ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

  แสดงกระทู้
หน้า: [1]
1  อื่นๆ / Cafe / การเล่นแชร์ มีกฎหมายกำหนด เมื่อ: 25 สิงหาคม 2020, 22:05:59
กฎหมายเกี่ยวการเล่นแชร์

1 การเล่นแชร์ ไม่ผิดกฎหมาย ราชการเล่นแชร์ได้ ไม่ผิดวินัย มีกฎหมายรองรับ คือ พรบ การเล่นแชร์ 2534

2 ท้าวตั้งได้ไม่เกิน 3 วง ฝ่าฝืน โทษสูงสุด คุก 6 เดือน ปรับ 1 แสน (ม6, ม17)
3 ท้าวมีลูกแชร์รวม 3 วงได้ไม่เกิน 30 คน ฝ่าฝืน โทษสูงสุด คุก 6 เดือน ปรับ 1 แสน (ม6, ม17)

4 ท้าวมีวงเงินรวมทุกวงได้ไม่เกิน 3 แสนบาท ฝ่าฝืน โทษสูงสุด คุก 6 เดือน ปรับ 1 แสน (ม6, ม17, กฎกระทรวง)

5 ท้าวโพสเฟสชวนเล่นแชร์ไม่ได้ ถือเป็นการโฆษณาชี้ชวนให้ประชาชนทั่วไปร่วมวงแชร์ มีโทษปรับสูงสุด 50,000 บาท

6 ถ้าท้าวทำผิดข้อ 2-5 ไปแจ้งความในฐานะพลเมืองดีได้ แต่จะไม่ได้เป็นผู้เสียหายในคดี เพราะเป็นความผิดต่อรัฐ

7 ท้าวเบี้ยว หรือลูกแชร์เบี้ยว ส่วนใหญ่เป็นคดีแพ่ง ถ้าไปแจ้งความ ตร จะไม่ทำเรื่องให้ แต่ผู้เสียหายต้องไปฟ้องศาลเอาเอง


http://www.xn--72cf2bi6bdb7ewc6a5isb5d.com/

http://xn--b3ca1bicj2cj1jqaf.c...bd-1563-45cd-9df8-154a05470a11

http://xn--12cce9ebk7db0a1kd8e...a6-bfe1-498e-b155-ab20d1f0aff7

https://www.facebook.com/lampang11

https://www.facebook.com/lumpoon11
2  อื่นๆ / Cafe / โดนฟ้องศาล เรื่องรถยนต์ เมื่อ: 25 สิงหาคม 2020, 22:01:25
 หรือขึ้นศาลเรื่องรถ ไม่มีรถคืน สำหรับรถยนต์นี้ไม่ใช่หนึ่งในปัจจัย 4  แต่เป็นเหมือนปัจจัยที่ 5 ที่มีความสำคัญที่ขาดไม่ได้ หากท่าน โดนฟ้องเรื่องรถยนต์ หรืแขึ้นศาลเรื่องรถยนต์ อาจจะผ่อนเช่าซื้อจ่ายเงินค่างวดไม่ตรงเวลา หรือมีปัญหาใดเกิดขึ้น โทรมาสอบถามกับสำนักงานเบื้องต้น เพื่อหาทางแก้ไข ท่านจะได้คลี่คลายปัญหาลงไปบ้าง จะได้มีเวลาทำมาหากิน
คำแนะนำเบื้องต้นก่อนที่จะ ถูกฟ้องศาล เรื่องรถยนต์
หากไม่อยากเป็นคดีความในเรื่องการโดนฟ้อง อันดับแรกคือการต้องประเมินความสามารถในการผ่อนของตัวเองและเผื่อเอาไว้เยอะๆเช่นมีรายได้ 40,000 บาทต่อเดือน ผ่อนรถเขาสมมติให้ 40 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ ก็เท่ากับ 16,000 บาทต่อเดือน แต่ในความเป็นจริงเราควรเผื่อไว้มากกว่านั้น สมมุติสัก 20% หรือ 25% ของรายได้ 40,000 บาท ก็คือผ่อนรถเดือนละไม่เกิน 8,000 หรือ 10,000 บาท คือผ่อนให้น้อยที่สุด อย่าแบกภาระเยอะ รถรุ่นไหนที่ Option มันสูงราคาแพงไม่จำเป็นก็ลดสเปคลงไปบ้าง เมื่อคุณเองมีภาระน้อย ชีวิตคุณก็จะเบาตัวขึ้น และโอกาสในการผ่อนชำระไม่ตรงตามงวดก็จะเป็นไปได้ยากขึ้น คุณก็จะไม่ โดนฟ้องในคดีเกี่ยวกับรถยนต์ อันนี้คือทางที่ 1
หากผ่อนรถยนต์ไม่ไหวทำยังไง
แต่สำหรับในบางกรณีที่ผ่อนไปแล้วและไม่ไหวจริงๆ อย่ารอให้ไฟแนนซ์มายึดหรือฟ้อง ให้รีบขายรถโดยการลงประกาศขายในตลาดอินเตอร์เน็ต มันจะเร็วตั้งราคาอย่าแพงเกินไป เผื่อเวลาไว้สักหน่อยในการขาย เพราะการขายรถยนต์มันต้องใช้เวลา ถ้าอยากเร็วก็ต้องไปขายให้เต็นท์รถแต่ว่าราคาจะไม่ดีเท่ากับเราขายเอง ถ้าไม่ไหวอย่ายื้อ โดนฟ้องมาตัวท่านเองจะเสียหายเยอะ
หรือทำการหาผู้เช่าซื้อคนใหม่มาเปลี่ยนสัญญาเช่าซื้อเดิมของเรา หน้าที่ผ่อนชำระก็จะตกแก่ผู้เช่าซื้อคนใหม่
เมื่อไฟแนนซ์ซึ่งเป็นโจทก์ฟ้องรถยนต์
สามารถเรียกได้ดังนี้คือ เรียกให้คืนรถยนต์ เรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ เรียกให้เราชำระค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์ รวมถึงดอกเบี้ยต่างๆ ท่านจะเห็นว่ามันเป็นเงินที่เยอะอยู่ และในฐานะลูกหนี้ค่อนข้างที่จะเสียเปรียบ
ดังนั้นอย่าให้ไฟแนนซ์หรือโจทก์มายึดรถยนต์เรา ผ่อนไม่ไหวก็ขาย ไปหาซื้อคันที่มันเล็กกว่าหรือเป็นมือสอง เท่าที่กำลังเราผ่อนไว้อย่างน้อยก็ยังมีรถใช้
 
ขึ้นศาลเรื่องรถ ไม่มีรถคืน
ตามที่กล่าวเบื้องต้นตามปกติท้ายฟ้องโจทก์ ขอให้จำเลยคือรถยนต์คันดังกล่าว แต่หากจำเลยไม่สามารถคืนได้ก็ขอให้ใช้ราคาแทน โดยการคิดราคารถ ก็จะคิดราคาณวันฟ้องนั้นเองว่าเป็นราคากี่บาท นี่คือ สิ่งที่เราควรรู้ว่าถ้าเราไม่มีรถคืน ก็ต้องจ่ายเงินให้เขาไป
 
การที่เราไม่มีรถคืนให้กับบริษัทไฟแนนซ์ ซึ่งในขณะที่ทำสัญญาเช่าซื้อนั้นเราคู่สัญญายังผ่อนชำระไม่หมด กรรมสิทธิ์รถยนต์โดยปกติจะเป็นของบริษัทไฟแนนซ์ เราซึ่งเป็นผู้ครอบครองรถ ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาในข้อหายักยอกทรัพย์ได้ ดังนั้นการขึ้นศาลเรื่องรถโดยไม่มีรถคืน ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น
 
สำหรับค่างวดรถยนต์ซึ่งจ่ายให้ไฟแนนซ์ไปแล้วกี่บาทก็ต้องนำมาคำนวณรวมด้วย ว่ายอดหนี้คงเหลือจริงๆกี่บาท ซึ่งจุดนี้ต้องไปดูในแต่ละรายละเอียดของรูปคดี
เนื้อหาโดย: icolawfrim

http://www.xn--72cf2bi6bdb7ewc6a5isb5d.com/
http://xn--b3ca1bicj2cj1jqaf.c...bd-1563-45cd-9df8-154a05470a11
http://xn--12cce9ebk7db0a1kd8e...a6-bfe1-498e-b155-ab20d1f0aff7
https://www.facebook.com/lampang11
https://www.facebook.com/lumpoon11
อ่านต่อได้ที่ https://board.postjung.com/1233853
3  อื่นๆ / Cafe / โดนฟ้องศาล เรื่องรถยนต์ เมื่อ: 18 สิงหาคม 2020, 11:58:03
 โดนฟ้องศาล เรื่องรถยนต์หรือขึ้นศาลเรื่องรถ ไม่มีรถคืน สำหรับรถยนต์นี้ไม่ใช่หนึ่งในปัจจัย 4  แต่เป็นเหมือนปัจจัยที่ 5 ที่มีความสำคัญที่ขาดไม่ได้ หากท่าน โดนฟ้องเรื่องรถยนต์ หรืแขึ้นศาลเรื่องรถยนต์ อาจจะผ่อนเช่าซื้อจ่ายเงินค่างวดไม่ตรงเวลา หรือมีปัญหาใดเกิดขึ้น โทรมาสอบถามกับสำนักงานเบื้องต้น เพื่อหาทางแก้ไข ท่านจะได้คลี่คลายปัญหาลงไปบ้าง จะได้มีเวลาทำมาหากิน

คำแนะนำเบื้องต้นก่อนที่จะ ถูกฟ้องศาล เรื่องรถยนต์

หากไม่อยากเป็นคดีความในเรื่องการโดนฟ้อง อันดับแรกคือการต้องประเมินความสามารถในการผ่อนของตัวเองและเผื่อเอาไว้เยอะๆเช่นมีรายได้ 40,000 บาทต่อเดือน ผ่อนรถเขาสมมติให้ 40 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ ก็เท่ากับ 16,000 บาทต่อเดือน แต่ในความเป็นจริงเราควรเผื่อไว้มากกว่านั้น สมมุติสัก 20% หรือ 25% ของรายได้ 40,000 บาท ก็คือผ่อนรถเดือนละไม่เกิน 8,000 หรือ 10,000 บาท คือผ่อนให้น้อยที่สุด อย่าแบกภาระเยอะ รถรุ่นไหนที่ Option มันสูงราคาแพงไม่จำเป็นก็ลดสเปคลงไปบ้าง เมื่อคุณเองมีภาระน้อย ชีวิตคุณก็จะเบาตัวขึ้น และโอกาสในการผ่อนชำระไม่ตรงตามงวดก็จะเป็นไปได้ยากขึ้น คุณก็จะไม่ โดนฟ้องในคดีเกี่ยวกับรถยนต์ อันนี้คือทางที่ 1

หากผ่อนรถยนต์ไม่ไหวทำยังไง
แต่สำหรับในบางกรณีที่ผ่อนไปแล้วและไม่ไหวจริงๆ อย่ารอให้ไฟแนนซ์มายึดหรือฟ้อง ให้รีบขายรถโดยการลงประกาศขายในตลาดอินเตอร์เน็ต มันจะเร็วตั้งราคาอย่าแพงเกินไป เผื่อเวลาไว้สักหน่อยในการขาย เพราะการขายรถยนต์มันต้องใช้เวลา ถ้าอยากเร็วก็ต้องไปขายให้เต็นท์รถแต่ว่าราคาจะไม่ดีเท่ากับเราขายเอง ถ้าไม่ไหวอย่ายื้อ โดนฟ้องมาตัวท่านเองจะเสียหายเยอะ

หรือทำการหาผู้เช่าซื้อคนใหม่มาเปลี่ยนสัญญาเช่าซื้อเดิมของเรา หน้าที่ผ่อนชำระก็จะตกแก่ผู้เช่าซื้อคนใหม่

เมื่อไฟแนนซ์ซึ่งเป็นโจทก์ฟ้องรถยนต์
สามารถเรียกได้ดังนี้คือ เรียกให้คืนรถยนต์ เรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ เรียกให้เราชำระค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์ รวมถึงดอกเบี้ยต่างๆ ท่านจะเห็นว่ามันเป็นเงินที่เยอะอยู่ และในฐานะลูกหนี้ค่อนข้างที่จะเสียเปรียบ

ดังนั้นอย่าให้ไฟแนนซ์หรือโจทก์มายึดรถยนต์เรา ผ่อนไม่ไหวก็ขาย ไปหาซื้อคันที่มันเล็กกว่าหรือเป็นมือสอง เท่าที่กำลังเราผ่อนไว้อย่างน้อยก็ยังมีรถใช้

 

ขึ้นศาลเรื่องรถ ไม่มีรถคืน
ตามที่กล่าวเบื้องต้นตามปกติท้ายฟ้องโจทก์ ขอให้จำเลยคือรถยนต์คันดังกล่าว แต่หากจำเลยไม่สามารถคืนได้ก็ขอให้ใช้ราคาแทน โดยการคิดราคารถ ก็จะคิดราคาณวันฟ้องนั้นเองว่าเป็นราคากี่บาท นี่คือ สิ่งที่เราควรรู้ว่าถ้าเราไม่มีรถคืน ก็ต้องจ่ายเงินให้เขาไป

 

การที่เราไม่มีรถคืนให้กับบริษัทไฟแนนซ์ ซึ่งในขณะที่ทำสัญญาเช่าซื้อนั้นเราคู่สัญญายังผ่อนชำระไม่หมด กรรมสิทธิ์รถยนต์โดยปกติจะเป็นของบริษัทไฟแนนซ์ เราซึ่งเป็นผู้ครอบครองรถ ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาในข้อหายักยอกทรัพย์ได้ ดังนั้นการขึ้นศาลเรื่องรถโดยไม่มีรถคืน ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น

 

สำหรับค่างวดรถยนต์ซึ่งจ่ายให้ไฟแนนซ์ไปแล้วกี่บาทก็ต้องนำมาคำนวณรวมด้วย ว่ายอดหนี้คงเหลือจริงๆกี่บาท ซึ่งจุดนี้ต้องไปดูในแต่ละรายละเอียดของรูปคดี

http://www.xn--72cf2bi6bdb7ewc6a5isb5d.com/

http://xn--b3ca1bicj2cj1jqaf.c...bd-1563-45cd-9df8-154a05470a11

http://xn--12cce9ebk7db0a1kd8e...a6-bfe1-498e-b155-ab20d1f0aff7

https://www.facebook.com/lampang11

https://www.facebook.com/lumpoon11
4  อื่นๆ / Cafe / ภาระจำยอม เมื่อ: 13 สิงหาคม 2020, 19:35:11
ภาระจำยอม เป็นทรัพยสิทธิ ประเภทหนึ่ง ที่ตัดทอนกรรมสิทธิ์ ในอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลอื่น อันทำให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้น ต้องยอมรับภาระบางอย่างซึ่งกระทบกระเทือนอำนาจกรรมสิทธิ์ เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ในทางกฎหมายแล้ว อสังหาริมทรัพย์ที่ได้ประโยชน์จากภาระจำยอมเรียกว่า " สามยทรัพย์ " ส่วนอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในบังคับภาระจำยอมเรียกว่า " ภารยทรัพย์ " ตัวอย่างภาระจำยอมเช่น ยอมให้มีทางเดิน หรือ ทางน้ำ ยอมให้ชายคา หรือ หน้าต่างบุคคลอื่น ล้ำเข้ามาในที่ดินของตน ยอมที่จะไม่ปลูกสร้างอาคาร ปิดบังแสงสว่าง ทางลม แก่ที่ดินข้างเคียง

 

สิทธิ และ หน้าที่ของ เจ้าของภารยทรัพย์มีดังนี้คือ

 

1. ต้องไม่ประกอบการใด ๆ เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมนั้นลดลงไป

 

2. เจ้าของสามยทรัพย์ ไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงใน ภารยทรัพย์ หรือ ในสามยทรัพย์ อันเป็นการเพิ่มภาระแก่ ภารยทรัพย์

 


 
3. เจ้าของสามยทรัพย์ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพื่อรักษาและ ใช้ภาระจำยอม และ ต้องให้ภารยทรัพย์เสียหายน้อยที่สุด

 

4. ถ้าความต้องการของเจ้าของสามยทรัพย์เปลี่ยนแปลงไป การเปลี่ยนแปลงนั้นย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่เจ้าของสามยทรัพย์ ที่จะทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้น แก่ภารยทรัพย์

 

5. เจ้าของภารยทรัพย์อาจจะขอย้ายไปส่วนอื่น ก็ได้ แต่การย้ายนั้น ต้องไม่ ทำให้ความสะดวกแห่งสามยทรัพย์ลดน้อยลงไป

 

6. ถ้ามีการแบ่งภารยทรัพย์ ภาระจำยอมก็คงมีอยู่ทุกส่วน ที่แยกออกไป แต่ถ้าส่วนใดไม่ใช้ หรือ ใช้ไม่ได้ เจ้าของส่วนอาจเรียกหรือ ขอให้พ้นจากภาระจำยอมได้

 

7. เมื่อสามยทรัพย์ได้จำหน่ายออกไปภาระจำยอมย่อมติดไปด้วย เว้นแต่จะมีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

 

ภาระจำยอมเป็นบทบัญญัติที่ไม่มีการจำกัดระยะเวลา เหมือนทรัพยสิทธิประเภทอื่น ดังนั้นการทำนิติกรรมที่ ก่อให้เกิดภาระจำยอมต้องกำหนดเงื่อนไงไว้ให้ชัดเจน เช่น ความกว้างความยาว การให้ยานพาหนะผ่านได้หรือไม่ หรือ การกำหนดว่าให้หมดภาระจำยอม เมื่อมีการโอน สามยทรัพย์ให้บุคคลอื่น

 

ภาระจำยอม อาจเกิดโดยนิติกรรม และ โอยอายุความภาระจำยอมโดยนิติกรรม จะทำได้โดยการตกลงกัน ระหว่างเจ้าของที่ดินแปลงที่จะจดเป็นภาระจำยอม และ แปลงที่จะได้ประโยชน์จากภาระจำยอม โดยต้องจดทะเบียน ต่อเจ้าหน้าที่ ส่วนภาระจำยอมที่เกิดจากอายุความ เกิดโดยที่ดินแปลง หนึ่งได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินอีกแปลงหนึ่ง โดยสงบ เปิดเผย และ มีเจตนาเป็นเจ้าของสิทธินั้น ติดต่อกันเป็นระยะเวลาเกิน 10 ปี จนได้ภาระจำยอมโดยอายุความ

 

การสิ้นไปแห่งภาระจำยอม

 

1. ถ้า ภารยทรัพย์ หรือ สามยทรัพย์ สลายไปทั้งหมดเท่ากับภาระจำยอมจะสิ้นไปโดยอัตโนมัติ

 

2. เมื่อภารยทรัพย์ หรือ สามยทรัพย์ ตกเป็นเจ้าของคนเดียวกัน เจ้าของสามารถขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนภาระจำยอมได้

 

3. ภาระจำยอมไม่ได้ใช้ 10 ปี ติดต่อกัน ภาระจำยอม ย่อมหมดสิ้นไป

 

4. ภาระจำยอมหมด ประโยชน์ แก่สามยทรัพย์

5. เมื่อภาระจำยอมนั้น ยังประโยชน์ ให้แก่ สามยทรัพย์นั้น น้อยมาก เจ้าของภารยทรัพย์ขอให้พ้นจากภาระจำยอมทั้งหมด หรือ แต่บางส่วนก็ได้ แต่ต้องใช้ค่าทดแทน

 

http://www.xn--72cf2bi6bdb7ewc6a5isb5d.com/

http://xn--b3ca1bicj2cj1jqaf.c...bd-1563-45cd-9df8-154a05470a11

http://xn--12cce9ebk7db0a1kd8e...a6-bfe1-498e-b155-ab20d1f0aff7

https://www.facebook.com/lampang11

https://www.facebook.com/lumpoon11
5  อื่นๆ / Cafe / การพกปืน หรือการพาปืนไปด้วย ของประชาชนทั่วไป เมื่อ: 11 สิงหาคม 2020, 23:00:43
การพกปืน หรือการพาปืนไปด้วย ของประชาชนทั่วไป
ขอแนะนำเป็นแนวทางของอาวุธปืนดังนี้ (ตอนที่ ๑)

1.อาวุธปืนมีทะเบียนและเป็นของเราเอง ไม่มีใบอนุญาตพกพา สามารถพกพานำติดตัวไปได้ ดังนี้
– เป็นประกาศของ ก.มหาดไทย ซึ่งเป็นนายทะเบียนอาวุธปืนทั่วราชอณาจักรเมื่อปี พ.ศ.2519

1) ไปเก็บเงินจำนวนมากๆ เดินทางผ่านที่เปลี่ยว เช่นใน ตจว. (ประกาศ ก.มหาดไทย ยกตัวอย่าง(ขณะนั้นจำนวนเงิน 30,000 ขึ้นไป)

2) เอาอาวุธปืนติดตัวเดินทางโดยแยกปืนกับกระสุนปืนออกจากกัน เช่นเก็บปืนไว้ในเก๊ะภายในรถยนต์ ส่วนกระสุนปืนเก็บไว้ท้ายรถที่ไม่สามารถหยิบออกมาใช้ได้ทันที ตย.ปืนลูกโม่ เก็บไว้ในรถ กระสุนปืนไว้ท้ายรถ
3) เอาอาวุธปืนติดตัวเดินทางโดยแยกปืนกับซองกระสุนปืนออกจากกัน เช่นเก็บปืนไว้ในเก๊ะภายในรถยนต์ ส่วนซองกระสุนปืน(แม๊กกาซีน) เก็บไว้ท้ายรถที่ไม่สามารถหยิบออกมาใช้ได้ทันที ตย.เหมือนข้อ 2) แต่เป็นปืนออโตเมติกหรือกึ่งออโตเมติก

4) เอาทั้งปืน กระสุนปืนหรือซองปืน(แม๊กกาซีน) ใส่ไว้ในกระเป๋าเดินทางปิดล๊อคกระเป๋าแล้วเก็บไว้ท้ายรถ ในลักษณะที่ไม่พร้อมใช้ได้ในทันที
ตำรวจส่วนใหญ่ไม่รู้ว่ามีประกาศ ก.มหาดไทยนี้อยู่ พบเห็นก็จะจับดำเนินคดี พงส.ก็ไม่รู้ก็สั่งฟ้อง อัยการก็ไม่รู้ หรือรู้ก็ไม่สั่งเพิ่มเติมเพราะเห็นว่า พงส.สั่งฟ้องมา ผตห.ก็ไม่รู้และไม่ได้ร้งขอความเป็นธรรม

และอัยการอาจพิจารณาว่า คดีเช่นนี้ ปรับและรอลงอาญามาตลอด ก็เลยสั่งฟ้องไป ไม่ยุ่งยากให้งานเสร็จๆไป
ถ้าปรากฎข้อเท็จจริงตามประกาศดังกล่าว พงส.สั่งไม่ฟ้องได้
ส่วนอาวุธปืนมีใบอนุญาตให้พกพา
1.พกพาในจังหวัด
2.พกพาทั่วราชอณาจักร

มีหลักเกณฑ์พกพานำติดตัวดังนี้
1) พกพาต้องมิดชิด ไม่เปิดเผย น่าหวาดเสียว
2) ห้ามพกพานำติดตัวเข้าไปในงานวัด งานเทศการสถานที่ที่จัดให้มีการชุมนุมนัสการ เข้าไปในสถานบริการหรืองานรื่นเริง

เรื่องพาอาวุธปืน มีทะเบียนหรือมีใบอนุญาตให้มีและใช้ มีใบอนุญาตให้พกพา สำคัญๆก็มีแค่นี้ครับ

 

http://www.xn--72cf2bi6bdb7ewc6a5isb5d.com/

http://xn--b3ca1bicj2cj1jqaf.c...bd-1563-45cd-9df8-154a05470a11

http://xn--12cce9ebk7db0a1kd8e...a6-bfe1-498e-b155-ab20d1f0aff7

https://www.facebook.com/lampang11

https://www.facebook.com/lumpoon11
6  อื่นๆ / Cafe / 8เรื่องต้องรู้ พร้อมวิธีฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร เมื่อ: 09 สิงหาคม 2020, 18:33:50
1.การฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลและค่าฤชาธรรมเนียม (มาตรา 155)

2.คำฟ้องจะทำเป็นหนังสือหรือโจทก์มาแถลงข้อหาด้วยวาจาต่อหน้าศาลก็ได้ และโจทก์อาจมอบอำนาจให้บุคคลหรือองค์กรใดดำเนินคดีแทนก็ได้ (มาตรา 157)

3.คู่ความจะขอให้ศาลตั้งทนายความให้ตนโดยให้สำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้จ่ายค่าป่วยการทนายก็ก็ได้ (มาตรา 158)

4.ก่อนเริ่มพิจารณาคดี ศาลต้องให้มีการไก่ลเกลี่ยกันก่อน โดยศาลต้องตั้งผู้ประนีประนอมให้คู่ความตกลงข้อพิพาท ถ้าไก่ลเกลี่ยสำเร็จ ผู้ประนีประนอมต้องจัดทำสัญญาประนีประนอมแล้วให้ศาลตรวจดูว่าไม่ขัดต่อกฎหมายหรือไม่ขัดต่อความสงบแล้วศาลจะพิพากษาตามยอมไป แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้ให้ดำเนินการพิจารณาคดีกันต่อไป (มาตรา 150)

5.การฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจะฟ้องรวมมากับการฟ้องชายให้รับเด็กเป็นบุตรก็ได้ เพราะการเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจะมีผลตามมาหลังจากที่มีการรับรองความเป็นบุตร

6.ระหว่างพิจารณาคดีคู่ความมีสิทธิร้องขอให้กำหนดมาตราการคุ้มครองชั่วคราวได้ โดยสามารถให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งออกค่าเลี้ยงดูระหว่างคดีให้แก่ตนได้

7.เมื่อศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดู ศาลอาจสั่งให้ลูกหนี้ตามคำพิพากาษนำเงินมาวางศาลตามเงื่อนไขหรือระยะเวลาที่ศาลกำหนดได้ หากลูกหนี้มีรายได้ประจำศาลอาจสั่งให้อายัดตามจำนวนที่ไดจะชำระให้เท่ากับค่าอุปการะเลี้ยงดูได้

8.หากศาลพิพากษาให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูแล้วจำเลยไม่ยอมชำระ โจทก์มีสิทธิขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีเพื่อบังคับให้ชำระค่าเลี้ยงดูได้

 

http://www.xn--72cf2bi6bdb7ewc6a5isb5d.com/

http://xn--b3ca1bicj2cj1jqaf.c...bd-1563-45cd-9df8-154a05470a11

http://xn--12cce9ebk7db0a1kd8e...a6-bfe1-498e-b155-ab20d1f0aff7

https://www.facebook.com/lampang11

https://www.facebook.com/lumpoon11

7  อื่นๆ / Cafe / นายจ้างมีสิทธิขอลดเงินเดือนลูกจ้าง หรือไม่ เมื่อ: 09 สิงหาคม 2020, 18:27:48
นายจ้างจะลดค่าจ้างของลูกจ้างไม่ได้ถ้าหากลูกจ้างไม่ยินยอม เพราะถือเป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่ลูกจ้าง แต่ถ้าลูกจ้างคนไหนยินยอมโดยสมัครใจก็สามารถที่จะทำได้ โดยจะต้องมีใบสัญญาระบุชัดเจนที่ว่าลูกจ้างยินดีลดค่าจ้างของตัวเองลงเท่าไหร่ กี่บาท กี่เปอร์เซ็นต์ แล้วจะต้องให้ลูกจ้างเซ็นชื่อยินยอมเท่านั้น ใครเซ็นสัญญานี้ก็จะมีผลใช้บังคับกับคนที่เซ็น แต่ถ้าใครไม่ยินยอมเซ็นก็ไม่มีผลกับคนนั้น
หากลูกจ้างคนไหนทำการเซ็นชื่อยินยอมลดเงินเดือนค่าจ้าง ลูกจ้างจะต้องได้รับค่าจ้างไม่ต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ
ส่วนลูกจ้างคนไหนไม่ยอมเซ็นลดเงินเดือน บริษัทจะต้องทำอย่างไร อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับทางบริษัทว่าจะมีมาตรการอย่างไร หนักสุดบริษัทก็อาจจะแจ้งเลิกจ้างลูกจ้างที่ไม่เซ็นชื่อยินยอมลดเงินเดือน และทางบริษัทก็จ่ายค่าชดเชย+ค่าบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมายที่กำหนด
ส่วนลูกจ้างที่เซ็นยินยอมลดเงินเดือน จะมีผลลดไปถึงเมื่อไหร่ มีกำหนดระยะเวลาหรือไม่ อันนี้อยู่ที่ทางบริษัท ว่าจะกำหนดให้การลดเงินเดือนเพื่อให้บริษัทอยู่รอดมีผลไปถึงเมื่อไร กี่เดือนหรือกี่ปี นับจากนี้เพราะที่ผ่านมาในช่วงวิกฤตเมื่อปี 2540-2542 เมื่อเศรษฐกิจเริ่มพลิกฟื้นกลับมา ก็มีบางบริษัทเหมือนกันที่ปรับเงินเดือนขึ้นเพื่อชดเชยให้กับพนักงานที่ร่วมมือร่วมใจฝ่าฟันปัญหากันมา แต่อันนี้ก็แล้วแต่นโยบายของฝ่ายบริหารแต่ละบริษัท
ถ้าเราเซ็นชื่อยินยอมลดเงินเดือนลงแล้ว ต่อมาอีก 3 เดือน 6 เดือนทางบริษัทแจ้งเลิกจ้างล่ะ เราจะได้รับค่าชดเชยหรือไม่และได้รับเงินเรทเท่าไร กรณีนี้ตามกฎหมายแรงงานก็ให้ใช้ “ค่าจ้างอัตราสุดท้าย” เป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชย และบริษัทต้องบอกกล่าวล่วงหน้า เช่น ถ้าเรารับเงินเดือน 20,000 บาท แล้วเราเซ็นยินยอมลดเงินเดือนเหลือ 18,000 บาท ต่อมาอีก 3 เดือนบริษัทแจ้งเลิกจ้างเรา บริษัทก็ต้องจ่ายค่าชดเชยโดยใช้ฐานค่าจ้างอัตราสุดท้าย คือ 18,000 บาทในการคำนวณค่าชดเชยจ่ายตามมาตรา 118
ส่วนกลุ่มที่ไม่เซ็นยินยอมลดเงินเดือน โดยสมมุติว่าเพื่อนเราเงินเดือนปัจจุบัน 20,000 บาท (เหมือนกับเรา) และไม่ยอมเซ็นยินยอมลดเงินเดือนลง ถ้าบริษัทเลิกจ้างเพื่อนเราก็จะใช้ฐานค่าจ้างอัตราสุดท้าย คือ 20,000 บาท ในการคำนวณการจ่ายค่าชดเชย
จากตัวอย่างในข้อ 5 และข้อ 6 ท่านจึงจำเป็นต้องพิจารณาหรือดูพฤติกรรมของฝ่ายบริหาร โดยดูจากอดีตที่ผ่านมาว่าเขาจะมีความน่าเชื่อถือ และมีแนวโน้มเลิกจ้างท่านในภายหลังจากเราเซ็นยินยอมลดเงินเดือนหรือไม่ ท่านอาจจะลองดูที่แนวโน้มทางธุรกิจที่ท่านทำว่าในอนาคตจะฟื้นตัวเร็วหรือไม่ นอกจากนี้ท่านอาจจะต้องลองวัดใจเขาว่าบริษัทที่ท่านทำงานในเวลานี้มีความจริงใจและมีเจตนาที่จะให้ช่วยกันเพื่อให้บริษัทอยู่รอดจริงหรือไม่ เพราะผู้เขียนก็เคยเจอบางบริษัทที่ผู้บริหารใช้เทคนิคขอความร่วมมือให้พนักงานลดเงินเดือนลงเพื่อลดงบประมาณการจ่ายค่าชดเชย พอพนักงานเซ็นยินยอมลดเงินเดือนลง อีกไม่กี่เดือนก็ layoff พนักงานออกทันทีก็มีไม่น้อย วิธีนี้คือว่าเป็นทริกสำหรับนายจ้างหัวหมอ ดังนั้น ก่อนจะเซ็นยินยอมลดเงินเดือนตัวเอง ท่านจำเป็นมากๆที่จะต้องประเมินความจริงใจของฝ่ายบริหารและคิดให้ดี ๆ ว่าคุ้มค่ากับการเซ็นชื่อยินยอมลดเงินเดือนหรือไม่
กรณีถูกเลิกจ้างแล้วลูกจ้างเห็นว่าการเลิกจ้างนั้นไม่เป็นธรรม ท่านยังสามารถมีสิทธิไปฟ้องศาลแรงงานเพื่อให้ศาลท่านวินิจฉัยว่าการเลิกจ้างนั้นเป็นธรรมหรือไม่ เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายได้อีกหนึ่งช่อง
 

สุดท้ายนี้ นายจ้างมีสิทธิขอลดเงินเดือนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับตัวลูกจ้างเป็นหลักเพราะการดำเนินการในเรื่องนี้ต้องมีการพูดจากันแบบความจริงใจ โปร่งใส ตรงไปตรงมาตามหลัก ใจเขา-ใจเรา จะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือของบริษัทเพราะให้ในอนาคตบริษัทนี้ยังเกิดความไว้วางใจเพื่อให้เป็นการจากกันด้วยดีในกรณีที่บริษัทต้องปิดกิจการและไม่ต้องเสียเวลาขึ้นโรงขึ้นศาลให้วุ่นวายในวันข้างหน้า

http://www.xn--72cf2bi6bdb7ewc6a5isb5d.com/

http://xn--b3ca1bicj2cj1jqaf.c...bd-1563-45cd-9df8-154a05470a11

http://xn--12cce9ebk7db0a1kd8e...a6-bfe1-498e-b155-ab20d1f0aff7

https://www.facebook.com/lampang11

https://www.facebook.com/lumpoon11
8  อื่นๆ / Cafe / ค่าชดเชย เมื่อเลิกจ้าง เมื่อ: 05 สิงหาคม 2020, 20:57:00
ค่าชดเชย (Severance Pay) หมายถึง เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือไปจากเงินประเภทอื่น ซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง (พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 5)

        ค่าชดเชยเป็นเงินที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง แม้ว่าสัญญาจ้างหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจะไม่ได้กำหนดไว้ก็ตาม ในกรณีที่นายจ้างนำเอาหลักเกณฑ์การจ่ายค่าชดเชยมากำหนดไว้ในสัญญาจ้างหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
นายจ้างจะกำหนดให้ลูกจ้างได้รับค่าชดเชยต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดไม่ได้ ข้อตกลงเช่นนี้จะตกเป็นโมฆะ(คำพิพากษาฎีกาที่ 2923/2524)

        อย่างไรก็ดี ถ้านายจ้างตกลงจ่ายเงินประเภทอื่นนอกเหนือไปจากค่าชดเชยตามกฎหมาย นายจ้างจะกำหนดวิธีการจ่ายอย่างไรก็ได้ตามที่เห็นสมควร เช่น นายจ้างอาจมีระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จว่า ถ้าลูกจ้างได้รับค่าชดเชยเท่ากับหรือสูงกว่าเงินบำเหน็จ นายจ้างจะจ่ายเงินบำเหน็จเท่ากับจำนวนค่าชดเชย
แต่ถ้าได้รับค่าชดเชยน้อยกว่าเงินบำเหน็จ นายจ้างก็จะจ่ายเงินบำเหน็จโดยถือว่าจ่ายค่าชดเชยไปด้วยแล้ว ในกรณีนี้เมื่อลูกจ้างถูกเลิกจ้างและนายจ้างจ่ายเงินบำเหน็จตามระเบียบ แม้จะเรียกว่าเงินบำเหน็จ ไม่ได้เรียกว่าค่าชดเชย ก็ถือได้ว่านายจ้างได้จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแล้ว
        โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้ กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง ทั้งนี้การเลิกจ้างได้แก่ การที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและ ไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และการที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง เพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป โดยมีเจตนารมณ์ในการให้ความคุ้มครองลูกจ้างซึ่งต้องถูกเลิกจ้างให้ ได้รับค่าชดเชย ไม่ว่าจะเป็นกรณีนายจ้างเป็นฝ่ายให้ลูกจ้างออกจากงาน นายจ้างเลิกกิจการ หรือ ลูกจ้างต้องออกจากงาน

เพราะสัญญาจ้างสิ้นสุดลง ยกเว้นกรณีดังต่อไปนี้

1. ลูกจ้างลาออกจากงานโดยสมัครใจ

2. ลูกจ้างที่ทำสัญญากับนายจ้างโดยมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน และนายจ้างเลิกจ้างตามกำหนด ระยะเวลานั้น สำหรับงานที่ต้องแล้วเสร็จภายใน 2 ปี โดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง และเป็นการจ้างงานใดงานหนึ่งที่ทำชั่วคราวในช่วงเวลาอันสั้นแล้วเสร็จสิ้นไป ซึ่งการว่าจ้างถือเอาความแล้วเสร็จของ งานเป็นสาระสำคัญในการกำหนดระยะเวลาการจ้าง ได้แก่งานดังต่อไปนี้

2.1 งานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและ สิ้นสุดของงานที่แน่นอน เช่น งานค้นคว้าทดลอง หรืองานสำรวจวิจัยซึ่งอาจเป็นการทำลองผลิตสินค้าชนิดใหม่ก่อน นำเข้าสู่กระบวนการผลิตตามปกติของธุรกิจนายจ้าง หรือการสำรวจหาแหล่งขุดเจาะน้ำมันในกิจการโรงกลั่นน้ำมัน ซึ่ง งานเหล่านี้มิใช่งานที่ทำเป็นปกติธุระในกิจการของนายจ้างนั้น
2.2 งานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน เช่น จ้างลูกจ้างเป็นช่างไม้ ช่างปูน ช่างผูกเหล็กในงานรับเหมาก่อสร้างซึ่งงานจะเสร็จตามหน้างาน หรือนายจ้างประกอบกิจการผลิตสินค้าสำเร็จรูป ได้จ้างลูกจ้างมาต่อเติมอาคารหรือซ่อมกำแพงโรงงานจนแล้วเสร็จ
2.3 งานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น เช่น จ้างลูกจ้างทำงานในการผลิตซึ่งอาศัย พืชผลตามฤดูกาล เช่นโรงงานน้ำตาล โรงงานผลิตผลไม้กระป๋อง

 

ถ้าเป็นการจ้างงานที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนในงานอื่นซึ่งมิใช่งาน 3 ประเภทนี้ ก็ไม่ใช่กรณียกเว้นเรื่อง ค่าชดเชย

ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างและไม่อยู่ในกรณียกเว้นข้างต้น รวมทั้งไม่อยู่ในกรณียกเว้นตามมาตรา 119 ด้วย จะมีสิทธิ ได้รับค่าชดเชยต่อเมื่อมีอายุงานตามเกณฑ์ที่กำหนดดังนี้

1. ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 30 วัน
2. ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 90 วัน
3. ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 180 วัน
4. ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 240 วัน
5. ลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 10ปี ขึ้นไป จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 300 วัน
http://www.xn--72cf2bi6bdb7ewc6a5isb5d.com/

http://xn--b3ca1bicj2cj1jqaf.c...bd-1563-45cd-9df8-154a05470a11

http://xn--12cce9ebk7db0a1kd8e...a6-bfe1-498e-b155-ab20d1f0aff7

https://www.facebook.com/lampang11

https://www.facebook.com/lumpoon11
9  ความรู้ทั่วไป / ระวังภัยทางเน็ต (Beware of Scams and Frauds) / ัการจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง เมื่อ: 23 มีนาคม 2020, 14:36:30
ประเด็นที่ 1 : นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง โดยคำนวณจากค่าจ้างอัตราสุดท้าย ตามระยะเวลาที่ลูกจ้างทำงาน ตามมาตรา 118 ดังนี้ 
1.1 ทำงานครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี จ่ายเท่ากับค่าจ้าง 30 วัน 
1.2 ทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี จ่ายเท่ากับค่าจ้าง 90 วัน 
1.3 ทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี จ่ายเท่ากับค่าจ้าง 180 วัน 
1.4 ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี จ่ายเท่ากับค่าจ้าง 240 วัน 
1.5 ทำงานครบ 10 ปีขึ้นไป จ่ายเท่ากับค่าจ้าง 300 วัน 
โดยค่าชดเชยต้องจ่ายทันทีเมื่อเลิกจ้าง หากไม่จ่ายถือว่าผิดนัด และต้องเสียดอกเบี้ยโดยไม่ต้องทวงถาม
สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยเป็นมรดก
 Shocked สิทธิเรียกร้องค่าชดเชย คดีมีอายุความ 10 ปี   Shocked

ประเด็นที่ 2 : นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น ซึ่งงานดังกล่าวจะต้องแล้วเสร็จไม่เกิน 2 ปี โดยมีหนังสือสัญญาไว้ตั้งแต่เริ่มจ้าง

ประเด็นที่ 3 : กรณีย้ายสถานประกอบการ นายจ้างต้องแจ้งให้แก่ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่เกิน 30 วัน หากลูกจ้างไม่ต้องการไปทำงานด้วย ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญา โดยได้รับค่าชดเชยพิเศษ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ 
ค่าชดเชยพิเศษ ในกรณีที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้าง เพราะเหตุปรับปรุงหน่วยงานกระบวนการผลิต การจำหน่ายหรือการบริการ อันเนื่องมาจากการนำเครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรือเทคโนโลยี ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า หากนายจ้างไม่แจ้งล่วงหน้าหรือแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่าระยะเวลา 60 วัน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษดังนี้
1 ลูกจ้างจะได้รับค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 60 วัน 
2 ลูกจ้างจะได้รับค่าชดเชยตามกฏหมาย 
3 ลูกจ้างที่มีอายุงาน 6 ปีขึ้นไป มีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษปีละ 15 วัน เมื่อรวมค่าชดเชยทั้งหมด แล้วต้องไม่เกิน 360 วัน

ประเด็นที่ 4 : นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ตามมาตรา 119 ดังนี้ 
4.1 ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง 
4.2 จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย 
4.3 ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง 
4.4 ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน หนังสือเตือนให้มีผลบังคับใช้ได้ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด 
4.5 ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม โดยไม่มีสาเหตุอันสมควร 
4.6 ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุด เว้นแต่เป็นนักโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

หากกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากนายจ้าง สามารถเรียกร้องสิทธิของตนตามกฎหมายได้ด้วยตนเอง โดยร้องเรียนต่อกรมแรงงานได้ด้วยตนเอง หรือว่าจ้างทนายความฟ้องร้องต่อศาลแรงงาน

#ทนายความเชียงใหม่ #ทนายเชียงใหม่ ขอเป็นกำลังให้ลูกจ้างทุกท่านครับ
ดรเกรียรติศักดิ์ เนติบัณฑิตไทย ทนายความวิถีพุทธและทีมทนายความ  wanwan003

http://www.xn--72cf2bi6bdb7ewc...79-3f99-4ece-bfdc-9ebbf72df4f6
10  ความรู้ทั่วไป / ระวังภัยทางเน็ต (Beware of Scams and Frauds) / ศาลนัดไกล่เกลี่ย ต้องทำอย่างไร เมื่อ: 13 มกราคม 2020, 11:56:02
 หากท่านได้รับหมายเรียกให้มาไกล่เกลี่ย ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ขอเรียนว่า ท่านต้องดูก่อนว่าหากเป็นหมายเรียกคดีมโนสาเร่, หมายเรียกคดีไม่มีข้อยุ่งยาก, หมายเรียกจำเลยในคดีผู้บริโภค แสดงว่าท่านถูกฟ้องเป็นจำเลย
หากท่านได้รับหมายเรียกดังกล่าวมาแล้วข้างต้นนี้  ท่านมีหน้าที่ต้องยื่นคำให้การและมาศาลตามวันนัดที่ได้ระบุไว้ในหมายเพื่อการไกล่เกลี่ย ให้การ และสืบพยาน และหากท่านมีความประสงค์จะต่อสู้คดีก็จะต้องให้การแก้คดีภายในวันนัดที่ระบุในหมาย  ซึ่งถือเป็นวันนัดพิจารณาครั้งแรกด้วย หากท่านไม่ไปศาลในวันพิจารณา ศาลอาจถือว่าท่านขาดนัดยื่นคำให้การ หรือขาดนัดพิจารณา แล้วแต่กรณี ซึ่งจะมีผลทำให้ท่านเป็นฝ่ายแพ้คดี โดยศาลจะตัดสินคดีโจทก์ไปผ่ายเดียว และจะมีคำพิพากษาและบังคับคดีต่อไป
ดังนั้น หากท่านได้รับหมายศาลดังกล่าวแล้ว ควรจะรีบติดต่อทนายความเพื่อช่วยดูแลคดี และทำคำให้การต่อสู้คดี ให้ทันตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดต่อไป รวมถึงทำการเจรจาไกล่เกลี่ยเพื่อให้คดีของท่านไม่เสียเปรียบหรือเสียหาย

การไกล่เกลี่ยคืออะไร
 
การไกล่เกลี่ย คือ กระบวนการยุติหรือระงับข้อพิพาทด้วยความตกลงยินยอมของคู่ความเอง โดยที่มีบุคคลที่สามมาเป็นคนกลางคอยช่วยเหลือแนะนำ เสนอแนะหาทางออกในการยุติหรือระงับข้อพิพาทให้คู่ความต่อรองกันได้สำเร็จ
        การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาล ผู้ไกล่เกลี่ยทำการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทซึ่งเป็นคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลตั้งแต่ศาลรับฟ้องจนถึงก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้กับคู่ความ เป็นการช่วยให้คู่ความทั้งสองฝ่ายสามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกัน แต่ผู้ไกล่เกลี่ยไม่มีอำนาจในการกำหนดข้อตกลงให้แก่คู่ความแต่อย่างใด โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดการประนีประนอมยอมความให้จากความสมัครใจของคู่ความทั้งสองฝ่ายเป็นสำคัญ ดังนั้น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจขอยกเลิกการไกล่เกลี่ยเสียเมื่อใดก็ย่อมได้

ผู้ไกล่เกลี่ยคือใคร
        ผู้ไกล่เกลี่ย หรือบางครั้งเรียกว่า “ผู้ประนีประนอม” ได้แก่ ผู้พิพากษาในศาลต่างๆ ซึ่งมิใช่ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ขอเรียนว่ารวมทั้งบุคคลหรือคณะบุคคลที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการไกล่เกลี่ย และ แต่งตั้งให้เป็นผู้ประนีประนอมประจำศาล โดยผู้พิพากษาหรือบุคคลดังกล่าวเป็นผู้มีความสนใจมีความพร้อมและสมัครใจที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยซึ่งมีความเป็นกลาง ไม่มีอคติสามารถให้ความเป็นธรรมกับคู่ความ ทุกฝ่ายได้ถูกต้องตรงตามความประสงค์ของคู่ความ ช่วยแก้ไขปัญหาให้แก่คู่ความทุกฝ่ายและเป็นผู้ช่วยทำให้ข้อพิพาททั้งหลายยุติลงอย่างฉันมิตร ผู้ไกล่เกลี่ยมีหน้าที่ในการช่วยให้คู่ความทั้งสองฝ่ายตกลงประนีประนอมยอมความกัน ไม่มีหน้าที่ตัดสินชี้ขาดข้อพิพาทหรือคดีระหว่างความแต่อย่างใด ทั้งนี้ การไกล่เกลี่ยในแต่ละคดีความนั้นต้องได้รับการแต่งตั้ง ให้เป็นผู้ไกล่เกลี่ยคดีนั้นโดยท่านผู้พิพากษาหัวหน้าศาลอีกครั้งหนึ่ง

 คดีหรือข้อพิพาทที่สามารถไกล่เกลี่ยได้
        1. คดีหรือข้อพิพาททางแพ่ง  
เช่น กู้ยืม ค้ำประกัน ซื้อขาย เช่าทรัพย์ ครอบครัว มรดก ฯลฯ
        2. คดีหรือข้อพิพาททางอาญาที่ยอมความได้
เช่น บุกรุก ยักยอก ทำให้เสียทรัพย์ หมิ่นประมาท ฯลฯ
        3. ข้อพิพาททางแพ่งที่เกี่ยวกับคดีอาญา   สามารถไกล่เกลี่ยได้ในส่วนคดีแพ่ง  
        เช่น กรณีขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย หรือ จิตใจ คดีสามารถตกลงประนีประนอมยอมความได้ในส่วนของค่าเสียหาย ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ขอเรียนว่าส่วนความผิดตามประมวลกฎหมายอาญานั้นเจ้าพนักงานตำรวจสามารถดำเนินคดีต่อไปได้
        4. คดีหรือข้อพิพาทอื่นที่ยุติโดยวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

ขั้นตอนการเข้าระบบไกล่เกลี่ย
        1. กรณีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนวันนัด
              1.1 โจทก์อาจแสดงความประสงค์ต่อศาล เพื่อขอให้ศาลนำคดีเข้าสู่ระบบการไกล่เกลี่ย    ข้อพิพาทในศาล ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ขอเรียนว่าเมื่อโจทก์ดำเนินการยื่นฟ้องคดี หรือจำเลยเมื่อได้รับสำเนาคำฟ้องหรือหนังสือเชิญชวนเข้าสู่ระบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท อาจแจ้งความประสงค์มายังศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเพื่อขอไกล่เกลี่ยข้อพิพาทกับคู่พิพาท
              1.2 ภายหลังที่ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทได้รับแจ้งความประสงค์ของคู่พิพาทแล้ว ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ขอเรียนว่าทางศูนย์จะประสานกับคู่พิพาทเพื่อกำหนดนัดวันไกล่เกลี่ยและแจ้งให้คู่พิพาททุกฝ่ายทราบ
        2. กรณีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างการพิจารณาคดีของศาล
              2.1 คู่ความสามารถขอให้ศาลใช้ระบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในเวลาใด ๆ ก็ได้ในระหว่างการพิจารณาคดีหรือศาลอาจเห็นสมควรให้ไกล่เกลี่ยคดีให้อยู่ระหว่างการพิจารณาก็ได้
              2.2 ผู้พิพากษาส่งคดีเข้าสู่ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทประจำศาลดำเนินการ
              2.3 ผู้พิพากษาทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยหรือผู้ประนีประนอมประจำศาลซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ขึ้นทะเบียนไว้ดำเนินการไกล่เกลี่ย
              2.4 ถ้าตกลงกันได้ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ขอเรียนว่าก็อาจมีการถอนฟ้อง ถอนคำร้องทุกข์ หรือศาลมีคำพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่คู่ความตกลงยินยอมจัดทำขึ้น

11  ความรู้ทั่วไป / ระวังภัยทางเน็ต (Beware of Scams and Frauds) / Re: การทวงหนี้ ตามกฎหมายใหม่ เมื่อ: 07 มกราคม 2020, 13:16:56
ในหลวง โปรดเกล้าฯ แล้ว พ.ร.บ.ทวงหนี้ ฉบับใหม่ ครอบคลุมทวงหนี้ทั้งในระบบ นอกระบบ ห้ามใช้ความรุนแรง วาจา ภาษาดูหมิ่น เปิดเผยหนี้แก่ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง หรือก่อความรำคาญ พร้อมกำหนดเวลาทวงหนี้ ห้ามทวงหนี้กับคนอื่นที่ไม่ใช่ลูกหนี้  
ล่าสุดเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ ในรัชกาลปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการทวงถามหนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของตน และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้   wanwan019

 สำหรับพระราชบัญญัติการทวงหนี้ฉบับใหม่ ทีมทนายลำปาง และสำนักงานกฎหมายลำปาง ขอเรียนว่า   ครอบคลุมการทวงหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบ โดยผู้ติดตามหนี้ ต้องขออนุญาตต่อคณะกรรมการกำกับการทวงหนี้ โดยต้องมีการจดทะเบียนต่อทางราชการ ส่วนสาระสำคัญมีดังนี้

 1.ห้ามมิให้ผู้ติดตามหนี้ติดต่อบุคคลอื่น ที่ไม่ใช่ลูกหนี้ ทีมทนายลำปาง และสำนักงานกฎหมายลำปาง ขอเรียนว่า   จะไปทวงกับบุคคลในครอบครัวหรือบุคคลอื่นไม่ได้ ทวงได้เฉพาะลูกหนี้และผู้ค้ำประกันเท่านั้น เว้นแต่เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสถานที่ติดต่อลูกหนี้

 2.ห้ามมิให้ผู้ติดตามหนี้ กระทำการในลักษณะที่เป็นการละเมิด และคุกคาม ทีมทนายลำปาง และสำนักงานกฎหมายลำปาง ขอเรียนว่า    ในการติดตามทวงถามหนี้ อาทิ ใช้ความรุนแรง ใช้วาจา หรือภาษาดูหมิ่น ถากถาง เสียดสี การเปิดเผยความเป็นหนี้ของผู้บริโภคแก่ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง

 3.ห้ามติดตามทวงหนี้เกินสมควรแก่เหตุ รวมถึงการติดต่อทางโทรศัพท์วันละหลายครั้ง และก่อให้เกิดความเดือดร้อน รำคาญ

 4.ห้ามมิให้ผู้ติดตามหนี้กระทำการในลักษณะที่เป็นเท็จ หรือทำให้เกิดความเข้าใจผิด ในการติดตามทวงหนี้ ทีมทนายลำปาง และสำนักงานกฎหมายลำปาง ขอเรียนว่า   การทำให้เข้าใจว่าเป็นการกระทำของศาล เจ้าพนักงานบังคับคดี รัฐ หน่วยงานของรัฐ ทนายความ หรือสำนักงานกฎหมาย ทำให้เชื่อว่าหากไม่ชำระหนี้จะถูกดำเนินคดี ถูกยึดหรืออายัดทรัพย์หรือเงินเดือน ข่มขู่ว่าจะดำเนินการใด ไม่มีอำนาจจะกระทำได้ตามกฎหมาย

 5.ห้ามไม่ให้ผู้ติดตามหนี้ ติดตามทวงถามหนี้ในลักษณะที่ไม่เป็นธรรม ทีมทนายลำปาง และสำนักงานกฎหมายลำปาง ขอเรียนว่า   อาทิเช่น เรียกเก็บค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายใดๆ เว้นแต่ได้มีการตกลงไว้ล่วงหน้า ติดต่อลูกหนี้เกี่ยวกับหนี้โดยทางไปรษณียบัตร เอกสารเปิดผนึก หรือโทรสาร ใช้ภาษา สัญลักษณ์ ชื่อทางธุรกิจ บนซองจดหมายในการติดต่อลูกหนี้ ที่แสดงให้เห็นว่าเป็นการติดตามทวงถามหนี้

 ส่วนการติดต่อกับลูกหนี้นั้น ให้ติดต่อตามสถานที่ที่ลูกหนี้แจ้งไว้เท่านั้น ยกเว้นติดต่อไม่ได้ ทีมทนาย และสำนักงานกฎหมาย ขอเรียนว่า   ให้ถือเอาสถานที่ติดต่ออื่น เป็นสถานที่ที่เหมาะสมในการติดต่อได้ โดยการติดต่อลูกหนี้ทางโทรศัพท์ โทรสาร หรือติดต่อบุคคล สำหรับวันทำการให้ติดต่อได้ในเวลา 08.00-20.00 น. ส่วนวันหยุดราชการติดต่อได้ในเวลา 08.00-18.00 น. เว้นแต่ได้ตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษร

 wanwan013 wanwan013 wanwan013

12  ความรู้ทั่วไป / ระวังภัยทางเน็ต (Beware of Scams and Frauds) / การทวงหนี้ ตามกฎหมายใหม่ เมื่อ: 07 มกราคม 2020, 13:15:05
ในหลวง โปรดเกล้าฯ แล้ว พ.ร.บ.ทวงหนี้ ฉบับใหม่ ครอบคลุมทวงหนี้ทั้งในระบบ นอกระบบ ห้ามใช้ความรุนแรง วาจา ภาษาดูหมิ่น เปิดเผยหนี้แก่ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง หรือก่อความรำคาญ พร้อมกำหนดเวลาทวงหนี้ ห้ามทวงหนี้กับคนอื่นที่ไม่ใช่ลูกหนี้  
ล่าสุดเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ ในรัชกาลปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการทวงถามหนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ของตน และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้   wanwan019

 สำหรับพระราชบัญญัติการทวงหนี้ฉบับใหม่ ทีมทนายลำปาง และสำนักงานกฎหมายลำปาง ขอเรียนว่า   ครอบคลุมการทวงหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบ โดยผู้ติดตามหนี้ ต้องขออนุญาตต่อคณะกรรมการกำกับการทวงหนี้ โดยต้องมีการจดทะเบียนต่อทางราชการ ส่วนสาระสำคัญมีดังนี้

 1.ห้ามมิให้ผู้ติดตามหนี้ติดต่อบุคคลอื่น ที่ไม่ใช่ลูกหนี้ ทีมทนายลำปาง และสำนักงานกฎหมายลำปาง ขอเรียนว่า   จะไปทวงกับบุคคลในครอบครัวหรือบุคคลอื่นไม่ได้ ทวงได้เฉพาะลูกหนี้และผู้ค้ำประกันเท่านั้น เว้นแต่เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสถานที่ติดต่อลูกหนี้

 2.ห้ามมิให้ผู้ติดตามหนี้ กระทำการในลักษณะที่เป็นการละเมิด และคุกคาม ทีมทนายลำปาง และสำนักงานกฎหมายลำปาง ขอเรียนว่า    ในการติดตามทวงถามหนี้ อาทิ ใช้ความรุนแรง ใช้วาจา หรือภาษาดูหมิ่น ถากถาง เสียดสี การเปิดเผยความเป็นหนี้ของผู้บริโภคแก่ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง

 3.ห้ามติดตามทวงหนี้เกินสมควรแก่เหตุ รวมถึงการติดต่อทางโทรศัพท์วันละหลายครั้ง และก่อให้เกิดความเดือดร้อน รำคาญ

 4.ห้ามมิให้ผู้ติดตามหนี้กระทำการในลักษณะที่เป็นเท็จ หรือทำให้เกิดความเข้าใจผิด ในการติดตามทวงหนี้ ทีมทนายลำปาง และสำนักงานกฎหมายลำปาง ขอเรียนว่า   การทำให้เข้าใจว่าเป็นการกระทำของศาล เจ้าพนักงานบังคับคดี รัฐ หน่วยงานของรัฐ ทนายความ หรือสำนักงานกฎหมาย ทำให้เชื่อว่าหากไม่ชำระหนี้จะถูกดำเนินคดี ถูกยึดหรืออายัดทรัพย์หรือเงินเดือน ข่มขู่ว่าจะดำเนินการใด ไม่มีอำนาจจะกระทำได้ตามกฎหมาย

 5.ห้ามไม่ให้ผู้ติดตามหนี้ ติดตามทวงถามหนี้ในลักษณะที่ไม่เป็นธรรม ทีมทนายลำปาง และสำนักงานกฎหมายลำปาง ขอเรียนว่า   อาทิเช่น เรียกเก็บค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายใดๆ เว้นแต่ได้มีการตกลงไว้ล่วงหน้า ติดต่อลูกหนี้เกี่ยวกับหนี้โดยทางไปรษณียบัตร เอกสารเปิดผนึก หรือโทรสาร ใช้ภาษา สัญลักษณ์ ชื่อทางธุรกิจ บนซองจดหมายในการติดต่อลูกหนี้ ที่แสดงให้เห็นว่าเป็นการติดตามทวงถามหนี้

 ส่วนการติดต่อกับลูกหนี้นั้น ให้ติดต่อตามสถานที่ที่ลูกหนี้แจ้งไว้เท่านั้น ยกเว้นติดต่อไม่ได้ ทีมทนาย และสำนักงานกฎหมาย ขอเรียนว่า   ให้ถือเอาสถานที่ติดต่ออื่น เป็นสถานที่ที่เหมาะสมในการติดต่อได้ โดยการติดต่อลูกหนี้ทางโทรศัพท์ โทรสาร หรือติดต่อบุคคล สำหรับวันทำการให้ติดต่อได้ในเวลา 08.00-20.00 น. ส่วนวันหยุดราชการติดต่อได้ในเวลา 08.00-18.00 น. เว้นแต่ได้ตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษร

 wanwan013 wanwan013 wanwan013

13  ความรู้ทั่วไป / ระวังภัยทางเน็ต (Beware of Scams and Frauds) / กู้ยืมเงินทางไลน์ ถึงไม่มีสัญญา ก็สามารถฟ้องตามกฎหมายได้ เมื่อ: 23 เมษายน 2019, 14:02:55
กู้ยืมเงินทางไลน์ ถึงไม่มีสัญญา ก็สามารถฟ้องตามกฎหมายได้

       ปัญหาปวดใจของตยเป็นเจ้าหนี้นอกจากจะโดนลูกหนี้ชิ่ง แถมเวลาไปแจ้งความกับทางตำรวจบางท่านก็อาจไม่รับแจ้งความได้ เพียงเหตุเพราะว่า ไม่มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งถือเป็นความเข้าใจผิดเป็นอย่างมาก เพราะปัจจุบันชาวบ้านทั่วไปหรือนักกฎหมายบางท่านก็ยังเข้าใจมาตลอดว่า หากกู้ยืมเงินกันมากกว่า 2,000 บาทขึ้นไป จะต้องมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นสำคัญถึงจะสามารถฟ้องต้องตามกฎหมายได้

       โดยปัจจุบัน สำนักงานกิจการยุติธรรมได้เผยแพร่ความรู้ที่ว่า ข้อความในการแชตยืมเงินกัน สามารถใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องศาลได้ โดยอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เกี่ยวกับการยืมเงินกันเกิน 2,000 บาท ต้องทำหนังสือเป็นหลักฐานและลงลายมือชื่อ จึงจะสามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ และ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 กล่าวถึง "ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือ อักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่น ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น"

        แชตจะเป็นหลักฐานอย่างไร Huh?

          จากข้อความดังกล่าวถูกตีความว่า แชตที่สามารถใช้เป็นหลักฐานแทนหนังสือ ต้องมีองค์ประกอบดังนี้

          1. ข้อความแชต (Chat) ที่ระบุข้อความขอยืมเงิน จำนวนเงิน และเห็นบัญชีผู้ใช้ว่าเป็นใครมาขอยืมเงิน

          2. บัญชีผู้ใช้ของผู้ยืมเงิน (Account) ในแชตจะต้องสามารถระบุชื่อบัญชีผู้ใช้ของผู้ยืมเงิน และเป็นข้อมูลชื่อบัญชีผู้ใช้ที่มีระบบปลอดภัยและเชื่อถือได้

          3. หลักฐานการโอนเงิน (Slip) ที่ระบุวันเวลาที่โอนเงิน ไม่แก้ไขวันเวลารับส่งข้อความ


          หากมีหลักฐานดังที่กล่าวมา ถือเป็นหนังสือใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องศาลได้


แชตเรื่องเงิน ที่อาจจะใช้เป็นหลักฐานได้

          ถ้าการขอยืมเงินผ่านแชต ถูกตีความว่าเป็นหนังสือใช้เป็นหลักฐานได้ การแชตเกี่ยวกับเรื่องเงินเหล่านี้ก็อาจถูกใช้เป็นหลักฐานได้ ยกตัวอย่างเช่น

          1. การปลดหนี้ ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กล่าวถึง การปลดหนี้ ว่า "การปลดหนี้ให้เพียงมีหนังสือเป็นหลักฐานถือเป็นการยกหนี้ให้" ถ้าแชตถือเป็นหนังสือ การแชตว่าจะยกหนี้ให้หรือปลดหนี้ให้ ก็ถือว่าเป็นการปลดหนี้แล้ว ดังนั้น การแชตในทำนองประชดว่า "ถ้าคุณไม่อยากคืน ดิฉันก็ขอยกหนี้ให้ ถือว่าเอาบุญ" ก็มีโอกาสเข้าข่ายว่าปลดหนี้ให้แล้ว

          2. การซื้อขายสังหาริมทรัพย์ ตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไป ต้องทำเป็นหนังสือเป็นหลักฐาน จึงนำมาใช้ฟ้องร้องได้ ดังนั้น การซื้อขายสังหาริมทรัพย์ เช่น แก้ว แหวน เงินทอง หรือซื้อขายของออนไลน์ ไม่ว่าจะมูลค่ากี่บาท หากมีการแชตที่ตกลงซื้อขายแล้ว ก็เข้าข่ายเป็นหนังสือที่ใช้เป็นหลักฐาน หากไม่ทำตามข้อตกลง จึงนำมาใช้เป็นหลักฐานฟ้องร้องกันได้ต่อไป

          3. พินัยกรรม (แบบธรรมดา) เป็นการแชตและส่งในห้องที่มีบุคคลอื่นอย่างน้อย 2 คน เพื่อเป็นพยาน ก็อาจเข้าข่ายใช้เป็นหลักฐานแสดงความประสงค์ว่าจะให้จัดการทรัพย์สินของเจ้ามรดกหลังเสียชีวิตอย่างไรบ้าง




14  อื่นๆ / Cafe / เล่นสงกรานต์ จับนมจับอวัยวะเพศชาวบ้าน ระวังเป็นโทษทางกฎหมาย เมื่อ: 22 มีนาคม 2019, 10:12:13
เล่นสงกรานต์ จับนมจับอวัยวะเพศชาวบ้าน ระวังเป็นโทษทางกฎหมาย

ในช่วงวันดีๆของประเพณีสงกรานต์ คนไทยก็มักจะไปเล่นสาดน้ำปะแป้งกันอย่างสนุกสนาน แต่ก็มีหลายๆครั้งที่มีเหตุการณ์ลวนลามผู้ที่เล่นน้ำด้วยกัน ซึ่งถ้าเขาเอาเรื่องขึ้นมาก็อาจจะเจอโทษได้นะเธอ มาดูตัวอย่างกันเลย

 1.จับนมผู้หญิง : เห็นกันอยู่ทุกปีว่าจะมีการเล่นน้ำปะแป้งกันแล้วก็หลายๆคนคึกคะนองไปแปะถึงหน้าอกเลยซะงั้น แบบนี้มีโอกาสถูกข้อหาอนาจารได้


 2.จับอวัยวะเพศชาย : เป็นผู้ชายบางทีเราคิดว่าเล่นด้วยได้ แมนๆไม่ถือสากัน แต่ต้องอย่าลืมนะว่าบางทีเราเล่นสนุกด้วยการไปจับจู๋เขาขึ้นมา อาจจะมีความผิดที่เรื่องอนาจารหรือเลยไปถึงข่มขืนเขาได้เลยนะ

3.จับอวัยวะเพศหญิง : ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงแท้ๆ หรือสาวประเภท 2 อย่าไปจับเชียว มีโทษทางกฎหมายทั้งอนาจารหรือเลยไปถึงข่มขืนได้เลยเช่นกัน


4.ฉีดน้ำใส่โดนนมโดนเป้า : บางคนก็แอบสงสัยว่าถ้าเราเอาปืนฉีดน้ำยิงๆใส่อยู่แล้วไปโดนนมหรือโดนเป้าจะเป็นไรไหม อันนี้ไม่เป็นอะไรนะครับ สบายใจได้

พอรู้อย่างงี้แล้วเวลาเล่นสงกรานต์ก็ควรเล่นอย่างระมัดระวังนะครับ อย่าไปลวนลามใครเลยเพราะถ้าเกิดมีปัญหาขึ้นมา การเล่นสงกรานต์อาจจะไม่สนุกกันได้น้าาา

เครดิตบทความจาก :
http://xn--72cf2bi6bdb7ewc6a5isb5d.com/
http://xn--12cce9ebk7db0a1kd8e2n.com/
http://xn--42ci7bi9bzf4b9dzb.com/
http://xn--b3ca1bicj2cj1jqaf.com/
http://xn--42c1bfb5bcc5bc8hd9e7m.com/
http://www.icothai.com/

15  ความรู้ทั่วไป / ระวังภัยทางเน็ต (Beware of Scams and Frauds) / การเขียนสัญญาเงินกู้ด้วยตัวเอง เมื่อ: 21 มีนาคม 2019, 14:40:12
โดยปกติหากมีการกู้ยืมเงินกัน ส่วนใหญ่แล้วผู้ให้กู้ก็จะใช้สัญญาเงินกู้สำเร็จรูปที่หาซื้อได้ตามห้างสรรพสินค้าหรือร้านเครื่องเขียนมาใช้เป็นหลักฐานในการกู้ยืมเงิน ซึ่งหลายๆคนยังคิดว่าต้องใช้สัญญาเงินกู้แบบนี้เท่านั้นจะจึงสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้กู้ได้ในกรณีที่ผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้ตามกำหนด

ซึ่งจริงๆแล้วบุคคลทั่วไปสามารถเขียนสัญญากู้ซึ่งในที่นี้ผมขอเรียกว่าหลักฐานการกู้ยืมขึ้นมาเองได้ง่ายๆ โดยองค์ประกอบหลักๆของหลักฐานแห่งการกู้ยืมจะต้องมีรายละเอียดดังนี้

1.วันที่ที่ทำหลักฐานการกู้ยืม
2.ชื่อ ว่าผู้ใดกู้ยืมเงินจากผู้ใด
3.จำนวนเงินที่กู้ยืม
4.กำหนดชำระ (จะมีหรือไม่มีก็ได้)
5.ดอกเบี้ย (ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี หรือร้อยละ 1.25 ต่อเดือน)
6.ลายเซ็นต์ผู้กู้
7.ลายเซ็นต์ผู้ให้กู้ (จะมีหรือไม่ก็ได้)
หรือหากจะทำแบบเรียบง่ายก็เพียงเขียนว่า นาย ก. ได้กู้ยืมเงินจากนาย ข. เป็นจำนวนเงิน xxx บาท และลงชื่อนาย ก. ผู้กู้ เช่นนี้ก็ถือเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมแล้วครับ โดยหลักฐานแห่งการกู้ยืมสามารถเขียนด้วยลายมือหรือพิมพ์จากคอมพิวเตอร์ก็สามารถทำได้ครับ แต่ทั้งนี้การกู้ยืมเงินโดยมีการจำนองที่ดินเป็นประกัน ไม่จำเป็นต้องทำสัญญากู้ก็ได้ครับ เพียงแต่แจ้งเจ้าหน้าที่ว่าขอใช้สัญญาจำนองเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม เช่นนี้ก็ถือว่ามีหลักฐานแห่งการกู้ยืมแล้วและสามารถนำไปฟ้องคดีในกรณี ที่ผู้กู้ผิดนัดชำรำได้เช่นกันครับ


16  ความรู้ทั่วไป / ระวังภัยทางเน็ต (Beware of Scams and Frauds) / Case Study : ใจดีเกินไปก็เสียทรัพย์สินไม่รู้ตัว$ เมื่อ: 12 กุมภาพันธ์ 2019, 14:32:44
พื้นฐานของคนไทยนั้นก็มักจะเป็นคนที่ใจดี เอื้อเผื้อเผื่อแผ่ มีน้ำใจ แต่หลายๆครั้งการมีน้ำใจแบบไม่ได้รู้เท่าทันในกฎหมายก็อาจจะทำให้เราเกิดความสูญเสียได้ ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินหรือของที่เรารัก มาดูตัวอย่างจริงที่เกิดขึ้นกัน 2 รูปแบบ

 

Case Study ที่ 1

มีเจ้าของที่ดินประเภท นส. 3 ขนาด 12 ไร่ ซึ่งมีการขุดบ่อขนาด 5 ไร่เอาไว้ในสวน เจ้าของเป็นคนใจดี มีน้ำใจ อนุญาตให้เพื่อนบ้านเข้ามาตักน้ำไปใช้ได้ จนเวลาผ่านไป 65 ปี ชาวบ้านก็ใช้บ่อนี้จนเคยชินและกลายเป็นของสาธารณะในละแวกนั้น วันดีคืนดีเจ้าของที่ดินจึงนำรั้วมาล้อมไว้ แต่ถูกทางเทศบาลเข้ามาเป็นตัวตั้งตัวตีและมองว่าบ่อน้ำนั้นเป็นของสาธารณะ ไม่สามารถล้อมรั้วได้

ดังนั้นจึงมีการฟ้องร้องเกิดขึ้น ศาลได้พิพากษา ผลคำพิพากษาคือศาลบอกว่าแผนที่ Goolgle Map ของเทศบาลไม่ตรงกับภาพวาด นส.3 ของเจ้าของที่ ดังนั้น ที่ดินแปลงดังกล่าวจึงไม่ใช่ที่ นส.3 ของเจ้าของที่ดินแต่เป็นที่สาธารณะ

 

Case Study ที่ 2

มีที่ดินแปลงหนึ่งที่เจ้าของได้รับมรดกมาจากแม่ที่เสียชีวิตเป็นโฉนดที่ดิน 8 ไร่ โดยในขณะที่แม่ยังมีชีวิตอยู่ ได้ให้คนมาใช้ที่ดินเดินผ่านไปยังบ้านของเจ้าของบ้าน โดยมีขนาดถนนกว้าง 3 เมตร ยาว 520 เมตร ต่อมาเกิดปัญหาบนที่ดินเนื่องจากมีคนนำขยะมาทิ้ง จอดรถ ปลูกพืชผัก เลี้ยงสัตว์ เจ้าของจึงมีการล้อมรั้วลวดหนาม แต่ถูกทำลายลง ต่อมีจึงได้มีการขออนุญาตในการล้อมรั้วคอนกรีตกับเทศบาล ในระหว่างการดำเนินงานก็ถูกคัดค้านจากชาวบ้านให้ร่น 3 เมตร ซึ่งชาวบ้านอ้างว่าบริเวณดังกล่าวใช้กันมายาวนานหลาย 10 ปี ที่ดินนั้นจึงเป็นพื้นที่สาธารณะสมบัติ

 

ทั้ง 2 ตัวอย่างจะเห็นได้ว่าความใจดี เมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่นั้นอาจจะทำให้เราเกิดปัญหาในภายหลังได้ จากตัวอย่างที่เกิดขึ้น เราจึงต้องหาทางป้องกัน เช่น การเก็บค่าใช้น้ำ ค่าผ่านทาง ซึ่งแม้เราจะไม่ได้หวังผลในการมีรายได้เพิ่ม แต่ยังถือว่าเรากำลังบอกว่าเราถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นๆอยู่ ไม่เช่นนั้นเราอาจจะต้องยกสมบัติเราให้สาธนารณะได้

 

สมบัติสาธารณะ ที่ดิน ครอบครอง ที่สาธารณะ

17  ความรู้ทั่วไป / ระวังภัยทางเน็ต (Beware of Scams and Frauds) / ทวงหนี้เพื่อนผ่าน Facebook หรือ Line อย่างไรให้ไม่ผิดกฎหมาย เมื่อ: 03 ธันวาคม 2018, 15:30:42
ปัญหาเรื่องหนี้สินและการทวงหนี้มีมาอย่างยาวนานก่อนสมัยพระเจ้าเหาเลยละมั้งนะครับ ต่อให้มีการทำสัญญากันว่าจะคืนวันนั้นวันนี้ ให้เพื่อนยืมตัง แต่ถ้าเพื่อนไม่คืน เราก็ต้องโทรถามตามยิกๆๆๆๆ บางทีทวงแล้วเขาไม่คืน ไม่รับสาย เกิดความแค้นใจ ประกาศด่าลูกหนี้กลาง Facebook และ Group Line กันเลยทีเดียว แต่นั่นเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้องนะเธอว์ โดนเขาฟ้องรัวๆได้

ถ้าอยากจะทวงให้ถูกต้องผ่านทาง Facebook หรือ Line ก็ต้องทวงผ่านกล่องข้อความ Message หรือ Line ส่วนตัวนะครับ เพื่อนกัน… แหม ทำไมจะทวงกันไม่ได้ แต่อย่าไปพูดในที่สาธารณะเด็ดขาดเชียว

อย่างไรก็ตาม การทวงหนี้ก็มีกฎหมายข้อบังคับ โดยเราห้ามไปทวงหนี้ในลักษณะนี้นะครับ

1.การทวงหนี้ห้ามข่มขู่ว่าจะทำร้ายร่างกาย : ห้ามเชียว จะยิงทิ้ง จะเอาคนไปกระทืบ เดี๋ยวครอบครัวมรุงโดนแน่ การข่มขู่ในลักษณะนี้ผิดกฎหมายนะครับ ห้ามเชียว

2.ห้ามใช้คำพูดดูถูกลูกหนี้ : เขาไม่ใช้เงินก็อย่าไปว่าเขาว่า จนแล้วไม่เจียม มากู้ฉันทำไมถ้าไม่มีตังมาคืน อีจน! อย่าเชียว เดี๋ยวพูดแรงเกินไปติดลมแล้วจะกลายเป็นการหมื่นประมาท

3.ห้ามเปิดเผยความเป็นหนี้ให้คนที่ไม่เกี่ยวข้องรู้ : เวลาใครเป็นหนี้ ก็ทวงกับคนนั้นนะครับ อย่าไป Add Facebook พ่อแม่เขาแล้วไป Post หน้า Wall หรือ Capture หน้าจอไปโพสตามเวปบอร์ดให้คนอื่นอ่านนะ

4.ห้ามติดต่อลูกหนี้ทางเอกสารเปิดผนึกที่ทำให้คนอื่นรู้ว่าเป็นการทวงหนี้ : ห้ามเชียวจดหมายไม่ปิดซองบอกรักความเป็นหนี้ หรือ Post Card ส่งไปทวงหนี้นะครับ

5.ห้ามใช้ข้อความเครื่องหมายสัญลักษณ์บนซองที่ทำให้เข้าใจว่าเป็นการทวงหนี้ : ส่งจดหมาย ให้เขาอ่านข้างในพอ ตรงซองห้ามแปะพวกคำว่า “ชำระหนี้ด่วน” เลยนะ

6.คนที่ทวงหนี้ห้ามแสดงตัวโดยให้คนอื่นเชื่อว่าหนังสือทวงหนี้ว่ามาจากศาลหรือจากหน่วยงานของรัฐ : ถ้าเราไม่ใช่ศาลก็อย่าไปใส่บนซองว่า “ศาล” หรือคำว่า “ราชการ” ใส่ความว่าศาลเดี๋ยวจะกลายเป็นละเมิดอำนาจศาลได้นะครับ

7.ห้ามทำให้คนอื่นเชื่อว่าเป็นทนายความหรือมาจากสำนักงานทนายความ : ปกติทนายความที่มีใบอนุญาตให้ว่าความสามารถออกหนังสือทวงถามได้ แต่ถ้าบางคนเนียนทำทีเป็นทนาย โดยไม่ได้เป็นทนายจริง ก็ไม่สามารถทำได้จ๊ะ อันนี้ก็ห้ามเหมือนกัน

8.ห้ามแสดงข้อความว่าจะยึด-อายัดทรัพย์หรือดำเนินคดี : ห้ามเชียวสำหรับพวกข้อความในซองจดหมายว่าจะยึดทรัพย์ จะอายัดทรัพย์ จะดำเนินคดีทันทีหรือฟ้องทันที ห้ามๆเลยครับ

9.ห้ามหลอกให้ลูกหนี้ให้เชื่อว่าจะติดเครดิตบูโร : บางทีทวงหนี้แบบโหด ฉันจะแจ้งเคริตบูโร เธอจะมีปัญหาแน่! อันนี้ห้ามนะจ๊ะ ไม่ดีๆ

ดูเหมือนจะมีกฎเกณฑ์มากมายเลยนะครับ อย่างไรก็ตามถ้าในมุมบุคคลธรรมดาอย่างเราๆก็แก้ปัญหาด้วยการไม่ให้คนอื่นยืมเงิน ให้ยืมเงินโดยเราไม่เดือดร้อน หรือยืมเงินโดยมีการทำสัญญากันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย การทวงหนี้ก็เช่นกันนะครับ ควรทวงดีๆ หากทวงแล้วไม่โอเคก็ดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมายจะดีกว่า


18  ความรู้ทั่วไป / ระวังภัยทางเน็ต (Beware of Scams and Frauds) / Re: รู้ไหม? โพสผ่านสื่อออนไลน์ก็ติดคุกได้โดยไม่รู้ตัว เมื่อ: 03 ธันวาคม 2018, 15:29:35
ขอโทษนะครับ https กด link ไม่ไปมันต้อง http เฉยๆครับ

ขอบพระคุณมาก ๆครับ
19  ความรู้ทั่วไป / ระวังภัยทางเน็ต (Beware of Scams and Frauds) / รู้ไหม? โพสผ่านสื่อออนไลน์ก็ติดคุกได้โดยไม่รู้ตัว เมื่อ: 29 พฤศจิกายน 2018, 15:40:08
รู้ไหม? โพสผ่านสื่อออนไลน์ก็ติดคุกได้โดยไม่รู้ตัว
ช่วงหลังนี้พอเรามีระบบอินเตอร์เน็ต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เครือข่ายสังคมออนไลน์ใช้มากขึ้น สะดวกขึ้น และทำโน้นทำให้ได้มากขึ้นก็ทำให้หลายคน เกิดนึกสนุกทำอะไรแปลกๆ บ้าๆบอๆเพราะคิดว่ามันคือความสร้างสรรค์ให้คนขบขันได้ แต่หลายๆครั้งกฎหมายก็ไม่ได้ตลกด้วยนะจ๊ะ เขาเอาเรื่องจนมีโทษจนหงายการ์ดรู้เท่าไม่ถึงการณ์ไม่ทันกันเลยทีเดียว มาดูกันว่าทำอะไรแล้วมีความผิดได้บ้าง

มาดูในรูปแบบแรกนะครับคือการโพสข้อความเสียหายที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลต่างๆ ว่าสิ่งใดที่ทำแล้วผิด พรบ.คอมพิวเตอร์บ้างนะครับ

1.โพสข้อมูลปลอม เอาข้อมูลที่มีอยู่มาแก้ไขและเผยแพร่ เช่น เอาประกาศของราชการมา Photoshop สุดฤทธิ์แล้วเที่ยวไปบอกคนอื่นว่าเป็นเอกสารจริง แล้วเกิดความเสียหายเข้าใจผิดเต็มไปหมด อันนี้โดนแน่ๆ

2.โพสข้อมูลเท็จทำให้คนตกใจหรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงต่อประเทศ เช่น Twitter บอกชาวบ้านว่า อิฉันเจอระเบิดที่สนามบินนะคะ หรือไปถ่ายรูปกับรถถังแล้วสร้างเรื่องเป็นตุเป็นตะว่าจะมีการปฏิวัติรัฐประหาร อันนี้โดนจับไปปรับทัศนคติแน่นอน ไม่ควรทำครับ

3.โพสข้อมูลที่ทำให้มีผลต่อความมั่นคงหรือเป็นเรื่องการก่อการร้าย เช่น โพสว่าระวังไว้นะพวกแก ฉันจะวางระเบิดปาเต้ยกะทีที่บาร์เกย์ หรือ ถ่ายรูปปืนแล้วโพสว่าจะยิงตำรวจ บางทีเราคิดว่าโพสเล่นๆไม่มีคนเห็นเยอะๆ แต่ถ้าเกิดประเด็นนี่แย่เลยนะ

4.โพสรูปภาพ ข้อความ และวีดีโอลามกอนาจาร เช่น โพสรูปใน Facebook ของตัวเองแล้วบอกว่าของผมเองครับ นัดเจอกันได้นะครับ แล้วก็อย่าไปเปรี้ยวโพสข้อความลามกแบบนี้กับคนที่เราชอบหน้า Wall Facebook เขาด้วยล่ะ

5.เผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูล ตั้งแต่ข้อ 1-4 ที่กล่าวมาขั้นต้น บรรดานักแชร์ทั้งหลายก็ต้องระวังข้อมูลที่เป็นเท็จด้วยนะครับ บางทีเราแชร์ไปแบบไม่รู้ก็มีความผิดได้เหมือนกัน

ในข้อ 1 ถึง ข้อ 5 นี้มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับและไม่สามารถยอมความได้เพราะเป็นเรื่องที่กระทบต่อความมั่นคงและศีลธรรมอันดีของบ้านเมืองครับ

ขอแถมอีกข้อ บางทีการเล่นสนุกกันระว่างเพื่อนฝูงก็อาจจะทำให้ผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ได้เช่นกัน

6.การตัดต่อรูปภาพ ทำให้คนอื่นเสียชื่อเสียง รู้สึกอ๊ายอาย ทำให้ถูกดูหมิ่นเกลีดชังอีกต่างหาก  เช่น อยู่ๆเอารูปหัวคู่อริไปตัดต่อแล้วใส่หัวหมา หรือ เอาไปใส่ในหน้าพระเอกหนังโป๊ะ ทำให้เขาไม่พอใจ เอาเรื่องเป็นคดีความได้เช่นกันนะครับ กรณีนี้มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 หมื่น หรือ ทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าเราไปขอโทษขอโพย กราบงามๆให้เขายกโทษให้ก็ยอมความกันได้นะจ๊ะ

ทุกคนก็พอจะเห็นแล้วนะครับว่าการเล่นคอมพิวเตอร์และสื่อออนไลน์นั้นถ้าเราเล่นด้วยความสนุกแต่ทำให้เกิดความวุ่นวายต่อปประเทศและทำให้คนอื่นเสียหายก็มีความผิดทางอาญาได้ คิดก่อนโพสก่อนแชร์นะครับ ^_^

20  ความรู้ทั่วไป / ระวังภัยทางเน็ต (Beware of Scams and Frauds) / การต่อสู้คดีเมื่อถูกมิจฉาชีพปลอมบัตรประชาชนไปทำนิติกรรมต่างๆ เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2018, 11:37:22
การต่อสู้คดีเมื่อถูกมิจฉาชีพปลอมบัตรประชาชนไปทำนิติกรรมต่างๆ

 

ปัจจุบันมีปัญหาเรื่องการที่คนร้ายปลอมแปลงบัตรประชาชนของผู้อื่น ไปทำนิติกรรมต่างๆกับ บริษัทห้างร้านต่างๆหรือแม้กระทั่งธนาคาร ซึ่งโดยมากมักจะเป็นการทำสัญญาเช่ารถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือเช่าซื้อรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ และการกู้ยืมเงิน โดยคนร้ายจะใช้ ชื่อนามสกุลและข้อมูลเลขบัตรประชาชนของเจ้าของบัตรประชาชนที่แท้จริง แต่เปลี่ยนแปลงรูปถ่ายใบหน้าบนบัตรให้เหมือนหรือคล้ายกับหน้าตาของคนร้ายเพื่อไปทำสัญญากับผู้เสียหาย (ทั้งนี้เพราะหากรูปถ่ายใบหน้าในบัตรประชาชนปลอมไม่เหมือนกับใบหน้าคนร้ายที่ไปทำสัญญา บริษัทห้างร้านหรือธนาคารอาจจะจับได้) จากนั้นคนร้ายก็จะปลอมลายมือชื่อให้คล้ายกับลายมือชื่อของเจ้าของบัตรประชาชน โดยอาศัยตัวอย่างลายมือชื่อที่ปรากฏในสำเนาบัตรประชาชน

ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ มักจะมีสาเหตุจากการที่เจ้าของบัตรประชาชนตัวจริงได้เซ็นสำเนาบัตรประชาชนไว้ให้กับคนร้าย โดยไม่มีการกำกับข้อความไว้ว่าจะนำไปใช้ในกิจการใด หรือเกิดจากการทำบัตรประชาชนหาย ซึ่งเมื่อคนร้ายเหล่านี้ทำสัญญาเสร็จเรียบร้อยและได้รับทรัพย์สินหรือประโยชน์จากบริษัทห้างร้านหรือธนาคารฯ แล้วก็จะทำการประพฤติผิดสัญญา เช่นไม่ชำระหนี้ตามสัญญา หรือ นำรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ไปจำหน่ายและหลบหนีหายตัวไป ผู้เสียหายก็จะมาดำเนินคดีแพ่งหรือคดีอาญาแล้วแต่กรณีเอากับเจ้าของบัตรประชาชนที่แท้จริง ซึ่งเป็นผู้มีชื่อปรากฏอยู่ในสัญญา ซึ่งทำให้เจ้าของบัตรประชาชนเสียหาย

ซึ่งเทคนิคอย่างหนึ่งของทนายความในการต่อสู้คดีประเภทนี้ เมื่อเรื่องขึ้นสู่ศาล คือ การขอหมายเรียกรูปถ่ายและตัวอย่างลายมือชื่อของเจ้าของบัตรประชาชน จากสำนักงานทะเบียนราษฎร มาประกอบการพิจารณาของศาล ซึ่งนับตั้งแต่ กฎกระทรวงกำหนดการปฏิบัติงานการทะเบียนราษฎรด้วยระบบคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2547 มีผลบังคับใช้ จะมีการเก็บตัวอย่างรูปถ่ายที่ใช้ประกอบการทำบัตรประชาชนของบุคคลทั่วไปทุกคนทุกครั้งที่ทำบัตรประชาชน ทั้งนี้เฉพาะที่ทำบัตรประชาชนหลังปี พ.ศ.2547 โดยจะเก็บไว้ ไว้ที่ฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร ซึ่งข้อมูลส่วนที่เป็นรูปภายนี้เป็นข้อมูลออนไลน์ที่เชื่อมโยงถึงกันได้ทั้งหมด ทนายความ จึงสามารถขอหมายเรียกไปยังสำนักงานทะเบียนได้ทั่วประเทศไทย แต่ข้อมูลส่วนที่เป็นตัวอย่างลายมือชื่อนั้นไม่ใช่ข้อมูลออนไลน์ จึงจะต้องขอหมายเรียกไปยังสำนักงานทะเบียนที่เจ้าของลายมือชื่อได้ไปทำบัตรประชาชน ซึ่งเมื่อนำรูปถ่ายในบัตรประชาชนของเจ้าของบัตรประชาชนที่แท้จริง กับรูปถ่ายในบัตรประชาชนปลอมมาเปรียบเทียบกันแล้ว เห็นว่ามีความแตกต่างกัน และยิ่งลายมือชื่อมีความแตกต่างกันแล้ว ก็ย่อมเชื่อได้ว่าเจ้าของบัตรประชาชนที่แท้จริงไม่ใช้เป็นผู้ทำนิติกรรมใดๆกับผู้เสียหาย

หวังว่าเทคนิคนี้จะเป็นประโยชน์แก่เพื่อนทนายความ ซึ่งเทคนิคนี้สามารถนำไปปรับใช้ในคดีเรื่องอื่นๆได้ด้วยแล้วแต่รูปคดี และเป็นอุทาหรณ์แก่บุคคลทั่วไปว่า ควรจะต้องระมัดระวังเรื่องการเซ็นสำเนาถูกต้องในบัตรประชาชนมอบให้ผู้อื่น โดยจะต้องเขียนกำกับในบัตรประชาชนด้วยทุกครั้งว่าจะนำไปใช้เพื่อการใด

ซึ่งทางสำนักงานฯได้นำรูปถ่ายที่สำนักงานทะเบียนฯ ส่งมาที่ศาลตามหมายเรียกในคดีที่ทางสำนักงานฯ เคยรับว่าความให้ผู้ที่ถูกปลอมลายมือชื่อและบัตรประชาชน มาลงให้ดูเป็นตัวอย่างครับ ทั้งนี้รูปถ่ายจะปรากฏเฉพาะรูปที่ถ่ายหลังปี 2547 เป็นต้นไปเท่านั้นครับ ซึ่งในคดีนี้เมื่อผู้เสียหายได้เห็นพยานหลักฐานที่หมายเรียกมาและเข้าใจว่า จำเลยในคดีไม่ใช่คนร้ายตัวจริง ก็ยอมถอนฟ้องไปแต่โดยดีครับ  wanwan019 wanwan019

หน้า: [1]