ลองคิดว่าเป็นเวบเรา แล้วคนได้รับความนิยม
แล้วมีคนเอาสินค้ามาขายในเวบเรา เราไม่อยากไห้ขาย เพราะเราก็ขายอยู่
เราผิดเหรอ เพราะเวบก็เป็นเวบเราแท้ๆ?
มั่นใจเลย ว่าเอาผิดอะไรGoogleไม่ได้ แค่ต้องการทำไห้Googleดูร้ายขึ้นมานิดหน่อย ในสายตาผู้บริโภคทั่วไป

กฎหมายต่างประเทศเขามีแง่มุมกว้างและลึก บางอย่างเลยดูขัดสามัญสำนึกของคนโดนฟ้องอ่ะครับ
Microsoft ก็เคยโดนฟ้อง กรณีผูกขาด เช่น windows ลง IE มาให้ด้วย ทำให้ Netscape ไม่พอใจ ฟ้องเอา (และรู้สึกจะชนะด้วย)
ทั้งๆที่ windows ก็เป็นผลิตภัณฑ์ของ MS ทำไมถึงเอาโปรแกรมเสริมอื่นลงไปด้วยไม่ได้ ??
ประเด็นของกฎหมายนี้ เขามองกันยาวอ่ะครับ
หากตลาดใด ที่ไม่มีคู่แข่งเลย ตลาดนั้นจะกลายเป็นตลาดของผู้ขาย (ผู้ขายตั้งราคาได้ตามใจชอบ)
ผู้ซื้อเมื่อไม่มีทางเลือก ก็ต้องยอมจ่ายไป (ก็มันไม่มีทางเลือกนิหว่า) หรือทางเลือกอื่นๆก็แสนจะลำบากยากเย็น ไม่มีทางเลือกที่ใกล้เคียงกันในเวลานั้นเลย
และเพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้ขายรายเดียว เลยเป็นต้นกำเนิดของกฎหมายตัวนี้ ที่คอยมายับยั้งเจ้ามือใหญ่ ไม่ให้ใช้พลัง ความใหญ่ หรือ connection ในมือสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งมากเกินไป(ในที่นี้มองในแง่ product IE - Netscape)
แม้จะฟ้องชนะ แต่ในที่สุด Netscape ก็ดับไปอยู่ดี
และ MS ก็ bundle IE มาให้เราใช้กันอยู่ดี 55
จะเห็นว่าเป้าหมายที่แท้จริงของกฎหมายนี้ คือ มองไปที่ระยะยาว เพื่อผู้บริโภค เป็นหลักแหล่ะครับ
// ตลาดของผู้ขาย ใกล้ๆตัวเรา ก็เช่น พวกสัมปทานต่างๆ หากใครได้ไป ยังไงก็รวย เพราะคู่แข่งน้อย หรือพวกรัฐวิสาหกิจ เช่น การไฟฟ้า ประปา ปตท (สมัยก่อน)
พวกนี้จะเจ๊งยาก เพราะไม่มีคู่แข่ง ขึ้นราคาได้ตามใจ เพราะลูกค้าไม่มีทางเลือก
แต่ของไทยใช้ความเป็นรัฐวิสาหกิจทำให้รัฐคุมราคาได้ในระดับนึง
ถ้าอย่างพวกห้างก็เช่น lotus ที่ไปแถวไหนโชห่วยตายเรียบ (หากไม่มีเทคนิคไปดึงคน)
หรืออย่างเคเบิ้ลทีวีก็เช่น ทรู ไม่มีคู่แข่งเลย ทำให้ไม่ต้องคอยตัดราคามาแข่งกับใคร แค่ปรับให้คนพอจ่ายไหวและลูกค้าไม่หดเกินไปก็พอ
ถ้าไม่มีกฎหมายควบคุมเลย ปลาใหญ่จะกินปลาเล็กหมด เพราะว่าทุนหนา connection แรง รายย่อยตายเกือบเรียบ