หลักกาลามสูตร ๑๐ ที่ว่าด้วยการอย่าเชื่อ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ดังนี้
๑. มา อนุสฺสาเวน
อย่าเชื่อโดยฟังตามกันมา๒. มา ปรมฺปราย
อย่าเชื่อโดยเหตุสักว่าตามสืบๆ กันมา๓. มา อิติ กิราย
อย่าเชื่อโดยตื่นข่าว๔. มา ปิฎกสัมฺปทาเนน
อย่าเชื่อโดยอ้างปิฎก๕. มา ตกฺกเหตุ
อย่าเชื่อโดยนึกเดาเอาเอง๖. มา นยเหตุ
อย่าเชื่อโดยคาดคะเน๗. มา อาการปริวิตกฺเกน
อย่าเชื่อโดยการตรึกตรองตามอาการ๘. มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนกฺขนฺติยา
อย่าเชื่อโดยเห็นว่าถูกตามลัทธิของตน๙. มา ภพฺพรูปตาย
อย่าเชื่อโดยเห็นว่า ผู้พูดควรเชื่อได้๑๐. มา สมโฌ โน ครุ
อย่าเชื่อโดยถือว่า สมณะนี้เป็นครูของตน พระพุทธเจ้าไม่ได้ให้ใครเชื่อแม้แต่ตัวพระพุทธเจ้าหรือสิ่งอะไรเลย และก็ไม่ให้นับถืออะไรด้วย พระธรรมคำสั่งสอนคือตัวแทนของพุทธองค์ คนทีบรรลุขั้นสูงพ้นโลกแล้วจะไม่มีสิ่งใดที่ยึดมั่นถือมั่นเลย
คนเรามักจะตีความ สิ่งต่างๆเข้าข้างตนเอง หรือเรียกอีกอย่างว่า มักจะเชื่อตามที่เราอยากให้เป็น
พระไตรปิฎกเป็นข้อความบอกกล่าว สิ่งที่พุทธศาสนาสอน ซึ่งมีหลายๆแง่มุม เพื่อที่จะสามารถอธิบายสำหรับคน ซึ่งมีสำนึกแตกต่างกันมากมาย และจุดมุ่งหมายที่สำคัญของการถ่ายทอดแนวคิดแบบพุทธ คือ ทำตนให้เป็นที่พึ่งได้ คือ เริ่มต้นโดยเป็นที่พึ่งของตนเอง และ เพิ่มเป็นที่พึ่งของผู้อื่นด้วย ไม่ให้อยู่โดยการถูกชี้นำ ควรให้คิดได้เองว่าสิ่งใดควรสิ่งใดไม่ควร เมื่อเราแนะนำผู้อื่น เขาก็จะพิจารณาเองว่าควรจะเชื่อตามหรือไม่ ด้วยการอย่างน้อยก็พิจารณาครบ 10 อย่างตามหลักการข้างต้น
คนเราชอบยึดถือโน่นนี่ในสิ่งที่เข้ากับจริตของตน เด็กท่องสูตรคูณใหม่ๆ เมื่อมีคนถามก็จะเริ่มท่องตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงตัวที่คนถาม เพราะยึดระบบการท่อง (ศีล)
พอโตมาก็เริ่มที่จะนึกได้โดยไม่ต้องท่องตั้งแต่ต้น (สมาธิ) โตมาอีกก็รู้ด้วยตนเองเป็นอัตโนมัต และรู้หลากหลายวิธีในทันทีทันใด (ปัญญา)
ดังนั้น คนมีปัญญา ไม่ใช่ว่าจะไม่เชื่อไม่ฟังอะไรเลย แต่เป็นการสะสมข้อมูลมา อย่าเพิ่งเชื่อ (มิใช่ อย่าเชื่อ) เพราะหลักฐานยังไม่ครบ ประสบการณ์ยังอ่อน เมื่อได้ข้อมูลมาครบ มันก็จะเข้าใจทุกอย่างเอง ไม่ต้องยึดทฤษฎีความคิดใคร บรรลุความเข้าใจ บรรลุความจริงในที่สุด
จึงอยากบอกเพื่อนๆอย่าเชื่อในสิ่งที่เห็น ในการเมืองบ้านเราตอนนี้มากนัก :
