หัวข้อนี้ ผมจะให้ดูตัวอย่างแบบเต็มบทความเลยนะครับ สำหรับวิธีการหาเงินด้วยวิธีนี้ เอาล่ะ ผมจะกำหนดหัวข้อก่อนเลย ผมสมมตินะครับ ว่าผมรับงานมา บทความเกี่ยวกับการลดน้ำหนัก จากนั้นผมก็ไปหาบทความต้นฉบับมานะครับ ทุกท่านจะหาด้วยวิธีไหนก็ได้ จากหัวข้อ จากกระทู้เก่าๆ ชองผมก็ได้ จะหาข้อมูลที่ไหนมาเขียนบทความ >>
http://www.thaiseoboard.com/index.php?topic=345351 
ผมใช้วิธีหาข้อมูลจาก Google นะครับ แล้วก็ได้บทความต้นฉบับ บทนี้มา
อัดมื้อเช้าหนักๆ เคล็ดลับลดน้ำหนัก
สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่านักวิจัยจากประเทศสหรัฐอเมริกาศึกษาพบว่าการรับประทานอาหารมื้อเช้าเป็นกุญแจสำคัญในการลดน้ำหนักที่ให้ผลดีและการรับประทานมื้อเช้าในปริมาณมาก ๆ จะช่วยให้ลดน้ำหนักตัวได้คงที่สม่ำเสมอในระยะยาว
ดร.แดนีลา จาคูโบวิชซ์ นักวิจัยชาวอเมริกันรายงานผลการวิจัยต่อการประชุมวิชาการ ซึ่งจัดขึ้นที่ เมืองซานฟรานซิสโกประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเธอกล่าวว่าการรับประทานอาหารมื้อเช้าในปริมาณน้อยนั้นยิ่งไปกระตุ้นความรู้สึกอยากอาหารให้เพิ่มมากขึ้นในระหว่างวัน
ดร.จาคูโบวิชซ์ ประจำอยู่ที่มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย คอมมอนเวลท์ เธอเป็นนักวิจัยที่ได้พยายามชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการรับประทานอาหารเช้าและพยายามพิสูจน์ให้เห็นว่าการรับประทานอาหารเช้าเยอะ ๆ มีผลดีต่อร่างกายตลอดเวลา 15 ปีที่ผ่านมา
สำหรับในการวิจัยล่าสุดของดร.จาคูโบวิชซ์นั้นเธอเลือกที่จะทำการทดสอบเปรียบเทียบกับอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นแป้งน้อยและให้พลังงานต่ำ มีผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นผู้หญิงอ้วนและไม่ออกกำลังกายทั้งหมดจำนวน 96 คน
หลักการของการวิจัยนี้คือผู้เข้าร่วมการวิจัยกลุ่มหนึ่งต้องถูกจำกัดปริมาณพลังงานที่ได้จากการรับประทานอาหารอยู่ที่ 1,085 แคลอรี่ต่อวัน และโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นพลังงานที่ได้จากโปรตีนและไขมันเป็นหลักทั้งนี้มื้อเช้าถูกจัดให้เป็นมืออาหารที่มีปริมาณน้อยที่สุดโดยให้พลังงานเพียง 290 แคลอรี่ และจัดให้มีคาร์โบไฮเดรตได้เพียง 7 กรัมเท่านั้นเอง
ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งที่จัดให้เป็นกลุ่มที่เน้นการรับประทานอาหารมื้อเช้าหนัก ๆ จะรับประทานอาหารให้ได้พลังงานทั้งหมด 1,240 แคลอรี่ต่อวัน โดยเป็นการจัดอาหารให้มีสัดส่วนของไขมันน้อยลงแต่ให้เพิ่มปริมาณแป้งกับโปรตีนขึ้นมาแทน
ในกลุ่มเน้นอาหารเช้านี้ในมื้อเช้านักวิจัยจะให้รับประทานอาหารให้ได้พลังงานจำนวน 610 แคลอรี่ โดยมีคาร์โบไฮเดรตจำนวน 58 กรัม ในขณะที่มื้อเที่ยงและมื้อค่ำจัดให้มีพลังงานจำนวน 395 แคลอรี่ และ 235 แคลอรี่ตามลำดับ
ผลการทดลองปรากฎว่าใน 4 เดือนแรกกลุ่มผู้รับประทานอาหารพลังงานต่ำดูเหมือนว่าจะมีผลงานที่ดีกว่าโดยกลุ่มนี้สามารถลดน้ำหนักตัวได้ 28 ปอนด์โดยเฉลี่ย ในขณะที่กลุ่มเน้นมื้อเช้าลดได้เฉลี่ย 23 ปอนด์
แต่หลังจากเดือนที่ 8 ไปแล้วสถานการณ์กลับเปลี่ยนไปในทางกลับกันกล่าวคือกลุ่มรับประทานอาหารพลังงานต่ำมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 18 ปอนด์ในขณะที่กลุ่มเน้นมื้อเช้ายังคงมีน้ำหนักตัวลดลงอย่างต่อเนื่องที่เฉลี่ย 16.5 ปอนด์
โดยสรุปแล้วการวิจัยนี้พบว่ากลุ่มเน้นอาหารเช้าลดน้ำหนักตัวได้ทั้งหมด 1 ใน 5 หรือประมาณ 20% เทียบกับกลุ่มรับประทานอาหารให้พลังงานต่ำที่มีอัตราการลดน้ำหนักตัวได้เพียงแค่ 5% เท่านั้นเอง
ที่มา : สำนักข่าวต่างประเทศ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส.จะเห็นว่าบทความต้นฉบับเข้าทางเลยนะครับ เป็นการลดน้ำหนักโดยการให้รับประทานอาหารเช้า อ่านดูแล้วก็พบว่า เป็นการวิจัยว่าถ้าอัดอาหารมื้อเช้าแบบหนักๆ ก็จะช่วยลดน้ำหนักได้
เทคนิคการรีไรท์มีสองแบบนะครับ
1. อ่านทีละย่อหน้า แล้วจับใจความออกมาทีละย่อหน้า แล้วเขียนขึ้นเป็นประโยคใหม่
2. อ่านทั้งหมดบทความ แล้วลิสต์ออกมาเป็นข้อๆ ว่าบทความบอกอะไรบ้าง
การเลือกใช้เทคนิคข้อใดนั้น ขึ้นอยู่กับว่าบทความนั้นได้แบ่งย่อหน้ามาดีหรือเปล่า ถ้าแบ่งมาดี ในหนึ่งย่อหน้ามีหนึ่งใจความสำคัญ แบบนี้ใช้เทคนิคข้อ 1 ได้ครับ แต่บางบทความ มีแต่อารัมภบท แบบนี้เราไม่อาจดึงใจความสำคัญทีละย่อหน้าได้ ดังนั้น ต้องใช้เทคนิคข้อ 2 แทนนะครับ
ในบทความที่ผมยกตัวอย่างมา ผมจะใช้เทคนิคข้อ 1 นะครับ
เริ่มกันเลยครับ เริ่มจากการดึงใจความสำคัญนะครับ
...
สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่านักวิจัยจากประเทศสหรัฐอเมริกาศึกษาพบว่าการรับประทานอาหารมื้อเช้าเป็นกุญแจสำคัญในการลดน้ำหนักที่ให้ผลดีและการรับประทานมื้อเช้าในปริมาณมาก ๆ จะช่วยให้ลดน้ำหนักตัวได้คงที่สม่ำเสมอในระยะยาว
ได้ใจความสำคัญคือ การรับประทานมื้อเช้าในปริมาณมาก ๆ จะช่วยให้ลดน้ำหนักตัวได้คงที่สม่ำเสมอในระยะยาวดร.แดนีลา จาคูโบวิชซ์ นักวิจัยชาวอเมริกันรายงานผลการวิจัยต่อการประชุมวิชาการ ซึ่งจัดขึ้นที่ เมืองซานฟรานซิสโกประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเธอกล่าวว่าการรับประทานอาหารมื้อเช้าในปริมาณน้อยนั้นยิ่งไปกระตุ้นความรู้สึกอยากอาหารให้เพิ่มมากขึ้นในระหว่างวัน
ได้ใจความสำคัญคือ การรับประทานอาหารมื้อเช้าในปริมาณน้อยนั้นยิ่งไปกระตุ้นความรู้สึกอยากอาหารให้เพิ่มมากขึ้นในระหว่างวันดร.จาคูโบวิชซ์ ประจำอยู่ที่มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย คอมมอนเวลท์ เธอเป็นนักวิจัยที่ได้พยายามชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการรับประทานอาหารเช้าและพยายามพิสูจน์ให้เห็นว่าการรับประทานอาหารเช้าเยอะ ๆ มีผลดีต่อร่างกายตลอดเวลา 15 ปีที่ผ่านมา
สำหรับในการวิจัยล่าสุดของดร.จาคูโบวิชซ์นั้นเธอเลือกที่จะทำการทดสอบเปรียบเทียบกับอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นแป้งน้อยและให้พลังงานต่ำ มีผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นผู้หญิงอ้วนและไม่ออกกำลังกายทั้งหมดจำนวน 96 คน
ได้ใจความสำคัญคือ มีการทำการทดสอบเปรียบเทียบกับอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นแป้งน้อยและให้พลังงานต่ำหลักการของการวิจัยนี้คือผู้เข้าร่วมการวิจัยกลุ่มหนึ่งต้องถูกจำกัดปริมาณพลังงานที่ได้จากการรับประทานอาหารอยู่ที่ 1,085 แคลอรี่ต่อวัน และโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นพลังงานที่ได้จากโปรตีนและไขมันเป็นหลักทั้งนี้มื้อเช้าถูกจัดให้เป็นมืออาหารที่มีปริมาณน้อยที่สุดโดยให้พลังงานเพียง 290 แคลอรี่ และจัดให้มีคาร์โบไฮเดรตได้เพียง 7 กรัมเท่านั้นเอง
ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งที่จัดให้เป็นกลุ่มที่เน้นการรับประทานอาหารมื้อเช้าหนัก ๆ จะรับประทานอาหารให้ได้พลังงานทั้งหมด 1,240 แคลอรี่ต่อวัน โดยเป็นการจัดอาหารให้มีสัดส่วนของไขมันน้อยลงแต่ให้เพิ่มปริมาณแป้งกับโปรตีนขึ้นมาแทน
ในกลุ่มเน้นอาหารเช้านี้ในมื้อเช้านักวิจัยจะให้รับประทานอาหารให้ได้พลังงานจำนวน 610 แคลอรี่ โดยมีคาร์โบไฮเดรตจำนวน 58 กรัม ในขณะที่มื้อเที่ยงและมื้อค่ำจัดให้มีพลังงานจำนวน 395 แคลอรี่ และ 235 แคลอรี่ตามลำดับ
ได้ใจความสำคัญคือ แบ่งผู้วิจัยออกเป็น 2 กลุ่ม โดยใช้อาหารที่ให้พลังงานเป็นตัวแบ่ง กลุ่มหนึ่งได้อาหารที่ให้พลังงานปริมาณน้อยในมื้อเช้า ส่วนกลุ่มที่เน้นมื้อเช้าหนักๆ ก็จะให้แป้งกับโปรตีนมากขึ้น ผลการทดลองปรากฎว่าใน 4 เดือนแรกกลุ่มผู้รับประทานอาหารพลังงานต่ำดูเหมือนว่าจะมีผลงานที่ดีกว่าโดยกลุ่มนี้สามารถลดน้ำหนักตัวได้ 28 ปอนด์โดยเฉลี่ย ในขณะที่กลุ่มเน้นมื้อเช้าลดได้เฉลี่ย 23 ปอนด์
แต่หลังจากเดือนที่ 8 ไปแล้วสถานการณ์กลับเปลี่ยนไปในทางกลับกันกล่าวคือกลุ่มรับประทานอาหารพลังงานต่ำมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 18 ปอนด์ในขณะที่กลุ่มเน้นมื้อเช้ายังคงมีน้ำหนักตัวลดลงอย่างต่อเนื่องที่เฉลี่ย 16.5 ปอนด์
ได้ใจความสำคัญคือ กลุ่มที่เน้นมื้อเช้าเบาๆ ดูจะน้ำหนักลดลงในระยะแรก แต่ในระยะยาวกลับเป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามโดยสรุปแล้วการวิจัยนี้พบว่ากลุ่มเน้นอาหารเช้าลดน้ำหนักตัวได้ทั้งหมด 1 ใน 5 หรือประมาณ 20% เทียบกับกลุ่มรับประทานอาหารให้พลังงานต่ำที่มีอัตราการลดน้ำหนักตัวได้เพียงแค่ 5% เท่านั้นเอง
ได้ใจความสำคัญคือ กลุ่มเน้นอาหารเช้าลดน้ำหนักตัวได้ทั้งหมด 1 ใน 5 หรือประมาณ 20% เทียบกับกลุ่มรับประทานอาหารให้พลังงานต่ำที่มีอัตราการลดน้ำหนักตัวได้เพียงแค่ 5% เท่านั้นเอง
……………………………………………………………………………………..
ดึงออกมาประมาณนี้นะครับ ไม่ต้องละเอียดมาก จากนั้นก็เอาใจความสำคัญที่เราได้มาๆ รวมกันไว้ครับ ตามนี้
1. การรับประทานมื้อเช้าในปริมาณมาก ๆ จะช่วยให้ลดน้ำหนักตัวได้คงที่สม่ำเสมอในระยะยาว
2. การรับประทานอาหารมื้อเช้าในปริมาณน้อยนั้นยิ่งไปกระตุ้นความรู้สึกอยากอาหารให้เพิ่มมากขึ้นในระหว่างวัน
3. มีการทำการทดสอบเปรียบเทียบกับอาหารที่มีส่วนประกอบเป็นแป้งน้อยและให้พลังงานต่ำ
4. แบ่งผู้วิจัยออกเป็น 2 กลุ่ม โดยใช้อาหารที่ให้พลังงานเป็นตัวแบ่ง กลุ่มหนึ่งได้อาหารที่ให้พลังงานปริมาณน้อยในมื้อเช้า ส่วนกลุ่มที่เน้นมื้อเช้าหนักๆ ก็จะให้แป้งกับโปรตีนมากขึ้น
5. กลุ่มที่เน้นมื้อเช้าเบาๆ ดูจะน้ำหนักลดลงในระยะแรก แต่ในระยะยาวกลับเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม
6. กลุ่มเน้นอาหารเช้าลดน้ำหนักตัวได้ทั้งหมด 1 ใน 5 หรือประมาณ 20% เทียบกับกลุ่มรับประทานอาหารให้พลังงานต่ำที่มีอัตราการลดน้ำหนักตัวได้เพียงแค่ 5% เท่านั้นเอง
-----------------------------------------------------------------------------
เริ่มเขียนบทความใหม่นะครับ เราไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับแบบเดิมก็ได้นะครับ สลับที่ได้หมด ขอให้ออกมาละอ่านรู้เรื่องก็พอ ผมจะเรียงใหม่แบบนี้นะครับ 6,3,4,5,2,1 เขียนออกมาใหม่ได้ดังนี้นะครับ
-------------------------------------------------------------------------------
จัดหนักมื้อเช้า ลดช้าๆ แต่ว่ายั่งยืน.
เชื่อมั้ยว่าการรับประทานอาหารเช้าแบบจัดหนักช่วยให้คุณลดน้ำหนักลงได้ เพราะการอาหารที่ให้พลังงานสูงในมื้อเช้าจะช่วยให้คุณมีแรงทำงานทั้งวัน ทั้งยังป้องกันไม่ให้หิวบ่อยๆ จนต้องหาขนมจุกจิกมาทานเล่น ทำให้อ้วนได้ง่ายอีกด้วย ทั้งนี้ยังมีงานวิจัยรองรับด้วยว่าคนที่ทานอาหารเช้าแบบจัดหนัก มีอัตราการลดน้ำหนักได้ถึง 20% เลยทีเดียว เทียบกับคนที่ทานอาหารเช้าแต่น้อยหรือไม่ทาน ซึ่งมีอัตราการลดน้ำหนักแค่ 5% เท่านั้น
งานวิจัยระบุว่า มีการทดสอบโดยแบ่งคนออกเป็นสองกลุ่ม โดยให้รับประทานอาหารเช้าทั้งสองกลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งให้รับประทานอาหารเช้าที่ให้พลังงานสูงเช่น อาหารจำพวกแป้ง และโปรตีน ส่วนกลุ่มที่สองให้รับประทานไขมัน โปรตีน และมีคาร์โบไฮเดรตเล็กน้อย และยังให้กลุ่มที่สองรับประทานในปริมาณแคลอรี่ที่ต่ำกว่าอีกด้วย
เมื่อเวลาผ่านไปในระยะแรกนั้น กลุ่มที่สองซึ่งรับประทานอาหารเช้าน้อยกว่า มีน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่กลุ่มแรกซึ่งรับประทานอาหารเช้าแบบจัดหนักนั้น น้ำหนักค่อยๆ ลดลงอย่างช้าๆ ซึ่งดูเหมือนว่าการรับประทานอาหารแบบกลุ่มที่สองจะให้ผลดีกว่า แต่เมื่อผ่านไป 8 เดือน ผลกลับออกมาตรงกันข้ามเมื่อกลุ่มแรกน้ำหนักลดไปได้ถึง 20% ขณะที่กลุ่มที่สองลดน้ำหนักได้เพียง 5% เท่านั้น
นักวิจัยสรุปว่า การรับประทานอาหารมื้อเช้าแต่เล็กน้อยนั้น เป็นการกระตุ้นให้เกิดความอยากระหว่างวัน ทำให้หาอะไรจุกจิกทานมากขึ้น ทั้งพวกขนม น้ำอัดลม และไปจัดหนักในมื้อเย็นอีกครั้ง ซึ่งการจัดเบาในมื้อเช้า แทนที่จะเป็นผลดี กลับเป็นผลเสียแทน
ดังนั้น ถ้าอยากลดน้ำหนักแบบช้าๆ แต่คงที่ในระยะยาวให้ทานมื้อเช้าเยอะๆ จะได้ไม่ต้องทานจุกจิกระหว่างวัน ควบคู่กับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เท่านี้คุณก็จะสามารถลดน้ำหนักลงได้อย่างยั่งยืนแล้วล่ะ-------------------------------------------------
เป็นอย่างไรบ้างครับ อ่านแล้วไหลลื่นดีมั้ยครับ สังเกตว่าผมจะตัดพวกปริมาณแคลอรี่หรือชื่อคนอะไรออกหมดเลยนะครับ ผมว่ามันไม่จำเป็น แต่ใครจะคงไว้ก็ไม่ว่าครับ ตามความถนัดเลย
แชร์เพียงเท่านี้นะครับ ใครมีความเห็นอย่างไร ชอบไม่ชอบ ฝากคอมเม้นท์ไว้ได้เลย
