Blockchain Trilemma คืออะไร ?
——————————
Blockchain Trilemma ขีดจำกัดของบล็อกเชน คือทฤษฎีที่ Vitalik Buterin ผู้สร้าง Ethereum ได้ระบุไว้ว่า เครือข่ายบล็อกเชนนั้นจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญอยู่ 3 อย่างนั้นก็คือ
– Scalability – ความสามารถในการขยายฐานผู้ใช้งาน
โดยถ้าพูดกันให้เข้าใจง่ายๆเลยก็คือการรักษา “ความเร็ว” ในการใช้งานไม่ว่าผู้ใช้งานจะเยอะขึ้นแค่ไหนก็ตาม โดยถ้ามีคนใช้งานน้อย ความเร็วคงไม่ใช่ปัญหา แต่ส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการที่คนหลายคนใช้งานพร้อมๆกันทำให้บล็อกเชนช้า และค่าธุรกรรมแพง
– Security – ความปลอดภัย
คือการที่บล๊อกเชนต้องมีระบบที่ป้องกันภัยต่างๆบนโลกดิจิทัล ในรูปแบบต่างๆ เพราะบล๊อกเชนเป็นเทคโนโลยีที่มีความโปร่งใสและใครๆก็สามารถเข้าไปอ่าน code หรือโปรแกรมที่เขียนเอาไว้ได้ ความปลอดภัยของบล๊อกเชนจึงเป็นเรื่องสำคัญ
– Decentralization – ความกระจายศูนย์
คือการที่มี “validator nodes” หรือคอมพิวเตอร์ที่ช่วยยืนยันธุรกรรมจำนวนมากและกระจายตัวอยู่ในทุกๆที่ เพื่อช่วยกันยืนยันว่าธุรกรรมที่เกิดขึ้นนั้นถูกต้องตามความเป็นจริง
โดยการที่ เราจะเพิ่มเรื่องใดเรื่องหนึ่งเราจำเป็นต้องเสียสละอีกด้านหนึ่งของสามเหลี่ยมไป และคำถามสำคัญคือ เราจะสามารถรองรับผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นโดยยังมีความปลอดภัยและความกระจายศูนย์ที่เพียงพอได้อย่างไร
——————————
Decentralization สำคัญยังไง?
——————————
หลายๆคนอาจจะสงสัยว่าความกระจายศูนย์สำคัญอย่างไร ทำไมบล็อกเชนต้องกระจายศูนย์ด้วย
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเลยคือเมื่อปี 2018 บล๊อกเชน EOS มี validator จำนวนน้อยมาก (ไม่มีความกระจายศูนย์) และคนกลุ่มนี้รวมตัวกัน เพื่อ Freeze Wallet หรือระงับการใช้งานกระเป๋าตังบนบล๊อกเชน จำนวน 7 กระเป๋าเพื่อป้องกันคนที่น่าสงสัยว่าเป็นโจรไม่ให้ทำธุรกรรมทางการเงิน
ถึงแม่ว่าจะเป็นเจตนาที่ดี แต่ก็สร้างความเคลือบแคลงใจแก่นักลงทุนหลายๆคนที่จะใช้งาน EOS ในตอนนั้น
——————————
ทำไมการก้าวข้ามขีดจำกัดถึงยาก?
——————————
ยกตัวอย่างง่ายๆ
ถ้าเราอยากได้บล๊อกเชนที่มีทั้งความเร็ว
--> เราก็อาจจะต้องลดจำนวน validator nodes ที่คอยช่วยยืนยันธุรกรรม เพื่อเพิ่มความเร็วให้กับการทำธุรกรรม (ยิ่งคนต้องรอการยืนยันเยอะๆก็ยิ่งช้า) จึงต้องเสียสละความกระจายศูนย์ลงไป
ถ้าเราอยากได้บล๊อกเชนที่มีความกระจายศูนย์
--> เราก็อาจจะต้องเสียสละความเร็วลงไป เพื่อให้ธุรกรรมถูกยืนยันจาก Validator Nodes ทั้งหลายของเรา (ยกตัวอย่างเช่น ETH ที่เราใช้งานกันอยู่นั้นเอง ทั้งช้า และค่าธุรกรรมแพง)
ข้อมูลจาก :
https://bestbroker168.com/blockchain-trilemma/ 