สวัสดีครับเพื่อนๆชาว TSB ทุกท่าน วันนี้ผมมีเทคนิคการตรวจสอบบทความภาษาอังกฤษมาให้อ่านเป็นเกร็ดความรู้กันครับ (ขอย้อนเล่าเรื่องตัวเองเล็กน้อยนะครับ แต่ก่อนผมเปิดรับงานเขียนบทความภาษาอังกฤษราคาถูกนะครับ โดยเปิด FanPage ขึ้นมารับงานเขียนบทความภาษาอังกฤษโดยเฉพาะ ส่วนใหญ่จะเป็นการรับเขียนรีวิวสินค้าใน Amazon กับ Clickbank ครับ นานๆจะมีให้เขียนบทความ Affiliate เจ้าอื่นๆปนมาบ้างแต่น้อยครับ ส่วนใหญ่จะเป็น 2 เจ้าหลักๆที่บอกไปข้างต้นครับ ปัจจุบันงดรับงานเขียนแล้วครับ ทำงานตัวเองไม่มีเวลารับงานจากเพื่อนๆเลยครับผม) โดยปกติเมื่อผมรับ Order จากลูกค้ามา ผมจะเอามาจ้างเขียนกับชาวต่างชาติอีกทีหนึ่งครับ โดยจะระบุข้อกำหนดที่ลูกค้าต้องการจากบทความว่ามีอะไรบ้าง เช่น Keyword ,การวางตำแหน่ง Keyword ,การวางตำแหน่ง LSI Keyword ,หัวข้อของบทความ และอื่นๆอีกตามที่ลูกค้าร้องขอมา โดยผมจะเอาข้อมูลดิบตรงนี้มาทำเป็น Template จ้างเขียนงานกับชาวต่างชาติต่ออีกทีหนึ่งครับ เมื่อนักเขียนเค้าส่งมอบงานให้กับผม ผมจะเอามาตรวจสอบก่อนๆที่จะส่งงานให้กับลูกค้า โดยผมมีรายละเอียดที่จะตรวจสอบดังต่อไปนี้ครับ
1.เช็คจำนวนคำ ผมจะทำการเช็คจำนวนคำว่างานที่ลูกค้าจ้างมาได้จำนวนคำตามที่ตกลงหรือป่าวครับ เช็คจากเว็บนี้ครับ
http://www.upublish.info/utilities/wordcount.php 
2.เช็คความ Unique ของบทความ ตรงเรื่อง Unique ของบทความผมเอาแค่ 90% ขึ้นครับ ไม่ถึง 100% แต่ส่วนใหญ่ที่รับงานจากนักเขียนมาจะได้ความ Unique ที่ 97%-100% ครับ ตรงนี้ผมเช็คจากเว็บนี้ครับ
http://smallseotools.com/plagiarism-checker/ 
3.เช็ค Duplicate ของบทความใน
https://www.google.com/ 
ครับ โดยซุ่มเอาบางประโยคในบทความมาเช็คครับ ตรงนี้ผมซุ่มมาแค่ หัว ,กลาง ,ท้าย ของบทความมาเช็คดูครับ อาจจะไม่ละเอียดนะครับ แต่ก็ต้องซุ่มเช็คดูครับ (ไม่ได้เช็ค 100% เพราะบทความเยอะมากในแต่ละวัน) โดยผมจะ copy บางประโยคเอามาใส่ในช่อง Search Google ให้ใส่ประโยคลงไปในระหว่างเครื่องหมาย “ “ นะครับ เช่น “xxxxxxxxxxxxxxxxxxx “ แล้วดูผลลัพธ์ที่ได้ ว่ามีบทความเราไปซ้ำกับเว็บไหนบ้าง
4.เช็คความหมายของบทความ ตรงนี้ผมใช้
https://translate.google.co.th 
และ
http://translate.baidu.co.th/ 
โดยผมจะซุ่มเอาบางประโยคของบทความมาเช็คความหมายครับ จุดประสงค์ที่เช็คความหมายของประโยค คือผมจะดูคำแปลของประโยคที่ผมเลือกมาเช็คว่ามันแปลได้ใจความดีหรือไม่ ซึ้งผมคิดว่ามันย้อนไปในเรื่องของ Grammar ได้ คือถ้าแปลออกมาอ่านรู้เรื่องดี แสดงว่าเรียงประโยคได้ถูกต้องตามหลัก Grammar ค่อนข้างสูง (อันนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ)
นี้แหละครับ สำหรับวิธีการหลักๆที่ผมใช้ตรวจสอบบทความภาษาอังกฤษก่อนที่จะส่งมอบบทความให้กับลูกค้า ซึ้งอาจจะไม่ถูกต้องทั้งหมดหรืออาจจะมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง(ดีกว่าไม่ตรวจสอบแล้วส่งบทความให้กับลูกค้าเลย) แต่ก็เป็นวิธีที่ใช้แล้วไม่เสียตังครับ ฟรีๆๆๆๆ
***หมายเหตุ : เมื่อตรวจเช็คบทความทั้งหมดแล้วหากเจอข้อบกพร่องของบทความผมจะส่งเคลมกับนักเขียน ให้แก้ไขจนกว่าจะได้บทความตามที่กำหนดกับลูกค้าเอาไว้
แต่ถ้าเพื่อนๆท่านไหนอยากตรวจสอบแบบเสียตังผมแนะนำเว็บข้างล่างนี้ครับ ลองไปศึกษาวิธีใช้กันดูนะครับ
http://www.grammarly.com/
http://www.copyscape.com/ 
ปล.ถ้าบทความถูกใจช่วยเพิ่มพลัง + ให้ผมหน่อยนะครับ
