นำศรัทธา ของพระพุทธศาสนา อันเป็น . ทรัพย์สินทางปัญญาของพระพุทธเจ้า มาตัดทอน ดัดแปลง แต่งเติม บิดเบือน เพื่อหลอกลวงทรัพย์ ของผู้ที่อ่อนด้อยทางปัญญา ความรู้ ความคิด ( จับจุดอ่อนของพวกบ้าบุญ อยากบุญโดยวิธีมักง่าย ชอบแบบสำเร็จรูป ) ด้วยวิธีการ ใช้ . พิธีกรรม แสดง อวดอ้าง อิทธิฤิทธิ์ ปาฏิหาริย์ พลังแฝง ความเล้นลับ ความวิเศษ สร้างนิยาย จากความฝัน สานเป็น . อกุศโลบาย ( อบายที่ไม่เป็นกุศล ) ต่าง ๆ ลวงให้เข้าใจว่า บุญ และความสุข สงบ อันเป็นผลจากการทำดี นั้น มีขาย ซื้อ แลก ได้ด้วยเงิน ทอง ที่ดิน ทรัพย์สินต่าง ๆ ยิ่งจ่ายมาก ยิ่งได้บุญมาก ทำนองนี้ หรือ สะเดาะเคราะห์ สลัดทิ้ง ลดบาปจากกรรมเลว ต่ออายุ ฯลฯ ด้วยการ แผ่อิทธิพล ขยายฐานอำนาจ เงิน ทรัพย์สินอื่น ๆทั้งด้านธุระกิจ การเมือง ฯลฯ ปลอมแปลง ปลอมปนหลักพุทธธรรม นำเผยแพร่ผ่านสารพัดสื่อทันสมัย ด้วยวีธีการตลาด ให้เงิน ทอง ที่ดิน ฯลฯ ไหลมา เทมา ต้นเหตุแห่งการทำให้สังคมผิดเพี้ยนด้วยเรื่องเลวทรามต่ำช้า ฯลฯ ชาวไทยเกินกว่าครึ่ง ไอคิว ต่ำกว่ามาตรฐาน ต้นตอเชื้อชั่วที่ทำลายพระพุทธศาสนา เป็นกากเดนชั่วของสังคม อาญชญากรรมร้ายรุนแรง ที่ผู้คนส่วนใหญ่ยังไม่ให้ความสนใจ เพราะการขาด . ความรู้ ( วิชา ) . อวิชา ( ความไม่รู้ ) หากเราพอมีความรู้ . ธรรมมะขั้นพื้นฐาน ที่แท้จริง พอเข้าใจอยู่บ้าง เราจะรู้ทันที่ว่าเป็น ก๊วน แก๊ง ทำลายศาสนา ในคราบพระ ที่ใช้พลังทรัพย์จากการหลอกลวง ขยายฐานอำนาจ ไปทั่วประเทศ ทุกระดับชั้น หลายสาขาอาชีพ หลายสถาบัน และอีกหลายประเทศทั่วโลก ถึงขั้นมีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ทั้งหมด ล้วนจัดเป็น . อธรรม ( ไม่ใช่ธรรมมะ ) ไม่ใช่หลักพุทธศาสตร์ ที่แท้จริง เราจึงควรช่วยกันต่อต้าน อย่าส่งเสริม สนับสนุน ไม่เข้าไปมีส่วนร่วม รับการเฉลี่ย หารผลของบาปกรรมนั้น ๆ โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
มีผล เพราะมีต้น ให้มีสติ ใช้ปัญญา เรียนรู้ หาสาเหตุ วิธีแก้ไข ปัญหาที่ . ต้นเหตุ . ทุกข์ เกิดจาก กิเลส ( จากรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ) ก่อให้เกิด . ตันหา ( ความอยาก ) . ภวตันหา คือ อยากได้ อยากมี อยากเป็น . วิภวตันหา คืออยากไม่ให้ได้ อยากไม่ให้มี อยากไม่ให้เป็น ( ส่วนที่ใจไม่ชอบ เช่นโรค ภัย เจ็บปวด คุกตาราง ฯลฯ ) เมื่อความอยากได้ เอาแต่ได้ และความอยากไม่ อยากไม่ขัดใจนายใหญ่ นายหญิง ผู้เคยเกื้อกูล ฯลฯ จึงทำให้ เปลี่ยนจาก . รัก ( รักแท้+เมตตา ) คือการให้ การเสียสละ กลายเป็นหวังแต่จะรับ จะเอามากกว่าให้ เรียกว่า . โลภ ( รัก+ใคร่ คือชอบ และอยากได้ไว้ ครอบครอง เป็นเจ้าของ เช่นคู่ครอง ทรัพย์สิน เงิน ทอง อำนาจ ยศ ศักดิ์ ฯลฯ ) ถ้าไม่ได้ดังต้องการ มีคนโน้น คนนี้ คอยตรวจสอบ ขัดขวาง การโลภนั้น จึง . โกรธ เมื่อโกรธ สารทุกข์ ( สารอดีนาลีน ) หลั่ง ทุกระบบทั่วร่างกายทำงาน ทำงานผิดพลาดหมด หน้าดำ คร่ำเครียด ร้อนรุ่มใจ หาทางออกไม่ได้ อำนาจเดิม เงินเท่าเดิมไม่พอ ต้องเสาะแสวงหาเพิ่ม เหมือนเด็กติดเกมส์ ต้องเอาชนะให้ได้ แค่โกรธอย่างเดียว ก็เทียบ นรกด่านแรก แล้ว ต่อไปจึง . หลง คือการขาดสติ มาควบคุมการใช้ปัญญา แม้ปัญหาเพียงเล็กน้อย หากหลง ทางความคิด ตั้งต้นผิด ไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่ฟังใคร จะไปอุบล แต่ไปโผล่ที่ เชียงใหม่ หรือ ไหลไปนราธิวาส ไกลคนละทิศ แม้จะกลับที่เดิม ยังไปไม่ถูก
. วิธีแก้ไข ดู "ขั้นตอนการปฏิบัติพุทธธรรม" ย้อนขึ้นลงทีละ 1 ขั้น แต่มิใช่ไปหลงอยู่ในขั้นสมาธิ อย่างเดียว จนขาดสติ ไร้ปัญญา ซึ่งมีผู้คนถูกหลอก เสียหายไม่รู้ตัว มากมายคณานับ หลายร้อยปีมาแล้ว กำลังถูกหลอกอยู่ในปัจจุบัน และจะต้องถูกหลอกไปอีกนาน เพราะเชื่อผู้นำที่ขาดธรรม ทั้งความรู้ และการปฏิบัติ แห่เชื่อ ตามกระแส การโฆษณา ชวนเชื่อ เพื่อหวังผลประโยชน์ต่าง ๆ . วิธีรักษา แก้ไข ใช้ พุทธโอสถ พรหมวิหาร 4 . ส่วนใหญ่ ใช้เพียง . เมตตา ( ศาสนาคริสต์ เรียกว่า ความรัก รัก+เมตตา ( โรแมนติค ) คือให้มากกว่ารับ ผลเป็นกุศล ส่วน รัก+โลภ ( อีโรติค ) คือรักใคร่ หวังรับมากกว่าให้ การแสดงออกมักเป็น อกุศโลบาย ต้องการ เป็นเจ้าของ อยากครอบครอง สิ่งที่ชอบนั้น ) ข้อเดียวให้ถูก ปริมาณ เวลา ( พอดี ) ก็ รักษาได้ ทั้ง 4 อาการ รัก โลภ โกรธ หลง แล้ว คือ . เมตตา คือการให้ แบบนามธรรม มักมองไม่ค่อยเห็น เช่นให้ความรัก การเสียสละประโยชน์สุขส่วนตน ให้อภัย ให้โอกาส หากใช้เมตตาเป็นแล้ว จะไม่ทำ ผิดศีลทั้ง 5 ข้อ หรือแถม วิตามินเสริม . กรุณา ช่วยเหลือ เกื้อกูล เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป็นรูปธรรม เช่นให้ทรัพย์สิน สิ่งของ เงินทอง ฯลฯ แต่ต้องให้แบบไม่หวังผลตอบแทน และไม่มีใครต้องทุกข์ร้อนจากการให้ นั้น ๆ . มุทิตา ยินดีกับผู้สำเร็จ ผู้ชนะในทางดี เห็นใจผู้ที่ อ่อนแอ ด้อยโอกาส ขาดพลัง พ่ายแพ้ สูญเสีย กลัว หลง ( เพราะไม่รู้ เป็นส่วนใหญ่ ) แต่หาก ให้ยาไปแล้ว ยังไม่สนใจจะดู จะดม จะกิน หรือกิน ทาบางส่วน บางเวลา ไม่ตามกฏ กติกา ย่อมไม่ได้ผล ข้อที่เหลือ คือ . อุเบกขา คือการทำตัวเป็นกลาง ไม่ยัดเยียดกรรมดีให้เพิ่ม ( อบอุ่นมากไป ก็ร้อน ไม่พอดี ) ส่งไปไม่มีคนรับ เปลืองพลังเปล่า ๆ ( เหมือนโทรทัศน์บางช่อง คนไม่เปิดดูแล้ว ) แต่ยังคงต้อง ยึดมั่น ทำ . สัมมาทิฐิ ( ความคิด ความเห็น ในทางถูกธรรม ) ต่อไป ไม่ประชดประชัน พูดจาเยาะเย้ย เสียดสี หรือทำสิ่งเลวร้ายเพิ่ม เป็น . มิจฉาทิฐิ ซึ่งก่อให้เกิดกรรมติดลบได้
ทุกข์หนักสุดของมนุษย์ คือ . เจ็บไข้ป่วย ทางกาย ( การไม่มีโรคเป็นโชคอย่างยิ่ง ) จะขอเลื่อน ลดหย่อน ผ่อนผัน ไม่ได้ นอกจากป้องกัน รักษา และ . ทุกข์หนักทางใจ คือการ . เป็นหนี้ จะเป็นหนี้กรรม หนี้เงิน หนี้ชีวิต ฯลฯ ( การไม่มีหนี้ เป็นดีที่สุด ) เป้าหมายปฏิบัติธรรม สำหรับ ชาวบ้าน ( พุทธศานิกชนผู้มีหน้าที่ ช่วยกัน ทำนุ บำรุง พุทธศาสนา อย่างพอดี พอควร หรือเรียกว่าฆราวาส มีสุขแบบชาวโลก โลกียะสุข เอาทุกข์ทิ้งไป เอาสุขมาใส่แทน ถ้าใส่มากเกินพอดี สะสมมาก เท่ากับเราแบกโลก ( โลกีย์ ) ไว้ ยิ่งมาก ก็ยิ่งหนัก *****
. เครื่องมือใช้ปฏิบัติธรรม คือ 5 ข้อห้าม 38 ข้อให้ . ศีล 5 และ . มงคลชีวิต 38 ข้อ 1.ไม่คบคนพาล ( คบ คือการพูดคุยกัน เกินกว่า 5 ประโยค พาลคือคนที่ไม่รู้ ผิด ถูก ชั่ว ดี บาป บุญ คุณ โทษ ) 2. ให้คบคนดี ( อย่างน้อยต้องรู้จักรักตนเอง รักพ่อแม่ ) ฯลฯ ( ที่เหลือ อีก 36 ข้อลองหาอ่านดู ) ถ้าเอามงคลไปใส่วัตถุหมด จะได้ . วัตถุมงคล ( แต่ชีวิตจะไร้ มงคล )
. ขั้นตอนการปฏิบัติธรรมที่สำคัญ ก่อนการสร้างกรรมต่างๆ ( คิด พูด ลงมือทำ ) คือ . สว่าง . สอาด . สงบ . สมาธิ . สติ . ปัญญา . เรียนรู้ ( ฟัง อ่าน ถาม เขียน คิด ) . สร้างทางเลือก . ตัดสินใจ . ลงมือทำ . วิเคราะห์ แก้ไข . วิจัย . พัฒนา โดยมีหลักธรรม ( ความดี ) เป็นแนวทาง และหลักชัยของชีวิต . สว่าง คือเห็นชัดเจน ไม่คลุมเครือ ไม่มองผิดเป็นถูก . สอาด เป็นระเบียบทั้งสถานที่ สิ่งแวดล้อม จิตใจ . สงบ คือ สงบที่ใจ หรือ สิ่งแวดล้อมที่สงบ จะช่วยให้ใจสงบง่ายขึ้น . สมาธิ มีผู้คิดค้นหลายร้อยวิธี หลายรูปแบบ วิปัสนา กรรมฐาน กำหนดลมหายใจ เดิน จงกลม ฯลฯ ทุกวิธี คือการหยุดพัก อารมณ์ รัก โลภ โกรธ หลง เครียด เกลียด กลัว ฯลฯ เพื่อให้ เกิดความ โล่ง ว่างในจิตใจ ให้ . สามัญสำนึก ( คิดได้เอง แบบไม่ถูกผสม ปรุงแต่งด้วยอารมณ์ ) ความคิดพื้นฐาน ธรรมดา ( รวมทั้งที่มีอยู่ เสมือนโปรแกรมสำเร็จรูปใน ทั่ว ๆ ไป ) ได้ทำงานเองบ้าง เมื่อจิตใจโปร่งใส ไม่ขุ่น ไม่หนัก ไม่แน่น ก็มี . สติ ( การรู้ตัว ) ใช้เพื่อควบคุมอารมณ์ จากตันหา คือความอยาก และความกลัว ฯลฯ ให้มีเหลือน้อยสุด ให้เกิดการใช้ ร่วมกับ . ปัญญา ( ความคิด นึกข้อมูลเดิม จากที่เคยจำไว้ มาประมวลเพิ่ม ) และต้องตามด้วย . หลักพุทธธรรม รู้ แยกแยะถูก ผิด ชั่วดี เลือกวิธีที่ดีที่สุดเพื่อให้ . กรรม ( การกระทำ ด้วย การคิด พูด และการใช้อวัยวะต่างของร่างกาย ลงมือทำ ) จากธรรมมะปัญญา มีผลเป็น . บุญ กุศล สั่งสมเป็น . บารมี ( บุญสมทบ บุญสะสม ) ให้ลูกหลาน บริวาร ที่ปฏิบัติดี ได้เบิกใช้บารมีได้ ตามควร เมื่อบุตร ที่เคย . บวชเรียน ( สมัยโบราณไม่มีโรงเรียน ครู อาจารย์ ) อ่านออก เขียนได้ รู้ ฝึกปฏิบัติธรรมเป็น แยก บาป บุญ คุณ โทษได้ มี . ศีลธรรม ( ศีลคือข้อห้าม ธรรม คือข้อให้ ปฏิบัติ ) ฝังติดในจิตใจ มักทำแต่ความดี หลีก เลี่ยง ละเว้นการทำความชั่ว พ่อแม่ จึงหมดห่วง มีแต่ความสุขใจ เสมือนได้ . ขึ้นสวรรค์ ( กุศโลบาย ให้คนเห็นจากภาพ ให้ดูแตกต่าง ครงข้ามกับภาพความเจ็บ ปวด ทุกข์ทรมาน จากนรก ผสมกับศิลปะ ชดเชยส่วนขาด นางฟ้าจึงต้องมีรูปร่างดี และ เปลือยอก เหาะเหินแบบนั่งลอยไป แบบสบาย ๆ ( ฝรั่งนอนเหาะ ลู่ลม ผมปลิว จีน เหาะแบบยืนบนเมฆ ไปช้าสง่างาม ฯลฯ แล้วแต่จินตนาการ ) ไม่ต้องหุงหาอาหาร อิ่มทิพย์ ฯลฯ
. พอเพียง คือ การจัดหา รวบรวม หรือนำทรัพยากร ที่มีอยู่แล้ว เช่นที่ดิน แหล่งน้ำ พืช เครื่องมือ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด พัฒนา ฯลฯ มาผสมผสาน ลงมือทำให้ สอดคล้องเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลเต็มที่ กับบุคคล อาชีพ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ ก็จะมีกิน มีใช้ได้อย่าง พอเพียง ยั่งยืน ส่วนที่เกินพอ จะนำไปขาย ก็ได้ทั้งบุญ ได้ทั้งเงิน ( ไม่ใช่ 30 50 ไร่ ตามตัวอย่างในพระราชดำรัส พระเจ้าอยู่หัวเท่านั้น ) ไม่มีที่ดิน ไม่ทำเกษตร ก็ใช้ทฤษฎีพระราชทานนี้ได้ ใช้จ่ายเฉพาะที่จำเป็นแก่การดำรงค์ชีวิต ไม่ตกเป็นเหยื่อโฆษณา ไม่เป็นทาสทางวัตถุ ไม่ตามกระแส ไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย ไม่ประมาท ไม่สร้างหนี้สิน ( ไม่คุ้มทุน ถ้าไม่มีความสามารถในการทำกำไรอย่างสูงด้วยการผูกขาด เพราะต้นทุนต่าง ๆ ถูกบวกกำไรมาก หลายทอด ดอกเบี้ยแพง และ คอยกัดกินทุนตลอดเวลา ไม่มีวันหยุด ) อย่าให้ค่าของมูล (มูลค่า) มากกว่าค่าของคุณ (คุณค่า) "พอเพียง" จึงเหมาะกับทุกสาขา อาชีพ ทุกเพศ ทุกวัย ทุกกาลสมัย ทุกประเทศทั่วโลก อีกข้อ สำคัญ . ความจน นอกจากไม่เคยทำร้ายใครแล้ว จุดเกิดอัจฉริยะเอก และ ทุกภูมิปัญญาท้องถิ่น นวรรตกรรม การพัฒนา ในทางที่ดีงาม มีคุณค่าต่อมวลมนุษย์ชาติ และ โลก ล้วนเกิดจาก บุคคลทีไม่ร่ำรวยวัตถุทั้งสิ้น ( มารวยภายหลัง ) เพียง . รู้จักพอ ก็เป็นสุข หากไม่รู้จักพอ ไม่เคยพอ เท่าไรก็ไม่พอ แม้มีทรัพย์กี่แสนล้าน ก็ต้องทุกข์ ทรมานตลอดไป ไม่สิ้นสุด การกินไม่ได้ นอนไม่หลับ สุขภาพเสื่อมถอย ก่อนวัยอันควร ก็เปรียบดั่ง นรก เช่นกัน . ธรรมมะปัญญา ( ช่วยให้เก่ง และดี ) จึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะต้องใช้คู่กับสติ เพื่อให้รู้ตัว อยู่ตลอดเวลา ว่า สิ่งที่ คิด พูด ทำ จะก่อให้ ตนเอง หรือผู้อื่น เป็น ทุกข์ เดือดร้อน กาย ใจ หรือไม่ เป็นการให้ ( ทาน เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ) หรือเป็นการเอา ( โลภ ) มีผลทำให้ ผู้อื่น ตลอดจนสรรพ อยู่ดี มีสุข หรือ ทุกข์เพียงไร และกรรม ( การกระทำ ) ต่าง ๆ มีส่วนผสมของศีลธรรม มากน้อยเพียงไร
. ขั้นอนุบาล ต้องมี รูป ภาพ อุปกรณ์ พิธีกรรม . กุศโลบาย ( อุบาย+กุศล ) นิทาน มากหน่อย ( แต่ระวังอย่าเพลินกับอุปกรณ์ หรือพิธีกรรมมากเกินไป อย่าให้ความอยากนำทาง ) ถ้าถึง . ขั้นอุดม ( มหาวิทยาลัย ) มักไม่ได้ใช้พิธีกรรม อุปกรณ์เสริม ฯลฯ มากนัก ลองสังเกตุดู จะรู้ ว่าใคร อยู่ระดับใหน เราจึงต้องไป . วัด กันบ่อย ๆ เพื่อ "วัด" ความก้าวหน้าทางธรรม กับตนเอง ที่ผ่านมา และ "วัด" กับผู้อื่น ว่า เรามีหลักธรรม ได้ใช้ . ประโยชน์ธรรม ( จากทรัพย์สินทางปัญญา ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ) มาก น้อย เพียงไรเพื่อนำไปใช้ "วัด" . ค่าของคน อยู่ที่ผลของงาน ที่เป็นประโยชน์ต่อ ครอบครัว ถึงสังคมประเทศ ต่อสิ่งแวดล้อม อย่าให้ . ค่าของมูล ( มูลค่า ) มากกว่า . ค่าของคุณ ( คุณค่า คุณประโยชน์ )
. การฝันคือการที่ สามัญสำนึก และ . จิตนอกสำนึก ( จิตที่ทำงานได้เอง โดยอัตตโนมัติ หลังจากผ่านการฝึกฝนมาแล้วจนชำนาญ เช่นกิน เดิน ฯลฯ จนเป็นนิสัยถาวร ) ทำงานร่วมกัน . ปลุกให้ร่างกายตื่น เพื่อแก้ไขปัญหา ต่าง ๆ ขณะนอนหลับ เช่นนอนกดทับเส้นเลือด ปวดปัสสาวะ หิวจัด หนาวจัด ฯลฯ โดยการนำเรื่องราว ที่เคยได้พบ อ่าน ฟัง จากความจำ มาสร้างผสมกันเป็นเรื่องราว ทั้งเรื่องทางดี และทางร้าย น่ากลัว น่าเกลียด ตื่นเต้น ฯลฯ เปลี่ยนเรื่อง ผสมกันไปเรื่อย ๆ หลายสิบเรื่อง เรื่องที่ปลุกให้ตื่น และจำได้ คือเรื่องที่เราเคยให้ความสำคัญมากที่สุด มีทั้งดีใจ เศร้า เสียใจ ตกใจสุด ๆ ( โรคไหลตาย หรือหลับตายในรถ ร่างกายอาจได้รับสารพิษ อากาศพิษ อ่อนเพลียมาก ส่วนหนึ่งเลือดข้นมาก เพราะขาดน้ำ เมื่อความฝันปลุกไม่ตื่น ขาดอ๊อกซิเจน หรือสมองขาดเลือดไปเลี้ยง เซล์ลสมองตาย สั่งการไม่ได้ทั้งระบบ จึงเสียชีวิต ) ส่วน . จิตในสำนึก ( ซึ่งมักเป็นเรื่องใหม่ ทั้งดี และเลว ต้องตั้งใจ ตั้งสติ ให้รู้ตัว ควบคุมอยู่ตลอดเวลา ใช้พลังงานในการสั่งการมาก จึงมักรู้สึกอ่อนเพลีย มากกว่าปกติ เช่นฝึกขับรถใหม่ ๆ ฝึกว่ายน้ำ ฯลฯ ) จิตในสำนึก จึงเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะทำให้ . จิตนอกสำนึก สร้าง . นิสัยถาวร ( สันดาน ) พัฒนาให้ดีขึ้น หรือ ทำให้เลวลง . ผู้นำ ผู้ใหญ่ กระแสสังคม สิ่งแวดล้อม วัย ความรู้ หลักธรรม ฯลฯ ล้วนมีอิทธิพล ต่อการรับรู้ ในการปลูก ฝัง จิตสำนึก ของทุกผู้คน โดยเฉพาะ เด็ก เยาวชน หากทุกคน มีธรรมมะ . ปลูกฝังอยู่ในจิตใจ ใช้ความรู้ สติ ปัญญา คิดแยก ถูก ผิด บาป บุญ คุณ โทษ ฯลฯ ได้ เลือกทำเป็น แก้ปัญหาได้ ไม่ใช้ . มิจฉาทิฐิ( ความดื้อรั้นในความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง เป็นตัวที่ก่อให้เกิดการแตกแยก สงคราม การทำร้าย เข่นฆ่ากัน ) คิด พูด และ ทำ ในเรื่องดี กรรมที่เป็นบุญ กุศล จากการทำความดีนั้น จะส่งผลให้เกิด . สันติสุข ในทุกสังคม ของ มนุษย์ และ สรรพ ได้อย่างถาวร . สงคราม อาชญากรรม ทั้งหมด ปล้น จี้ ตี ชิง ข่มขืน ฆ่า วางเพลิง การพนัน ยาเสพติด การค้ามนุษย์ ทุจริต คดโกง ลวงทรัพย์ เสพติดเงินทอง และ อำนาจ ฯลฯ รวมถึงเรื่อง . อัปมงคล ( ไม่เป็นมงคล ) ต่าง ๆ ล้วนเกิด จากโรค . ขาดธรรมะ ทั้งสิ้น
. เป้าหมาย ธรรมมะ ของทุกศาสนา มีจุดหมายคล้าย ๆ กัน คือให้ทำดี อย่างต่อเนื่อง . แตกต่างที่ขั้นตอน พิธีกรรม ที่ทำให้มีสติ รู้ และใช้ปัญญา ทำในสิ่งดี ๆ เพื่อให้เกิด ประโยชน์สุข ต่อ ตนเอง และมวลมนุษย์ชาติ และสรรพ ในโลก เพื่อสันติภาพ สันติสุข ที่แท้จริง ตลอดไป
. ถ้าไม่รีบวิเคราะห์หาสาเหตุแห่งโรคให้เจอ และรีบรักษาให้ทันเวลา โดยความร่วมมือ ของทุกฝ่าย เมื่อหลายโรคแทรก รุมเร้า ยากที่จะเยียวยา รักษา ถึงเวลานั้น อัจฉริยะหมอสุดยอด เก่งกาจเพียงไร ก็ยากที่จะรักษาให้รอดได้ และ . ความทุกข์ ยาก แสนเข็ญ ซึ่งพระพุทธองค์ ทรงหาทางดับให้แล้วนั้น จะยิ่งกระจาย ความเดือดร้อน แพร่ระบาด มากมาย รวดเร็ว และทั่วถึง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
darkknightza
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
พลังน้ำใจ: 167
ออฟไลน์
กระทู้: 4,245
|
 |
« ตอบ #137 เมื่อ: 10 พฤศจิกายน 2010, 21:23:21 » |
|
ความดีและกุศลจะเจริญ
เมื่อปราถนาจะทำกุศลและทำความดี
เปลี่ยนความคิดจากอกุศลเป็นกุศล
สร้างกุศลเป็นอาจิณเสมอมิขาด
รำพึงถึงผูกใจถึงความดีและกุศล
คิดเสมอที่จะสร้างความดีและกุศล
สงเคราะห์ผู้อื่นโดยไม่กังวลถึงผล
ผุ้ใดปรารถณาสุขเพื่อตน
เพราะก่อทุกข์ให้ผู้อื่น
ผู้นั้นเป็นผู้ระคนด้วยเครื่องระคน
คือเวรย่อมไม่พ้อนจากเวรได้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า......................
ความรักอื่นเสมอตนไม่มี
ทรัพย์เสมอด้วยข้าวเปลือกย่อมไม่มี
ฝนต่างหากที่เป็นสระยอดเยี่ยม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
darkknightza
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
พลังน้ำใจ: 167
ออฟไลน์
กระทู้: 4,245
|
 |
« ตอบ #138 เมื่อ: 12 พฤศจิกายน 2010, 00:50:04 » |
|
มนุษย์ที่มีใจสูงย่อมรู้จักให้อภัยไม่เอาเรื่องกับสิ่งเล็กน้อย
อย่าทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ ทางที่ถูกควรทำเรื่องใหญ่ให้เป็นเรื่องเล็ก ถ้าเป็นเรื่องเล็กอยู่แล้วก็ไม่ควรเอาเรื่องเสียเลย ปล่อยไปเสีย ทำไม่รู้ไม่เห็นเสียบ้าง ไม่บอดทำเป็นเหมือนบอด ไม่ใบ้ทำเหมือนใบ้ ไม่หนวกทำเหมือนหนวกเสียบ้าง จิตใจของเราจะสบายขึ้น
มี เรื่องแปลกประหลาดอยู่อย่างหนึ่งในหมู่มนุษย์ คือ คนส่วนมากเผชิญกับ เหตุการณ์ใหญ่ๆ อย่างกล้าหาญได้ แต่กลับขาดความอดทนต่อสิ่งเล็กๆ น้อย ๆ ตัวอย่างเช่น ใครมาพูดเสียดสี กระทบกระเทียบเปรียบเปรย เขาทนไม่ได้ แต่กลับทนอยู่ในคุกตารางได้เป็น 20-30 ปี และยินดีรับความทุกข์เหล่านั้นไปตลอดเวลาที่ทางราชการกำหนด แม้จะไม่ยินดี ก็เหมือนยินดี เพราะไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ ถ้าเขายินดีรับความทุกข์เพียงเล็กน้อยเสียก่อน คืออดทนต่อคำด่าว่าเสียดสี หรืออาการทำนองที่เขาคิดว่าเป็นการดูถูกดูแคลนเพียงเล็กน้อยเสียก่อน ไหนเลยเขาจะต้องมาทนทุกข์ทรมานอันมากมายยาวนานถึงเพียงนั้น
การ ให้อภัยเป็นคุณธรรมสำคัญอย่างหนึ่งในมนุษย์ คนส่วนมากเมื่อจะทำทานก็มักนึกถึงวัตถุทานคือการให้วัตถุสิ่งของ ให้ได้มาก เตรียมการมาก ยุ่งมาก เขายินดีทำ แต่ใครมาล่วงเกินอะไรไม่ได้ ไม่มีการให้อภัยในความผิดพลาดของผู้อื่น ความจริงเขาควรหัดให้อภัยทานบ้าง แล้วจะเห็นว่า จิตใจสบาย ขึ้นประณีตขึ้น สูงขึ้น เป็นเทวดา ดังสุภาษิตอังกฤษบทหนึ่งว่า � “ To err is human , to forgive diving ” แปลว่า การทำผิดเป็นเรื่องของมนุษย์ ส่วนการให้อภัยเป็นเรื่องของเทวดา ถือเอาความว่ามนุษย์ธรรมดาย่อมมีการทำผิดพลาดบ้าง ส่วน มนุษย์ที่มีใจสูงย่อมรู้จักให้อภัย ไม่เอาเรื่องกับสิ่งเล็กน้อย หรือแม้ในสายตาของคนอื่นจะเห็นเป็นเรื่องใหญ่ แต่สำหรับท่านผู้มีใจกรุณา ย่อมเห็นเป็นเรื่องเล็กน้อย
พระ พุทธเจ้าที่พวกเรานับถือนั้นมีผู้ปองร้ายพระองค์ถึงกับจะเอาชีวิตก็มี เช่น พระเทวทัต และพวกพยายามปลงพระชนม์หลายครั้ง แต่ไม่สำเร็จเพราะพระองค์ไม่ร้ายตอบ ทรงให้อภัย มีคนใส่ร้ายด้วยเรื่องที่ร้ายแรงทำให้เสียเกียรติยศชื่อเสียงก็มีเช่นพวก เดียรถีย์นิครนถ์ นางจิญจมาณวิกา นางสุนทรี เป็นต้น แต่ก็ไม่ทรงทำตอบ ทรงให้อภัย ในที่สุดคนพวกนั้นก็พ่ายแพ้ไปเอง เหมือนเอาไข่ไปตอกกับหินไข่แตกไปเอง
พระ เยซู ศาสดาของคริสต์ศาสนาก็ทรงมีชื่อเสียงมากในการให้อภัย ไม่ทรงถือโทษต่อผู้คิดร้ายทำร้ายต่อพระองค์ ให้อภัยผู้ทำความผิด เปิดโอกาสให้กลับตัว
อีกท่านหนึ่ง คือมหาตมะ คานธี ซึ่งมีชื่อเสียงไปทั่วโลกเรื่องอหิงสา ความไม่เบียดเบียน การให้อภัยจนถึงอัลเบิร์ต ไอสไตน์ นักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ได้กล่าวสดุดีท่านผู้นี้ไว้ว่า “ต่อไปภายหน้ามนุษย์จะเชื่อหรือไม่ก็ไม่ทราบ ว่าได้เคยมีคนอย่างนี้ (ท่านมหาตมะ คานธี) เกิดขึ้นแล้วในโลก”� ทั้งนี้เพราะคุณวิเศษในตัวท่านนั้นยากที่คนสามัญจะหยั่งให้ถึงได้
รวม ความว่า มหาบุรุษที่โลกยกย่องให้เกียรติเคารพบูชานั้น ล้วนเป็นนักให้อภัยทั้งสิ้นไม่เอาเรื่องกับสิ่งเล็กๆ น้อยๆ หรือเรื่องใหญ่ก็ทำเป็นเรื่องเล็กเสียท่านเหล่านั้นมุ่งมั่นในอุดมคติ จนไม่มีเวลาจะสนพระทัยหรือสนใจในเรื่องเล็กน้อย แต่ท่านเหล่านี้จะสนใจในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อันเกี่ยวกับสุขทุกข์ของผู้อื่นเสมอ ส่วนเรื่องร้ายที่คนอื่นกระทำแกท่าน ท่านไม่สนใจ ลองอ่านประวัติของท่านที่เอ่ย พระนามและนามมาแล้วดังกล่าวดูบ้าง จะเห็นว่าท่านน่าเคารพบูชาเพียงใด โลกจึงยอมน้อมเศียรให้แก่ท่าน
มี เรื่องเล่าว่าในวัดพุทธศาสนานิกายเซ็นวัดหนึ่งมีพระอยู่กันหลายรูป มีพระรูปหนึ่งมีนิสัยทางขโมยได้ขโมยของเพื่อนพระด้วยกันเสมอๆ จนวันหนึ่งพระทั้งหลายพากันขึ้นไปหาเจ้าอาวาสบอกว่า ถ้าพระรูปนี้ยังอยู่วัดนี้ พวกเขาจะไม่อยู่วัดนี้ ขอให้ไล่พระรูปนั้นออกไป ท่านเจ้าอาวาสบอกว่า พวกคุณนั่นแหละควรจะไปได้แล้วทุกรูป ส่วนพระรูปนั้นควรจะต้องอยู่กับฉันก่อน เพราะยังไม่ดี
นี่ คือเรื่องของผู้มีใจกรุณา คนที่เคยทำความผิดอันยิ่งใหญ่นั้น ถ้ากลับใจได้เมื่อใดก็มักทำความดีอันยิ่งใหญ่เหมือนกัน เพราะสลดใจในเวรกรรมที่ตนเคยสร้างไว้ ดูพระเจ้าอโศกมหาราชและขุนโจรองคุลิมาลเป็นตัวอย่าง พระองค์เสด็จไปโปรดองคุลิมาลให้กลับเป็นคนดี ก็ด้วยพระทัยกรุณานั่นเอง แม้พระเจ้าอโศกมหาราชก็เหมือนกัน ตามพระประวัติว่า ได้อาศัยพระภิกษุในพุทธศาสนารูปหนึ่ง จึงกลับพระทัยมาดำเนินชีวิตทางไม่เบียดเบียน ทรงบำเพ็ญอภัยทานเป็นอันมาก
ถ้า จะเอาเรื่องกับเด็กรับใช้ที่บ้านภารโรงที่โรงเรียนหรือสำนักงาน ก็ขอให้หยุดคิดสักนิดหนึ่งว่าก็แกแค่นั้น จะเอาอะไรกับแกนักหนา ถ้าแกดีเท่าเราหรือเฉลียวฉลาดปราดเปรื่องอย่างเรา แกจะมาเป็นคนใช้หรือเป็นภารโรงทำไมกัน ก็เพราะความคิดอ่านแกมีอยู่เท่านั้น แกก็ทำอย่างนั้น อย่างที่เรารำคาญๆ อยู่นั่นแหละ คิดได้อย่างนี้ก็ค่อยหายกลุ้มไปหน่อย สุภาษิตที่ว่า “�ความเข้าใจเป็นมูลฐานแห่งการให้อภัย” �นั้น ยังเป็นความจริงอยู่เสมอ เมื่อเข้าใจแล้วก็ให้อภัยเห็นว่าเขาเป็นคนอย่างนั้นเอง
พระ สารีบุตรเคยแสดงแก่ภิกษุทั้งหลายว่าในการคบคนนั้น ควรถือเอาเฉพาะส่วนดีของเขาส่วนไม่ดีก็ตัดทิ้งไป บางคนการกระทำทางกายไม่ดี แต่วาจาดี บางคนวาจาหยาบแต่การกระทำทางกายดี บางคนการกระทำทางกายก็หยาบ วาจาก็หยาบ แต่ใจดี ควรถือเอาเฉพาะส่วนที่ดีนั้น ท่านเปรียบว่าเหมือนดึงผ้าออกมาจากดินโคลนเพื่อจะเอาไปปะต่อใช้สอยเห็นส่วน ไหนดีก็ตัดเอาไว้ ส่วนไหนไม่ดีก็ตัดทิ้งไปถ้าทำได้อย่างนี้ก็จะช่วยให้สบายใจได้มาก
อนึ่ง ควรคิดว่า คนเราเกิดมาด้วยจิตที่ไม่เหมือนกัน คือพื้นฐานของจิตตอนถือปฏิสนธินั้นไม่เหมือนกัน จึงมีอุปนิสัยแตกต่างกันมาตั้งแต่เยาว์ เมื่อกระทบกับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันอีกก็ทำให้บุคคลแตกต่างกันไปเป็นอัน มาก การอยู่รวมกันของคนหมู่มากผู้มีอุปนิสัยใจคอพื้นฐานทางใจและการอบรมที่แตก ต่างกัน จึงมีปัญหามาก ถ้าเราถือเล็กถือน้อยไม่รู้จักให้อภัย เราก็จะมีทุกข์มาก บางทีก็เกี่ยวกับช่องว่างระหว่างวัย ผู้ใหญ่อยากจะให้เด็กทำ พูดและคิดอย่างตน ส่วนเด็กก็อยากจะให้ผู้ใหญ่ทำ พูด คิด อย่างตนเหมือนกัน ซึ่งโดยทั่วๆ ไปแล้วเป็นไปไม่ได้ ฝ่ายผู้ใหญ่ควรให้อภัยว่าแกเป็นเด็ก ส่วนเด็กก็ควรให้อภัยว่าท่านแก่แล้ว มาเข้าใจกันเสียคือเห็นใจซึ่งกันและกัน เมื่อเป็นดังนี้เรื่องเล็กไม่กลายเป็นเรื่องใหญ่ ทุกฝ่ายอยู่กันด้วยความเห็นใจเข้าใจ มองกันอย่างเป็นมิตร ไม่เป็นศัตรูต่อกัน *
นี่ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการผ่อนคลายความทุกข์ในชีวิตประจำวัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
darkknightza
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
พลังน้ำใจ: 167
ออฟไลน์
กระทู้: 4,245
|
 |
« ตอบ #139 เมื่อ: 12 พฤศจิกายน 2010, 17:12:38 » |
|
ธรรมะ คือสิ่งที่ช่วยให้มนุษย์มีใจคอปกติ
"...สำหรับธรรมะนี้ ถ้าเราดูโดยหลักใหญ่ๆ ที่สุดเราพูดได้อย่างวิทยาศาสตร์ว่าเป็นสิ่งที่ทำให้คนเรามีใจคอเป็นปกติ หรือ Balance อยู่ตามสภาพ หมายความว่าคนในโลกนี้มีใจคอสูญเสียสภาพปกติเกือบตลอดวัน คือว่าอ้ายนั่น...อ้ายนี่ข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กายใจ มาทำให้เกิดความรู้สึก เป็นไปในทางชอบหรือรัก นี้อย่างหนึ่งให้เกลียดหรือไม่ชอบอืดอืดขัดใจ นี้อีกอย่างหนึ่ง แท้จริง
แล้วทั้งสองอย่างนี้ใช้ไม่ได้ คือจิตใจที่อยู่ในลักษณะทั้งสองอย่างนี้ใช้ไม่ได้ที่จะปฏิบัติงานอะไรก็ตาม งานออฟฟิศชนิดไหนก็ตาม ถ้าใจคอมันสูญเสียสภาพปกติเดิมอย่างนี้ คือรักหรือเกลียดเสียแล้ว พอใจหรือไม่พอใจเสียแล้วนั่นจะเป็นการทำผิดทันที ผิดไม่มากก็น้อย ในการที่จะทำอะไรออกไป หรือจะพูดอะไรออกไป หรือจะปฏิบัติหน้าที่อะไรก็ตามที่ ฉะนั้นเราต้องถือหลักว่า ธรรมะนี้คือสิ่งที่ช่วยให้มนุษย์มีใจคอปกติ แม้แต่ความตายมาจ่ออยู่ข้างหน้า
หรือแม้แต่จะเจอเสือในป่า ก็ต้องใจคอปกติ คือไม่กลัวจนขาดสติ อาจจะขึ้นต้นไม้ก็ตาม หรือจะวิ่งหนีก็ตาม ก็ยังคงมีใจคอปกติ นี่คือความต้องการของธรรมะเป็นอย่างนี้ คือเราไม่หวั่นไหวในโลกธรรมที่แบ่งเป็นฝักฝ่าย ฝ่ายนี้ได้อีกฝ่ายเป็นฝ่ายเสีย ได้ลาภ ได้ยศ ได้สรรเสริญ ได้สุขมีได้ก็ต้องมีเสีย นี่คือสิ่งที่ทำให้ใจคอไม่ปกติ แต่ธรรมะต้องการจะทำให้มีอำนาจเหนือโลกธรรม กล่าวคือ มีใจคอปกตินั่นเอง แล้วจะรู้ได้เองว่า ควรจะทำอะไร ควรทำอย่างไรเท่าด้วย ไปมองดูเถอะมันจำเป็นที่สุดสำหรับทุกคน..."
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 141 ขึ้นบน |
|