ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

ThaiSEOBoard.comไทย เสียว บอร์ดTutorial (ห้ามตั้งคำถามห้องนี้)ค่าเงินบาท Offshore และ Onshore มันคือยังไงกัน? มาอ่านดู
หน้า: 1 2 [ทั้งหมด]   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ค่าเงินบาท Offshore และ Onshore มันคือยังไงกัน? มาอ่านดู  (อ่าน 34117 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
win
Administrator
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
*

พลังน้ำใจ: 143
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,849



ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 24 กรกฎาคม 2007, 14:51:04 »

วันนี้เจอบทความจากคุณ m_ple แห่ง พันทิป เจ้าเดิม
น่าอ่านดีครับ เลยคัดมาให้อ่านกัน ประดับความรู้


Q: เงินคืออะไร?

A: (-_-")a

เงินคือ เอ่อ ก้อคือ... เอ่อ นั่นละครับ เงินก้อคือเงิน เงินคือสินค้าชนิดหนึ่งเช่นกัน และเราต้องเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปแลกมันมา งงไหมครับ ปกติ ถ้าเราอยากได้ หุ้น PTT หนึ่งหน่วย เราต้องเอาเงินบาท 200 หน่วย (หรือ 200 บาทนั่นเองครับ) ไปแลกมันมาใช่ไหมครับ ในทางกลับกัน ถ้าเราอยากได้เงิน 200 บาท หนึ่งในวิธีที่จะได้มันมา นั่นคือเอาหุ้น PTT หนึ่งหน่วยไปแลกเอามันมาในตลาดหุ้นนั่นเองครับ (หรือจะเอาน้ำมันเบนซิน 8 ลิตร หรือ มาม่า 40 ห่อ หรือ บลาๆๆ)

แต่เงินเป็นสินค้าที่แทบจะไม่มีสินค้าชนิดไหนในโลกนี้เสมอเหมือน คือ เงิน(สกุลเดียวกัน)จะเหมือนกันทั้งโลกครับ

ไม่ว่าคุณจะซื้อเงินบาทที่ไหนในโลกนี้ เงิน 1 บาทของที่หนึ่ง ก้อจะเท่ากับเงิน 1 บาทของอีกที่หนึ่งเสมอ

ซึ่งคุณสมบัติข้อนี้ สินค้าอื่นๆ มักจะไม่มี จริงไหมครับ

ส้ม 1 ลูก ของเชียงใหม่ มีค่าไม่เท่า กับส้ม 1 ลูก ของสงขลาแน่ๆ ใช่ไหมครับ

ต่อให้ส้มหนึ่งลูกของแผงเดียวกัน ยังมีค่าไม่เท่ากันเลย จริงไหมครับ (อ้าวไม่งั้น เราจะไปยืนเลือกกันทำไม ถ้ามันเท่ากัน หยิบลูกไหนก้อมีค่าเท่ากันซิครับ)

ส่วนราคาของเงิน เราเรียกมันว่า อัตราแลกเปลี่ยนครับ

ในทีนี้ เราจะกำหนด (เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจครับ) โลกนี้มีเงินแค่สองชนิด นั่นคือ เงินบาท และเงินดอลล่าร์นะครับ

และเหมือนกันกับทุกๆ สิ่ง ทุกๆ อย่างบนโลกนี้ ค่าของมันถูกกำหนดด้วยอุปสงค์ (Demand) และ อุปทาน (Supply)ครับ

สมมติกำหนดให้อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 40 บาท = 1 ดอลล่าร์สหรัฐ (หรือ 1 บาท = 0.025 ดอลล่าร์สหรัฐครับ)

กล่าวคือ อยากได้เงิน 1 ดอลล่าร์ คุณต้องเอาเงินบาท 40 บาทไปแลก ในทางกลับกัน อยากได้เงิน 1 บาท คุณต้องเอาเงิน 0.025 ดอลล่าร์ไปแลก

สิ่งสำคัญที่อยากที่ย้ำตัวโตๆ ตรงนี้คือ (สำหรับเคสบาท:ดอลล่าร์นี้เท่านั้นนะครับ)

กฏข้อที่ 1 ของอัตราแลกเปลี่ยน

"อัตราแลกเปลี่ยน สามารถตั้งได้ตามใจฉัน"

เหมือนสินค้าหลายๆ ชนิด เราจะขายในราคาเท่าไรก้อได้ เรื่องของเรา (แต่จะมีคนซื้อเปล่าอีกเรื่อง ฮา)

"เพราะฉะนั้น ราคาที่ขายในที่หนึ่งๆ ไม่จำเป็นจะต้องเท่ากันกับที่อื่นๆ"

ย้ำเลยนะครับ ราคาที่ขายที่หนึ่ง ไม่จำเป็นต้องเท่ากันกับที่อื่นๆ

Q: แล้วเค้าซื้อขายเงินกันที่ไหนอ่ะ?

A: เราจะแบ่งตลาดซื้อขายเงินกันเป็นสองระดับนะครับ คือ ค้าส่ง กะค้าปลีก ^^

ชาวบ้านร้านตลาดๆ อย่างเราๆ ท่านๆ เราคงซื้อเงินทีละไม่มากใช่ไหมครับ เพราะฉะนั้น เราจะเป็นลูกค้ากลุ่ม ค้าปลีกครับ

เวลาเราซื้อเงิน เราก้อจะไปหาคนขายเงิน (นั่นคือธนาคารทั้งหลายแหล่ หรือจะไปโชห่วยอย่างร้านโคดรวยแถวราชดำริ ก้อไม่ว่ากัน Wink ) คนขายเงินก้อจะติดป้ายบอกราคากับเราทำนองนี้

39.90/95

นั่นคือ ราคา Bid (เสนอซื้อ) กับ Offer (บางที่ก้อใช้คำว่า ask แทนครับ)  (เสนอขาย) นั่นเองครับ

แปลไทยเป็นไทยคือ ธนาคารจะขายดอลล่าร์ให้เราในราคา 1 ดอลล่าร์ละ 39.95 แต่ถ้าเราเอาดอลล่าร์มาขาย ธนาคารจะรับซื้อในราคาแค่ 39.90 เท่านั้น

ส่วนต่าง 5 สตางค์ นั่นคือ กำไรที่ธนาคารจะได้ (ทุกๆ หนึ่งดอลล่าร์ที่ธนาคารได้รับซื้อและขายออกไป) ซึ่งเราเรียกว่า Spread นั่นเองครับ

ราคา bid/offer และ spread จะแตกต่างกันไปตามแต่ละธนาคาร (ตามกฏข้อที่ 1) ซึ่งแล้วแต่ราคาใครราคามัน ใครแลกเงินบ่อยๆ จะพอรู้ว่าธนาคารไหนขายถูกขายแพง

Q: แล้วตลาดค้าส่งละ?

A: อันนี้จะเป็นอีกเรื่องเลยครับ ในกรณีที่เราเป็นผู้ซื้อเงินจำนวนมากๆ และซื้อเป็นประจำ เค้าจะมีตลาดซื้อขายเงินกันเป็นกิจลักษณะ

ลูกค้าหลักๆ ของกลุ่มตลาดค้าส่งก้อคือ ธนาคาร สถาบันการเงิน หรือ บริษัทใหญ่ๆ มากๆ (โดยส่วนมากเป็นพวกที่ทำธุรกิจกะต่างประเทศด้วย ไม่ว่าจะนำเข้าหรือส่งออก) หรือใครก็ตามที่ต้องการเงินบาท และดอลล่าร์ ครั้งละมากๆ เป็นประจำ หรือทุกๆ วัน

ราคาซื้อขายจะแตกต่างกับตลาดค้าปลีกอย่างสิ้นเชิง เพราะคงไม่มีใครมายอมจ่าย spread ทุกๆ วันแน่ เพราะฉะนั้น ตลาดค้าส่งนี้ รูปแบบจะเหมือนการซื้อขายแบบหุ้นเลยครับ

แบบเนี่ย

เสนอซื้อ                  เสนอขาย
39.9005                  39.9010
39.9000                  39.9015
39.8995                  39.9020


คือจะมีคนส่งคำสั่งซื้อ และคำสั่งขายมารอไว้ ถ้าราคา match กันเมื่อไร ก้อมีธุรกรรมเกิดขึ้น


Q: แล้วตลาดที่เค้าเรียกว่า Onshore Market กับ Offshore Market คืออะไรอ่ะ?

A: พักนี้เห็นคนพูดถึงกันเยอะ (และก้อเป็นประเด็นของเราวันนี้ด้วยละครับ) นั่นคือ เราแบ่งตลาดซื้อขายตามภูมิประเทศได้สองแบบใหญ่ๆ ครับ คือตลาดในประเทศ หรือที่เรียกกันว่า Onshore กับตลาดต่างประเทศ หรือ Offshore นั่นเองครับ ง่ายๆ ไม่มีอะไรซับซ้อน

    ไหนๆ เดี๋ยวมันจะสั้นไป แถมเผื่อคนที่ยังไม่ทราบสักนิด ว่าที่มาของมันเป็นอย่างไร

    มันเริ่มมาจากที่ประเทศอังกฤษครับ เมืองหลวงทางการเงินของโลกนี้ เนื่องจากเมื่อก่อนอังกฤษเป็นประเทศพี่เบิ้มของโลกนี้ โดยเฉพาะเป็นเมืองท่าสำหรับการค้า ซึ่งแน่นอนว่าต่อมาก้อเกิดการพัฒนาของตลาดเงิน รวมถึงการแลกเปลี่ยนเงินตราด้วย เพราะมีการค้าระหว่างประเทศเยอะ
 
   ทีนี้ ด้วยความที่อังกฤษเป็นเกาะไงครับ เค้าเลยเรียกว่าเมืองเค้าว่า Onshore ส่วนอะไรที่ออกนอกเกาะไปแล้ว เค้าก้อเรียกว่า offshore ซึ่งเราก้อถือคำนี้ใช้ตลอดมา เพราะเค้าใช้กันทั่วโลก (ก้อเพราะอังกฤษขยายอณานิคมไปทั่วโลกไงครับ) จะได้เข้าใจตรงกัน


Q: แล้วทำไมตลาด offshore ถึงไม่เท่ากับ onshore? Huh?

A: ก่อนอื่นนะครับ ด้วยความที่ว่า ถ้าอะไรมันไม่ใช่ในประเทศ เราจะจัดเป็น offshore หมด ตั้งแต่นิวยอร์ค ลอนดอน หรือเวียงจันทร์ เราก้อเหมาหมดว่าเป็น offshore  เพราะฉะนั้น เราต้องดูให้ดีก่อนว่า ***ที่เค้าบอกว่า offshore หน่ะ มันเป็นที่ไหน

   สมมติ ผมไปเที่ยวในหุบเขาลึกแห่งหนึ่ง ในประเทศเอลกาดอ ซึ่งใช้เงินดอลล่าร์เป็นสกุลหลัก และเผอิญว่า ผมไม่มีเงินดอลล่าร์ติดตัวเลย ผมไปขอแลกกะคนป่าในนั้น เค้าก้อไม่ค่อยจะอยากแลกกัน เพราะเค้าเอาบาทไป เค้าก้อไม่รู้จะเอาไปใช้ที่ไหน
 
   เค้าก้อเลยบอกผมว่า เอางี้ ผมให้แลกก้อได้ แต่ผมจะแลกในอัตรา 20 บาท ต่อดอลล่าร์นะ (อย่าลืมกฏข้อ 1) ทำไงได้ ผมไม่มีทางเลือกนิ ไม่แลกผมก้ออดตาย พอกลับมาถึงเมืองไทย ผมก้อป่าวประกาศไปทั่วเลยว่า เฮ้ตอนนี้ อัตราแลกเปลี่ยนที่ offshore เป็น 20 บาทต่อดอลล่าร์แล้วนะ

   มันก้อถูกของผมนะ จริงๆ แล้วอ่ะ (ฮา)

   เพราะคำว่า offshore มันเหมาไปหมดครับ เพราะฉะนั้น อาจก่อให้เกิดการเข้าใจผิดได้ง่ายๆ เพราะงั้น เวลาที่ดูว่าราคา offshore ต้องดูให้ดีก่อนว่า ราคานั้นเป็นราคาจากไหน (ของ offshore) กันแน่ แล้วค่อยตัดสินว่า มันแข็งขึ้นจริงๆ


Q: อย่ามาตลก ตอนนี้บาท offshore (ไม่ว่าจะที่ไหนก้อแล้วแต่) มันก้อแข็งทั่วโลกล่ะ?

A: แฮะๆ ถูกต้องนะครับ เอาล่ะๆ เข้าเรื่องสักที ว่าทำไมบาทถึงแข็งในตลาด offshore

   เวลาราคาของสินค้าอะไรก็แล้วแต่ มันสูงขึ้น หรือลดลง สิ่งหนึ่งที่น่าจะตอบคำถามได้นั่นคือ ให้ลองดูที่ อุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply) ครับ     

   ถ้าใครตามข่าว จะพอทราบว่า สาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เงินบาทในตลาด offshore แข็งขึ้นมาอย่างสูง (แถมสวิงอีกตะหาก) ก้อเพราะอุปทานในตลาดมีไม่เพียงพอ กับอุปสงค์ หรือพูดเป็นภาษาชาวบ้านก้อคือ ของมันไม่มีขาย แต่คนอยากได้อ่ะ มีเยอะ

   พูดให้ชัดลงไป ตอนนี้ ที่ตลาดต่างประเทศ ขาดแคลนเงินบาทอย่างหนักครับ


Q: แล้วทำไมอยู่ๆ offshore ถึงขาดแคลนเงินบาทล่ะ?

A: ส่วนหนึ่งก้อ เจ้าเก่าครับ ก้อ***มาตรการ URR กันสำรอง 30% ไงครับ ที่เป็นต้นเหตุ

  อย่างไรหน่ะเหรอครับ

   สมมติว่าคุณอยากได้เงินบาทเพื่อไปขายใน offshore คุณต้องทำอย่างไรครับ

   คุณก้อต้องกำดอลล่าร์มา เพื่อแลกเงินบาทในประเทศไทย (เพราะประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่ผลิตเงินบาทขาย โฮะๆ) ทีนี้ อย่างที่รู้ๆ กันว่า ถ้าคุณนำเงินเข้ามาในประเทศ คุณต้องโดนกันสำรอง 30% เอามาร้อยหนึ่ง จะแลกกลับไปได้ 70 เท่านั้น อีก 30 ต้องมาจมแหง๋กเฉยๆ อยู่ในประเทศไทย

   เพราะงี้ถึงไม่ใครเข้ามาเอาเงินบาทออกนอกประเทศ ส่งผลให้ตลาด offshore ขาดแคลนเงินบาทอย่างหนัก และทำให้บาทแข็งขึ้นในที่สุด
   อย่างที่คุณธาริษาบอกเมื่ออาทิตย์ก่อนละครับ ที่ว่าบาทที่ offshore แข็ง เพราะมาตรการ URR ได้ผล ก้อเพราะเหตุผลดังกล่าวนี้ละ


Q: แล้วถ้าเงิน offshore และ onshore ไม่เท่ากันแล้ว จะเกิดอะไรขึ้นป่ะ?

A: อย่างแรกสุดที่จะเกิดก้อคือ เกิด Arbitrage ไงครับ

   Arbitrage โดยสรุป และความหมาย หยาบๆ คือ การทำกำไรโดยปราศจากความเสี่ยง ด้วยการซื้อของถูกจากที่หนึ่ง ไปขายแพงในอีกที่หนึ่ง สมมติว่า ตอนนี้ เงินดอลล่าร์ที่ onshore เท่ากับ 36 บาท แต่ที่ offshore มันไปถึง 33 บาท แล้ว

   เค้าก้อจะทำ Arbitrage โดยการ ไปซื้อเงินบาทที่ตลาด offshore โดยกำเงิน 33 บาทไปแลกได้ 1 ดอลล่าร์ แล้วก้อบินกลับมาประเทศไทย ไปแบงค์ แลกเงินหนึ่งดอลล่าร์นั้นกลับเป็นเงินบาทได้ 36 บาท หักต้นทุนทีแรกที่ทำไป 33 บาทแล้ว ได้กำไรเน็ตๆ 3 บาท ทุกๆ หนึ่งดอลล่าร์ (สมมติว่าไม่คิด transaction cost นะครับ ค่าบริหารจัดการต่างๆ ค่าเครื่องบิน ค่าเสียโอกาส ดอกเบี้ย บลาๆๆ)


Q: งั้นแสดงว่าตอนนี้ เค้าก้อทำ Arbitrage กันกระจายเลยดิ เพราะ ค่าเงิน onshore กับ offshore ห่างกันตั้งเยอะ

A: จริงอยู่ครับ ว่าค่าเงินแตกต่างกันพอสมควร ซึ่งตามทฤษฏีแล้ว ถ้าส่วนต่างนั้นมันมากกว่า transaction cost ก้อเกิด Arbitrage แล้ว

   อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่าตอนนี้ไม่มี Arbitrage หรอกครับ เพราะ ลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งของ Arbitrage คือ มันจะเกิดขึ้นรวดเร็วมาก และจะหายไปด้วยความรวดเร็วเช่นกัน
   เพราะเวลาเกิด Arbitrage ขึ้น ทุกคนจะเห็นโอกาสตรงนั้น และเข้าไปรุมแย่งกำไรที่ปราศจากความเสี่ยงนั้น และจะทำให้ราคาของทั้งสองตลาดกลับมาใกล้เคียงกันจนไม่มี Arbitrage ในที่สุด

  พวก Arbitrager ทั่วโลกนี้ เค้าเขียนโปรแกรมกันเลยนะครับ ใช้ข้อมูลอัพเดทแบบ real time ถ้าราคาที่ไหนก้อตามเกิด Arbitrage เค้าจะทำธุรกรรมกันในทันที

  แล้วก้อไม่ใช่มีแค่คนสองคนเสียเมื่อไร พวกนี้มีทุกหนแห่งในโลก เพราะงั้น ถ้าเกิด Arbitrage แม้เพียงนิดเดียว มันก้อจะหายไปอย่างรวดเร็วครับ

  เพราะฉะนั้น แสดงว่าตอนนี้ ส่วนต่างนั้นยังไม่มากพอที่จะก่อให้เกิด Arbitrage กล่าวคือ ยังมี Mechanism หรืออะไรบางอย่างทำให้ การที่ใครสักคนเข้าไปซื้อดอลล่าร์ที่ offshore เพื่อมาขายใน onshore ตามตัวอย่างใน คห. ก่อนหน้า เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แบบไม่คุ้มค่า transaction cost หรือติดกฏหมายต่างๆ (อันหลังเนี่ย ตัวสำคัญ)

   ถ้าใครว่างๆ ลองคำนวณดูหน่อยก้อดีนะครับ ลองกำหนด assumption ต่างๆ ดู แล้วคำนวณออกมาดูว่า ส่วนต่างต้องเป็นกี่บาทอย่างน้อย ถึงจะทำให้เกิด Arbitrage ได้


Q: แล้วราคาทั้งสองตลาดจะห่างกันต่อไปแบบนี้หรือ?

A:  ถ้าถามความเห็นของผม ผมก้อว่า คงจะเป็นอย่างนั้นละครับ ตราบใดที่ mechanism ต่างๆ ยังทำงานของมันได้เรื่อยๆ

  อย่างไรก็ดี ผมมองว่า การที่มีช่องว่างที่ห่างกันเกินไปของสองตลาดเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงแน่ๆ เพราะมันส่งผลให้ค่าเงินของเราผันผวน ส่งผลเสียต่อความมั่นใจของเศรษฐกิจไทย เอาง่ายๆ ถ้าคุณเป็นคนต่างชาติจะเข้ามาลงทุนในไทย แค่ลำพังหาความแน่นอนในเรื่องค่าเงินไม่ได้ เป็นผมผมก้อคิดหนักอ่ะ

   และสิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือ วันหนึ่งในอนาคตถ้า mechanism ต่างๆ มันเริ่มไม่ทำงาน หรือมีใครไปปลดลอคมัน (เห็นแว่วๆ ว่าคุณธาริษาจะผ่อนปรนมาตรการ URR ในระยะเวลาอันใกล้นี้) ผมชักสงสัยว่า เงินบาทใน onshore มันจะแข็งตาม offshore หรือเงินบาทใน offshore มันจะอ่อนตาม onshore หรือจะพบกันครึ่งทาง

  ถ้ามันแข็งตาม offshore ก้อตัวใครตัวมันละครับ (ฮา)

จบแล้วครับ สั้นๆ ง่ายๆ ขอบคุณที่เข้ามาอ่านครับ หวังว่าคงได้อะไรติดมือกลับไปบ้างนะครับ ^^

จากคุณ : m_ple   - [ 29 ม.ค. 50 09:16:44 ]
บันทึกการเข้า
BooKKung
ก๊วนเสียว
*

พลังน้ำใจ: 1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 219



ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 24 กรกฎาคม 2007, 15:34:14 »

ขอบคุณ คุณwin ครับ สำหรับเกร็ดความรู้ดี ๆ ที่เอามาฝาก
ส่วนวิธีการแก้ในการขึ้นเช็คพี่กู ก็ Holding & Holding
และใช้ชีวิตก่ะมาม่าเป็นหลัก จนกว่า
[on shore + off shore]/2 = single shore
บันทึกการเข้า

.
theittus
ก๊วนเสียว
*

พลังน้ำใจ: 1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 241



ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 24 กรกฎาคม 2007, 15:59:11 »

ได้ฟามรู้ดีจริงๆ  Huh?
ขอบคุณคร๊าบบบ  Cry
ต้องไปเตรียมตัวเก็งค่าเงินบาทซะแล้ว  Grin
บันทึกการเข้า
yekk0147
ก๊วนเสียว
*

พลังน้ำใจ: 2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 231



ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 24 กรกฎาคม 2007, 16:12:57 »

ขอบคุณครับ   พี่นวยอย่าเกร็งมาก  เดี๋ยวเสียว หุหุ Cheesy
บันทึกการเข้า

kornss
หัวหน้าแก๊งเสียว
*

พลังน้ำใจ: 3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,483



ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 24 กรกฎาคม 2007, 17:11:30 »

บทความมีประโยชน์ดีครับ ขอบคุณครับ  Smiley

บันทึกการเข้า
SU9799
สมุนแก๊งเสียว
*

พลังน้ำใจ: 38
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 785



ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 24 กรกฎาคม 2007, 17:49:52 »

เป็นกระทู้ ที่ดี แล มีประโยชน์ มากครับ

เรื่องค่าเงิน มันเป็นอีกหนึ่งสมรภูมิ ที่ต่อสู้กันอย่างดุเดือด  กำลังพลที่ใช้แต่ละครั้ง  ไม่ใช่น้อย.... ผู้แพ้ ต้องย่อยยับ กำลังพลสูญหาย เช่นเมื่อประเทศไทยปี 2540
บันทึกการเข้า

Go 10$/Day from Google Adsense  by Only One (Thai) Site
Braveheart
สมุนแก๊งเสียว
*

พลังน้ำใจ: 1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 686



ดูรายละเอียด
« ตอบ #6 เมื่อ: 24 กรกฎาคม 2007, 18:18:57 »

ดีมากๆ ครับ มีเรื่อง การเงิน แบบนี ชอบมากๆเล
 Smiley
บันทึกการเข้า

1
Warrez
หัวหน้าแก๊งเสียว
*

พลังน้ำใจ: 2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,153



ดูรายละเอียด
« ตอบ #7 เมื่อ: 24 กรกฎาคม 2007, 19:08:09 »

กว่าจะอ่านจบ  Cry
บันทึกการเข้า

cookieMonster
Newbie
*

พลังน้ำใจ: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 16



ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 24 กรกฎาคม 2007, 19:53:25 »

ขอบคุณค่ะ ที่ให้ความรู้แล้วก้อการอธิบายที่เข้าใจง่าย

ได้ข่าวว่าจะมีมาตรการให้เราๆเปิดบัญชีเป็นสกุลเงินดอลลาร์ด้วย ไม่รู้จะเริ่มใช้เมื่อไหร่
ถ้าทำแบบนี้ได้เราก้อจะถือเงินดอลล์ไว้จนกว่าเงินบาทจะอ่อนได้ ใช่หรือป่าวคะ
บันทึกการเข้า
abac401
หัวหน้าแก๊งเสียว
*

พลังน้ำใจ: 37
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,693



ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 24 กรกฎาคม 2007, 20:00:32 »

บทความดีมากๆครับ
บันทึกการเข้า
ColdMoney
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
*

พลังน้ำใจ: 200
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 12,622



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 24 กรกฎาคม 2007, 20:38:55 »

สุดยอดมากครับ ได้ความรู้มากมาย ขอบคุณครับ  Kiss Kiss Cry
บันทึกการเข้า

ning3079
ก๊วนเสียว
*

พลังน้ำใจ: 40
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 405



ดูรายละเอียด
« ตอบ #11 เมื่อ: 24 กรกฎาคม 2007, 20:57:22 »

ขอบคุณค๊ะ....ได้ความรู้อีกละ Kiss
บันทึกการเข้า

babybank119
คนรักเสียว
*

พลังน้ำใจ: 3
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 140



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 26 กรกฎาคม 2007, 08:03:49 »

ผมคิดว่ากระทู้นี้จะอธิบายยากซะอีกสำหรับคนไม่รู้เรียนการเงิน

แต่เป็นกระทู้ที่อ่านได้ง่ายมากเลยคับ  Smiley
บันทึกการเข้า
win
Administrator
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
*

พลังน้ำใจ: 143
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5,849



ดูรายละเอียด
« ตอบ #13 เมื่อ: 26 กรกฎาคม 2007, 08:21:03 »

 Smiley

ดีครับ ที่เป็นประโยชน์ พอดีช่วงมีข่าวเยอะๆ ผมก็ search หาผ่าน Google นี่ล่ะครับ
เจอบทความอันนี้ของคุณ m_ple แห่ง Pantip.com

เขาเขียนอธิบายให้คนทั่วไปเข้าใจได้ง่ายดีครับ


เรื่องฝากเงินเป็นสกุลเงินดอลล่าร์ได้นั้น เห็นว่าต้นเดือน ส.ค. นี้ ทุกธนาคาร ทุกสาขา ก็จะพร้อมที่จะรับฝากบัญชีครับ แต่ผมว่าต้องดูกันในรายละเอียดอีกมากครับ ไม่รู้ว่าจะมีกฎจุกจิกอะไรหรือเปล่า เช่นกำหนดขั้นต่ำการเปิดบัญชี ค่าธรรมเนียม ภาษีดอกเบี้ย ฯลฯ

และที่สำคัญ ดอกเบี้ยเงินฝากก็คิดตาม "อัตราดอกเบี้ยเงินฝากสกุลเงินตราต่างประเทศ" ด้วย



บันทึกการเข้า
SaMsOnIzE
ก๊วนเสียว
*

พลังน้ำใจ: 13
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 315



ดูรายละเอียด
« ตอบ #14 เมื่อ: 26 กรกฎาคม 2007, 10:26:25 »

กระจ่างงงเลยครับบบ ขอบคุณหลายๆๆๆ  Cry
บันทึกการเข้า



..

- Thanks เพื่อเป็นกำลังใจในการโพสนะครับ....
sealinda
Moderator
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
*****

พลังน้ำใจ: 65
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,872



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 26 กรกฎาคม 2007, 12:13:09 »



  เพราะฉะนั้น แสดงว่าตอนนี้ ส่วนต่างนั้นยังไม่มากพอที่จะก่อให้เกิด Arbitrage กล่าวคือ ยังมี Mechanism หรืออะไรบางอย่างทำให้ การที่ใครสักคนเข้าไปซื้อดอลล่าร์ที่ offshore เพื่อมาขายใน onshore ตามตัวอย่างใน คห. ก่อนหน้า เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แบบไม่คุ้มค่า transaction cost หรือติดกฏหมายต่างๆ (อันหลังเนี่ย ตัวสำคัญ)



ตรงนี้ล่ะค่ะ ที่เป็นห่วง และกลัวว่าจะยิ่งทำให้เกิดค่าเงินผันผวนมากขึ้นอีก  Tongue


และที่สำคัญ ดอกเบี้ยเงินฝากก็คิดตาม "อัตราดอกเบี้ยเงินฝากสกุลเงินตราต่างประเทศ" ด้วย





ถ้าฝากเปง US$ ได้ แล้วยังได้เรทดอกเบี้ยเงินฝากสกุลเงินต่างประเทศก้อแจ่มเลย  Cry Cry Cry Cry

ขอบคุณคุณวินสำหรับบทความนะคะ เพิ่งมีโอกาสได้เห็น ถ้าพลาดไปคงเสียดายแย่  Cry
บันทึกการเข้า

whiskydevil
Newbie
*

พลังน้ำใจ: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 25



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: 26 กรกฎาคม 2007, 15:05:43 »

 Kiss


ขอบคุณครับ


ได้ความรู้มากมาย
บันทึกการเข้า

whitebmw
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #17 เมื่อ: 01 สิงหาคม 2007, 10:48:56 »

เข้าใจแล้วครับ อธิบายได้เข้าใจดี ของคุณครับ
บันทึกการเข้า
punggy
Newbie
*

พลังน้ำใจ: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 30



ดูรายละเอียด
« ตอบ #18 เมื่อ: 01 สิงหาคม 2007, 11:55:54 »

 Kiss Kiss Kiss-เยี่ยมมมมยอดค่ะ  Cry รู้สึกฉลาดขึ้นมาอีกนิดละ Grin

บันทึกการเข้า

--------No Inferior--------
sealinda
Moderator
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
*****

พลังน้ำใจ: 65
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,872



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #19 เมื่อ: 02 สิงหาคม 2007, 00:49:41 »

กรี๊ดดดดดด   Shocked Shocked ดีนะ มีคนขุดทู้นี้ขึ้นมา ลืมเอาเงินไปเข้า ลืมสนิทเลย  Lips Sealed
บันทึกการเข้า

th_____7@hotmail.com
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
*

พลังน้ำใจ: 62
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,191



ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #20 เมื่อ: 02 สิงหาคม 2007, 03:22:01 »

เด๋วกลับมาอ่านคับ

กระทู้ที่เป็นความรู้นี่....

รับไม่ได้จริงๆ


 Tongue Tongue
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [ทั้งหมด]   ขึ้นบน
พิมพ์