ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น

ThaiSEOBoard.comอื่นๆCafe‘โรบอทดิจิทัล’ การปรับตัวอนาคตการผลิตอย่างยังยืน
หน้า: [1]   ลงล่าง
พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ‘โรบอทดิจิทัล’ การปรับตัวอนาคตการผลิตอย่างยังยืน  (อ่าน 1925 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
SUTHONG572
Newbie
*

พลังน้ำใจ: 0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 0



ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 20 ตุลาคม 2023, 15:37:42 »

"โรบอทดิจิทัล" การปรับตัวอนาคตการผลิตอย่างยังยืน

ตั้งแต่ในช่วงอดีตจนถึงปัจจุบันเทคโนโลยีมีการพัฒนาตลอดเวลา ยาวนานต่อเนื่องหลาย 10 ปี นับตั้งแต่จอร์จ ดีวอล (George Devol) และโจเซฟ เอ็นเกลเบอร์เกอร์ (Joseph Engelberger) ได้คิดค้นหุ่นยนต์ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมตัวแรกของโลกได้ ในปี ค.ศ. 1961 เพื่อให้หุ่นยนต์ได้มีบทบาทเข้ามาทำงานในส่วนที่อันตรายแทนมนุษย์ จนในปัจจุบันการพัฒนาก้าวหน้ามาขึ้นทำให้เกิดหุ่นยนต์ที่มีการพัฒนาระบบการปฎิบัติการที่หลากหลายขึ้น เช่น หุ่นยนต์อเนกประสงค์, หุ่นยนต์เชื่อม, หุ่นยนต์จัดเรียงสินค้าและวัสดุ, หุ่นยนต์รักษาความปลอดภัย และหุ่นยนต์ขึ้นรูปพลาสติกซึ่งกลุ่มภูมิภาคเอเชียเป็นกลุ่มที่ใช้หุ่นยนต์มากที่สุดในโลกพบว่าการใช้หุ่นยนต์ เฉลี่ยเป็น 99 ตัว ต่อ แรงงาน 1 หมื่นคน
และประเทศไทยมีการใช้หุ่นยนต์ในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมประมาณ 60-70 ตัว โดยประเทศไทยได้เริ่มมีการใช้หุ่นยนต์มากขึ้นตั้งแต่ปี 2555 หลังน้ำท่วมใหญ่ทำให้โรงงานได้เกิดการลงทุนเครื่องจักรใหม่ และมีโอกาศเลือกใช้หุ่นยนต์ระบบอัตโนมัตมากขึ้น รวมถึงช่วงนั้นมีการปรับค่าแรงเพิ่มขึ้่น บวกกับปัญหาในช่วงนั้นขาดแคลนแรงงานจึงทำให้การนำหุ่นยนต์มาใช้กับระบบโรงงานแพร่หลายมากขึ้น

โรโบติกส์ และ Internet og things (IOTs) เป็นการพัฒนานวัตกรรมใหม่เข้ามาเปลี่ยนแปลงระบบเดิมๆในยุค ดิจิทัล เพื่อลดเรื่องอุบัติเหตุและยิ่งไปกว่านั้นการเกิดวิกฤตไวรัสโควิด-19 ยังเป็นตัวเร่งปรับทัศนคติ ให้ธุรกิจอยู่รอดและเดินหน้าต่อได้โดยการลดแรงงานมนุษย์ลง โดยเพิ่มหุ่นยนต์มาแทนที่ ซึ่งทำให้การผลิตจะต่อเนื่องไม่ว่าจะมีการจึ้นค่าแรงงานคนหรือระบบเศษรฐกิจในอนาคต ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาในระยะยาว โดยเฉพาะในกลุ่มโรงงานการผลิตอาหารและยา เครื่องดื่ม อุตสาหกรรมการเกษตร โลจิสติกส์ ที่ตื่นตัวมากที่สุด ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงหากเกิดโรคระบาดอื่นๆหรือปัญหาแรงงานในอนาคตเป็นการปรับตัวสู่อนาคตที่จำเป็นต้องพึ่งแรงงานมนุษย์ให้น้อยลง และสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยี่ระบบหุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรมจะเดินหน้าต่อไปเพื่อคุณภาพที่ดีขึ้นของมนุษย์ แม้ในบางครั้งจะยังมีความกังวลว่าหุ่นยนต์จะเข้ามาแทนที่มนุษย์หรือไม่ ก็เลี่ยงไม่ได้ว่าอาจจะมีบ้าง แต่สิ่งที่ชัดเจนที่สุดคือหุ่นนยนต์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมานั้น จะเข้ามาทำงานร่วมกับมนุษย์ ไม่ใช่เข้ามาแย่งงานมนุษย์ เนื่องจากมนุษย์เรามีความสามารถในการพัฒนา และเรียนรู้ที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเองให้มีทักษะในด้านต่างๆมากขึ้นได้เสมอนั่นเอง

https://suthong.co.th/%E0%B8%8...%87%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B8%99
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
พิมพ์