kitdee
หัวหน้าแก๊งเสียว
พลังน้ำใจ: 305
ออฟไลน์
กระทู้: 1,162
|
 |
« เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2008, 07:08:34 » |
|
เขียนโดย ณรงค์วิทย์ แสนทอง
“สัมภาษณ์มาหลายคนแล้ว ไม่มีใครถูกใจสักคน” “เด็กสมัยนี้จบมาคิดว่าตัวเองเก่ง ขอโน่นขอนี่ โดยที่ยังไม่รู้ว่าบริษัทได้อะไรกลับคืนมาบ้าง” “หลักสูตรการศึกษาสมัยนี้แย่จัง สอนคนให้มีความรู้ แต่ไม่ได้สอนคนให้ใช้ความรู้ ทำนองที่ว่าความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด” มักจะเป็นคำบ่นของคณะกรรมการสัมภาษณ์หรือเจ้าของหน่วยงานที่กำลังหาคนใหม่เข้ามาร่วมงาน “หาไปเหอะคนเก่งคนดีที่สมบูรณ์แบบ ในโลกนี้ไม่มีหรอก” “ถามอะไรก็ไม่รู้ ก็รู้ๆอยู่เราเพิ่งจบมายังไม่เคยทำงาน แล้วใครจะไปตอบได้” มักจะเป็นคำบ่นของคนถูกสัมภาษณ์หรือนักศึกษาจบใหม่ ลองมาดูว่าอะไรคือสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ทั้งผู้สัมภาษณ์และผู้ถูกสัมภาษณ์บ่นเวลามีการสัมภาษณ์คัดเลือกคนเข้าทำงาน โดยเฉพาะคนที่เพิ่งจบการศึกษามาใหม่
การกำหนดคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งงาน (Job Specification and Competency)ไม่ชัดเจน องค์กรส่วนใหญ่มักจะกำหนดคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งไม่ชัดเจน เช่น กำหนดว่าปริญญาตรีหรือปริญญาโท ประสบการณ์ 0-3 ปี ถ้ามองเพียงผิวเผินก็จะเห็นว่าคนที่มีประสบการณ์การทำงานมาย่อมได้เปรียบกว่าอยู่แล้ว ทั้งๆที่ในความเป็นจริงองค์กรไม่จำเป็นต้องกำหนดประสบการณ์ในการทำงานก็ได้ เนื่องจากจบใหม่ก็สามารถทำได้ การรับคนที่มีประสบการณ์ในการทำงานมาก่อนนั้นอาจจะมีข้อดีเรื่องชีวิตการทำงาน แต่อย่าลืมว่าเงินเดือนที่จ่ายอาจจะต้องสูงกว่าคนจบใหม่(คนที่จบใหม่องค์กรอาจจะเสียต้นทุนและเวลาในการสอนงาน แต่เสียเพียงครั้งเดียวไม่ผูกผันระยะยาว แต่คนที่มีประสบการณ์และองค์กรจ่ายค่าจ้างเริ่มต้นที่สูงกว่านั้น เป็นต้นทุนที่ผูกพันระยะยาว ลองคิดเปรียบเทียบดูว่าแบบไหนคุ้มค่ากว่ากัน ก่อนตัดสินใจ) และที่สำคัญคือคนบางคนอาจจะไม่มีแวว(Potential) ที่จะเติบโตในตำแหน่งหน้าที่การงานที่สูงขึ้นไปได้ ทำให้บริษัทได้เพียงคนทำงานในบางตำแหน่ง แต่บริษัทเสียโอกาสในการได้คนที่มีศักยภาพไปก็ได้ (ถือเป็นการสูญเสียที่ประเมินค่าไม่ได้) นอกจากนี้ องค์กรยังไม่ได้กำหนดให้ชัดเจนว่าคุณสมบัติข้อไหนสำคัญมากกว่ากัน วุฒิการศึกษาที่จบตรงกับสาขาที่ต้องการสำคัญมากกว่าหรือน้อยกว่าคุณลักษณะของคน (การวางแผน การคิดสร้างสรรค์ การคิดเชิงวิเคราะห์ ฯลฯ) ทำให้คนจบใหม่บางคนที่มีคุณลักษณะและความสามารถตรงกับตำแหน่งงานแต่จบมาไม่ตรงกับสาขาที่กำหนดไว้ ไม่มีโอกาสผ่านการคัดเลือกตั้งแต่การคัดใบสมัคร และองค์กรไม่ค่อยกำหนดให้ชัดเจนว่าคนที่ผ่านการคัดเลือกนั้นต้องได้คะแนนเรื่องไหนเท่าไหร่ เพราะบางคนอาจจะได้คะแนนสัมภาษณ์สูง แต่หารู้ไม่ว่าคะแนนข้อที่เป็นเรื่องสำคัญมากที่สุดต่อตำแหน่งงานนั้นๆได้คะแนนต่ำสุด พูดง่ายๆคือองค์กรไม่ได้กำหนดน้ำหนักคะแนนของหัวข้อการประเมินผู้ถูกสัมภาษณ์ตามความสำคัญ แต่จะให้ความสำคัญเท่ากันหมด ทำให้คะแนนรวมที่ออกมาหลอกตัวเองและส่งผลต่อความผิดพลาดในการตัดสินใจเลือกหรือไม่เลือกผู้ถูกสัมภาษณ์
ผู้สัมภาษณ์ขาดมาตรฐานในการสัมภาษณ์ ผู้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่เคยสัมภาษณ์แต่คนที่มีประสบการณ์ในการทำงานมาแล้ว เวลาสัมภาษณ์คนที่จบใหม่ก็ไม่ได้ปรับรูปแบบในการสัมภาษณ์ให้เหมาะสมกับเนื้อผ้า อาจจะเป็นเพราะว่าผู้สัมภาษณ์ไม่ได้ผ่านการฝึกอบรมเรื่องเทคนิคและวิธีการสัมภาษณ์ที่เหมาะสมกับคนแต่ละกลุ่ม และผู้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่จะนำเอาประสบการณ์ ความเชื่อและความคิดในชีวิตของตัวเองมาตัดสินผู้ถูกสัมภาษณ์ เช่น ตัวเองเป็นคนที่เรียนไม่เก่ง แต่ขยันทำงานจนประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ก็จะเอาจุดนี้มาถามและถ้าผู้ถูกสัมภาษณ์รายใดไม่เหมือนผู้สัมภาษณ์ก็คงยากที่จะผ่านการสัมภาษณ์ บางครั้งผู้สัมภาษณ์ทำงานมาเป็นสิบยี่สิบปี มักจะย้อนไปถึงชีวิตการหางานของตัวเองและเพื่อนรุ่นเดียวกันเมื่อสิบหรือยี่สิบปีที่แล้ว โดยไม่ทราบว่าเมื่อโลกเปลี่ยน เรื่องราวในอดีตบางเรื่องอาจจะไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป เลยทำให้รู้สึกว่าเวลาสัมภาษณ์คนรุ่นใหม่ๆไม่ค่อยได้ดั่งใจ
คนจบใหม่ขาดการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่ชีวิตการทำงาน เมื่อมองในมุมของคนที่จบการศึกษาใหม่ ก็พบว่าคนจบใหม่มักจะขาดการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่ชีวิตการทำงาน เหมือนเอาน้ำร้อนที่เพิ่งต้มเสร็จใหม่ๆไปเข้าตู้เย็นหรือเอาน้ำแข็งมาใส่ลงในกาต้มน้ำที่กำลังเดือด ทำให้มุมมองและพฤติกรรมของคนจบใหม่หลายคนยังเป็นเหมือนอาจารย์กับลูกศิษย์ ในขณะที่องค์กรกำลังมองคนจบใหม่ว่าเป็นลูกจ้างกับนายจ้างไปแล้ว ทำให้คนที่จบมาใหม่ๆยังคิดว่าไม่เป็นไรหรอกวันนี้สัมภาษณ์ไม่ได้ พรุ่งนี้ก็ยังมีโอกาส (ทำผิดแล้วยังทำใหม่ได้) แต่เมื่อไปสัมภาษณ์มาหลายๆแห่งแล้วไม่ผ่านการสัมภาษณ์คนจบใหม่ก็มักจะเป็นโรค “ท้อ” และขาดความมั่นใจในตัวเองไปเรื่อยๆ ซึ่งความมั่นใจจะผกผันกับจำนวนครั้งที่ไม่ผ่านการสัมภาษณ์ ยิ่งไม่ผ่านการสัมภาษณ์มากเท่าไหร่ ความมั่นใจก็ยิ่งตกลงไปมากเท่านั้น คนที่จบใหม่ยิ่งปล่อยให้การไม่มีงานทำผ่านไปนานเท่าไหร่ ยิ่งกลายเป็นจุดอ่อนในชีวิต เพราะถ้าจบมาแล้วหนึ่งปี แต่ยังไม่เคยทำงานที่ไหนมาก่อน ยิ่งกลายเป็นจุดที่ผู้สัมภาษณ์มักเพ่งเล็งเป็นพิเศษ เพราะถ้าเทียบกับคนที่เพิ่งจบ ยิ่งทำให้คนที่จบมาแล้วหนึ่งปีแต่ไม่มีงานทำ ยิ่งเสียเปรียบมากยิ่งขึ้น
อีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้คนจบใหม่หางานได้ยากกว่าคนที่เคยทำงานมาแล้วคือ คนจบใหม่ไม่เคยแก้ไขจุดอ่อนหรือจุดบกพร่องที่แท้จริง มีแต่การป้องกัน หลีกเลี่ยง และเอาตัวรอดเวลาถูกถามถึงจุดอ่อน หลายคนก็ไปศึกษาว่าถ้าเขาถามแบบนั้นเราควรจะตอบแบบไหน ถ้าเขาถามในสิ่งที่เราไม่รู้เราจะตอบอย่างไร เหมือนกับการที่นักศึกษาไม่เข้าใจวิชาคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหาคือไปดูข้อสอบเก่าๆแล้วอ่านเพื่อจำวิธีการทำและคำตอบไว้ บางครั้งอาจจะตรงกับที่อ่านมาและทำให้ได้เกรดในวิชานี้ดี แต่ไม่ใช่แนวทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ที่ยั่งยืน คนที่ไม่เก่งภาษาอังกฤษเวลาเขียนประวัติย่อก็ไปลอกมาจากหนังสือ พูดภาษาอังกฤษไม่เก่ง ก็ไปจำคำพูดจากในหนังสือที่แนะนำคำถามและคำตอบสำหรับการสัมภาษณ์งานเป็นภาษาอังกฤษ บางครั้งเขาถามในสิ่งที่ท่องมาก็มีปัญญาตอบได้ ตอบได้ดีด้วยเพราะประโยคสวยเหมือนที่ท่องมาจากหนังสือ (บางครั้งใช้ภาษาที่ทำเอาผู้สัมภาษณ์ที่ไม่ได้จบนอกมาตกใจไปตามๆกัน เพราะผู้สัมภาษณ์บางคนก็ไม่เก่งภาษาอังกฤษเหมือนกัน)
กลายเป็นว่าคนหางานสมัยนี้ไม่แตกต่างอะไรจากนักแสดงที่กำลังรับบทคนหางาน คือทำอย่างไรก็ได้ให้ตัวเองตีบทแตกและเขารับเข้าทำงาน ลืมไปว่าการผ่านการสัมภาษณ์เป็นเพียงขั้นตอนแรกของบททดสอบในชีวิตการทำงาน ถ้าตราบใดที่ยังไม่แก้ไขหรือปรับปรุงจุดอ่อนจุดบกพร่องในชีวิต รับรองได้ว่าคงจะไม่ได้ไม่กี่น้ำ เช่น ไม่ผ่านทดลองงาน ไม่เติบโตก้าวหน้าเท่าเทียมหรือดีกว่าเพื่อนรุ่นเดียวกัน ต้องเปลี่ยนงานบ่อยๆเพราะมีปัญหา ฯลฯ
คนเก่งเลือกทำงานกับตำแหน่งและองค์กรที่ต่ำกว่าความสามารถของตัวเอง เนื่องจากช่วงเวลาของการจบการศึกษาเป็นเวลาเดียวกัน ในช่วงนั้นก็กลายเป็นโอกาสของคนที่เรียนเก่งกว่า(ส่วนใหญ่จะดูที่ผลการเรียนเป็นหลัก) เมื่อองค์กรต้องการเลือกคนเข้าทำงานก็มักจะเลือกเอาคนเก่งๆไปก่อน ทั้งๆที่ตำแหน่งงานที่เปิดรับสมัครก่อนเป็นตำแหน่งงานที่ไม่จำเป็นต้องเอาคนเก่งขนาดเกียรตินิยมอันดับหนึ่งไปก็ได้ แต่องค์กรส่วนใหญ่ขอคัดเอาคนเก่งที่สุดไปก่อน ในขณะเดียวกัน คนเก่งๆก็ลืมคิดว่าไปว่าถ้าตัวเองสามารถผ่านการคัดเลือกเข้าทำงานกับองค์กรขนาดเล็ก หรือตำแหน่งที่ไม่ค่อยท้าทายได้ น่าจะเลือกทำงานกับองค์กรขนาดใหญ่และตำแหน่งงานที่ท้าทายกว่านี้ได้
การที่องค์กรเล็ก ตำแหน่งงานไม่ท้าทาย เลือกคนเก่งไปก่อน หรือการที่คนเก่งตอบรับเข้าทำงานกับตำแหน่งที่ต่ำกว่าความรู้ความสามารถของตัวเองไปก่อนนั้น จะส่งผลกระทบต่อปัญหาของตลาดแรงงานคือ คนที่เก่งน้อยที่เหลืออยู่ในตลาด ไม่เหมาะกับตำแหน่งงานขององค์กรใหญ่ หรือตำแหน่งงานที่ท้าทาย ทำให้เกิดสภาวะสองอย่างในเวลาเดียวกันคือ “ตำแหน่งงานขององค์กรขนาดใหญ่หรือตำแหน่งงานที่ท้าทายหาคนไม่ได้ และในขณะเดียวกันคนจบใหม่ที่ผลการเรียนไม่ค่อยดียังว่างงานอยู่เช่นกัน”
ปัญหาของคนที่จบการศึกษามาแล้วยังไม่มีงานทำ จริงๆแล้วไม่ใช่เป็นปัญหาของคนจบใหม่เท่านั้น แต่เป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทยในภาพรวม เพราะถ้าองค์กรแข่งขันไม่ได้ องค์กรก็ไม่ได้ขยายงาน ไม่มีการจ้างงานเพิ่ม โอกาสคนทำงานก็น้อยลง ทำให้ปัญหาวนเวียนอยู่ในวังวนที่หาทางออกไม่เจอ กี่ยุคกี่สมัยปัญหานี้ก็ยังคงอยู่คู่กับสังคมไทยไปตลอด ไม่เห็นมีหน่วยงานไหนมาบริหารจัดการ แต่ละองค์กรก็สนใจแต่ปัญหาของตัวเอง เหมือนกับการที่ทุกคนสนใจกวาดบ้านตัวเอง ใม่มีใครมาสนใจพื้นที่ส่วนกลางของหมู่บ้านที่ปล่อยให้รกร้างว่างเปล่าจนต้นไม้ขึ้นเต็มมีสัตว์มีพิษอาศัยอยู่เยอะ และวันหนึ่งสัตว์เหล่านั้นอาจจะเข้ามาที่บ้านของแต่ละคนได้
ผมในฐานะที่เคยเป็นคนหางานมากก่อน ในฐานะที่เคยเป็นคนสัมภาษณ์คนจบใหม่เข้าทำงาน เคยไปบรรยายและแนะนำเรื่องการตั้งเป้าหมายในชีวิตให้กับนักศึกษา และในฐานะของคนที่ยังวนเวียนทำมาหากินอยู่กับคนทำงานในองค์กรต่างๆ อยากจะนำเสนอแนวทางโดยแบ่งมุมมองออกเป็น 4 ด้านดังนี้
มุมมองด้านระบบการศึกษา : ควรปรับปรุงระบบการศึกษาให้มีความยืดหยุ่นและทันยุคทันสมัย สถาบันการศึกษาเปรียบเสมือนโรงงาน ถ้าโรงงานไหนเคยผลิตเครื่องพิมพ์ดีด และปัจจุบันยังไม่เปลี่ยนระบบการผลิตให้สามารถผลิตคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ได้ คงจะอยู่ไม่ได้แน่ๆ หรือถึงแม้เปลี่ยนจากการผลิตเครื่องพิมพ์ดีดมาเป็นผลิตคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ได้แล้วก็ตาม แต่ไม่สามารถผลิตแผงหน้าปัดของแป้นหรือปุ่มสำหรับป้อนข้อมูลบนหน้าจอโทรศัพท์ได้ ก็อาจจะอยู่ไม่ได้ในอนาคต
หลักสูตรการศึกษาในบ้านเราส่วนใหญ่มักจะเป็นการผลิตนักศึกษาเพื่อให้เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน จะเห็นได้จากการแบ่งคณะในมหาวิทยาลัย เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ ฯลฯ ทำให้ระบบการเรียนมุ่งเน้นการเรียนการสอนเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ผิดถ้าเราต้องการผลผลิตจากระบบการศึกษาเพื่อป้อนให้กับสถาบันวิจัยทางอวกาศ เพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อเป็นอาจารย์หรือนักวิชาการ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผมคิดว่ามีเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ที่นักศึกษาที่จบมาจะไปเดินในเส้นทางของผู้เชี่ยวชาญ พูดง่ายๆคือมีคนเพียง 20% (ตัวเลขสมมติ) ที่ต้องการทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน แต่มีคนอีก 80% ที่มีเป้าหมายเพื่อออกไปทำงานในตลาดแรงงาน ดังนั้น เราจะเห็นว่าเวลาส่งนักเรียนนักศึกษาของเราออกไปแข่งขันในเวทีต่างๆของโลกเราไม่เคยแพ้ใคร แต่เวลาออกไปทำงานในตลาดแรงงาน โดยเฉพาะการทำงานร่วมกับคนในชาติอื่น เรามักสู้เขาไม่ค่อยได้เพราะระบบการศึกษาของเราไม่สอนเรื่องการทำงาน เราสอนแต่วิชาการ
จากการสังเกตจากประสบการณ์โดยส่วนตัว จะพบว่าคนที่เรียนจบการศึกษาเฉพาะด้าน เฉพาะทางของอาชีพนั้นๆ เช่น คนที่จบด้านเลขานุการ คนที่จบสถาบันการบิน สถาบันเดินเรือ การโรงแรม หรือสถาบันการศึกษาที่มีวัตถุประสงค์ในการสร้างคนทำงานเฉพาะวิชาชีพ กลับประสบความสำเร็จในแง่ของการมีงานทำในอัตราที่สูงกว่าคนที่จบจากสถาบันการศึกษาที่เป็นมหาวิทยาลัย หรือคนที่จบสารพัดช่าง หรือสายอาชีพ มีอัตราการมีงานทำสูงกว่าคนที่จบมัธยมศึกษาซึ่งเป็นสายสามัญ สิ่งเหล่านี้น่าจะพอบ่งบอกให้สังคมไทยรู้ว่าระบบการศึกษาของเราไปมุ่งเน้นที่ระบบการผลิต(สินค้า)มากกว่าระบบการตลาด(การขาย)มากไปหรือไม่ ส่วนคนที่ตลาดต้องการนั้นผลิตเท่าไหร่ก็ไม่พอกับความต้องการของตลาด
ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ต้องมานั่งวิเคราะห์กันว่าแรงงานที่ตลาดต้องการในแต่ละกลุ่มนั้นมีสัดส่วนเท่าไหร่ของประชากรทั้งหมด แล้วเราควรจะกำหนดโควต้าของคนในแต่ละระบบการศึกษาอย่างไรให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาด เช่น ถ้าตลาดต้องการนักวิชาการ 5% ต้องการคนทำงานเฉพาะอาชีพในระดับบริหาร 15% ต้องการคนทำงานเฉพาะอาชีพในระดับหัวหน้างาน 30% ต้องการคนทำงานเฉพาะอาชีพในระดับปฏิบัติการ 40% และต้องการคนทำงานอื่นๆอีก 10% ระบบการศึกษาของเราควรจะเป็นแบบไหน หรือถ้าเปอร์เซ็นต์ตัวเลขดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป เราควรจะปรับระบบการศึกษาเป็นอย่างไร
ระบบการศึกษาของเราในหลายส่วนไม่แตกต่างอะไรจากโรงงานผลิตสินค้าในสมัยก่อนที่เน้นการผลิตเพื่อขาย ผลิตก่อนแล้วค่อยมาหาทางขายให้หมด ถ้าขายไม่หมดสต๊อกก็บวมและขาดทุน แต่ปัจจุบันตลาดเปลี่ยนไป กลายเป็นต้องผลิตตามออร์เดอร์ที่ลูกค้าเป็นผู้กำหนด ไม่ใช่ผลิตเพื่อเข้าสต๊อก ดังนั้น ระบบการผลิตของระบบการศึกษาของไทยก็น่าจะปรับเปลี่ยนได้แล้ว ควรจะให้การตลาดเป็นตัวกำหนดระบบการผลิต ไม่ใช่ให้ข้อจำกัดของระบบการผลิตเป็นตัวกำหนดความต้องการของตลาด
มุมมองด้านคนจบการศึกษาใหม่ : รู้จักสร้างมูลค่าเพิ่มและหางานที่เหมาะสมกับตัวเอง ถ้าต้องการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุจริงๆ คนจบใหม่จะต้องเป็นสินค้าที่มีลักษณะเป็นมัลติฟังก์ชั่นคือมีความสามารถที่หลากหลาย ไม่ใช่รู้เรื่องเดียว เป็นอยู่อย่างเดียวคือสาขาที่ตัวเองจบมา นอกสาขาของตัวเองไม่รู้อะไรเลย เราจะเห็นว่าโทรศัพท์รุ่นที่สามารถโทรเข้าและโทรออกได้เพียงอย่างเดียวปัจจุบันคงไม่มีใครต้องการ ถึงแม้ราคาถูกหรือถึงแม้จะโทรออกและรับเข้าได้ดีหรือใช้ง่ายขนาดไหนก็ตาม ปัจจุบันคนต้องการโทรศัพท์ที่สามารถโทรออกรับเข้าได้ ถ่ายรูปได้ เล่น MP3 ได้ ดูหนังฟังเพลงได้ บอกได้ว่าตอนนี้อยู่ถนนไหนซอยไหน
นักศึกษาที่จบใหม่ก็เช่นเดียวกัน ถ้าจบวิศวกรรมมาต่อให้เก่งแค่ไหน แต่ถ้ามีความรู้เพียงสาขาเดียว คุณค่าก็จะน้อยกว่าคนที่มีความรู้หลายสาขา เช่น นักศึกษาคนหนึ่งจบวิศวกรรมไฟฟ้าด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่งพูดภาษาอังกฤษได้ดี แต่อีกคนจบวิศวกรรมไฟฟ้าเกียรตินิยมอันดับสองสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ดีและภาษาจีนและญี่ปุ่นได้นิดหน่อย แถมยังมีความรู้เรื่องการบริหารการเงินในระดับพื้นฐานมาด้วย แน่นอนว่าคนที่สองย่อมเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานมากกว่าคนแรก
ถ้าเราซึ่งเป็นนักศึกษาไปแก้ไขที่ระบบการศึกษาไม่ได้คือไปเปลี่ยนกระบวนการผลิตสินค้าไม่ได้ ก็อาจจะต้องมาหาอุปกรณ์เสริม(Accessory) นอกสายการผลิต (สถาบันการศึกษา) เหมือนกับโรงงานผลิตรถยนต์ที่ผลิตรถยนต์รุ่นเดียวกันผลิตออกมาเหมือนกันทุกคัน แต่คันที่ราคาแพงกว่าหรือผู้ใช้ต้องการมากกว่าคือรถยนต์คันที่ไปติดตั้งอุปกรณ์เสริมหรือประดับยนต์ เช่น ติดตั้งเครื่องเสียงเพิ่มเติม ติดสปอยเลอร์ ติดฟิล์มกรองแสง ติดตั้งจอทีวี ฯลฯ เพิ่มเติมในภายหลังแล้ว ดังนั้น บัณฑิตใหม่ต้องการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวเองก็ต้องไปติดตั้งอุปกรณ์เสริม เช่น การเรียนรู้หรือพัฒนาทักษะอื่นๆเพิ่มเติม เช่น เรื่องภาษาต่างประเทศ ทักษะการใช้เทคโนโลยี ทักษะการทำงานร่วมกับคนอื่น ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานในสาขาวิชาชีพอื่น เพราะในชีวิตการทำงานจริงไม่ว่าเราจะจบสาขาไหนมาเราจะต้องไปทำงานร่วมกันคนในทุกสาขาอาชีพ ถ้าตัวเรามีช่องเสียบหรือตัวแปลง(Connecting ports)ที่สามารถเชื่อมต่อกับคนที่จบสาขาอื่นมาได้ก็จะสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับตัวเราได้ เหมือนกับการที่เครื่องใช้สมัยนี้จะสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องใช้คนละประเภทได้ เช่น โทรศัพท์มือถือต่อเข้าคอมพิวเตอร์ได้ ต่อเข้ากับทีวีได้ ต่อกับกล้องถ่ายรูป/วิดีโอได้ ตัวเก็บหน่วยความจำ(Memory stick) ก็จะใช้กับอุปกรณ์ต่างๆได้หลากหลายขึ้น ไม่เหมือนแต่ก่อนที่ใช้ได้กับอุปกรณ์ของตัวเองได้เพียงอย่างเดียวฯลฯ
สำหรับการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าสำหรับคนที่จบการศึกษามาแล้ว แนวทางหนึ่งที่สามารถทำได้คือ “ให้คนเก่งมากเลือกงานที่จะทำ และให้คนเก่งน้อยเลือกที่จะทำงาน” ดูเหมือนจะเข้าใจง่าย แต่อาจจะทำได้ยาก หลายคนอาจจะมีคำถามว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าเราจัดอยู่ในกลุ่มคนเก่งมากหรือเก่งน้อย วิธีการดูง่ายๆคือ เราจบมาเกรดดีหรือไม่ และให้ดูจาก จำนวนครั้งที่ไปสัมภาษณ์งานแล้วไม่ผ่าน ยิ่งถ้าเราเลือกไปสัมภาษณ์กับองค์กรใหญ่ๆมาแล้วสักสองสามครั้งแล้วไม่ผ่าน นั่นเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเราน่าจะจัดอยู่ในกลุ่มที่เก่งน้อย ส่วนใครที่อยากจะรู้ว่าตัวเองเก่ง ก็ลองไปสมัครงานครั้งแรกๆกับองค์กรขนาดใหญ่ ถ้าผ่านและได้งานแสดงว่าเราจัดอยู่ในกลุ่มคนที่เก่ง ยิ่งถ้าได้งานกับองค์กรใหญ่ๆมากกว่าหนึ่งแห่ง ยิ่งยืนยันได้ว่าเราจัดอยู่ในกลุ่มที่เป็นครีมหรือระดับท๊อปของตลาดแรงงานสำหรับคนที่จบใหม่
สำหรับคนที่ประเมินตัวเองแล้วรู้ว่าเก่งน้อย หรือไปสัมภาษณ์งานมาไม่น้อยกว่าสามครั้งกับองค์กรขนาดใหญ่หรือขนาดกลางมาแล้วไม่ผ่าน ขอให้เปลี่ยนเป้าหมายในการหางานเสียใหม่จากการที่เคยอยากทำงานกับองค์กรใหญ่ บริษัทดัง จ่ายตังค์ดี มาเป็นการสมัครงานกับทุกองค์กรที่มีตำแหน่งงานว่างตรงกับวุฒิการศึกษาที่เราจบมา อย่าเลือกองค์กรหรือเลือกตำแหน่งงานหรือสถานที่ เพราะการได้งานทำงานแรกถือเป็นใบเบิกทางให้เราไปสู่งานที่สองสามได้ง่ายกว่าคนที่คิดว่าตัวเองเก่งและไม่ยอมทำงานกับองค์กรเล็กๆและต้องว่างงานมาแล้วเป็นปี เพราะตลาดแรงงานเขาจะให้เครดิตกับคนที่เคยทำงานมาก่อน แม้ว่างานแรกจะเป็นองค์กรเล็กๆก็ตาม ยังไงก็ยังดีกว่าคนเก่งแต่ว่างงานมาเป็นปีๆอย่างแน่นอน
มุมมองด้านองค์กร : ควรจะพัฒนาระบบการกำหนดคุณสมบัติของตำแหน่งงานและระบบการคัดเลือก อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนจบใหม่ว่างงานหรือองค์กรมีตำแหน่งงานที่หาคนไม่ได้ก็เพราะระบบการกำหนดคุณสมบัติของตำแหน่งงานและระบบการคัดเลือกบุคลากรขององค์กรยังขาดประสิทธิภาพ ดังนั้น เพื่อช่วยกันป้องกันและแก้ไขปัญหานี้ จึงอยากให้องค์กรต่างๆหันมาให้ความสำคัญกับการกำหนดคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งงานให้ชัดเจนว่าตำแหน่งใดบ้างที่เหมาะสำหรับคนที่จบการศึกษาใหม่ และควรจะมีการกำหนดว่าคุณสมบัติข้อไหนที่เป็นคุณสมบัติที่สำคัญขาดไม่ได้ เช่น ตำแหน่งนี้ต้องมีทักษะด้านภาษาต่างประเทศ ถ้าไม่มีไม่ต้องเรียกสัมภาษณ์(เสียเวลาทั้งสองฝ่าย) ตำแหน่งนี้จะต้องมีพื้นฐานความรู้เชิงวิชาการดีมาก ตำแหน่งนี้ไม่ต้องเน้นเรื่องความรู้ แต่เน้นเรื่องปฏิภาณไหวพริบ เน้นเรื่องการทำงานร่วมกับผู้อื่น ฯลฯ
นอกจากนี้องค์กรควรมีระบบการพัฒนาคณะกรรมการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานให้มีความเป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น โดยใช้ระบบเข้ามาทดแทนการใช้ความรู้สึกและประสบการณ์ชีวิตส่วนตัวของคณะกรรมการ และระบบควรจะเป็นมาตรฐานเดียวกัน ไม่ใช่บางหน่วยงานใช้แบบหนึ่ง อีกหน่วยงานใช้อีกแบบหนึ่ง ถ้าเป็นไปได้อาจจะต้องร่วมมือกับทางสถาบันการศึกษาเพื่อกำหนดวิธีการในการประเมินความสามารถที่แท้จริงของคนที่จบการศึกษามาใหม่ เพราะสถาบันการศึกษาพอจะบอกได้ว่าถ้าองค์อยากได้คนที่มีคุณสมบัติในเรื่องนั้นเรื่องนี้ ควรจะดูจากเกรดเฉลี่ย หรือดูจากประวัติการทำกิจกรรมในระหว่างเรียน ซึ่งน่าจะช่วยให้ระบบการคัดเลือกคนที่จบการศึกษาใหม่เข้าทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
มุมมองด้านกลไกทางสังคม : ควรมีหน่วยงานกลางในการบริหารและจัดสรรทรัพยากรมนุษย์ที่จบใหม่ ไม่ว่าสังคมใดที่ปล่อยให้คนที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหากันเอง รับรองได้ว่าถ้าคนเหล่านั้นไม่สามารถแก้ไขปัญหากันเองได้ ผลกระทบที่เกิดขึ้นย่อมหนีไม่พ้นสังคม เหมือนปัญหาการจราจรที่คนทั่วไปคิดว่าปล่อยให้เป็นหน้าที่ของตำรวจจราจรหรือเจ้าหน้าที่ของของบ้านเมืองเขาแก้ไขกัน ป่านนี้ปัญหาคงจะรุนแรงกว่าที่เป็นอยู่ แต่ที่ปัญหาทุเลาเบาบางลงก็เพราะคนที่ไม่มีหน้าที่ได้อาสาเข้ามาช่วยกันแก้ไขปัญหา เช่น มีอาสาสมัคร มีประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนช่วยกันแจ้งข่าว ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีสถานีวิทยุที่ช่วยเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารให้ข้อมูล
ปัญหาของคนทำงานก็เช่นเดียวกัน ถ้าต้องการแก้ไขให้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด ไม่ควรปล่อยให้คนที่จบการศึกษา สถาบันการศึกษาหรือองค์กรที่จะรับคนเข้าทำงานแก้ไขกันเอง เพราะคนเหล่านี้มีผลประโยชน์ทั้งที่ร่วมกันและบางส่วนก็ขัดกัน อาจจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมด
ผมคิดว่าถ้าเป็นไปได้น่าจะมีกลไกทางสังคมบางอย่างเกิดขึ้นมาเพื่อช่วยให้ปัญหาคนว่างงานและงานว่างคนในเวลาเดียวกันนี้ลดน้อยลงจากสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนกลุ่มใหญ่ที่เพิ่งจบการศึกษามาใหม่หรือถ้ามีองค์กรใดเกิดขึ้นจริงก็ค่อยๆขยายไปสู่คนทำงานทั้งหมด องค์กรนี้น่าจะทำหน้าที่เป็นศูนย์ข้อมูลคล้ายๆศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ หรือคล้ายสถาบันวิจัยอะไรสักอย่างหนึ่ง แต่ที่อยากให้มีคือการทำหน้าที่ในการประเมินและจัดสรรคนที่จบการศึกษาใหม่ให้ได้ทำงานในองค์กรและตำแหน่งงานที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ เพื่อป้องกันปัญหาคนเก่งทำงานในตำแหน่งที่ต่ำกว่าความสามารถ(โอกาสใช้ความสามารถอย่างเต็มที่มีน้อย) คนไม่เก่งทำงานในตำแหน่งงานที่สูงกว่าความสามารถ(โอกาสล้มเหลวมีมาก) นอกจากนี้ ถ้าเป็นไปได้น่าจะเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์ข้อมูลของตลาดแรงงาน ทำหน้าที่วิจัย และเสนอแนะไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าแนวโน้มของตลาดแรงงานจะไปทิศทางไหน ถ้าผมจำไม่ผิดผมเคยได้รับข้อมูลเกี่ยวกับตลาดแรงงานของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเขามีข้อมูลที่ละเอียดในทุกมิติที่เกี่ยวข้องกับแรงงานของประเทศ ใครถามอะไรเขาตอบได้หมด ไม่เหมือนของเราที่ใครถามอะไรเราจะขอเวลาประมาณ 2-3 ลงไปเก็บข้อมูลแบบหลอกๆมาให้ดูกัน คำถามหนึ่งต้องไปถามหน่วยงานหนึ่ง อีกคำถามหนึ่งต้องไปถามกับอีกหน่วยงานหนึ่ง
สรุป ปัญหาแค่นิดเดียวแต่เขียนมาเสียยืดยาว เป็นเพราะว่าปัญหานี้เกิดขึ้นมายาวนานและมีผลกระทบต่อสังคมไทยในระยะยาวต่อไปถ้าไม่ได้รับการแก้ไขและป้องกัน ผมเองก็คงทำหน้าที่ได้เพียงแค่เขียนบทความนี้ขึ้นมาเพื่อให้สะกิดใจคนที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ส่วนใครจะต้องไปแก้ไขอะไรก็คงไม่ใช่หน้าที่ผมแต่ผมยินดีมีส่วนร่วมถ้ามีใครต้องการ แต่อย่างน้อยๆผมคิดว่าคนที่จบการศึกษาใหม่ๆที่กำลังหางานอยู่คงจะได้ข้อคิดและแนวทางในการนำปรับใช้กับการหางานได้บ้างนะครับ สุดท้ายนี้ ขอให้น้องๆได้งานที่ต้องการเร็วๆ ขอให้องค์กรเปิดโอกาสให้คนจบใหม่บ้าง ขอให้สถาบันการศึกษาออกมาคุยกับตลาดบ้าง ปฏิรูปการศึกษาไม่ได้ ก็ขอให้ปรับเปลี่ยนวิธีการให้สอดคล้องกับตลาดบ้าง สุดท้ายก็อยากเห็นผลผลิตทางการศึกษาที่มีคุณค่าต่อตลาดแรงงานและเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันประเทศไปสู่การแข่งขันแบบยั่งยืนภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงนะครับ
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 พฤศจิกายน 2008, 07:33:35 โดย kitdee »
|
บันทึกการเข้า
|
"ชีวิตนี้สั้นนัก, อย่ายึดติดกับกฎเกณฑ์, อภัยให้ไว, รักอย่างแท้จริง, หัวเราะให้เต็มที่ และยิ้มอยู่เสมอ "
|
|
|
admazon
Newbie
พลังน้ำใจ: 1
ออฟไลน์
กระทู้: 98
|
 |
« ตอบ #1 เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2008, 07:24:57 » |
|
แจ๋วจริงครับ มีประโยชน์กับบัณฑิตใหม่มากๆ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
etgsgroup
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
พลังน้ำใจ: 154
ออฟไลน์
กระทู้: 6,754
|
 |
« ตอบ #2 เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2008, 07:35:57 » |
|
มันอยู่ที่ประสบการณ์จริง ๆ นะครับ นักศึกษา บางคน (เด็กรุ่นใหม่ที่เก่ง ๆ ยังไม่ทันจบ มีหลาย ๆ บริษัท หลาย ๆ ที่ จองตัวไว้ทำงานเพียบเลย )
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ขอบคุณ ThaiSeoBoard สำหรับความรู้ทั้งทางด้าน SEO, SEM, Affiliate ตั้งแต่สมัยที่คนไทยไม่มีความรู้เกี่ยวกับ Digital Marketing เลย ต้องอ่านจาก ต่างประเทศอย่างเดียว
|
|
|
mortgage
ก๊วนเสียว
พลังน้ำใจ: 6
ออฟไลน์
กระทู้: 283
|
 |
« ตอบ #3 เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2008, 10:48:46 » |
|
เป็นบทความที่ดีคับ +1 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
pound
ก๊วนเสียว
พลังน้ำใจ: 5
ออฟไลน์
กระทู้: 268
|
 |
« ตอบ #4 เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2008, 10:50:09 » |
|
 ผมคนมีประสบการณ์ แต่... หมดไฟแล้ว 555 มีคนจ้างไปทำงานมั๊ย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
zenki
คนรักเสียว
พลังน้ำใจ: 2
ออฟไลน์
กระทู้: 106
|
 |
« ตอบ #5 เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2008, 11:15:53 » |
|
เยี่ยมครับ นักศึกษาและบัณฑิตที่จะจบใหม่ควรมาอ่านมาก : 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Nongkhai_tong
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
พลังน้ำใจ: 236
ออฟไลน์
กระทู้: 6,542
|
 |
« ตอบ #6 เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2008, 11:23:10 » |
|
อ่านดีไหม 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
puwanatlek
คนรักเสียว
พลังน้ำใจ: 2
ออฟไลน์
กระทู้: 197
|
 |
« ตอบ #8 เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2008, 12:44:52 » |
|
เพื่อนผมบางคนเรียนเก่งมากเลยนะ แต่ปฏิบัติแย่อะทำไม่เปน ส่วนตัวผม เรียนปานกลาง แต่ปฏิบัติเยี่ยม ความรู้รอบตัวดี มีความชำนาญหลายอย่าง แต่เกิดอะไรขึ้นรู้มั้ย บริษัทใหญ่ๆ เลือกคนที่เรียนดีก่อน อย่างอื่นว่ากันทีหลัง 555555+ ไม่เข้าใจ ดูคนที่ภายนอก ดูคนทีเกรด เกรดมันวัดอะไรไม่ได้หรอก ถ้านำมาใช้ไม่เปนก็ไร้ผล เบื่อไอพวกเรียนเก่งแมร่ง เวลาอาจารย์สอนอยู่นี่ ยกหางกันเข้าไป เอาหน้าสัต พอปฏิบัติจริง วิ่งมาถามกู อะโด่นึกว่าเจ๋งจริง แสด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Nongkhai_tong
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
พลังน้ำใจ: 236
ออฟไลน์
กระทู้: 6,542
|
 |
« ตอบ #9 เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2008, 12:49:51 » |
|
เพื่อนผมบางคนเรียนเก่งมากเลยนะ แต่ปฏิบัติแย่อะทำไม่เปน ส่วนตัวผม เรียนปานกลาง แต่ปฏิบัติเยี่ยม ความรู้รอบตัวดี มีความชำนาญหลายอย่าง แต่เกิดอะไรขึ้นรู้มั้ย บริษัทใหญ่ๆ เลือกคนที่เรียนดีก่อน อย่างอื่นว่ากันทีหลัง 555555+ ไม่เข้าใจ ดูคนที่ภายนอก ดูคนทีเกรด เกรดมันวัดอะไรไม่ได้หรอก ถ้านำมาใช้ไม่เปนก็ไร้ผล เบื่อไอพวกเรียนเก่งแมร่ง เวลาอาจารย์สอนอยู่นี่ ยกหางกันเข้าไป เอาหน้าสัต พอปฏิบัติจริง วิ่งมาถามผม อะโด่นึกว่าเจ๋งจริง แสด
ก๊ากกก ชีวิตจริง 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
cracker
ก๊วนเสียว
พลังน้ำใจ: 4
ออฟไลน์
กระทู้: 246
|
 |
« ตอบ #10 เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2008, 12:59:32 » |
|
อ่านไม่ไหว ยาวหรือเกิน อ่านแล้วจะหลับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
cck
ก๊วนเสียว
พลังน้ำใจ: 17
ออฟไลน์
กระทู้: 300
|
 |
« ตอบ #11 เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2008, 13:12:28 » |
|
เนื้อหาดี .แต..อ่านดีมั้ยน้่า...ยาวจัง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ก้ามปู
เสือซุ่มด่า
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
พลังน้ำใจ: 218
ออฟไลน์
กระทู้: 6,195
|
 |
« ตอบ #12 เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2008, 14:09:30 » |
|
เพื่อนผมบางคนเรียนเก่งมากเลยนะ แต่ปฏิบัติแย่อะทำไม่เปน ส่วนตัวผม เรียนปานกลาง แต่ปฏิบัติเยี่ยม ความรู้รอบตัวดี มีความชำนาญหลายอย่าง แต่เกิดอะไรขึ้นรู้มั้ย บริษัทใหญ่ๆ เลือกคนที่เรียนดีก่อน อย่างอื่นว่ากันทีหลัง 555555+ ไม่เข้าใจ ดูคนที่ภายนอก ดูคนทีเกรด เกรดมันวัดอะไรไม่ได้หรอก ถ้านำมาใช้ไม่เปนก็ไร้ผล เบื่อไอพวกเรียนเก่งแมร่ง เวลาอาจารย์สอนอยู่นี่ ยกหางกันเข้าไป เอาหน้าสัต พอปฏิบัติจริง วิ่งมาถามผม อะโด่นึกว่าเจ๋งจริง แสด
ก๊ากกก ชีวิตจริง  เรื่องที่เกิดขึ้นเป็นกิจวัตร  สมัยผมเรียนวิชาอิเลคโทรนิคส์ ตอนนั้นผมเป็นคนที่เกรดห่วยมาก แต่วิชานี้ไม่กลัวใคร เพราะชอบมาแต่เด็ก ช่วงนึงก่อนสอบประมาณชั่วโมงเค้ามานั่งอ่านหนังสือกันหน้าห้องสอบ ผมก็มาด้วย(มาตีปิงปอง  ) พอดีมีโจทย์สองข้อ พวกเต้บมันทำไม่ได้ เลยมีคนนึงที่รู้ว่าผมได้วิชานี้มาถาม ผมอ่านแล้วเลยลองทำให้ดู วิธีการแปลกแต่ผลตรงเฉลยเด๊ะ เค้าลยเอาไปให้เพื่อนดูต่อ เพื่อนดูแล้วชมเค้ากันใหญ่ว่าโอ้ว ทำได้ไง สุดยอดว่างั้น แล้วคะยันคะยอให้สอน แต่ด้วยความว่าหมอนั่นไม่ใช่คนชอบเอาหน้า เลยบอกว่าผมเป็นคนเฉลยให้ พวกนั้นเลยทำหน้าเซงๆ แล้วพูดว่า "เหรอ" (ไม่ไว้ใจว่างั้น) แล้วก็วางกระดาษแผ่นนั้นไปเลย  สงสัยคิดว่าผมมั่วมั้ง แต่หลังจากที่ผลสอบออกมาคะแนนผมเกือบเต็ม สอบทีต่อไปวิงหน้าสลอนมาถามเลย โดยเฉพาะไอ้คนที่พูดว่า "เหรอ"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
ตอนนี้ผมไม่ค่อยว่างตอบอะไรใครนะครับ เพราะไม่ได้เข้าบอร์ดเลย
|
|
|
Nongkhai_tong
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
พลังน้ำใจ: 236
ออฟไลน์
กระทู้: 6,542
|
 |
« ตอบ #13 เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2008, 14:09:49 » |
|
เพื่อนผมบางคนเรียนเก่งมากเลยนะ แต่ปฏิบัติแย่อะทำไม่เปน ส่วนตัวผม เรียนปานกลาง แต่ปฏิบัติเยี่ยม ความรู้รอบตัวดี มีความชำนาญหลายอย่าง แต่เกิดอะไรขึ้นรู้มั้ย บริษัทใหญ่ๆ เลือกคนที่เรียนดีก่อน อย่างอื่นว่ากันทีหลัง 555555+ ไม่เข้าใจ ดูคนที่ภายนอก ดูคนทีเกรด เกรดมันวัดอะไรไม่ได้หรอก ถ้านำมาใช้ไม่เปนก็ไร้ผล เบื่อไอพวกเรียนเก่งแมร่ง เวลาอาจารย์สอนอยู่นี่ ยกหางกันเข้าไป เอาหน้าสัต พอปฏิบัติจริง วิ่งมาถามผม อะโด่นึกว่าเจ๋งจริง แสด
ก๊ากกก ชีวิตจริง  เรื่องที่เกิดขึ้นเป็นกิจวัตร  สมัยผมเรียนวิชาอิเลคโทรนิคส์ ตอนนั้นผมเป็นคนที่เกรดห่วยมาก แต่วิชานี้ไม่กลัวใคร เพราะชอบมาแต่เด็ก ช่วงนึงก่อนสอบประมาณชั่วโมงเค้ามานั่งอ่านหนังสือกันหน้าห้องสอบ ผมก็มาด้วย(มาตีปิงปอง  ) พอดีมีโจทย์สองข้อ พวกเต้บมันทำไม่ได้ เลยมีคนนึงที่รู้ว่าผมได้วิชานี้มาถาม ผมอ่านแล้วเลยลองทำให้ดู วิธีการแปลกแต่ผลตรงเฉลยเด๊ะ เค้าลยเอาไปให้เพื่อนดูต่อ เพื่อนดูแล้วชมเค้ากันใหญ่ว่าโอ้ว ทำได้ไง สุดยอดว่างั้น แล้วคะยันคะยอให้สอน แต่ด้วยความว่าหมอนั่นไม่ใช่คนชอบเอาหน้า เลยบอกว่าผมเป็นคนเฉลยให้ พวกนั้นเลยทำหน้าเซงๆ แล้วพูดว่า "เหรอ" (ไม่ไว้ใจว่างั้น) แล้วก็วางกระดาษแผ่นนั้นไปเลย  สงสัยคิดว่าผมมั่วมั้ง แต่หลังจากที่ผลสอบออกมาคะแนนผมเกือบเต็ม สอบทีต่อไปวิงหน้าสลอนมาถามเลย โดยเฉพาะไอ้คนที่พูดว่า "เหรอ" นายคือยอดมนุยษ์ คนไทยต้องทำดีเอาหน้าถึงจะได้ดี 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
arabanaki
หัวหน้าแก๊งเสียว
พลังน้ำใจ: 37
ออฟไลน์
กระทู้: 1,820
|
 |
« ตอบ #14 เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2008, 14:35:13 » |
|
เป็นบทความที่มีประโยชน์มากต่อนายจ้างและลูกจ้าง รวมทั้งประเทศชาติส่วนรวมมากครับ โดยส่วนตัวมีหน้าที่คัดเลือกคนเข้ามาทำงานในบริษัท และควบคุมดูแลการทำงานต่างภายใจบริษัท ก็ประสบปัญหาเช่นนี้เหมือนกันครับ ก็พยายามแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
*~เก้าคุง~*
สายตรวจเสียวบอร์ด
Moderator
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
   
พลังน้ำใจ: 136
ออฟไลน์
กระทู้: 4,097
|
 |
« ตอบ #15 เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2008, 16:29:48 » |
|
โถ่ การศึกษาสมัยนี้คุณภาพต่ำจะตาย คณะผมวิทคอมย์ ส่วนใหญ่มาเข้าที่นี่เพราะไม่รู้จะเรียนอะไรทั้งนั้น เข้ามาไม่ได้อยากจะเขียนโปรแกรมหรือชอบคอมเลย ถาม java, IE ,firefox มันยังไม่รู้จักซักอย่างเลย อาจารย์ให้เขียนโปรแกรมส่ง ก็ให้เพื่อนที่เค้าทำเป็นแก้แล้วส่งให้หน่อย แต่เกรดมันออกมาดีเพราะได้เกรดจากพวกวิชา ที่ไม่ใช่ major เยอะ เช่น ฟิสิกส์ เคมี คณิตย์ ส่วนวิชาคอมก็งั้นๆ ไม่เข้าใจเลยว่า ไอ้พวกนี้มันไม่ชอบคอมจะมาเข้าทำไม หรือเรียนไปกันตายงั้นๆ จะหาเพื่อนปรึกษางานแม้งไม่มีเลยซักคน -_-" ถ้าไม่ได้ชอบก็อย่าเข้ามาเลยดีกว่า จบไปทำให้คุณภาพโปรแกรมเมอร์ไทยตกต่ำป่าวๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Himalayan
Verified Seller
หัวหน้าแก๊งเสียว
พลังน้ำใจ: 254
ออฟไลน์
กระทู้: 2,977
|
 |
« ตอบ #16 เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2008, 16:37:37 » |
|
โถ่ การศึกษาสมัยนี้คุณภาพต่ำจะตาย คณะผมวิทคอมย์ ส่วนใหญ่มาเข้าที่นี่เพราะไม่รู้จะเรียนอะไรทั้งนั้น เข้ามาไม่ได้อยากจะเขียนโปรแกรมหรือชอบคอมเลย ถาม java, IE ,firefox มันยังไม่รู้จักซักอย่างเลย อาจารย์ให้เขียนโปรแกรมส่ง ก็ให้เพื่อนที่เค้าทำเป็นแก้แล้วส่งให้หน่อย แต่เกรดมันออกมาดีเพราะได้เกรดจากพวกวิชา ที่ไม่ใช่ major เยอะ เช่น ฟิสิกส์ เคมี คณิตย์ ส่วนวิชาคอมก็งั้นๆ ไม่เข้าใจเลยว่า ไอ้พวกนี้มันไม่ชอบคอมจะมาเข้าทำไม หรือเรียนไปกันตายงั้นๆ จะหาเพื่อนปรึกษางานแม้งไม่มีเลยซักคน -_-" ถ้าไม่ได้ชอบก็อย่าเข้ามาเลยดีกว่า จบไปทำให้คุณภาพโปรแกรมเมอร์ไทยตกต่ำป่าวๆ
ส่วนผมตอนนั้น อยากเรียนมากวิทย์คอม แต่ขาดโอกาส รู้สึกเสียดายแทนคนที่เข้าไปเพราะไม่รู้จะเรียนอะไรจริงๆ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Nongkhai_tong
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
พลังน้ำใจ: 236
ออฟไลน์
กระทู้: 6,542
|
 |
« ตอบ #17 เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2008, 16:44:38 » |
|
โถ่ การศึกษาสมัยนี้คุณภาพต่ำจะตาย คณะผมวิทคอมย์ ส่วนใหญ่มาเข้าที่นี่เพราะไม่รู้จะเรียนอะไรทั้งนั้น เข้ามาไม่ได้อยากจะเขียนโปรแกรมหรือชอบคอมเลย ถาม java, IE ,firefox มันยังไม่รู้จักซักอย่างเลย อาจารย์ให้เขียนโปรแกรมส่ง ก็ให้เพื่อนที่เค้าทำเป็นแก้แล้วส่งให้หน่อย แต่เกรดมันออกมาดีเพราะได้เกรดจากพวกวิชา ที่ไม่ใช่ major เยอะ เช่น ฟิสิกส์ เคมี คณิตย์ ส่วนวิชาคอมก็งั้นๆ ไม่เข้าใจเลยว่า ไอ้พวกนี้มันไม่ชอบคอมจะมาเข้าทำไม หรือเรียนไปกันตายงั้นๆ จะหาเพื่อนปรึกษางานแม้งไม่มีเลยซักคน -_-" ถ้าไม่ได้ชอบก็อย่าเข้ามาเลยดีกว่า จบไปทำให้คุณภาพโปรแกรมเมอร์ไทยตกต่ำป่าวๆ
ส่วนผมตอนนั้น อยากเรียนมากวิทย์คอม แต่ขาดโอกาส รู้สึกเสียดายแทนคนที่เข้าไปเพราะไม่รู้จะเรียนอะไรจริงๆ  ทุกวันนี้เครื่องไม้เครื่องมือมันพร้อมเกินไป............ ส่วนใหญ่เด็กเรียนคอม หันไปพัฒนาtheme กับ test หา bug ใน hi5 กันหมดแล้ว ว่างไม่ได้ ต้องเม้น 
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 พฤศจิกายน 2008, 16:46:23 โดย Nongkhai_tong »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
*~เก้าคุง~*
สายตรวจเสียวบอร์ด
Moderator
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
   
พลังน้ำใจ: 136
ออฟไลน์
กระทู้: 4,097
|
 |
« ตอบ #18 เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2008, 16:55:22 » |
|
เสียดายระบบคัดเลือกคนของการศึกษาไทยครับ เด็กที่อยากเรียนและรักจริงๆ ไม่ได้เรียน เพราะติดวิชาที่ไม่ใช่ major พวกฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ไรงี้ รู้ไปก็ไม่ได้ทำให้เขียนโปรแกรมเก่งจริงมั้ย แต่เด็กพวกที่เรียนเก่งแต่ว่าไม่ได้ชอบคอมดันเข้าได้ เพราะว่าไม่ติดคณะที่ตัวเองชอบ เด็กพวกที่ติดคณะผม แล้วไม่เป็นคอมเลย จะเป็นพวก อยากเข้า หมอ วิศวะ สัตว์แพทย์ สาขาที่มันใช้พวกวิชาวิทยาศาสตร์คะแนนสูงๆ เลือกคณะที่ตัวเองอยากเข้าไว้อันดับ 1-3 แล้วเอาคณะคอม ซึ่งคะแนนอาจจะต่ำแล้วก็เห็นว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่บ้านก็มีใช้น่าจะพอเรียนไปได้ ไว้อันดับสุดท้าย ส่วนใหญ่เป็นแบบนี้กันครับ ไอ้คณะที่อยากเรียนเลือกที่มันคะแนนสูงๆกันจัง ไม่รู้จักเจียมตัวเอง ดูคะแนนตัวเองหรือป่าวว่ามันได้เท่าไร เลือกมหาลัยที่คะแนน 7000 งี้ คะแนนตัวเอง 5000 เอง แล้วมันจะไปติดมั้ยครับบ พอจะเลือกมหาลัยที่มันคะแนนต่ำๆก็ไม่เอา เพราะว่าไม่มีชื่อเสียง มันไม่ดัง ไม่อยากเข้า แล้วคุณจะมาแย่งที่เรียนเด็กที่เค้าอยากเรียนจริงๆทำไมล่ะคร้าบบบ อยากเรียนที่ดีๆ ทำไมไม่ทำตัวให้มันเหมาะสมกับคณะเค้าหน่อยล่ะ
ปล.ผมแค่บ่นเฉยๆ ถึงมันจะเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้ แต่ผมเซ็งกับคณะผมที่เค้ามาโดยใจไม่ได้รักคอมเลย เป็นม.ดังซะป่าว อุตส่าตั้งใจมาเข้าที่นี่เพราะหวังว่าจะได้เจอเพื่อนที่ชอบคอม เอาไว้คุยแลกเปลี่ยนกัน จบไปอาจจะไปทำโปรเจ็คร่วมกันก็ได้ ผิดหวังอย่างแรง กับระบบรับเด็กของที่นี่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Nongkhai_tong
เจ้าพ่อบอร์ดเสียว
พลังน้ำใจ: 236
ออฟไลน์
กระทู้: 6,542
|
 |
« ตอบ #19 เมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2008, 16:59:39 » |
|
ระบบการศึกษาไทยสอนให้คิดเหมือนกัน ห้ามคิดนอกกรอบเพราะจะโดนล้อ แล้วอาย ไม่กล้าทำอะไรอีก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|