เคยได้อ่านหนังสือเรื่อง The Richest Man in Babylon รู้สึกว่ามันเป็นหนังสือดีมากๆ เล่มนึง
เลยอยากเอามาแนะนำให้คนที่ไม่รู้จักได้ลองอ่านกันครับ

(รู้สึกว่าปกจะมีสองแบบหรือมากกว่านะ แต่ของผมเป็นเล่มสีเหลืองอะครับ)
เนื้อหาในหนังสือดีมากๆ ครับ เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับหลักการใช้เงินที่เรียบง่ายแต่ไม่ธรรมดา เป็นหนังสือที่สามารถเปลี่ยนวิธีการใช้เงินของคนมาหลายต่อหลายคนแล้วนะครับ
หลายคนอาจจะถามว่า เราเป็นคนทำเว็บนะ ไม่ใช่นักลงทุนทำไมต้องอ่านหนังสือพวกนี้
เพราะ... คุณคงไม่อยากนั่งทำงานไปตลอดชีวิตหรอกครับ
เป็นผมถ้าแก่ตัวลงก็คงไม่เลิกทำเว็บ แต่ก็คงเปลี่ยนแนวไปเขียนพวกบล๊อกหรืออะไรที่มันผ่อนคลายอารมณ์มากกว่าครับ
ผมเห็นหลายๆ คนในบอร์ดที่เบื่อพวกงานประจำแล้ว และอยากออกมาเป็นนายตัวเอง ลองอ่านหนังสือนี้ดูอาจจะมีแนวทางดีๆ มุมมองใหม่ๆ ให้ได้นะครับ
ต่อไปนี้ เป็นบทบรรณาธิการจาก
Bizkons Group 
ครับ
มีรุ่นน้องคนหนึ่งแนะนำหนังสือที่พอได้ยินชื่อเรื่องภาษาอังกฤษก็ฟังดูน่าสนใจดี “The Richest Man in Babylon” แต่พอแปลเป็นชื่อภาษาไทยแล้ว ไม่ค่อยอยากอ่านยังไงก็ไม่รู้ เพราะเขาใช้ชื่อภาษาไทยว่า “เศรษฐีชี้ทางรวย” โดยส่วนตัวแล้วเป็นคนที่ไม่ค่อยชอบอ่านหนังสือแนวที่บอก หรือชี้ชัดว่า ต้องทำอย่างนั้นต้องทำอย่างนี้ หรือลงทุนแบบโน้นแล้วจะรวย เพราะไม่เคยเชื่อว่ามันจะมีสูตรสำเร็จที่จะทำให้รวยได้ภายในพริบตา แต่ก็อาศัยที่ว่าคุ้นเคยกับรุ่นน้องคนนี้มานานพอสมควร และมั่นใจว่าเค้าก็คงรู้จักเรามากพอที่จะไม่แนะนำหนังสือแนวนั้นให้เรา เหมือนกัน ก็เลยลองหาอ่านดู
ทันทีที่ได้เห็นเล่มจริงก็อุทานอยู่ในจริงว่า “เอาอีกแล้ว พวกหนังสือเลียนแบบหนังสือขายดีอีกแหงๆ เลย หน้าปกสีม่วงเด่นมาแต่ไกล (อคติวิ่งนำหน้ามาเลย)” แต่เอาไงเอากัน ไหน ๆ ก็ตั้งใจจะลองอ่านแล้ว ให้รู้ดำรู้แดงไปเลยดีกว่า เล่มหนึ่งราคาก็ไม่ถึงหนึ่งร้อยบาทด้วยซ้ำไป แต่เมื่อได้อ่านบทแรกจบก็เริ่มมีความรู้สึกที่ต่างไปจากเดิม
“บางทีหนังสือเล่มนี้อาจจะให้อะไรมากกว่าที่เราคิดก็ได้”
การ นำเสนอของผู้เขียนใช้สไตล์เล่าเรื่องโดยกล่าวถึงเรื่องราวของผู้คนที่อาศัย อยู่ในนครแห่งความมั่งคั่ง-นครบาบิโลน ซึ่งในนครแห่งนี้ก็เหมือนทุกๆแห่งในโลก คือมีทั้งผู้ที่ประสบความสำเร็จ มีความมั่งคั่ง และมีคนที่มีชีวิตเพียงแค่สามารถผ่านพ้นปัญหาไปได้วันต่อวันเท่านั้นเอง
แต่จุดที่ทำให้รู้สึกชอบหนังสือเล่มนี้ก็คือ จะมีการแบ่งปันประสบการณ์ของคนที่ประสบความสำเร็จมีความมั่งคั่งว่า พวกเขาคิดและใช้ชีวิตก่อนหน้านั้นเช่นไร จึงทำให้มีฐานะเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ และที่น่าแปลกใจก็คือ ไอเดียเหล่านั้นไม่เพียงใช้ได้ดีในโลกยุคสมัยโบราณ แต่มันยังคงใช้ได้ดีและเหมาะสมกับสังคมในยุคปัจจุบันของเราด้วยเช่นกัน เล่ามาถึงตรงนี้ผมเองก็อยากลองเก็บบางช่วงบางตอนของหนังสือเล่มนี้มาฝากให้ เพื่อนๆ ได้ลองอ่าน และนำไปต่อยอดความคิดกันดู
ตัวเอกของเรื่องที่ชื่อ “บานซีร์” ได้พูดถึงตัวเองในตอนหนึ่งว่า “ตลอด เวลาหลายปีที่ผ่านมา ข้าต้องทำงานหนัก ทำให้ไม่มีเวลาคิด ข้าได้แต่หวังว่าสักวันหนึ่งพระเจ้าจะทรงรับรู้ถึงการทำดีของข้าและจะประทาน ความมั่งคั่งให้แก่ข้า ........ ข้าปรารถนาให้ความเพียรของข้าได้รับผลตอบแทนที่ยุติธรรม...... แต่ทำไมข้าถึงไม่ได้รับส่วนแบ่งในสิ่งที่ดีๆ...”
ส่วนตัวละครอีกตัวที่ชื่อ “คอบไบ” กล่าวว่า “... ข้าเริ่มเข้าใจแล้วว่า ทำไมเราจึงไม่พบความมั่งคั่งเสียที ก็เพราะเราไม่เคยแสวงหามันนั่นเอง.... หากเราพยายามอย่างที่สุดในสิ่งใดก็ตาม เราจะประสบความสำเร็จในสิ่งนั้น.... ที่ผ่านมาท่านทำงานหนักด้วยความอดทน และมานะอย่างสูงในงานของท่าน ท่านจึงประสบความสำเร็จ.... แต่สำหรับความมั่งคั่ง ยิ่งเราเรียนรู้มากขึ้นเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งมีความมั่งคั่งมากขึ้นเท่านั้น”
คำพูดของตัวละครทั้งสองตัวนี้สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองที่แตกต่างกันของ ผู้ที่จะประสบความสำเร็จกับผู้ที่ย่ำอยู่กับที่ คนหนึ่งมองแค่ปัจจุบันและอดีต รอคอยความหวังที่เกิดจากปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ แต่อีกคนหนึ่งมองโลกในมุมบวก เรียนรู้จาก ข้อดีของตนเอง และเข้าใจกฎที่สำคัญของความสำเร็จข้อหนึ่งก็คือ ถ้าเราต้องการก้าวข้ามขึ้นไปในอีกระดับของความสำเร็จ เราต้องเรียนรู้เพิ่มเพื่อให้สามารถมองเห็นโลกและสามารถมองเห็นปัญหาที่ผ่าน เข้ามาด้วยมุมมองที่ต่างออกไปจากเดิม
หรือแม้แต่ “วิธีเยียวยา 7 ประการ สำหรับถุงเงินที่ว่างเปล่า” ของอาร์คัต-มหาเศรษฐีแห่งบาบิโลน ซึ่งบอกเอาไว้และถ้าลองวิเคราะห์ให้ดี จะเห็นสัจธรรมอะไรหลายๆอย่าง
เริ่มทำให้ถุงเงินของท่านเพิ่มพูน ---โดยข้อแรกนี้มีหลักการง่ายๆ ก็คือ การเก็บออม 10 % ของทุกบาทที่หามาได้เสมอ ซึ่ง เมื่อพิจารณานัยที่ซ่อนอยู่ในข้อนี้จะพบว่า ไม่ได้มีเพียงการเก็บเงินเพื่อให้มีเงินก้อนเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างปัจจัยที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้ที่จะประสบความสำเร็จก็คือ วินัย และถ้าทุกท่านได้มีโอกาสศึกษาประวัติ บุคคลต่างๆ จะพบว่าความแตกต่างประการหนึ่งของผู้ที่ประสบความสำเร็จกับผู้ที่ล้มเหลว ก็คือ ความมีวินัยในตัวเองนี่เอง
2) ควบคุมการใช้จ่าย ---หัวใจสำคัญของข้อนี้คือ ต้องสามารถแยกแยะให้ออกระหว่างค่าใช้จ่ายจำเป็น และความปรารถนาได้ คน ส่วนใหญ่มักจะขาดทักษะในการแยกแยะ 2 สิ่งนี้ และเหมารวมว่ามันคือสิ่งเดียวกัน และนั่นก็คือจุดเริ่มต้นของการพาตัวเองเข้าสู่วังวนของปัญหาทางการเงินเกือบ ทุกรูปแบบ
3) จงทำให้ทองคำของท่านทวีคูณขึ้น ---โดยการเรียนรู้การให้ทรัพย์สินทำงานแทน เพราะ ความมั่งคั่งไม่ได้พิจารณาจากจำนวนเงินที่มีอยู่ในกระเป๋า แต่มันคือ ความสามารถในการสร้างกระแสเงินสดไหลเข้าอย่างต่อเนื่องต่างหาก ถ้าจะยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คงจะเป็น สามล้อถูกหวย ซึ่งไม่นานนักเงินเป็นสิบๆล้านที่เคยมีก็จะหมดไปหรืออาจจะติดลบมากกว่าเดิม แต่กับผู้ประสบความสำเร็จบางท่านในสังคมเรา อาจจะเคยติดลบมหาศาล หรือเคยมีมากมานับไม่ถ้วน แต่แล้วเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา สิ่งที่เคยมีอาจจะหายไป แต่หลายท่านเหล่านี้ก็กลับสร้างตัวเองกลับขึ้นมาได้ อะไร คือ ความแตกต่างของท่านเหล่านี้กับสามล้อถูกหวย
4) ปกป้องทรัพย์สมบัติของท่านจากการสูญเสีย ---โดยศึกษาให้รอบคอบก่อนการลงทุนเสมอ และ ต้องปรึกษาผู้ที่รอบรู้และมีประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆ แล้วจึงเลือกลงทุนในกิจการที่พิจารณาแล้วเห็นว่าปลอดภัย ตรง นี้เป็นปัญหาของคนส่วนใหญ่ในบ้านเราซึ่งชอบมักง่าย ชอบอะไรที่สำเร็จรูป ไม่ต้องเสียเวลา แต่หารู้ไม่ว่าการที่ปฏิเสธการลงทุนเพื่อการเรียนรู้ ก็คือ จุดเริ่มต้นของการลงทุนเพื่อความหายนะของตัวเอง
5) จงทำให้เคหสถานของท่านเป็นการลงทุนที่มีผลกำไร --- ตรงนี้นัยที่ซ่อนอยู่น่าจะหมายถึง การที่รู้จักใช้จ่ายเพื่อครอบครัว และเพื่อตัวเองด้วย ไม่ใช่ประหยัดมากจนเป็นตระหนี่ถี่เหนียว หรือมองแต่อนาคตจนละเลยชีวิตในปัจจุบันไปหมดสิ้น เพราะตลอดเส้นทางของชีวิตเราต้องมีความสุขกับชีวิตของเราได้ การรักษาสมดุลระหว่างการทำเพื่อปัจจุบันและเพื่ออนาคตเป็นสิ่งที่สำคัญอย่าง ยิ่ง
6) จงประกันรายได้สำหรับอนาคต ---เราไม่มีโอกาสล่วงรู้ได้เลยว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต แต่เราสามารถเลือกที่จะเตรียมความพร้อมที่จะรองรับมันได้ ไม่ว่าจะเพื่อตัวของเราเองเมื่อยามชรา หรือเพื่อครอบครัวก็ตาม
7) จงเพิ่มพูนความสามารถในการหาเงิน ---หัวใจหลักในข้อนี้ก็คือ การเรียนรู้และพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ
ซึ่ง ถ้าได้ลองวิเคราะห์อย่างลึกซึ้งให้ดีจะพบความน่าสนใจบางประการคือ แนวทางทั้ง 7 ข้อนี้สอดคล้องกับหลักการเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อย่างเช่น ในเรื่องของการเก็บ 10% นั้นสามารถมองได้ทั้งในมิติ ของความพอประมาณ คือ ไม่ได้แนะนำให้เก็บมากจนเบียดเบียนตัวเอง แต่ก็ไม่น้อยจนไม่สร้างวินัยในตัวเองเช่นกัน หรือถ้ามองในมิติของการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวก็จะเห็นได้ชัดเจนว่า แนวทางดังกล่าวสร้างภูมิคุ้มกันทั้งในแง่ของตัวเงินที่จะช่วยให้พร้อมรับกับ การเปลี่ยนแปลงในอนาคต และในแง่ของการปรับเปลี่ยนลักษณะของพฤติกรรมและนิสัยของผู้นำไปใช้ด้วยเช่น กัน หรือถ้าจะเป็นในแนวทางเรื่องการควบคุมค่าใช้จ่ายก็จะเห็นได้ชัดเจนว่าตอบ โจทย์ในเรื่องของการสร้างความพอประมาณ คือรู้จักใช้ในสิ่งที่จำเป็น โดยการตัดสินใจเลือกนี้อยู่บนพื้นฐานของความเป็นเหตุเป็นผล และทราบถึงผลที่จะเกิดขึ้นตามมาแล้ว และถ้าได้มีเวลาลองพิจารณาหลักการในข้ออื่นๆ ก็จะพบความมหัศจรรย์เช่นเดียวกัน
จริงๆ แล้วไม่ว่าจะเป็นหลักการต่างที่กล่าวในหนังสือเล่มนี้ก็ดี หรือ แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำริก็ดี ล้วนแต่เป็นหลักการพื้นฐานสู่ความสำเร็จ และความมั่งคั่ง (ความมั่งคั่งไม่ใช่แค่การที่มีเงินมากมายเท่านั้น แต่กินความไปถึงการถึงพร้อมด้วยความสุขในชีวิต) ที่สามารถใช้ให้เกิดผลได้จริงเช่นกัน แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าหลักการทั้งหมดนี้มันดูเรียบง่ายจนเกินไป จนคนในสังคมนี้ซึ่งมักจะแสวงหาแต่สิ่งที่ดูเป็นเทคนิคอันเลิศหรูเลือกที่จะ มองข้ามมันไป และปัญหาที่สำคัญอีกประการก็คือ การดำเนินตามแนวทางนี้มันต้องใช้เวลา และต้องอาศัยความพยายามเปลี่ยนแปลงในตัวเอง ซึ่งคนที่มักง่ายส่วนใหญ่ไม่ชอบ เพราะสิ่งที่พวกเขาต้องการก็คือ วิธีการที่ได้อะไรตอบแทนกลับมาเร็วๆ และใช้วิธีเปลี่ยนสภาพแวดล้อมภายนอก มากกว่าจะลงทุนเปลี่ยนแปลงปัจจัยภายในของพวกเขาเอง
สำหรับผู้ที่สนใจจะศึกษาแนวคิดอื่นๆ เพิ่มเติมจากหนังสือเล่มนี้ก็ลองไปหาได้ตามร้านหนังสือทั่วๆ ไป ในท้ายที่สุดแล้วต่อให้หนังสือเล่มนี้จะดีแค่ไหน แต่ถ้าเราอ่านจบแล้วเก็บขึ้นหิ้งเฉยๆ มันก็คงหาประโยชน์อันใดมิได้ คุณประโยชน์ของหนังสือจะเกิดกับตัวผู้อ่านได้ก็ต่อเมื่อเขาผู้นั้นตัดสินใจ ลงมือใช้สติปัญญาศึกษา และทำตามแนะนำนั้นต่างหาก
ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่าดี ก็อยากให้เพื่อนๆ หามาอ่านกันนะครับ
