ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

ThaiSEOBoard.comอื่นๆCafeรวมธรรมมะที่น่าสนใจ
หน้า: [1] 2 3 ... 141   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: รวมธรรมมะที่น่าสนใจ  (อ่าน 333842 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
darkknightza
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
*

พลังน้ำใจ: 167
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,245



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 26 กันยายน 2010, 21:19:05 »

หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่มีเพียงไม่กี่หน้า แต่เป็นหนังสือที่มีสาระเน้นๆเท่านั้น อยากจะแนะนำ เราไม่จำเป็นต้องซื้อเล่มอื่นเลย เป็นหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาที่แท้จริง ชื่อเรื่องว่า



วิธีสร้างบุญบารมี
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ ๑๙




คนส่วนใหญ่รู้แค่ว่าการทำบุญคือการให้ทาน แต่แท้จริงแล้วการทำบุญโดยย่อมี 3 อย่าง
1.ให้ทาน
2.รักษาศีล
3.เจริญภาวนา
เรื่องให้ทานไม่ต้องพูดถึง ใครๆก็รู้ แต่ที่ส่วนมากไม่รู้คือเรื่องจำนวนเงินนั้นไม่สำคัญ สำคัญที่ความตั้งใจ
ถ้าตั้งใจจะได้อานิสงค์เต็มที่
วันนี้จะพูดเรื่องการรักษาศีล
ถ้าเราให้ทานแต่ถ้าไม่รักษาศีลมันก็เหมือนกันเราทำบาปอีกอย่างหนึ่ง ทำให้เราศีลเราขาด เข้าเรื่องดีกว่า
1.งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ด้วยตนเอง และใช้คนอื่นให้ฆ่า หมายความถึงการขายสัตว์เพื่อนำไปฆ่าด้วย
2.งดเว้นจากการลักทรัพย์ ด้วยตนเอง และใช้คนอื่นให้ลัก ถ้าเป็นพระอาบัติถึงปาราชิกเลย
3.งดเว้นจากการประพฤติละเมิดในทางประเวณี
4.งดเว้นจากการพูดปด พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
5.เว้นจากการดื่มน้ำเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
ถ้าเรารักษาศีลไม่ให้ขาดก็เหมือนกับการที่เราทำบุญนั่นแหละ


ธรรม 4 อย่างนี้ ย่อมเนื่องกัน แต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน
1.คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ ตนถือว่า ดีที่สุด ที่มนุษย์เรา ควรจะได้ ข้อนี้ เป็นกำลังใจ อันแรก ที่ทำให้เกิด คุณธรรม ข้อต่อไป ทุกข้อ
2.คือความพากเพียร หมายถึง การการะทำที่ติดต่อ ไม่ขาดตอน เป็นระยะยาว จนประสบ ความสำเร็จ คำนี้ มีความหมายของ ความกล้าหาญ เจืออยู่ด้วย ส่วนหนึ่ง
3.หมายถึงความไม่ทอดทิ้ง สิ่งนั้น ไปจากความรู้สึก ของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็น วัตถุประสงค์ นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า สมาธิ อยู่ด้วยอย่างเต็มที่
4.หมายถึงความสอดส่องใน เหตุและผล แห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า ปัญญา ไว้อย่างเต็มที่


สติ หมายถึง ความระลึกได้ ก่อนจะทำ พูด หรือคิด คืออาการของจิตที่นึกขึ้นได้ว่าจะทำ จะพูดอย่างไรจึงจะถูกต้อง มีหน้าที่กระตุ้นเตือนคนเราให้ทำ พูด หรือคิดในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่หลงลืมตัว โดยใช้ดุลพินิจพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนจึงปฏิบัติ หรือแสดงพฤติกรรมต่างๆ ออกมา

กล่าวคือความไม่ประมาทปล่อยจิตนึกคิดไปตามอารมณ์ที่ปรารถนา

“สติ” เป็นธรรมควบคุมเหนี่ยวรั้งจิตใจให้คิดดี ทำดี หรือพูดดี เพราะธรรมชาติของจิตมีการนึกคิดตลอดเวลา ซึ่งถ้าขาดสติกำกับ เป็นความคิดที่ฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ต่างๆ อย่างไร้ทิศทาง แต่ถ้ามีสติกำกับแล้วจะทำให้ไม่ประมาทหรือพลั้งเผลอคิดชั่ว พูดชั่ว หรือทำชั่ว เพราะสติจะทำหน้าที่คอยควบคุม รักษาสภาพจิตใจให้อยู่ในภาวะที่ต้องการ โดยการตรวจตราความคิดเลือกรับแต่สิ่งที่ดีงาม กีดกันสิ่งที่ไม่ดีซึ่งตรงกันข้าม ตรึงกระแสความคิดให้เข้าที่ ทำให้จิตเป็นสมาธิได้ง่าย

ในการเรียนหนังสือ ถ้านักเรียนควบคุมจิตใจให้มีสติมั่นคง สนใจในวิชาที่เรียน ขยันทบทวนสิ่งที่ได้เรียนมาแล้ว ไม่ปล่อยจิตฟุ้งซ่านคิดถึงเรื่องอื่นๆ สำรวมจิตให้จรดนิ่งสงบตั้งมั่นในอารมณ์เดียวไปตามลำดับ ไม่วอกแวก จะช่วยจำบทเรียนได้ดีกว่าคนที่ฟุ้งซ่าน

นักเรียนที่มีผลการเรียนดีจึงมีพื้นฐานมาจากการฝึกสตินี้เอง

ในหน้าที่การงาน คนที่มีสติสามารถทำงานได้ผลดียิ่ง มีความผิดพลาดน้อย หรืออาจจะไม่มีข้อผิดพลาด หากขาดสติงานต้องผิดพลาดอยู่ร่ำไป ทำให้งานล่าช้า เสร็จไม่ทันตามกำหนด ไม่สามารถพัฒนาก้าวหน้าได้

ในการทำความดี ผู้มีสติสามารถดำเนินชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท เว้นจากการทำความชั่วทุกอย่าง กระทำแต่ความดี และทำจิตให้ผ่องแผ้วจากกิเลสทั้งปวง สติเป็นหลักธรรมที่มีอุปการะมาก พัฒนาจิตพิจารณารู้เท่าทันสภาพที่แท้จริง ทำให้การดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้อย่างมีความสุข เมื่อเจริญสติให้มากยิ่งขึ้นสามารถบรรลุมรรค ผล และนิพพานได้ในที่สุด

ความรู้ตัวในขณะที่กำลังทำ กำลังพูด หรือกำลังคิดอยู่ เป็นอาการของจิตที่รู้จักแยกแยะสิ่งที่ตนกำลังทำ พูด คิดอยู่นั้นว่าเป็นประโยชน์ หรือไม่เป็นประโยชน์ เหมาะกับตนหรือไม่ เป็นความสุขหรือทุกข์ และเป็นความดีหรือชั่วหรือไม่อย่างไร ความรู้ชัด ความรู้ตัว เป็นลักษณะแห่งความรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลานี้ เรียกว่า  “สัมปชัญญะ”

“สัมปชัญญะ” เป็นธรรมที่ปฏิบัติคู่กับสติ แยกกันไม่ออก กล่าวคือสติเป็นเครื่องระลึกควบคุมยับยั้งจิตมิให้คิด พูด หรือทำชั่ว ส่วนสัมปชัญญะจะทำหน้าที่กำหนดรู้ในเวลาคิด พูด หรือทำอยู่ ดังนั้น จึงเรียกว่า สติสัมปชัญญะ

สติ ระลึกได้ทั้งในเรื่องอดีต อนาคต และปัจจุบัน ต้องใช้ในเวลาก่อนคิด พูด และทำ...สัมปชัญญะ รู้ตัวในปัจจุบัน ต้องใช้ในขณะที่กำลังคิด พูด และทำอยู่

สติและสัมปชัญญะนี้จัดเป็นกุศลธรรมที่คู่กันเสมอ จะแยกจากกันมิได้ เมื่อมีสติต้องมีสัมปชัญญะ สติเปรียบเหมือนดวงไฟ ส่วนสัมปชัญญะเปรียบเหมือนแสงสว่างของดวงไฟ

การทำหน้าที่ คนเราจำต้องมีสติสัมปชัญญะอยู่ทุกขณะ คือควรเจริญให้เกิดมีขึ้นในตนตลอดเวลา ทั้งในขณะจะทำ พูด หรือคิด เพราะสติสัมปชัญญะจะคอยคุมรักษาจิตให้ตั้งมั่นแน่วแน่ในทางที่ดีมีประโยชน์ ไม่ให้ความชั่วร้ายเข้าครอบงำจิตได้ ดังนั้น สติสัมปชัญญะจึงเป็นคุณธรรมที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต สติจำต้องปรารถนาในที่ทั้งปวง

“สติสัมปชัญญะ” มีอุปการะมากแก่คนเรา โดยเป็นธรรมควบคุมเส้นทางดำเนินชีวิตไม่ให้พลั้งเผลอทำในสิ่งที่ไม่สมควร ท่านเปรียบเหมือนหางเสือ ที่คอยกำหนดทิศทางไม่ให้เรือแล่นไปเกยตื้น เป็นเครื่องปลุกเร้าให้บุคคลมีเหตุผล รู้จักไตร่ตรองด้วยปัญญา และสนับสนุนธรรมคือการรู้จักคิดอย่างมีเหตุผล

พฤติกรรมของผู้มีสติสัมปชัญญะจะแสดงออกมาในลักษณะที่พิจารณาด้วยปัญญาแล้ว บริโภคอาหาร รู้จักประมาณ รู้จักคุณโทษของอาหารที่จะบริโภค ไม่เผลอสติในการทำงาน มีความรอบคอบ ระมัดระวังในการทำกิจ เป็นต้น

ผู้มีสติสัมปชัญญะย่อมมีความสำนึกรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา ว่าตัวเองเป็นใคร มีหน้าที่อย่างไร เมื่อปฏิบัติหน้าที่อยู่ รู้ตัวอยู่เสมอว่าตัวเองกำลังทำอะไร ดีหรือชั่ว เป็นคุณหรือโทษ เท่ากับว่าควบคุมตัวเองไว้ได้ตลอดเวลา

ด้วยความสำคัญดังกล่าวมานี้ ท่านจึงจัดสติสัมปชัญญะว่าเป็นธรรมมีอุปการะมาก คือเป็นคุณธรรมที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของคนเรา และเป็นธรรมมีอุปการะให้กุศลธรรมอื่นๆ เกิดขึ้นดำรงมั่นคงอยู่ในจิตได้


ตามหลักธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ธรรมอันทำงาม นั้นมีอยู่ 2 ประการ ดังนี้

         ประการแรก คือ ขันติ ความอดทน หมายถึง ความอดทนอดกลั้นไว้ได้ในเมื่อใจถูกกระทบด้วยอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา ก็ไม่แสดงอาการวิตกทุกข์ร้อน หรือโมโหฉุนเฉียว ไม่มีการทำหรือคำพูดตอบโต้ เรื่องที่ต้องใช้ความอดทนนั้น มีอยู่ 4 ชนิด คือ อดทนต่อความลำบากตรากตรำ ไม่แสดงอาการย่อท้อ สิ้นหวัง ต่ออุปสรรคของชีวิต ทนต่อทุกเวทนา ไม่แสดงอาการทุรนทุรายจนเกินควรเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย ทนต่อความเจ็บใจ ไม่แสดงอาการโกรธเมื่อไม่พอใจที่ถูกคนอื่นทำ หรือพูดกระทบกระแทกแดกดัน ทนต่ออำนาจกิเลส  ไม่แสดงอาการอยากมีอยากได้จนออกนอกหน้า แม้ได้มาก็ไม่ยินดีเกินเหตุ

         ประการที่ 2 คือ โสรัสจะ ความเสงี่ยม หมาย ถึง การรู้จักปรับสภาพจิตใจให้เยือกเย็นเหมืนเป็นปกติในเมื่อมีเรื่องต้องอดทน แม้จะถูกผู้อื่นทำหรือพูดกระทบกระทั่งจนเกิดเจ็บใจแต่ก็ทนได้ ไม่แสดงอาการใดๆ ให้ปรากฎ เป็นเสมือนว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น ธรรมข้อนี้ มีหน้าทีข่มใจให้สงบนิ่ง ไม่แสดงอาการผิดปกติออกมาภายนอก

         ธรรมทั้ง 2 ประการนี้ เรียกว่า โสภณธรรม  ธรรมอันทำให้งาม  เครืองประดับกายจำพวกเพชรนิลจินดา เป็นแค่เครื่องส่งเสริมความงามภายนอก แต่ขันติและโสรัสจะนี้ เป็นเครืองประดับภายในจิตใจ ทำให้เป็นคนมีสง่าราศรี น่ายกย่องนับถือ

         แค่หัวข้อธรรม 2 ข้อนี้คุณก็เป็นคนงามแล้ว ซึ่งไม่มีใครสามารถมาแย่งชิงเอาได้ ถ้าใครอยากได้ต้องทำให้เกิดขึ้นในใจเอง



"ธรรมคุ้มครองโลก" หมายถึง ธรรมที่ช่วยคุ้มครองทั้งมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ให้อยู่ด้วยกันอย่างปกติสุข โลกร่มเย็น ไม่เดือดร้อนวุ่นวาย เพราะมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายไม่เบียดเบียนกัน มีเมตตากรุณาต่อกัน ต่างไว้วางใจกันและกัน ในเรื่องต่างๆ เช่นชีวิต ทรัพย์สิน และของรักของหวง

เป็นคุณธรรมที่สนับสนุนหลักมนุษยธรรมให้เป็นไปด้วยดี โดยชักนำจิตใจของบุคคลให้เกิดความละอายต่อความชั่วและความเกรงกลัวต่อความประพฤติชั่วและผลของความชั่วที่จะติดตามมาทั้งยังป้องกันไม่ให้กระทำความชั่ว ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

เป็นหลักธรรมสนับสนุนให้บุคคลมีสามัญสำนึกในการละเว้นความชั่วทุจริต เป็นการเบียดเบียนตนและผู้อื่นให้เดือดร้อนภายหลัง

ธรรมคุ้มครองโลก มี 2 ประการ คือ หิริ และโอตตัปปะ

2.โอตตัปปะ หมายถึง ความเกรงกลัวต่อผลของความชั่ว มีลักษณะหวาดสะดุ้งกลัวต่อผลที่จะเกิดจากการทำบาปทุจริต คือ การประพฤติผิดทั้งทางกาย วาจา และใจ โดยพิจารณาเห็นชัดว่าสัตว์โลกมีกรรมเป็นของตน ทำกรรมใดไว้ต้องรับผลกรรมของนั้น จึงมีความหวาดกลัวสะดุ้งต่อผลของกรรมชั่ว ไม่กล้าทำแม้ความผิดเล็กน้อย

เหตุที่ทำให้เกิดความกลัวต่อความชั่ว คือ

- เพราะกลัวต้องติเตียนตัวเอง

- เพราะกลัวผู้อื่นจะติเตียน

- เพราะกลัวถูกลงโทษ ถูกลงอาญา

- เพราะกลัวความทุกข์จะส่งผลในภายหน้า

เมื่อคนเรามาพิจารณาคำนึงถึงเหตุนี้ข้อใดข้อหนึ่งแล้ว ความกลัวต่อความชั่วย่อมเกิดขึ้น

ผู้มีความสะดุ้งกลัวต่อผลของบาปทุจริต เปรียบเหมือนคนที่มีนิสัยหวาดกลัวเป็นนิจเห็นอสรพิษแม้ตัวเล็กๆ เกิดสะดุ้งกลัว ไม่อยากเข้าใกล้ พยายามหลีกหนีให้ห่างไกล

ฉะนั้น ความกลัวที่จัดว่าเป็นโอตตัปปะแท้จริงนั้น ต้องเป็นความกลัวต่อผลของความชั่วบาป หรือทุจริตเท่านั้น ในกรณีที่คนเรากำลังเดินอยู่กลางป่า บังเอิญไปพบเสือโคร่งเข้าพอดี ย่อมเกิดความกลัวอันตรายที่จะได้รับ

ความกลัวเช่นนี้ไม่จัดว่าเป็นความกลัวด้วยโอตตัปปะ หากแต่เป็นความกลัวตามสัญชาตญาณของมนุษย์และสัตว์ เพราะไม่ใช้ความกลัวต่อความชั่ว

ลักษณะของผู้มีหิริโอตตัปปะนั้นคือ "อายชั่ว กลัวบาป" บุคคลผู้ฝึกจิตใจให้อายชั่วกลัวบาปได้ดีแล้วเท่านั้น จึงจะไม่ทำความผิดทั้งต่อหน้าและลับหลัง ดังนั้น หิริโอตตัปปะจึงเป็นธรรมคุ้มครองโลก

คือมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นแผ่นดินนี้ให้อยู่เย็นเป็นสุข
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 พฤศจิกายน 2010, 18:09:52 โดย darkknightza » บันทึกการเข้า

หาเงินวันละ350บาท มั่นคง จ่ายมาสิบปีแล้ว
หารายได้กับ popup เจ้านี้ เรทแรงคลิ๊ก
Hosting อันดับ 1 คุณภาพสูง ราคาถูก จัดเลย
โดเมนเนมสวยๆ ราคาถูก จดกับเราสิที่นี่
darkknightza
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
*

พลังน้ำใจ: 167
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,245



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 27 กันยายน 2010, 10:30:22 »

บุคคลหาได้ยาก


มวลมนุษย์มีมากมาย ต่างจิตใจ ต่างอัธยาศัย แต่บุคคลที่ดีพร้อมซึ่งหาได้ยากในโลกนี้ มีเพียง 2 ประเภทเท่านั้น คือ

1. บุพการี บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน

2. กตัญญูกตเวที บุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้วทำตอบแทน

บุคคลผู้พร้อมด้วยคุณสมบัติทั้งสองประเภทนี้หาได้ยาก คือฝ่ายหนึ่งทำอุปการะก่อน แต่อีกฝ่ายหนึ่งได้รับแล้วแต่ไม่ตอบแทน ทั้งสองฝ่ายปฏิบัติต่อกันไม่สม่ำเสมอ เพราะคนเรานั้นถูกอวิชชาและตัณหาครอบงำจึงมุ่งแต่ประโยชน์ตนฝ่ายเดียว เมื่อตนได้รับความสุขแล้ว ไม่คิดแลเหลียวผู้อื่น จึงเป็นการยากที่จะเป็นบุพการี ส่วนผู้ที่ได้รับอุปการะจากผู้อื่นแล้วนั้นโดยมาก มักรู้จักแต่คุณ ไม่รู้จักตอบแทน จึงเป็นการยากเช่นกันที่จะทำตนให้เป็นผู้กตัญญูกตเวทีต่อบุพพการีได้

บุพพการี บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน หมาย ถึงบุคคลผู้มีอัธยาศัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี มีจิตประกอบด้วยความรัก ความปรารถนาดี มุ่งกระทำอุปการคุณ หวังความสุขความเจริญต่อผู้อื่น โดยไม่หวังผลตอบแทนในภายหลัง จำแนกเป็น 4 ประเภท คือ 1. มารดาบิดา 2. ครูอาจารย์ 3. พระมหากษัตริย์ 4. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

มารดาบิดา เป็นบุพการีของบุตรธิดา ท่านเป็นผู้ให้กำเนิดชีวิตของบุตรธิดา บำรุงเลี้ยงดูให้ได้รับความสุข คอยห้ามปรามไม่ให้กระทำความชั่ว แนะนำพร่ำสอนให้ตั้งอยู่ในความดี ให้ศึกษาวิชาความรู้ตามสมควรแก่ฐานะ จัดหาคู่ครองที่ดีให้ และมอบทรัพย์สมบัติให้ในเวลาอันเหมาะสม นับว่ามีพระคุณอย่างใหญ่หลวง

ครูอาจารย์ เป็นบุพการีของศิษย์ เพราะเป็นผู้อนุเคราะห์ศิษย์ด้วยการแนะนำสั่งสอนต่อจากพ่อแม่ ให้ศิษย์รู้ว่าสิ่งใดดี มีประโยชน์ สิ่งใดไม่ดี ไม่มีประโยชน์ มีโทษ ควรหรือไม่ควรประพฤติ

พระมหากษัตริย์ เป็นบุพการีของพสกนิกร เพราะทรงเป็นผู้ประกอบด้วยพรหมวิหารธรรม ทรงบำเพ็ญทศพิธราชธรรม วางพระองค์เหมาะสม ทรงอดทนต่อกิเลสและทุกข์นานาประการ ไม่ทรงกริ้วโกรธโดยไร้เหตุผล ไม่ทรงเบียดเบียนให้ได้รับความเดือดร้อน ไม่ทรงประพฤติผิดทำนองคลองธรรม ทรงปกครองพสกนิกรโดยไม่ลำเอียง และทรงมุ่งประโยชน์สุขของประชาชนเป็นสำคัญ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นบุพการีของพุทธบริษัท เพราะทรงมีพระกรุณาคุณแก่พุทธบริษัทอย่างใหญ่หลวง เมื่อตรัสรู้แล้วทรงเมตตาแสดงธรรมสั่งสอนสรรพสัตว์ให้รู้แจ้งเห็นจริงด้วย พระโอวาทอันเป็นหลักสำคัญ 3 ประการ คือ ทรงสอนให้ละชั่วทุกอย่าง บำเพ็ญความดีทุกประการ และทำจิตของตนให้ผ่องแผ้วจากกิเลสทั้งปวง
กตัญญูกตเวที คือผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้วทำตอบแทนท่าน  บุคคลที่รู้จักบุญคุณของผู้อื่นที่ทำแล้วแก่ตน โดยรู้คุณค่าแห่งการทำความดีของผู้อื่นและกระทำตอบแทน แสดงออกด้วยวิธีสุจริตธรรมเป็นการบูชาคุณความดีของท่าน แล้วมุ่งทำตอบแทนในภายหลัง เป็นการประกาศเปิดเผยคุณของบุพการีให้ผู้อื่นรู้ เปรียบเหมือนบุคคลที่เป็นหนี้ท่านอยู่ ไม่ลืมบุญคุณของท่าน ตั้งใจขวนขวายใช้หนี้ท่าน

บุคคลเช่นนี้ชื่อว่า กตัญญูกตเวที จำแนกเป็นบุคคล 4 ประเภท เพื่อให้ตรงกับบุพการี 4 ประเภท จัดเป็น 4 คู่ คือ 1. บุตรธิดา คู่กับ มารดาบิดา 2. ศิษย์ คู่กับ ครูอาจารย์ 3. พสกนิกร คู่กับ พระมหากษัตริย์ 4. พุทธบริษัท คู่กับ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยมีหลักการแสดงความกตัญญูกตเวที ดังนี้

"บุตร-ธิดา" พึงแสดงกตัญญูกตเวทีต่อมารดาบิดา โดยสำนึกว่าท่านเป็นผู้มีพระคุณและยอมรับด้วยว่าอุปการคุณที่ทำแก่ตนนั้น เป็นความดีจริงแล้วสนองตอบพระคุณท่านด้วยการเลี้ยงดูปรนนิบัติ เชื่อฟังตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน

"ศิษย์" พึงแสดงกตัญญูกตเวทีต่อ ครูอาจารย์ โดยสำนึกว่าท่านเป็นผู้มีพระคุณแก่ตนและยอมรับด้วยใจว่าการอบรมของท่านนั้น เป็นความดีจริงแล้วสนองตอบพระคุณท่านด้วยการแสดงความเคารพ ปรนนิบัติรับใช้ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นท่าน

"พสกนิกร" พึงแสดงกตัญญูกตเวทีต่อ พระมหากษัตริย์ โดยสำนึกว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้มีพระคุณแก่ตนจริง แล้วรับด้วยใจว่าการที่พระองค์ทรงดูแลทุกข์สุขปกป้องผองภัยต่างๆ แก่ตนนั้นเป็นความดีจริงแล้วสนองตอบพระคุณของพระองค์ด้วยการแสดงความจงรัก ภักดี หรือการประพฤติตนเป็นพลเมืองดี รู้รักสามัคคี เป็นต้น

"พุทธบริษัท" พึงแสดงกตัญญูกตเวทีต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยสำนึกว่าพระพุทธองค์ทรงมีพระกรุณาคุณต่อมวลมนุษย์และสรรพสัตว์จริง และยอมรับด้วยใจว่าการที่พระองค์ทรงสั่งสอนหลักธรรมที่ตรัสรู้นั้นเป็นความ ดีอันยิ่งใหญ่ แล้วสนองตอบพระคุณด้วยการน้อมนำหลักพุทธธรรมไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันให้ เกิดประโยชน์สูงสุด

ผู้มีปัญญาควรทำอุปการะแก่ผู้อื่น ในขณะเดียวกันก็ระลึกถึงอุปการะของท่าน และทำตอบแทนสนองคุณท่านตามหน้าที่ดังกล่าวมา จัดว่าเป็นคนดีที่หาได้ยากในพระพุทธศาสนา

อานิสงส์ของความกตัญญูกตเวทีมีหลายประการ คือจัดว่าเป็นคนดีเป็นที่ยกย่องสรรเสริญของนักปราชญ์ เป็นเหตุให้ได้มนุษยสมบัติ สวรรคสมบัติ นิพพานสมบัติ มุ่งไปสู่มหากุศลตามลำดับ เป็นผู้ไม่ประมาท มีแก่นธรรมประจำใจ ได้รับประโยชน์ทั้งรักษาพระพุทธศาสนาไว้ได้ ชื่อว่าเจริญรอยตามนักปราชญ์ มีที่พึ่งอันประเสริฐ เลิศด้วยคุณธรรมคือ ศีล สมาธิ ปัญญา
บันทึกการเข้า

หาเงินวันละ350บาท มั่นคง จ่ายมาสิบปีแล้ว
หารายได้กับ popup เจ้านี้ เรทแรงคลิ๊ก
Hosting อันดับ 1 คุณภาพสูง ราคาถูก จัดเลย
โดเมนเนมสวยๆ ราคาถูก จดกับเราสิที่นี่
Juhmoo
ก๊วนเสียว
*

พลังน้ำใจ: 12
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 338



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: 27 กันยายน 2010, 12:07:46 »

โอ้วว..ยาวเลย  ขอบคุณมากครับ
บันทึกการเข้า

darkknightza
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
*

พลังน้ำใจ: 167
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,245



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 27 กันยายน 2010, 12:43:57 »

ประพฤติชอบทางกาย มี 3 อย่างคือ
เว้นจากฆ่าสัตว์
เว้นจากลักทรัพย์
เว้นจากประพฤติผิดในกาม
บันทึกการเข้า

หาเงินวันละ350บาท มั่นคง จ่ายมาสิบปีแล้ว
หารายได้กับ popup เจ้านี้ เรทแรงคลิ๊ก
Hosting อันดับ 1 คุณภาพสูง ราคาถูก จัดเลย
โดเมนเนมสวยๆ ราคาถูก จดกับเราสิที่นี่
darkknightza
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
*

พลังน้ำใจ: 167
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,245



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 27 กันยายน 2010, 21:22:03 »

วจีสุจริต
เว้นจากการ พูดเท็จ
เว้นจากการ พูดส่อเสียด
เว้นจากการ พูดคำหยาบ
เว้นจากการ พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล

มโนสุจริต 3
1.ไม่โลภอยากได้ของเขา
2.ไม่พยาบาทปองร้ายเขา
3.เห็นชอบตามคลองธรรม
บันทึกการเข้า

หาเงินวันละ350บาท มั่นคง จ่ายมาสิบปีแล้ว
หารายได้กับ popup เจ้านี้ เรทแรงคลิ๊ก
Hosting อันดับ 1 คุณภาพสูง ราคาถูก จัดเลย
โดเมนเนมสวยๆ ราคาถูก จดกับเราสิที่นี่
เก๋าลัดคุง
Verified Seller
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
*

พลังน้ำใจ: 196
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,906



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 27 กันยายน 2010, 21:23:23 »

 wanwan017
บันทึกการเข้า

darkknightza
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
*

พลังน้ำใจ: 167
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,245



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 28 กันยายน 2010, 12:51:40 »

อกุศลมูล 3 (อกุศล=ความไม่ฉลาด, มูล=รากเหง้า)แปลตามตัวอักษรว่า รากเหง้าของความไม่ฉลาด หมายถึง รางเหง้าหรือต้นตอของความชั่วทั้ง
ปวง เมื่อกำเริบจะแสดงออกมาเป็นทุจริตทางกาย วาจา ใจ รวมเป็นเหตุให้เกิดกิเลส มี ๓ ประการ คือ
1.โลภะ ความอยากได้ โลภะ คือ ความอยากได้ของคนอื่นมาเป็นของตน อยากให้ตนมีเหมือนคนอื่น หรือมีมากกว่าผู้อื่น ความอยากมีหลายรูป
แบบ ซึ่งจะก่อให้เกิดรากเหง้าของความชั่วทั้งปวง เช่น อิจฉา ความอยาก ปาปิจฉา ความอยากอย่างชั่วช้าลามก มหิจฉา ความอยากรุนแรง อภิชฌาวิสมโลภะ
ความอยากได้ถึงขั้นเพ่งเล็ง ความอยากจะเกิดมากขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความชั่วในตัวเอง วิธีแก้ไขความอยากคือการใช้สติ ระลึกรู้ในตน
2.โทสะ ความคิดประทุษร้าย โทสะ คือ ความคิดประทุษร้าย ได้แก่ การอยากฆ่า การอยากทำลายผู้อื่นๆ ความคิดประทุษร้ายเป็นรากเหง้าให้เกิด
กิเลส ได้หลายอย่าง เช่น ปฏิฆะ ความหงุดหงิด โกธะ ความโกรธ อุปนาหะ ความผูกโกรธ พยาบาท ความคิดปองร้าย ถ้าปล่อยให้มีโทสะมาก ผู้นั้นจะเป็นคนชั่ว คน
พาล และเป็นภัยต่อสังคม วิธีแก้ไขโทสะ คือการใช้สติระงับตน และฝึกตนให้เป็นผู้มีอโทสะ
3.โมหะ ความหลงไม่รู้จริง โมหะ คือ ความหลงไม่รู้จริง ได้แก่ ความไม่รู้ไม่เข้าใจ ความมัวเมา ความประมาท เป้นรากเหว้าให้เกิดกิเลสได้ต่างๆ
มาก มาย เช่น มักขะ ลบหลู่คุณท่าน ปลาสะ ตีเสมอ มานะ ถือตัว มทะ มัวเมา ปมาทะ เลินเล่อ โมหะทำให้ขาดสติ ไม่รู้ผิดชอบร้ายแรงกว่าโลภะ และโทสะ รวมทั้ง
ส่งเสริมให้โลภะและโทสะมีกำลังมากขึ้นยิ่งด้วย วิธีที่จะทำให้โมหะลดลงนั้นจะต้องปฏิบัติตนเป็นผู้ที่มี อโมหะ ความไม่หลงงมงาย


กุศลมูล 3
กุศลมูล 3 หมายถึง รากเหง้าหรือต้นตอของความดีทั้งปวง ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ตรงกันข้ามกับ อกุศลมูล มี ๓ ประการดังนี้
1.อโลภะ ความไม่อยากได้ อโลภะ คือ ความเป็นผู้ไม่มีความทะยานอยาก เป้นผู้ที่มีสติระลึกรู้ตัวอยู่เสมอไม่ว่าจะกระทำสิ่งใดๆ มีแต่ความยินดี
และ พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่เท่านั้น การปฏิบัติตนเป็นผู้มีอโลภะนั้น จะต้องปฏิบัติธรรมที่ตรงกันข้ามกับโลภะ เช่น สันโดษ ความพอใจ ทาน การบริจาค จาคะ การเสีย
สละ อนภิชฌา ความไม่โลภไม่อยากได้ของผู้อื่น เป็นต้น
2.อโทสะ ความไม่คิดประทุษร้าย อโทสะ คือ คสามไม่คิดประทุษร้าย ไม่โกรธ ไม่ผูกพยาบาท จะทำอะไรก็มีสติรู้สึกตัวอยู่เสมอใช้ปัญญาในการ
ประกอบ การตัดสินใจต่างๆ การปฏิบัติตนเป็นผู้มีอโทสะนั้น จะต้องปฏิบัติธรรมที่ตรงกันข้ามกับโทสะ เช่น เมตตา ความปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข กรุณา ความ
สงสาร อโกธะ ความไม่โกรธ อพยาบาท ความไม่ปองร้ายผู้อื่น อวิหิงสา ความไม่เบียดเบียน ตีติกขาขันติ ความอดทนต่อความเจ็บใจ เป็นต้น
3.อโมหะ ความไม่หลง อโมหะ คือ ความไม่หลงงมงาย ไม่ประมาทอันเป็นสาเหตุให้เกิดความชั่วทั้งปวง ให้เป็นผู้มีสติปัญญามั่นคงใช้ปัญญา
พิจารณา ไตร่ตรองโดยยึดหลักเหตุผล เมื่อมีอโมหะเกิดขึ้นกับตัวแล้ว โลภะ โทสะ และโมหะ ก็มิอาจเกิดขึ้นได้ การปฏิบัติตนเป็นผู้มีอโทสะนั้น จะต้องปฏิบัติ
ธรรม ที่ตรงกันข้ามกับโทสะ เช่น พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ศึกษารับฟังมาก วิมังสา หมั่นตรึกตรองพิจารณา สัทธา เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ โยนิโสมนสิการ การรู้
จักตรึดตรองให้รู้จักดีชั่ว ปัญญา รอบรู้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ เป็นต้น
บันทึกการเข้า

หาเงินวันละ350บาท มั่นคง จ่ายมาสิบปีแล้ว
หารายได้กับ popup เจ้านี้ เรทแรงคลิ๊ก
Hosting อันดับ 1 คุณภาพสูง ราคาถูก จัดเลย
โดเมนเนมสวยๆ ราคาถูก จดกับเราสิที่นี่
darkknightza
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
*

พลังน้ำใจ: 167
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,245



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #7 เมื่อ: 28 กันยายน 2010, 21:27:47 »

อปัณณกปฏิปทา 3 (ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด, ปฏิปทาที่เป็นส่วนแก่นสารเนื้อแท้ ซึ่งจะนำผู้ปฏิบัติให้ถึงความเจริญงอกงามในธรรม เป็นผู้ดำเนินอยู่ในแนวทางแห่งความปลอดพ้นจากทุกข์อย่างแน่นอนไม่ผิดพลาด
       1. อินทรียสังวร (การสำรวมอินทรีย์ คือระวังไม่ให้บาปอกุศลธรรมครอบงำใจ เมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง 6
       2. โภชเน มัตตัญญุตา (ความรู้จักประมาณในการบริโภค คือรู้จักพิจารณารับประทานอาหารเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายใช้ทำกิจให้ชีวิต ผาสุก มิใช่เพื่อสนุกสนาน มัวเมา)
       3. ชาคริยานุโยค (การหมั่นประกอบความตื่น ไม่เห็นแก่นอน คือ ขยันหมั่นเพียรตื่นตัวอยู่เป็นนิตย์ ชำระจิตมิให้มีนิวรณ์ พร้อมเสมอทุกเวลาที่จะปฏิบัติกิจให้ก้าวหน้าต่อไป)
บันทึกการเข้า

หาเงินวันละ350บาท มั่นคง จ่ายมาสิบปีแล้ว
หารายได้กับ popup เจ้านี้ เรทแรงคลิ๊ก
Hosting อันดับ 1 คุณภาพสูง ราคาถูก จัดเลย
โดเมนเนมสวยๆ ราคาถูก จดกับเราสิที่นี่
Keiku
หัวหน้าแก๊งเสียว
*

พลังน้ำใจ: 114
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,782



ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 28 กันยายน 2010, 22:14:21 »

 wanwan017
บันทึกการเข้า

ต้องการงานบทความดีมีคุณภาพ
ต้องการงานบทความแบบเร่งด่วน
ต้องการบริการทุกระดับประทับใจ
ตอบโจทย์ทุกข้อขอแค่ PM หาเรา!!!
maxmail
หัวหน้าแก๊งเสียว
*

พลังน้ำใจ: 62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,525



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 28 กันยายน 2010, 22:21:22 »

 wanwan017 wanwan017 wanwan017
บันทึกการเข้า

thammaonline
ก๊วนเสียว
*

พลังน้ำใจ: 24
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 237



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 28 กันยายน 2010, 23:01:06 »

มงคลชีวิต 38 ประการ

มงคลที่ 1.ไม่คบคนพาล
อย่าคบมิตร ที่พาล สันดานชั่ว
จะพาตัว เน่าดิบ จนฉิบหาย
แม้ความคิด ชั่วช้า อย่ากล้ำกราย
เป็นมิตรร้าย ภายใน ทุกข์ใจครัน

มงคลที่ 2.การคบบัณฑิต
ควรคบหา บัณฑิต เป็นมิตรไว้
จะช่วยให้ พ้นทุกข์ สบสุขสันต์
ความคิดดี เลิศล้ำ ยิ่งสำคัญ
ควรคบกัน อย่าเขว ทุกเวลา

มงคลที่ 3.การบูชาบุคคลที่ควรบูชา
ควรบูชา ไตรรัตน์ ขัตติเยศร์
ผู้วิเศษ ก่อเกื้อ เหนือเกศา
ครูอาจารย์ เจดีย์ ที่สักการ์
ด้วยบุปผา ปฏิบัติ สวัสดิ์การ

มงคลที่ 4.การอยู่ในถิ่นอันสมควร
เป็นเมืองกรุง ทุ่งนา หรือป่าใหญ่
ทางมา-ไป ครบครัน ธัญญาหาร
มีคนดี ที่ศึกษา พยาบาล
ปลอดภัยพาล ควรอยู่กิน ถิ่นนั้นแล

มงคลที่ 5.เคยทำบุญมาก่อน
กุศลบุญ คุณล้ำ เคยทำไว้
จะส่งให้ สวยเด่น เช่นดวงแข
ทั้งทรัพย์ยศ ไมตรี มีเย็นแด
เพราะกระแส บุญเลิศ ประเสริฐนัก

มงคลที่ 6 การตั้งตนชอบ
ต้องตั้งตน กายใจ ในทางถูก
เร่งฝังปลูก ตนไว้ ให้ถูกหลัก
เมื่อตัวตน ยังมี เป็นที่รัก
ควรพิทักษ์ ให้งาม ตามเวลา

มงคลที่ 7 ความเป็นพหูสูต
การสนใจ ใฝ่คว้า หาความรู้
ให้เป็นผู้ แก่เรียน เพียรศึกษา
มีศีลดี สติมั่น เกิดปัญญา
ย่อมนำพา ตัวรอด เป็นยอดดี

มงคลที่ 8 การรอบรู้ในศิลปะ
ศิลปะ ต่างอย่าง ทางอาชีพ
ควรเร่งรีบ เรียนรู้ ชูศักดิ์ศรี
มีบางคน จนอับ กลับมั่งมี
ฉลาดดี มีศิลป์ หากินพอ

มงคลที่ 9 มีวินัยที่ดี
อันวินัย นำระเบียบ สู่เรียบร้อย
คนใหญ่น้อย เปรมปรีดิ์ ดีนักหนา
วินัยสร้าง กระจ่างข้อ ก่อศรัทธา
เพราะรักษา กติกา พาร่วมมือ

ไม่พูดเท็จ พูดสอดเสียด และพูดมาก
ละความยาก สร้างวิบาก ฝากยึดถือ
คนหมู่มาก มักถางถาก ปากข่าวลือ
ต้องสัตย์ซื่อ ถือวินัย ใช้ร่วมกัน

มงคลที่ 10 กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต
เปล่งวจี สัจจะ นวลละม่อม
กล่าวเลลี้ยกล่อม ไพเราะ กาลเหมาะสม
เจือประโยชน์ เมตตา ค่านิยม
รื่นอารมณ์ ผู้ฟัง ดังเสียงทอง

มงคลที่ 11 การบำรุงบิดามารดา
คนที่หา ได้ยาก มากไฉน
เพราะว่าใน โลกนี้ มีเพียงสอง
คือพ่อแม่ เกิดเกล้า เหล่าลูกต้อง
ตอบสนอง พระคุณ ได้บุญแรง

มงคลที่ 12 การสงเคราะห์บุตร
เป็นมารดา บิดา ทำหน้าที่
ให้บุตรมี พำนัก เป็นหลักแหล่ง
ส่งเสริมบุตร ธิดาตน กุศลแรง
ย่อมส่องแสง เพิ่มพูน ตระกูลวงศ์

มงคลที่ 13.การสงเคราะห์ภรรยา
มีคู่ครอง ต้องไม่ทำ ให้ช้ำจิต
จะพาผิด ไปข้าง ทงผุยผง
ต้องสงเคราะห์ แก่กัน ให้มั่นคง
รักยืนยง ด้วยกัน ถึงวันตาย

มงคลที่ 14.ทำงานไม่คั่งค้าง
จะทำงาน การใด ตั้งใจมั่น
อย่าผัดวัน ทำเล่น เช้า เย็น สาย
ไม่ทิ้งคา อากูล มากมูลมาย
เร่งคลี่คลาย ให้เสร็จ สำเร็จการ

มงคลที่ 15.การให้ทาน
ควรบำเพ็ญ ซึ่งทาน คือการให้
ท่านว่าไว้ สวยงาม สามสถาน
หนึ่งให้ของ สองธรรมะ ขนะมาร
อภัยทาน ที่สาม งามเหลือเกิน

มงคลที่ 16.การประพฤติธรรม
การประพฤติ ตามธรรม คำพระสอน
ไม่เดือดร้อน ถอนทุกข์ ยามฉุกเฉิน
คนรักธรรม ธรรมรักษ์คน ผลเจริญ
นั่ง,ยืน,เดิน นอน,สุข ทุกข์ไม่มี

มงคลที่ 17.การสงเคราะห์ญาติ
เมื่อยามญาติ อัตคัด เกินขัดข้อง
ควรหาช่อง สงเคราะห์ ไม่เลาะหนี
เขาซาบซึ้ง ถึงคุณ อบอุ่นดี
หากถึงที เราจน ญาติสนใจ

มงคลที่ 18 ทำงานไม่มีโทษ
งานรับจ้าง ล้างชาม ก็ตามเถิด
หากไม่เกิด โทษทัณฑ์ นั่นสดใส
เมื่อได้ช่อง ต้องจำ กระทำไป
ได้กำไร ทุกทาง ไม่ว่างงาน

มงคลที่ 19 ละเว้นจากบาป
กรรมชั่วช้า ลามก ต้องยกเว้น
หากขืนเล่น ด้วยกัน ถูกมันผลาญ
งดเว้นบาป กำราบให้ ไกลสันดาน
ในดวงมาลย์ ไม่ร้อน และอ่อนเพลีย

มงคลที่ 20 สำรวมจากการดื่มน้ำเม
ของมึนเมา ทุกชนิด พิษคล้ายเหล้า
ใครเสพเข้า น่าตำหนิ สติเสีย
เกิดโรคร้าย แรงร้อน กายอ่อนเพลีย
ใครงดเสีย เป็นสุข ไปทุกวัน

มงคลที่ 21 ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย
ไม่ประมาท คือมี สติพร้อม
คอยหน่วงน้อม ธรรมคุณ ไม่ผลุนผลัน
ธรรมอันใด ไม่ดี หลีกหนีพลัน
ธรรมดีนั้น ยึดแน่น ไม่แคลนคลอน

มงคลที่ 22 มีความเคารพ
ความเคารพ นับถือ คือเสน่ห์
ไม่โลเล เหมือนลิง วิ่งหลอกหลอน
ทั้งต่อหน้า ลับหลัง พึงสังวร
ย่อมงามงอน สวยสง่า ราคาแพง

มงคลที่ 23 มีความถ่อมตน
ไม่พองลม ก้มหัว เจียมตัวด้วย
มรรยาทสวย นิ่มนวล สิ้นส่วนแข็ง
เหมือนงูพิษ ถอดเขี้ยว หมดเรี่ยวแรง
ยามแถลง นอบน้อม พร้อมใจกาย

มงคลที่ 24 มีความสันโดษ
ความสันโดษ พอใจ ในสิ่งของ
เช่นเงินทอง ของตน แม้ล้นหลาย
เมื่อมีน้อย จ่ายน้อย ค่อยสบาย
ความจนหาย เลยลับ กลับมั่งมี

มงคลที่ 25 มีความกตัญญู
กตัญญู รู้บุญ คุณพ่อแม่
คนเฒ่าแก่ แลอาจารย์ ท่านทรงศีล
จอมมุนินทร์ ปิ่นเกล้า เจ้าธานี
หาวิธี แทนคุณ สมดุลกัน

มงคลที่ 26 การฟังธรรมตามกาล
การฟังธรรม ตามกาล ผ่านมาถึง
ควรคำนึง นิ่งนั่ง ฟังขยัน
ย่อมจะเกิด ปัญญา สารพัน
ตั้งใจมั่น ฟังดี นี่สมควร

มงคลที่ 27 มีความอดทน
ความอดทน ตรากตรำ ยามลำบาก
เจ็บไข้มาก ทนได้ ไม่โหยหวน
ถูกเขาด่า ให้ฟัง นั่งหน้านวล
ยิ้มเสสรวล ด้วยขันติ งามวิไล

มงคลที่ 28 เป็นผู้ว่าง่าย
ควรเป็นคน สอนง่าย ไม่ตายด้าน
ก่อรำคาญ ค่ำเช้า ไม่เข้าไหน
ไม่ซัดโทษ ของตน ให้คนใด
เมื่อมีใคร สอนพร่ำ ให้นำมา

มงคลที่ 29 การได้เห็นสมณะ
การพบเห็น สมณะ ผู้สงบ
แล้วนอบนบ ถามไถ่ ไตรสิกขา
หมั่นฝึกหัด ทุกวัน ด้วยปัญญา
ย่อมชักพา จิตตรง มงคลมี

มงคลที่ 30 การสนทนาธรรมตามกาล
ยามหดหู่ ฟุ้งซ่าน กาลสงสัย
เป็นสมัย ไต่ถาม ตามเหตุผล
เพื่อบรรเทา คลี่คลาย หายกังวล
ควรจะสน- ทนาธรรม ตามที่ควร

มงคลที่ 31 การบำเพ็ญตบะ
พึงบำเพ็ญ ตบะ ละกิเลส
อันเป็นเหตุ หักห้าม กามฉันท์
มุ่งทำลาย ถ่ายบาป สาบสูญพันธุ์
เข้าสู่ขั้น สุโข ฌาณโกลีย์

มงคลที่ 32 การประพฤติพรหมจรรย์
เร่งประพฤติ พรหมจรรย์ อันประเสริฐ์
เพื่อให้เกิด สุขล้วน โดยถ้วนถี่
ตั้งแต่ทาน ถึงสิกขา บรรดามี
สมบูรณ์ดี พรหมจรรย์ ย่อมมั่นคล

มงคลที่ 33 การเห็นอริยสัจ
การรู้เห็น ความจริง สิ่งเที่ยงแท้
ไม่ผันแปร สี่ชนิด ไม่ผิดหลง
ตัดตัณหา มูลราก พรากทุกข์ลง
เป็นการส่ง ข้ามฟาก จากสาคร

มงคลที่ 34 การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
ทำให้แจ้ง นิพพาน ผลาญสังโยชน์
ตรวจตราโทษ ธาตุ ขันธ์ หมั่นฝึกถอน
เอาอรหัต มรรคญาณ เผาราญรอน
ดับทุกข์ร้อน นิพพาน สำราญนัก

มงคลที่ 35 การมีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
ท่านผู้ใด ใจดำรง อยู่คงที่
ในเมื่อมี โลกธรรม ครอบงำหนัก
เช่น ลาภ ยศ สุข เศร้า เข้าง้างชัก
มิอาจยัก โยกท่าน ให้หวั่นใจ

มงคลที่ 36 การมีจิตไม่โศกเศร้า
คราวพลักพราก จากญาติ ขาดชีวิต
ถูกพิชิต จองจำ ทำโทษใหญ่
มีสติ คุมจิต เป็นนิตย์ไป
ไม่เสียใจ โศกเศร้า เฝ้าประคอง

มงคลที่ 37 มีจิตปราศจากกิเลส
หมดราคะ โทสะ โมหะแล้ว
จิตผ่องแผ้ว เลิศดี ไม่มีสอง
ย่อมมีค่า สูงจริง ยิ่งเงินทอง
เหมือนสูริย์ส่อง ท้องฟ้า สง่างาม

มงคลที่ 38 มีจิตเกษม
จิตเกษม เปรมปรีดิ์ ดีตลอด
เป็นจิตปลอด จากโอฆ ในโลกสาม
เครื่องผูกมัด สลัดหมด แสนงดงาม
เข้าถึงความ สุขสันต์ นิรันดร
บันทึกการเข้า

darkknightza
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
*

พลังน้ำใจ: 167
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,245



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 28 กันยายน 2010, 23:19:53 »

มงคลชีวิต 38 ประการ

มงคลที่ 1.ไม่คบคนพาล
อย่าคบมิตร ที่พาล สันดานชั่ว
จะพาตัว เน่าดิบ จนฉิบหาย
แม้ความคิด ชั่วช้า อย่ากล้ำกราย
เป็นมิตรร้าย ภายใน ทุกข์ใจครัน

มงคลที่ 2.การคบบัณฑิต
ควรคบหา บัณฑิต เป็นมิตรไว้
จะช่วยให้ พ้นทุกข์ สบสุขสันต์
ความคิดดี เลิศล้ำ ยิ่งสำคัญ
ควรคบกัน อย่าเขว ทุกเวลา

มงคลที่ 3.การบูชาบุคคลที่ควรบูชา
ควรบูชา ไตรรัตน์ ขัตติเยศร์
ผู้วิเศษ ก่อเกื้อ เหนือเกศา
ครูอาจารย์ เจดีย์ ที่สักการ์
ด้วยบุปผา ปฏิบัติ สวัสดิ์การ

มงคลที่ 4.การอยู่ในถิ่นอันสมควร
เป็นเมืองกรุง ทุ่งนา หรือป่าใหญ่
ทางมา-ไป ครบครัน ธัญญาหาร
มีคนดี ที่ศึกษา พยาบาล
ปลอดภัยพาล ควรอยู่กิน ถิ่นนั้นแล

มงคลที่ 5.เคยทำบุญมาก่อน
กุศลบุญ คุณล้ำ เคยทำไว้
จะส่งให้ สวยเด่น เช่นดวงแข
ทั้งทรัพย์ยศ ไมตรี มีเย็นแด
เพราะกระแส บุญเลิศ ประเสริฐนัก

มงคลที่ 6 การตั้งตนชอบ
ต้องตั้งตน กายใจ ในทางถูก
เร่งฝังปลูก ตนไว้ ให้ถูกหลัก
เมื่อตัวตน ยังมี เป็นที่รัก
ควรพิทักษ์ ให้งาม ตามเวลา

มงคลที่ 7 ความเป็นพหูสูต
การสนใจ ใฝ่คว้า หาความรู้
ให้เป็นผู้ แก่เรียน เพียรศึกษา
มีศีลดี สติมั่น เกิดปัญญา
ย่อมนำพา ตัวรอด เป็นยอดดี

มงคลที่ 8 การรอบรู้ในศิลปะ
ศิลปะ ต่างอย่าง ทางอาชีพ
ควรเร่งรีบ เรียนรู้ ชูศักดิ์ศรี
มีบางคน จนอับ กลับมั่งมี
ฉลาดดี มีศิลป์ หากินพอ

มงคลที่ 9 มีวินัยที่ดี
อันวินัย นำระเบียบ สู่เรียบร้อย
คนใหญ่น้อย เปรมปรีดิ์ ดีนักหนา
วินัยสร้าง กระจ่างข้อ ก่อศรัทธา
เพราะรักษา กติกา พาร่วมมือ

ไม่พูดเท็จ พูดสอดเสียด และพูดมาก
ละความยาก สร้างวิบาก ฝากยึดถือ
คนหมู่มาก มักถางถาก ปากข่าวลือ
ต้องสัตย์ซื่อ ถือวินัย ใช้ร่วมกัน

มงคลที่ 10 กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต
เปล่งวจี สัจจะ นวลละม่อม
กล่าวเลลี้ยกล่อม ไพเราะ กาลเหมาะสม
เจือประโยชน์ เมตตา ค่านิยม
รื่นอารมณ์ ผู้ฟัง ดังเสียงทอง

มงคลที่ 11 การบำรุงบิดามารดา
คนที่หา ได้ยาก มากไฉน
เพราะว่าใน โลกนี้ มีเพียงสอง
คือพ่อแม่ เกิดเกล้า เหล่าลูกต้อง
ตอบสนอง พระคุณ ได้บุญแรง

มงคลที่ 12 การสงเคราะห์บุตร
เป็นมารดา บิดา ทำหน้าที่
ให้บุตรมี พำนัก เป็นหลักแหล่ง
ส่งเสริมบุตร ธิดาตน กุศลแรง
ย่อมส่องแสง เพิ่มพูน ตระกูลวงศ์

มงคลที่ 13.การสงเคราะห์ภรรยา
มีคู่ครอง ต้องไม่ทำ ให้ช้ำจิต
จะพาผิด ไปข้าง ทงผุยผง
ต้องสงเคราะห์ แก่กัน ให้มั่นคง
รักยืนยง ด้วยกัน ถึงวันตาย

มงคลที่ 14.ทำงานไม่คั่งค้าง
จะทำงาน การใด ตั้งใจมั่น
อย่าผัดวัน ทำเล่น เช้า เย็น สาย
ไม่ทิ้งคา อาผมล มากมูลมาย
เร่งคลี่คลาย ให้เสร็จ สำเร็จการ

มงคลที่ 15.การให้ทาน
ควรบำเพ็ญ ซึ่งทาน คือการให้
ท่านว่าไว้ สวยงาม สามสถาน
หนึ่งให้ของ สองธรรมะ ขนะมาร
อภัยทาน ที่สาม งามเหลือเกิน

มงคลที่ 16.การประพฤติธรรม
การประพฤติ ตามธรรม คำพระสอน
ไม่เดือดร้อน ถอนทุกข์ ยามฉุกเฉิน
คนรักธรรม ธรรมรักษ์คน ผลเจริญ
นั่ง,ยืน,เดิน นอน,สุข ทุกข์ไม่มี

มงคลที่ 17.การสงเคราะห์ญาติ
เมื่อยามญาติ อัตคัด เกินขัดข้อง
ควรหาช่อง สงเคราะห์ ไม่เลาะหนี
เขาซาบซึ้ง ถึงคุณ อบอุ่นดี
หากถึงที เราจน ญาติสนใจ

มงคลที่ 18 ทำงานไม่มีโทษ
งานรับจ้าง ล้างชาม ก็ตามเถิด
หากไม่เกิด โทษทัณฑ์ นั่นสดใส
เมื่อได้ช่อง ต้องจำ กระทำไป
ได้กำไร ทุกทาง ไม่ว่างงาน

มงคลที่ 19 ละเว้นจากบาป
กรรมชั่วช้า ลามก ต้องยกเว้น
หากขืนเล่น ด้วยกัน ถูกมันผลาญ
งดเว้นบาป กำราบให้ ไกลสันดาน
ในดวงมาลย์ ไม่ร้อน และอ่อนเพลีย

มงคลที่ 20 สำรวมจากการดื่มน้ำเม
ของมึนเมา ทุกชนิด พิษคล้ายเหล้า
ใครเสพเข้า น่าตำหนิ สติเสีย
เกิดโรคร้าย แรงร้อน กายอ่อนเพลีย
ใครงดเสีย เป็นสุข ไปทุกวัน

มงคลที่ 21 ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย
ไม่ประมาท คือมี สติพร้อม
คอยหน่วงน้อม ธรรมคุณ ไม่ผลุนผลัน
ธรรมอันใด ไม่ดี หลีกหนีพลัน
ธรรมดีนั้น ยึดแน่น ไม่แคลนคลอน

มงคลที่ 22 มีความเคารพ
ความเคารพ นับถือ คือเสน่ห์
ไม่โลเล เหมือนลิง วิ่งหลอกหลอน
ทั้งต่อหน้า ลับหลัง พึงสังวร
ย่อมงามงอน สวยสง่า ราคาแพง

มงคลที่ 23 มีความถ่อมตน
ไม่พองลม ก้มหัว เจียมตัวด้วย
มรรยาทสวย นิ่มนวล สิ้นส่วนแข็ง
เหมือนงูพิษ ถอดเขี้ยว หมดเรี่ยวแรง
ยามแถลง นอบน้อม พร้อมใจกาย

มงคลที่ 24 มีความสันโดษ
ความสันโดษ พอใจ ในสิ่งของ
เช่นเงินทอง ของตน แม้ล้นหลาย
เมื่อมีน้อย จ่ายน้อย ค่อยสบาย
ความจนหาย เลยลับ กลับมั่งมี

มงคลที่ 25 มีความกตัญญู
กตัญญู รู้บุญ คุณพ่อแม่
คนเฒ่าแก่ แลอาจารย์ ท่านทรงศีล
จอมมุนินทร์ ปิ่นเกล้า เจ้าธานี
หาวิธี แทนคุณ สมดุลกัน

มงคลที่ 26 การฟังธรรมตามกาล
การฟังธรรม ตามกาล ผ่านมาถึง
ควรคำนึง นิ่งนั่ง ฟังขยัน
ย่อมจะเกิด ปัญญา สารพัน
ตั้งใจมั่น ฟังดี นี่สมควร

มงคลที่ 27 มีความอดทน
ความอดทน ตรากตรำ ยามลำบาก
เจ็บไข้มาก ทนได้ ไม่โหยหวน
ถูกเขาด่า ให้ฟัง นั่งหน้านวล
ยิ้มเสสรวล ด้วยขันติ งามวิไล

มงคลที่ 28 เป็นผู้ว่าง่าย
ควรเป็นคน สอนง่าย ไม่ตายด้าน
ก่อรำคาญ ค่ำเช้า ไม่เข้าไหน
ไม่ซัดโทษ ของตน ให้คนใด
เมื่อมีใคร สอนพร่ำ ให้นำมา

มงคลที่ 29 การได้เห็นสมณะ
การพบเห็น สมณะ ผู้สงบ
แล้วนอบนบ ถามไถ่ ไตรสิกขา
หมั่นฝึกหัด ทุกวัน ด้วยปัญญา
ย่อมชักพา จิตตรง มงคลมี

มงคลที่ 30 การสนทนาธรรมตามกาล
ยามหดหู่ ฟุ้งซ่าน กาลสงสัย
เป็นสมัย ไต่ถาม ตามเหตุผล
เพื่อบรรเทา คลี่คลาย หายกังวล
ควรจะสน- ทนาธรรม ตามที่ควร

มงคลที่ 31 การบำเพ็ญตบะ
พึงบำเพ็ญ ตบะ ละกิเลส
อันเป็นเหตุ หักห้าม กามฉันท์
มุ่งทำลาย ถ่ายบาป สาบสูญพันธุ์
เข้าสู่ขั้น สุโข ฌาณโกลีย์

มงคลที่ 32 การประพฤติพรหมจรรย์
เร่งประพฤติ พรหมจรรย์ อันประเสริฐ์
เพื่อให้เกิด สุขล้วน โดยถ้วนถี่
ตั้งแต่ทาน ถึงสิกขา บรรดามี
สมบูรณ์ดี พรหมจรรย์ ย่อมมั่นคล

มงคลที่ 33 การเห็นอริยสัจ
การรู้เห็น ความจริง สิ่งเที่ยงแท้
ไม่ผันแปร สี่ชนิด ไม่ผิดหลง
ตัดตัณหา มูลราก พรากทุกข์ลง
เป็นการส่ง ข้ามฟาก จากสาคร

มงคลที่ 34 การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
ทำให้แจ้ง นิพพาน ผลาญสังโยชน์
ตรวจตราโทษ ธาตุ ขันธ์ หมั่นฝึกถอน
เอาอรหัต มรรคญาณ เผาราญรอน
ดับทุกข์ร้อน นิพพาน สำราญนัก

มงคลที่ 35 การมีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
ท่านผู้ใด ใจดำรง อยู่คงที่
ในเมื่อมี โลกธรรม ครอบงำหนัก
เช่น ลาภ ยศ สุข เศร้า เข้าง้างชัก
มิอาจยัก โยกท่าน ให้หวั่นใจ

มงคลที่ 36 การมีจิตไม่โศกเศร้า
คราวพลักพราก จากญาติ ขาดชีวิต
ถูกพิชิต จองจำ ทำโทษใหญ่
มีสติ คุมจิต เป็นนิตย์ไป
ไม่เสียใจ โศกเศร้า เฝ้าประคอง

มงคลที่ 37 มีจิตปราศจากกิเลส
หมดราคะ โทสะ โมหะแล้ว
จิตผ่องแผ้ว เลิศดี ไม่มีสอง
ย่อมมีค่า สูงจริง ยิ่งเงินทอง
เหมือนสูริย์ส่อง ท้องฟ้า สง่างาม

มงคลที่ 38 มีจิตเกษม
จิตเกษม เปรมปรีดิ์ ดีตลอด
เป็นจิตปลอด จากโอฆ ในโลกสาม
เครื่องผูกมัด สลัดหมด แสนงดงาม
เข้าถึงความ สุขสันต์ นิรันดร

ขอบคุณครับ ช่วยๆกันเผยแพร่นะครับ
บันทึกการเข้า

หาเงินวันละ350บาท มั่นคง จ่ายมาสิบปีแล้ว
หารายได้กับ popup เจ้านี้ เรทแรงคลิ๊ก
Hosting อันดับ 1 คุณภาพสูง ราคาถูก จัดเลย
โดเมนเนมสวยๆ ราคาถูก จดกับเราสิที่นี่
thammaonline
ก๊วนเสียว
*

พลังน้ำใจ: 24
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 237



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 28 กันยายน 2010, 23:33:11 »

ทุกข์เพราะ...

คนทุกคนในโลกนี้ ไม่ใช่ทุกข์เพราะเสือกิน ไม่ใช่ทุกข์เพราะ
งูร้ายกัด ไม่ใช่ทุกข์เพราะช้างฆ่า .....

แต่ทุกข์เพราะความโลภ ความโกรธ ความหลงของตน...
จะทุกข์เพราะสิ่งใดๆ ก็ตามตัวความโลภ ความโกรธ ความหลง
นี่แหละเป็นผู้ฆ่า

ความโลภ..
ความโกรธ..
ความหลง..

3 สิ่งนี้ร้ายกาจกว่าสิ่งอะไรทั้งหมด...
ร้ายกว่าผีร้าย ร้ายกว่าเสือร้าย ร้ายกว่างูร้าย...
ไม่มีสิ่งไหนจะร้ายกว่าตัวความโลภ ความโกรธ ความหลง...

เพราะฉะนั้น..ให้ระวังที่สุดในเรื่องของความโลภ ความโกรธ ความหลง
3 ประการนี้มันสามารถทำให้ผู้รู้แจ้งเป็นคนมืดก็ได้...
ฤทธิ์ของมันน่ะ มันอยู่เหนือทุกคนในโลกที่ได้เกิดมาในโลกนี้
ยกเว้นเสียแต่..."พระอรหันต์"...ฯ

~ธรรมโอวาทหลวงปู่คำดี~
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 กันยายน 2010, 23:35:09 โดย thammaonline » บันทึกการเข้า

darkknightza
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
*

พลังน้ำใจ: 167
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,245



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #13 เมื่อ: 29 กันยายน 2010, 16:21:32 »

ไตรลักษณ์ แปลว่า "ลักษณะ 3 อย่าง" หมายถึงสามัญลักษณะ หรือลักษณะที่เสมอกัน หรือข้อกำหนด หรือสิ่งที่มีประจำอยู่ในตัวของสังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ 3 อย่าง ได้แก่

   1. อนิจจตา (อนิจจลักษณะ) - อาการไม่เที่ยง อาการไม่คงที่ อาการไม่ยั่งยืน อาการที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป อาการที่แสดงถึงความเป็นสิ่งไม่เที่ยงของขันธ์.
   2. ทุกขตา (ทุกขลักษณะ) - อาการเป็นทุกข์ อาการที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัว อาการที่กดดัน อาการฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัว เพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ อาการที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่องอยู่ในตัว อาการที่แสดงถึงความเป็นทุกข์ของขันธ์.
   3. อนัตตตา (อนัตตลักษณะ) - อาการของอนัตตา อาการของสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน อาการที่ไม่มีตัวตน อาการที่แสดงถึงความไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร ไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของใคร อาการที่แสดงถึงไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมันเอง อาการที่แสดงถึงความไม่มีอำนาจแท้จริงในตัวเลย อาการที่แสดงถึงความด้อยสมรรถภาพโดยสิ้นเชิงไม่มีอำนาจกำลังอะไรต้องอาศัย พึงพิงสิ่งอื่นๆมากมายจึงมีขึ้นได้
บันทึกการเข้า

หาเงินวันละ350บาท มั่นคง จ่ายมาสิบปีแล้ว
หารายได้กับ popup เจ้านี้ เรทแรงคลิ๊ก
Hosting อันดับ 1 คุณภาพสูง ราคาถูก จัดเลย
โดเมนเนมสวยๆ ราคาถูก จดกับเราสิที่นี่
thammaonline
ก๊วนเสียว
*

พลังน้ำใจ: 24
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 237



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 29 กันยายน 2010, 16:24:40 »


โหลดบิทมาครับ

สวัสดีครับ

ตอนแรกผมตั้งใจจัดทำและรวบรวมบทสวดมนต์คาถาต่างๆ เพื่อใช้ส่วนตัวและให้กับคนใกล้ชิด เพราะจุดประสงค์หลักเลย ผมจะได้ไม่ต้องพกหนังสือสวดมนต์หลายเล่มครับ ซึ่งบทสวดมนต์ทำมือนี้จะมีประโยชน์มากๆเลยครับ สำหรับท่านที่ชอบสวดมนต์หรือท่องคาถาหลายๆบท

ผมได้รับคำแนะนำจากเพื่อนว่าไหนๆทำแล้ว ก็ควรนำมาเผยแพร่ให้คนอื่นๆด้วย ดังนั้นผมจึงได้เรียบเรียงใหม่เพื่อเผยแผ่เป็นธรรมทานครับ ทุกท่านสามารถนำไปปริ้นท์ลงกระดาษขนาด A4 และเย็บเล่มได้เลยนะครับ

ผมไม่ประสงค์ลงชื่อนามสกุลในส่วนผู้จัดทำนะครับ เพราะทำด้วยใจจริงๆ ซึ่งผมได้เว้นบรรทัดตรงชื่อนามสกุลเพื่อให้ทุกท่านได้ใส่ลงไปในกรณีที่ต้องการเผยแผ่ต่อด้วย และหากท่านใดประสงค์สำเนาต่อเพื่อแจกจ่ายให้คนรู้จัก จักเป็นพระคุณยิ่งและขออนุโมทนาบุญกุศลนี้ด้วยนะครับ

ด้านล่างคือสารบัญของบทสวดมนต์และคาถาต่างๆที่ได้รวบรวมไว้ในหนังสือนี้ครับ

บทบูชาพระรัตนตรัย
บทกราบพระรัตนตรัย
บทนมัสการพระรัตนตรัย
บทขอขมาพระรัตนตรัย
บทไตรสรณคมน์
บทสมาทานศีล ๕
บทชุมนุมเทวดา
บทพระพุทธคุณ
บทพระธรรมคุณ
บทพระสังฆคุณ
บทชัยมงคลคาถา (พาหุงฯ)
บทชัยปริตร (มหากาฯ)
บทพระพุทธคุณเท่าอายุบวกหนึ่ง
บทพระคาถาชินบัญชร
ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก
เมตตาพรหมวิหาระภาวนา
กรณียเมตตสูตร                      
บทบูชาพระสิวลี
บทคำอธิฐานขอลาภจากพระสีวลี
บทหัวใจพระสีวลี
บทบูชาขอลาภพระสิวลี (ประจำวัน)
บทบูชาพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
บทบูชาพระพิฆเนศวรเจ้า
บทบูชาท้าวมหาพรหม
บทบูชาพระสดามหาศิวะเจ้า
บทบูชาพระศรีมหาอุมาเจ้า
บทบูชาพระลักษมีเทวีเจ้า
บทคาถาลักษมีคเณศมนตรา
บทบูชาพระสยามเทวาธิราช
บทคาถาบูชาดวงประจำวันเกิดทั้ง ๗ วัน
บทคาถาเงินล้าน
บทคาถามหาลาภ
บทคาถาค้าขายดี
บทคาถาเมตตามหานิยม
บทคาถาเวลาขับรถ
บทอัญเชิญเทวดากลับ
บทประกาศให้อโหสิกรรม
บทแผ่เมตตาแก่ตนเอง
บทแผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์
บทอุทิศส่วนกุศล
บทกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล

ธรรมะสวัสดีครับทุกท่าน

-------------------------------------------------------------------------------------------------------

อิมินา ปุญญะกัมเมนะ ด้วยเดชะกุศลผลบุญแห่งข้าพเจ้า Nababhat ได้รักษาศีล ถวายสังฆทาน ธรรมทาน วิหารทาน การสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัย สวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก บำเพ็ญภาวนา ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ตลอดถึงบุญกุศลใดๆทั้งหมดที่ข้าพเจ้าได้สร้างสมมาตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันวันนี้ บุญทั้งหลายจะทำให้เกิดประโยชน์ ความสุข ความสำเร็จ ความเจริญรุ่งเรืองแก่ข้าพเจ้าเพียงใด ข้าพเจ้าขอน้อมถวายกุศลแด่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระอริยสงฆ์ และพระอริยบุคคลทั้งหมด ขอท่านได้โปรดค้ำชูอุดหนุนคุณบิดา มารดา อุปัชฌาย์อาจารย์ ผู้มีพระคุณทั้งหมด ตลอดถึงบุตร ภรรยา สามี มิตรสหาย ที่ล่วงลับไปแล้วและที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งมีความผูกพันต่อชีวิตของข้าพเจ้าทั้งในอดีตชาติและชาติปัจจุบันนี้ ตลอดทั้งขอได้โปรดคุ้มครองทุกๆคนในครอบครัวของหมู่บริวาร และทหารตำรวจชายแดนที่ดูแลประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อนสัตว์น้อยใหญ่ที่เสียสละชีวิตให้ข้าพเจ้าเพื่อการดำรงชีวิต ขอให้ท่านทั้งหลายทั้งหมด หลุดพ้นจากความทุกข์ ประสบแต่ความสุขยิ่งขึ้นไปและตลอดไป

ขออุทิศกุศลแด่ท่านท้าวมหาราชทั้งสี่ทิศ พระสยามเทวาธิราชทุกๆพระองค์ พระยายมราช นายนิริยบาล ท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ พระพิฆเนศวรเจ้า ท้าวมหาพรหม พระสดามหาศิวะเจ้า พระศรีมหาอุมาเจ้า พระลักษมีเทวีเจ้า แม่พระธรณี แม่พระคงคา แม่พระเพลิง แม่พระพาย แม่โพสพ แม่ซื้อผู้เรืองฤทธิ์ พระภูมิเจ้าที่ เทพยดาทั้งหลายตั้งแต่ชั้นจตุมหาราชิกาเบื้องบน จนถึงที่สุดชั้นพรหม เบื้องล่างตั้งแต่ชั้นอเวจีมหานรก จนถึงโลกมนุษย์โดยรอบสุดขอบจักรวาล อนันตจักรวาล ขอท่านทั้งหลายได้โมทนา

ขออุทิศกุศลแด่สมเด็จบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าทุกๆพระองค์ วีรกษัตริย์ไทยทุกๆพระองค์ ขอน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่ทุกๆพระองค์ท่าน ขอจงมากล้นด้วย
บุญญาธิการ มากล้นด้วยฤทธิ์เดช และบารมียิ่งๆขึ้นด้วยเทอญ

ขออุทิศกุศลนี้ไปถึงเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวงที่ข้าพเจ้าได้ล่วงเกินกระทำความผิด ตั้งแต่ในอดีตก็ดี ในปัจจุบันก็ดี ทั้งที่ระลึกได้ก็ดี ระลึกไม่ได้ก็ดี ขอได้โมทนา เมื่อโมทนาแล้ว ขอจงได้อโหสิกรรมยกโทษทั้งหลายทั้งหมดให้แก่ข้าพเจ้าด้วย และกรรมเวรใดๆ ที่ท่านทั้งหลายได้ทำแก่ข้าพเจ้ามาทุกภพทุกชาติ จนถึงชาติปัจจุบันนี้
ข้าพเจ้าอโหสิกรรมให้แก่ท่านทั้งหลายด้วยเช่นกัน

สรรพสัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนจองเวรจองกรรมซึ่งกันและกันเลย จงมีแต่ความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นทุกข์ภัยทั้งหมดทั้งสิ้นตลอดไป จนกว่าจะเข้าถึงพระนิพพานเทอญ

ด้วยเดชะกุศลและอานิสงส์ผลบุญแห่งข้าพเจ้าได้น้อมถวายนี้ โปรดบันดาลให้ข้าพเจ้าประสบแต่ความสุขกาย สุขใจ ความเจริญทั้งทางโลกและทางธรรม แคล้วคลาดจากอันตรายใดๆทั้งปวง กรรมเก่าหมดไป กรรมใหม่อย่าให้เกิดขึ้น มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ห่างไกลจากศัตรู หมู่มาร พบเจอแต่กัลยาณมิตร ศัตรูกลับใจมาเป็นมิตร ให้ข้าพเจ้าสำเร็จสมหวังทั้งเรื่องการงาน การเงิน ชีวิตครอบครัว ชีวิตสังคม และยังเป็นพลวปัจจัยนิสัย ตราบใดที่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิด ขอให้ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ได้พบพระพุทธศาสนาและวิปัสสนากรรมฐาน ทุกชาติ ทุกภพจนกว่าข้าพเจ้าจะได้เข้าถึงพระนิพพานเทอญ

พุทธัง อนันตัง ธัมมัง จักกะวาลัง สังฆังนิพพานัง ปัจจะโยโหตุฯ


บทสวดมนต์และคาถาต่างๆ(ฉบับทำมือ).pdf

โหลดบิทมาครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 กันยายน 2010, 16:25:28 โดย thammaonline » บันทึกการเข้า

pizad_sura
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
*

พลังน้ำใจ: 108
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,623



ดูรายละเอียด
« ตอบ #15 เมื่อ: 29 กันยายน 2010, 16:27:32 »

ชอบครับ ขอบคุณมาก
บันทึกการเข้า
darkknightza
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
*

พลังน้ำใจ: 167
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,245



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: 29 กันยายน 2010, 23:38:59 »

อคติ  หมายความว่า  การกระทำอันทำให้เสียความเที่ยงธรรม  มี 4 ประการ

1.ฉันทาคติ    ลำเอียงเพราะรักใคร่

2.โทสาคติ     ลำเอียงเพราะโกรธ

3.โมหาคติ     ลำเอียงเพราะเขลา

4.ภยาคติ       ลำเอียงเพราะกลัว
อคติ 4 นี้ ไม่ควรประพฤติเพราะเป็นทางแห่งความเสื่อม
บันทึกการเข้า

หาเงินวันละ350บาท มั่นคง จ่ายมาสิบปีแล้ว
หารายได้กับ popup เจ้านี้ เรทแรงคลิ๊ก
Hosting อันดับ 1 คุณภาพสูง ราคาถูก จัดเลย
โดเมนเนมสวยๆ ราคาถูก จดกับเราสิที่นี่
darkknightza
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
*

พลังน้ำใจ: 167
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 4,245



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #17 เมื่อ: 30 กันยายน 2010, 21:57:43 »

    บรรดากิเลสทั้ง 3 คือ ราคะ (โลภะ) โทสะ โมหะ ท่านว่ามีโทษหนักเบาไม่เท่ากัน ราคะนั้นดูเหมือนว่ามีโทษเบา แต่ละได้ยาก โทสะมีโทษหนักแต่ละได้ง่าย ส่วนโมหะมีโทษหนักและละได้ยาก เฉพาะโทสะ(ความโกรธ ความขุ่นเคือง) นั้น เวลามันเกิดขึ้นจะเอะอะตึงตัง มึงมาพาโวย เรียกว่าเห็นช้างเท่าหมู ไม่กลัวใคร แต่ก็มักสงบง่าย เพราะฉะนั้นท่านจึงว่าความโกรธมีโทษมาก

    ท่านบอกวิธีเอาชนะความโกรธ 9 วิธี สำหรับผู้มักขี้ยัวะ ลองฝึกปฏิบัติดูนะครับ ถ้าได้ผลอย่างไร ช่วยบอกผมด้วย จะได้ทำตามเพราะผมก็ใช่ย่อยเหมือนกัน ลูกศิษย์บางคนว่า อะไรๆ ก็ดี แต่ดุชะมัดญาติว่าอย่างนั้น

1.ให้นึกถึงผลเสียของคนมักโกรธ

    พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า คนที่โกรธคนอื่นนับว่าเป็นคนเลวอยู่แล้ว แต่ใครโกรธตอบเขากลับเป็นคนเลวกว่า พระองค์ทรงสรรเสริญเมตตา ความรักและความปรารถนาดีต่อกัน ถ้าเรามัวเป็นคนมักโกรธ ไม่รู้จักเมตตารักใคร่คนอื่นบ้างเลย จะนับว่าเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าได้อย่างไร

    เวลาเขาโกรธเรามา เราไม่โกรธตอบ นับว่าเป็นผู้เอาชนะใจคนได้ เอาชนะสงครามที่ชนะได้แสนยากและยิ่งรู้ว่าเขาโกรธและ ขุ่นเคืองเรา เราไม่แสดงอาการโกรธและขุ่นเคืองออกมา นับว่าได้ทำประโยชน์ทั้งสองฝ่ายคือ ทั้งแก่ตนเองและแก่คนที่โกรธเรา(การทะเลาะเบาะแว้ง หรือลงไม้ลงมือประหัตประหารกันก็จะไม่เกิดเพราะเราตั ดไฟแต่ต้นลม)

2.ให้พิจารณาโทษของความโกรธ

    คนเราเวลาไม่โกรธก็ดูดี ใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แต่พอโกรธขึ้นมาก็กลายเป็นคนละคน หน้าตาจะบูดเบี้ยวแดงก่ำ บางคนมือไม้สั่นยังกับเจ้าเข้า เต้นแรงเต้นกา ปากก็กล่าวคำหยาบ ไม่รู้ไปสรรค์หาคำด่ามาจากไหน ไม่มีความสง่า สวยงามเหลือแม้แต่นิดเดียว เรียกว่าเป็นนางฟ้าอยู่หยกๆ กลายเป็นนังยักษ์ขมูขีทันที

    หรือถ้าจะให้ชัดเวลาที่เราโกรธ ลองส่องกระจกดูก็แล้วกัน หน้าที่ที่สวยงามยิ้มแย้มแจ่มใส มีเสน่ห์น่ารักนั้น ไม่รู้มันหายไปไหนกลายเป็นหน้ายักษ์หน้ามาร น่าเกลียดน่าชัง เมื่อพิจารณาเห็นความน่าเกลียดน่ากลัวของตนเองอย่างน ี้แล้ว ความโกรธที่มีมาก็อาจหายไปได้

3.นึกถึงความดีของคนที่เราโกรธ

    เวลาเราโกรธใครส่วนมากก็ขุดเอาแต่เรื้องที่ไม่ดีมาด่ าว่า ทีนี้ลองพยายามคิดถึงความดีของเขาดูสิ ว่าเขามีดีอะไรบ้าง เพราะตามธรรมดานั้น คนเราย่อมมีดีและไม่ดีเหมือนๆ กันต่างแต่ว่าใครจะดีมากดีน้อยเท่านั้น ไม่มีใครดอกที่ดีร้อยเปอร์เซ็นต์หรือชั่วร้อยเปอร์เซ ็นต์ เพราะฉะนั้น ถ้าใครมาทำให้เราโกรธไม่พอใจ นั่นเป็นจุดที่ไม่ดีของเขา เราก็ไม่ควรมองแต่จุดนั้น ลองหันไปดูจุดดีของเขาบ้าง เมื่อมองหาจุดดีก็อาจประหลาดใจว่า แท้ที่จริงแล้วเขามีความดีมากมาย "เขามีความไม่ดีบ้างก็ช่างเขา..." อะไรประมาณนั้น

    นึกได้อย่างนี้แล้วความโกรธที่มีอยู่อาจหายไปได้

4.ความโกรธทำให้ศัตรูสมใจ

    นอกจากทำให้ตัวเองทุกข์แล้วยังสาสมใจศัตรูด้วย เวลาถูกความโกรธครอบงำ จิตใจเรามักร้อนรุ่มยังกับหอบกองไฟลุกโชนไว้ในอก หาความสุขไม่ได้ ที่สำคัญคือเรากำลังทำตนให้เป็นที่สะใจแก่ศัตรูผู้มุ ่งร้ายแก่เรา โดยที่เขามิได้ลงทุนเลย เราทำให้เขาแท้ๆ

    คนที่ไม่ชอบเรา เขามักคิดภาวนาในใจ(พูดให้ชัดคือสาปแช่ง) ว่า "เจ้าประคุณ ขอให้ไอ้/อี...มันพินาศฉิบหายในเร็ววันเถิด" ถ้าเราเป็นคนมักโกรธ ก็เท่ากับเรากระทำการต่างๆ เข้าทางศัตรู โดยที่เขาไม่ต้องเสียแรงเสียเวลามาทำให้เราเลย

    ให้สอนตนเสมอว่า "คนอื่นอยากให้เจ้าโกรธ จึงแกล้งทำสิ่งไม่ถูกใจให้เจ้า แล้วไฉนเจ้าจึงช่วยให้เขาสมปรารถนา ด้วยการปล่อยให้ความโกรธเกิดขึ้นเล่า"

    " เวลาเจ้าโกรธขึ้นมาแล้ว เจ้าก็ไม่สามารถทำทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่เขา มิหนำซ้ำ เจ้าได้ทำร้ายตัวเองเข้าแล้ว ด้วยความทุกข์เพราะความโกรธนั้น"

5.พิจารณาความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน

    ให้คิดว่าทุกคนมีกรรมเป็นของตน ต่างก็จะได้รับผลแห่งกรรมที่ตนทำ เราโกรธเขา แสดงว่าเราได้ทำอกุศลคือกรรมชั่ว กรรมชั่วที่เราทำลงไปมันก็จะมีผลร้าย ก่อความเสียหายขึ้น เราก็ต้องได้รับผลของกรรมนั้น ดุจเอามือทั้งสองกอบถ่านที่ลุกโชน มือทั้งสองของเราก็ไหม้เอง หรือดุจเอามือกอบอุจจาระไปโปะคนอื่น ตัวนั้นแหละย่อมเปรอะอุจาระก่อน

    เมื่อพิจารณาเห็นว่าทุกคนต่างก็มีกรรมเป็นของตนเช่นน ี้ ก็จะเห็นในฝ่ายเขาเช่นเดียวกันว่า ถ้าเขาโกรธเขาก็ได้ทำกรรมไม่ดี และจะได้รับผลแห่งกรรมไม่ดีเช่นเดียวกัน เมื่อต่างคนต่างมีกรรมเป็นของตน เก็บเกี่ยวผลแห่งกรรมของตนอยู่แล้ว เรื่องอะไรมามัววุ่นวายโกรธกันอยู่ทำไม ตั้งหน้าตั้งตาทำแต่กรรมดีมิดีกว่าหรือ

6.พิจารณาพระจริยวัตรของพระพุทธเจ้า

    พระจริยวัตรของพระพุทธเจ้า ไม่ว่าพิจารณาจากช่วงไหน ก็จะเห็นชัดเหมือนกันว่า พระองค์ทรงมีเมตตา ไม่โกรธใคร ขณะทรงบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ก็ทรงเอาความด ีชนะความชั่วตลอดมา แม้จะถูกกลั่นแกล้งโดยผู้ไม่ปรารถนาดี ก็ไม่ถือโทษ ดังเมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นภูริทัต จะถูกศัตรูทรมานอย่างไรก็ไม่โกรธไม่ทำร้ายตอบ ทั้งๆ ที่อยู่ในฐานะจะทำได้

    เมื่อพระองค์เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ถูกเทวทัตจองล้างจองผลาญต่างๆ นานา ขนาดกลิ้งก้อนหินหมายประหารชีวิตพระองค์ แต่ก้อนหินปะทะง่อนผา สะเก็ดหินกระเด็นไปต้องพระบาท ได้รับทุกขเวทนาอย่างกล้า อีกครั้งหนึ่งสั่งให้ปล่อยช้างตกมันเพื่อทำร้ายพระพุ ทธองค์ถึงแก่ชีวิต ขณะเสด็จออกโปรดสัตว์ในเมือง พระองค์ก็ไม่ทรงถือสา กลับมีเมตตาต่อเทวทัตผู้มุ่งร้ายพระองค์สารพัด

    บางครั้งถูกอันธพาลที่ได้รับจ้างจากผู้มุ่งร้ายพระอง ค์ตามด่า ตลอดเจ็ดวัน พระองค์ก็ทรงสงบนิ่ง แผ่เมตตาจิตให้พวกเขา ไม่ทรงโกรธตอบ จนพระอานนท์ทูลให้เสด็จไปที่อื่นที่ไม่มีคนด่า พระองค์ตรัสสอนพระอานนท์ว่า ถ้าจะแก้ปัญหาโดยการหนี ก็คงหนีไปไม่มีที่สุด เพราะคนส่วนมากทุศีล ที่ถูกคือให้อดทนต่อคำล่วงเกิน ด้วยจิตประกอบด้วยเมตตา

    เมื่อพิจารณาถึงพระจริยวัตรของพระพุทธเจ้าอย่างนี้แล ้ว ได้เห็นว่าพระพุทธองค์ทรงเผชิญเรื่องที่เลวร้ายกว่าเ รา พระองค์ยังทนได้ เมื่อเราปฏิญาณว่าเป็นสาวกของพระองค์ ไฉนไยไม่ดำเนินตามรอยยุคลบาทเล่า เมื่อคิดได้เช่นนี้แล้ว ความโกรธอาจหายไปได้

7.พิจารณาความเกี่ยวพันกันในสังสารวัฏ

    นี่ก็เป็นวิธีที่หนึ่งที่จะดับความโกรธได้ คือให้คิดว่าในโลกนี้ ไม่มีใครที่ไม่เคยเป็นญาติพี่น้องกันมาก่อน หากใครมาทำให้ท่านเกิดความโกรธ ก็ให้พิจารณาว่า คนๆ นี้อาจเคยเป็นบิดามารดาเรามาก่อน ในชาติใดชาติหนึ่งที่ล่วงมาแล้วก็ได้ หรืออาจเป็นแฟนเป็นกิ๊กที่เรารักสุดชีวิตมาก่อนก็เป็ นได้ แล้วเรื่องอะไรเราจะมาโกรธพ่อเรา แม่เรา หรือคนรักของเรา ถ้าพิจารณาอย่างนี้แล้วความโกรธที่มีก็อาจสงบได้

8.พิจารณาอานิสงส์ของเมตตา

    ความโกรธเป็นปฏิปักษ์ของเมตตา ขณะใดความโกรธเกิดขึ้น ลองหันมาพิจารณาถึงคุณประโยชน์ของเมตตาดูสิว่า เมตตาความรักความปรารถนาดีต่อกันนั้น เป็นสิ่งที่ดีงามอย่างไร เมื่อพิจารณาถึงความดีงามของเมตตา ก็อาจระงับความโกรธได้

    ความดีงามหรืออานิสงส์ของเมตตา พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่ามี 11 ประการคือ

    1.คนที่มีเมตตานอนหลับก็เป็นสุข

    2.ตื่นขึ้นมาก็เป็นสุข คือหน้าตาสดใสเบิกบาน

    3.ไม่ฝันร้าย

    4.เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย ใครเห็นใครก็รัก มีเสน่ห์

    5.เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย อย่าว่าแต่มนุษย์ด้วยกัน ภูตผีเทวดาก็รัก คนมีเมตตาผีไม่หลอกหลอน แทนที่จะหลอกหลอนกลับให้อารักขา อยู่อย่างปลอดภัยเสียอีก

    6.เทวดาอารักขา

    7.ปลอดภัยจากอัคคีภัย ยาพิษ และศาสตราอาวุธ

    8.จิตเป็นสมาธิได้เร็ว

    9.สีหน้าผ่องใสเบิกบาน

    10.ถึงคราวตายก็ตายอย่างมีสติ

    11.ถ้ายังไม่บรรลุคุณธรรมสูงกว่า ตายไปก็เข้าถึงพรหมโลกแน่นอน

    ถ้าอยากมีคุณสมบัติดังกล่าวนี้ ก็พึงพยายามเป็นคนไม่โกรธ หัดเป็นคนมีเมตตาเป็นธรรมประจำใจให้ได้

9.ให้แยกธาตุ

    วิธีแยกธาตุนี้เป็นวิธีที่ได้ผลชงัดนัก เพราะตราบใดเรายังมองเป็นกลุ่มเป็นก้อน เป็นตัวเป็นคนเป็นนายนั่นนางนี่อยู่ ความโกรธก็เกิดขึ้นได้ แต่ถ้าเราแยกธาตุเสีย ทั้งธาตุเขาและธาตุเรานั้นแหละ ความโกรธก็อาจหายไป เพราะไม่รู้ว่าจะไปโกรธส่วนไหน เพราะแต่ละส่วนก็ไม่ใช่ตัวตน หากเป็นเพียงธาตุสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ แค่นั้นเอง ขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) แค่นั้นเอง

    เช่น เพราะคิดว่านายแมวมันด่ากูจึงโกรธ แต่ถ้าคิดแยกธาตุเสียว่า ส่วนไหนเป็นนายแมว รูปหรือเวทนาหรือ สัญญาหรือ วิญญาณหรือ ดินหรือ น้ำหรือ ไฟหรือ ลมหรือ ก็เปล่าทั้งเพ มันเพียงแค่ธาตุสี่ ขันธ์ห้าเท่านั้นเอง นายแมวนายหมูอะไรหามีไม่ เมื่อไม่มีนายแมวนายหมู คำด่ามันจะมีได้อย่างไร เมื่อไม่มีคำด่าแล้วจะโกรธทำไม

    ในทำนองเดียวกัน ที่เรียกว่า "กู" ก็เพียงประชุมแห่งธาตุสี่ขันธ์ห้าเท่านั้นเอง เมื่อแยกส่วนจนหมดแล้ว ก็ไม่มี "กู" ที่ไหน แล้วเราจะโกรธอยู่ทำไม

    พูดถึงตอนนี้ นึกถึงหลวงพ่อคูณสมัยท่านยังไม่ดังเปรี้ยงปร้างอย่าง สมัยนี้ หลวงพ่อท่านเดินทางไปกับศิษย์สองสามรูป ผ่านหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ญาติโยมก็ยกมือไหว้ นั่งยองๆ แล้วถามว่า "หลวงพ่อไปไหนมาคร้าบ" หลวงพ่อคูณก็เดินเฉย ไปได้อีกหน่อย โยมคนหนึ่งก็ถามอีกว่า "หลวงพ่อไปไหนมาค่ะ" หลวงพ่อก็เฉยเช่นเดียวกันจนลูกศิษย์ถามว่า "หลวงพ่อ โยมถาม ทำไมไม่ตอบ"

    หลวงพ่อพูดว่า "กูไม่มา แม่มันจะถามใครหว่า" (ถ้ากูไม่มาเสียแล้ว จะถามใครเล่า) เออจริงสินะ ถ้าไม่มีกู แล้วคำถามมันจะมีได้อย่างไร ก็ให้คิดเสียว่า กูไม่มาก็แล้วกัน คำถามจะได้ไม่มี

    เวลาโกรธใครสักคน ก็ให้พิจารณาแยกธาตุดังว่ามาข้างต้นนั้น ความโกรธอาจหายไปได้
บันทึกการเข้า

หาเงินวันละ350บาท มั่นคง จ่ายมาสิบปีแล้ว
หารายได้กับ popup เจ้านี้ เรทแรงคลิ๊ก
Hosting อันดับ 1 คุณภาพสูง ราคาถูก จัดเลย
โดเมนเนมสวยๆ ราคาถูก จดกับเราสิที่นี่
fatcat
คนรักเสียว
*

พลังน้ำใจ: 3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 123



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #18 เมื่อ: 01 ตุลาคม 2010, 13:09:38 »

อนุโมธนา ค่ะ
บันทึกการเข้า

two49
คนรักเสียว
*

พลังน้ำใจ: 3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 101



ดูรายละเอียด
« ตอบ #19 เมื่อ: 01 ตุลาคม 2010, 14:25:46 »

ขอบคุณมาก สาธุ
บันทึกการเข้า

หน้า: [1] 2 3 ... 141   ขึ้นบน
พิมพ์