ThaiSEOBoard.com

ความรู้ทั่วไป => ระวังภัยทางเน็ต (Beware of Scams and Frauds) => ข้อความที่เริ่มโดย: icolawfrim ที่ 23 มีนาคม 2020, 14:36:30



หัวข้อ: ัการจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง
เริ่มหัวข้อโดย: icolawfrim ที่ 23 มีนาคม 2020, 14:36:30
ประเด็นที่ 1 : นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง โดยคำนวณจากค่าจ้างอัตราสุดท้าย ตามระยะเวลาที่ลูกจ้างทำงาน ตามมาตรา 118 ดังนี้ 
1.1 ทำงานครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี จ่ายเท่ากับค่าจ้าง 30 วัน 
1.2 ทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี จ่ายเท่ากับค่าจ้าง 90 วัน 
1.3 ทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี จ่ายเท่ากับค่าจ้าง 180 วัน 
1.4 ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี จ่ายเท่ากับค่าจ้าง 240 วัน 
1.5 ทำงานครบ 10 ปีขึ้นไป จ่ายเท่ากับค่าจ้าง 300 วัน 
โดยค่าชดเชยต้องจ่ายทันทีเมื่อเลิกจ้าง หากไม่จ่ายถือว่าผิดนัด และต้องเสียดอกเบี้ยโดยไม่ต้องทวงถาม
สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยเป็นมรดก
 :o สิทธิเรียกร้องค่าชดเชย คดีมีอายุความ 10 ปี   :o

ประเด็นที่ 2 : นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น ซึ่งงานดังกล่าวจะต้องแล้วเสร็จไม่เกิน 2 ปี โดยมีหนังสือสัญญาไว้ตั้งแต่เริ่มจ้าง

ประเด็นที่ 3 : กรณีย้ายสถานประกอบการ นายจ้างต้องแจ้งให้แก่ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่เกิน 30 วัน หากลูกจ้างไม่ต้องการไปทำงานด้วย ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญา โดยได้รับค่าชดเชยพิเศษ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ 
ค่าชดเชยพิเศษ ในกรณีที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้าง เพราะเหตุปรับปรุงหน่วยงานกระบวนการผลิต การจำหน่ายหรือการบริการ อันเนื่องมาจากการนำเครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรือเทคโนโลยี ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า หากนายจ้างไม่แจ้งล่วงหน้าหรือแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่าระยะเวลา 60 วัน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษดังนี้
1 ลูกจ้างจะได้รับค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 60 วัน 
2 ลูกจ้างจะได้รับค่าชดเชยตามกฏหมาย 
3 ลูกจ้างที่มีอายุงาน 6 ปีขึ้นไป มีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษปีละ 15 วัน เมื่อรวมค่าชดเชยทั้งหมด แล้วต้องไม่เกิน 360 วัน

ประเด็นที่ 4 : นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ตามมาตรา 119 ดังนี้ 
4.1 ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง 
4.2 จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย 
4.3 ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง 
4.4 ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน หนังสือเตือนให้มีผลบังคับใช้ได้ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด 
4.5 ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม โดยไม่มีสาเหตุอันสมควร 
4.6 ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุด เว้นแต่เป็นนักโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

หากกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากนายจ้าง สามารถเรียกร้องสิทธิของตนตามกฎหมายได้ด้วยตนเอง โดยร้องเรียนต่อกรมแรงงานได้ด้วยตนเอง หรือว่าจ้างทนายความฟ้องร้องต่อศาลแรงงาน

#ทนายความเชียงใหม่ #ทนายเชียงใหม่ ขอเป็นกำลังให้ลูกจ้างทุกท่านครับ
ดรเกรียรติศักดิ์ เนติบัณฑิตไทย ทนายความวิถีพุทธและทีมทนายความ  :wanwan003:

http://www.xn--72cf2bi6bdb7ewc6a5isb5d.com/index.aspx?pid=447a2979-3f99-4ece-bfdc-9ebbf72df4f6