ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

ThaiSEOBoard.comอื่นๆCafeรวมธรรมมะที่น่าสนใจ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 141   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: รวมธรรมมะที่น่าสนใจ  (อ่าน 333868 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
darkknightza
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
*

พลังน้ำใจ: 167
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,245



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #20 เมื่อ: 01 ตุลาคม 2010, 20:56:51 »

ความเพียร หมายถึง ความก้าวไปข้างหน้า ความดำเนินไป ความบากบั่น ความพยายาม ความอุตสาหะ ความหมั่น ความออกแรง ความไม่ถอยหลัง ความทรงไว้ ความไม่ย่อหย่อน ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคอง ธุระไว้วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ ที่เป็นไปทางจิต
อรรถกถาสัพพาสงสังวรสูตรกล่าวว่า ความเพียรเป็นสภาวะที่แกล้วกล้า มีความประคับประคองจิตเป็นลักษณะ มีการอุปถัมภ์จิตเป็นกิจ มีความไม่ท้อแท้แห่งจิตเป็นเครื่องปรากฏ
มีความเพียรเป็นคุณสมบัติหรือ อาการอย่างหนึ่งของจิตเป็นคุณสมบัติที่เป็นกลางๆ ไม่ดี ไม่ชั่ว ถ้าพากเพียรไปในทางที่ถูก เช่นหาเลี้ยงชีพอย่างสุจริต ให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ก็จัดเป็นกุศลธรรม นำความสุข ความเจริญ และความสำเร็จมาสู่ชีวิต ถ้าพากเพียรไปในทางผิด เช่น เสพของมึนเมา เล่นการพนัน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ชีวิตก็มีแต่ความทุกข์ ความเดือดร้อน
อรรถกถารูปาทิวรรค กล่าวถึงความเพียร 2 ประการคือ

1. ความเพียรทางกาย ได้แก่ ความเพียรทางกายของภิกษุ ผู้ชำระจิตจากนิวรณ์ ด้วยการเดิน การนั่งตลอดวัน กลางคืนพัก 4 ชั่วโมงในมัชฌิมยาง (สี่ทุ่มถึงตีสอง)

2. ความเพียรทางจิต เมื่อภิกษุผู้พากเพียรผูกใจว่า เราจักไม่ออกไปจากที่เร้นนี้ หรือเราจักไม่เลิกขัดสมาธินี้ ตราบเท่าที่จิตของเรายังไม่หลุดพ้น จากอาสวะ ย่อมถึงพร้อมด้วยความเพียรทางกายและทางจิต

อรรถกถากายสูตร กล่าวถึงธาตุเพียง 3 ประการ คือ

1. อารพฺธาตุ ได้แก่ความเพียรครั้งแรก

2. นิกฺขมธาตุ ได้แก่ความเพียรที่มีกำลังกว่านั้น เพราะออกจากความเกียจคร้าน

3. ปรกฺกมธาตุ ได้แก่ความเพียรที่มีกำลังกว่านั้น เพราะเป็นเหตุให้ก้าวไปข้างหน้าเรื่อยไป

ปธานสูตร (21/13) กล่าวถึงความเพียร 4 ประการคือ

1. สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้อกุศลธรรมเกิดขึ้น

2. ปหานปธาน เพียรละอกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป

3. ภาวนาปธาน เพียรให้กุศลธรรมเกิดและเจริญยิ่งขึ้น

4. อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม

ในเรื่องความเพียร หลวงวิจิตรวาทการ ให้ความเห็นไว้อย่างน่าฟังว่า

ไทยเราได้แปลความเพียรผิดไป คือเราแปลหรือสอนกันว่า ความเพียรหมายถึง “เหนื่อยไปก่อนคงสบายเมื่อปลายมือ” เราพากเพียรทำงานเพื่อหวังผลอย่างเดียว คือ “สบายเมื่อปลายมือ”

เราไม่ได้สอนกันว่า ความเพียรนั้นเป็นลักษณะของมนุษย์ที่ดี ซึ่งจะต้องทำไปจนตลอดชีวิต ไม่มีความจำเป็นต้องหยุด ความสุขไม่ได้หมายถึงการอยู่เฉยๆ โดยไม่ทำอะไร เราควรจะสอน ให้คนของเราเข้าใจว่า ความสุขของมนุษย์อยู่ที่การทำงาน ให้สำเร็จไปเรื่อยๆ
เหตุเกิดความเพียร

พระอรรถกถาจารย์กล่าวถึงเหตุ 11 ประการ ที่ทำให้พระภิกษุเกิดความเพียร ในที่นี้จะนำมาเรียบเรียงใหม่ เหลือ 8 ข้อ ดังนี้

1. ถ้าไม่รีบทำความดีเสียในวันนี้ พรุ่งนี้เราอาจจะตาย เลยหมดโอกาสทำความดี

2. งานจะเสร็จได้ก็ต่อเมื่อลงมือทำอย่างจริงจัง ถ้ามัวนอนอยู่งานก็ไม่มีวันเสร็จ

3. เราจะเดินไปตามทางที่พระพุทธเจ้า พระสาวก พระเจ้าจักรพรรดิ มหาเศรษฐี หรือบุคคลผู้ประสบความสำเร็จอื่นๆ ได้เสด็จดำเนินและเดินไปแล้ว แต่ทางนั้นคนเกียจคร้านไม่อาจจะเดินไปได้

4. ถ้าเรามัวเกียจคร้าน ดีแต่แบมือขอจากพ่อแม่ญาติพี่น้องเราไม่อายเขาบ้างหรือ

5. ถ้าเรามัวเกียจคร้าน ก็ไม่อาจรักษามรดกที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษไว้ได้ ตายแล้วจะไปพบหน้าท่านได้อย่างไร

6. เราเกิดมาในตระกูลที่มีชื่อเสียงและฐานะถึงเพียงนี้ ถ้ามัวเกียจคร้านอยู่ จะสมควรหรือ

7. เขาก็คน เราก็คน เมื่อเขาทำดีได้ เราก็ต้องทำดีให้ได้อย่างเขาหรือดีกว่า

8. แม้แต่สัตว์ตัวเล็กๆ เช่น มด ยังรู้จักขยันหากินและสร้างรังถ้ามัวนอนอยู่เราไม่อายสัตว์มันบ้างหรือ

นอกจากนี้ ความเพียรอาจเกิดจาก

9. ความเมตตากรุณา เช่น อยากช่วยเหลือคนไข้ จึงพยายามเรียนแพทย์จนสำเร็จ

10 ตัณหา เช่น อยากได้ของที่ถูกใจ แต่ไม่อาจได้โดยสุจริตจึงพยายามขโมยจนสำเร็จ

11. ความอาฆาต จึงพยายามแก้แค้นจนสำเร็จ

12 ความกลัว เช่นกลัวจะไม่มีกิน เลยพยายามทำมาหากินตัวเป็นเกลียว

เหตุเกิดความเพียรมีมากทั้งดีและชั่ว แต่ถ้าจะสรุปก็เหลือเพียงประการเดียว คือเห็นประโยชน์ที่เกิดจากความเพียร และเห็นโทษของความเกียจคร้าน

อานุภาพความเพียรพระพุทธเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่ เกิดขึ้น อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนการปรารภความเพียร เมื่อบุคคลเป็นผู้ปรารภความเพียร กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมไป
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราย่อมไม่เล็งเห็น เหตุอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนการปรารภความเพียร การปรารภความเพียรย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่

พระพุทธดำรัสนี้แสดงให้เห็นถึงอานุภาพความเพียรหลักเรื่องความเพียรเป็น ลักษณะสำคัญอย่างหนี่งของพุทธศาสนา คำสอนใดเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน คำสอนนั้นไม่ใช่พุทธศาสนา ความเพียรเป็นองค์ประกอบในหมวดธรรมะที่สำคัญต่างๆ มากมาย เช่น อิทธิบาท (ธรรมที่ทำให้สำเร็จความประสงค์) โพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้) นาถกรณธรรม (ธรรมที่เป็นที่พึ่งของตน) เป็นต้น

 เป็นที่น่าสังเกตว่า หมวดธรรมะที่กล่าวถึงความเพียร มักจะมีปัญญากำกับอยู่ด้วย เพราะความเพียรที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็นความเพียรที่ผิดพลาด ไร้อานุภาพ ไม่สำเร็จประโยชน์อันใด เช่น การรีดนมจากเขาโค เป็นการกระทำที่โง่เขลา เป็นความเพียรที่ผิดอย่างมหันต์ แม้จะพยายามอย่างไรก็เหนื่อยเปล่า ไม่มีทางสำเร็จได้เลย ความเพียรจะสำเร็จประโยชน์ได้ ก็ต่อเมื่อมีปัญญาคอยนำทางหรือชี้แนะ ความเพียรจะมีอานุภาพหรือมีผลมากยิ่งขึ้น ถ้ามีธรรมะมาเสริมอีก 2 ประการ คือฉันทะและจิตตะ รวมเป็นหมวดธรรมะที่เรียกว่า อิทธิบาท 4 ซึ่งเป็นธรรมะที่ทำให้สำเร็จความประสงค์ทุกอย่างที่ไม่เหลือวิสัย อิทธิบาท 4 มี

1. ฉันทะ พอใจทำ
2. วิริยะ ขยันทำ
3. จิตตะ ตั้งใจทำ
4. วิมังสา (ปัญญา) เข้าใจทำ

คนที่เกียจคร้านมัวแต่คิดสมบัติบ้าเพ้อฝันถึงเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ซึ่ง สำนวนไทยเรียกว่า มั่งมีในใจแล่นใบบนบก คนที่เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อหยิบหย่งจับจด ไม่ทำอะไรจริงจัง คนที่ก่อแล้วไม่สาน ปล่อยงานการให้คั่งค้างไว้ คนเหล่านี้ไม่อาจประสบความสำเร็จในชีวิตได้เลย คนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต ไม่ว่าในทางโลกหรือทางธรรมล้วน
บันทึกการเข้า

หาเงินวันละ350บาท มั่นคง จ่ายมาสิบปีแล้ว
หารายได้กับ popup เจ้านี้ เรทแรงคลิ๊ก
Hosting อันดับ 1 คุณภาพสูง ราคาถูก จัดเลย
โดเมนเนมสวยๆ ราคาถูก จดกับเราสิที่นี่
thammaonline
ก๊วนเสียว
*

พลังน้ำใจ: 24
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 237



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #21 เมื่อ: 01 ตุลาคม 2010, 23:32:17 »

เพียรรักษาความดี (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) 
 
เ พี ย ร รั ก ษ า ค ว า ม ดี


ครั้งที่แล้วได้อธิบายธรรมที่เรียกว่า “ภาวนาปธาน”
เพียรทำความดีให้เกิดมีขึ้นในใจของตน
แล้ววันนี้จะแสดงธรรมเรื่อง “อนุรักขนาปธาน” ต่อไป

อนุรักขนาปธาน
คือ การรักษาความดีที่เกิดมีขึ้นในตนไว้ไม่ให้เสื่อมสูญไป
อุปมาเหมือนปิดกั้นสระใหญ่ ไม่ให้น้ำไหลออกจากสระนั้น
พอฝนตกมามันก็จะเก็บน้ำไว้ให้เต็มเปี่ยม
ผู้สร้างคุณงามความดี คือ สร้างกุศลทั้งปวงนั้น
เรียกว่า สะสมคุณงามความดี มีน้อยก็เก็บไว้ มีมากก็เก็บไว้
เหมือนฝนที่ตกลงมา ไม่ว่าห่าใหญ่ห่าน้อย
ตกลงมากแล้วไม่รั่วไหลไปไหน มีแต่จะมากขึ้น

การที่จะรักษาคุณงามความดีของตนไว้ได้
จะต้องเห็นคุณค่าของคุณงามความดีที่เราสร้างนั้นก่อน
เห็นเป็นของมีค่ามีประโยชน์ยิ่ง
เมื่อได้มาแล้ว ก็ยินดีพอใจในการที่ได้กุศลนั้น
เช่น เรายังไม่เคยเข้าวัดฟังธรรม ไม่เคยทำบุญทำทาน
และไม่เคยรู้จักรสชาติของสัจธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ต่อมาเมื่อเราเข้าวัดจิตใจเบิกบาน แช่มชื่นปลอดโปร่ง
เพราะได้เห็นได้ฟังแต่สิ่งที่ดีที่งาม
วัดเป็นที่บำเพ็ญกุศล เป็นที่อบรมจิตใจ
เป็นที่ระงับดับเสียซึ่งความเดือดร้อนวุ่นวาย เป็นสถานที่ที่สงบ
เมื่อเข้าไปถึงวัดเห็นคุณค่าประโยชน์อย่างนี้
เราก็พยายามที่จะรักษาคุณงามความดีไว้ คือ หมั่นเข้าวัด
บางคนถึงจะไม่หมั่นก็ช่างเถิด
แต่พอได้รับความเดือดร้อน จนใจเป็นทุกข์ จะต้องดิ่งเข้าวัด
พอก้าวย่างเข้าไปในเขตวัดเท่านั้น
ยังไม่ทันทำอะไรเลย จิตใจจะสงบเยือกเย็น
ถ้าได้ไปคบค้าสมาคมกับพระสงฆ์ผู้มีศีล
มีธรรมคุณงามความดีของท่านเหนือจากเรา
เราเห็นแล้วก็อดที่จะละอายความชั่วของเราไม่ได้
หรือหากเข้าไปหาท่านผู้รู้ผู้ฉลาดครูบาอาจารย์ผู้มีความสามารถ
ท่านแนะนำให้เราเข้าใจในธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า
ความเดือดร้อนกังวลทั้งหลาย จะหายไปอย่างเด็ดขาด
ถ้าเห็นคุณค่าประโยชน์เช่นนี้
เรียกว่า คุณงามความดีได้เกิดมีขึ้นในตนแล้ว

เมื่อเราทำกุศลแล้ว เกิดความอิ่มอกอิ่มใจ พอใจ ยินดีปีติ
เราจะรักษาคุณงามความดี คือ รักษาวัตรปฏิปทาของการทำดีนั้น
เช่น เช้าตื่นขึ้นมาทำบุญตักบาตร
หรือก่อนจะหลับจะนอนก็ไหว้พระสวดมนต์
ตื่นขึ้นกลางคืนดึกดื่นสงบสงัด ก็ทำความสงบอบรมสมาธิภาวนา
พิจารณาสังขารร่างกาย
หรือจวนจะสว่างก่อนไปทำการทำงานไหว้พระสวดมนต์
ทำความสงบอบรมสมาธิภาวนา
จิตใจของเราก็มีความสงบ ได้รับความเยือกเย็น
หากผู้ใดทำจนเห็นคุณค่าประโยชน์อย่างนี้แล้ว
ผู้นั้นจะต้องรักษากิจวัตรอันนั้นไว้ประจำในใจของตน
เรียกว่า “อนุรักขนา” เพียรพยายามรักษาความดีไม่ได้เสื่อม
เหตุนั้นท่านจึงสอนให้รู้จักดี รู้จักชั่ว รู้จักผิด รู้จักถูก
ให้มันหายจากโมหะ คือ ความหลง อวิชชา คือ ความไม่รู้
และเห็นความจริงขึ้นมาว่า ดีเป็นของดีจริง ชั่วเป็นของชั่วจริง
ที่ชั่วก็ละเสีย ที่ดีก็รักษาไว้จริงๆ

ธรรมดาทุกคนไม่ว่าใคร ถ้าไม่เห็นชัดด้วยตนเอง
ไม่เห็นคุณค่าประโยชน์ในสมบัติที่ตนได้
เหมือนไก่เห็นพลอย เหมือนลิงได้แก้ว
ไก่เห็นพลอยมันจะมีประโยชน์อะไรแก่ไก่
เพราะนำไปใช้อะไรไม่ได้ ไม่รู้จักคุณค่าของพลอยนั้น
ลิงเห็นแก้วก็เหมือนกัน
ลิงจะไปประดับที่ตัวมันตรงไหนกัน ก็ไม่มีคุณค่าประโยชน์อะไร
 
 
 
 

 
 
คนเราถ้าหากมีของดี คือ บุญกุศลคุณงามความดี
ที่เราบำเพ็ญอบรมให้เกิดมีขึ้นในตนแล้ว ก็ไม่รู้จักจะรักษา
เมื่อไม่รู้จักจะรักษา ก็หายไปเสื่อมสูญไปอย่างน่าเสียดาย
เปรียบเหมือนเราทำสวนหรือไร่นา
เมื่อถากถางและขุดไถให้เรียบร้อยแล้ว จึงปลูกพืชลงไปนั้น
แล้วจำเป็นจะต้องรักษาโดยทำรั้วกั้น
ป้องกันไม่ให้สัตว์เข้าไปกินไปเหยียบย่ำ จึงจะได้รับผล
มิใช่ว่าปลูกแล้วทอดทิ้ง
ถ้าปลูกแล้วทอดทิ้ง ไม่มีหวังได้กินเลย

เราสร้างคุณงามความดีมาแต่ไหนแต่ไร
ก็เพราะต้องการคุณงามความดีบุญกุศลเวลาได้ขึ้นมาจริงๆ
แล้วกลับไม่รู้จักของดีนั้น ทิ้งขว้างไม่รู้จักของมีค่า
จึงเป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง
พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้มีการรักษาคุณงามความดีที่มีอยู่
อย่าให้เสื่อมหายไป

คนที่ทำทาน แล้วทอดทิ้งปล่อยวาง
โดยคิดว่า ตนทำทาน แล้วก็แล้วไปหมดเรื่อง
แบบนี้ก็ได้ผลอยู่ แต่ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย
หากหมั่นพิจารณาถึงการทำทาน การสละจาคะของตน
ฝึกคิดจนเป็นอนุสสติ เรียกว่า จาคานุสสติ
เห็นประโยชน์ในการทำทาน
การสละนั้นจริงๆ แล้ว จะได้ประโยชน์มากมาย
จิตใจจะเบิกบานอิ่มเอิบปลื้มปีติอยู่ตลอดเวลา
จะมากน้อยเท่าใดเห็นได้ที่ใจของตน
แม้กาลเวลาล่วงไปแล้ว เมื่อมาระลึกถึงเรื่องเหล่านั้น
จิตใจก็จะแช่มชื่นยินดีด้วย
การทานนี่ก็เป็น “อนุรักขนา” เหมือนกัน
เมื่อผู้รับได้ประโยชน์จากทานนั้น
เราจึงจะได้รับสุข เป็นอานิสงส์จากไทยทานของตน
เช่น ให้ข้าว น้ำ หรืออาหารไป
จากทานนั้นเขาก็จะได้มีชีวิตยืนยาวสืบไป มีสุขภาพดี
หรือเรามีผ้าผ่อน ผ้านุ่งผ้าห่ม ให้ทานเขาไป
เขาจะได้หุ้มห่อร่างกาย ปกปิดไม่ให้เกิดความละอาย
เพื่อกันแดดกันฝน กันร้อนกันหนาว
เราเห็นคุณประโยชน์เพียงแค่นี้ ก็จะเกิดปลื้มปีติขึ้นในใจว่า
เราได้ช่วยคนมีทุกข์ ให้พ้นทุกข์ได้ชั่วระยะหนึ่ง
เราให้ทานความสุขแก่คนอื่นให้ทานชีวิตแก่เขา

เมื่อเราได้ทำคุณงามความดีให้เกิดมีขึ้น มากน้อยก็ตาม
มีเท่าไรเราสะสมไว้ ของเล็กของน้อยนานๆ เข้ามันค่อยเพิ่มขึ้น
ผู้พิจารณาเห็นประโยชน์แล้วรักษาจริยาวัตร
คือ ประพฤติคุณงามความดีนั้นไว้ให้ติดต่อสืบเนื่องกันไป
เรียกว่า “อนุรักขนาปธาน”
ถ้าหากว่านำเอาคุณความดีที่ตนได้ปฏิบัติ
มาพิจารณากำหนดสติ ก็จะได้ความปีติอิ่มใจ
จิตสงบเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง

บุญกุศลจากการทำทานนั้น
ก่อนหน้าที่จะลงมือทำทานได้
เกิดคิดนึกที่จะทำทานก่อน
จึงแสวงหาปัจจัยไทยทานต่างๆ
เวลานั้นก็เกิดความปลื้มปีติแล้ว จึงเป็นบุญมาตั้งแต่ต้น

ขณะที่ทำทานอยู่นั้น ถ้าทำแก่ผู้มีศีล เช่น ภิกษุ สามเณร เป็นต้น
จิตใจเบิกบานอิ่มอยู่ตลอดเวลา ก็เป็นบุญเป็นกุศล
หลังจากนั้นเสร็จธุระแล้ว
ก็ยังมีความอิ่มเอิบเบิกบานในการที่ได้ทำทานอยู่อีก
เป็นการได้กุศลทั้ง ๓ สมัยอย่างเต็มที่
คือ ก่อนทำทาน ขณะทำ และหลังจากได้ทำแล้ว
ทำมากหรือน้อยก็อิ่มอกอิ่มใจ
ทำน้อยกลับกลายได้ผลมากกว่าคนที่ทำบุญมากๆ
แล้วไม่รักษา ไม่ได้พยายามรักษา

คนที่เคยสร้างความดีนั้น รู้สึกเป็นของง่าย
แต่แท้ที่จริงไม่ใช่ของง่าย
คนที่ไม่เคยสร้างความดี ยิ่งมองไม่เห็น
แม้คนที่เคยสร้างความดีแล้วก็ตาม
ถ้าไม่รักษาไว้ให้ดี เมื่อสูญเสียไปแล้ว จะทำใหม่ก็ไม่ใช่ของง่าย
เช่น คนดื่มสุราพยายามละสุรา พยายามยากแสนยาก
ร้อยทั้งร้อยเกือบจะไม่ได้
หากว่าละได้แล้ว ถ้าไม่ตามระวังรักษาความดีนั้นไว้
ไปคบค้าสมาคมกับเพื่อนนักดื่มกลับติดสุราอีก
ทีนี้ยิ่งร้ายกว่าเก่า หากคบค้าเพื่อนฝูงอันธพาลยิ่งไปใหญ่โต

ความดีนั้นเป็นของสร้างได้ยาก ความชั่วสร้างได้ง่ายที่สุด
ทำเมื่อไรก็ได้ ความชั่วนั้น มีผลให้ได้รับความทุกข์
ผลของความดีเท่านั้น นำให้เกิดความสุข
คนไม่ต้องการทุกข์ ต้องการความสุข แต่ไม่อยากสร้างความดี
คนเราเป็นอย่างนี้ อยากได้แต่ผล ต้นเหตุไม่สร้าง
ถ้าหากรู้จักว่า ผลของความสุข เกิดจากเหตุที่สร้างความดี
เราก็มาสร้างความดีผล คือ ความสุขมันเกิดขึ้นเอง
เราอยากได้แต่ความสุข แต่เราไม่สร้างความดีให้เกิด
ไปกินเหล้าเมาสุรา เกกมะเหรกใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย ไม่รู้จักประมาณ
ขี้เกียจขี้คร้าน แล้วจะได้ความสุขมาจากไหน
เรารู้จักแต่ “อบายมุข” ที่แปลว่า ทางเสื่อม ทางให้ถึงความฉิบหาย
ให้ถึงความล่มจม ให้ถึงความชั่วนั่นเอง มันเป็นของน่ากลัว
แต่เราพากันทำชั่วทั้งหมด โดยไม่รู้จักกลัวกัน
กลับชอบอบายมุขด้วยซ้ำ
ส่วนอุบายที่ทำให้เกิดความเจริญไม่เอา แต่ว่าชอบความเจริญ

เมื่อเข้าใจตามนี้และเห็นชัดด้วยตนเอง
มั่นใจด้วยตนเองด้วย ละความชั่วได้ง่ายที่สุด
ไม่ต้องมีใครบังคับเลย
ความดีก็เหมือนกัน บุญกุศลก็เหมือนกัน
ถ้าหากเราเห็นอำนาจอานิสงส์ของการสร้างความดี
ว่านำให้เกิดความสุขจริงๆ
ไม่ว่าจะเป็นการทำทาน รักษาศีล หรือเจริญภาวนากัมมัฏฐาน
ทำแล้วจิตใจเบิกบานสงบเยือกเย็น
เห็นประโยชน์อย่างชัดเจนด้วยตนเองแล้ว
มันขยันทำความเพียรอยู่ตลอดเวลา

สิ่งที่ตนเห็นด้วยตนเองนั้น ไม่ว่าอะไรทั้งหมด
มันเป็นของสบาย ไม่ต้องมีใครบังคับ
แต่ถ้าไม่ได้เห็นด้วยตนเองแล้ว บังคับมันยากเหลือเกิน
คิดดูตามภาษาคำพูดก็แล้วกัน “บัง” และ “คับ”
นี่มันบังไว้ไม่ให้เห็น มันคับจริงๆ
มันไม่ใช่การตักเตือนว่ากล่าวแนะนำเสียแล้ว
มันเป็นเรื่องบีบคั้นหัวใจของผู้ที่ไม่เห็นด้วย
ให้กลับเป็นทุกข์จากการบังคับ
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ความสุขจะมาจากไหน
แต่การเห็นด้วยตนเองไม่ต้องบังคับ
ทำด้วยความเต็มใจ แล้วจิตใจจะเบิกบาน

การรักษาศีลก็เหมือนกัน เมื่อเห็นด้วยปัญญาของตน
ว่าศีลเป็นของดีมีค่า ระลึกถึงศีลแล้ว จิตใจจะเบิกบาน
เปรียบเหมือนเวลาที่หิว จะนึกถึงอาหารที่เคยรับประทานเคยชอบ
พอนึกแล้วจิตใจมันเบิกบาน นำลายมันฟูออกมาแล้ว
รสชาติมันเอร็ดอร่อยขึ้นมาแล้ว

เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้พวกเรา
เข้าใจหลักในการสร้างคุณงามความดี ให้มันเจริญให้มีขึ้นมา
ถ้าสิ่งที่ตนต้องการและปรารถนามากที่สุด คือ ความดี
และผล คือ ความสุข แล้วก็ต้องมีอนุรักขนาปธาน
การรักษาคุณงามความดีที่เกิดขึ้นแล้วในตนของตน
เพียรให้เกิดมีอยู่เสมอ


ขอบคุณบทความจาก ธรรมจักร
บันทึกการเข้า

thammaonline
ก๊วนเสียว
*

พลังน้ำใจ: 24
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 237



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #22 เมื่อ: 01 ตุลาคม 2010, 23:33:10 »

อานิสงส์ แผ่เมตตา 11 ข้อ 



ที่มาhttp://tanentemple.org/jaran/handprint/detail.php?section=11&category=33&id=62
บันทึกการเข้า

thammaonline
ก๊วนเสียว
*

พลังน้ำใจ: 24
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 237



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #23 เมื่อ: 01 ตุลาคม 2010, 23:33:54 »

ทำความดีจะได้ดีนั้น




หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม
บันทึกการเข้า

thammaonline
ก๊วนเสียว
*

พลังน้ำใจ: 24
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 237



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #24 เมื่อ: 01 ตุลาคม 2010, 23:35:19 »

เทศน์อบรมฆราวาส

ณ วัดแสงธรรมวังเขาเขียว จ.นครราชสีมา

เมื่อบ่ายวันที่ ๒๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๓


บุญติดแนบหัวใจ

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน


นี่ก็คิดถึงพี่น้องทั้งหลายนะ ที่หลวงตาอุตส่าห์บึกบึนมานี้
เพราะเห็นแก่หัวใจของพี่น้องทั้งหลายทั่วหน้ากันถึงได้บึกบึนมา ใกล้ไกลก็มา
มานี้รถวิ่งไม่หยุด ๓ ชั่วโมง ๔๐ นาทีจากวัดป่าบ้านตาดมาที่นี่
เป็นเวลา ๓ ชั่วโมง ๔๐ นาที
เวลากลับไปบวกกันเข้าอีกจะเป็น ๗ ชั่วโมง ๒๐ นาที
เวลาขากลับไปก็ไล่เลี่ยกัน ไม่ใช่ใกล้ๆ นะ
เราอุตส่าห์บึกบึนไป เราไม่ได้มาหาอะไรนะ
เงินทองข้าวของเศรษฐีเต็มบ้านเต็มเมืองทั่วแผ่นดินนี้
ใครมีทั้งนั้นมีเงินมีทองข้าวของ แต่ความทุกข์ไม่ได้ห่างจากใจของมนุษย์
ที่เป็นมหาเศรษฐีนั้นเลยนะ เพราะขาดธรรมภายในใจ


เพราะอย่างนั้นท่านทั้งหลายขอให้บำรุงจิตใจด้วยศีลด้วยธรรม
ถ้าจิตใจมีศีลมีธรรมแล้วไปที่ไหนเบาหวิวๆ นะ
ที่หนักอึ้งที่สุดก็คือมีแต่บาปหาบแต่กรรม
ไปที่ไหนหนักอึ้งๆ ไปแล้วแทนที่จะพาขึ้นพาจม เป็นอย่างนั้น
สร้างเสียความดีงามนี้ละจะพึ่งเป็นพึ่งตายกันได้
อย่างอื่นต่างท่านต่างเหมือนกันหมด
ใครจะมีมากน้อยเพียงไรก็ตามเขาไม่พังเราก็พังเหมือนกันหมด
แต่บุญกุศลนี้ไม่พัง ติดอยู่กับจิตใจของเราไปด้วยอำนาจแห่งบุญแห่งกุศล
สรุปลงแล้วอำนาจแห่งบุญพาไป
อำนาจแห่งบาปกดถ่วงลงตลอดเวลา จึงพากันสร้างบุญกุศล


จิตใจไม่ตายนะ บุญกุศลก็ติดไปกับใจนั้นแหละ
ใจไม่เคยมีป่าช้าไม่มี..ใจ ออกจากร่างนี้ไปเข้าร่างนั้น
ออกจากร่างนี้ไปเข้าร่างนั้นตามอำนาจแห่งบุญ
กรรมที่มีมากน้อยต่างกัน นี่ละตรงนี้ละ
แต่ให้จิตมันตายไม่ตายละ ไม่เคยตายจิต ไม่เคยฉิบหาย
บุญกุศลก็เหมือนกัน ติดแนบกันไป
ให้พากันสร้างความดีงาม จะมีมากมีน้อยเท่าไรก็ตาม
สมบัติเงินทองไม่มีใครจะเหนือใครไปได้ละ
มีคนมีคนจนเต็มบ้านเต็มเมืองครั้นแล้วความทุกข์ก็มีเต็มบ้านเต็มเมืองเหมือนกัน
ผิดแปลกกันก็คือว่า ผู้มีบุญมีกุศลภายในใจอันนี้ผิดกันอยู่มากนะ
ถึงจะไม่มีอะไรก็ตามเรารู้อยู่เต็มหัวใจ ต่างกันตรงนี้
เพราะอย่างนั้นจงพากันสร้างบุญสร้างกุศล


สิ่งอื่นสิ่งใดเราก็ต่างคนต่างเสาะแสวงหามาตั้งแต่วันเกิด จนกระทั่งบัดนี้
และยังจะเสาะแสวงหาจนกระทั่งถึงวันตาย
มันก็ได้มาเสียไปได้มาเสียไปเท่าๆ กันหมด ไม่เหมือนบุญเหมือนกุศล
กุศลนี้ได้มาแล้วติดปั๊บๆ ติดกับใจ ไม่สูญหายไปไหนละ
เวลาจะเป็นจะตาย อะไรสมบัติเงินทองข้าวของบริษัทบริวารอะไรมองไม่เห็นนะ
จะมองเห็นแต่บุญกุศลเท่านั้นนะ เพราะมาติดแนบกับหัวใจของเราผู้สร้างบุญ
แต่ ผู้สร้างบาปก็มีแต่บาปต้องมาติดแนบในหัวใจ
ตายแล้วก็พาจมเลยๆ
สถานที่ใดที่เราไม่ปรารถนานั่นละบาปมันจะพาไปที่นั่นนะ
คนสร้างบาปเป็นอย่างนั้น
คนสร้างบุญที่ไหนเป็นสิ่งดีแล้วไปล่ะพาไปที่ตรงนั้นๆ นะ


ให้พากันอุตส่าห์พยายามสร้างบุญสร้างกุศล
คำพูดนี้ออกมาจากจอมปราชญ์คือ
พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์สอนไว้แบบเดียวกันหมด
เรียกว่า สวากขาตธรรมตรัสไว้ชอบแล้วเหมือนกัน
ให้เราอุตส่าห์พยายามดำเนินตามนี้
อย่าขี้เกียจขี้คร้านนะ เป็นเรื่องของมารที่จะทำลายเรา
ให้ปัดออกๆ ขี้เกียจขี้คร้านขนาดไหนก็ให้สร้าง สร้างบุญ
เวลาจะเป็นจะตายจริงๆ
บุญนี้แหละที่เราขี้เกียจขี้คร้านสร้างจะติดแนบหัวใจของเรา
อย่างอื่นไม่มีที่อาศัยละ บุญกรรมนี้ละสำคัญมาก


จอมปราชญ์นะที่แสดงไว้นี้ นรกมีมาตั้งกัปตั้งกัลป์
สวรรค์-พรหมโลก-นิพพานมีมากี่กัปกี่กัลป์มีแต่จอมปราชญ์สอนไว้อย่างไม่ผิด
เราทั้งหลายตาบอดหูหนวกใจบอดก็ให้เดินตามท่าน ไม่อยากไปก็ให้ฝืนไปนะ
คนเราถ้าจะทำความดีมันไม่อยากทำ ถ้าทำความชั่วเร็วยิ่งกว่าลิงเข้าใจไหม
นี่ละตัวลิงมันเร็วนะมันจะพาเราไปทำความชั่วช้าลามก
ให้เอาบุญเอากุศลตีข้อมือมันไว้อย่าให้มันพาเราไปทำ บาปกรรมมันไม่เอาเราเป็นผู้รับ


ให้เราสร้างเสียตั้งแต่บัดนี้
สร้างบุญสร้างกุศลสร้างเข้าเต็มที่เต็มฐานเต็มหัวใจแล้วเบาหมดนะ
บุญกุศลเต็มหัวใจเบาหมดเลย ไม่มีอะไรจะเบาเท่าบุญกับใจเป็นอันเดียวกัน
หรือว่าธรรมกับใจเป็นอันเดียวกันแล้วเบาหวิวๆ
ไปภพใดชาติใดมีแต่ภพที่เบาหวิวๆ ทั้งนั้นแหละ
ภพที่หนักอึ้งเป็นภพที่ของคนสร้างบาป
สร้างตั้งแต่บาปหาบแต่กรรมมันไปที่ไหนหนักอึ้งๆ
อย่างเขาได้ของดิบของดีแทนที่จะได้ของดีเหมือนเขามันก็ไม่ได้
หากไปได้ที่ไม่พึงปรารถนานั้นละ ถ้าได้เมียก็เมียที่บ่นเก่งๆ
ได้ผัวก็ผัวขี้เหล้าเมาสุราสูบกัญชายาเมาไม่ดี
ผัวคนนี้ต้องการไหมล่ะ แต่มันก็เป็นของเราแล้ว ผัวของเราจะว่าอย่างไร
แล้วเมียที่บ่นเก่งๆ นั้นมันก็เป็นเมียเราแล้ว แล้วจะเป็นใครละ
ตำหนิใครไม่ได้ก็เราสร้างมาอย่างนั้น เวลาเจอมันก็เจออย่างนั้นแหละ


เพราะอย่างนั้นจึงพากันสร้างบุญสร้างกุศล บังคับใจนะบุญกุศล
ไม่ใช่ไม่บังคับ บังคับเต็มที่
เวลาไม่รู้อีโหน่อีเหน่อะไรการสร้างบุญสร้างกุศลมันขี้เกียจมากนะ
การสร้างบาปมันเร็ว แต่พอรู้ภาษีภาษาเมื่อไรการสร้างบุญก็มีกำลังใจขึ้นมา
หนักเข้ากว่านั้นก็หมุนติ้วเลยในการสร้างบบุญสร้างกุศล ให้พากันจำเอานะ
เวลาเราสร้างไม่หยุดบุญกุศลก็มีกำลังเหมือนกัน
พาเราหมุนติ้วทางบุญทางกุศล
อยู่ที่ไหนไม่ได้สร้างบุญสร้างกุศลอยู่ไม่ได้นะ
ไปบ้านใดเมืองใดเขาไม่มีศาสนา
เขาไม่มีบุญมีกุศลเขาไม่มีการทำบุญให้ทานอยู่ไม่ติดนะ
เขาจะเป็นเศรษฐีก็ตามไม่ติด
เราเป็นคนจนแต่ชอบทำบุญให้ทานไปเข้ากับเศรษฐีนี้ไม่ติดนะ
ไปติดเศรษฐีเห็นเขามีเงินมากไม่ติด
แต่ติดตั้งแต่บุญแต่กรรมความงามความดีของเราเท่านั้นละ ติดอันนี้ละ
เวลาตายแล้วก็ไม่ต้องนิมนต์พระมา กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา
บุญกุศล ที่เราสร้างไว้แล้วนั้นแหละเป็นธรรมที่กุสลาส่งเราให้ไปสวรรค์-พรหมโลก
ตลอด นิพพาน ให้พากันจำเอานะ วันนี้เทศน์เพียงเท่านี้แหละ


ดีแล้วละวันนี้มา ครูบาอาจารย์ก็ได้เห็น อาจารย์ทั้งหลายก็ได้เห็นทั่วหน้ากัน
ถ้าธรรมดาท่านไม่มาให้เราเห็น วันนี้ก็ไม่ใช่ธรรมดา ท่านมาเอง
พวกเราทั้งหลายได้เห็นได้พบได้กราบไหว้บูชาเป็นขวัญตาขวัญใจ


ท่านแสดงไว้ในธรรมะในตำราอ่านออกมา
ธัมมิกอุบาสกท่านติดพันกับบุญกับกุศล
จวนตัวเท่าไรยิ่งไม่ห่างจากอรรถจากธรรมเลย ไปไหนไม่ยอมไป
ลูกเต้าจะพาไปเที่ยวที่นั่นที่นี่ โอ้ยสู้ไปกับธรรมไม่ได้ ไปกับธรรมดีกว่า
ไปเที่ยวทางนู้นทางนี้ไม่เกิดประโยชน์
ว่าอย่างนั้นนะ ถ้าไปกับธรรมแล้วเกิด
พอดีท่านเจ็บไข้ได้ป่วยนิมนต์พระมา
โยมคนนั้นให้ลูกไปนิมนต์พระมาสวดอรรถสวดธรรมให้ฟัง
ท่านก็ฟังเสียจนเพลิน ทีนี้พวกเทพทั้งหลายเอารถมาเต็มท้องฟ้า
ใครก็เชิญไปสวรรค์ชั้นของตนๆ
สุดท้ายสวรรค์ทุกชั้นควรแก่อุบาสกคนนี้ทั้งนั้นเลย
คนนั้นก็เชิญขึ้นคันนั้น คนนี้เชิญขึ้นคันนี้
ท่านนี้ก็ฟังธรรมะท่านเพลินไปเรื่อย ฟังไปเพลินไป


พวกเทวบุตรเทวดาเชื้อเชิญให้ท่านไป
ท่านไปสวรรค์สดๆ ร้อนๆ เวลาฟังเทศน์อยู่นั้นน่ะ
ท่านเลยกลัวมันจะเป็นอันตรายต่อธรรมเลยมันหลุดปากออกมาจริงๆ
เดี๋ยวให้รอก่อนว่าอย่างนั้น
คือบอกพวกทั้งหลายที่มาเชื้อเชิญท่านให้ไปสวรรค์ชั้นนั้นๆ
ควรแก่สวรรค์ทุกชั้น
ทางนี้ก็บอกว่าให้รอก่อน พระก็เป็นพระอย่างแบบหลวงตาบัวนี่ละ
พอว่าให้รอก่อน โห โยมนี่นิมนต์เรามาสวดแล้วไล่เรากลับ
ให้หยุดแล้วก็พากันเลิกไปเลย ไปวัด พอไปถึงวัด
พระพุทธเจ้าขนาบ อ้าวพากันมาทำไมนี่
เรื่องราวยังไม่เสร็จอะไร เขาบอกว่าให้หยุด
ถ้าพวกนี้มันแปลใหม่ๆ บอกให้รอก่อนไม่ว่านะบอกให้หยุด
บอกพวกเทพต่างหากที่มารอจะเอาอุบาสกคนนี้ไปสวรรค์
บอกทางนู้นให้รอ ไม่ได้บอกว่าให้หยุด
ไปให้กลับคืนไปอีก ไล่พระมาอีกมาสวดอีก


พอแกรู้สึกตัวขึ้นมา อ้าวพระคุณเจ้าไปไหน ท่านไม่ได้บอกว่าให้นี้หยุด
ให้รอพวกเทพทั้งหลายมาเชิญชวนให้ไปสวรรค์ชั้นของตนๆ
ควรแก่สวรรค์ทุกชั้นเลย นั่นละต่างหากนะ
ไปกลับคืนไปอีก ไล่มาพระพุทธเจ้าไล่มาเอง
ท่านห้ามทางสวรรค์ต่างหากให้รอไว้ก่อนต่างหาก
เขามากวนเขาจะเอาไปสดๆ ร้อนๆ
เลยกลับคืนมาอีก พอรู้สึกตัวขึ้นมาพระท่านไปหมดแล้ว
พระคุณเจ้าไปไหนหมด พ่อว่าให้หยุดว่าอย่างนั้นท่านก็ไปละซิ นึกว่าให้หยุด
พ่อไม่ได้ให้พระหยุดนะ ให้พวกนั้นหยุดต่างหาก
ให้รอเสียก่อน มันกวนการฟังธรรม ให้กลับคืนไปอีก
เลยไปหาพระพุทธเจ้าก็ไล่กลับมาอีกมาที่นั่น


พออุบาสกคนนั้นตื่นขึ้นมารู้สึกตัวขึ้นมาก็ถามหาพระไปหมดแล้ว
ทำไมท่านไปละ ก็พ่อให้ท่านหยุด พ่อไม่ได้บอกให้ท่านหยุด
ให้พวกเทพทั้งหลายที่กวนอยู่บนฟ้าอากาศเต็มนั่นให้พักให้รอไว้ก่อน
มันกวนการฟังธรรมความหมายว่าอย่างนั้น ไปกลับคืนไป
ไล่พระกลับคืนมาอีกเหมือนกับพระพุทธเจ้า
ผู้ที่ป่วยแกก็บอกว่าแกไม่ได้ห้ามพระ แกห้ามพวกนั้นต่างหาก
แล้วให้ไปเอาพระท่านกลับมาอีก พระพุทธเจ้าก็ขนาบที่ว่านั้นเขาไม่ได้ห้าม
เขาห้ามพวกเทพทั้งหลายต่างหาก ไปให้กลับคืนไป พระพุทธเจ้าไล่กลับคืนไป


พอตื่นขึ้นมาพระคุณเจ้าไปไหน ก็ไล่ท่านกลับ ไม่ได้ไล่
บอกว่าพวกนั้นรอเสียก่อนมันกวนธรรม
กำลังฟังธรรมเพลิน ท่านสวดธรรมให้ฟังนี้ต่างหากนะ
จึงไล่กลับมาสวดอรรถสวดธรรมเสร็จเรียบร้อยแล้วทีนี้ก็เป็นอันว่า
ยุติก็ไปละนะไปในระยะนั้น
พอฟังเทศน์ฟังธรรมจบเรียบร้อยแล้วพ่อจะไปละนะทีนี้นะ
พวกนั้นมารออยู่แล้วพวกเทพทั้งหลายมารอเอาไปสวรรค์ชั้นของตนๆ
รอแล้วพ่อก็ไปเลย นี่เรื่องราวเป็นอย่างนี้
ถ้าไม่มีหูทิพมันไม่รู้ พระพุทธเจ้าต่างหากเป็นหูทิพ
ค้านจังๆ เลย ไม่ได้ห้ามนี้ ห้ามพวกนั้นต่างหาก
เข้าใจไหมล่ะเป็นอย่างนั้น มีในตำรา วันนี้พูดเพียงเท่านี้



รับชมรับฟังพระธรรมเทศนาของหลวงตา ได้ที่
http://www.luangta.com หรือ http://www.luangta.or.th
และสถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน FM103.25 MHz
พร้อมเครือข่ายทั่วประเทศ

ที่มา... http://www.luangta.com
บันทึกการเข้า

thammaonline
ก๊วนเสียว
*

พลังน้ำใจ: 24
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 237



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #25 เมื่อ: 01 ตุลาคม 2010, 23:38:58 »

ใกล้ตายจึงนึกถึงพระ 
 
 
มีทุกข์มาถึงจึงนึกถึงพระศาสนา

บรรดาสัตว์ทั้งหลายนั้น เมื่อไม่มีทุกข์มาถึงตัว มักไม่เห็นคุณพระศาสนา มัวเมาประมาท ปล่อยกายปล่อยใจให้ประพฤติทุจริตผิดศีลธรรมอยู่เป็นประจำนิสัยเห็นผิดเป็นถูก เห็นกงจักรเป็นดอกบัว ต่อเมื่อได้รับทุกข์เข้า ที่พึ่งอื่นไม่มีนั่นแหละ จึงได้คิดถึงพระ คิดถึงศาสนา แต่ก็เป็นเวลาที่สายไปแล้ว

ทำความดีให้เป็นที่อยู่ของจิต

ความดีนั้นเราต้องทำอยู่เสมอให้เป็นที่อยู่ของจิต เป็นอารมณ์ของจิต ให้เป็นมรรค คือ ทางดำเนินไปของจิต มันจึงจะเห็นผลของความดีไม่ใช่เวลาใกล้จะตาย จึงนิมนต์พระไปให้ศีล ให้ไปบอกพุทโธ หรือตายไปแล้วให้ไปรับศีล เช่นนี้เป็นการกระทำที่ผิดทั้งหมด

เหตุว่าคนเจ็บ จิตมัวติดอยู่กับเวทนา ไฉนจะมาสนใจไยดีกับศีลได้ เว้นไว้แต่ผู้ที่รักษาศีลมาเป็นปกติเท่านั้น จึงจะระลึกได้เพราะตนเองเคยทำมาจนเป็นอารมณ์ของจิตแล้วแต่ส่วนมากใกล้ตายแล้วจึงเตือนให้รักษาศีล

ส่วนคนตายแล้วไม่ต้องพูดถึงเพราะคนตายนั้นร่างกายจิตใจจะไม่รับรู้ใดๆ แล้ว แต่ก็ดีไปอย่างเหมือนพระเทวทัต ทำกรรมจนถูกแผ่นดินสูบ เมื่อลงไปถึงคางจึงระลึกถึงความดีของพระพุทธเจ้า ขอถวายคางเป็นพุทธบูชา พระเทวทัตยังมีสติระลึกถึงได้จึงมีผลดีในภายภาคหน้า

ความดีเราทำเองดีกว่า

แม้เปรตตนนั้นก็เหมือนกัน ตายไปแล้วจึงมาขอส่วนบุญ เมื่อยังมีชีวิตอยู่ทำอันตรายแม้พระพุทธรูป แผ่เมตตาให้ไปได้รับหรือไม่ก็ไม่รู้ สู้เราทำเองไม่ได้ เราทำของเรา ได้มากน้อยเท่าไรก็มีความปิติ อิ่มเอิบใจเท่านั้นธรรมทั้งหลายไหลมาจากเหตุ กายก็เป็นเหตุอันหนึ่ง วาจาก็เป็นเหตุอันหนึ่ง ใจก็เป็นเหตุอันหนึ่ง ทางของบุญหรือบาปเหล่านี้มีอยู่ในตัวของเราเอง ไม่ได้อยู่ที่ไหน เราทำเอง สร้างเอง อย่ามัวมั่วอดีต เป็นอนาคตมีแต่ปัจจุบันเท่านั้นที่เป็น "ธรรมดา"

ความดีต้องทำในปัจจุบัน

สิ่งใดที่มันล่วงมาแล้ว เลยมาแล้ว เราไม่สามารถไปตัด ไปปลงมันได้อีกแล้ว

สิ่งที่เราทำไปนั้น ถ้ามันดีมัน ก็ดีไปแล้ว ผ่านไปแล้ว พ้นไปแล้ว ถ้ามันชั่วมันก็ชั่วไปแล้ว ผ่านไปแล้ว เช่นกันอนาคตยังมาไม่ถึง สิ่งที่ยังไม่มาถึงเราก็ยังไม่รู้เห็นว่ามันจะเป็นอย่างไร อย่างมากก็เป็นแต่เพียงการคาดคะเนเอาเองว่าควรเป็นยังงั้น เป็นยังงี้ ซึ่งมันอาจจะเป็น ไม่เป็นไปอย่างที่เราคาดคะเนก็ได้

ปัจจุบัน คือ สิ่งที่เกิดขึ้นจริง เราได้เห็นจริง ได้สัมผัสจริง เพราะฉะนั้นความดีต้องทำในปัจจุบันทานก็ดี ศีลก็ดี ภาวนาก็ดี ต้องทำเสียในปัจจุบันที่เรายังมีชีวิตอยู่เราต้องการความดี ก็ต้องทำให้เป็นความดีในปัจจุบันนี้ ต้องการความสุข ต้องการความเจริญ ก็ต้องทำให้เป็นไปในปัจจุบันนี้.....


(หลวงปู่แหวน สุจิณโณ)
บันทึกการเข้า

thammaonline
ก๊วนเสียว
*

พลังน้ำใจ: 24
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 237



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #26 เมื่อ: 01 ตุลาคม 2010, 23:40:38 »

จะเป็นคู่สร้างคู่สม เมื่อมีสมธรรม ๔ ประการ

ชีวิต คู่ครองนี้ มีคำเรียกตามนิยมว่า ชีวิตสมรส ในทางพระพุทธศาสนามีคำสอนว่า ชีวิตสมรสที่จะมีความสุข ราบรื่น มั่นคงยืนยาวได้นั้น คู่สมรสควรมีคู่ธรรมที่สมหรือสม่ำเสมอกัน อันจะพึงเรียกได้ว่า สมธรรม ๔ ประการ คือ สมศรัทธา สมศีลา สมจาคา และ สมปัญญา สมธรรม ๔ ประการนี้ เป็นฐานรองรับชีวิตคู่ครองในระดับที่ลึกซึ้งยิ่งกว่าฆราวาสธรรม ๔ อย่างที่กล่าวมาแล้ว เพราะแสดงถึงความมีคุณสมบัติสมกันและความมีลักษณะนิสัยสม่ำเสมอกันของคู่ ครอง ซึ่งจะทำให้ผู้สมรสทั้งสองสมชีพหรือสมชีวี คือมีชีวิตที่สมหรือเสมอกัน สมธรรม ๔ ประการ นั้น คือ

๑. สมศรัทธา มีศรัทธาสมหรือเสมอกัน ศรัทธานั้นหมายถึงความเชื่อ ความเลื่อมใส หรือความใฝ่นิยม เช่น ความเชื่อถือในลัทธิศาสนา ความเลื่อมใส ในพระรัตนตรัย และความใฝ่นิยมในคุณค่า หรือสิ่งที่ยึดถือเข้าใจว่าเป็นความดีงามต่าง ๆ ความมีศรัทธาสมกันย่อมเป็นสิ่งสำคัญเบื้องแรกที่จะทำให้ชีวิตครองเรือน กลมกลืนสนิทสนมแน่นแฟ้น เพราะศรัทธาเป็นเครื่องหล่อหลอมความรู้สึกนึกคิด และเป็นพลังชักจูงใจในการดำเนินชีวิตและกระทำกิจการต่าง ๆ ความมีศรัทธาสมกัน ตั้งต้นแต่ความเชื่อถือในลัทธิศาสนาอย่างเดียวกัน ตลอดจนการมีรสนิยมแนวเดียวกันจึงเป็นสิ่งสำคัญมากในชีวิตสมรส ถ้าศรัทธาเบื้องต้นไม่เป็นอย่างเดียวกัน ก็ต้องตกลงปรับให้เป็นไปด้วยความเข้าใจต่อกัน

๒. สมศีลา มีศีล คือความประพฤติสมหรือเสมอกัน คือ มีความประพฤติที่เข้ากันได้ อยู่ในระดับเดียวกัน ไม่เป็นเหตุให้เกิดความรังเกียจ ดูหมิ่น เหยียดหยาม หรือขัดแย้งรุนแรงต่อกัน เช่น ฝ่ายหนึ่งปากร้าย ชอบกล่าวคำหยาบคาย อีกฝ่ายหนึ่งได้รับการอบรมกวดขันมาทางด้านการพูดจาสุภาพอ่อนหวาน ทนฟังคำหยาบ ไม่ได้ หรือฝ่ายหนึ่งชอบเป็นนักเลงหัวไม้ แต่อีกฝ่ายหนึ่งชอบชีวิตสงบไม่วุ่นวาย ก็อาจเป็นทางเบื่อหน่ายร้าวฉานเลิกร้างกัน หรืออยู่อย่างทนทุกข์ทรมาน

๓. สมจาคา มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เสียสละสมหรือเสมอกัน ในชีวิตของบุคคลที่ต้องติดต่อเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ เริ่มแต่ญาติมิตรสหายเป็นต้นไปนั้น ธรรมข้อสำคัญที่จะต้องแสดงออกอยู่เสมอก็คือ ความมีน้ำใจ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความมีใจกว้างขวาง การช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกัน หรือในทางตรงข้าม ก็เป็นความ ตระหนี่ ความมีใจคับแคบ กระด้าง คู่ครองที่มีจาคะไม่สมกันย่อมมีโอกาสเกิด ความขัดแย้งกระทบกระเทือนจิตใจกันอยู่เรื่อยไป ทำให้ชีวิตครอบครัว เป็นชีวิตที่เปราะ มีทางที่จะแตกร้าวได้ง่าย

๔. สมปัญญา มีปัญญาสมหรือเสมอกัน ปัญญาหมายถึงความรู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักดีชั่ว รู้จักประโยชน์มิใช่ประโยชน์ ความรู้จักคิด ความสามารถในการ ใช้ความคิดและเข้าใจในเหตุผล ความมีปัญญาสมกันมิได้หมายความว่าคู่ครองทั้งสองฝ่ายจะต้องได้เล่าเรียน ศิลปวิทยาการ ทรงความรู้เชี่ยวชาญเหมือน ๆ กัน แต่หมายถึงการมีความคิด การรู้จักรับฟังและเข้าใจในเหตุผลของกันและกัน และการช่วยเป็นคู่คิดของกันและกันได้ อย่างที่กล่าวกันง่าย ๆ ว่าพูดกันรู้เรื่อง คุณธรรม ข้อนี้ก็เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพราะสามีภรรยาเป็นผู้อยู่ร่วมใกล้ชิดกันทุกเวลา จำต้องมีความเข้าใจกัน ร่วมคิดร่วมปรึกษาหารือกัน บรรเทาข้อหนักใจ และช่วยกันหาทาง แก้ไขปัญหาต่าง ๆ เป็นกำลังแก่กันและกันได้ ความมีปัญญาสมกันนี้ นอกจากเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจทำให้มีความสนิทสนมกันด้วยดีแล้ว ยัง ทำให้ชีวิตของคู่ครอง ทั้งสองฝ่ายเป็นชีวิตที่ส่งเสริมคุณค่าเพิ่มกำลังแก่กันและกันอีกด้วย

พระ บรมศาสดาตรัสแสดงว่า สมธรรม ๔ ประการ นี้ จะเป็นเหตุให้คู่สามีภรรยาได้พบกันทั้งชาตินี้และชาติหน้าตามความประสงค์ สมดังพุทธพจน์ที่ยกขึ้น เป็นนิกเขปบทเบื้องต้นว่า อากงฺเขยฺ ยํเจ คหปตโย อุโภ ชานิปตโย” ดังนี้เป็นต้น แปลความว่า ถ้าคู่สามีภรรยา หวังจะได้พบกันทั้งชาตินี้และชาติหน้าแล้วไซร้ ทั้งสอง พึงเป็นผู้มีศรัทธาสมกัน มีศีลสมกัน มีจาคะสมกัน มีปัญญาสมกัน ดังนี้

ความ สมหรือเสมอกันของคู่ครองตามหลักธรรม ๔ ประการนี้มีความสำคัญอย่างมาก เพราะบุคคลทั้งสองมามีชีวิตอยู่ร่วมกันใกล้ชิดยิ่งกว่าใคร ๆ จนใน ทางโลกกล่าวว่าเป็นบุคคลเดียวกัน การที่จะมารวมเข้าด้วยกันจึงต้องอาศัยความประสานกลมกลืนเหมาะสมกันตามทาง ธรรมดังกล่าวมา

จะร่วมชีวิตกันทั้งที ควรคิดให้ดีว่าจะเป็นคู่ประเภทใด

การ อยู่ครองเรือนของคู่สมรสนั้น เป็นการร่วมกันนำชีวิตทั้งสองผ่านเหตุการณ์ทั้งปวงทั้งที่ดีและร้ายไปด้วย กัน เป็นชีวิตที่ร่วมสุขร่วมทุกข์ทั้งปวง ในแง่นี้ ท่านจึงถือว่าทั้งสองฝ่ายเป็นเพื่อนหรือเป็นสหายกัน และเป็นเพื่อนที่ยิ่งกว่าเพื่อนใด ๆ เพราะร่วมรู้เห็นเหตุการณ์ ร่วมรับสุขทุกข์ครบถ้วนพร้อมกันกว่าเพื่อนอื่น ๆ ดังพุทธภาษิตที่ว่า “ภริยา ปรมา ขา” แปลว่า ภรรยาเป็นเพื่อนอย่างยิ่ง หรือ ภรรยาเป็นยอดสหาย โดยความหมายว่าเป็นคู่ร่วมสุขร่วมทุกข์ดังอธิบายมาแล้ว

อนึ่ง พึงสังเกตว่า ในทางพระศาสนา ท่านแสดงเพื่อนใกล้ตัวไว้อีกบุคคลหนึ่ง ดังพุทธภาษิตว่า “มาตา มิตฺตํ เก ฆเร” แปลว่า มารดาเป็นมิตรในเรือนของตน พุทธภาษิตนี้มิได้ขัดแย้งกับพุทธภาษิตข้อก่อนที่ว่าภรรยาเป็นเพื่อนอย่าง ยิ่งนั้นแต่ประการใด เพราะเพ่งความคนละอย่าง ในพุทธภาษิตข้อก่อน ท่านมุ่งแสดงลักษณะความเป็นไปของชีวิตหรือความสัมพันธ์ที่มองเห็นได้ในภาย นอกว่า ภรรยาเป็นผู้ดำเนินชีวิตอยู่ด้วยกัน ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับสามี ส่วนในพุทธภาษิตข้อหลัง ท่านมุ่งแสดงถึงคุณธรรมในใจ เพราะคำว่ามิตร มีความหมายเพ่งเล็งไปในทางด้านจิตใจและคุณธรรมมากกว่าคำว่าสหายและเพื่อน ตามพุทธภาษิตข้อที่ ๒ นี้ จึงมีความหมายว่า ในบ้านของแต่ละคน มีมารดาเป็นผู้มีเมตตามีความปรารถนาดีต่อบุตร เป็นที่วางใจ พึ่งอาศัยได้อย่างแท้จริง เป็นมิตรแท้คู่บ้าน แน่นอนอยู่ท่านหนึ่งแล้ว

ใน กรณีนี้ หากภรรยาผู้ใดสามารถปฏิบัติตนทำจิตใจให้เป็นมิตรแท้ มีเมตตาปรารถนาดีต่อสามีได้อย่างแท้จริงเหมือนอย่างมารดาแล้ว พระบรมศาสดา ก็ตรัสยกย่องภรรยานั้นว่าเป็น มาตาสมภริยา หรือ มาตาภริยา คือ ภรรยาเสมอด้วยมารดา หรือ ภรรยาเยี่ยงมารดา ส่วนภรรยาผู้มีคุณธรรมอย่างอื่นก็ตรัสเปรียบไว้เหมือนพี่น้องหญิง เหมือนเพื่อนเป็นต้น ดังที่เคยตรัสสอนนางสุชาดา ผู้เป็นสะใภ้ของอนาถปิณฑิกเศรษฐีว่า มีภรรยาอยู่ ๗ ประเภท เป็นฝ่ายร้าย ๓ ประเภท และฝ่ายดี ๔ ประเภท คือ

๑. วธกาภริยา ภรรยาเยี่ยงเพชฌฆาต ได้แก่ภรรยาผู้มีจิตประทุษร้าย ปรารถนาความเสื่อมเสียหายแก่สามี ดูหมิ่นและคิดหาทางทำลายสามี
๒. โจรีภริยา ภรรยาเยี่ยงโจร ได้แก่ภรรยาผู้ล้างผลาญทรัพย์สมบัติที่สามีหามาได้
๓. อัยยาภริยา ภรรยาเยี่ยงนาย ได้แก่ภรรยาผู้ไม่ใส่ใจการงาน เกียจคร้าน รับประทานมาก ปากร้าย หยาบคาย ใจ*ม ข่มสามี
๔. มาตาภริยา ภรรยาเยี่ยงมารดา ได้แก่ภรรยาผู้หวังดีทุกเวลา คอยห่วงใยรักษาสามีเหมือนมารดาปกป้องบุตร และประหยัดรักษาทรัพย์สมบัติที่หามาได้
๕. ภคินีภริยา ภรรยาเยี่ยงน้องสาว ได้แก่ภรรยาผู้เคารพสามีดังน้องกับพี่ มีใจอ่อนโยน คล้อยตามสามี
๖. สขีภริยา ภรรยาเยี่ยงสหาย ได้แก่ภรรยาที่พบสามีเมื่อใดก็ปลาบปลื้ม ดีใจเหมือนเพื่อนพบเพื่อนผู้จากไปนาน เป็นคนมีตระกูล (ได้รับการศึกษาอบรม) มีความประพฤติดี รู้จักปฏิบัติสามี
๗. ทาสีภริยา ภรรยาเยี่ยงทาส ได้แก่ภรรยาที่ยอมอยู่ในอำนาจสามี ถูกขู่ตะคอกเฆี่ยนตี ก็อดทนได้ ไม่โกรธตอบ

คนดีมาครองคู่คือเอาคุณค่าของชีวิตมาเสริมกัน และทวีกำลังในการสร้างสรรค์

พรรณนาความ ตามที่แสดงมาทั้งหมดนี้ ควรถือเอาสาระสำคัญที่เป็นใจความอย่างหนึ่งว่า หลักธรรมสำหรับการครองเรือน ที่สอนให้คู่ครองมีความสมกันทั้งหลายก็ดี ให้รู้จักปฏิบัติหน้าที่ถนอมรักษาน้ำใจกันด้วยประการต่าง ๆ ก็ดี รวมทั้งหมดนี้ล้วนมีความมุ่งหมายเพื่อให้การครองเรือนของคู่สามีภรรยา เป็นไปในทางที่ส่งเสริมคุณค่าแห่งชีวิตของกันและกัน และเป็นเครื่องอุปถัมภ์ส่งเสริมเพิ่มพูนกำลังแก่กัน เช่น เมื่อมีคุณธรรมความดีอยู่แล้ว ก็จักได้บำเพ็ญ คุณธรรมความดีเหล่านั้นให้เพิ่มพูนยิ่ง ๆ ขึ้นไป เมื่อกระ ทำประโยชน์ตนอยู่ก็จักได้กระทำประโยชน์นั้นให้เข้มแข็งหนักแน่น ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เมื่อบำเพ็ญประโยชน์ผู้อื่นอยู่ ก็จักได้มีกำลังช่วยกันบำเพ็ญประโยชน์นั้นให้กว้างขวางได้ผลดียิ่ง ๆ ขึ้นไป เป็นการสร้างเสริมความสุขความเจริญก้าวหน้าทั้งแก่ชีวิตตนเอง ชีวิตคู่ครอง และชีวิตอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดถึงสังคมส่วนรวม ทำตนให้เป็นผู้ควรได้ชื่อว่าเป็น สัตบุรุษ หรือสัปปุรุษ ซึ่งเป็นบุคคลที่ดีมีค่า ตามความ หมายของพระพุทธศาสนา ดังพุทธพจน์แสดงปฏิปทาของสัตบุรุษว่า

“ภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเมื่อเกิดในตระกูล ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก แก่บิดามารดา แก่บุตรภรรยา แก่คนรับใช้ และกรรมกร แก่มิตรและผู้ร่วมงาน แก่บรรพชน แก่รัฐ แก่ทวยเทพ และแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาเมฆที่ตกลงมายังข้าวกล้าให้เจริญงอกงามทั่วกัน ก่อให้เกิดประโยชน์ ความเกื้อกูล และความสุขแก่ชนเป็นอันมาก ฉะนั้น”

ประโยชน์ สุขอันกว้างขวางซึ่งเกิดมีเพราะสัตบุรุษเช่นนี้ ย่อมต้องเริ่มต้นจากวงแคบออกไปก่อนตามลำดับ คือเริ่มจากครอบครัว และเริ่มจากการประพฤติ ปฏิบัติต่อกันระหว่างคู่ครองทั้งสองแต่ละฝ่าย เมื่อคู่ครองต่างฝ่ายมีคุณธรรมและรู้จักปฏิบัติหน้าที่ของตน เป็นกำลังส่งเสริมแก่กัน ทำชีวิตครอบครัวให้มีความสุขความเจริญแล้ว ก็จะแผ่ขยายประโยชน์สุขนั้นออกไปให้กว้างขวางได้สำเร็จสมความปรารถนา ดังนั้น ชีวิตครองเรือนที่มุ่งหมายในพระศาสนาจึงได้แก่ชีวิตที่คู่วิวาห์ มาร่วมอุปถัมภ์ซึ่งกันและกัน เพิ่มพูนคุณค่าแห่งชีวิตทั้งสอง ทวีกำลังในการบำเพ็ญประโยชน์ ุขให้ภิญโญแผ่ไพศาล คู่สมรสใดดำเนินชีวิตครอบครัวของตน ให้มี คุณลักษณะสมดังที่ได้พรรณนามา ก็จักได้ชื่อว่าเป็นคู่ครองที่ควรยกย่องสรรเสริญ ควรนับว่าเป็นชีวิตครองเรือนที่ประสบความสำเร็จด้วยดี

คู่ครองที่ดี

คู่ครองที่ดี ที่จะเป็นคู่ร่วมชีวิตกันได้ นอกจากกามคุณแล้ว ควรมีคุณสมบัติ และประพฤติตามข้อปฏิบัติ ดังนี้

ก. คู่สร้างคู่สม มีหลักธรรมของคู่ชีวิต ที่จะทำให้คู่สมรสมีชีวิตสอดคล้อง กลมกลืนกัน เป็นพื้นฐานอันมั่นคงที่จะทำให้อยู่ครองกันได้ยืดยาว เรียกว่า สมชีวิธรรม ๔ ประการ คือ

๑. สมสัทธา มีศรัทธาสมกัน เคารพนับถือในลัทธิศาสนา สิ่งเคารพบูชา แนวความคิดความเชื่อถือ หรือหลักการต่างๆ ตลอดจนแนวความสนใจอย่างเดียว กันหนักแน่นเสมอกัน หรือปรับเข้าหากัน ลงกันได้
๒. สมสีลา มีศีลสมกัน มีความประพฤติ ศีลธรรม จรรยา มารยาท พื้นฐานการอบรม พอเหมาะสอดคล้อง ไปกันได้
๓. สมจาคา มีจาคะสมกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความโอบอ้อมอารี ความมีใจกว้าง ความเสียสละ ความพร้อมที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น พอกลมกลืนกัน ไม่ขัดแย้งบีบคั้นกัน
๔. สมปัญญา มีปัญญาสมกัน รู้เหตุรู้ผล เข้าใจกัน อย่างน้อยพูดกันรู้เรื่อง
(องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๕๕/๘๐)

ข. คู่ชื่นชมคู่ระกำ หรือ คู่บุญคู่กรรม คือ คู่ครองที่มีคุณธรรม ลักษณะนิสัยความประพฤติปฏิบัติ การแสดงออกต่อกัน ที่ทำให้เกื้อกูลกันหรือถูกกัน ก็มี ต้องยอมทนกันหรืออยู่กันอย่างขมขื่น ก็มี ในกรณีนี้ ท่านแสดงภรรยาประเภทต่าง ๆ ไว้ ๗ ประเภท คือ

๑. วธกาภริยา ภรรยาเยี่ยงเพชฌฆาต คือ ภรรยาที่มิได้อยู่กินด้วยความพอใจ ดูหมิ่น และคิดทำลายสามี
๒. โจรีภริยา ภรรยาเยี่ยงโจร คือ ภรรยาชนิดที่ล้างผลาญทรัพย์สมบัติ
๓. อัยยาภริยา ภรรยาเยี่ยงนาย คือ ภรรยาที่เกียจคร้าน ไม่ใส่ใจการงาน ปากร้าย หยาบคาย ชอบข่มสามี
๔. มาตาภริยา ภรรยาเยี่ยงมารดา คือ ภรรยาที่หวังดีเสมอ คอยห่วงใย เอาใจใส่สามี หาทรัพย์มาได้ก็เอาใจใส่ คอยประหยัดรักษา
๕. ภคินีภริยา ภรรยาเยี่ยงน้องสาว คือ ภรรยาผู้เคารพรักสามี ดังน้องรักพี่ มีใจอ่อนโยน รู้จักเกรงใจ มักคล้อยตามสามี
๖. สขีภริยา ภรรยาเยี่ยงสหาย คือ ภรรยาที่เป็นเหมือนเพื่อน มีจิตภักดี เวลาพบสามีก็ร่าเริงยินดี วางตัวดี ประพฤติดี มีกิริยามารยาทงาม เป็นคู่คิดคู่ใจ
๗. ทาสีภริยา ภรรยาเยี่ยงนางทาสี คือ ภรรยาที่ยอมอยู่ใต้อำนาจสามี ถูกสามีตะคอกตบตี ก็อดทน ไม่แสดงความโกรธตอบ
(องฺ. ตฺตก. ๒๓/๖๐/๙๒)

ท่าน สอนให้ภรรยาสำรวจตนว่าที่เป็นอยู่ ตนเป็นภรรยาประเภทไหน ถ้าจะให้ดี ควรเป็นภรรยาประเภทใด สำหรับชายอาจใช้เป็นหลักสำรวจอุปนิสัยของตน ว่าควรแก่หญิงประเภทใดเป็นคู่ครอง และสำรวจหญิงที่จะเป็นคู่ครองว่าเหมาะกับอุปนิสัยตนหรือไม่

แม้สามีก็ย่อมมีหลายประเภทพึงเทียบเอาจากภรรยาประเภท ต่าง ๆ เหล่านั้น

จากhttp://sathira-dhammasathan.org/index.p ... 15582.html
บันทึกการเข้า

thammaonline
ก๊วนเสียว
*

พลังน้ำใจ: 24
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 237



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #27 เมื่อ: 01 ตุลาคม 2010, 23:41:51 »

ตั้งสติอยู่กับปัจจุบัน   

 การเจริญสติควรจะดำเนินในชีวิตประจำวันด้วย กินข้าว อาบน้ำ ทำครัว ซักผ้า
นี่คือโอกาสในการเจริญสติได้ทั้งนั้น คือทำอะไรก็อยู่กับสิ่งนั้น
อย่าปล่อยให้ใจฟุ้งซ่าน ทำเป็นอย่างๆ ไม่ใช่กำลังกินก็คิดไปเรื่องงานเรื่องการ
คนเราสมัยนี้ชอบจะคิดข้ามชอตอยู่เป็นประจำ
ไม่ยอมอยู่กับสิ่งที่ปรากฏอยู่ต่อหน้าเรา อย่างนี้คือไม่มีสติ 

 การอยู่กับปัจจุบันไม่ได้ขัดแย้งกับการวางแผนชีวิตนะขณะที่คุณวางแผน
ถ้าใจคุณคิดอยู่กับการวางแผน ตอนนั้นก็เท่ากับการคิดวางแผนเป็นปัจจุบันขณะ
เมื่อคุณกำลังวางแผนการทำงานในวันพรุ่งนี้ก็ให้คุณมีสติอยู่กับสิ่งนั้น
อย่าวอกแวก อย่าคิดวน แล้วมันจะมีอารมณ์ความวิตกกังวลเข้ามา
ที่พระพุทธเจ้าบอกให้อยู่กับปัจจุบันขณะคือไม่ฟูมฟายไปกับอดีต
และไม่วิตกกังวลไปกับอนาคตเพราะมันยังมาไม่ถึง
จะวิตกกังวลไปทำไม เพราะมันก็ไม่ช่วยให้อนาคตเป็นไปอย่างที่คุณต้องการ 

 ง่ายๆ เวลาเจอไฟแดงแล้วรถติด ทำไมคนส่วนใหญ่ทุกข์ เพราะกลัวว่าจะไปสาย
แล้วใจที่อยากจะให้ไฟเปลี่ยนจากแดงเป็นเขียวไวๆ ถามว่าทุกข์หรือเปล่า
ถามว่าได้ประโยชน์อะไรมั้ย การที่คุณกังวลมากแล้วจะทำให้ไฟแดงเปลี่ยนเป็นไฟเขียวหรือเปล่า
จะทำให้ถึงที่หมายได้เร็วขึ้นหรือเปล่า ในเวลาเช่นนั้นไม่ดีกว่าเหรอ
ถ้าคุณจะสนใจกับเสียงเพลงหรือข่าวที่คุณเปิดทางวิทยุ
หรือว่าดูลมหายใจเข้า-ออก แทนที่จะวิตกกังวลว่าเมื่อไหร่จะเขียวสักที
นี่คือการอยู่กับปัจจุบัน ไม่มัวกังวลกับอนาคตที่ยังมาไม่ถึง 

  ข้อคิดดีๆ กับ พระไพศาล วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคโต 

-http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=34601
บันทึกการเข้า

thammaonline
ก๊วนเสียว
*

พลังน้ำใจ: 24
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 237



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #28 เมื่อ: 01 ตุลาคม 2010, 23:42:47 »

พึงอยู่ด้วยความไม่ประมาท

หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล
วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี


วิปัสสนานี้มีผลอานิสงส์ใหญ่ยิ่งกว่าทาน ศีล พรหมวิหารภาวนา
ย่อมทำให้ผู้เจริญนั้นมีสติไม่หลงเมื่อทำกาลกิริยา
มีสุคติภพคือมนุษย์และโลกสวรรค์เป็นไปในเบื้องหน้า
หากยังไม่บรรลุผลทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
ถ้าอุปนิสัยมรรคผลมี ก็ย่อมทำให้ผู้นั้นบรรลุมรรคผล
ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานได้ในชาตินี้นั่นเทียว

อนึ่ง ยากนักที่จะได้เกิดเป็นมนุษย์
เพราะต้องตั้งอยู่ในธรรมของมนุษย์
คือ ศีล ๕ และกุศลธรรมบท ๑๐
จึงจะได้เกิดมาเป็นมนุษย์
ชีวิตที่เป็นมานี้ก็ได้ด้วยยากยิ่งนัก
เพราะอันตรายชีวิตทั้งภายในภายนอกมีมากต่างๆ
การที่ได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ
คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ก็ได้ด้วยยากยิ่งนัก
เพราะกาลที่เปล่าว่างอยู่
ไม่มีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลกยืดยาวนานนัก
บางคาบบางสมัยจึงจะมีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลกสักครั้งสักคราวหนึ่ง
เหตุนั้นเราทั้งหลายพึงอยู่ด้วยความไม่ประมาทเถิด
อย่าให้เสียทีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนาเลย




จาก ลานธรรมจักร

บันทึกการเข้า

darkknightza
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
*

พลังน้ำใจ: 167
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,245



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #29 เมื่อ: 02 ตุลาคม 2010, 15:40:01 »

คนที่มีความรู้สูง
ตำแหน่งหน้าที่การงานดี
มิใช่ว่าจะเป็นคนดี
คนที่มีความรู้น้อย
ตำแหน่งหน้าที่การงานต่ำ
มิใช่ว่าจะเป็นคนชั่ว
แต่ดีหรือชั่ว
อยู่ที่ถูกต้อง เมตตา และคุณธรรม
บันทึกการเข้า

หาเงินวันละ350บาท มั่นคง จ่ายมาสิบปีแล้ว
หารายได้กับ popup เจ้านี้ เรทแรงคลิ๊ก
Hosting อันดับ 1 คุณภาพสูง ราคาถูก จัดเลย
โดเมนเนมสวยๆ ราคาถูก จดกับเราสิที่นี่
darkknightza
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
*

พลังน้ำใจ: 167
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,245



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #30 เมื่อ: 02 ตุลาคม 2010, 22:55:52 »

กาลามสูตร

1.ฟัง :อย่าเชื่อโดยการฟังบอกต่อกันมา

อย่าเชื่อตามการรับฟังต่อๆกันมา เช่นคนนี้ว่าอย่างโน้น คนโน้นว่าอย่างนี้ จงใคร่ครวญด้วยปัญญา

2.สืบ : อย่าเชื่อว่าเป็นการทำตามสืบๆ กันมา

อย่า เชื่อตามการกระทำตามๆสืบๆกันมาต้องพิจารณาว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นการเพิ่ม หรือลดปัญหา ถ้าเพิ่มปัญหาก็ไม่ต้องทำให้เสียเวลา เช่น แฟชั่นต่างๆ พิธีกรรมต่างๆ ที่งมงายไม่มีเหตุผล

3.ลือ :อย่าเชื่อตามเสียงเล่าลือ

อย่า เชื่อตามการเล่าลือ ข่าวโคมลอย เขาว่าอย่างโน้น เขาว่าอย่างนี้ หรือแบบกระต่ายตื่นตูม ตัวเองโง่คนเดียวไม่พอ ทำให้คนอื่นพลอยโง่ไปด้วย ต้องระวังให้มาก เช่น หมอดู เจ้าแม่ เจ้าพ่อ สิ่งศักดิ์สิทธิต่างๆ เครื่องลางของขลัง พระเครื่อง โดยมากจะมีหน้าม้าคอยโฆษณาชวนเชื่อ

4.ถือตำรา : อย่าเชื่อตามตำรา

อย่า เชื่อเพราะมีเหตุเพียงว่ามีอ้างไว้ในตำรา เพราะนั่นเป็นเพียงทฤษฎีเท่านั้น ดังนั้นในทฤษฎีที่อ้างไว้ในตำรานั้นให้ศึกษาแล้วนำมาปฏิบัติดูว่าผลลัพท์ที่ ได้เป็นไปตามที่อ้างไว้ในทฤษฎีหรือไม่

5.ว่าคาดเดา : อย่าเชื่อตามเหตุผล/ตรรกะ /แนวโน้ม สถิติ

อย่ายึดถือโดยนึกเดาเอาเอง เข้าใจเอาเอง เดาสุ่ม มั่วๆเอา

6.เหมาคาดคะเน : อย่าเชื่อตามการคำนวณ

อย่า ยึดถือโดยการคาดคะเน การคาดการณ์ตามประวัติศาสตร์ ตามสถิติ ความน่าจะเป็น เห็นแค่บางส่วนอย่าเหมาว่าทั้งหมดมันควรจะเป็นเหมือนกันหมด

7.โมเมตามอาการ :อย่าเชื่อด้วยการตรึกตามอาการ

อย่า เชื่อหรือรับเอามาเชื่อด้วยการตรึกเอาตามอาการ เพราะจะทำให้ถูกหลอก และเกิดกิเลสฟรีๆก็ได้ ดังนั้นต้องคิดเผื่อไว้บ้าง เช่น การแก้ปัญหาก่อนหน้านี้เคยแก้ได้ด้วยวิธีนี้ พอมาเจอกับปัญหาเดิมๆแต่กาลเวลาไม่เหมือนเดิม อาจจะไม่สามารถใช้วิธีแก้แบบเดิมได้ก็ได้ อย่าเข้าข้างตัวเอง

8.สานความเห็นเรา : อย่าเชื่อด้วยเห็นว่าข้อความนั้นเป็นไปได้หรือเข้ากับความเห็นเรา

อย่า เชื่อด้วยเพียงสักว่า ข้อความนั้นมันเป็นได้ หรือเข้ากันได้กับความเห็นของตัวเรา เพราะตัวเรานั้นยังมีกิเลสอยู่ จึงไม่บริสุทธิ์ ต้องถือตามกฎธรรมชาติเป็นหลัก จึงไม่เปลี่ยนแปลง ที่สำคัญ คือ ถ้ามีกิเลสแล้วตัวต้องเป็นทุกข์ทั้งนั้น แต่ถ้ามีธรรมแล้ว จิตจะไม่เป็นทุกข์ นี้เป็นกฎธรรมชาติที่ตายตัวแน่นอน และไม่เปลี่ยนแปลง พระพุทธเจ้าทรงนำมาเปิดเผยขึ้นในโลก

9.เขาน่าเชื่อถือ : อย่าเชื่อว่า ผู้พูดเป็นผู้มีลักษณะน่าเชื่อถือ

อย่าเชื่อด้วยเหตุเพียงสักว่าผู้พูดมีลักษณะน่าเชื่อถือ มีตำแหน่งใหญ่โต แต่งตัวดี ภูมิฐาน เพราะอาจจะโดนหลอกได้

10.หรือเป็นครูเรา : อย่าเชื่อว่านี่คือครูของเรา

อย่าเชื่อด้วยเหตุเพียงสักว่าผู้พูดมีลักษณะน่าเชื่อถือ มีตำแหน่งใหญ่โต แต่งตัวดี ภูมิฐาน เพราะอาจจะโดนหลอกได้

 สรุป สิ่งใดที่เป็นกุศล ขอให้เชื่อสิ่งนั้น สิ่งใดไม่เป็นกุศลสิ่งนั้นไม่น่าเชื่อ
บันทึกการเข้า

หาเงินวันละ350บาท มั่นคง จ่ายมาสิบปีแล้ว
หารายได้กับ popup เจ้านี้ เรทแรงคลิ๊ก
Hosting อันดับ 1 คุณภาพสูง ราคาถูก จัดเลย
โดเมนเนมสวยๆ ราคาถูก จดกับเราสิที่นี่
darkknightza
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
*

พลังน้ำใจ: 167
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,245



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #31 เมื่อ: 03 ตุลาคม 2010, 23:49:56 »

สอนใจตัวเองก่อน

 

เมื่อเราเป็นผู้ใหญ่  เป็นครู  เป็นพ่อแม่

 

มีลูกน้อง มีลูกศิษย์ มีลูก

 

สมมติว่าเราเป็นพ่อแม่มีลูก

 

เมื่อลูกทำผิดจริง ๆ แล้วเราโกรธ ใจร้อน อย่าเพิ่งสอนลูก

 

สอนใจตัวเองให้ระงับอารมณ์ร้อน ให้ใจเย็น ใจดี

 

มีเมตตาก่อน จนรู้สึกมั่นใจว่าใจเราพร้อมแล้ว

 

และดูว่าลูกพร้อมที่จะรับฟังไหม ถ้าเราพร้อม

 

แต่ลูกยังไม่พร้อม ก็ยังไม่ต้องพูด เพราะไม่เกิดประโยชน์

 

เราพร้อมที่จะสอน เขาพร้อมที่จะฟัง

 

จึงจะเกิดประโยชน์เป็นการสอน

 

ถ้าเราสังเกตุดู บางครั้งใจเรารู้สึกเหมือนอยากจะสอน

 

แต่ความเป็ฯจริงแล้วเราเพียงอยากระบายอารมณ์ของเรา

 

สิ่งที่เราพูดแม้เป็นเรื่องจริง แต่ก็แฝงด้วยความโกรธ

 

เพราะยังเป็นความใจร้อน มีตัณหา

 

ถ้าใจเราโกรธ พูดเหมือนกัน พูดคำเดียวกัน นั่นคือโกรธ

 

ถ้าใจเราดี ใจเขาดี คำพูดของเราเป็นประโยชน์ นั่นคือสอน

 

เมื่อเราอยู่ในสังคม สิ่งที่ต้องระวังคือ หากเห็นใครทำผิด

 

อย่ายึดมั่นถือมั่นในความรู้สึกและความคิดของตน

 

อย่ายินดี อย่ายินร้าย ใจเย็น ๆ  ไว้ก่อน

 

พยายามอบรมใจตนเองว่า

 

ธรรมชาติของคนเรา มักจะมองข้ามความผิดของตนเอง

 

ชอบจับผิดแต่คนอื่น



มองเห็นความผิดของคนอื่นเหมือนภูเขา

 

เห็นความผิดตนเท่ารูเข็ม

 

ตดคนอื่นเหม็นเหลือทน

 

ตดตนเองเหม็นไม่เป็นไร

 

ปากคนอื่นเหม็นเหลือทน

 

ปากของตนเหม็นไม่รู้สึกอะไร

เรามักทุ่มใจ ไปอยู่ที่ความรู้สึกนึกคิดของตนเอง

อย่าเชื่อความรู้สึก อย่าเชื่ออารมณ์ อย่ายินดี ยินร้าย

พยายามรักษาใจเย็น  ใจดี ใจกลาง ๆ

ปกติเราทำผิดเหมือนกัน เท่ากัน หรืออาจจะมากกว่าเขา

แต่ความรู้สึกของเรามักจะมากกว่าเขา

และไม่เห็นความผิดของตัวเองเลยน่ากลัวจริง ๆ

สังเกตุดู คนที่ขี้บ่น ขี้โมโหว่าคนอื่นทำอะไรไม่ดี ไม่ถูก

ตัวของเขาเอง คิดดี พูดดี ทำดีไหม....ก็อาจจะไม่

 

เราเองก็เหมือนกัน เมื่อเราเกิดอารมณ์ไม่พอใจ

 

อย่าเชื่อความรู้สึกให้ระงับอารมณ์เสีย ทำใจเป็นกลาง ๆไว้

อย่าเชื่อความรู้สึก

อย่าเชื่ออารมณ์

อย่ายินดียินร้าย
บันทึกการเข้า

หาเงินวันละ350บาท มั่นคง จ่ายมาสิบปีแล้ว
หารายได้กับ popup เจ้านี้ เรทแรงคลิ๊ก
Hosting อันดับ 1 คุณภาพสูง ราคาถูก จัดเลย
โดเมนเนมสวยๆ ราคาถูก จดกับเราสิที่นี่
darkknightza
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
*

พลังน้ำใจ: 167
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,245



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #32 เมื่อ: 04 ตุลาคม 2010, 22:53:48 »

ความเพียรชนะโชคชะตา

ความเพียรของมนุษย์
เทวดาก็กีดกันไม่ได้ ว่างั้นนะ
อันนี้ก็หมายความว่า
พุทธศาสนาเนี่ยไม่ยอมแก่เรื่องโชคชะตา
ให้มีความเพียรพยายามใช้สติปัญญากำลังความสามารถ
แล้วจะสามารถเอาชนะแม้แต่โชคชะตาได้
บันทึกการเข้า

หาเงินวันละ350บาท มั่นคง จ่ายมาสิบปีแล้ว
หารายได้กับ popup เจ้านี้ เรทแรงคลิ๊ก
Hosting อันดับ 1 คุณภาพสูง ราคาถูก จัดเลย
โดเมนเนมสวยๆ ราคาถูก จดกับเราสิที่นี่
เก๋าลัดคุง
Verified Seller
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
*

พลังน้ำใจ: 196
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,906



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #33 เมื่อ: 04 ตุลาคม 2010, 23:15:14 »

 wanwan003
บันทึกการเข้า

darkknightza
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
*

พลังน้ำใจ: 167
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,245



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #34 เมื่อ: 05 ตุลาคม 2010, 23:44:58 »

เมื่อคนเราเกิดมา มีพ่อแม่ให้กำเนิด  สอนเรามาตั้งแต่เรายังเล็ก  จนเติบใหญ่  ในอดีตที่ผ่านมานั้น  เราได้เคยทดแทนพระคุณพ่อแม่แค่ไหน ขอให้คิดดูเถิด
      ยามนี้เมื่อเราได้มีความเจริญเป็นผู้ใหญ่ มั่งมีทรัพย์แล้ว  เหลียวแลพ่อแม่ หรือเปล่า   ต่อไปภายหน้าเราก็ต้องแก่เฒ่า ไม่วันใดก็วันหนึ่งใช่ไหม
      ฉะนั้น  ขอให้ทุกท่าน จงตรึกนึกคิด
      ความ กตัญญู ที่มนุษย์ทุกคนควรมีนี้  ควรมีอยู่ในสำนึกจากจิตใจที่ดีของตนเอง ที่มีให้ต่อผู้มีพระคุณยิ่ง ได้แก่ พ่อ แม่ของตนเอง  ขอให้รู้ไว้ว่า โลกมนุษย์ ได้มีพระธรรมอันเลิศของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เทศน์โปรดให้มนุษย์ได้หลุดพ้นทุกข์  ก็ขอให้ทุก ๆ คนใฝ่รู้ พากเพียร  มีความขยัน ตั้งใจทำความดีเสมอ    บุญแห่งความดีนี้ จะรักษาตน  นำพาตน ไปสู่แดนอันมีสุขได้
      ขอให้ทุกท่าน จงตั้งใจทำความดี  มีความกตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้มีพระคุณ อย่างมากที่สุด สมกับผู้ที่ได้ชื่อว่า ?ลูกกตัญญู?
บันทึกการเข้า

หาเงินวันละ350บาท มั่นคง จ่ายมาสิบปีแล้ว
หารายได้กับ popup เจ้านี้ เรทแรงคลิ๊ก
Hosting อันดับ 1 คุณภาพสูง ราคาถูก จัดเลย
โดเมนเนมสวยๆ ราคาถูก จดกับเราสิที่นี่
ตั้มคอมพิวเตอร์
Verified Seller
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
*

พลังน้ำใจ: 365
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,467



ดูรายละเอียด
« ตอบ #35 เมื่อ: 06 ตุลาคม 2010, 00:08:39 »

ชาติที่แล้วเราไปผูกมัดใครไว้บ้างหรือเปล่า? 
 
 
กรรมที่ทำให้เราไม่เจอเนื้อคู่ - สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี
ชาติที่แล้วเราไปผูกมัดใครไว้บ้างหรือเปล่า?

        ชาติที่แล้วเราไปผูกมัดใครไว้บ้างก็ไม่รู้ด้วยคำสัญญา เช่น เราจะรักกันทุกชาติไป โดยหารู้ไม่ว่ากรรมของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ชาติภพใหม่ก็เลยแตกต่างกันไป แต่คำมั่นที่สาบานยังอยู่ อาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้คุณยังเป็นโสดจนทุกวันนี้ ลองสวดมนต์บทนี้ดูอาจจะดีขึ้นนะ คำขอขมาและอธิษฐานจิต อธิษฐานหน้าพระพุทธรูป หรือสวดก่อนนอนก็ได้

( นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ 3 จบ )

สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต อุกาสะ ทะวารัตตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะเม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต

      'หากข้าพเจ้า จงใจหรือประมาทพลาดพลั้ง ล่วงเกิน บิดา-มารดา ครูบาอาจารย์ พระพุทธ พระธรรม พระอรหันต์ทุกพระองค์ พระอริยสงฆ์เจ้า
ตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย รวมถึงผู้มีพระคุณ และท่านเจ้ากรรมนายเวร จะด้วย กาย วาจา ใจ ก็ดี ขอได้โปรดอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้าด้วย หากข้าพเจ้ามีเจ้าของในตัวติดตามมา
      ขออนุญาติมีคู่ มีครอบครัวได้เหมือนคนปกติทั่วไป ขอถอนคำอธิษฐาน คำสาบานที่จะติดตามคู่ในอดีต ขอให้ต่างฝ่ายต่างเป็นอิสระต่อกัน ข้าพเจ้าจะประพฤติตนในทางที่ถูก ที่ชอบ ที่ควร
       ขอบุญบารมี ในอดีตกาลที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน จงส่งผลให้ข้าพเจ้าและครอบครัว ตลอดจนบริวารที่เกี่ยวข้อง จงเจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ
ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ สติ ปัญญา ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ อุปสรรคใดๆ โรคภัยใดๆ ขอให้มลายสิ้นไป ขอให้ข้าพเจ้ามีความสว่างทั้งทางโลก ทางธรรมตั้งแต่บัดนี้ตราบเข้าสู่พระนิพพานเทอญ
         หากมีผู้ใดเคยสร้างเวรสร้างกรรมกับข้าพเจ้า ไม่ว่าจะชาติใดภพใดก็ตาม ข้าพเจ้ายินดีอโหสิกรรมให้ ขอถอนความพยาบาท ความอาฆาต และคำสาปแช่งในทุกชาติทุกภพ
ขอให้ข้าพเจ้าพ้นจากคำสาปแช่งของปวงชนของเจ้ากรรมนายเวร'


คนเราเกิดมาหลายภพหลายชาติ แต่ละคนมีเจ้ากรรมนายเวรที่แตกต่างกัน การสวดขอขมาเพื่อลดและปลดหนี้กรรมให้น้อยลง

( คาถา บทนี้ เป็นคาถาที่ใช้สำหรับขอขมาพระรัตนตรัย และใช้เพื่อถอนคำสาปแช่ง ในอดีตชาติ ที่ติดตามมา เพราะเราไม่รู้ว่าเคยได้ ล่วงเกินปรามาสใครไปบ้างก็ไม่รู้ ไม่เว้นแม้กระทั้ง
พระพุทธองค์ พระอรหันต์ พ่อ แม่ เป็นต้น เพราะบางคนทำการใดๆ มักมีอุปสรรค หรือมักมีคนไม่ชอบหน้า )


 
 
 
ที่นี่ดอทคอม


บันทึกการเข้า
bigblog
ก๊วนเสียว
*

พลังน้ำใจ: 87
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 377



ดูรายละเอียด
« ตอบ #36 เมื่อ: 06 ตุลาคม 2010, 00:14:48 »

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า

darkknightza
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
*

พลังน้ำใจ: 167
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,245



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #37 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2010, 01:25:04 »

ขอพวกเราทั้งหลายจำไว้เถิด
ว่าการเกิดนี้ลำบากยากนักหนา
ครั้นคนเราได้กำเนิดเกิดขึ้นมา
ก็กลับพากันถึงซึ่งความตาย

(หลวงวิจิตรวาทการ)


ต้องเวียนเกิดเวียนตายตามบุญบาป
เมื่อไรทราบธรรมแท้ไม่แปรผัน
ไม่ต้องเกิดไม่ต้องตายสบายครัน
มีเท่านั้นใครหาพบจบกันเอย

(ท่านพุทธทาสภิกขุ)


กายนี้ท่านเปรียบดั่งท่อนไม้
ครั้นดับไปสมมติว่าเป็นผี
เครื่องเปื่อยเน่าสะสมถมปฐพี
เหมือนกันทั้งผู้ดีและเข็ญใจ

(เจ้าพระยาคลัง หน)


อันรูปรสกลิ่นเสียงนั้นเพียงหลอก
ไม่จริงดอกอวิชชาพาให้หลง
อย่าลืมนะร่างกายไม่เที่ยงตรง
ไม่ยืนยงทรงอยู่คู่ฟ้าเอย

(จากหนังสือเก่าโบราณ)


กลางทะเลอวกาศที่เวิ้งว้าง
สรรพสิ่งได้ถูกสร้างแปลงไว้
จากดินน้ำลมและไฟ
ก่อเกิดเป็นสิ่งใหม่เรื่อยมา

เมื่อถึงคราวแตกดับ
สรรพสิ่งก็หมุนกลับไปหา
ธรรมชาติเดิมแท้นั้นอีกครา
เวียนกลับไปกลับมาอยู่อย่างนั้น
บันทึกการเข้า

หาเงินวันละ350บาท มั่นคง จ่ายมาสิบปีแล้ว
หารายได้กับ popup เจ้านี้ เรทแรงคลิ๊ก
Hosting อันดับ 1 คุณภาพสูง ราคาถูก จัดเลย
โดเมนเนมสวยๆ ราคาถูก จดกับเราสิที่นี่
darkknightza
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
*

พลังน้ำใจ: 167
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,245



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #38 เมื่อ: 07 ตุลาคม 2010, 23:35:17 »

- เทคนิคมองโลกในแง่ดี -

คนไทยสมัยนี้เครียดกันง่ายจัง วันๆ หนึ่งต้องพบกับความทุกข์ใจ ไม่สบายใจ กังวลใจ กันหลายๆ ครั้ง ไม่ เหมือนกับคนไทยสมัยโบราณที่กว่าจะเกิดความเครียดขึ้นมาได้ โน่น..ต้องมีเสือบุกเข้ามากินวัว โจรบุกเข้ามาปล้น ถึงจะเกิดความเครียดกันทีหนึ่ง เรียกว่าวันๆ หนึ่งแทบจะไม่รู้จักความเครียดกันเลย ใบหน้าคนไทยสมัยก่อนจึงมีแต่รอยยิ้ม พวกฝรั่งซึ่งเป็นคนมาจากวัฒนธรรมอื่นมาเห็นเข้าพากันแปลกใจว่าทำไมคนไทย อารมณ์ดีกันจัง ก็เลยตั้งชื่อว่าให้ว่า "สยามเมืองยิ้ม"

นอก จากนี้คนไทยยังมีวิธีคิดที่ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา ให้รู้จักคิดปล่อยวาง คิดให้สบายใจ ในยามที่ต้องพบกับปัญหาหนักๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งปัจจุบันนี้ยังเหลือร่องรอยวิธีคิดเหล่านี้อยู่ในนิสัยคนไทยทั่วๆ ไปบ้าง แต่บางคนก็ลืมไปแล้ว หรือคนรุ่นใหม่อาจจะไม่รู้จัก วันนี้เครือข่ายฯจึงขอนำวิธีคิดเหล่านี้นำมาปรับปรุงแก้ไขให้มีความเป็นพุทธ และ ให้มีความทันสมัย เหมาะกับคนยุคปัจจุบันมากขึ้น นำเสนอเป็นเทคนิควิธีคิดมองโลกในแง่ดีสำหรับคนยุคไอที ดังต่อไปนี้


ยามพบอุปสรรคในการทำงาน

ไม่ เป็นไร..เอาใหม่ : คำพูดนี้สำคัญมากครับ เอาไว้ใช้อุทาน เวลาท่านต้องประสบกับปัญหาความล้มเหลวในการทำงานหรือ เจอข้อผิดพลาดอะไรขึ้นมาอย่างไม่คาดฝัน หรือ เวลาเพื่อนร่วมงานทำงานผิดพลาด คำพูดนี้จะเป็นเครื่องปลอบใจและให้กำลังใจได้เป็นอย่างดี คำว่า "ไม่เป็นไร" เป็นคำที่ทำให้จิตใจปล่อยวางจากปัญหา ไม่ถูกบีบคั้นจากปัญหา คำว่า "เอาใหม่" เป็น คำพูดที่ปลุกคุณธรรมข้อ "วิริยะ" แปลว่า เพียรสู้งาน ปลุกใจให้เราคิดสู้ปัญหา ไม่ท้อถอย


ยามพบกับเหตุการณ์ร้ายที่ไม่พึงปรารถนา

โชคดีนะเนี่ย : ไม่ว่าคุณเจอะเจอกับความทุกข์กายทุกข์ใจอะไรในชีวิตประจำวัน ให้คิดเสียว่าสิ่งเลวร้ายที่เราต้องประสบทุกๆ ครั้ง มันไม่ได้ร้ายกาจจนถึงที่สุดแม้สักอย่างเดียว มันเป็นความ"โชคดี"ของเราจริงๆ ที่ไม่เจอหนักกว่านี้

ยกตัวอย่าง

เดินหัวชนเสาหัวปูด อุทานว่า "อูย ! ..โชคดีนะเรา หัวยังไม่แตก"
โดนตัดเงินเดือน พูดกับตัวเองว่า "เขาไม่ไล่เราออก ก็บุญแล้ว ถือว่ายังโชคดีนะเนี่ย"
ทำกาแฟร้อนๆ หกรดขากางเกง พูดกับตัวเองว่า "เหอ..ๆ โชคดี ที่มันไม่หกรดเป้ากางเกงเรา"


ยามมีปัญหากับเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

เขา ยังดีนะ : เวลาคุณมีปัญหากับเพื่อนมนุษย์ เช่นเพื่อนร่วมงาน คนข้างบ้าน ฯลฯ เช่น บางคนอาจจะทำงานไม่ถูกใจ บางคนอาจจะทำอะไรผิดใจคุณ หรือ บางคนอาจจะมีเจตนาไม่ดีกับคุณ ให้คิดเช่นเดียวกันว่าสิ่งที่เขาทำนั้นมันก็ยัง ไม่ได้ร้ายกาจถึงที่สุดกับคุณแต่อย่างใด มันยังมีแง่ดีๆ ให้เราคิดถึงเขาอยู่เสมอ

ยกตัวอย่าง

คนข้างบ้านนินทาเรา เราก็บอกกับตัวเองว่า โอ้... นี่เขายังดีนะที่ไม่ถึงกับมาดักทำร้ายเรา
มีคนมาขโมยปากกาที่โต๊ะทำงานเราไป เราก็คิดว่า เจ้าขโมยนี่ยังดี ที่ไม่ยกเครื่องคอมพ์เราไป
สาวหักอก เราก็คิดว่า เธอยังดีนะเนี่ย ที่ไม่ควงคู่แข่งมาเย้ยเราให้เจ็บใจหนักไปกว่านี้
เพื่อนร่วมงานเอาเปรียบ เราก็คิดว่า เขาก็ยังดีที่ไม่ใส่ร้ายป้ายสีเราข้างหลัง


เทคนิคคิดเมื่อเจอปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวัน

เอ๊ะ...! ตรงนี้เราได้อะไร : เป็นการตั้งคำถามเพื่อให้จิตตั้งแง่คิดเพื่อมุ่งหาความรู้ทันทีที่ได้พบกับ ปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวัน อาทิเช่น นาย ก. เดินตกท่อ ขาแข้งถลอก นาย ก. ทั้งๆ ที่เจ็บปวด กลับตั้งคำถามขึ้นมาในใจว่า เราเดินตกท่อตรงนี้ เราได้อะไร ! เท่านั้นเองคำตอบต่างๆ ก็พรั่งพรูออกมามากมาย อาทิเช่น

ก. เราได้ดูแลรักษาตัวเองอีกแล้วดีจัง ไม่ได้ดูแลตัวเองมานาน
ข. เราได้บทเรียนซาบซึ้งกับคำว่า "อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน จะจนใจเอง"
(เคยเดินมาดีๆ ทุกวัน วันนี้ใครกันดันมาเปิดฝาท่อ)

ค. มันทำให้เราได้ไอเดียเกี่ยวการทาแถบสีสะท้อนแสงตรงขอบท่อ เพื่อคนจะได้สังเกตเห็นได้แต่ไกลๆ

วิธี คิดเช่นนี้จะทำให้เรารู้สึกเลยว่า ชีวิตนี้มีแต่ได้ ไม่มีเสีย คือ แม้ว่าเราจะพบกับสิ่งที่ไม่น่าพึงปรารถนาก็ตาม แต่ถ้าหากว่าเรารู้จักตั้งคำถามเช่นนี้เป็นนิสัย เราก็จะได้สิ่งที่ดีๆ มากมายจนบางครั้งเราอาจจะต้องนึกขอบคุณที่ได้เจอกับปัญหาบ่อยๆ เลยทีเดียว
บันทึกการเข้า

หาเงินวันละ350บาท มั่นคง จ่ายมาสิบปีแล้ว
หารายได้กับ popup เจ้านี้ เรทแรงคลิ๊ก
Hosting อันดับ 1 คุณภาพสูง ราคาถูก จัดเลย
โดเมนเนมสวยๆ ราคาถูก จดกับเราสิที่นี่
YAMS
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
*

พลังน้ำใจ: 1020
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,196



ดูรายละเอียด
« ตอบ #39 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2010, 00:00:44 »

ท่าน darkknightza สึกหรือยังคะ
ขอแสดงความเสียใจเรื่องคุณย่าด้วยนะคะ
พอดีเราเพิ่งย้อนกลับไปดูกระทู้นั้นแล้วเพิ่งทราบค่ะ

ขอบคุณที่นำธรรมะมาฝากค่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 ตุลาคม 2010, 00:02:01 โดย YAMS » บันทึกการเข้า

Smile in your life, then life is smiling at you.
รัก tsb วันละนิดจิตแจ่มใส
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 141   ขึ้นบน
พิมพ์