เอาแบบง่ายๆ นะครับ ในระบบ Network เราจะมี 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 เรียกว่า Network อธิบายเปรียบเทียบให้ฟังว่า Network ก็เปรียบเสมือนห้องประชุมห้องหนึ่งนะครับ ดังนั้นใครที่อยู่ในห้องนี้จะสามารถคุยกันได้โดยไม่ต้องพึ่งอุปกรณ์ใดๆ ช่วยเลย
ส่วนที่ 2 เรียกว่า Host อธิบายง่ายๆ ก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งนั้นเอง
ทีนี้ Network ก็ต้องมีหมายเลขใช่มั้ยครับ ก็เปรียบเสมือนหมายเลขห้องประชุมนั้นเอง ทีนี้ใครจะอยู่ห้องประชมห้องไหน ก็จะมีหมายเลขประจำ Host ของตัวเอง จะได้เรียกกันถูก
ที่นี้เรามาดู IP Address นะครับ IP Address จะประกอบด้วยเลข 4 ชุด ขั้นด้วยจุด ตัวอย่างเช่น 192.168.0.1
ที่นี้เรามาทำความเข้าใจหมายเลข Network กับ Host กัน
Class A จะมี Network ตั้งแต่ 0 ถึง 127 คือหมายเลขแรกขึ้นต้นด้วย 1-127
Class B จะมี Network ตั้งแต่ 128 ถึง 191 คือหมายเลขแรกขึ้นต้นด้วย 128-191
Class C จะมี Network ตั้งแต่ 192 ถึง 223 คือหมายเลขแรกขึ้นต้นด้วย 192-233
ตัวอย่างนะครับ
10.11.16.20 แสดงว่า Network อยู่ class A เพราะขึ้นต้นด้วย 10 เราเรียกเลข 10 หลักแรกว่าหมายเลข network หรือหมายเลขห้องประชุม ที่นี้หมายเลขอีก 3 หลักเราจะเรียกว่า Host (11.16.20)
ถ้าผมมี ip 10.25.98.125 ก็หมายความว่า ผมอยู่ห้องประชุมหมายเลข 10 ลำดับที่ 25.98.125
ถ้าคุุณมี ip 10.89.65.34 ก็หมายความว่าคุณก็อยู่ห้องประชุมเดียวกับผม คือห้อง 10 ลำดับที่ 98.65.34
ที่นี้ถ้าเราอยู่ในห้องประชุม (Network) เดียวกันจะคุยกันเราก็สามารถคุยกันได้ทันที่ แล้วถ้าอยู่คนละห้องประชุมละเช่น ip 61.19.245.234 (คนนี้ก็อยู่ class A เพราะขึ้นต้นด้วย 61) เข้าอยู่ห้องประชุมหมายเลข 64 ลำดับที่ 19.245.234 ต้องการคุยกับ 10.25.98.125 ที่อยู่ห้อง 10 มันคุยกันไม่ได้ใช่มั้ยครับ (ลองตะโกนข้ามห้องประชุม อีกห้องหนึ่งจะได้ยินมั้ยนะ

) เราก็ต้องเดินออกจากประตู (Gateway) ของห้องประชุมของเราแล้วก็ไปยังประตู (Gateway) ของอีกห้องหนึ่ง
มาดูเรื่องจำนวน Host ที่มีได้ใน Network หนึ่งๆ
Class A มีจำนวนห้องประชุมได้ 224 ห้องประชุม และมี Host ได้ 16 ล้าน โอ้วห้องประชุมนี้ใหญ่มากๆ
Class B มีจำนวนห้องประชุมได้ 16,384 ห้องประชุม และมี Host ได้ 65,536 ล้าน ห้องนี้ก็ยังใหญ่อยู่นะ
Class C มีจำนวนห้องประชุมได้ประมาณ 15 ล้านห้องประชุม (เดาๆ) และมี Host ได้ 256 เครือง ห้องประชุมนี้พอคุยกันรู้เรื่องหน่อย
ที่นี้มาว่ากันด้วยเรื่อง Subnet ทำไมต้องมี subnet ( Sub network) เพราะถ้าดูจาก Class A แล้วคนในห้องประชุมมี 16 ล้านคน มันคงจะคุยกันมัวไปหมด เราก็ทำการแบ่งห้องประชุมออกเป็นห้องประชุมย่อยๆ จะได้คุยกันรู้เรื่องหน่อย
Subnet Class A เขียนได้ดังนี้ 255.0.0.0
Subnet Class B เขียนได้ดังนี้ 255.255.0.0
Subnet Class C เขียนได้ดังนี้ 255.255.255.0
เอาละเรามาลองเขียน IP เต็มๆ กันดีกว่า ตัวอย่างนะครับ
IP Address: 192.168.0.1
Subnetmask: 255.255.255.0
Gateway : 192.168.0.254
แปลว่า IP นี้อยู่ Class C (เพราะขึ้นต้นด้วย 192 ) และอยู่ subnet class C ด้วยล่ะ แสดงว่า ip นี้อยู่ห้องประชุมหมายเลข 192.168.0 ลำดับที่ 1 ถ้าต้องการติดต่อคนที่อยู่ห้องประชุมอื่นต้องติดต่อผ่านประตูหมายเลข 192.168.0.254
IP Address: 122.155.1.81
Subnetmask: 255.255.255.0
Gateway : 122.155.1.1
แปลว่า IP นี้อยู่ Class A (เพราะขึ้นต้นด้วย 122 ) แต่อยู่ Subnet class C แสดงว่า ip นี้อยู่ห้องประชุมย่อยหมายเลข 122.155.1 ลำดับที่ 81 ถ้าต้องการติดต่อคนที่อยู่ห้องประชุมอื่น (รวมถึงห้องประชุมย่อยด้วยนะ) ต้องติดต่อผ่านประตูหมายเลข 122.155.1.1
IP Address: 172.16.1.79
Subnetmask: 255.255.255.0
Gateway : 172.16.1.1
แปลว่า IP นี้อยู่ Class B (เพราะขึ้นต้นด้วย 172) แต่อยู่ Subnet class C แสดงว่า ip นี้อยู่ห้องประชุมหมายเลข 172.16 ห้องประชุมย่อยหมายเลข 172.16.1 ลำดับที่ 79 ถ้าต้องการติดต่อคนที่อยู่ห้องประชุมอื่น (รวมถึงห้องประชุมย่อยด้วยนะ) ต้องติดต่อผ่านประตูหมายเลข 172.16.1.1
คงจะเข้าใจมากขึ้นนะครับ